ผู้บริโภคชาวไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 06 Dec 2023 10:42:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจจาก UBS เผยชาวไทย 71% มองเศรษฐกิจในปี 2024 ดีขึ้น แต่พฤติกรรมบริโภคเปลี่ยนไปในปีนี้ https://positioningmag.com/1454519 Wed, 06 Dec 2023 09:11:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454519 ผลสำรวจจากสถาบันการเงินอย่าง UBS ที่ได้สำรวจผู้บริโภคชาวไทยนั้นมองว่าในปี 2024 นั้นมีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยที่ดีกว่าเดิม อย่างไรก็ดีพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคไทยได้เปลี่ยนไปหลายเรื่องเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่การจับจ่ายใช้สอย

UBS ได้ออกบทวิเคราะห์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม โดย 71% ของผู้ร่วมทำการสำรวจได้ให้มุมมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นั้นดูดีมากขึ้น ซึ่งถือว่ามากที่สุดที่บันทึกไว้นับตั้งแต่การสำรวจนับตั้งแต่ปี 2020 อย่างไรก็ดีผู้บริโภคชาวไทยที่ได้ทำแบบสำรวจดังกล่าวมองว่าราคาสินค้าและบริการในปีหน้าจะยังเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

สถาบันการเงินจากสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำสำรวจผู้บริโภคชาวไทย 1,000 รายด้วยกันในหลากหลายคำถามตั้งแต่ เรื่องของมุมมองเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค หรือแม้แต่การใช้สินค้าในแต่ละวัน ซึ่งสำรวจดังกล่าวได้จัดทำในช่วงไตรมาส 4 นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา โดยจัดทำปีละ 1 ครั้ง และในปี 2023 นี้จัดทำในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ในการทำแบบสำรวจดังกล่าวสำรวจผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทเป็นกลุ่มรายได้ต่ำ 330 ราย รายได้ปานกลางจะอยู่ในช่วง 30,000-79,999 บาท 340 ราย ขณะที่เงินเดือนมากกว่า 80,000 บาทจะถือเป็นกลุ่มรายได้สูงซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม 330 ราย

มุมมองของเศรษฐกิจไทยที่ UBS ได้สอบถาม ผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 51% มองว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ 27% มองว่าแย่ลง 22% มองว่าเหมือนเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลง ขณะที่ 89% มองว่าราคาสินค้าและบริการนั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ในส่วนของมุมมองเศรษฐกิจในปีหน้าเมื่อเทียบสเกลจากดีมากไปยังแย่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 จะ “ดีขึ้นเล็กน้อย”

ผลสำรวจจาก UBS ในส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  • รายได้เฉลี่ยของผู้มีรายได้ต่ำที่ตอบแบบสอบถามนี้มองว่ารายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
  • ขณะที่รายได้ของผู้มีรายได้ปานกลางและสูงมองว่ารายได้ในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นในช่วง 1-5% เท่านั้น
  • คนไทยยังซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งสัดส่วนมากกว่า 20%
  • ช่องทางในการซื้อสินค้าออนไลน์ของไทยยังอยู่ที่ Shopee กับ Lazada เป็นหลัก ขณะที่ TikTok Shop นั้นเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ถึงสัดส่วน 10%
  • แพลตฟอร์ม Food Delivery ที่คนไทยใช้งานเป็นหลักคือ Grab รองลงมาคือ LINE MAN และ Food Panda
  • 3 แบรนด์ร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบไปคือ โฮมโปร ไทยวัสดุ และ IKEA
  • ผลสำรวจยังพบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามนั้นลดการบริโภคแอลกอฮอล์ลงนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา
  • คนไทยลดการบริโภควิตามินซีทุกวันนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา แต่บริโภคนานๆ ครั้ง เช่น 3-5 วัน เป็นต้น

ผลสำรวจดังกล่าวมีการตอบคำถามที่มีมุมมองตรงกันก็คือ สินค้าที่ผู้บริโภคใช้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงสูงมองตรงกันคือเรื่องของความคุ้มค่าต่อราคา ต่างกับในอดีตที่มองว่าราคาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด รองลงมาคือเรื่องของการทำโปรโมชั่น ขณะที่ปัจจัยสำคัญน้อยสุดคือพนักงานขายต้องมีความสุภาพและเต็มใจที่จะช่วยเหลือ

UBS ยังเชื่อว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนมุมมองในภาพกว้างว่าการบริโภคชาวไทยอาจฟื้นตัวในปี 2024 ด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังของรัฐบาล (เช่น โครงการ Digital Wallet) และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ

]]>
1454519
UOB สำรวจผู้บริโภคชาวไทย มอง 6-12 เดือนข้างหน้าใช้จ่ายระมัดระวัง กังวลเศรษฐกิจชะลอตัว https://positioningmag.com/1446324 Sun, 01 Oct 2023 15:37:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446324 ยูโอบี ได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 ซึ่งเปิดเผยความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภคชาวไทย มีความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า และมองว่าทำให้มีการใช้จ่ายแบบระมัดระวังตัวมากขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว

UOB ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย และได้ออกรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study โดยในปี 2023 นี้ รายงานการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคคนไทยยังคงเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็มีความระมัดระวังและปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัว

การสำรวจของ UOB ที่ทำในประเทศไทยได้เน้นเจาะกลุ่มชนชั้นกลางที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท ไปจนถึงมากกว่า 200,000 บาท เป็นจำนวน 600 คนด้วยกัน

72% ของผู้ตอบแบบสำรวจ แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจเกิดขึ้นในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังกว่าเดิม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงิน โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถามได้เลือกกันเงินสำหรับการออมและการลงทุนมากขึ้น 

โดย 3 ใน 4 ของผู้บริโภคในไทยมีความกังวลในสถานะการเงินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น หรือแม้แต่ความมั่งคั่งของตัวเองลดลง ขณะที่ด้านการงานมองว่ากังวลในเรื่องที่จะได้โบนัสลดลง ความสามารถในการหาตำแหน่งงานที่ดีกว่า ไปจนถึงความเป็นไปได้ที่จะตกงาน

ข้อมูลจาก UOB

ผู้ตอบแบบสำรวจ 30% ยังกังวลถึงเรื่องของความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยข้าวของที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว ขณะที่ความสามารถในการมีไลฟ์สไตล์แบบปัจจุบันรวมถึงด้านการออมเงินมีมากถึง 30% เช่นกัน ในด้านของการใช้เงินนั้น 25% มองว่าค่าใช้จ่ายตัวเองจะใช้มากขึ้น ขณะที่ 41% จะคงไว้ที่จำนวนเท่าเดิม ขณะที่ 31% จะลดด้านการใช้จ่ายลง

ในเรื่องของการเงินนั้น ผลสำรวจได้ชี้ว่า คนรุ่นใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุน โดยเฉพาะ Gen Z เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังที่สุด 41% มีแผนออมเงินมากขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ Gen Y มุ่งเน้นการลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

ขณะที่ด้านของการใช้บริการของธนาคารผ่านช่องทางต่างๆ 61% นั้นใช้ช่องทางผ่านโทรศัพท์มือถือ 38% ผ่าน Internet Banking 30% ผ่านช่องทางเครื่องทำธุรกรรมอัตโนมัติ เช่น ATM หรือ CDM ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคชาวไทยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ดี

รายงานฉบับดังกล่าวยังชี้ว่า 89% ของผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับธนาคารเพื่อรับบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้นผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร มากกว่าแอปพลิเคชันแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค ในการเปิดรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรเฉพาะจากธนาคาร

]]>
1446324
“กันตาร์” เผยผู้บริโภคชาวไทยอยากได้แบรนด์จริงใจ ไม่ทำเพื่อสังคมแบบผิวเผิน https://positioningmag.com/1201909 Fri, 07 Dec 2018 10:29:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1201909 กันตาร์ (Kantar) บริษัทวิจัยเกี่ยวกับแบรนด์ ได้เปิดเผยถึงผลสำรวจ Purpose in Asia  พบว่า ผู้บริโภค 90% ในเอเชีย และ 93% ในประเทศไทย อยากให้แบรนด์ต่างๆ เข้ามามีบทบาทในประเด็นที่ตนเองให้ความใส่ใจ หมายความว่า ผู้บริโภคคาดหวังให้แบรนด์มีส่วนร่วมอย่างจริงจังมิใช่เป็นเพียงการสร้างภาพ

โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 63%ในประเทศไทย แนวโน้มที่จะซื้อสินค้าของแบรนด์ที่มีอุดมการณ์ตรงกับตนเอง ขณะที่ 53 % ระบุว่าพวกเขายินดีที่จะจ่ายเงิน เพิ่มขึ้นอีกนิดเพื่อซื้อสินค้าของแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือบนนโยบายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลการสำรวจดังกล่าว ยังระบุด้วยว่า สองประเด็นที่ได้รับความสนใจในวงกว้างในเอเชียนั้น ได้แก่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการให้ความเท่าเทียมกันทางเพศ แต่ประเด็นที่ใกล้ตัวและผู้บริโภคให้ความสำคัญมากกว่า คือเรื่องของสุขภาพ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการยุติความยากจน

ผลการสำรวจครั้งนี้ได้ชูบทบาทของ สื่อโซเชียลมีเดีย ในการกระจายข้อมูลข่าวสารในประเด็นต่าง ๆ  สื่อโทรทัศน์ยังคงเป็นช่องทางที่บอกกล่าวถึงปัญหาทางสังคมให้ผู้คนได้รับรู้มากที่สุด

อย่างไรก็ดีการแพร่หลายของสื่อโซเชียลมีเดียในหลาย ๆ ประเทศทั่วเอเชียทำให้ผู้คนตื่นตัวกันมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 66 %ในประเทศไทยเผยว่า ตนได้เข้าไปกดไลค์และโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นที่ตนสนใจและให้ความสำคัญ ขณะที่ 51 %ของผู้ตอบแบบสำรวจได้กดแชร์โพสต์หรือส่งต่อบทความ

ด้วยเหตุนี้โซเชียลมีเดียจึงได้เข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค 71% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยเผยว่า ตนรู้สึกตระหนักต่อประเด็นทางสังคมในชีวิตประจำวันมากขึ้นหลังจากที่ได้เห็นโพสต์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่ 41% เผยว่า พฤติกรรมของตนได้เปลี่ยนไปด้วยสาเหตุนี้

สำหรับคำถามที่ว่าแบรนด์ต่าง ๆ ควรเข้ามามีบทบาทในประเด็นเหล่านี้อย่างไรนั้น การแสดงออกถึงความตั้งใจจริงคือคำตอบ เพราะผู้บริโภคมักรู้ทันแบรนด์ที่ออกตัวทำเพื่อสังคมแบบผิวเผิน แต่ขณะเดียวกันกลับมีปัญหากับแนวทางการทำธุรกิจของตนเอง หรือไม่ก็แบรนด์ที่เลือกใช้แนวทางในการสื่อสารผิด ๆ ในประเด็นอ่อนไหว ผู้บริโภคในตลาดพัฒนาแล้วรู้สึกไม่มั่นใจกับบทบาทของแบรนด์มากกว่าตลาดอื่น ๆ ซึ่งเพียง 33% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศออสเตรเลียที่รู้สึกว่าแบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้ามามีส่วนทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง เมื่อเทียบกับในประเทศอินเดีย มีผู้ตอบแบบสำรวจมากถึง 74% ที่ให้ความเชื่อถือและไว้ใจในกิจกรรมลักษณะนี้

ผู้บริโภคเชื่อว่าแบรนด์ต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยเหลือในประเด็นที่ผู้คนให้ความสำคัญ การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับประเด็นที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกิจกรรมที่ผู้ตอบแบบสำรวจพูดถึงมากที่สุด ตามมาด้วยการริเริ่มให้ทุนอุดหนุนโครงการเพื่อสนับสนุนประเด็นดังกล่าว และการให้เงินสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ โดยตรง

จอย ลี ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลประจำภูมิภาค จากธุรกิจ Insights Division ของกันตาร์ กล่าวว่า ความท้าทายในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า เราจะหาประเด็นที่ตรงใจชาวเอเชียที่มีความแตกต่างกันได้อย่างไร และจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังได้อย่างไร ทุกวันนี้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างความแตกต่างได้  ซึ่งข้อดีคือ  แบรนด์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องประกาศกร้าวให้รู้ไปถึงทั่วโลกเสมอไป เพราะการสนับสนุนโครงการและริเริ่มในระดับท้องถิ่น สร้างการขับเคลื่อนและการเปลี่ยนแปลงที่แม้จะเล็กแต่มีความหมายนั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญที่สุด”

ผลสำรวจของ Purpose in Asia ได้ออกสำรวจความคิดเห็น กลุ่มอายุมากกว่า 18 ปี ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนรวมกันกว่า 3,000 ราย โดยมีบริษัท Lightspeed เป็นผู้จัดทำ ในตลาด 9 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และไต้หวัน.

]]>
1201909