พักชำระหนี้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 16 Jul 2021 07:54:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สมาคมผู้ค้าปลีก” เสนอแผนกระจายวัคซีน ลดค่าน้ำ-ไฟ 50% หยุดดอกเบี้ย 6 เดือน https://positioningmag.com/1342753 Fri, 16 Jul 2021 06:48:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342753 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ ทั้งมาตรการจัดการวัคซีนที่รวดเร็ว ลดค่าน้ำค่าไฟ 50% เป็นเวลา 6 เดือน พักชำระหนี้ และหยุดดอกเบี้ยเงินกู้ 6 เดือน เพื่อต่อลมหายใจ SME

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ประกอบด้วยกลุ่มแรงงาน และผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม มีระยะเวลาในการช่วยเหลือ 1 เดือน โดยครอบคลุม 10 กลุ่มอาชีพ รวมทั้งลดค่าน้ำค่าไฟแก่ประชาชนทั่วประเทศอีก 2 เดือน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของลูกจ้าง นายจ้างและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในช่วงล็อกดาวน์

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า

“มาตรการภาครัฐครั้งนี้ออกมาได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่สิ่งที่ต้องการจากรัฐบาลคือ การเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงให้กับบุคลากรของกลุ่มการค้าปลีกและบริการเพื่อให้การล็อกดาวน์ครั้งนี้ เจ็บแต่จบ และหากฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย ก็จะสามารถเปิดประเทศได้ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ และควรครอบคลุมผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่ม รวมทั้งขยายระยะเวลาในการเยียวยาให้ยาวขึ้น พร้อมเร่งดำเนินการให้เงินเยียวยาถึงมือโดยทันที”

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ขอเสนอ 3 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการจัดหา และกระจายวัคซีนที่ชัดเจน

  • ใช้พื้นที่จุดฉีดวัคซีนที่ภาคค้าปลีกและบริการได้เตรียมไว้ทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เร่งฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรของกลุ่มการค้าปลีกและบริการให้ทั่วถึง
  • สนับสนุนชุดตรวจ Rapid Antigen Test ให้กับธุรกิจในภาคค้าปลีกและบริการเพื่อนำไปตรวจเชิงรุกให้กับบุคลากรในบริษัท เป็นการลดความเสี่ยงของการระบาด

2. มาตรการช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ

  • ลดค่าน้ำ ค่าไฟ เพิ่มเป็น 50% เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • เพิ่มมาตรการพักหนี้ ช่วยลูกหนี้ในพื้นที่ล็อกดาวน์ จาก 2 เดือน เป็น 6 เดือน พร้อมหยุดคิดดอกเบี้ยเงินกู้
  • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่เป็นผู้รับสินเชื่อ Soft Loan จากสถาบันการเงิน เพื่อนำไปให้กับผู้ประกอบการ SME

3. มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน

  • ปรับกลไกโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ให้เหมือนกับ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” และเพิ่มวงเงินเป็น 100,000 บาท เพื่อกระตุ้นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง
  • ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมโดยจัดเก็บภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตั้งแต่บาทแรกและห้ามขายสินค้าต่ำกว่าทุน
  • ปลดล็อกขั้นตอนการออกใบอนุญาตเหลือเพียง 1 ใบ (Super License) จากเดิมที่ต้องขอใบอนุญาตกว่า 43 ใบจาก 28 หน่วยงาน
  • ขยายเวลาโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับนักศึกษาจบใหม่ (Co-payment) ซึ่งจะสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 ออกไปอีก 1 ปี
  • ทดลองใช้ระบบการจ้างงานประจำเป็นรายชั่วโมง เพื่อสอดคล้องกับช่วงฟื้นฟูธุรกิจและเกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น
]]>
1342753
“กสิกรไทย-กรุงเทพ-กรุงศรี-กรุงไทย” พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยร้านปิดทำการช่วงล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1342670 Fri, 16 Jul 2021 05:19:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342670 3 ธนาคารใหญ่ กสิกรไทย กรุงเทพ และกรุงศรี ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน แต่เฉพาะเงินต้น ช่วยเหลือลูกค้าที่ต้องปิดทำการนช่วงล็อกดาวน์ ตามมาตรการของภาครัฐ ด้านกสิกรไทยออก “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” ดอกต่ำ 3% ช่วยร้านอาหารและร้านค้ารายย่อย  

KBank พักชำระหนี้ ออกเงินกู้ดอกต่ำ

กสิกรไทยออกโครงการพิเศษส่งความช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านอาหารรายเล็ก และร้านค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่าย ภายใต้โครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย ดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท

ผลักดันให้ร้านอาหารและร้านรายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจให้ไปต่อได้ คาดหวังช่วยร้านค้ารายย่อยได้ 35,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท

ธนาคารฯ ยังออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน เพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า

“จากสถานการณ์ในตอนนี้ ธนาคารกสิกรไทยขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับร้านค้ารายย่อย จึงออกโครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย อัตราดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ระยะเวลากู้สูงสุด 5 ปี ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวก็กู้ได้ เพียงเดินบัญชีกับธนาคารฯ สมัครทางออนไลน์ง่ายและสะดวกที่เว็บไซต์ของธนาคารฯ เพื่อช่วยให้ร้านอาหารและร้านค้ารายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจ มีความหวังและกำลังใจในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้”

ทั้งนี้ธนาคารฯ ยังสนับสนุนให้ร้านค้าเพิ่มช่องทางการขายได้บน K+ market ในแอป K PLUS ของธนาคารฯ รวมถึงการทำกิจกรรมช่วยโปรโมตร้านผ่านสื่อต่างๆ ของธนาคารฯ และร่วมมือกับเพจออนไลน์ชื่อดัง เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายสร้างรายได้ให้แก่ร้านค้า ให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากโครงการพิเศษดังกล่าวแล้ว ธนาคารฯ ยังขานรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ ด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ระยะเวลา 2 เดือน โดยเริ่มการพักชำระตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือน ก.ค. 2564 เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าของธนาคารฯ

สำหรับร้านอาหารและร้านค้ารายย่อยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ส.ค. 2564 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ www.kasikornbank.com และสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่ต้องการเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-888-8822 และลูกค้ารายย่อย ติดต่อได้ที่ K-Contact Center 02-888-8888 หรือช่องทางไลน์ KBank Live ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 31 ส.ค. 2564

BBL ช่วยพักชำระหนี้ 2 เดือน

ธนาคารกรุงเทพ จัดมาตรการด่วนตามแนวทางของธปท. พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เปิดหลากหลายช่องทางติดต่อ โดยเฉพาะการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.bangkokbank.com และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2564 สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้ายังคงพร้อมเช่นเดิม จนถึง 31 ธ.ค. 64

ลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ เป็นได้ทั้งลูกค้าสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ซึ่งเบื้องต้นออกประกาศจำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา

โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ และบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0 2645 5555 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันความเสี่ยง สามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.bangkokbank.com และ โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ

สำหรับลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกค้าอย่างเต็มที่

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าบัตรเครดิต

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อขอพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบ

มาตรการนี้ เป็นการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี โดยต้องลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต และลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หรือได้รับผลกระทบจากธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ

โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม ถึง 18 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม จากมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ของบริษัท เช่น ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน, ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น ซึ่งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถติดต่อลงทะเบียนกับบริษัทเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้ได้ โดยจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

กรุงไทยก็มาด้วย

กรุงไทย ขานรับแนวทางธปท. เร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เร่งออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 2 เดือน เพื่อช่วยลดภาระทางการเงินให้ลูกค้าเอสเอ็มอี และรายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป พร้อมมีอีก 7 มาตรการช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤต

มาตรการนี้สำหรับลูกค้าธนาคาร ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอี-รายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ถึง 15  สิงหาคม 2564 ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน

มาตรการลูกค้าบุคคล 3 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อ Home Easy Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน

มาตรการที่ 2 สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 3 สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ 5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้

 มาตรการลูกค้าธุรกิจ 4 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี

มาตรการที่ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME

·      ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท  สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan  พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance  ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

·      ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ 20-500 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 3 มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันให้สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว ในช่วงที่รอให้ธุรกิจฟื้นตัว ด้วยวิธีการโอนทรัพย์ชําระหนี้และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต ในราคารับโอนบวกต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1% ต่อปี บวกค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว

มาตรการที่ 4 โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท โดยพิจารณาตามความสามารถและศักยภาพของลูกค้า เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่มีแผนธุรกิจชัดเจนภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร

สำหรับลูกค้าที่สนใจศึกษาข้อมูลมาตรการช่วยเหลือของธนาคารที่ www.krungthai.com/link/covid-19 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน หรือ Krungthai Contact Center 02-111-1111

]]>
1342670
รวมมิตร 14 ธนาคาร “พักหนี้” ทั้งต้นทั้งดอก 6 เดือน ช่วย SMEs-รายย่อย ฝ่ามรสุม COVID-19 https://positioningmag.com/1273383 Tue, 14 Apr 2020 15:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273383 “เเบงก์พาณิชย์-เเบงก์รัฐ” ขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พาเหรดออกมาตรการช่วยลูกหนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ลูกค้ารายย่อยเเละเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่กำลังหาข้อมูลมาตรการ “พักชำระหนี้” ของธนาคารต่างๆ Positioning รวบรวมมาให้เเล้วถึง 14 ธนาคาร 

1. ไทยพาณิชย์ (SCB)

เริ่มต้นกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศมาตรการพักชำระสินเชื่อทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือนให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEsที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย โดยจะธนาคารดำเนินการพักหนี้
ให้ลูกค้ากลุ่มนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ

“ลูกค้าเอสเอ็มอีมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย จะได้รับการพักชำระหนี้ 6 เดือนโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคาร”

นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุน “สินเชื่อซอฟต์โลน” อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในระยะ 6 เดือนแรก เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยในช่วงดังกล่าวแทนผู้ประกอบการ สามารถขอสินเชื่อซอฟต์โลนใหม่ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไป

สำหรับลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อซอฟต์โลนสามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563

อ่านเพิ่มเติม : ถาม-ตอบ กรณีลูกค้าสินเชื่อบุคคลและ SMEs ขอรับความช่วยเหลือจากการได้รับผลกระทบ COVID-19

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 02-722-2222

2. กสิกรไทย (KBank)

ตามมาด้วย กสิกรไทย ที่ปัจจุบันมีลูกค้าเงินกู้ในระบบที่เป็น SMEs อยู่ถึง 40% ได้ประกาศมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งเเต่ 1 เมษายน 2563-30 กันยายน 2563 รวมถึงพร้อมให้เงินกู้เสริมสภาพคล่องลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้ลูกค้าสามารถกู้ได้ 20% ของยอดวงเงินเดิม คิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี
และไม่คิดอัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก

อ่านเพิ่มเติม : รวมมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดสำหรับลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการของ KBank

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? ลูกค้าบุคคล 02-8888888
? ลูกค้าผู้ประกอบการ 02-8888822

3. กรุงศรีอยุธยา

ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็ออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือนแก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เริ่มตั้งเเต่ 1 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563 เช่นกัน พร้อมด้วยมาตรการให้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง (Soft loan) แก่ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นปี 2562 ในอัตราดอกเบี้ย 2% เป็นเวลา 2 ปี และไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก

ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สามารถติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือแจ้งขอรับมาตรการความช่วยเหลือได้ที่ โครงการรับเรื่องจากลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 บนเว็บไซต์ krungsri.com

สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน จะมีมาตรการพักชำระเงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือนเเละพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ส่วนสินเชื่อบุคคล (สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลเเละสินเชื่อกรุงศรี IFIN) พักชำระเงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่งเป็นโปรเเกรมสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 เท่านั้นเเละขอสงวนสิทธิ์เเล้วเเต่กรณี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1572
?เว็บไซต์ krungsri.com

กรุงศรีคอนซูมเมอร์ : ลูกค้าบัตรเครดิต

กรุงศรีคอนซูเมอร์ ปล่อยโครงการ “เราจะก้าวผ่านไปด้วยกัน กับกรุงศรี คอนซูมเมอร์” ช่วยเหลือลูกค้าบัตรเครดิตกว่า 6 ล้านบัญชี โดยออก 3 มาตรการพิเศษ ด้วยการลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน และการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน สำหรับ “ลูกค้าทุกราย” โดยไม่ต้องแจ้งความจำนง

รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม โดยเน้นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม การบิน และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เหลือ 12% สำหรับบัตรเครดิต และ 22% สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล โดย “ลูกค้าต้องลงทะเบียน” เพื่อขอรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

มีรายละเอียดดังนี้

มาตรการที่ 1 : ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน สำหรับบัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563 – 31 ธ.ค. 2564 ส่วนผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 18 มี.ค. 2563 – 31 ธ.ค. 2563 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

มาตรการที่ 2 : พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน ให้กับลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทุกรายโดยมิต้องแจ้งความจำนงเป็นระยะเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีวันครบกำหนดชำระตั้งแต่ 14 เม.ย. – 12 มิ.ย. 2563 โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรการที่ 3 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เริ่มต้น 12% สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี ส่วนผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเหลือ 12% และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายการเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เหลือ 22% และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3%

โดยมาตรการดังกล่าว สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ โดยลูกค้าต้องมีบัญชีสินเชื่อกับบริษัทก่อนเดือน มี.ค. 2563

ทั้งนี้ ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อ ให้คงเหลือเท่ากับยอดสินเชื่อคงค้างที่เข้าร่วมโครงการ โดยลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2563 – 30 มิ.ย. 2563 โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?บัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยา krungsricard.com
?บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน centralthe1card.com
?บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ firstchoice.co.th
?บัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า tescolotusmoney.com

4. กรุงไทย

ธนาคารกรุงไทย ได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยประกาศพักชำระหนี้เงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือน ให้กับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อรับมือกับรายจ่ายที่จำเป็นของธุรกิจ เริ่มมีผลเดือนเมษายน – กันยายน 2563 เเละยังสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (Soft Loan) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กลุ่มลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2562 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี

“ธนาคารไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้”

ก่อนหน้านี้ กรุงไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือ “ลูกค้าทุกกลุ่มทุกขนาด” อย่างการพักชำระเงินต้น 12 เดือน ให้กับลูกค้ารายย่อย พักชำระเงินต้น 12 เดือน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) และสินเชื่อ Trade Finance ออกไป 6 เดือน สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ลดลง

มีการพักชำระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจที่มีสถานะชำระปกติทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน ทั้งสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อ “กรุงไทยต้านภัยโควิด-19 ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 2% ต่อปี คงที่ 2 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. ค้ำประกัน 4 ปี ทำธุรกรรมโอน รับ จ่าย ไม่คิดค่าธรรมเนียมนาน 1 ปี สำหรับลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รถเช่า ร้านขายของฝาก ของที่ระลึก เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?02 111 1111
? facebook : Krungthai Care

5. กรุงเทพ

ด้านธนาคารกรุงเทพ ร่วมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงานต่อไปโดยมี 2 มาตรการ ดังนี้

1. สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติ ระยะเวลา 6 เดือนและไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต เพื่อช่วยให้มีสภาพคล่องรองรับรายจ่ายจำเป็น

ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ธนาคารขอแนะนำให้ชำระหนี้ตามปกติเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

2. ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) เพื่อเป็นเงินกู้เสริมสภาพคล่อง สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกและไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6เดือนแรก ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีสถานะผ่อนชำระปกติหรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยแต่ละรายสามารถขอกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562

ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันวงเงิน ขณะอนุมัติไม่เกิน 3 ล้านบาท พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยนาน 3 เดือน เเละวงเงินขณะอนุมัติตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปขอความช่วยเหลือเป็นรายกรณีตามสถานการณ์

ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทเงินกู้ (Installment Loan) จะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน

มาตรการปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิปรับลดดอกเบี้ยลงเป็นพิเศษ อยู่ที่ 12% สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงประกอบอาชีพหรือทำงานในธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว สายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการที่รัฐบาลประกาศให้หยุดบริการชั่วคราวพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยนาน 3 เดือนยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระ 1 เดือน (ลงทะเบียนที่นี่)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1333
?bangkokbank.com

ธนาคารกรุงเทพ

6. LH BANK

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แจ้งลูกค้าผ่านไลน์ ว่า พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs โดยจะพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน สำหรับเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท รวมถึงพร้อมปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่งกู้ได้ไม่เกิน 20% ของหนี้คงค้าง ณ 31 ธ.ค.2562

สำหรับลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 มีมาตรการช่วยเหลือ ได้แก่ ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระ เช่น ปลอดเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาเงินกู้ เพื่อให้ภาระการผ่อนชำระลดลง หลังหมดช่วงปลอดเงินต้น เเละสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมด้วย

“ธนาคารคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าได้ในระดับหนึ่งโดยมาตราการดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะต่อไปและตามความเหมาะสมทางธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1327

7. ออมสิน

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยอัตโนมัติทันที สำหรับลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1115 หรือ 0-2299-8000

 

8. ธ.ก.ส.

ฝั่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เเละเกษตรกร โดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ตั้งเเต่ 1 เม.ย. – 30 ก.ย. 2563 เพื่อเป็นการสนับสนุนเงินกู้เสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าตามร่างพระราชกำหนดให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) โดยมาตรการอื่นๆ จะมีการเเจ้งให้ทราบต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 0-2555-0555
? baac.or.th

9. ธพว.

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ระบุว่า ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยเลื่อนชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยอัตโนมัติให้ลูกค้าเป็นเวลา 6 เดือน เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2563 สำหรับภาระหนี้ที่พักชำระไว้ ธนาคารจะนำยอดดังกล่าว ไปรวมกับค่างวดในงวดสุดท้าย ซึ่งในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต

โดยลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวจะได้รับสิทธิโดยอัตโนมัติทันที ไม่ต้องแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ หรือลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้นและหากลูกค้าท่านใด ต้องการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่เคยได้รับก็สามารถชำระได้ตามปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1357
? smebank.co.th

10. EXIM BANK

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK แจ้งว่า ธนาคารได้มีมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน สำหรับลูกค้าทุกรายที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม

พร้อมเงินกู้เสริมสภาพคล่องสำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้กู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธ.ค. 2562 คิดอัราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี และ ปลอดดอกเบี้ยช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งลูกค้าสามารถติดต่อขอกู้ได้จนถึง 31 ธ.ค. 2563

นอกจากนี้ยังมี โครงการ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการในซัพพลายเชนของการส่งออกไทย โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 02-617-2111 ต่อ 3510-2

11. UOB 

ธนาคารยูโอบี (ไทย) ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับลดอัตราการผ่อนชำระคืน ขั้นต่ำและมอบทางเลือกในการพักเงินต้น

โดยลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารที่มีสถานะทางบัญชีปกติ จะได้รับการปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจาก 10% เป็น 5% สำหรับบัตรเครดิตยูโอบี และจาก 5% เป็น 2.5% สำหรับบัตรกดเงินสดยูโอบีแคชพลัส โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563

สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตยูโอบีและทูมอร์โรว์ บัตรกดเงินสดยูโอบีแคชพลัสสามารถแจ้งความประสงค์ในการขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 รอบบัญชีหรือเปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนรายเดือนชำระรายเดือนสูงสุด 48 รอบบัญชี สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล i-Cash สามารถแจ้งความประสงค์ในการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี

ส่วนลูกค้าสินเชื่อบ้าน สามารถแจ้งความประสงค์เลือกพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชีหรือพักชำระเงินต้นโดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 12 รอบบัญชี

ลูกค้าเอสเอ็มอี สามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือนหรือเลือกพักชำระเงินต้นโดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้สูงสุด 12 เดือน หรือยื่นขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องกับสินเชื่อโครงการ Soft Loan
ที่อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? โทร 02 285 1555 , 02 343 3555
? uob.co.th

12-13. TMB & ธนชาต

ด้านธนาคารธนชาตได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้านธนชาต หรือ Thanachart Home Loan ซึ่งประกอบไปด้วย สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ (Refinance), สินเชื่อบ้านมือสอง (Resell house)สินเชื่อปลูกบ้าน (Self built) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (Cash Your Home) และสินเชื่อโฮมพลัส (Home Plus)

ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย นานสูงสุด 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดก็ต้องชำระหนี้คืนตามปกติ สำหรับระยะเวลาโครงการนั้นจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564

สำหรับลูกค้าปัจจุบันสินเชื่อรถยนต์ธนชาต DRIVE ประเภทสินเชื่อรถยนต์ใหม่สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว และ สินเชื่อรถแลกเงิน สามารถขอพักชำระหนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน (Skip Payment) หรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 96 งวด ทั้งนี้ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ ส่วนประเภทสินเชื่อเล่มแลกเงิน สามารถขอพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 60 วัน

ด้านธนาคารทหารไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้าน ทีเอ็มบี (TMB Home Loan) ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดก็ต้องกลับมาชำระหนี้ตามปกติ
เช่ยเดียวกันกับธนาคารธนชาต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? โทร ธนชาต 1770 – TMB 1558
? thanachartbank.co.th , tmbbank.com

14. ธอส.

ล่าสุด “ธนาคารอาคารสงเคราะห์” ได้ยกระดับความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในมาตรการที่ 5 โดยหลังจากพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 4 เดือนแล้ว ธนาคารจะยกดอกเบี้ยที่พักชำระไว้ทั้ง 4 เดือนให้กับลูกค้า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลากู้ตามสัญญา

สำหรับกลุ่มลูกค้าทุกวัตถุประสงค์การกู้ที่มีวงเงินกู้ทุกบัญชีรวมกัน ไม่เกิน 3 ล้านบาท และมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 35,000 บาท ครอบคลุมลูกค้า 1.1 ล้านบัญชี ทั้งสถานะบัญชีปกติ และสถานะบัญชีดอกเบี้ยผิดนัดหรือสถานะกฎหมาย และเตรียมกรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท จัดทำมาตรการที่ 6 พักชำระเงินต้นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมลดดอกเบี้ยเหลือ 1.00% ต่อปี สำหรับ “บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข”

แจ้งความประสงค์ เข้ามาตรการผ่าน Mobile
Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 13 – 30 เมษายน 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 0-2645-9000
?ghbank.co.th

หมายเหตุ :รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 
ผู้สนใจติดต่อสอบถามทางธนาคารเพื่อการอัพเดตข้อมูลมาตรการอีกครั้ง 

]]>
1273383
ส่อง 8 มาตรการ กยศ.ช่วยลูกหนี้สู้ COVID-19 ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% หักเงินเดือน 10 บาท https://positioningmag.com/1271161 Wed, 01 Apr 2020 10:01:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271161 กยศ. เผย 8 มาตรการอุ้มลูกหนี้สู้ภัย COVID-19 ลดเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือ 0.5% ลดจำนวนหักเงินเดือนของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชนเหลือ 10 บาท/คน/เดือน ชำระหนี้ลดเบี้ยปรับ 75-80% พักชำระหนี้ 2 ปี สำหรับผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้คราวละ 1 ปี ไม่เกิน 2 คราว ผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอยขยายระยะเวลาการชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 2.5 เท่าจากสัญญาเดิม รวมถึงงดการขายทอดตลาดทุกกรณี และชะลอการบังคับคดี ยกเว้นกรณีใกล้ขาดอายุความ

ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม กองทุนฯ ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้

โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จาก 7.5% ในกรณีที่ผู้กู้ยืมยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด กองทุนฯ จะปรับลดเบี้ยปรับให้กับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินกู้ยืมเป็นการชั่วคราว จากอัตรา 7.5% ต่อปี เป็นอัตรา 0.5% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2563
  2. ลดจำนวนหักเงินเดือนเหลือ 10 บาทต่อคนต่อเดือน กองทุนฯ จะปรับลดจำนวนเงินที่แจ้งให้หักเงินเดือน เพื่อชำระเงินคืนกองทุนฯ ของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชน จากจำนวนเงินที่เคยแจ้งหัก เป็นแจ้งให้นายจ้างหักเงินของผู้กู้ยืมทุกรายรายละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2563
  3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ และปิดบัญชีในครั้งเดียว กรณีผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์ กยศ. โดยผู้กู้ยืมต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนชำระหนี้ปิดบัญชี โดยขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563
  4. ลดเบี้ยปรับ 75% เฉพาะผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ) โดยติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยให้ขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563
  5. พักชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี ผู้กู้ยืมที่มีสถานะยังไม่ถูกดำเนินคดี จะได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ตามเงื่อนไข กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายปี ได้รับสิทธิ์ผ่อนผันการชำระหนี้งวดปี 2563 เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กองทุนฯ อนุมัติ โดยผู้กู้ยืมจะกลับมาชำระหนี้งวดปี 2563 ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และงวดที่เหลือในปีถัดไป กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน ให้ผ่อนผันการชำระหนี้ 24 เดือน นับตั้งแต่เดือนถัดไปที่กองทุนฯ อนุมัติ โดยในระหว่างพักชำระหนี้ดังกล่าว กองทุนฯ จะไม่ถือว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ กองทุนฯ​ จะหยุดคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ทั้งงวดที่ค้างชำระก่อนหน้าและงวดที่อยู่ระหว่างผ่อนผันการชำระหนี้ จนกว่าระยะเวลาพักชำระหนี้จะสิ้นสุด โดยขยายเวลาให้ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนยื่นคำขอรับสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ กยศ. เดิมสิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
  6. ผ่อนผันการชำระหนี้ ในกรณีสถานการณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ สามารถยื่นคำขอผ่อนผันและส่งเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดชำระหนี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกองทุนฯ ที่มีอยู่เดิมแล้ว ดังนี้

กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราว คราวละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5-2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนฯ เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่ และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน

  1. งดการขายทอดตลาด สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน ที่กองทุนฯ​ ได้ดำเนินการยึดทรัพย์ไว้ทุกราย และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขายทอดตลาด กองทุนฯ จะยื่นคำร้องของดการขายทอดตลาดทุกรายไปจนถึงสิ้นปี 2563 โดยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี)

 

  1. ชะลอการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันทุกคดี กองทุนฯ จะชะลอการบังคับคดีไว้ ยกเว้นกรณีที่คดีใกล้ขาดอายุความ กองทุนฯจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย แต่จะงดการขายทอดตลาดไว้

 

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถดูรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทาง www.studentloan.or.th และเพื่อเป็นการร่วมเว้นระยะห่างทางสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@กยศ. หรือ Line@กยศ.หักเงินเดือน หรือ Line@กยศ.คดีและบังคับคดี หรือ e-mail : [email protected]

]]>
1271161
กรุงศรี ออโต้ พักชำระ “หนี้รถ” สูงสุด 6 เดือน ช่วยลูกค้ากระทบจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1270325 Fri, 27 Mar 2020 05:08:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270325 “กรุงศรี ออโต้” เครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศขยายมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงพักชำระหนี้ได้สูงสุด 6 เดือน โดยรับเรื่องพิจารณาไปแล้ว 166,000 ราย

“กฤติยา ศรีสนิท” ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กรุงศรี ออโต้ ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ทุกประเภทที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยให้พักชำระหนี้ได้สูงสุด 6 เดือน และปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดลง สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม โดยสามารถแจ้งความประสงค์ตามเงื่อนไขที่กรุงศรี ออโต้ กำหนด ได้ทันที

ทั้งนี้ ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ได้ดำเนินการรับเรื่องเพื่อพิจารณาไปแล้วกว่า 166,000 ราย

“ล่าสุด จากมาตรการของรัฐบาลที่ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ต้องชะลอลงไปด้วย กรุงศรี ออโต้ จึงได้ขยายความช่วยเหลือลูกค้าที่สอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อจากธนาคารแห่งประเทศไทย ครอบคลุมลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง โดยจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบตามสภาพการณ์และความจำเป็นเป็นรายกรณีต่อไป” กฤติยา กล่าวเสริม

“กฤติยา ศรีสนิท” ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ กรุงศรี ออโต้ ยังได้เตรียมความพร้อมด้านระบบให้รองรับการช่วยเหลือลูกค้าอย่างทันท่วงที ทั้งในส่วนของ Krungsri Auto Call Center ซึ่งได้เพิ่มคู่สายโทรศัพท์ เพิ่มเจ้าหน้าที่เกือบ 100 คน และปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในให้สั้น กระชับ และยืดหยุ่นมากที่สุด เพื่อสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงในส่วนของสาขากรุงศรี ออโต้ ทั่วประเทศ ซึ่งได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ ให้คำปรึกษาและให้บริการแก่ลูกค้าทุกรายทันที

ลูกค้ากรุงศรี ออโต้ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือแจ้งความประสงค์ได้ที่ Krungsri Auto Call Center 02-740-7400 กด 3 หรือ กด 5 และสาขากรุงศรี ออโต้ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

]]>
1270325