พื้นที่เชิงพาณิชย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 Aug 2020 12:37:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CAS CENTRE เปลี่ยน… เพื่อทำเลที่ใช่กว่า https://positioningmag.com/1293139 Wed, 19 Aug 2020 10:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293139

CAS Centre อาคารสำนักงานแห่งใหม่ที่น่าจับตามองที่สุด ณ ขณะนี้ ด้วยพื้นที่เอนกประสงค์ภายในอาคารที่ออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการในการประกอบธุรกิจทุกรูปแบบ ทั้งสำนักงานออฟฟิศให้เช่าและพื้นที่ให้เช่าเชิงพาณิชย์ (Retail) CAS Centre ตั้งอยู่ย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพ สะดวกสบายด้วยทำเลที่ตั้งที่เข้าถึงง่ายด้วยระบบคมนาคมพื้นฐาน เชื่อมต่อง่าย ๆ ด้วยรถไฟใต้ดิน MRT สถานีพระรามเก้า สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์สถานีมักกะสัน และอยู่ใกล้กับทางด่วนเส้นทางหลัก ที่จะสามารถนำไปสู่สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิและโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) CAS Centre พร้อมให้บริการ มีนาคม 2563 นี้ เพื่อร่วมเปิดประสบการณ์ Work-Play-Dine ที่สมบูรณ์แบบ

เพื่อการลงทุนที่คุ้มค่ากว่า จ่ายน้อยกว่า.. แต่ได้กลับมาที่มากกว่าเคย ด้วยพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ ก็รังสรรค์ออฟฟิศให้ได้ดั่งใจด้วยพื้นที่โล่งแบบคอลัมน์ฟรี (Column free) และยังมีออฟฟิศแบบดูเพล็กซ์ (Duplex) ออฟฟิศแบบสองชั้น มีบันไดเชื่อมต่อถึงกันเพิ่มพื้นที่และประสิทธิภาพในการทำงาน และมากกว่า.. ด้วยพื้นที่รีเทล (Retail) เพลิดเพลินกับการช้อปปิ้ง ร้านอาหาร ฟิตเนส และบริการต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของพนักงานออฟฟิศที่ทำงานแห่งนี้และผู้ใช้บริการที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

พื้นที่ใช้สอยที่ลงตัว… โดดเด่นกว่าใครในทศวรรษนี้

CAS Centre มีอาคารสำนักงานให้เช่าทั้งสิ้น 29 ชั้น ตั้งแต่ขนาด 91 ตารางเมตรไปจนถึง1,431 ตารางเมตร และพิเศษสุด ในทุก ๆ สำนักงานจะมีห้องน้ำส่วนตัวภายใน และบางยูนิตมีพื้นที่เพิ่มเติมที่สามารถเป็นห้องครัวหรือห้องอาบน้ำได้ ลดการแชร์พื้นที่ส่วนกลาง เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี เพราะเราจะอยู่ในโลกหลังโควิด 19 ที่ให้รูปแบบการใช้พื้นที่ออฟฟิศเปลี่ยนไปและไม่เหมือนเดิม

มั่นใจด้วยระบบรักษาความปลอดภัย กล้อง CCTV และพนักงานรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง อาคารจอดรถมากกว่า 900 คัน และความพิเศษด้วยล็อคเกอร์ขนาดใหญ่สำหรับใส่ถุงกอล์ฟที่บริเวณอาคารจอดรถ มีที่จอดรถพลังงานไฟฟ้ากว่า 200 คันเพื่อการชาร์จพลังงานสะอาด และที่จอดรถจักรยานยนต์กว่า 300 คัน

โอกาสดี ๆ ที่เลือกได้และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ

CAS Centre มีพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ (Retail) ทั้งหมด 8 ชั้น CELLAR@NINE (เซลล่าแอทไนน์) ชื่อเรียกพื้นที่บริเวณชั้นใต้ดินที่มีทางเข้าหลักจากถนนดินแดงและเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ที่จะเป็นแหล่งรวมร้านค้า ร้านอาหาร และบริการที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกไลฟ์สไตล์ คุณจะได้พบกับศูนย์อาหาร (Food court), ร้านอาหารชั้นนำ, คอฟฟี่ช็อป, ร้านสะดวกซื้อ ในบริเวณชั้นอื่น ๆ จะเป็นแหล่งช้อปปิ้ง จากร้านค้าแบรนด์ที่มีชื่อเสียง และสินค้าที่หลากหลาย ฟิตเนส โดยแต่ละชั้นจะเชื่อมต่อกับอาคารจอดรถเพิ่มความสะดวกสบาย ซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วคล่องตัวในการขนส่งสินค้าหรือ Delivery service พร้อมด้วยลานจอดรถสำหรับสุภาพสตรีและบริการล้างรถ

ที่บริเวณชั้น 7 เป็นอีกหนึ่งความพิเศษของ CAS Centre ด้วยลานเทอร์เรซ (Terrace) ขนาดใหญ่ ที่จะทำให้คุณได้เห็นกรุงเทพในอีกมุมที่สวยงามจับใจแบบพาโนรามา เหมาะที่จะเป็นร้านอาหารแบบไฟน์ไดน์นิ่ง (Fine-Dining) พื้นที่สำหรับจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ส่วนตัว (Private Event) หรือจะเป็นพื้นที่ความบันเทิงเพื่อการผ่อนคลายหลังเลิกงาน

นอกจากนี้ CAS Centre ยังตั้งอยู่ในบริเวณแยกพระรามเก้า ทำเลที่เป็นใจกลางย่านธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพที่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง รายล้อมไปด้วยสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถานทูตจีน และคราคร่ำไปด้วยจำนวนผู้พักอาศัยที่อยู่คอนโดกว่า 16,000 ห้อง ภายในรัศมี 1 กิโลเมตรโดยรอบ CAS Centre

สุขภาพดี มีสุขอนามัยในยุคโควิด 19

การมีสุขภาพที่ดีและมีสุขอนามัยเป็นเรื่องที่ทุก ๆ คนในยุคโควิค 19 ตระหนักและให้ความสำคัญมากและที่ CAS Centre ก็มีฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับผู้เช่าและผู้ใช้บริการอาคารแห่งนี้ โดยในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง (Retail) ห้องน้ำสาธารณะจะเป็นระบบไร้การสัมผัส (Hands-free) ตั้งแต่ประตูเข้า – ออกด้วยเครื่องเปิดประตูอัตโนมัติระบบเซนเซอร์ ก๊อกน้ำ ภาชนะใส่สบู่ล้างมือ เครื่องเป่ามือด้วยลมร้อน ต่างก็เป็นระบบอัตโนมัติและไร้ซึ่งการสัมผัสทั้งสิ้น

CAS Centre ให้ความสำคัญเรื่องของคุณภาพอากาศ จึงได้มีการติดตั้งเครื่องกรองอากาศและฝุ่น PM 2.5 ทั้งในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางและสำนักงาน มีระบบป้องกันมลภาวะทางอากาศในบริเวณทางเข้าอาคาร และป้องกันไม่ให้มลพิษจากภายนอกเข้ามาสู่อาคาร เพื่อรักษาคุณภาพอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม

พลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับทุก Gen

อาคารได้ถูกออกแบบมาและพัฒนาโดยคำนึงถึงหลักในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดีไซน์อาคารให้ประหยัดพลังงาน อาทิ การใช้ไฟ LED ในพื้นที่ส่วนกลาง การนำกระจกลามิเนตและกระจกฉนวนกันความร้อนมาใช้เพื่อประหยัดพลังงานและค่าซ่อมบำรุง มีการออกแบบเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตแบบไฟเบอร์ออฟติคและเป็นอาคารที่รองรับสัญญาณอินเตอร์เนต 5G และตั้งเป้าหมายในการได้รับรองมาตรฐานสากลอย่าง LEED Gold Core & Shell Certification ซึ่งฟังก์ชั่นต่างๆ เหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้เช่า พนักงานออฟฟิศ และผู้ใช้บริการทุกคน

ด้วยการออกแบบและการตกแต่งที่ให้ความรู้สึกผสมผสานระหว่างสถานที่ทำงานที่สะดวกสบายและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ทั้งพื้นที่ภายนอกและพื้นที่ภายในให้ความรู้สึกร่มรื่นและผ่อนคลาย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงาน รับประทานอาหาร ช้อปปิ้ง และเป็นสถานที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย CAS Centre จะเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ ของคนที่กำลังมองหาสำนักงานหรือพื้นที่ให้เช่า บนทำเลที่ใช่ ไลฟ์สไตล์ที่ชอบ ตอบโจทย์ความคุ้มค่า

 

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.cas-centre.com

สอบถามข้อมูลเช่าสำนักงานออฟฟิศหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ กรุณาติดต่อ 02 643 8038 หรือ อีเมล์ [email protected]

]]>
1293139
กวาดเรียบ! “คิง เพาเวอร์” ชนะประมูล “ดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์” สุวรรณภูมิ บริหารต่ออีก 10 ปี https://positioningmag.com/1232408 Fri, 31 May 2019 05:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232408 ยังคงรักษาธุรกิจเดิมที่ทำมากว่า 30 ปี ไว้ได้เหนียวแน่น หลัง ทอท. ประกาศให้ “คิงเพาเวอร์” เป็นผู้ชนะประมูลสิทธิ์บริหารดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิอีกครั้ง ด้วยอายุสัญญา 10 ปี

วันนี้ (31 พ.ค.) ช่วงเช้า 9.30 น. บริษัท ท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ประกาศผลการประมูลบริหารโครงการดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ชนะประมูลอันดับ 1 คือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด อันดับ 2 BA หรือ บริการการบินกรุงเทพ จำกัด และอันดับ 3 ROH หรือ บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

วิชัย บุญยู้ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด ทอท. กล่าวว่า ทอท. ยังไม่ประกาศคะแนนของทั้ง 3 ราย เนื่องจากมีข้อเกี่ยวข้องกับการให้ผลตอบแทนที่จะได้รับตลอดอายุสัมปทาน หลังจากนี้จะนำผลประกวดราคาครั้งนี้เข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการรายได้วันที่ 12 มิ.ย. นี้ และเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด ทอท. วันที่ 19 มิ.ย. นี้

ผู้ชนะคัดเลือกได้เสนอผลตอบแทนสูงกว่าเดิมและสูงกว่าที่ ทอท. คาดหมาย

หลังจากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน ทอท. ได้เปิดซองประมูลราคาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ชนะคือ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งคว้าชัยชนะเหนือคู่แข่งเพียงรายเดียว คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN

การคว้าชัยชนะประมูลทั้งบริหารพื้นที่ดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่มีอายุสัญญาสัมปทาน 10 ปี ครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ฝีมือการขึ้นมาบริหารอาณาจักรแสนล้าน “คิงเพาเวอร์” ของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ต่อจากเจ้าสัว วิชัย ศรีวัฒนประภา

สำหรับการประมูลโครงการดิวตี้ฟรี และพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ ทอท. เปิดให้เอกชน “ซื้อซอง” เมื่อวันที่ 1 – 18 เม.ย. 2562 และเปิดให้ “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 จากนั้นวันที่ 27 พ.ค.2562 เปิดให้นำเสนอผลงาน และประกาศผลในวันที่ 31 พ.ค.2562 เพื่อเข้ารับสัญญาสัมปทานครั้งใหม่ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. 2563 – 23 มี.ค. 2574 อายุ 10 ปี 6 เดือน

การประมูลครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 สัญญา คือ 1. สิทธิ์บริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) สุวรรณภูมิ สัญญานี้มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 5 ราย คือ 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด 3. บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป และ WDFG UK ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีจากอังกฤษ 4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ 5. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ในกลุ่มนี้ มี 2 บริษัท คือ เซ็นทรัลและไมเนอร์ ไม่ยื่นซองเอกสารเทคนิค จึงเหลือผู้ชิงประมูล 3 ราย

ส่วนสัญญาที่ 2 สิทธิ์บริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial area) สนามบินสุวรรณภูมิ มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 4 ราย 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN 3. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT 4. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

หลังเปิดให้เอกชน “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ในสัญญานี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่ยื่นซองประมูล ส่วน ไมเนอร์ ถูก ทอท. ตัดสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ด้วยเหตุผลผิดเงื่อนไขตามทีโออาร์ ข้อ 3 และ ข้อ 5 จากการอ้างอิงเอกสารประสบการณ์ของบริษัทลูก “ไมเนอร์ ฟู้ด” ทำให้สัญญาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ เหลือผู้ผ่านเกณฑ์เข้าชิงเพียง 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และ เซ็นทรัลพัฒนา

]]>
1232408
ทำไม “ไมเนอร์” ต้องชิงบริหารพื้นที่พาณิชย์สุวรรณภูมิ แจงปมโดนตัดสิทธิ์ จี้ ทอท.ทบทวนใหม่ https://positioningmag.com/1231716 Mon, 27 May 2019 12:56:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231716 ค่ายไมเนอร์ เจ้าของธุรกิจอาหารและโรงแรม ปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้ที่เสนอตัวเข้ามชิงสัมปทานดิวตี้ฟรี และสิทธิ์บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ หลังจาก “คิงเพาเวอร์” เป็นผู้ถือสิทธิ์บริหารดิวตี้ฟรีมายาวนาน 30 ปี

แต่ยังไม่ทัน บมจ. การท่าอากาศยานไทย (ทอท.) หรือ AOT จะเปิดซองผู้เสนอราคาสูงสุด ในวันศุกร์นี้ (31 พ.ค.) ชื่อของ “ไมเนอร์” ต้องหายไปจากรายชื่อผู้เสนอราคาแล้ว

การประมูลครั้งสำคัญนี้ ทอท. เปิดให้เอกชนซื้อซองเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 และเปิดให้ “ยื่นซอง” โครงการบริหารจัดการพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 เพื่อเข้ารับสัญญาสัมปทานครั้งใหม่ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. 2563 – 23 มี.ค. 2574 อายุ 10 ปี 6 เดือน

โดยแบ่งการประมูลเป็น 2 สัญญา คือ 1. สิทธิบริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) สุวรรณภูมิ สัญญานี้มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 5 ราย คือ 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด 3. บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป และ WDFG UK 4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ 5. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ในกลุ่มนี้ มี 2 บริษัท คือ เซ็นทรัลและไมเนอร์ ไม่ยื่นซองเอกสารเทคนิค จึงเหลือผู้ชิงประมูล 3 ราย

สัญญาที่ 2. สิทธิบริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial area) สนามบินสุวรรณภูมิ มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 4 ราย 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

การเปิดให้เอกชน “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ในสัญญานี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่ยื่นซองประมูล ส่วน ไมเนอร์ ถูก ทอท. ตัดสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ด้วยเหตุผลผิดเงื่อนไขตามทีโออาร์ ข้อ 3 และ ข้อ 5 จากการอ้างอิงเอกสารประสบการณ์ของบริษัทลูก ทำให้สัญญาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เหลือผู้ผ่านเกณฑ์เข้าชิงเพียง 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และ เซ็นทรัลพัฒนา

กรอบเวลาหลังจากนี้ คือวันที่ 29 – 30 พ.ค. นี้ ทอท. กำหนดให้ผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติมานำเสนอแผนบริหารโครงการ จากนั้นวันศุกร์ 31 พ.ค. นี้ จะเปิดซองราคาและประกาศผลผู้ชนะทั้ง 2 สัญญา

ไมเนอร์แจงปมตัดสิทธิ์คุณสมบัติ

หลังจาก “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ถูกตัดสิทธิ์คุณสมบัติเข้าร่วมประมูลในวันที่ 22 พ.ค. จากนั้น วันที่ศุกร์ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

แจกแจงประเด็นที่ ทอท. ชี้ว่าผิดเงื่อนไขการประมูล ที่ระบุว่า ไมเนอร์ ขาดประสบการณ์ในการดำเนินงาน ตามเงื่อนไข คือ การบริหารพื้นที่ศูนย์การค้าขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์บริหารธุรกิจค้าปลีก จำหน่ายสินค้า อาหารและเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า พื้นที่ขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ดำเนินการต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นเพราะนำเสนอประสบการณ์ โดยอ้างอิงการทำงานของบริษัทลูก ที่ดำเนินธุรกิจโรงแรม ค้าปลีก และร้านอาหาร

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่การเงินส่วนกลางและวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไมเนอร์ “ไม่เห็นด้วย” กับ ทอท. ในการตัดสิทธิ์ไมเนอร์ ที่มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจด้านอาหาร เครื่องดื่มและการค้าปลีกในประเทศไทยตามข้อกำหนดของเอกสารการยื่นข้อเสนอ

“ไมเนอร์” เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจด้านอาหารและค้าปลีกในประเทศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง ผ่านบริษัทลูกที่ไมเนอร์ เป็นเจ้าของและเป็นผู้ถือหุ้นหลัก 80 – 90%

  1. บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้ดำเนินธุรกิจประเภทร้านอาหาร
  2. บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้ดำเนินธุรกิจประเภทจัดจำหน่ายสินค้าด้านแฟชั่น และไลฟ์สไตล์
  3. บริษัท รอยัล การ์เด้น พลาซ่า จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้า รอยัล การ์เด้น พลาซ่า พัทยา และ ศูนย์การค้า เทอร์เทิล วิลเลจ พลาซ่า
  4. บริษัท เจ้าพระยา รีซอร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้า ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า

“ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ซื้อซองและยื่นซองประมูล อีกทั้งเป็น “เจ้าของ” ที่มีอำนาจในการบริหารและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ 4 บริษัทลูกที่มีประสบการณ์ตามเงื่อนไขเข้าประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิตามที่ ทอท. กำหนด

การที่ ทอท. ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอของไมเนอร์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติจึงไม่ถูกต้อง จึงขอให้ ทอท. พิจารณาทบทวนการตัดสินของ ทอท. อย่างเร่งด่วนอีกครั้ง เพื่อความเป็นธรรมการประมูลครั้งนี้

หลังจากยื่นหนังสือให้ ทอท. ทบทวน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังรอผลตอบกลับจาก ทอท. แต่ก็เหลือเวลาอีกไม่มาก เพราะตามกำหนดผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติจะต้องเสนอแผนบริหารพื้นที่ในวันที่ 29 – 30 พ.ค. นี้

ชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์หนุนธุรกิจหลัก

ปัจจัยที่ทำให้ “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” สนใจเข้าร่วมประมูลบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ ชัยพัฒน์ อธิบายว่าต้องการพัฒนาพื้นที่สุวรรณภูมิให้เป็นสนามบินที่ติดอันดับโลก เพื่อเป็น “ประตู” ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยให้ได้จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์และธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้ประโยชน์ทั้งหมด รวมทั้งธุรกิจของกลุ่มไมเนอร์

ปัจจุบัน ไมเนอร์มีธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท อยู่ใน 64 ประเทศ ใน 5 ทวีป รู้ข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติดีว่าต้องการรับบริการประเภทใด เพื่อที่จะนำมาพัฒนาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สุวรรณภูมิ

หวังดันรายได้ไมเนอร์โตแกร่ง

“ไมเนอร์ กรุ๊ป” เป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงแรม อาหาร และไลฟ์สไตล์ ที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ภายใต้แผนระยะยาวช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ตั้งเป้าเติบโต 15 – 20% การเข้าประมูลบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ ถือเป็นการขยายธุรกิจใหม่ ที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของไมเนอร์ ให้แข็งแกร่งมากขึ้นและเติบโตได้สูงกว่าเป้าหมายแผน 5 ปีที่บริษัทวางไว้

สำหรับผลประกอบการ “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทำรายได้เติบโตต่อเนื่อง

  • ปี 2562 ไตรมาสแรก รายได้ 29,029 ล้านบาท กำไร 583 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 79,328 ล้านบาท กำไร 5,444 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 58,643 ล้านบาท กำไร 5,415 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 56,972 ล้านบาท กำไร 6,590 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 48,149 ล้านบาท กำไร 7,040 ล้านบาท
]]>
1231716