เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย คิดเป็น 20.6% ของ GDP ในปี 2016 ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวกลายเป็นเสาหลักหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนก็ได้กลายเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวเช่นกันเพราะมีการเดินทางมาในไทยมากขึ้นทุกปี คนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง
สัดส่วนนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุด คิดเป็น 30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่มาไทยในปี 2559 มีจำนวน 8.7 ล้านคน เติบโต 10% พบว่าคนจีนที่มาเยือนไทย เดินทางมาจากเซี่ยงไฮ้ และกว่งโจวมากที่สุด ในขณะเดียวกันชาวจันก็นิยมไปเกาหลีเช่นกัน มีสัดส่วนถึง 55% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เยือนเกาหลี คิดเป็น 8 ล้านคน เติบโตขึ้น 35%
เมื่อดูพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ สามารถแบ่งได้ตั้งแต่ก่อนเดินทาง คนจีนมีการใช้มือถือเฉลี่ย 3.9 ชั่วโมงต่อวัน คนฮ่องกง 3.1 ชั่วโมงต่อวัน และคนไต้หวัน 2.8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนแอปพลิเคชั่นที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกจะเป็นเรื่องการสื่อสาร การท่องเที่ยว และการเงิน
ส่วนช่วงเวลาที่ท่องเที่ยวอยู่ คนจีนใช้ว่าอยู่ในประเทศไทยเฉลี่ย 5 วัน มีการเข้าใช้งานแอปต่าง ๆ (นอกเหนือจากโซเชียลมีเดียและแอปส่งข้อความ) สูงสุด 10 ครั้งต่อวัน ดังนั้นในการเดินทางช่วงสั้นๆ นี้ มือถือจึงเป็นช่องทางสำคัญในการค้นหาข้อมูลต่างๆ
จังหวัดที่คนจีนนิยมมาเยือนไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ 55.7% ชลบุรี 15.9% สมุทรปราการ 15.1% ภูเก็ต 7.1% และเชียงใหม่ 5.7%
]]>ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมของประชากรไทย พ.ศ. 2559 จากผู้ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศจำนวน 7,619 ราย พบว่า มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เฉลี่ย 50.61 นาทีต่อวัน ในจำนวนนี้ เป็นการใช้เพื่อการทำงานหรือทำธุรกิจหลัก เฉลี่ย 24.14 นาทีต่อวัน โดยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อสร้างรายได้ คิดเป็นร้อยละ 27.28
หากแบ่งตามช่วงอายุ พบว่าอายุ 31 – 40 ปี เป็นช่วงอายุที่มีผู้ใช้มือถือสร้างรายได้มากที่สุด
ที่มา : ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.)
]]>กรุ๊ป เอ็ม มีเดียเอเยนซี่ ได้วิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มคนที่เริ่มใช้มือถือ New Internet User มาเป็นเวลา 2 ปี และพบว่า เวลานั้นส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการใช้ไลน์ ใช้เฟซบุ๊ก โดยบางคนไม่รู้ว่าการเล่นไลน์กับเพื่อน หรือกับลูกหลานเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่
ในปีนี้ทางกรุ๊ป เอ็มจึงได้สานต่องานวิจัยติดตามผลจากใน 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนกลุ่มเดิม ในเดือนตุลาคมปี 2559 จากกลุ่มตัวอย่าง 300 คนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีอายุตั้งแต่ 18-60 ปี ใน 3 หัวข้อ ได้แก่ การใช้ชีวิต การเสพสื่อออนไลน์ และการใช้เงิน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และพบว่า คนกลุ่มนี้ Internet User อย่างเต็มตัวแล้ว มีการใช้โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชั่นมากขึ้น ทั้งเรื่องการดูคอนเทนต์ ทำธุรกิจ การเงินต่างๆ ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น และใช้เวลาใช้งานนานมากขึ้นด้วย ไม่ได้แค่ใช้โทรศัพท์ หรือใช้ไลน์อย่างเดียวอีกต่อไป
การใช้ชีวิตของผู้บริโภคในกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้เข้าไปอยู่ในชีวิตของคนทุกคนไปแล้ว มีการใช้อินเทอร์เน็ตหนักขึ้น ผลสำรวจในเรื่องของระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่ม New Internet User ในปี 2559 พบว่ามีระยะเวลาในการใช้คือ “ครึ่งวัน” แต่ผลสำรวจใหม่ในปี 2560 พบว่าคนกลุ่มนี้มีการใช้เพิ่มขึ้นเป็นใช้ “ทั้งวัน” หยุดใช้เพียงแค่ตอนนอนเท่านั้น เท่ากับว่ามือถือกลายเป็นสิ่งสำคัญเวลาที่ตื่น เวลานอนก็ยังวางไว้ข้างตัว
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้สร้างอาชีพให้พวกเขาในการสร้างธุรกิจ SME ในการขายของออนไลน์ หรือการใช้อินเทอร์เน็ตช่วยโปรโมต มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากเดิมมากที่มีอาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอาชีพหลัก แต่ทุกวันนี้อาชีพเกษตรกรรมยังคงมีอยู่ เพราะมีต่างจังหวัดยังเป็นอาชีพหลัก และบางครอบครัวมีพื้นที่ที่สืบทอดต่อกัน แต่หัตถกรรมถูกแทนที่ด้วยงานบริการ และอุตสาหกรรมถูกแทนที่ด้วยธุรกิจ SME โดยคนรุ่นใหม่
ในกรุงเทพฯ ก็พบว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตในการขายของออนไลน์เพื่อสร้างอาชีพให้ตัวเองเช่นกัน และเริ่มใช้ก่อนต่างจังหวัดมานานแล้ว มีการใช้เรื่องการบริการด้วย อย่าง การจองร้านอาหาร สั่งซื้ออาหารต่างๆ
คนกลุ่มนี้ยังมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นมากขึ้น ไม่ได้ใช้แค่แอปพลิเคชั่นหลักอย่างไลน์ เฟซบุ๊ก ยูทิวบ์แล้ว เขามองว่าแอปพลิเคชั่นบนมือถือสามารถช่วยทำให้ใช้ชีวิตดีขึ้น สะดวกขึ้น และมีความสุขมากขึ้น
แอปพลิเคชั่นสำหรับคนยุคนี้หลักๆ แบ่งได้ถึง 6 กลุ่มด้วยกัน
ในเรื่องของการใช้มือถือ แต่ก่อนเป็นการใช้ร่วมกันในครอบครัว ซื้อมา 1 เครื่องแล้วใช้ร่วมกัน แต่ตอนนี้มือถือได้กลายเป็น Personal ID ทุกคนเป็นเจ้าของคนละเครื่อง เพราะมือถือมีราคาถูกลง สามารถครอบครองได้ และในมือถือของแต่ละคนจะมีข้อมูลส่วนตัว กลายเป็นว่าในการทำกิจกรรม หรือการซื้อของบนโลกออนไลน์ก็จะมีข้อมูลเก็บไว้ เพราะฉะนั้นจะระมัดระวังในการใช้มากขึ้น มีความรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
สื่อออนไลน์ยอดนิยมที่ผู้บริโภคนิยมใช้ยังเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เขามองว่าถ้าอยากรู้อะไรสามารถค้นหาภายในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือในโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้ทันที ตอบรับกับพฤติกรรมใจร้อนที่อยากรู้อะไรต้องได้รู้ตอนนั้น
ในวิจัยชิ้นนี้ได้ระบุถึงสื่อออนไลน์ยอดนิยมที่คนกลุ่มนี้ชอบใช้นอกจากโซเชียลมีเดีย แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ สื่อแบบวิดีโอ และเพลง
โดยที่พฤติกรรมการเสพวิดีโอ นิยมดูผ่านยูทิวบ์ และไลน์ทีวี ส่วนเพลงมีการฟังผ่านยูทิวบ์ และ JOOX เพราะมีฟีเจอร์เพลย์ลิสต์ที่สามารถสื่อสารแทนตัวตนของตัวเองได้หรือแทนความรู้สึกในตอนนั้นหาฟังได้ง่าย
การทำคอนเทนต์บางรายการที่คิดว่าแมสแล้ว แต่จริงๆ ยังไม่แมส ไม่สามารถเข้าถึงคนได้ทั่วประเทศ บางคอนเทนต์คนต่างจังหวัดก็ไม่อินไปตามกระแส
ในขณะที่คนกรุงเทพฯ อินกับรายการ The Mask Singer กันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่คนต่างจังหวัดแต่เขาบอกว่าไม่ได้ดู เขาชอบดูการประกวด Miss Universe มากกว่า ถึงขนาดยอมลบแอปในมือถือเพื่อมีพื้นที่ในมือถือและสามารถดูรายการได้
หรือ คนต่างจังหวัด ชอบดูไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ คอนเทนต์แรงๆ ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงจากเพจ “บันทึกของตุ๊ด” ทำให้ผู้บริโภคชอบดู
จากพฤติกรรมนี้บอกได้ว่าเขายังเลือกดูคอนเทนต์ที่เขาชอบอยู่ ไม่ได้เลือกดูคอนเทนต์ตามกระแส ต่างจากคนกรุงเทพฯ ที่ไม่ยอมตกเกทรนด์ต้องดูคอนเทนต์ตามกระแส เพื่อให้คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง ผู้ผลิตคอนเทนต์สามารถทำคอนเทนต์เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ได้ตามความสนใจของแต่ละกลุ่ม
จากผลสำรวจผู้บริโภคได้มองความแตกต่างของไลน์ทีวี และยูทิวบ์ว่า ไลน์ทีวีมีเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ที่ทำให้ดูพิเศษหาดูที่อื่นไม่ได้ และมีการอัปโหลดเร็วกว่ายูทิวบ์ ถ้าเขารู้ว่าตัวเองอยากดูอะไรก็มาหาในไลน์ทีวีได้เลย แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าตอนนั้นอยากดูอะไรไปค้นหาในยูทิวบ์ก็จะมีให้เลือกเยอะกว่าเพราะมีคอนเทนต์มากกว่า
เรื่องพฤติกรรมการใช้เงินพบว่าคนต่างจังหวัดยังมีข้อจำกัดในการใช้จ่ายเงินกับการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออยู่ ยังไม่มีการซื้อแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตมากนัก ส่วนใหญ่ใช้ไวไฟฟรีตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งโอเปอเรเตอร์ก็เริ่มมีการทำแคมเปญที่ฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชั่นแล้วไม่เสียดาต้าอย่างดีแทค ทำให้มีผู้ใช้บริการ แบรนด์สามารถทำโปรโมชั่นกับกลุ่มลูกค้าได้ผ่านมือถือที่เขาใช้อยู่
ส่วนการทำธุรกรรมทางการเงินพบว่า คนกลุ่มนี้เปิดใจในการใช้แอปพลิเคชั่นผ่านมือถือของธนาคารมากขึ้นจากเดิมที่กังวลเรื่องความปลอดภัยไม่กล้าใช้ตอนนี้มีพฤติกรรมการใช้มากขึ้นเพราะสะดวก หลายคนบอกว่ามีเวลาทำอย่างอื่นได้ มองว่าไม่พกกระเป๋าเงินก็ไม่เป็นไรยังสามารถโอนเงินผ่านมือถือได้
]]>จากอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย จนมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนไทย ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” จึงทำการสำรวจความคิดเห็นพฤติกรรมการใช้เน็ตบนมือถือ ในกลุ่มตัวอย่างคนไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,529 คน ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 2560 เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อผู้บริโภคมากขึ้น
โดยพบว่าปัญหาหลักที่พบจากการใช้แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตทางมือถือ เป็นเรื่องความต้องการการใช้อินเทอร์เน็ตมีมากกว่าแพ็กเกจที่ทางผู้ให้บริการเสนอขายอยู่ คิดเป็นร้อยละ 43.99
รองลงมาคือเรื่องราคาของแพ็กเกจสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ได้ คิดเป็นร้อยละ 36.01 และแพ็กเกจของผู้ให้บริการมีความซับซ้อน เข้าใจยาก บางครั้งจึงได้ในสิ่งที่ไม่ตรงตามความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 28.47
จากสองอันดับแรก นับได้ว่าร้อยละ 80.00 ของกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตพุ่งสูงเกินกว่าแพ็กเกจที่ผู้ให้บริการนำเสนอขายในปัจจุบัน
โดยผลสำรวจระยะเวลาการใช้งานเน็ตบนมิอถือ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 24.72 ซึ่งมากที่สุด รองลงมา ใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 21.91 และใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 19.23 ตามลำดับ
วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เพื่อพูดคุยติดต่อกับบุคคลที่รู้จัก คิดเป็นร้อยละ 85.61 โดยผ่าน Line Facebook และ Instagram ตามลำดับ
รองลงมา คือ โพสต์ข้อความ/รูปภาพ คิดเป็นร้อยละ 63.90 โดยผ่าน Facebook Instagram และ Line ตามลำดับ และติดตามข่าวสารทั่วไป เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม กีฬา คิดเป็นร้อยละ 55..79 ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับแพ็กเกจแบบ ‘ใช้ได้ไม่อั้น’ หรือ ‘Unlimited’ ร้อยละ 49.05 เข้าใจว่า เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตจนถึงจุดหนึ่งที่กำหนดไว้ในแพ็กเกจ อินเทอร์เน็ตจะถูกปรับลดความเร็ว แต่ยังใช้ต่อไปได้
ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจ ขณะที่ร้อยละ 35.45 ที่เข้าใจว่าสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ไม่จำกัด ด้วยความเร็วที่ดีที่สุดของเครือข่ายมือถือนั้น และอีกร้อยละ 15.30 เข้าใจว่า สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ไม่จำกัด ตามจำนวนวันที่ซื้อ
เมื่อสำรวจเจาะลึกถึงปัญหาของผู้ใช้บริการแบบรายเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เน็ตได้ไม่อั้น พบว่าปัญหาใหญ่ของกลุ่มนี้ คือ ‘เน็ตปรับลดสปีด’ ร้อยละ 40.25 อินเทอร์เน็ตจะถูกปรับลดสปีด ทำให้วิ่งช้าลง เมื่อการใช้งานผ่านไประยะหนึ่ง รองลงมา ร้อยละ 35.17 จำนวนอินเทอร์เน็ตที่ให้มาตามแพ็กเกจ ไม่เคยใช้พอ และร้อยละ 21.89 ค่าโทรที่ให้มาตามแพ็กเกจ ไม่เคยใช้พอ
ด้านผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน พบว่า ร้อยละ 41.18 เจอปัญหาโปรเสริมมีข้อจำกัดมากมาย บางครั้งไม่สามารถรู้เท่าทัน จึงทำให้เสียเงินไปในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือได้จำนวนเน็ตหรือโทรที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิดไว้ รองลงมา ร้อยละ 26.66 โปรเสริมมีมากมาย ซับซ้อน ยุ่งยาก ไม่เข้าใจรายละเอียดในการใช้งาน และร้อยละ 20.45 ยอดเงินที่เติมหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
ทั้งนี้ระดับความพึงพอใจต่อแพ็กเกจในอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.52 คะแนน และผู้ใช้บริการแบบรายเดือน มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.67 คะแนน สำหรับข้อเสนอแนะ หรือวิธีการแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับแพ็กเกจแบบรายเดือน หรือแพ็กเกจแบบเติมเงิน พบว่า ร้อยละ 28.38 สัญญาณอินเทอร์เน็ตควรมีความเร็วสม่ำเสมอ ร้อยละ 16.59 ควรปรับปรุงสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร และร้อยละ 15.72ควรเพิ่มจำนวนชั่วโมงเน็ตที่เยอะขึ้นแต่ราคาแพ็กเกจถูกลง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ระบุว่า “ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่แท้จริงของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ ซึ่งความสับสนเกี่ยวกับแพ็กเกจแบบใช้ได้ไม่จำกัด เป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ให้บริการต้องเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือออกแพ็กเกจที่ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ใช้บริการรายแบบเดือนประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพและปริมาณของสัญญาณทั้งอินเทอร์เน็ตและการโทร ขณะที่ผู้ใช้บริการแบบเติมเงินประสบปัญหาเกี่ยวกับโปรโมชั่นเสริมและยอดเงินเป็นหลัก
]]>ผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวไทยใช้เวลาเฉลี่ย 230 นาที หรือเกือบ 4 ชั่วโมงต่อวัน ใกล้เคียงกับไตรมาสสอง
เมื่อลงลึกถึงกิจกรรมที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยใช้เวลาด้วยมากที่สุด ในช่วง 4 ชั่วโมง จะพบว่า
นีลเส็นยังได้ลงรายละเอียดว่าใน 5 อันดับนี้ มีการใช้งานเพิ่มหรือลดอย่างไรเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาส 2 ซึ่งก็พบว่าการใช้งาน สื่อสาร (communication) และการจัดการเกี่ยวกับเครื่องสมาร์ทโฟน (Device Management) ลดลง
ในขณะที่การใช้ในเรื่องเอ็นเตอร์เทนเมนต์เพิ่มขึ้น สาเหตุที่เพิ่มมาจากเกมโปเกมอนที่เข้ามาไทยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และที่ใช้เพิ่มคือการค้นหาข้อมูลส่วนการใช้แอปพลิเคชั่นคงที่
เมื่อลงรายละเอียดในการใช้งานทั้ง 5 อันดับ พบว่า ในการใช้ด้านสื่อสาร 75 นาทีนั้น ใช้ไปกับการ แชตและโทรผ่าน VoIP (โทรผ่านไลน์, เฟซบุ๊ก แมสเซนเจอร์) มากสุด 65 นาที ใช้โทรศัพท์เหลือแค่ 7 นาที เท่านั้น
ในขณะที่ใช้กับ Entertainment 45 นาที ในจำนวนนี้ใช้ไปกับการเล่นเกม 22 นาที และมัลติมีเดีย เช่น ดู Youtube ฟังเพลง 23 นาที
มาดูช่วงเวลาที่มีการใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด คือระหว่างเวลา 8 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม ด้วยค่าเฉลี่ยการใช้งานที่ 10 นาทีต่อชั่วโมง
นีลเส็นเสนอแนะว่า หากแบรนด์ต้องการสื่อสารออนไลน์ ควรเลือกช่วงเวลา 1 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม
ทั้งนี้สิ่งน่าสนใจที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ถึงแม้เวลาที่ใช้งานกับสมาร์ทโฟนจะคงที่แต่ตัวเลขของการใช้ข้อมูลนั้นเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 689 MB ต่อวัน เป็น 810 MB ต่อวัน เพิ่มขึ้น ทั้งจากการใช้งานผ่าน wi-fi และการใช้งานผ่าน cellular
เมื่อรวมการใช้งานของทั้ง wifi และ cellular เข้าด้วยกัน จะเห็นได้ว่ามีอัตราการใช้งานทั้งหมดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ไตรมาสที่ 2 กับไตรมาสที่ 3 ในปี 2559
ทั้งนี้ช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนใช้งานด้านข้อมูล (data consumption) เยอะที่สุดคือช่วง 2 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม
ยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทนีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า การใช้ปริมาณของดาต้าเพิ่มขึ้น เหตุผลหลักน่าจะมาจากการใช้งานด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ 42 นาทีเป็น 45 นาที เฉลี่ยต่อคนต่อวันโดยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาในการใช้งานด้านเกมส์นั้นสูงขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
นอกจากนี้ เธอได้แนะนำว่า การใช้งานสมาร์ทโฟนนั้นมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด สืบเนื่องมาจากประโยชน์ของการใช้งานมือถือไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงของข้อมูลที่ง่ายขึ้น การส่งต่อข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการใช้งานเพื่อความบันเทิง เช่นการดูหนัง ฟังเพลง หรือการเล่นเกมส์ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคสามารถอยู่ในเทรนด์และตามกระแสของสังคมได้ ฉะนั้นแบรนด์ควรที่จะตื่นตัวในการเข้าถึง รวมถึงวิธีการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านทางช่องทางนี้ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของพวกเขา ไม่ว่าจะผ่านทางกิจกรรมการใช้มือถือ หรือผ่านเนื้อหา หรือคอนเทนต์ ที่จะสื่อถึงพวกเขา
]]>