ภาษีการบริโภค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Oct 2019 15:07:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดีเดย์! ญี่ปุ่นขึ้นภาษีเป็น 10% ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง https://positioningmag.com/1248194 Tue, 01 Oct 2019 09:28:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248194 ญี่ปุ่นได้ขึ้นภาษีการบริโภค หรือ VAT จาก 8% เป็น 10% แล้ว ร้านค้าหลายแห่งอลหม่านกับอัตราภาษีที่แตกต่างกันสำหรับสินค้าแต่ละชนิด ส่วนนักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายค่าอาหารและค่าเดินทางแพงขึ้น

ตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงเที่ยงคืนก่อนวันที่ 1 ตุลาคม ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากพากันไปจับจ่ายซื้อสินค้า หลายคนซื้อสินค้าราคาสูง และกักตุนของใช้ในครัวเรือนต่างๆ ก่อนการขึ้นภาษี

ขณะที่ร้านค้าต่างๆ ในญี่ปุ่นเตรียมพร้อมในช่วงสุดท้าย ซูเปอร์มาเก็ตและร้านอาหารหลายแห่ง ปิดร้านชั่วคราวในวันที่ 30 กันยายนถึง 1 ตุลาคม เพื่ออัพเดทระบบการชำระเงิน

ภาษีผู้บริโภคได้ขึ้นจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 10 ในวันอังคารที่ 1 ตุลาคม แต่ความยุ่งยากก็คือ อัตราภาษีที่แตกต่างกันสำหรับสินค้าแต่ละชนิด อาหารและเครื่องดื่มจะยังคงอยู่ที่ร้อยละ 8 แต่สินค้าอื่นๆ ยา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการทานอาหารภายในร้านจะเสียภาษีสูงขึ้น เป็นร้อยละ 10

นักท่องเที่ยวมีผลกระทบไหม ?

การขึ้นภาษีครั้งนี้จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องจ่ายค่าอาหารที่ทานในร้าน ค่าเดินทาง ค่าบัตรเข้าสถานที่ และค่าบริการต่างๆ แพงขึ้น 2% ส่วนการซื้อสินค้านั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะใช้สิทธิ์ “คืนภาษี” อยู่แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ขอคืนภาษีนั้น ต้องนำกลับไปประเทศไทย ส่วนของกินของใช้ที่ซื้อแล้วใช้เลยที่ญี่ปุ่น จะต้องเสียภาษี 10%

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่ใช้บริการร้านอาหารต่างๆ อาจถูกถามว่า “รับประทานที่ร้าน หรือ นำกลับ” ซึ่งอัตราภาษีจะแตกต่างกัน โดยการรับประทานที่ร้านจะเสียภาษี 10% แต่ถ้าซื้อกลับไปรับประทานจะเสียภาษี 8%

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า จำเป็นต้องขึ้นภาษีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมที่เพิ่มมากขึ้น และชำระหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล

คาดว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 5.7 ล้านล้านเยน โดยครึ่งหนึ่งจะนำไปสนับสนุนการศึกษาก่อนวัยเรียน และการดูแลเด็กเล็ก รวมถึงลดค่าเล่าเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ส่วนค่าเหลือจะใช้ในระบบประกันสุขภาพ และชำระหนี้สาธารณะ.

Source

]]>
1248194