ผลกำไร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 Apr 2020 04:28:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SCB กำไร 9.2 พันล้านในไตรมาส 1/63 ตั้งเงินสำรองอีก 9.7 พันล้าน รองรับหนี้ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1274200 Mon, 20 Apr 2020 04:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274200 ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทย่อย ประกาศผลกำไรสุทธิประจำไตรมาส 1 ปี 2563 (งบการเงินรวมก่อนสอบทาน) จำนวน 9,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากรายได้รวมที่ขยายตัว 9% จากปีก่อน พร้อมกับที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 25,777 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน มีการปรับพอร์ตสินเชื่อด้วยการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง การปรับตัวลดลงของต้นทุนทางการเงิน และการรับรู้รายได้ที่สูงขึ้นของพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามมาตรฐานบัญชีใหม่ซึ่งเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปี

แต่ฐานรายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังคงได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง จากภาวะดอกเบี้ยขาลง การหดตัวของยอดสินเชื่อรวมในไตรมาสแรกของปี และการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยภายหลังที่ธนาคารได้ขายหุ้นของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 11,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน เป็นผลส่วนใหญ่จากรายได้ค่าธรรมเนียมประเภท recurring ที่ปรับตัวดีขึ้น ในไตรมาส 1 ของปี 2563 รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งขยายตัว 31% จากปีก่อน เป็นจำนวน 2,022 ล้านบาท

รายได้จากธุรกิจขายประกันผ่านธนาคารเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจำนวน 3,159 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากความร่วมมือกับกลุ่ม FWD ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต การขยายฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้สามารถชดเชยผลกระทบของการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ตามแนวทางการกำกับดูแลของทางการเมื่อต้นปี และการชะลอตัวของปริมาณการทำธุรกรรมธนาคารในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 16,393 ล้านบาท ลดลง 8% จากปีก่อน เป็นผลจากการไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับพนักงานตามกฎหมายแรงงานใหม่ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่รับรู้ในปีก่อน และการตัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตออกจากงบการเงินรวมภายหลังที่ธนาคารได้ขายหุ้นออกไป โดยรวมแล้วอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในไตรมาส 1 ของปี 2563 ของธนาคารจึงลดลงเป็น 43.6%

Photo : Shutterstock

ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน ธนาคารได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 9,726 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ของปี 2563 เพื่อรองรับหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเพิ่มขึ้รวมถึงให้สอดคล้องกับมาตรฐานบัญชีใหม่ในการประมาณการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารอยู่ที่ 3.17% ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับเพียงพอที่ 140%

ธนาคารมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งโดยมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) ที่ 16.1% และเงินกองทุนรวมตามกฎหมายที่ 17.2% แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่จัดได้ว่าเป็นช่วงวิกฤต ที่มีความผันผวนและความไม่แน่นอนระดับสูงมากทั้งในตลาดการเงินและเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยที่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อใด

คณะกรรมการธนาคาร จึงได้มีมติให้ยกเลิกโครงการซื้อหุ้นคืนของธนาคารในวงเงินไม่เกิน 16,000 ล้านบาทที่ได้อนุมัติไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 เพื่อให้ธนาคารสามารถเข้าช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารให้ก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่นี้ไปได้อย่างดีที่สุด โดยให้ลูกค้าเข้าร่วมโครงการบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของธนาคาร และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในมาตรการต่างๆ ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการทำให้ธนาคารมีความพร้อมในการขยายธุรกิจเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมสืบเนื่องจากวิกฤตครั้งนี้

]]>
1274200
วิเคราะห์ผลกำไรแบงก์ 9 เดือนแรกโต 2.39% รายได้พิเศษช่วยหนุน-สินเชื่อยังแผ่ว https://positioningmag.com/1250729 Thu, 24 Oct 2019 05:29:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250729 ผลการดำเงินกลุ่มธนาคารพาณิชย์ชะลอตัว ไตรมาส 3/62 กำไรสุทธิรวม 57,800 ล้านบาท ขยับเพียง 1.80% ขณะที่งวด 9 เดือนกำไรสุทธิ 170,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.39% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากกำไรพิเศษจากการขายทรัพย์สินของแบงก์ ขณะที่รายได้หลักจากการปล่อยสินเชื่อยังไม่กระเตื้อง

แม้ว่าผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งจะทยอยออกมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อนจนครบถ้วนในช่วงสัปดาห์นี้ แต่เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของทั้งระบบจึงได้รวบรวมผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่งพร้อมบทวิเคราะห์รายละเอียดมาให้พิจารณากันอย่างรอบด้านขึ้น

ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งประกอบไปด้วย ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารกรุงไทย(KTB), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY), ธนาคารธนชาต (TBANK), ธนาคารทหารไทย (TMB), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT), ธนาคารทิสโก้ (TISCO), ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) และธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LHFG) ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562

  • กำไรสุทธิ

จำนวนรวมทั้งสิ้น 57,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,024 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 56,878 ล้านบาท โดยธนาคาร 8 แห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ BBL,SCB,KBANK,BAY,TBANK,CIMBT ,TISCO และ KKP ธนาคารที่เหลืออีก 3 แห่ง ได้แก่ KTB,TMB และ LHFG มีผลกำไรที่ลดลง

  • ส่วนผลประกอบการ

ในงวด 9 เดือนปี 2562 ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งมีผลกำไรสุทธิ 170,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,973 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.39% โดยมีธนาคาร 6 แห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ BBL,SCB,BAY,TBANK,CIMBT,TISCO และธนาคาร 5 แห่ง มีกำไรสุทธิลดลงได้แก่ KTB,KBANK,TMB,KKP และ LHFG

ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นมาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทั้งจากการธุรกิจแบงก์แอชชัวรันส์ ธุรกิจกองทุน ยกเว้นรายได้ค่าธรรมเนียมที่ยังไม่กระเตื้องขึ้นหลังจากที่ธนาคารได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล

  • รายได้ที่มาจากดอกเบี้ย

ยังไม่ค่อยสดใสนักจากอัตราการตัวของสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยยังคงเติบโตได้ดี รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพียงขาเดียวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีธนาคารพาณิชย์ในบางแห่งที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้รายการพิเศษ อาทิ การขายกิจการต่างๆ และในทางกลับกันก็มีธนาคารพาณิชย์บางแห่งทีมีผลกำไรลดลงในอัตราสูงเนื่องจากเทียบกับฐานที่สูงจากการรับรู้รายการพิเศษในช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ค่าใช้จ่าย

ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงมีค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ตามความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละธนาคาร ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากดำเนินงานยังเป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของแต่ละธนาคารที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่แตกต่างกัน

ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2562 จำนวน 9,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% จากไตรมาส 3 ปีก่อนที่มีกำไร 9,029 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 9.6% เป็นผลจากการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวม

สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อย 1.7% ตามการลดลงของสินเชื่อ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจานวน 2,001,445 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 จากสิ้นเดือนมิถุนายน 2562 จากการลดลงของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง และการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)

แจ้งผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี2562 เมื่อเปรียบเทียบกับงวด 9 เดือน ปี 2561ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 29,924ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน1,502 ล้านบาท หรือ 4.78% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 4,051 ล้านบาท หรือ 5.54%

ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 2,753 ล้านบาท หรือ6.20% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งนี้ ธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนNPL อยู่ที่ระดับ 3.53% จากสิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 3.34%

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

รายงานกำไรสุทธิของไตรมาส 3 ปี 2562จำนวน 14,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติจำนวน 10,484 ล้านบาทและกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำนวน 11,644ล้านบาท

ซึ่งในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมอีก 9,100 ล้านบาทจากสำรองปกติที่จำนวน 6,173 ล้านบาทรวมเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น 15,273 ล้านบาท สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2562 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 34,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 3.01% จาก 2.77% ณ เดือนมิถุนายน 2562 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพเป็นผลมาจากความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 6.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 26.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2561

โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ในการบันทึกกำไรจากการขายหุ้นของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน และการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการขยายตัวของสินเชื่อที่ 6.4% จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นการเติบโตของสินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีสินเชื่อเพื่อรายย่อยยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก

Source

]]>
1250729