พฤติกรรมนักลงทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Jul 2021 08:08:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จุดเปลี่ยน เมื่อโลก ‘ไม่สนใจ’ ไทย นักลงทุนหาย ส่งออก-ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ติดหล่มคอร์รัปชัน https://positioningmag.com/1343221 Tue, 20 Jul 2021 12:32:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343221 เมื่อไทยไม่น่าดึงดูดส่งสัญญาณต่างชาติเทขายหุ้นต่อเนื่อง นักลงทุนไทยหนีไปต่างประเทศกว่า 3 แสนล้าน การลงทุน FDI ลดลงเรื่อยๆ ติดหล่มคอร์รัปชัน สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกผลิตเทคโนโลยีล้าหลัง-ตกยุค ทำเเค่รับจ้างผลิต เวียดนามเเซงขึ้นมาชิงส่วนเเบ่งตลาด เเนะรัฐต้องเร่งส่งเสริม 4 ด้าน เพราะ ‘ถึงเวลาต้องเปลี่ยน’ 

KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป โดยจับสัญญาณความสนใจการลงทุนที่ลดลงในหลายมิติ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

มิติที่สาม เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก โดยในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทย มีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติกำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง” 

สินค้าส่งออกไทย กำลังจะ ‘ตกยุค’ 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันที่ ‘ลดลง’ มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้

สาเหตุในชั้นแรก เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ โดย สินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต

เมื่อพิจารณาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage) พบว่าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว มีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงชัดเจนที่สุด

[เวียดนามชิงส่วนเเบ่งตลาดโลก เเซงไทย]

ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมดเริ่มคงที่ในระยะหลัง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง ‘เวียดนาม’ มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018

“ขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018 สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนามที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง”

และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018

[ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ]

ยิ่งไปกว่านั้นสินค้าส่งออกของไทยหลายอย่างกำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปัจจัยสนับสนุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น

1) สินค้าอิเลกทรอกนิกส์ ที่ไทย ‘ไม่มีการส่งออก’ ใหม่ ๆ เช่น เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลักซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive

2) ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ ที่ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไร

3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ

ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีเทคขั้นสูง ทำแค่ ‘รับจ้างผลิต’ 

สาเหตุในชั้นที่สอง ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์

“ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับต่างประเทศเเล้ว ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19%” 

เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดเท่านั้นในปี 2019 เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26% ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ขณะที่เอเชียโตเฉลี่ยถึง 6.6% โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่าทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค

อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมายังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่ สังคมสูงอายุ’ ที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป

ผูกขาดสินค้า ติดหล่มคอร์รัปชัน

สาเหตุในชั้นสุดท้าย คือ นโยบายของรัฐยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019 ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศจาก ‘ปัญหาการคอร์รัปชัน’ การเอื้อประโยชน์พวกพ้องทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน

Photo : Shutterstock

พึ่งพาท่องเที่ยวไม่ได้อีกต่อไป

จากปัญหาความสามารถในการแข่งขันเหล่านี้ อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่ ‘จุดเปลี่ยน’ ในอย่างน้อยใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ

เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต

หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจนอาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรืออาจหดตัวลงในบางกรณี เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล

ดุลการค้าของไทยอาจจะเกินดุลลดลงและสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว

ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่าดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565

KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงใน ‘กรณีเลวร้าย’ ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลงและไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าลงได้

อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่ความซับซ้อนของสินค้าที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีและสามารถต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ ได้ แนวทางการพัฒนาสินค้าของไทยยังสามารถต่อยอดจากสินค้ากลุ่มเดิมทั้งจากการเร่งให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย และการขยายการผลิตสินค้าไปในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์

เเนะรัฐส่งเสริม 4 ด้าน 

KKP Research เเนะนำว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และรัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ

1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก

3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้วางแผนและเข้าใจง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband

4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้

KKP Research ระบุว่า ในระยะต่อไปรัฐจำเป็นต้องดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจความต้องการของนักลงทุน ออกนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติรายใหม่ ๆ ที่ตรงจุดเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ๆ ได้

“แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา การไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและหวังพึ่งพาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับวันนี้” 

 

 

 

 

]]>
1343221
โบรกเกอร์ถูกดิสรัปต์! พฤติกรรมนักลงทุนยุคใหม่เปลี่ยน เน้นธีม-ใช้เทคโนโลยีดูหุ้น-เดินตามเซียนที่ชอบ https://positioningmag.com/1240563 Fri, 26 Jul 2019 05:45:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240563 โบรกเกอร์ยุคเก่าส่อแววช้ำ สตาร์ทอัพดาวรุ่งวงการฟินเทคไทย “FINNOMENA” เผยเทรนด์แรงพฤติกรรมนักลงทุนยุคใหม่เปลี่ยนชัด วันนี้หลายคนเน้นลงทุนตามธีมความชอบส่วนตัวเช่นธีมบริษัทสีเขียวรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือธีมบริษัทเทคโนโลยีซีเคียวริตี้ ขณะที่นักลงทุนในตลาดโลกเน้นใช้ระบบแนะนำหุ้นด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ท่ามกลางอีกหลายคนที่เดินสายลงทุนตามเซียนที่ประทับใจ ทุกพฤติกรรมถูกนำมาตอบโจทย์ในแพลตฟอร์มการลงทุนใหม่ “GURUPORT” ซึ่ง FINNOMENA มั่นใจว่าจะจุดติดในตลาดแมส คาดว่าจะดึงเม็ดเงินลงทุนใหม่ได้มากกว่า 200 ล้านบาทภายในปีนี้

FINNOMENA มีดีกรีเป็นบริษัทสตาร์ทอัพอายุ 3 ปีที่ก่อตั้งโดยคนไทย วางตัวเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่นเผยแพร่ความรู้เรื่องการลงทุนแบบเข้าใจง่าย เมื่อผู้อ่านสนใจวางแผนการเงินก็สามารถใช้บริการแพลตฟอร์มการลงทุนของ FINNOMENA ได้แบบครบวงจร ทำให้ FINNOMENA มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการขายหลักทรัพย์เช่นเดียวกับธนาคารและ บลจ.

ภาพ : facebook.com/pg/finnomena

วันนี้ FINNOMENA ได้รับการยอมรับในวงกว้างบนสังคมการเงินการลงทุนของประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 80,000 คน คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนกว่า 6,700 ล้านบาท ตัวสตาร์ทอัพได้รับการลงทุนจาก บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต, กลุ่มเบญจจินดา, ดีแทค แอคเซอเลอเรท Batch 4, และ 500 TukTuks คาดว่าการเพิ่มทุนรอบ Series B จะเกิดขึ้นได้ในปีนี้ หลังจากที่ Series A สามารถระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทในช่วงปีที่แล้ว

Thematic Portfolio แรงดี

เจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA วิเคราะห์พฤติกรรมนักลงทุนยุคใหม่ว่าวันนี้เด็กรุ่นใหม่นิยมลงทุนตามสไตล์ที่ชอบ เช่น เด็กไม่ใช้หลอด พกแก้วไปซื้อเครื่องดื่ม หรือชื่นชอบเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็จะเลือกซื้อหุ้นตามบริษัทที่ชื่นชอบ ขณะที่ผู้ชื่นชอบในธีมซีเคียวริตี้ ก็สามารถคลิกซื้อหุ้นลงทุนได้ทุกบริษัททั้งธีมที่จัดมา แนวทางการลงทุนตามธีมของบริษัทนี้มีชื่อเรียกว่า Thematic Portfolio ซึ่งพบว่ามาแรงในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ยุคใหม่ระดับโลก

เทรนด์แรงถัดมาที่เห็นชัดคือการใช้เทคโนโลยี หากไม่นับกระบวนการ e-KYC ที่ทำให้แพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นยืนยันตัวบุคคลได้แบบไม่ต้องใช้กระดาษใน 1 ชั่วโมงจนลดเวลาดำเนินการจากหลายวันเหลือวันเดียว อีกเทคโนโลยีที่มีบทบาทในกลุ่มนักลงทุนยุคใหม่คือ Robo-advisor ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาแนะนำการลงทุนโดยอิงฐานข้อมูลของตัวบริษัทล้วนๆ สถิติล่าสุดพบว่าที่ปรึกษาการลงทุนในต่างประเทศมีการพัฒนาระบบ Robo-advisor มากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นโบรกเกอร์ยุคใหม่ค่าธรรมเนียมต่ำ

แต่ใน Robo-advisor ก็มีเซ็กเมนต์ที่ย่อยลงไปเป็น Hybrid Robo-advisor เพราะนักลงทุนที่มีเงินทุนหลักล้านยังไม่เชื่อมั่นหากไม่มีบุคลากรคนเข้ามาร่วมแนะนำ แนวโน้มนี้ทำให้หลายบริษัทที่ต้องการเจาะกลุ่มนักลงทุนเงินล้าน ต้องจัดพนักงานที่เป็นคนเข้ามาประกบเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น

แทนที่จะเป็นพนักงานหรือใครก็ได้ นักลงทุนยุคใหม่ยังเลือกลงทุนตามเซียนที่ประทับใจ เรื่องนี้ต่างจากอดีตที่การตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนมักมาจากข้อมูลของบริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายโดยตรง แต่ปัจจุบัน กูรูหรือใครที่มีความสนใจเรื่องการลงทุนด้านเดียวกันสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กันได้บนโลกออนไลน์, Social Media หรือแพลตฟอร์มการลงทุนอื่น จนทำให้โลกแจ้งเกิดกูรูการลงทุนขึ้นมากมายหลายร้อยพันคน ลักษณะการลงทุนนี้เรียกว่า Crowdsourcing

เทรนด์ทั้งหมดนี้ถูก FINNOMENA จับมารวมกันจนทำให้เกิดเป็นบริการใหม่ชื่อ GURUPORT ตัวบริการถูกต้องตามตำราเทรนด์โลกจน FINNOMENA มั่นใจมากว่านักลงทุนไทยจะตอบรับ FINNOMENA ดีเหมือนในต่างประเทศที่การลงทุนส่วนใหญ่ทำผ่านที่ปรึกษาการเงินหรือ financial advisor เป็นหลัก (ไม่ใช่การซื้อเองโดยตรง) FINNOMENA จึงคัดเลือก 6 กูรูชั้นนำด้านการเงินของประเทศไทยมาจัดพอร์ตโชว์ เพื่อให้ลูกค้าฟินโนมีนาสามารถลงทุนตามกูรูได้ระหว่างที่กำลังศึกษาเรื่องการลงทุนแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

ชู Influencer เป็นแม่เหล็ก

บทสรุปของภาวะโบรกเกอร์ถูกดิสรัปนั้นไม่ได้อยู่ที่การใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยจัดพอร์ตลงทุน แต่อยู่ที่การตอบพฤติกรรมของนักลงทุนด้วย สำหรับก้าวใหม่ใน GURUPORT ตัว FINNOMENA ประเดิมก่อนที่ 6 ธีม ได้แก่ ธีมหุ้นระดับโลก ธีมหุ้นไทย ธีมหุ้นอาเซียน ธีมเน้นกลยุทธ์คลาสสิก ธีมสินทรัพย์ยอดนิยม และธีมเสี่ยงต่ำเหมาะเก็บระยะยาว ทั้งหมดนี้ร่างพอร์ตโดยนักวิเคราะห์ เซียนตลาดหลักทรัพย์ อาจารย์ เจ้าของเพจ และผู้เขียนหนังสือ ที่จะเป็นแม่เหล็กดูดให้คนไทยหันมาลงทุนมากขึ้น

เมื่อมีธีมและมีกูรู Influencer สำหรับ Thematic Portfolio FINNOMENA ก็ถึงเอาแกนเทคโนโลยี Robo-advisor มาใส่ใน GURUPORT เพราะการที่กูรูแต่ละคนจะไล่คุยกับนักลงทุนแต่ละคนนั้นเป็นไปได้ยาก กลายเป็นระบบแพลตฟอร์ม Crowdsourcing Robo-advisor ที่ผู้บริหารตั้งเป้าว่าจะจุดประกายให้เกิดการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป้าหมายที่อยากเห็นคือสิ้นปีนี้มีนักลงทุนสร้างพอร์ตบนแพลตฟอร์มใหม่ราว 1 หมื่นราย

เมื่อคำนวณเม็ดเงินของนักลงทุน 1 หมื่นรายที่จะใช้งานแพลตฟอร์ม GURUPORT ในปีนี้ พบว่าอาจสูงถึง 200 ล้านบาทเพราะ FINNOMENA กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไว้ 20,000-50,000 บาท ซึ่งผู้ใช้จะต้องเป็นผู้คลิกซื้อด้วยตัวเองในขั้นตอนสุดท้าย เรียกว่าต้องตัดสินใจเองแม้จะมีกูรูหรือเทคโนโลยีคอยเตือนและกรองหุ้นน้ำดีไว้ให้แล้ว.

]]>
1240563