พีซี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Jan 2024 08:29:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดขาย ‘พีซี’ ปี 2023 ลดลงกว่า 14% เหลือ 241.8 ล้านเครื่อง ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 ปี https://positioningmag.com/1460622 Mon, 29 Jan 2024 05:23:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460622 ปี 2023 ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดพีซีทั่วโลก โดยภาพรวมลดลง 14.8% และนับเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ลดลงในระดับเลขสองหลัก ซึ่งยอดขายพีซีทั่วโลกมีทั้งหมด 241.8 ล้านเครื่อง และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่ยอดขายมีไม่ถึง 250 ล้านเครื่อง

ตลาดพีซีทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 ปี

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกปี 2023 ซึ่ง หดตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส นับตั้งแต่ปี 2022 โดยปี 2023 มียอดขายเพียง 241.8 ล้านเครื่อง ลดลงจาก 284 ล้านเครื่องในปี 2022 และนับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายต่ำกว่า 250 ล้านเครื่อง นับตั้งแต่ปี 2006 ที่ตลาดพีซีมียอดขายเพียง 230 ล้านเครื่อง

อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวกในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023 ที่มียอดรวม 63.3 ล้านเครื่อง เติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2022 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายพีซีรายไตรมาสกลับมาเติบโต โดย มิคาโกะ คิตากาวะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ มองว่า ปี 2023 ถือเป็นปีที่ ตลาดพีซีมาถึงจุดลดลงต่ำสุดแล้ว และคาดว่าปี 2024 ตลาดจะกลับมาเติบโต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเนื่องจากการขึ้นราคาของชิ้นส่วน รวมถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

Lenovo ครองเบอร์ 1 ตลาด

ผู้ขายพีซี 6 อันดับแรกในไตรมาส 4 ปี 2023 ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดย Lenovo, HP, Apple และ Acer มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีเพียง Dell และ ASUS มีอัตราการเติบโตลดลง โดยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Lenovo มีการเติบโตในการจัดส่งพีซีทั่วโลก นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ส่วน HP มีการเติบโตเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี ขณะที่ Dell มีการเติบโตลดลงเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี

เนื่องจากปัญหาพิษเศรษฐกิจในจีนส่งผลกระทบต่อความต้องการพีซี และยังกระทบรุนแรงต่อ Lenovo เนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม Lenovo สามารถทำตลาดได้ดีในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (หรือ EMEA) รวมถึงตลาดอเมริกาที่เติบโตในระดับเลขสองหลัก ซึ่งชดเชยตลาดเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่หดตัว

EMEA เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์

ตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และอเมริกาเหนือ (EMEA) มีการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายปี โดยถือเป็นผู้นำการเติบโตทั่วโลก โดยตลาดพีซีใน EMEA มีการเติบโตสูงสุดที่ 8.7% ซึ่งถือเป็นการกลับมาเติบโตครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี

นอกจากนี้ ปี 2023 ถือเป็นปีแรกที่ตลาดพีซีในสหรัฐฯ เติบโตนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2021 โดยเพิ่มขึ้น 1.8% ในไตรมาส 4 ปี 2023 ซึ่งการเติบโตของแล็ปท็อปช่วยชดเชยการเติบโตที่ลดลงของเดสก์ท็อป โดย HP ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดพีซีในสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 27.7% ตามมาด้วย Dell ที่ 24.2%

“การเติบโตของพีซีในสหรัฐฯ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดมีเสถียรภาพในระหว่างไตรมาส เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งช่วยให้การใช้จ่ายของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มธุรกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย”

เอเชียแปซิฟิกหดตัวหนักเพราะจีน

ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงหดตัว -8% ในช่วง Q4/2023 โดยได้รับแรงกดดันจากยอดที่ตกต่ำในจีน นับเป็นการลดลงติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดยแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเป็นอุปกรณ์ไอทีสองชนิดที่เติบโตลดลงในภูมิภาคนี้ ซึ่งเดสก์ท็อปได้รับผลกระทบมากกว่าโดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยรวมปรับตัวลดลงระดับเลขสองหลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิกมีการลดลงเล็กน้อย ส่วนตลาดเกิดใหม่เติบโตขึ้นเพียงเลขหลักเดียว

]]>
1460622
‘Lenovo’ ยังมองบวกแม้รายได้หด 3 ไตรมาสติด เชื่อครึ่งปีหลังฟื้นพร้อมตลาดแน่! https://positioningmag.com/1431792 Thu, 25 May 2023 08:29:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431792 หลังจากที่ตลาดพีซี-โน้ตบุ๊กทั่วโลกทำสถิติเติบโตสูงสุดในรอบ 9 ปี ในช่วงปี 2020-2021 ที่โควิดระบาดหนัก หลังจากนั้นตลาดก็หดตัวอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ยอดขายของ Apple เองก็ยังตก รวมถึงเบอร์ 1 ในตลาดโลกอย่าง เลอโนโว (Lenovo) ที่หดตัวมา 3 ไตรมาสติดไปแล้ว แต่ถีงอย่างนั้น CFO ก็ยังมองบวก

รายได้ของ Lenovo บริษัทผู้ผลิตพีซีสัญชาติจีนที่ครองแชมป์ยอดขายอันดับ 1 ของโลก ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 เนื่องจากความต้องการของตลาดทั่วโลกยังคงตกต่ำ แต่ Wong Wai-Ming CFO ของ Lenovo กล่าวว่า บริษัทไม่ได้มีความกังวลใจถึงยอดขายที่ลดลง เพราะมั่นใจว่า หากตลาดกลับสู่ภาวะปกติ บริษัทจะเติบโตแน่นอน Wong Wai-Ming, CFO ของ Lenovo กล่าว

“ไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณเป็นไตรมาสที่ท้าทายที่สุดของปี โดยได้รับแรงกดดันจากทั้งตลาดพีซีและเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม รายได้รวมทั้งปีใของเราทั้งปีไม่ได้ลดลงมากนัก เนื่องจากกลุ่มธุรกิจอีกสองกลุ่มได้ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจบริการ อย่างไรก็ตาม เราเป็นที่หนึ่งในตลาด และเมื่อตลาดกลับสู่สภาวะปกติเราจะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน

แม้จะเชื่อว่าตลาดจะฟื้นตัวช่วงครึ่งปีหลัง แต่ Lenovo กำลังมองเห็นการเติบโตที่สูงขึ้นในธุรกิจอื่น ๆ เช่น โซลูชันโครงสร้างพื้นฐานและบริการ ซึ่งธุรกิจในส่วนนี้ช่วยพยุงรายได้จากส่วนของพีซีที่หดตัวลง โดยรายได้รวมของบริษัทในช่วงไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 24% ถือเป็นการลดลงเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน แต่หากนับเฉพาะรายได้จากฝั่ง พีซีลดลง –33% ส่วนรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ เติบโตขึ้น +7% ปัจจุบัน รายได้จากพีซีคิดเป็น 60% ของรายได้รวม อีก 40% มาจากธุรกิจอื่น ๆ 

“รายได้จากธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่พีซีของเราเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 40% ซึ่งกลยุทธ์ที่ชัดเจนของเราคือ ความยืดหยุ่น เพื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนทั่วโลก เราจะยังคงลงทุนใน [การวิจัยและพัฒนา] เพื่อคว้าโอกาสการเติบโตระลอกใหม่ ดังนั้นเราจึงเตรียมพร้อมอย่างดีสำหรับอนาคต” Yuanqing Yang ประธานและซีอีโอของ Lenovo Group กล่าว

ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทผู้ผลิตพีซีได้อานิสงส์จากโควิด ที่ทำให้ผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ หันมาซื้อคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊ก รวมถึงสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อทำงานระยะไกล แต่เมื่อพนักงานกลับมาที่ออฟฟิศ ยอดการจัดส่งพีซีก็ลดลง โดยจากข้อมูลของ IDC รายงานว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 การจัดส่งเดสก์ท็อปและแล็ปท็อปทั่วโลกหดตัวประมาณ 30% เหลือ 56.9 ล้านเครื่อง

อย่างไรก็ตาม บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยังมองบวกว่าครึ่งปีหลังตลาดจะกลับมาโตอีกครั้ง โดย Lenovo มองว่า เทคโนโลยีที่จะมาช่วยผลักดันตลาดคือ AI ปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเป็นขับเคลื่อนธุรกิจอุปกรณ์ของบริษัท เนื่องจาก AI เข้ามาเร่งความเร็วของการแปลงขององค์กรไปสู่ดิจิทัล

Source

]]>
1431792
Apple ก็ไม่รอด! พบยอดจัดส่ง Mac ลดลงกว่า 40% ในช่วง Q1 หลังตลาดพีซีทั่วโลกหดตัวหนัก https://positioningmag.com/1427055 Mon, 10 Apr 2023 11:59:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427055 อย่างที่รู้กันว่าหลังจากที่ทั่วโลกล็อกดาวน์เพราะโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในสินค้าที่ขายดีก็คือ พีซี, โน้ตบุ๊ก แต่หลังจากสถานการณ์คลี่คลาย ยอดขายก็กลับมาสู่ภาวะปกติ ทำให้ตลาดหดตัวอย่างมาก และในปี 2566 แบรนด์ Apple ที่ถือเป็นแบรนด์เดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ในที่สุดก็มาถึงจุดที่การเติบโตชะลอตัวลง

IDC เปิดเผยว่า ยอดการจัดส่งพีซี, โน้ตบุ๊กทั่วโลกของทุกแบรนด์รวมกันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ลดลง -29% อยู่ที่ 56.9 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าลดลงต่ำกว่าระดับของต้นปี 2562 เนื่องจากความต้องการที่ถูกขับเคลื่อนโดยการทำงานระยะไกลในยุคการระบาดของโควิดได้หายไป

ในบรรดาผู้นำตลาด เช่น Lenovo และ Dell Technologies ลดลงมากกว่า -30% ในขณะที่ HP ลดลง -24.2% ส่วน Asus ลดลง -30.3% และแบรนด์พรีเมียมอย่าง Apple ลดลง -40.5% ดังนั้น จะเห็นว่าไม่มีแบรนด์หลักรายไหนรอดพ้นจากการชะลอตัวของตลาด

สืบเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวในช่วงปีที่ผ่านมาส่งผลให้ตลาดสินค้าไอทีลดลงอย่างมาก อาทิ ยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลงเป็นตัวเลขสองหลักด้วยความต้องการที่ลดลงอย่างมาก ทำให้บรรดาซัพพลายเออร์ชิปหน่วยความจำระดับแนวหน้าของโลก อาทิ Samsung กำลังลดการผลิตหน่วยความจำหลังจากรายงานผลกำไรที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2552

อย่างไรก็ตาม IDC มองว่าในปี 2567 ความต้องการของตลาดพีซีอาจฟื้นตัวได้ โดยได้รับแรงหนุนจากการความต้องการอัปเกรดฮาร์ดแวร์และเศรษฐกิจโลกกำลังดีขึ้น

Source

]]>
1427055
‘ซีเกท’ เตรียมโละพนักงาน 3,000 คนทั่วโลก หลังยอดขายพีซีลดลง https://positioningmag.com/1405782 Thu, 27 Oct 2022 10:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405782 บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เบอร์ต้น ๆ ของโลกอย่าง ซีเกท เทคโนโลยี (Seagate Technology) ได้เปิดเผยว่ามีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลก 8% หรือประมาณ 3,000 คน โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและยอดขายพีซีที่ลดลง ส่งผลต่อความต้องการชิ้นส่วนที่ลดลงตามไปด้วย

ยอดขายคอมพิวเตอร์ – โน้ตบุ๊ก ประจำไตรมาส 2/2022 ปิดที่ 70.2 ล้านเครื่อง ถือว่าลดลง 15% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดนับแต่การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ ซีเกท เทคโนโลยี บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในพีซีและเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง 3,000 คนทั่วโลกเพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน

“นอกเหนือจากการปรับผลผลิตของเรา เพื่อขับเคลื่อนวินัยในการจัดหาและความมั่นคงด้านราคา เรากำลังดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้างใหม่เพื่อลดต้นทุนอย่างยั่งยืน รวมถึงการลดจำนวนพนักงานทั่วโลกของเรา” Dave Mosley ซีอีโอของซีเกท กล่าว

Dave Mosley รับว่า ไม่ใช่แค่ยอดขายพีซีที่ลดลงจนส่งผลกระทบกับการส่งออกชิ้นส่วนของบริษัท แต่ลูกค้าขององค์ซึ่งรวมถึงผู้ให้บริการระบบเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ก็ลงทุนน้อยลง ซึ่งการเลิกจ้างงานของบริษัทครั้งนี้ สะท้อนถึงความต้องการคอมพิวเตอร์พีซีที่ลดลงหนักหลังจากการฟื้นตัวของการระบาดใหญ่

สำหรับการปรับโครงสร้างและการเลิกจ้างงาน จะช่วยให้บริษัทประหยัดเงินได้ประมาณ 110 ล้านดอลลาร์ต่อปี และจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2023 พร้อมคาดว่าจะจ่ายค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษีประมาณ 65 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นค่าชดเชยและผลประโยชน์การเลิกจ้างอื่น ๆ

ที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทร่วงลงมากกว่า 7% ระหว่างการซื้อขายในวันพุธ และลดลงมากกว่า 55% ในปี 2565 โดยซีเกทคาดว่ารายได้ในไตรมาส 3/2022 นี้จะอยู่ที่ 1.85 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ FactSet คาดการณ์ไว้ที่ 2.12 พันล้านดอลลาร์

]]>
1405782
เงินเฟ้อทำตลาด ‘ไอที’ ทั่วโลกดิ่งหนัก เหตุผู้บริโภครัดเข็มขัดเบรกซื้อ ‘คอม-มือถือ’ ใหม่ https://positioningmag.com/1391660 Thu, 07 Jul 2022 05:42:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391660 ช่วงเวลาขาขึ้นผ่านไปไวกว่าที่คิดสำหรับตลาดสินค้า ‘ไอที’ หลังจากที่ 2 ปีก่อนสามารถเติบโตได้เนื่องจากผู้บริโภคอยู่บ้านมากขึ้น จึงมีความต้องการอุปกรณ์ไอทีสำหรับใช้เรียน ทำงาน รวมถึงกิจกรรมคลายเครียดแก้เบื่ออย่างการเล่นเกม บริษัทวิจัยหลายสำนักคาดว่าขาลงของตลาดจะเริ่มเห็นชัดในปีหน้า แต่จากภาวะเศรษฐกิจก็ย่นเวลาให้ตลาดดิ่งหนักในปีนี้

ตัวเลขจาก Gartner ได้ชี้ให้เห็นว่า ตลาดไอที กำลังจะตกต่ำอย่างมากในปีนี้ โดยคาดว่าตัวเลขยอดจัดส่ง พีซี จะลดลง -9.5% แบ่งเป็น ตลาดคอนซูมเมอร์ -13.5% ส่วน ตลาดองค์กรลดลง 7.2% โดยเฉพาะในทวีปยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกาในภูมิภาค จะแย่ที่สุดโดยลดลงถึง -14%

ไม่ใช่แค่ตลาดพีซี แต่ ตลาดแท็บเล็ต คาดว่าจะลดลง -9% และ สมาร์ทโฟน -7.1% จากที่ปี 2021 สามารถเติบโต 5% โดยรวมแล้ว ภาพรวมตลาดไอทีลดลง -7.6% จากที่ปี 2021 แต่ที่หนักสุดก็คือ ตลาดพีซี

ของแพงและเงินเฟ้อทำรัดเข็มขัด

Ranjit Atwal นักวิเคราะห์อาวุโสของ Gartner กล่าวว่า สำหรับตลาดพีซี กลุ่ม Chromebook เป็นหมวดหมู่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากในอเมริกาไม่มีความต้องการซื้อ เพื่อการศึกษา เนื่องจากเด็ก ๆ กลับไปเรียนได้ตามปกติ ส่วนในยุโรปยังพอมีความต้องการระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนจากสภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน การปรับขึ้นราคาสินค้าเนื่องจากซัพพลายเชน และปัญหาเงินเฟ้อที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการเปลี่ยนไปใช้ของใหม่ รวมไปถึงการล็อกดาวน์ในจีนยังส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก

“ตอนแรกเราคาดว่าตลาดจะเริ่มลดลงในปี 2023 แต่มันกลับเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด เนื่องจากการซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลงอย่างรวดเร็ว”

5G ไม่ช่วยอย่างที่คิด

หลังจากตลาดเริ่มอิ่มตัว 5G ที่ถือเป็นอีกความหวังใหม่ของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก ก็ไม่ได้ช่วยอย่างที่คิด อย่างในจีนช่วงปี 2021 ยอดการจัดส่งสมาร์ทโฟน 5G จะเติบโตขึ้น 65% แต่ในปี 2022 นี้คาดว่าจะเติบโตเพียง 2% เท่านั้น

“ในช่วงต้นปี ตลาดโทรศัพท์ 5G ของจีนในแผ่นดินใหญ่ คาดว่าจะเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก แต่ผลกระทบของนโยบาย Zero COVID-19 ของจีน และผลจากการล็อกดาวน์ได้พลิกกลับแนวโน้มนี้อย่างมาก เพราะผู้บริโภคหยุดซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น รวมถึงสมาร์ทโฟน 5G”

ส่วนภาพรวมทั่วโลก อยากจัดส่งสมาร์ทโฟน 5G จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ Gartner ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตจาก 47% ในปี 2021 เหลือเพียง 29% เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขของ IDC ที่คาดการณ์ว่าจะมีการชะลอตัวในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Gartner คาดว่าความต้องการเปลี่ยนไปใช้สมาร์ทโฟน 5G จะเริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในปี 2023 หลังจากที่สมาร์ทโฟน 4G เริ่มตกรุ่น

]]>
1391660
กลับมาจุดเดิม! ยอดขาย ‘พีซี’ โลก -7.3% เคยโตเร็วสุดในรอบ 20 ปี เพราะได้โควิดดัน https://positioningmag.com/1381370 Tue, 12 Apr 2022 03:06:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381370 ในไตรมาสแรกของปี 2564 ยอดขายพีซีทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 20 ปี เนื่องจากผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจซื้อแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเครื่องใหม่เพื่อ Work และ Learn Form Home และภาพรวมทั้งปี ยอดขายพีซีเติบโตขึ้นประมาณ 15% หลังจากที่ตั้งแต่ปี 2555 ตลาดพีซีทั่วโลกแทบไม่เติบโต

มาไตรมาสแรกของปี 2565 การจัดส่งพีซีทั่วโลกลดลงอย่างมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าช่วงที่บูมที่สุดของยอดขายพีซีได้สิ้นสุดลงแล้วโดย Gartner คาดว่า ยอดส่งมอบพีซีปีนี้จะลดลง -7.3% เหลือ 77.5 ล้านเครื่อง ซึ่งส่วนที่ลดลงมากที่สุดมาจากยอดขาย Chromebook ซึ่งเป็นแล็ปท็อปราคาประหยัดที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน

เช่นเดียวกับ IDC ที่ประเมินว่าตลาดจะลดลง 5.1% เป็น 80.5 ล้านเครื่อง ส่วน Canalys คาดว่าตลาดจะลดลง -3% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 65 อย่างไรก็ตาม Gartner ประเมินว่าแม้ว่าจำนวนเครื่องจะลดลง แต่มูลค่าตลาดทั้งหมดยังคงเติบโตได้ราว +3.3% ต่อปี

นักวิเคราะห์บางคนมองว่า สาเหตุที่เริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตของตลาดที่ช้าลงอย่างมาก มาจากผู้บริโภคจำนวนมากซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปแล้ว ขณะที่อุตสาหกรรมเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับการจัดหาชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับแล็ปท็อปและเดสก์ท็อป อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในช่วงที่ยอดขายพีซีเฟื่องฟู อีกทั้งผู้จำหน่ายพีซีหยุดส่งคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปยังรัสเซียในระหว่างการรุกรานยูเครน

สำหรับบริษัทที่มียอดขายพีซีสูงสุด 6 อันดับในช่วงไตรมาสแรกของปี ได้แก่

  • Lenovo
  • HP
  • Dell
  • Apple
  • Asus
  • Acer

Source

]]>
1381370
พลัง ‘Work From Home’ ดันยอดขาย ‘พีซี’ ทั่วโลกโต 14.8% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 https://positioningmag.com/1370286 Thu, 13 Jan 2022 07:54:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370286 ตั้งแต่การมาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตลาดพีซี-โน้ตบุ๊กก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด แต่เพราะการระบาดของ COVID-19 ที่ให้ผู้คนทั่วโลกต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ทำให้ตลาดพีซีเริ่มกลับมาเห็นการเติบโตอีกครั้ง โดยในปีที่ผ่านมาตลาดก็สามารถเติบโตได้สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 เลยทีเดียว

จากข้อมูลของ IDC พบว่า ในปี 2564 ยอดจัดส่งเดสก์ท็อป แล็ปท็อป และเวิร์กสเตชันทั่วโลกเติบโตขึ้น 14.8% โดยมีจำนวนมากที่สุดในปีเดียวนับตั้งแต่ปี 2555 และเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของตลาดมีการจัดส่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 34% โดยมียอดจัดส่งรวมทั้งสิ้น 349 ล้านหน่วย

การเติบโตดังกล่าวนับเป็นการฟื้นตัวที่น่าสนใจสำหรับภาคส่วนที่นักลงทุนและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีตัดขาดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสมาร์ทโฟนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและมีปริมาณสูงสุดในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ การฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการล็อกดาวน์ และการเพิ่มขึ้นของการทำงานทางไกล (Work From Home) และการเรียน (Learn From Home) ในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เนื่องจากแต่ละครอบครัวต้องซื้อแล็ปท็อปและพีซีเครื่องใหม่สำหรับลูก ๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ และธุรกิจต่าง ๆ ซื้ออุปกรณ์ให้พนักงานใช้เพื่อทำงานจากที่บ้าน และแม้ว่าทั่วโลกจะเจอปัญหาการขาดแคลนชิป แต่ตลาดก็ยังสามารถเติบโตได้

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนมองว่ายอดขายจะไม่ยั่งยืนหลังจากการระบาดใหญ่ที่ลดลง ตัวอย่างเช่นในเดือนธันวาคม IDC กล่าวว่า ตลาดได้ผ่านความต้องการการระบาดใหญ่และคาดการณ์การชะลอตัวในปี 2565 แต่ผู้เข้าร่วมตลาดบางคนยังคงมองโลกในแง่ดีว่ายอดขายพีซีจะยังคงดำเนินต่อไปตามวิถีปัจจุบัน

Pat Gelsinger CEO ของ Intel เชื่อว่าตลาดพีซีอยู่บนเส้นทางขาขึ้นใหม่ที่มีความยั่งยืน ทั้งนี้ ปัจจุบัน Intel เป็นผู้ผลิตชั้นนำของโปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% ด้าน Rahul Tikoo ผู้บริหารของ Dell มองว่า การระบาดใหญ่ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในพฤติกรรมการซื้อในขณะนี้ ซึ่งทุกคนต้องการพีซีของตัวเอง

“เรากำลังเปลี่ยนจากพีซีหนึ่งเครื่องต่อครัวเรือน เป็นพีซีหนึ่งเครื่องต่อคนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นเหมือนกับรุ่นสมาร์ทโฟน โดยตอนนี้ฉันคิดว่าพีซีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน”

สำหรับบริษัทพีซีรายใหญ่ที่มียอดสัดส่งสินค้ามากที่สุด 6 แบรนด์ ได้แก่

  • Lenovo
  • HP
  • Dell
  • Apple
  • Asus
  • Acer

Source

]]>
1370286
‘ตลาดเกม’ ทางรอดของผู้ผลิตพีซี https://positioningmag.com/1114038 Fri, 20 Jan 2017 04:29:03 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114038 จากการที่ตลาดพีซีในหลายปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะที่อิ่มตัว ไม่ค่อยมีแรงซื้อจากผู้บริโภคที่นำไปใช้งานทั่วๆ ไปมากนัก เนื่องด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตจากพีซีสู่การใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก แน่นอนว่าพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตลาดพีซี จนถึงขั้นมองว่าตลาดพีซีเป็นตลาดที่ ‘น่าเบื่อ’ ในตอนนี้

แต่ใช่ว่าในทุกเซกเมนต์ของตลาดพีซีไม่มีการเติบโต เพราะปัจจุบันผู้ผลิตทุกรายต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับ 3 ตลาดหลักในตลาดพีซี โดยเฉพาะในกลุ่มของโน้ตบุ๊ก ที่นำมาด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเกม ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่สำคัญมากที่สุดในขณะนี้ ตามมาด้วยเครื่องในรูปแบบของ 2-1 และเครื่องบางเบา

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของฮาร์ดแวร์เกมที่เป็นพีซี ยังไม่ได้มีการแบ่งเซกเมนต์ชัดเจนมากนัก เพียงแต่เหล่าผู้ผลิตจะแยกในส่วนของเดสก์ท็อป หรือ โน้ตบุ๊ก ที่มีการ์ดจอแยก และประสิทธิภาพเพียงพอกับการเล่นเกมออกมา ซึ่งแน่นอนว่าก็จะมีผู้ใช้งานบางส่วนที่ไม่ได้ซื้อไปเพื่อเล่นเกม แต่จะรวมถึงการนำไปทำงานที่ต้องใช้คอมพ์ประสิทธิภาพสูงด้วย

จากข้อมูลล่าสุดของ เลอโนโว ระบุว่า ในตลาดของโน้ตบุ๊กที่มีระดับราคา 2.2 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการ์ดจอแยกมาให้แล้วคิดเป็นสัดส่วนยอดขายราย 20-30% ในตลาดเท่านั้น แต่ถ้ามองในแง่ของเชิงมูลค่าตลาดนี้จะสูงขึ้นมาเป็น 30-40%

เคน หว่อง ประธานฝ่ายการตลาดประจำตลาดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เลอโนโว ให้ข้อมูลว่าที่น่าสนใจว่า ตอนนี้ไทยถือเป็นประเทศอันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชียที่มีการตอบรับของตลาดเกมค่อนข้างสูง รองจากประเทศไต้หวัน ที่มีการแข่งขันกีฬา eSports แบบเต็มตัวแล้ว และที่น่าสนใจคือในช่วงปีที่ผ่านมาในประเทศไทย ตลาดนี้มีการเติบโตแบบเท่าตัว

‘สิ่งที่ทำให้ตลาดเกมได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบันคือ การมาของระบบเล่นเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น การเล่นกับกลุ่มเพื่อนช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานอย่างการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่นเกมแบบมัลติเพลย์เยอร์ได้สนุกขึ้น’

แน่นอนว่าในมุมของ เลอโนโว ที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์พีซี รวมถึงการขยายมาทำตลาดอุปกรณ์เสริมด้วย ทำให้ต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอมมูนิตี้ของกลุ่มคนเล่นเกมให้เกิดขึ้น เพื่อสื่อสารไปยังผู้ใช้งาน การสร้างแพลตฟอร์มที่จะมาสนับสนุนผู้ใช้ ทำให้เกิดการแข่งขัน

ล่าสุด เลอโนโว ก็ได้ร่วมมือกับอินเทล ที่เป็นผู้ผลิตชิปหน่วยประมวลผล จัดการแข่งขันเกมระดับภูมิภาคขึ้นในประเทศไทย ด้วยการนำทีมผู้ชนะจาก 6 ประเทศมาแข่งขันกัน ชิงเงินรางวัลกว่า 5 แสนบาท และแน่นอนว่านี่จะไม่ใช่กิจกรรมเดียวที่เกิดขึ้นในปีนี้ แต่จะมีกิจกรรมและความร่วมมือกับผู้ผลิตเกมรายอื่นๆ อีก

นอกจากนี้ เพื่อเสริมแบรนด์ในตลาดนี้ให้แข็งแรงขึ้น เลอโนโว จึงได้มีการเพิ่มซับแบรนด์ ‘Legion’ เข้ามาเสริม เพื่อให้กลายเป็นซับแบรนด์สำหรับพีซีเกมเมอร์ ซึ่งแต่เดิมจะใช้ชื่อ Y ซีรีส์ ในการทำตลาดพีซีที่มีประสิทธิภาพสูง ในระดับราคาเริ่มต้นที่ราว 3 หมื่นบาท ซึ่งปัจจุบันเลอโนโวมีส่วนแบ่งในกลุ่มนี้เป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยแล้ว

info_game

อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้ตลาดพีซีมีสีสันมากยิ่งขึ้น เลอโนโว ก็จะไม่ได้ยึดกับตลาดเกมมากจนทิ้งตลาดในส่วนอื่น ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่ม 2-1 และเครื่องบางเบา เข้ามาทำตลาดด้วย ส่งผลให้ปัจจุบันเลอโนโวมีซับแบรนด์อยู่ภายใต้เลอโนโวทั้งหมด 5 ชื่อที่แยกทำตลาดชัดเจน

โดยในส่วนของโน้ตบุ๊กทั่วไปเลอโนโวจะใช้สินค้าในตระกูล Ideapad ทำตลาดกลุ่มคอนซูเมอร์ ส่วนลูกค้าองค์กรก็จะมีซับแบรนด์อย่าง Thinkpad ที่ครองตลาดอยู่ทุกช่วงระดับราคาที่มีให้เลือกหลากหลาย ถัดมาคือกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2-1 จะใช้ซับแบรนด์ Yoga ที่เน้นในแง่ของรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย และมีนวัตกรรม เสริมด้วย Miix ที่เน้นความสะดวกในการใช้งาน สุดท้ายคือ Legion ที่เป็นแบรนด์สำหรับตลาดเกม

มองสภาพตลาดไทย

จีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลอโนโว ประเทศไทย จำกัด กล่าวเสริมว่า ในประเทศไทยตลาดเกมถือว่าเติบโตขึ้นสูงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจาก eSports เริ่มได้รับการยอมรับในตลาด ทำให้ตอนนี้มีทีมที่เป็นตัวแทนจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น และขยายไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

‘ตอนนี้เลอโนโวถือเป็นผู้นำในตลาดฮาร์ดแวร์เกมมิ่งพีซี ด้วยส่วนแบ่งตลาดที่เกิน 20% และตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% เพื่อให้สามารถครองตลาดนี้ได้ในทุกๆ ฟอร์มเฟคเตอร์ ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของงบการตลาดของการทำแบรนด์ Legion ก็จะเพิ่มขึ้นมาเป็นเกือบ 10% ของยอดขายด้วยเช่นกัน’

ที่ผ่านมาสินค้าในกลุ่ม Y ซีรีส์ ของเลอโนโว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยการเป็นผู้ผลิตรายแรกที่นำเสนอโน้ตบุ๊กขนาดหน้าจอ 15 นิ้ว ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพสูง ในราคาที่จับต้องได้ ซึ่งหลังจากนั้นแบรนด์อื่นๆ ก็เริ่มเข้าสู่ตลาดนี้ด้วยการนำเสนอฮาร์ดแวร์ที่ใกล้เคียงกัน

แน่นอนว่า ในแง่ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดไทย ก็จะใกล้เคียงกับในตลาดภูมิภาคเอเชีย ด้วยการเน้นผลิตภัณฑ์ใน 3 กลุ่มคือ เกม 2-1 และบางเบา ซึ่งตอนนี้ทั้ง 3 กลุ่มนี้ถือครองสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันในตลาด และเชื่อว่าจะรักษาส่วนแบ่งนี้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ตลาดเกมจะมีส่วนของอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวเนื่องเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นจอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ ลำโพง หูฟัง กระเป๋า ซึ่งราคาเฉลี่ยของอุปกรณ์เกมจะค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ของพีซีทั่วไป ดังนั้น เลอโนโวก็มีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้เข้ามาทำตลาดเพิ่มเติมในประเทศไทย

ถกล นิยมไทย ผู้จัดการประจำประเทศไทยฝ่ายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า เลอโนโว เริ่มทำ การบ้านตั้งแต่ 2 ไตรมาสที่ผ่านมา ในการนำเสนอซับแบรนด์ Legion เข้าสู่ตลาด ด้วยการเข้าไปพูดคุยกับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเป็นแนวทางการทำตลาดของเลอโนโวที่จะเน้นการฟังเสียงของผู้บริโภคให้มากที่สุด

‘ในแง่ของการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เลอโนโว จะมีการจัดกิจกรรมแนะนำผลิตภัณฑ์อย่าต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งช่องทางจำหน่ายที่เป็นสินค้าไอที และหน้าร้านเกมมิ่ง รวมถึงการนำนวัตกรรมอย่าง VR มาร่วมในการนำเสนอด้วย เพื่อสร้างความต่างให้แก่ตลาด’

ข้อดีของผลิตภัณฑ์ Legion ที่จะเข้ามาทำตลาดในปีนี้คือ ทุกรุ่น รองรับเทคโนโลยี VR รวมถึง AR ด้วยอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีเกม หรือซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว ก็พร้อมที่จะใช้งานได้ทันที ซึ่งแน่นอนว่าทั้ง VR และ AR ถือเป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้อย่างแน่นอน

‘อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือตลาดเกม ถือว่าเป็นตลาดที่สร้างอีโคซิสเตมส์ให้กับผู้ผลิตค่อนข้างเยอะ เมื่อมีการใช้งานก็จะสร้างนวัตกรรมใหม่เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ รวมถึง eSports ก็ได้รับความสนใจมากขึ้น และแน่นอนว่าเลอโนโวก็จะเดินหน้าในการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้ต่อเนื่อง’

สำหรับผลิตภัณฑ์ในซีรีส์ Legion ที่เพิ่งเปิดตัวภายในงาน CES 2017 ที่ผ่านมา จะเริ่มทยอยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีทั้งโน้ตบุ๊ก เดสก์ท็อป ออลอินวัน โดยในกลุ่มโน้ตบุ๊กจะเริ่มต้นที่ระดับราคา 3 หมื่นบาท ส่วนเดสก์ท็อปเริ่มต้นที่ 5 หมื่นบาท (รวมจอและคีย์บอร์ด)

เตรียมลุย IoT

นอกจากในส่วนของผลิตภัณฑ์พีซีแล้ว ในปีนี้เลอโนโวมีแผนที่จะขยายประเภทสินค้าในกลุ่มของ IoT และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสมาร์ทโฮมมากยิ่งขึ้น โดยจะอยู่ภายในกลุ่มธุรกิจคอนซูเมอร์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ในงานอย่างลำโพงอัจฉริยะ Lenovo Smart Assistant ที่เป็นผู้ช่วยประจำบ้าน

ด้วยการนำเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียงของแอมะซอน (Amazon Alexa) ที่จะทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูล ฟังเพลง บันทึกช่วยจำ ปฏิทินเตือนความจำ และกิจกรรมอื่นๆ และแน่นอนว่าสามารถนำมาใช้งานร่วมกับระบบสมาร์ทโฮมของเลอโนโวด้วย

ที่มา : http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000006299

]]>
1114038