ประมูลคลื่นความถี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Dec 2019 09:03:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ดีแทค” วอน กสทช. ยืดเวลารอความชัดเจนคลื่น 3500 MHz ก่อน “ประมูล 5G” จี้ราคาแพงเกินจริง https://positioningmag.com/1255577 Mon, 02 Dec 2019 09:02:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255577
  • พรุ่งนี้เปิดประชาพิจารณ์ “ประมูล 5G” ดีแทคร้อง กสทช. ชะลอประมูลคลื่น 2600 MHz เพื่อรอความชัดเจนเงื่อนไขคลื่น 3500 MHz ซึ่งจะใช้บริการ 5G ได้เช่นกัน อาจนำมาประมูลร่วมรอบเดียว
  • เรียกร้องปรับกติกา เกลี่ยช่วงคลื่นให้ทุกรายมีโอกาสได้ครอบครองสิทธิ พร้อมทวงถามการถือครอง 20 MHz ที่หายไปของคลื่น 2600 MHz จะบริหารจัดการอย่างไร
  • มองราคาเริ่มต้นประมูล 5G ยังสูงเกินไป โดยสูงเป็นอันดับ 3 เทียบระดับโลก
  • แนะปรับเงื่อนไขวางเงินประกันสูงขึ้น ป้องกันนักปั่นราคาป่วนการประมูล
  • “มาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค นำร่องเปิดเผยข้อมูลเตรียมเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันพรุ่งนี้ (3 ธ.ค. 62) ในการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz 26 GHz ซึ่งตามกำหนดการจะมีการประกาศร่างประกาศฯ ลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 ธ.ค. 62 เพื่อเปิดประมูลในวันที่ 16 ก.พ. 63 ต่อไป

    มาร์คุสชี้เป้าว่า การประมูลครั้งนี้จุดสำคัญอยู่ที่คลื่น 2600 MHz และ 26 GHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมสำหรับใช้บริการ 5G แต่ดีแทคเชื่อว่าการประมูลคลื่น 26 GHz อาจจะเลื่อนออกไปก่อนเพราะระบบเน็ตเวิร์กรองรับยังไม่พร้อม ดังนั้นการแข่งขันสำคัญจะอยู่ที่คลื่น 2600 MHz

    คลื่น 2600 MHz ตามที่ กสทช. ประกาศเบื้องต้น ออกเงื่อนไขกำหนดการถือครอง 190 MHz แบ่งการประมูลเป็น 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาประมูลขั้นต่ำรวม 35,370 ล้านบาท หรือคิดเป็นใบอนุญาตละ 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท เป็นใบอนุญาตทั่วประเทศอายุ 15 ปี ซึ่งให้ผู้ร่วมประมูลสามารถประมูลและถือใบอนุญาตได้สูงสุด 10 ใบต่อราย

    ประมูล 5G DTAC
    “มาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค

    วอน กสทช. รอย่าน 3500 MHz ประมูลรอบเดียว

    สำหรับข้อเสนอของดีแทคมีทั้งหมด 6 ข้อ ที่จะยื่นต่อ กสทช. ในวันพรุ่งนี้ โดย Positioning สรุปใจความสำคัญ ดังนี้

    หนึ่ง ขอให้ กสทช. นำคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz มาประมูลร่วมด้วยกับคลื่นความถี่ 2600 MHz เนื่องจากคลื่น 3500 MHz สามารถนำมาให้บริการ 5G ได้เช่นกัน และคลื่น 3500 MHz ให้ถือครองได้ 300 MHz เมื่อรวมกันกับคลื่น 2600 MHz ที่ให้ถือครอง 190 MHz แล้ว จะทำให้การจัดสรรประมูลเพียงพอสำหรับผู้เล่นหลัก 3-4 รายในตลาด เนื่องจากดีแทคมองว่า การบริการ 5G ให้มีประสิทธิภาพนั้นแต่ละรายควรมีคลื่นความถี่อย่างน้อย 100 MHz

    นอกจากนี้ ดีแทคชี้แจงข้อดีของคลื่นความถี่ 3500 MHz ว่าเป็นระบบหลักที่ประเทศอื่นๆ ในโลกใช้สำหรับบริการ 5G ขณะที่คลื่น 2600 MHz มีผู้ใช้งานเพียงสองค่ายคือ China Mobile ในจีน และ Sprint ในสหรัฐอเมริกา ดังนั้น คลื่นที่มีผู้ใช้งานมากกว่าทำให้ค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์กต่างๆ ถูกกว่า เป็นประโยชน์ในแง่การลงทุนเน็ตเวิร์ก

    ประมูล-5G-แผนที่คลื่น

    ปัจจุบัน คลื่น 3500 MHz อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำลังจะหมดสัญญาเดือนก.ย.64 และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ดีอี) มีแผนจะนำคลื่นมาประมูลล่วงหน้าช่วงเดือนส.ค.63 อยู่แล้ว ทำให้ดีแทคมองว่า การประมูลคลื่น 2600 MHz สามารถรอประมูลรวมกับคลื่น 3500 MHz หรืออย่างน้อยคือรอจนกว่าเงื่อนไขการประมูลคลื่น 3500 MHz จะชัดเจน เพื่อให้บริษัทคิดคำนวณวางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

    “เรามองว่าการยืดช่วงเวลาไม่ได้นานมาก เพียง 2-3 เดือนจากกำหนดเดิม เชื่อว่าจะทำให้การประมูลและลงทุนคลื่น 5G ยั่งยืนกว่าการรีบร้อนเปิดประมูล” มาร์คุสกล่าว

    ทั้งนี้ การบริการ 5G เป็นสิ่งที่ทั้ง 3 ผู้เล่นหลักคือ ดีแทค ทรู เอไอเอส ต่างทดลองให้บริการสร้าง use case กันมาตลอด โดย กลุ่มทรู มีพันธมิตรสำคัญคือ China Mobile ซึ่งถือหุ้น 18% เป็นอันดับ 2 ในบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นเหมือนพี่เลี้ยง เนื่องจากให้บริการ 5G ในประเทศจีนอยู่แล้ว และบริการบนคลื่นความถี่ 2600 MHz ด้วย

     

    เกลี่ยการจัดสรรใหม่ให้ได้ใบอนุญาตถ้วนหน้า

    ข้อสอง ที่ดีแทคเสนอคือ ต้องการให้ กสทช. ปรับกติกาประมูลคลื่น 2600 MHz ให้มีเพดานต่ำลงจาก 100 MHz ต่อราย มิฉะนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้เล่นที่ได้รับใบอนุญาตเพียง 2 ราย

    “ต้องการให้กระจายการถือครองและป้องกันการบิดเบือนตลาด ถ้ามีรายใดรายหนึ่งไม่ได้คลื่น 5G ลูกค้าของบริษัทนั้นจะเสียประโยชน์” มาร์คุสกล่าว

    ข้อสาม เป็นข้อเรียกร้องต่อความชัดเจนในการรบกวนคลื่น เนื่องจาก กสทช. ระบุว่า ในคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz มีผู้ใช้งานอยู่ 20 MHz ดีแทคจึงต้องการความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการดึงคลื่นคืนมาร่วมประมูล หรือมีแนวทางป้องกันการรบกวนกันอย่างไร

    ดีแทคไม่ได้ระบุว่าเจ้าของคลื่นช่วง 2600-2620 MHz ปัจจุบันเป็นหน่วยงานใด แต่แหล่งข่าวรายหนึ่งจากหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการประมูล 5G ครั้งนี้ระบุว่าอยู่ในความครอบครองของกองทัพบก

     

    แพงเกินไป! เรียกร้องลดขั้นต่ำ “ประมูล 5G” ลง

    ข้อสี่ อีกหนึ่งจุดสำคัญคือดีแทคมองว่า ราคาใบอนุญาตเริ่มต้นใบละ 1,862 ล้านบาทของคลื่น 2600 MHz สูงเกินไป แม้จะลดลงจากเมื่อครั้ง กสทช. เปิดประมูลคลื่น 1800 MHz แต่ก็ยังสูงมากเมื่อเทียบกับราคาของประเทศอื่นๆ ราคานี้จะทำให้ไทยมีคลื่น 2600 MHz ราคาสูงอันดับ 3 ของโลกรองจากสิงคโปร์และอินเดีย โดยประเทศส่วนใหญ่เปิดประมูลที่ราคาต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทต่อใบอนุญาต เช่น ไต้หวัน เอสโตเนีย สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย แอฟริกาใต้

    ประมูล-5G-กราฟราคาคลื่น

    ส่วน ข้อห้า และ ข้อหก นั้นเป็นเรื่องระเบียบวิธีประมูล สืบเนื่องจากข้อสามซึ่งมีผู้ใช้งานคลื่น 2600 MHz อยู่ 20 MHz ดีแทคจึงขอให้เปลี่ยนวิธีประมูลจากการประมูลคลื่นความถี่หลายย่านพร้อมๆ กัน (Simultaneous Ascending Clock Auction) ซึ่งอาจทำให้ผู้ประมูลได้ช่วงคลื่นที่มีการใช้งานอยู่ไป ขอให้จัดวิธีประมูลที่เหมาะสมกว่านี้ และประเด็น การวางหลักประกัน ซึ่งปัจจุบัน กสทช. ให้วางเงินประกัน 10% ของราคาเริ่มต้น มองว่าน้อยเกินไป เกรงว่าอาจไม่สามารถป้องกันผู้ประมูลที่ไม่มีความตั้งใจจริงเข้ามาปั่นราคาได้

    ข้อเรียกร้องข้อสุดท้ายนั้นสอดคล้องกับทั้งเอไอเอสและทรู ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกร้องกับ กสทช. ให้ป้องกันการปั่นราคาประมูลให้รัดกุมขึ้นเช่นกัน

    ทั้งนี้ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี เพิ่งประกาศเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 62 ว่า รัฐจะผลักดันให้การประมูล 5G เป็นไปตามกำหนดการ และไม่กังวลหากเอกชนไม่สนใจร่วมประมูล เพราะเตรียมให้ กสท โทรคมนาคม (CAT) และทีโอที ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ร่วมประมูลครั้งนี้ด้วย

     

    ]]>
    1255577
    ย้อนรอยคลื่นความถี่ รถไฟความเร็วสูง กสทช. เตรียมย้ายย่านคลื่นให้มือถือ ชงเงินส่งรัฐ https://positioningmag.com/1183157 Tue, 14 Aug 2018 05:00:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183157 ปัญหาการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ยังเป็น “เงื่อนปม” ที่ยังไม่ได้บทสรุป ล่าสุด กสทช.เตรียมชงเรื่องเสนอรัฐบาลให้เปลี่ยนแปลงแผนการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะในย่าน 800-900 MHz ใหม่ เพื่อนำคลื่นความถี่มาประมูลในกิจการโทรคมนาคม ที่จะมีมูลค่าสูงกว่า และสามารถนำเงินก้อนใหญ่ส่งรัฐบาลได้ชัดเจนมากกว่า หลังจากที่ล้มเหลวในการเปิดประมูลคลื่นย่าน 900 MHz

    เมื่อย้อนรอยดูการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการรถไฟความเร็วนั้น พบว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ที่ผ่านมา กสทช.ได้จัดทำแผนการใช้คลื่นความถี่ในย่าน 800-900 MHz โดยระบุว่า ย่านนี้จะเป็นย่านที่จัดสรรไว้สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญได้จัดสรรให้กับโครงการรถไฟความเร็วสูง ตามที่กระทรวงคมนาคมขอมาด้วย

    โดยกิจการมือถือนั้น เดิมมี กสท.โทรคมนาคม หรือ CAT Telecom เป็นเจ้าของทั้งส่วนที่เป็นสัมปทานกับดีแทค ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2561 จำนวน 10 MHz และส่วนที่ CAT ให้กลุ่มทรูเป็นพาร์ตเนอร์ ทำเครือข่าย 3G จำนวน 15 MHz โดยจะสิ้นสุดการใช้คลื่นภายในปี 2568

    ส่วนกิจการ PPDR นั้น กสทช.จัดสรรให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในฐานะหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐไปใช้ในโครงการระบบวิทยุสื่อสารดิจิทัล 4จี ของเครือข่ายตำรวจ ที่มีรายการข่าวก่อนหน้านี้ว่า สตช.ใช้งบประมาณลงทุนในโครงการนี้เฟสแรกถึง 3.5 พันล้านบาท

    ในขณะที่กิจการ Trunked Radio นั้น มีการจัดสรรย่านคลื่น 806-814 MHz , 851-859 MHz  สำหรับกิจการนี้ และย่าน 920-925 MHz สำหรับกิจการ RFID และ Internet of Things (IoTs )

    สำหรับกิจการรถไฟความเร็วสูงนั้น ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคมนั้น ช่วงแรก มีทั้งหมด 4 เส้นทาง คือ

    1. กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. โดยเป็นการใช้เทคโนโลยีจากประเทศจีน
    2. กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. จะใช้เทคโนโลยีรถไฟชินคันเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
    3. กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม.
    4. กรุงเทพฯ-ระยอง 193.5 กม.

    กสทช.ได้จัดทำแผนคลื่นสำหรับกิจการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามคำขอของกระทรวงคมนาคม โดยมีการจัดสรรย่านคลื่นไว้ 2 ย่าน โดยเข้าที่ประชุมบอร์ดดีอีไปแล้วคือ

    • ย่านความถี่ 400 MHz สำหรับกิจการรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบญี่ปุ่น หรือชินคันเซ็น
    • ย่านความถี่ 800-900 MHz สำหรับกิจการรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบจีน

    หลังจากจัดสรรย่านคลื่นเรียบร้อย กสทช.วางแผนเบื้องต้นว่า คลื่นที่เหลือจากการจัดสรรให้กับรถไฟฟ้าความเร็วสูงเหลือเพียง 5 MHz เท่านั้น จึงไม่เห็นสมควรนำมาเปิดประมูล

    อย่างไรก็ตาม เมื่อกสทช.ล้มเหลวจากการเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz เป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไม่มีค่ายมือถือเข้าประมูล โดยเฉพาะ ดีแทค ที่ถูกคาดหมายว่าน่าจะเข้าประมูล แต่ดีแทคกลับไม่เข้าประมูล เพราะดีแทคนั้นต้องการคลื่นย่านต่ำ โดยเฉพาะย่าน 800-900 MHz ใช้ในการขยายพื้นที่การให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากกว่า คลื่นย่านสูงที่เหมาะสำหรับในเมือง ซึ่งดีแทคมีคลื่น 2300 MHz อยู่แล้ว

    กสทช.จึงเปลี่ยนใจ นำคลื่นย่าน 800-900 MHz ที่จะว่าง 5 MHz หลังดีแทคหมดสัมปทาน มาประมูลทันที เพราะคิดว่ายังไงดีแทคก็ต้องเข้าประมูล ประกอบกับราคาประมูลตั้งต้นที่กำหนดไว้ อยู่บนพื้นฐานราคาที่ทั้งเอไอเอสและทรูเคยประมูลมา น่าจะเป็นการการันตีรายได้อย่างน้อย 37,988 ล้านบาท ที่ กสทช.จะได้นำส่งรัฐบาลตามที่ผู้บริหารกสทช.ได้ตกปากรับคำกับรัฐบาลว่า กสทช.พร้อมสนับสนุนภาครัฐในการส่งเงินช่วยเหลืองบประมาณของรัฐ

    แต่ กสทช.ก็ต้องผิดหวัง เมื่อดีแทคตัดสินใจไม่ยื่นประมูล เพราะยืนยันว่าไม่คุ้มกับการประมูล ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกมหาศาลในการติดระบบป้องกันการกวนสัญญานทั้งกิจการรถไฟความเร็วสูง และคลื่นที่ค่ายมือถืออื่นๆ ใช้อยู่ พร้อมกับยื่นข้อเสนอให้ กสทช.ย้ายคลื่นกิจการรถไฟไปใช้คลื่นย่านอื่นแทน

    ราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ ดีแทค ได้เสนอทางออกให้ กสทช.กับกรณีคลื่นย่านนี้ว่า เสนอให้การรถไฟย้ายย่านคลื่นในกิจการรถไฟความเร็วสูงออกไปอยู่ที่คลื่นย่าน 450 MHz ที่รองรับเทคโนโลยี LTE-R ที่เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า สำหรับกิจการรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ เพื่อนำคลื่นจำนวน 10 MHz ที่เหลืออยู่มาใช้ในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้เหมือนกันทั้งหมด เพื่อไม่มีปัญหาการกวนกันอีกต่อไป

    เมื่อดีแทคยื่นข้อเสนอมาเช่นนี้ ทำให้ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้สั่งการให้สำนักงาน กสทช.เร่งรีบหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้คลื่น 900 MHz ขายออกทันที โดยเฉพาะแนวทางย้ายคลื่นรถไฟออกไป

    เปิดเงื่อนไขใช้คลื่นรถไฟ หากไม่ใช้ภายในปี 2563 ถือว่าสิ้นสุด

    ตามข้อตกลงของ กสทช.ทำไว้กับกระทรงคมนาคม ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าย่านคลื่น 800-900 MHz เป็นย่านคลื่นสำหรับเทคโนโลยี Global Systems for Mobile Communication – Railway หรือ GSM–R แต่หากกระทรวงคมนาคมยังไม่มีการลงนามในสัญญาดําเนินการใช้งานอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคม ขนส่งทางรางซึ่งใช้งานคลื่นความถี่ 885-890 / 930-935 MHz ภายในปี 2563 ให้ถือว่าการจัดสรรนี้สิ้นสุดลง ซึ่ง กสทช.จะจัดสรรคลื่นย่านนี้ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคมต่อไป

    เมื่อ กสทช.สอบถามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปที่การรถไฟฯ ในฐานะที่รับผิดชอบโครงการนี้โดยตรง ก็พบว่า ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จากโครงการนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรัฐบาลผุดโครงการรถไฟความเร็วสูงในเส้นทาง EEC ขึ้นมาแทน และถือว่าคืบหน้าที่สุด

    โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “คณะกรรมการ EEC” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท และมีการเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาซื้อซองประกวดราคาไปแล้ว มีผู้ให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองทั้งหมดถึง 31 ราย ซึ่งจะให้เวลายื่นซองในวันที่ 12 พฤศจิกายน และเปิดซองหาผู้ชนะการประมูลในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ แต่เส้นทางนี้ยังไม่ได้มีการระบุเทคโนโลยีเช่นเส้นทางที่การรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ

    จึงมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่การรถไฟจะไม่สามารถดำเนินโครงการนี้ได้ก่อนปี 2563 ที่เป็นข้อตกลงเบื้องต้น แต่ กสทช.ก็ไม่ต้องการใช้ระยะเวลารอให้ยาวเนิ่นนานไปกว่านั้น เพราะยิ่งช้า จะมีผลต่อรายได้จากการประมูลคลื่นที่ควรจะนำเข้ารัฐ จึงมีการประสานงานกับรัฐบาล ที่จะให้คมนาคมทำเรื่องยกเลิกการใช้งานคลื่นย่านนี้เข้ามา จนกว่าจะมีการศึกษาความคืบหน้าโครงการรถไฟ ซึ่งอาจจะมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยกว่า ในคลื่นย่าน 450 MHz

    นอกจากนี้ กสทช.พบว่า ตามประกาศ กสทช.เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ในแผนการใช้คลื่นย่าน 450 -470 MHz พบว่าปัจจุบันนี้ มีการใช้งานแบบวิทยุสื่อสารหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ที่เป็นระบบ Trunked Radio โดยมีข้อตกลงว่าให้ทุกรายที่ใช้งานอยู่ต้องย้ายออกไปภายในปี 2563 กว่าการรถไฟจะได้ทำโครงการอีกที ก็คงพอดีกับการที่หน่วยงานต่างๆ ย้ายออกพอดี จึงไม่น่ามีปัญหาสำหรับการใช้งานบนคลื่นย่านนี้แต่อย่างใด

    ทั้งนี้ กสทช.เชื่อว่า หากเคลียร์ทุกอย่างลงตัวตามแผน ก็จะสามารถนำคลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz มาเปิดประมูลได้ อย่างเร็วที่สุดภายในปีหน้า โดยที่ กสทช.จะการันตีต่อรัฐบาลว่า จะมีเงินอีกอย่างน้อยเกือบ 4 หมื่นล้าน จากการประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 5 MHz หรือกว่า 7 หมื่นล้าน จากคลื่น 10 MHz โดยตั้งความหวังว่า ดีแทคจะเข้าร่วมประมูลด้วย

    อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ยังไม่เกิด อีกทั้งดีแทคเองก็ไม่ได้แสดงความชัดเจนว่าหาก กสทช.เคลียร์ทุกอย่างตามที่ดีแทคเสนอแล้ว ดีแทคจะเข้าร่วมประมูลด้วย เพราะจะต้องพิจารณาสถานการณ์ ณ ขณะนั้นประกอบด้วย

    นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบของ กสทช. ว่าจะเล่นตามเกมเอกชน หรือจะสามารถพลิกกลับมาเป็นผู้คุมกฏจริงๆ ตามกฎหมายได้บ้างหรือไม่.

    ]]>
    1183157
    เปิดที่มา AIS – DTAC เข้าประมูลคลื่น 1800 MHz https://positioningmag.com/1182838 Fri, 10 Aug 2018 01:00:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1182838 ในที่สุด กสทช.ก็ประสบความสำเร็จในการดึงให้ให้ค่ายมือถือเข้ามาร่วมประมูลคลื่นความถี่ หลังจากที่ กสทช.โดนเทไปแล้ว 1 รอบ ในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 

    โดยในวันที่ 8 สิงหาคม ดีแทคเป็นรายแรกที่เข้ามายื่นขอเข้าร่วมประมูลในเวลา 10.18 น. เพื่อเป็นการส่งสัญญาณถึงเอไอเอส ที่ตามเข้ามายื่นในเวลา 13.09 น. โดยทั้ง 2 ค่ายเฉพาะเจาะจงว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz เท่านั้น

    ในขณะที่ค่ายทรู ได้ประกาศไปล่วงหน้าหนึ่งวันแล้วว่า ไม่ขอเข้าร่วมประมูล

    วงการโทรคมนาคมคลื่นความถี่คืออาวุธสำคัญที่จะทำให้ค่ายใดค่ายหนึ่งนำหน้าอีกค่ายหนึ่งได้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนบริโภคคอนเทนต์ผ่านสื่อมือถือ ปริมาณความต้องการใช้คลื่นเพื่อนำมาให้บริการได้รวดเร็ว ดังนั้นทุกการเคลื่อนไหวของแต่ละค่ายต่อการประมูลคลื่นความถี่ ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่บ่งบอกกลยุทธ์ของแต่ละค่ายได้อย่างดีที่สุด

    ดีแทค 5-10 เมก ขึ้นกับแผนปรับประมูลคลื่น 900 ใหม่

    มีการคาดการณ์กันว่า ดีแทคจะประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวนตั้งแต่ 5-10 MHz จากราคาตั้งต้นที่ กสทช.ไว้ 5 เมกละ 12,486 ล้านบาท แต่จะต้องเคาะการประมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง เคาะครั้งละ 25 ล้าน

    หากดีแทค ประมูลหนึ่งใบอนุญาต จำนวน 5 เมก จะต้องจ่ายวงเงินขั้นต่ำ 12,511 ล้านบาท หากประมูล 10 เมก วงเงินขั้นต่ำที่ กสทช.จะได้เท่ากับ 25,022 ล้านบาท รัฐบาลจะได้งวดแรก 50% จากวงเงินประมูลภายใน 90 วันหลังจากได้รับแจ้งให้เป็นผู้ชนะการประมูล

    ที่สำคัญ ปัจจัยที่ดีแทคจะประมูลจำนวนเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการ กสทช.เกี่ยวกับคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.ต้องการนำออกมาประมูลด้วย ซึ่ง ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.ได้เปิดเผยออกมาแล้วว่า บอร์ด กสทช.จะประชุมในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ เกี่ยวกับการจัดการย่านคลื่น 900 MHz เพื่อให้นำมาประมูลได้ โดยเป็นการรีบดำเนินการ ให้มีข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางก่อนที่จะมีการจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้

    ดีแทค เป็นตัวละครสำคัญที่สุดของการประมูลคลื่นครั้งนี้ เพราะเป็นค่ายที่ขาดแคลนคลื่นย่านต่ำ 900 MHz และย่าน 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดอายุใช้งานในเดือนกันยายนนี้ ในขณะที่ยังมีลูกค้าอีกมากที่ยังต้องใช้งานบนคลื่น 1800 MHz

    นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งบอกว่า สำหรับคลื่น 1800 MHz นั้น ดีแทคจำเป็นต้องมี เพราะจำนวนลูกค้าที่ใช้งาน 4G มีมากกว่าครึ่งหนึ่ง ยังมีมือถือที่รองรับการทำงานบนคลื่น 1800 MHz เท่านั้น โดยพบว่ามีประมาณ 41% เท่านั้นที่มีเครื่องที่รองรับคลื่น 2300 MHz ที่จะต้องกลายเป็นคลื่นหลักในการให้บริการ หากว่าไม่มีคลื่น 1800 MHz ให้บริการในสิ้นปีนี้

    ดีแทคจึงจำเป็นต้องหาทางใช้คลื่น 1800 MHz อย่างต่อเนื่อง ด้วยการหวังว่าจะเข้าสู่มาตรการเยียวยา หากคลื่นยังไม่ได้มีการประมูล แต่เมื่อ กสทช.ออกมาประกาศว่าจะไม่ให้เข้าสู่มาตรการเยียวยาวอย่างเด็ดขาด พร้อมกับผ่อนปรนเงื่อนไข ซอยย่อยใบอนุญาต จากใบละ 15 เมก มาเป็น 5 เมก ดีแทคจึงตัดสินใจเข้าร่วมการประมูล พร้อมกับยื่นข้อเสนอขอให้ กสทช.พิจารณาให้เยียวยาการใช้งานบนคลื่น 850 MHz ที่มีลูกค้าใช้งานอยู่ด้วย

    นอกจากนี้ ดีแทค ยังต้องการคลื่น 900MHz ที่เป็นคลื่นย่านต่ำ ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้างไกล แต่ติดปัญหา ต้องลงทุนติดระบบป้องกันการกวนสัญญาณกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ขอสำรองการใช้คลื่นในย่านติดกันนี้เท่านั้น

    ดังนี้ ดีแทค ได้ออกมาข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงเงื่อนไขคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz 3 ข้อ ข้อแรก เสนอให้รถไฟฟ้าย้ายการใช้คลื่นความถี่จาก 900 MHz ไปอยู่ในย่านคลื่นความถี่ 450 MHz บนเทคโนโลยี LTE-R ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ใน 2 ปีข้างหน้า ดีกว่าใช้เทคโนโลยี GSM-R ซึ่งคลื่นความถี่ย่าน 450-470 MHz ของทีโอที ที่ครอบครองคลื่นความถี่ดังกล่าวอยู่

    2.ให้รถไฟฟ้าใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ดังเดิม แต่ผู้ให้บริการแต่ละรายจะต้องรับผิดชอบติดตั้งระบบป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่เอง (filter) ซึ่งอาจจะใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) หรือเงินที่ได้จากการประมูลแทน

    3.หากต้องการใช้คลื่นย่าน 900 MHz ควรจะย้ายคลื่นความถี่ดังกล่าวไปอยู่ปลายสุดของช่วงคลื่นความถี่โดยไม่ให้ช่วงคลื่นความถี่ติดกับผู้ให้บริการรายใด

    เอไอเอส 5 เมกขั้นต่ำ

    เอไอเอส คลื่นที่ใช้งานอยู่จำนวน 55 เมก รองรับฐานลูกค้า 40 ล้านราย ในจำนวนนี้ คลื่น 1800 MHz อยู่ที่ 15 เมก เอไอเอสเองจึงไม่มีความจำเป็นมากเท่ากับดีแทค แต่เมื่อกสทช.เปลี่ยนกฎประมูลใหม่ ที่เอื้อให้กับเอไอเอส โดยจะให้ความคุ้มครองค่ายที่มีคลื่น 1800 MHz ที่ใช้งานอยู่แล้ว และมาร่วมประมูลในครั้งนี้ สามารถเลือกย่านคลื่นใหม่ในการประมูล ให้อยู่ติดกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานคลื่นให้เป็นแถบเดียวกันได้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ในทางเทคนิค เอไอเอสจึงต้องการคลื่นอีก 5 เมก รวมกับคลื่น 1800 MHz ที่มีอยูเดิม รวมเป็น 20 เมก ทำให้สามารถจับคลื่นคู่ ขยายแบนด์วิดท์ได้สูงและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เอไอเอสสามารถเดินหน้าลุยโปรโมต คอนเทนต์บนมือถือได้อย่างเต็มที่

    สอดคล้องกับที่วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กรของเอไอเอสได้บอกไว้ว่า สาเหตุที่เอไอเอสเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ เนื่องจากมองเห็นอนาคตการเติบโตของตลาดโทรคมนาคม ในการใช้คลื่นความถี่ไปพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆเพื่อให้บริการลูกค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกัน

    โดยที่เอไอเอสประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะเข้าร่วมประมูลต่อเมื่อดีแทคเข้าร่วมประมูลด้วย เพราะหากดีแทคไม่เข้าประมูล ก็มีแนวโน้มว่าราคาคลื่นอาจจะลดลงได้อีก เมื่อดีแทคส่งสัญญาณล่วงหน้าว่าเข้าประมูลแน่ เอไอเอสจึงรีบจัดทำเอกสารเข้าร่วมการประมูลทันที

    ทรู ภาระการเงินยังหนัก ไม่ประมูล

    ทรูเป็นรายเดียวที่ไม่เข้าร่วมประมูล เพราะยังมีคลื่นพอเพียงจำนวน 55 เมก ในขณะที่มีลูกค้าอยู่ที่ประมาน 27 ล้านราย

    นอกจากนี้ ยังทรูได้พยายามเรียกร้องขอยืดชำระค่าประมูลคลื่น 900 MHz ที่กำลังเป็นภาระหนักอึ้งของทรู ที่ประมูลมาในวงเงิน 76,298 ล้านบาท หากว่าทรูเข้าร่วมประมูลในรอบนี้ ก็อาจถูกมองว่า สามารถหาเงินมาประมูลได้ จะขัดกับข้อเสนอการขอยืดชำระงวดการประมูล ทรูจึงเลือกไม่เข้าประมูล พร้อมตั้งความหวังไว้กับการขอผ่อนผันการชำระค่าคลื่น 900 MHz ต่อไป

    นักวิเคราะห์บอกว่า ปัญหาใหญ่ของทรูตอนนี้คือ Net debt to EBITDA สัดส่วนหนี้สินสุทธิ ต่อ กำไรในการดำเนินงานก่อนหัก ดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม ที่เป็นตัวชี้วัดถึงช่วงระยะเวลาการคืนหนี้ ที่ตอนนี้อยู่ที่ 3.3 เท่าแล้ว และคาดว่าจะขึ้นไปสูงถึง 4.5 เท่า ภายในปี 2563

    นอกจากนี้ ทรูมีอยู่ทั้งหมด 55 เมก เป็นคลื่นย่านต่ำ 840-900 MHz ถึง 25 เมก มากกว่าคู่แข่ง และมีคลื่นย่านสูงที่ให้บริการอีก 30 เมก เมื่อเทียบกับจำนวนลูกค้าที่ให้บริการอยู่ยังน้อยกว่าเอไอเอส ที่มีอยู่กว่า 40 ล้านราย จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้คลื่นเพิ่มเติม

    กลุ่มทรูได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาศึกษาความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการประมูลคลื่นครั้งนี้อย่างรอบคอบแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่าไม่ควรเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้

    กสทช.ได้เงินเข้ารัฐอย่างน้อย 25,022 ล้านบาท

    ในขณะที่ กสทช.เอง ต้องการให้เกิดการประมูลเพื่อหาเงินส่งรัฐได้ตามที่มีการตกลงกับรัฐบาล เนื่องจากรายได้จากการประมูลคลื่นกลายเป็นรายได้หลักของประเทศไปแล้ว

    ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา กสทช.มีการจัดการประมูลคลื่นความถี่มาแล้ว 5 ครั้ง เป็นคลื่นโทรทัศน์ 1 ครั้ง และโทรคมนาคม 4 ครั้ง บนคลื่น 2100, 1800 และ 900 จำนวน 2 ครั้ง นำส่งรายได้เข้ารัฐไปแล้วกว่า 1.5 แสนล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่รวมรายได้จากการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ในปี 2559 และ 2558 อีกจำนวน กว่า 1.3 แสนล้านบาท ที่จะทยอยจ่ายในปี 2562-2563

    ในการประมูลคลื่น 1800 MHz รอบนี้ กสทช.จะได้เงินอย่างน้อยรวมกันที่ 25,022 ล้านบาท หากเอไอเอสและดีแทคประมูลรายละ 5 เมก.


    อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

    ]]>
    1182838
    ดีแทค ประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ประมูลคลื่น 900 MHz https://positioningmag.com/1182369 Wed, 08 Aug 2018 03:46:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1182369 รอลุ้นกันมาพักใหญ่ ล่าสุด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ออกมาระบุว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz ต่อสำนักงาน กสทช. แต่ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz

    ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคได้พิจารณากฎเกณฑ์การประมูลอย่างถี่ถ้วนและมีผลสรุปจะที่ยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูลและเพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz หลังจากที่ กสทช. ได้ประกาศปรับเงื่อนไขกฎเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 MHz ให้มีความยืดหยุ่นสำหรับผู้เข้าประมูล และยังช่วยส่งเสริมการแข่งขันในการประมูลด้วย ดีแทคมีความพยายามจัดหาคลื่นความถี่ 1800 MHz มาใช้งานเพื่อให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

    พร้อมกันนี้ ดีแทคยังได้เตรียมมาตรการต่างๆ รวมถึงการบังคับใช้แผนความคุ้มครองลูกค้าในช่วงหลังสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน

    โดยดีแทคมีแผนที่จะนำคลื่น 1800 MHz ที่เข้าประมูลครั้งนี้มาใช้ให้บริการ 2G อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับฐานลูกค้าที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งใช้เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายบริการ 4G รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

    ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ดีแทคประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลและจะไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้บริหารได้เคยชี้แจงเกี่ยวกับข้อกังวลในเงื่อนไขที่ระบุเพิ่มในประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ (IM) จะส่งผลต่อความเสี่ยงในการดำเนินงานและความไม่แน่นอนด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายของผู้ชนะประมูล

    โดยประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ระบุให้ผู้ชนะการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดที่จะสร้างขึ้นต่อไปในอนาคตแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนั้น กสทช. ยังขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่เป็นช่วง 885-890 /930-935 MHz ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ ซึ่งในกรณีจะต้องติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter) ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพิ่มเติมจากที่ต้องดำเนินการในกรณีแรก ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนินงานของผู้ชนะใบอนุญาตคลื่น 900 MHz

    หลังหมดสัมปทาน ยัน กสทชคุ้มครองลูกค้าต่อ

    อย่างไรก็ตาม ดีแทคจะเจรจากับ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองลูกค้าใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้งานของลูกค้าดีแทค หลังจากสิ้นสุดสัมปทานระหว่างดีแทคและ CAT ในวันที่ 15 กันยายน 2561

    ดีแทคได้ปฏิบัติตามประกาศ กสทช. อย่างเคร่งครัดที่จะให้บริการอย่างต่อเนื่องสำหรับลูกค้าจำนวนมากที่ยังคงใช้งานอยู่บนคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของลูกค้า

    “ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างดีแทค และ กสทช. ที่จะดำเนินตามแผนคุ้มครองลูกค้า ตามที่ กสทช. ได้เคยดำเนินการร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นในช่วงสิ้นสุดสัมปทานที่ผ่านมา โดยตามหลักการนั้น มาตรการคุ้มครองลูกค้าให้ใช้งานบนคลื่นความถี่จะมีผลอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีการจัดสรรคลื่นให้ผู้บริการรายใหม่” ลาร์ส กล่าว.


    อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

    ]]>
    1182369
    ไม่ฉลุย! ดีแทค หวั่นเงื่อนไขประมูล 900 MHz เหตุผู้ชนะต้องควักเงินติดระบบป้องกันคลื่นรบกวนเพิ่ม https://positioningmag.com/1178995 Mon, 16 Jul 2018 14:40:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1178995 จำนวน 2,000 ล้านบาท เชื่อว่าไม่ครอบคลุมงบประมาณในการดำเนินการสร้างระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ให้กับผู้ที่ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่น และระบบคมนาคมขนส่งทางราง แม้ขณะนี้จะยังไม่ได้มีผลวิเคราะห์งบประมาณอย่างแน่นอน ดีแทคประเมินว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการลดราคาขั้นต่ำของการประมูลมาก

    ดีแทคเข้ารับเอกสารการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ที่จะจัดประมูลขึ้นโดยสำนักงาน กสทช. ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ พร้อมเข้าร่วมการชี้แจงการประมูล (Information Session)

    ราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคเข้าร่วมการชี้แจงการประมูล (Information Session) โดยมีความกังวลต่อข้อกำหนดเงื่อนไขการประมูลใหม่ ในเงื่อนไขการอนุญาตข้อ 16, 17 และ 18 ที่กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่ และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว รวมถึงรับผิดชอบแก้ไขให้แก่ผู้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 850 MHz และ 900 MHz รายอื่นด้วย

    ดีแทคชี้แจงประเด็นหลัก 2 ข้อที่กำหนดเพิ่มให้ผู้ชนะที่ได้รับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz คือ

    ค่าใช้จ่าย – จำนวนเงินที่ กสทช. ลดราคาขั้นต่ำของการประมูลให้จำนวน 2,000 ล้านบาท เชื่อว่าไม่ครอบคลุมงบประมาณในการดำเนินการสร้างระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ให้กับผู้ที่ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่นและระบบคมนาคมขนส่งทางราง แม้ขณะนี้จะยังไม่ได้มีผลวิเคราะห์งบประมาณอย่างแน่นอน ดีแทคประเมินว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการลดราคาขั้นต่ำของการประมูลมาก

    ความเสี่ยงในการดำเนินงาน – นอกจากค่าใช้จ่ายแล้ว ผู้ชนะการประมูลจะต้องรับความเสี่ยงจากการเข้าไปดำเนินการติดตั้งระบบป้องกันคลื่นสัญญาณรบกวน (Filter) ในสถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตรายเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในทางปฏิบัติ

    นอกจากนี้ กสทช. ยังได้สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นความถี่ในกรณีที่จำเป็น โดยผู้ชนะการประมูลยังจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในการป้องกันการรบกวนคลื่นความถี่ ณ สถานีฐานของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพิ่มเติมจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงคลื่นความถี่เดิม ดังนั้นจึงทำให้มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายและการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีกมาก

    นอกจากนั้น ตามที่ดีแทคได้ส่งหนังสือถึง กสทช. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยระบุว่า การเปลี่ยนเป็นคลื่น 900 MHz เพื่อให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศด้วยสถานีฐานประมาณ 13,000 สถานี จะต้องใช้เวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ประมาณ 24 เดือน ดังนั้นดีแทคจึงขอความชัดเจนในการใช้งานคลื่น 850 MHz เพื่อให้บริการลูกค้าระหว่างการดำเนินการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

    ทั้งนี้ ดีแทคได้ย้ำถึงความตั้งใจในการพิจารณาเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ก่อนจะสรุปแนวทางการเข้าร่วม โดยยังคงเดินหน้าปรึกษาหารือกับ กสทช. ในการแก้ไขประเด็นดังกล่าว และให้แน่ใจว่าคลื่นความถี่ 900 MHz สามารถนำมาประมูลด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ.


    อ่านข่าวต่อเนื่อง

    ]]>
    1178995