Andy Jassy CEO Amazon ได้เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนจะเลิกจ้างพนักงานอีก 9,000 คน โดยเป็นการปรับลดเพิ่มเติมจากรอบก่อนหน้าที่มีการปรับลดคนสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 18,000 คน ในช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ (พฤศจิกายน-มกราคม 2023) โดยส่วนใหญ่เป็นแผนกค้าปลีก จัดซื้อ และทรัพยากรบุคคลเป็นหลัก
สำหรับการปลดคนระลอกใหม่นี้จะกระทบที่ส่วนของ Amazon Cloud, ทรัพยากรบุคคล, การโฆษณา และธุรกิจสตรีมสดของ Twitch โดยก่อนหน้านี้ Dan Clancy CEO ของ Twitch ได้เคยออกมาเปิดเผยว่า บริษัทได้มีแผนจะลดพนักงานออกจำนวน 400 คน เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้และรายได้ของแพลตฟอร์มไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้
ทั้งนี้ Jassy ได้ระบุว่า สาเหตุที่เขาตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานเพิ่มก็เพื่อ ลดต้นทุน พร้อมกับคำนึงถึง ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ของเศรษฐกิจ
“หลักการที่สำคัญของการวางแผนประจำปีของเราในปีนี้คือ ต้องทำให้องค์กรลีนขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เรายังคงสามารถลงทุนอย่างแข็งแกร่ง สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าในระยะยาว ซึ่งเราเชื่อว่าสามารถปรับปรุงชีวิตของลูกค้าและ Amazon โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ” Jassy กล่าว
ปัจจุบัน Amazon กำลังอยู่ระหว่างการเลิกจ้างพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท หลังจากที่ช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 บริษัทได้จ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1.6 ล้านคน ภายในสิ้นปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 798,000 คนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562
โดย Jassy ยังพิจารณาภาพรวมกว้าง ๆ ของค่าใช้จ่ายของบริษัท เนื่องจากคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการเติบโตที่ชะลอตัวในธุรกิจค้าปลีกหลักของบริษัท ทำให้ Amazon ต้องหยุดจ้างพนักงานในองค์กร ตัดโครงการทดลองบางโครงการ และชะลอการขยายคลังสินค้า
]]>ธนาคารที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองแฟรงเฟิร์ตแห่งนี้แถลงว่า จะตัดลงต้นทุนค่าใช้จ่ายประจำปีโดยรวมของตนลงไปราวๆ หนึ่งในสี่นั่นคือจากระดับ 22,800 ล้านยูโร เมื่อปีที่แล้วให้เหลือ 17,000 ล้านยูโร ด้วยการใช้ขั้นตอนต่างๆ เป็นต้นว่า การเลิกธุรกิจค้าหุ้นของกิจการสายธนาคารเพื่อการลงทุน
นอกจากนั้นดอยช์แบงก์ยังวางแผนการลดขนาดกิจการฝ่ายที่โฟกัสเรื่องการลงทุนในตราสารหนี้ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะหันมาเน้นหนักธุรกิจซึ่งทางธนาคารอยู่ในกลุ่มผู้นำของตลาด และในธุรกิจซึ่งให้รายได้ที่สม่ำเสมอมากกว่า เป็นต้นว่าการให้บริการต่างๆแก่พวกลูกค้าที่เป็นบริษัท
เป็นเวลาหลายปีที่แล้วที่ดอยช์แบงก์ต้องประสบปัญหาทั้งจากการถูกลงโทษและถูกปรับเนื่องจากการทำผิดกฎระเบียบต่างๆ, มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง, และราคาหุ้นลดต่ำ แบงก์แห่งนี้ไม่สามารถทำผลกำไรได้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่จะกลับทำกำไรได้ 341 ล้านยูโรเมื่อปี 2018
คริสเตียน ซิววิ่ง (Christian Sewing) ซีอีโอคนปัจจุบัน เข้ากุมบังเหียนดอยช์แบงก์ เมื่อปีที่แล้ว และให้คำมั่นสัญญาที่จะผลักดันการปรับโครงสร้างให้รวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจาก จอห์น ครายอัน ซีอีโอคนเดิมถูกมองว่าเดินหน้าอย่างเชื่องช้าเกินไป
ราคาหุ้นของดอยช์แบงก์พุ่งขึ้น 2.5% เมื่อวันศุกร์ (5) มาอยู่ที่ระดับหุ้นละ 7.18 ยูโร เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการประกาศปรับโครงสร้างในเร็ววัน แต่ราคาขนาดนี้ยังถือว่าต่ำลงมากจากช่วงกลางปี 2015 ตอนที่หุ้นตัวนี้ซื้อขายกันในระดับเกิน 30 ยูโรต่อหุ้น
คำแถลงของดอยช์แบงก์ระบุว่า ความเปลี่ยนแปลงใหญ่คราวนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายครั้งเดียวรายการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารประสบการขาดทุนเป็นจำนวน 2,800 ล้านยูโรในช่วงไตรมาส 2 ถ้าหากไม่นำค่าใช้จ่ายรายการต่างๆ เหล่านี้มาคำนวณ ทางธนาคารจะมีกำไรสุทธิประมาณ 120 ล้านยูโร
การปรับโครงสร้างคราวนี้เกิดขึ้นตามหลังความล้มเหลวในเดือนเมษายน ของการเจรจาเพื่อควบรวมกับคอมเมอร์ซแบงก์กิจการธนาคารเยอรมันซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ โดยที่ดอยช์แบงก์เองบอกว่าการควบรวมเช่นนี้ไม่สมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาจากแง่มุมทางธุรกิจ ทว่ามันก็ทำให้ดอยช์แบงก์ยิ่งถูกตั้งคำถามว่าธนาคารจะสามารถเดินหน้าไปตามยุทธศาสตร์อย่างไรได้บ้าง เพื่อทำให้ธุรกิจต่างๆของตนผอมบางเพรียวลมลงและสามารถสร้างผลกำไร
แบงก์แห่งนี้ระบุว่าในแผนการส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ดอยช์แบงก์จะก่อตั้งหน่วยงานแยกออกไปต่างหากที่มีลักษณะเป็น “แบด แบงก์” (bad bank) เพื่อใช้เป็นที่ระบายถ่ายเทการลงทุนมูลค่าหลายพันล้านยูโรซึ่งผลกำไรต่ำหรือไม่ได้มีความเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ของดอยช์แบงก์ อีกต่อไปแล้ว
เมื่อกระทำตามแผนการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตำแหน่งงานต่างๆจะถูกลดลงไปจนเหลือ 74,000 ตำแหน่ง ธนาคารไม่ได้บอกว่าจะตัดลดตำแหน่งงานในส่วนใดบ้าง แต่กิจกรรมด้านธนาคารเพื่อการลงทุนจำนวนมากของทางธนาคารนั้น ดำเนินการในนิวยอร์ก และลอนดอน
]]>โดยระบุว่า ด้วยปัจจุบันสถานการณ์สิ่งพิมพ์ของบริษัทฯ ต้องเผชิญกับความท้าทายต่อสภาวะเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้สภาพทางธุรกิจของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบริษัทฯ จะได้พยายามประคับประคองธุรกิจสิ่งพิมพ์ในทุกวิถีทางอย่างถึงที่สุดแล้วก็ตาม บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องลดโครงสร้างและอัตรากำลังคน เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ บริษัทจึงมีนโยบายให้พนักงานประจำ ในสังกัด บริษัท วัชรพล จำกัด ทุกระดับ สมัครเข้าโครงการลาออกด้วยความสมัครใจ โดยได้รับความช่วยเหลือ มีรายละเอียดตามประกาศ ดังนี้
ทั้งนี้ พนักงานที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ให้กรอกแบบฟอร์มแสดงความประสงค์ ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่วันที่ 17-30 ธันวาคม 261
โดยผลตอบแทนตามโครงการ ประกอบไปด้วย
โดยพนักงานที่ได้รับพิจารณาอนุมัติ จะพ้นสภาพการเป็นพนักงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 และจะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเช็ค ในวันที่ 30-31 มกราคม 2562 ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ลงชื่อ ยิ่งลักษณ์ วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร
ทั้งนี้ สำหรับเม็ดเงินโฆษณาสื่อหนังสือพิมพ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา มียอด 555 ล้านบาท ติดลบ 17.41 % และสำหรับยอด 11 เดือนที่ผ่านมา มียอด 5,589 ล้านบาท ลดลง 20.95% เป็นการลดลงต่อเนื่อง.
]]>โดยการปรับลดพนักงานในองค์กรครั้งนี้คาดว่าจะมีคนที่ถูกเลย์ออฟหลายร้อยตำแหน่ง ซึ่งมีทั้งพนักงานในสำนักงานใหญ่ และส่วนงานอื่น ๆ ทั่วโลก โดยผู้รายงานอย่างซีแอทเทิลไทม์สเผยว่า ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยเลย สำหรับแอมะซอนที่มีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ขณะที่แอมะซอนเองอธิบายว่า บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเสนอตำแหน่งหน้าที่ใหม่ให้กับพนักงาน และบริษัทยังมีแผนจ้างงานเพิ่มอีกหลายตำแหน่ง โดยในตอนนี้ หากเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทจะพบว่ามีการประกาศรับสมัครงานไว้นับพันตำแหน่ง
โดยตัวเลขเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แอมะซอนมีพนักงานมากกว่า 560,000 คน (ทั้งฟูลไทม์และพาร์ทไทม์) ทั่วโลก โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 65 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา
ส่วนตำแหน่งงานใหม่ที่บริษัทต้องการนั้นเป็นงานเกี่ยวกับคลาวด์, รวมถึงการพัฒนาผู้ช่วยอัจฉริยะอเล็กซ่า และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ตอนนี้ก็กำลังอยู่ระหว่างสร้างทีมให้แข็งแกร่งขึ้น
หันมาดูทางด้านฐานะทางการเงินของบริษัท พบว่าแข็งแกร่งไม่น้อย กับผลประกอบการสวยหรู มีกำไร 3 พันล้านเหรียญสหรัฐบนยอดขายกว่า 178,000 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา เฉพาะในไตรมาส 4 ไตรมาสเดียว แอมะซอนสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้น 38 เปอร์เซ็นต์ แตะที่ 60.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรถึง 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า การปิดธุรกิจบางอย่างที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของอนาคต รวมถึงการลดคนงานนั้นยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในบริษัทแห่งนี้ ยกตัวอย่างเช่น การปิดตัว Diapers.com ไปเมื่อปีที่ผ่านมา รวมถึงเว็บไซต์อื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ Quidsi ที่บริษัทควบกิจการมาเมื่อปี 2010 ในราคาประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้ต้องมีคนตกงาน 260 คนในนิวเจอร์ซีย์ด้วย
ในจุดนี้จึงเป็นวัฒนธรรมที่ค่อนข้างแตกต่างจากธุรกิจยักษ์ใหญ่หลาย ๆ รายในบ้านเราที่ออกมายืนยันหนักแน่นว่ารายได้ที่มียังเพียงพอต่อการดูแลทีมงานทั้งหมด และจะไม่มีการประกาศลดคนงานแต่อย่างใด.
สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000015184
]]>