บางกอกกล๊าส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 05 Mar 2018 03:21:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาแล้ว ! สโมสรฟุตบอลอีสปอร์ตทีมแรกของไทย “บีจีเอฟซี นีโอลูชั่น” หลังบางกอกกล๊าส จับมือนีโอลูชั่น หวังสร้างแบรนด์ทั้งเกมอีสปอร์ตและฟุตบอล https://positioningmag.com/1159873 Sun, 04 Mar 2018 06:02:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159873 หลังจากที่การกีฬาแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้อีสปอร์ตเป็นหนึ่งในประเภทกีฬา และให้การจัดตั้งสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยขึ้นมาอย่างเป็นทางการ โดยมีภารกิจแรกคือ การเตรียมทีมนักกีฬาทีมชาติไทยไปแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ในเดือนสิงหาคมนี้ วงการกีฬาอีสปอร์ตในประเทศไทยจึงมีความเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก โดยล่าสุดมีความร่วมมือระหว่างสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าซและสโมสรอีสปอร์ต ซึ่งจะถือเป็นสโมสรฟุตแรกทีมแรกของไทย ที่มีทีมอีสปอร์ตในสังกัดด้วย ในนาม “บีจีเอฟซี นีโอลูชั่น”

สำหรับในระดับสโมสรฟุตบอลระดับโลก ได้มีการเปิดตัวทีมกีฬาอีสปอร์ตไปแล้วในหลายทีมหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป เช่น ปารีส แซงต์ แชร์แมง ของลีกฝรั่งเศส, ทีมเวสต์แฮมของพรีเมียร์ลีกอังกฤษ หรือทีม ชาลเก้ 04 และโวล์ฟบวร์ก ในเยอรมัน ในระดับเอเชียมีสโมสรฟุตบอลในจีน และเกาหลีก็มีทีมอีสปอร์ตแล้ว

แต่กรณีของบีจีเอฟซี นีโอลูชั่นนี้ เสถียร บุญมานันท์ ซีอีโอนีโอลูชั่น บอกว่า “ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทีมแรกในประเทศไทย แต่นับเป็นทีมสโมสรฟุตบอลอีสปอร์ตทีมแรกของ SouthEastAsia อีกด้วย

สร้างแบรนด์อีสปอร์ตคู่ไปกับฟุตบอล ขยายฐานแฟนคลับ

เสถียรบอกว่า การเป็นทั้งสโมสรฟุตบอลและสโมสรอีสปอร์ตด้วย จะเป็นการทำการตลาดร่วมกันในการขยายฐานแฟนคลับของทั้งสองกลุ่ม จากกีฬาฟุตบอลสู่เกมอีสปอร์ต และเกมอีสปอร์ตที่จะไปจัดกิจกรรมในกลุ่มคนดูฟุตบอลสร้างความรับรู้ในตลาดของกีฬาอีสปอร์ตของไทยด้วย

สำหร้บ บีจีเอฟซี หรือ สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส เป็นทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพแข่งขันในไทยลีก ที่เป็นลีกการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรที่เป็นลีกสูงสุดของไทย ในปีที่แล้วอยู่ในอันดับ 5 ของตาราง และเคยขึ้นไปสูงสุดในอันดับ 3 ของตารางมาแล้ว ส่วนนีโอลูชั่น คือ สโมสรทีมกีฬาอีสปอร์ตที่มีทีมอีสปอร์ตในสังกัดในแต่ละประเภทเกมจำนวน 15 ทีม มีนักกีฬาอีสปอร์ตมากกว่า 100 คนในสังกัด

สำหรับข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ นีโอลูชั่น จัดทีมแชมป์โลกเกมอีสปอร์ต FIFA online 3 ในปี 2014 เข้ามาอยู่ร่วมสโมสรนี้ โดยมีทีมนักกีฬาทั้งหมด 6 คน มีสัญญาความร่วมมือเบื้องต้น 1 ปี ในการเป็นพาร์ตเนอร์ในการโปรโมตกิจกรรมกีฬาฟุตบอลและอีสปอร์ตควบคู่กันไป

โดยจะมีการเปิดตัวครั้งแรกในแมตช์ไทยลีก 2018 ระหว่าง บีจีเอฟซี กับการท่าเรือ เอฟซี ในช่วงพักครึ่งเบรก ระหว่างแมตช์ โดยสโมสรจะจัดทีมนักกีฬาอีสปอร์ตไปโชว์ตัว พร้อมชุดแข่งกีฬาอีสปอร์ตในนามสโมสร บีจีเอฟซี นีโอลูชั่น” ที่จัดขึ้นในวันที่ 4 มีนาคมนี้ที่สนามฟุตบอลลีโอ สเตเดี้ยมของบีจีเอฟซี

ปัจจุบันบีจีเอฟซี มีกลุ่มฐานแฟนคลับของสโมสรประมาณ 2 แสนรายจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ในขณะที่นีโอลูชั่นระบุว่ามีฐานคนติดตามในช่องทางโซเชียลมีเดียของสโมสรรวมกันแล้วอยู่ที่ 3 ล้านราย

สำหรับมูลค่าตลาดของอีสปอร์ตในประเทศไทย ก่อนหน้านี้สมาคมอีสปอร์ตได้เคยบอกไว้ว่ามีมูลค่ารวมเกิน 1 หมื่นล้านบาท ที่รวมถึงมูลค่าเกม รวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดด้วย

เปิดตัวพร้อมสปอนเซอร์ รวมกว่า 2 ล้านบาทต่อปี

ในความร่วมมือกันครั้งนี้ บีจีเอฟซี นีโอลูชั่นยังได้สปอนเซอร์หลัก 5 ราย ซึ่งอยู่ในวงการเกม คอมพิวเตอร์ ทั้งหมด ได้แก่ แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด, บริษัท การีน่า ไทยแลนด์ จำกัด, บริษัท โวลท์ เอนเนอร์จี แวร์ จำกัด, บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เพื่อมุ่งหวังในการสร้างการรับรู้กีฬาอีสปอร์ตให้คนทั่วไปในประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ อัลเลน ชู หัวหน้าฝ่ายกยลุทธ์ของการีน่า ประเทศไทย ยังบอกว่า ทาง การีน่า ประเทศไทย ยังได้มองหาโอกาสในการร่วมมือกับบีจีเอฟซี นีโอลูชั่น ในการจัดการแข่งขัน อีสปอร์ต ในสนามกีฬาจริง ๆ เพื่อโปรโมตขยายฐานกีฬาอีสปอร์ตในกลุ่มผู้ชมฟุตบอล

เสถียรบอกว่า วงเงินทั้งหมดจากสปอนเซอร์มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านบาทต่อปี ที่เชื่อว่าจะสามารถทำให้นักกีฬามีการฝึกซ้อม ทั้งทางกาย และสภาพจิตใจ อีกทั้งได้มีโอกาสร่วมฝึกซ้อมกับนักฟุตบอล เพื่อที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักกีฬามากขึ้น

ลุยสร้างทีมแข่งขันระดับชาติ

ในขณะเดียวกันในปีนี้ทัวร์นาเมนต์ที่ “บีจีเอฟซี นีโอลูชั่น” จะร่วมแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต จะเริ่มจากรายการ EA Champion Cup (EACC) Spring 2018 และ รายการ ของ official ของ การีน่า ประเทศไทย รวมถึง ยังมีรายการอื่น ๆ อีกมากกว่า 10 รายการทั้งในและนอกประเทศตลอดปี 2018

เสถียรบอกว่า ทีมยังตั้งเป้าหมายว่าจะพยายามเข้าคัดเลือกตัวเพื่อเป็นตัวแทนทีมชาติไทยไปแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 ที่จะจัดขึ้นที่อินโดนีเซีย แต่ต้องรอการประกาศเกมที่จะมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ก่อน แต่ก็เชื่อมั่นว่า เกมฟีฟ่าออนไลน์ น่าจะเป็นหนึ่งในสี่เกมที่จะมีการแข่งขันในครั้งนี้.

]]>
1159873
ยักษ์ใหญ่กินรวบธุรกิจผลิตขวดแก้ว เจาะบิ๊กโฟร์ชิงตลาด 4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1144128 Mon, 23 Oct 2017 22:55:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144128 ปัจจุบันตลาดบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วมูลค่า 3-4 หมื่นล้านบาท ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจนี้มีหลักๆ 4 รายเท่านั้น ได้แก่ บางกอกกล๊าส ของเครือบุญรอดบริวเวอรี่หรือสิงห์ ซึ่งเป็นผู้นำที่มีการผลิตราว 1 ล้านตันต่อปี มีส่วนแบ่งตลาดราว 36% และยังเป็นเบอร์ 1 ในภูมิภาคอาเซียนด้วย ตามด้วย เบอร์2 อย่าง เบอร์ลี่ยุคเกอร์หรือบีเจซี ของกลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น (ทีซีซีของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

ลำดับ 3 คือ สยามกลาส อินดัสทรี ของค่ายโอสถสภา ยักษ์ใหญ่สินค้าอุปโภคบริโภคอายุกว่า 126 ปี และปิดท้ายที่หน้าใหม่แห่งวงการขวดแก้ว บริษัท เอเชียแปซิฟิกกลาส จำกัด ของ เสถียร เศรษฐสิทธิ์เจ้าพ่อเครื่องดื่มชูกำลังคนใหม่

เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา “ปวิณ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางกอกกล๊าส ทายาทรุ่น 4 ค่ายสิงห์ ได้ดึงมือดีด้านสินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร มานั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัดหรือบีจีซี ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้ว ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับยูนิลีเวอร์ แบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคระดับโลก เอส.ซี ยอห์นสัน แอนด์ซันที่มีแบรนด์ไบกอนออฟฯ

ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร

ศิลปรัตน์ บอกว่า เมื่อเข้ามามีภารกิจมากมายให้ทำทั้งการสร้างแบรนด์บีจีซี ให้เป็นที่รับรู้มากขึ้น ที่สำคัญคือยอดขายที่เติบโต เท่าตัวหรือเป็นเลข 1 หลักปลายๆหรือเกือบ 10% จากปกติโตเพียง 3-4%

ทว่า ความยากและท้าทายมีมาก เพราะต้นทุนการผลิตขวดแก้วสูง ขณะที่ตลาดบรรจุภัณฑ์ ในกลุ่มเครื่องดื่มมีบรรจุภัณฑ์อื่น ทดแทน” ได้ เช่น ขวด PET และกระป๋องอะลูมิเนียม (Can) แต่ จุดแข็งของบรรจุภัณฑ์แก้วที่โดดเด่นกว่าประเภทอื่นๆ คือ Feeling ที่ได้สัมผัส ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ภายในให้คงสภาพดี ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ การพัฒนาลูกค้าในการช่วยบรรจุ (Fill) ผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น

ขวด PET และกระป๋องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และมาแชร์สัดส่วนตลาดบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว แต่ขวดแก้วยังโตขึ้น จากหลายปัจจัย เช่น ความหลากหลายของการบริโภคเครื่องดื่มใหม่ๆ และสินค้าอาหารที่หันมาใช้ขวดแก้วหลากหลายมากขึ้น ทำให้ดีมานด์ขวดแก้วมีการพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่เติบโตขึ้น

ขณะที่การแข่งขันตลาดบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วเป็นสมรภูมิของยักษ์ชนยักษ์และมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาคือ เอเชียแปซิฟิกกลาส ทำให้มีการแข่งขันมากขึ้นเพราะศักยภาพแต่ละผู้เล่นนั้นแกร่ง 

มีผู้เล่นในธุรกิจนี้ 4 ราย เราไม่รู้ยอดขายของทุกรายว่าเท่าไหร่ แต่ส่วนแบ่งตลาดของเราเป็นอันดับ 1 ที่ 36% ส่วนเบอร์ 2 มีส่วนแบ่ง 33 เรานำนิดหน่อย” 

หากเกาะติดธุรกิจขวดแก้วจะเห็นว่า “2 ยักษ์ใหญ่มีวิวาทะชิงชัยการเป็นผู้นำตลาดเสมอ โดยบีเจซีแสดงแบบรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดที่ 37% และมีการลงทุนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วเพื่อหวังแซงบางกอกกล๊าสใน 3 ปี และสิ้นปีนี้โรงงานไทยมาลายากลาส TMG (สระบุรี) ก็จะทำการผลิตและขายขวดแก้วได้เพิ่มอีก 300 ตันต่อวัน

ขณะที่บางกอกกล๊าสก็เตรียมเปิดโรงงานใหม่ที่จังหวัดราชบุรี ช่วงสิงหาคมปีหน้า หลังจากลงทุน 2,500 ล้านบาท จะเพิ่มกำลังการผลิตขวดแก้วอีก 10% หรือประมาณ 1 แสนตันต่อปี จะส่งผลให้บริษัทมีกำลังผลิตโดยรวม 1.2 ล้านตันต่อปี

ที่ผ่านมา การผลิตขวดแก้วของบิ๊กโฟร์ต่างป้อนให้กับผลิตภัณฑ์ในเครือ เช่น บีจีซี ป้อนเบียร์ น้ำดื่มสิงห์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในเครือเกิน 50% เช่นเดียวกับบีเจซีที่ลูกค้าหลักภายในประเทศ คือ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ สยามกลาส อินดีสทรี ผลิตขวดแก้วสีชาป้อนเครือโอสถสภาที่มีเครื่องดื่มชูกำลัง M-150 เป็นพระเอก และเอเชียแปซิฟิกกลาส ผลิตให้คาราบาวแดง จากเดิมซื้อจาก 3 ค่าย

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของศิลปรัตน์การวางเป้าหมายสร้างการเติบโตยอดขายจะอิง ความต้องการตลาด หรือดีมานด์มากขึ้น จากที่ผ่านมาโตจาก กำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วที่มี โดยโรงงานใหม่ที่ราชบุรีที่มีความยืดหยุ่นในการผลิตขวดแก้วแบบใสและแบบสีจะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และลูกค้าใหม่ที่บริษัทจะโฟกัสเพิ่มคือกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 

ปัจจุบันลูกค้าหลักๆ ของบริษัทแบ่งเป็นธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ สัดส่วน 60-70% กลุ่มธุรกิจอาหาร 20% และอื่น เช่น ธุรกิจยา 10%

โรงงานใหม่จะเพิ่มศักยภาพในการผลิตขวดแก้วมากขึ้น รองรับลูกค้าที่หลากหลายขึ้น เพราะที่ผ่านมาบริษัทมีการเติบโตของรายได้ตามกำลังการผลิตสินค้าประมาณ 3-4% แต่จากนี้ไปต้องการเติบโตตามความต้องการตลาด แต่บริษัทก็ไม่สามารถมีกำลังการผลิตสินค้าเพียงพอกับความต้องการ ที่สำคัญโรงงานผลิตขวดแก้วที่ราชบุรี จะช่วยเสริมแกร่งให้กับการทำธุรกิจของเครือบุญรอดและลูกค้าในพื้นที่ภาคใต้มากขึ้น ด้วยชัยภูมิของโรงงานที่ดี และประสิทธิภาพของโรงงานใหม่ด้วย

บริษัทใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ลงทุนด้านเทคโนโลยี SAP เพื่อช่วยจัดการทุกสายงานของธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นเข้าถึงข้อมูลได้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วรองรับโลกยุคดิจิทัลด้วย

ความคืบหน้าการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) คาดว่าจะทำการซื้อขายได้ช่วงไตรมาส 3 ปีหน้า หลังจากแผนดังกล่าวเลื่อนมาประมาณ 4 ปี

ที่ผ่านมาบริษัทได้กลับมาปรับโครงสร้างใหม่ แบ่งหน่วยธุรกิจให้มีความชัดเจนขึ้น ประกอบด้วย บีจีซีบีจี โฟลต กล๊าส หรือ บีจีเอฟ ผลิตและนำเข้ากระจกแผ่น, บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น (บีจีอี โซลูชั่น) ดำเนินธุรกิจพลังงาน, ธุรกิจบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตลังและกล่องกระดาษ ผลิตขวดพลาสติก และธุรกิจกีฬาและอื่นๆ เช่น สโมสรฟุตบอล บางกอกกล๊าส(บีจีเอฟซี) บีจีเอฟซี มีเดีย แอนด์ สปอร์ต เป็นต้น

การเข้าตลาด บีจีซี ต้องการระดมทุนในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต

ที่ผานมาอุตสาหกรรมขวดแก้วค่อนข้างนิ่งๆ ผู้ประกอบการขายตามกำลังผลิต มีเท่าไหร่ก็ขายเท่านั้น เป้าหมายใหญ่ของผม คือการผลักดันรายได้ของบริษัทแตะ 2.5 หมื่นล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีรายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญผมอยากสร้างการเติบโตของธุรกิจบีจีซีอยู่ที่ระดับ 1 หลักปลายๆ”.

]]>
1144128
บางกอกกล๊าสผุดโรงงานแห่งที่ 5 ผลิตกว่า 4,000 ล้านขวด/ปีผงาดเบอร์ 1 อาเซียน https://positioningmag.com/52820 Thu, 05 Aug 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52820

กลุ่มบริษัทบางกอกกล๊าส ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่แห่งประเทศและภูมิภาคเอเชีย ขยายกำลังการผลิต โรงงานในเครือแห่งใหม่ในนาม “อยุธยากล๊าส อินดัสทรี” ถือเป็นแห่งที่ 5 ของกลุ่ม มีกำลังการผลิตกว่า 40 ล้านขวดต่อเดือนส่งผลยอดรวมของกลุ่มทั้ง 5 โรงงานผลิตได้มากกว่า 4,000 ล้านขวดต่อปี

นายสุรศักดิ์ เดชะรินทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทบางกอกกล๊าส กล่าวว่า เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาบริษัทได้ประกอบพิธีอุ่นเตาหลอมโรงงานอยุธยากล๊าสอย่างเป็นทางการ โดยเตาหลอมแรกที่เปิดดำเนินการนี้มีแผนเริ่มการผลิตในวันที่ 3 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป โดยโรงงานในเครือแห่งใหม่นี้ดำเนินงานในนาม บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด ตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ 55 หมู่ที่ 3 ต.สามบัณฑิต
อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

“โรงงานใหม่แห่งนี้ได้จดทะเบียนก่อนก่อสร้างไปแล้ว โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ครอบคลุม 276 ไร่ นับเป็นโรงงานแห่งที่ 5 ของกลุ่ม ซึ่งมีกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 320 ตัน/วัน ด้วยสายการผลิต 3 สาย มุ่งเน้นเป็นฐานการผลิตขวดโซดาวันเวย์สำหรับกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตขวดโซดาป้อนตลาดได้ถึงเดือนละ 40-43 ล้านขวด”

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า “สำหรับโรงงานอยุธยานี้ ทางกลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส วางแผนให้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอนาคตและจะมีโรงงานสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ด้วย การขยายกำลังการผลิตในครั้งนี้จะทำให้กลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส มีฐานการผลิตถึง 5 ฐานการผลิต โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่ ปทุมธานี มีกำลังการผลิต 910 ตัน/วัน, ระยอง 645 ตัน/วัน, ขอนแก่น 735ตัน/วัน, ปราจีนบุรี 180 ตัน/วัน และอยุธยา 320 ตัน/วัน รวมการผลิตทั้งหมด 2,790 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1,018,350 ตันต่อปี หรือประมาณ เกือบ 4,000 ล้านขวดต่อปีจะทำให้ กลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส มีกำลังการผลิตขวดแก้วใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

นอกจากนี้ทางกลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส ยังได้ทำการขยายธุรกิจ ด้านบรรจุภัณฑ์อื่น โดยมีบริษัท ในเครือ คือ บางกอกบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิต กล่องลูกฝูก, บริษัท เพ็ชรแพค ผู้ผลิต ขวด พลาสติก รายแรกของประเทศไทยและ บริษัท บีจีแพ็ค ผู้ผลิตฝาพลาสติก,ลังพลาสติกและฝาจีบ ทำให้กลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส มีสินค้าครอบคลุมบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างครบวงจร” นายสุรศักดิ์ กล่าว

]]>
52820