มนุษย์เงินเดือน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Jan 2025 14:12:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รับได้ไหม? หากบริษัทให้ทำงานแบบ hybrid แต่จะลดเงินเดือน 5-15% https://positioningmag.com/1506205 Mon, 13 Jan 2025 04:24:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1506205 ปัจจุบันมีหลายบริษัทเริ่มให้พนักงานกลับมาทำงานในออฟฟิศมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มจะลดเงินเดือนลงหากพนักงานมีความต้องการทำงานแบบ Hybrid หรือ Remote ที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศเป็นประจำทุกวัน

 

นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 โลกของการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยการทำงานแบบ Hybrid หรือ Remote กำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งเมื่อเราก้าวเข้าสู่ปี 2025 แนวโน้มใหม่กำลังเกิดขึ้น คือ คนทำงานเต็มใจที่จะทำงานจากที่บ้าน และยอมรับเงินเดือนที่น้อยลง

 

Fortune ระบุว่า มนุษย์เงินเดือนบางคนยอมรับเงินเดือนน้อยลง 5-15% เพื่อแลกกับการทำงานแบบยืดหยุ่นไม่ต้องเข้าออฟฟิศประจำ โดยเฉพาะคนที่ให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิตและการงาน หรือในคนที่ต้องการประหยัดค่าเดินทาง ซึ่งทำให้หลายบริษัทมีแนวโน้มจะใช้เรื่องนี้เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาทำงานด้วย 

 

อย่างไรก็ตาม การคิดว่า การเสนอเงินเดือนที่น้อยลงกว่ามาตรฐานเพื่อแลกกับการทำงานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศเป็นประจำ โดยหวังจะสร้างแรงจูงใจคนทำงานยุคใหม่ให้มาทำงานด้วยนั้น ก็อาจสร้างความเสี่ยงให้กับบริษัทได้เช่นเดียวกัน 

 

เพราะพนักงานยังคงต้องการทั้งสวัสดิการที่ดีและเงินเดือนที่เหมาะสมอยู่นั่นเอง โดยจากผลการวิจัยของ Robert Half เผยให้เห็นว่า ผู้สมัครงาน 76% ยินดีที่จะทำงานในออฟฟิศเต็มตัวเพื่อแลกกับเงินเดือนที่สูงขึ้น โดยการขอปรับเงินเดือนขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 23% 

 

ที่มา

https://fortune.com/2025/01/05/job-recruiters-managers-pay-remote-work-from-home-return-to-office/

https://www.techspot.com/news/106207-employees-accept-lower-wages-work-home-flexibility-amid.html

]]>
1506205
5 วิธีรับมือ ‘ความเหงา’ ที่กำลังเกาะกินหนุ่ม-สาวพนักงานเงินเดือน https://positioningmag.com/1478792 Wed, 19 Jun 2024 05:55:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478792 ตามรายงาน Gallup State of the Global Workplace Report ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พบว่า พนักงานมากถึง 20% ทั่วโลกต้อง เผชิญกับความเหงา ในแต่ละวัน และสำหรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้านและคนทำงานอายุต่ำกว่า 35 ปีเป็นประจำ ความเหงาจะพบมากขึ้นที่ 22% และ 25% ตามลำดับ

และจากผลวิจัยระบุว่า ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทั่วโลกในปี 2566 ที่ผ่านมาลดลง โดยเฉพาะในกลุ่ม พนักงานอายุน้อย (อายุต่ำกว่า 35 ปี) และไม่ใช่แค่ความเหงาที่ต้องเจอเท่านั้น แต่พนักงานทั่วโลกต้องรับมือกับความเศร้า และความโกรธก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อความเหงากลายเป็นโรคประจำถิ่น การหาวิธีป้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ และนี่คือ 5 วิธี ที่เราสามารถต่อสู้กับความเหงา โดย Dr. Annabelle Chow นักจิตวิทยาคลินิก ได้แก่

เข้าใจความเหงา

ก่อนอื่น เราควรสังเกตว่าเรารับรู้ถึงความเหงาอย่างไร โดยสิ่งสำคัญคือ ต้องยอมรับว่ามันเป็นความรู้สึกที่ธรรมดาของมนุษย์ ความเหงาเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติ และทุกคนก็ประสบกับมัน ดังนั้น ความเหงาไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นวิธีที่เรารับรู้ถึงความเหงา ถ้าเรารับรู้มันในทางลบ การตอบสนองของเราต่อสิ่งนั้นจะกลายเป็นเชิงลบโดยธรรมชาติ แล้วปัญหาก็จะเพิ่มขึ้นเหมือนดินพอกหางหมู

ดังนั้น เราควรพยายาม ค้นหาต้นตอของความรู้สึก เช่น เราขาดปฏิสัมพันธ์ที่เพียงพอในระหว่างวันของเราหรือไม่? หรือแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายแต่เราไม่รู้สึกว่าถูกมองเห็น เข้าใจ หรือชื่นชม? การมีความเข้าใจนี้จะช่วยกำหนดขั้นตอนต่อไปได้

พัฒนาความสัมพันธ์ให้มีความหมาย

สิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความสุขคือ การเชื่อมโยงที่มีความหมาย เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หากไม่มีสิ่งนี้ ผู้คนจะรู้สึกเหงาโดยธรรมชาติ แม้ว่าพวกเขาจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในโลกนี้ก็ตาม ดังนั้น หากรู้สึกว่าขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แนะนำให้ พยายามพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน อาจเริ่มจากการมีส่วนร่วมในสำนักงาน เริ่มเข้าหาผู้คนด้วยความเปิดกว้าง และพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนได้

โดยการพัฒนาเพื่อนประเภทต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การมีเพื่อนในงานปาร์ตี้ เพื่อนที่ทำงาน และเพื่อนที่จริงใจของคุณ และร่วมกันปลูกฝังความตระหนักรู้ว่าเพื่อนคนไหนที่จะติดต่อเมื่อไร โดยการพัฒนาความสัมพันธ์เหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยจัดการกับความเหงาเมื่อมันมาถึง

“ถ้าเราไม่ให้โอกาสคนอื่นเข้าใจเรา ถ้าคุณไม่โต้ตอบกับคนอื่น เราก็จะไม่ให้โอกาสตัวเองในการพัฒนาความสัมพันธ์จริง ๆ หากเราไม่พัฒนาความสัมพันธ์ เราก็ไม่มีอะไรจะต้องใช้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก”

Beautiful teenage girls having fun outdoors in town.

พาตัวเองไปในแวดล้อมบวก

อีกคำแนะนำง่าย ๆ คือ พาตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมที่คุณพบว่าตัวเองโดดเดี่ยว คือถ้าไม่หากิจวัตรใหม่ ๆ ก็อาจจะเริ่มจากการ ออกจากห้อง หากคุณถูกโดดเดี่ยวตลอดทั้งวัน การโทรหาครอบครัว การไปรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อนฝูง หรือมีส่วนร่วมกับพวกเขาบนโซเชียลมีเดียสามารถช่วยได้

เพิ่มกิจวัตรที่ดีต่อตัวเอง

ถ้าหากต้องใช้เวลาทั้งสุดสัปดาห์บนโซฟาโดยไม่ได้ทำอะไรเลย และแค่เลื่อนดูแค่เรื่องเลวร้ายในโซเชียลฯ แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะรู้สึกเหงา ดังนั้น การมีนิสัยและกิจวัตรที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยดึงคุณออกจากสถานการณ์เหล่านั้นได้ เช่น ออกกำลังกาย เพราะจะช่วยเพิ่มกิจวัตรประจำวันที่สามารถช่วยขจัดเวลาว่างที่อาจส่งผลต่อความเหงาออกไปได้ รวมถึงเสพแต่สื่อที่เป็นบวก

ปรับเปลี่ยนความเข้าใจใหม่

สุดท้าย หลายคนมีความคิดแบบ คิดไปเอง เกี่ยวกับมุมมองที่ผู้คนมองพวกเขา ซึ่งอาจจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ได้ แต่แล้วพวกเขาก็ตอบสนองต่อสิ่งที่อยู่ในเวอร์ชั่นของพวกเขา ซึ่งวิธีแก้ไขคือ การท้าทายและปรับโครงสร้างความคิดของตัวเองแทนที่จะแบกรับภาระของการคาดเดา จงพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา

“ตัวอย่างเช่น หากฉันคิดว่าคุณไม่ชอบฉัน และนั่นอาจเป็นความจริงหรือไม่ก็ได้ แต่นั่นจะทำให้ฉันจะระมัดระวังมากขึ้น ปกป้องมากขึ้นอีกเล็กน้อย และผลที่ตามมาตามธรรมชาติของสิ่งนั้นก็คือ ความสัมพันธ์นั้นจะไม่สามารถไปต่อได้ เพราะมีกำแพงกั้น”

Source

]]>
1478792
‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นแท่นประเทศที่ให้ “ค่าจ้าง-สวัสดิการ” แรงงานต่างชาติ “สูงสุดในเอเชีย” แตะ 13 ล้านบาท! https://positioningmag.com/1440097 Mon, 07 Aug 2023 08:04:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440097 ใครที่กำลังมองหางานในต่างประเทศอาจอยากไป ญี่ปุ่น เป็นพิเศษ เพราะจากการเก็บข้อมูลโดยบริษัท ECA International ที่เก็บข้อมูลจากบริษัทกว่า 340 แห่ง และสัมภาษณ์แรงงานนานาชาติกว่า 10,000 คน พบว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ ค่าแรงและสวัสดิการแรงงานต่างชาติสูงสุดในเอเชีย

จากการสำรวจโดย บริษัท ECA International บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลระดับนานาชาติ ที่จะนำทั้งเงินเดือน ผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ที่พักหรือสาธารณูปโภค และภาษี มาคำนวณค่าตอบแทนแรงงานต่างชาติในแต่ละประเทศ พบว่า 5 ประเทศที่ให้ค่าจ้างแรงงานต่างประเทศสูงสุดในเอเชียประจำปี 2022 ได้แก่

  • ญี่ปุ่น: 370,183 ดอลลาร์
  • อินเดีย: 354,028 ดอลลาร์
  • จีน: 313,011 ดอลลาร์
  • ฮ่องกง: 278,020 ดอลลาร์
  • สาธารณรัฐเกาหลี: 275,727 ดอลลาร์

เมื่อเทียบกับภารวมทั่วโลกพบว่า ญี่ปุ่น นั้นเป็นอันดับ 2 รองจาก สหราชอาณาจักร ที่ให้เงินเดือนและสวัสดิการแรงงานต่างชาติสูงที่สุดในโลก โดย 5 อันดับ ประเทศที่ให้ค่าจ้างแรงงานต่างประเทศสูงสุดของโลก ได้แก่

  • สหราชอาณาจักร: 441,608 ดอลลาร์
  • ญี่ปุ่น: 370,183 ดอลลาร์
  • อินเดีย: 354,028 ดอลลาร์
  • จีน: 313,011 ดอลลาร์
  • ฮ่องกง: 278,020 ดอลลาร์

จากข้อมูลของ ECA International พบว่า ค่าตอบแทนโดยรวมในภูมิภาคเอเชียระหว่างปี 2021-2022 นั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย +7% มีเพียงประเทศ ลาว จีน และฮ่องกง เท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือนและสวัสดิการลดลง เมื่อวัดเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนค่าตอบแทนของพนักงานต่างชาติในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของญี่ปุ่นจะเฉลี่ยอยู่ที่ 370,183 ดอลลาร์ แต่ก็ถือว่าต่ำกว่าปีที่แล้ว 12% เนื่องจากเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลง 9%

Lee Quane ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคเอเชียของ ECA International อธิบายว่า การขึ้นเงินเดือนในสกุลเงินท้องถิ่นอาจมีสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ในปี 2022 บางประเทศในภูมิภาคเอเชียประสบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูง ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องเพิ่มเบี้ยเลี้ยง

“บางบริษัทให้ค่าครองชีพแรงงานต่างชาติเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถจับจ่ายสินค้าต่าง ๆ ภายในประเทศได้ อย่าง สิงคโปร์ ที่เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้เงินเดือนและสวัสดิการของชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2021” 

Source

]]>
1440097
เปิด 10 ทักษะมนุษย์งาน 2020 ที่คนยุคนี้ต้องมี! เอาตัวรอดจาก AI และ COVID-19 https://positioningmag.com/1277664 Sat, 09 May 2020 14:48:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277664 วิถีชีวิตของมนุษย์งานในยุค 2020 ต้องเจอโจทย์ที่ท้าทายมากกว่าเดิม เพราะนอกจากจะต้องเผชิญกับเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง AI ที่จะมาแย่งงานแล้ว ยังต้องรักษาชีวิตให้รอดจาก COVID-19 เพิ่มเติมด้วย

ก่อนหน้านี้มนุษย์เราได้เจอเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวก จนสามารถทดแทนการทำงานบางอย่างไปได้ไม่น้อย แต่เมื่อเจอวิกฤต COVID-19 เข้าไปอีก การที่ต้องเผชิญกับ “วิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal” ต่างๆ แล้ว หลายคนยังต้องรักษาเก้าอี้ในออฟฟิศไว้ให้เหนียวแน่น เพราะรับรองว่าตำแหน่งงานจะน้อยลง บริษัทมีตัวเลือกที่มากขึ้น

– ทักษะอะไร? ที่จะทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะเลือกคุณเข้าทำงานหรือไปต่อ
– ทักษะอะไร? ที่ AI ไม่สามารถทดแทนคุณได้
– แล้วทักษะอะไร? ที่จะช่วยให้คุณมีที่ยืน ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กำลังจะมาถึง

จากการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เมื่อเดือนมกราคม ปี 2016 ได้เปิดเผยถึง 10 ทักษะที่บุคลากรยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ควรมีไว้ดังนี้

1. ความสามารถแก้ปัญหาซับซ้อน (Complex Problem Solving)

การแก้ปัญหาด้วยมุมมองและวิธีที่หลากหลายเพื่อจัดการปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม

2. คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

ใช้เหตุผลวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ

3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative)

สร้างสรรค์ไอเดียแปลกใหม่ในการแก้ปัญหา เพิ่มทางเลือกมีทางออกในชีวิตมากขึ้น

4. บริหารจัดการคน (People Management)

บริหารคนให้ตรงกับงาน และเติมแรงจูงใจให้สร้างผลงานได้ดีที่สุด

5. ความสามารถร่วมมือกับผู้อื่น (Coordinating with others)

การจัดการพฤติกรรมของตัวเองให้ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น

Business Corporate People Working Concept

6. ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

รับรู้ถึงพฤติกรรมของอีกฝ่ายได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจว่าทำไมเขาถึงทำอย่างนั้น

7. ทักษะการประเมินและตัดสินใจ (Judgment and Decision Making)

ประเมินและตัดสินใจในการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม

8. ทักษะมีใจรักการบริการ (Service Orientation)

มีจิตอาสาและเสียสละ สามารถหาหาวิธีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างกระตือรือร้น

9. ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation)

ช่วยลดช่องว่างทางความคิด ประสานผลประโยชน์ให้ Win-Win ได้ทั้งสองฝ่าย

10. ทักษะความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility)

ใช้หลักการหลากหลายเพื่อจัดลำดับและปรับวิธีการทำงานต่างๆ ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์

]]>
1277664
ผลสำรวจชี้ “คนทำงานรุ่นใหม่” มองการทำงานต้องยืดหยุ่นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบครบวงจร https://positioningmag.com/1243357 Thu, 22 Aug 2019 06:05:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243357 จากกระแสเทรนด์พฤติกรรมของมนุษย์เงินเดือนหรือคนทำงานรุ่นใหม่ ในสังคมยุคปัจจุบัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ปจึงร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรมนุษย์กว่า 80 ประเทศทั่วโลกและแรงงานในทุกระดับหลายล้านคน ศึกษาความต้องการของพฤติกรรมของทรัพยากรบุคคลในสังคมปัจจุบันหรือเรียกได้ว่าสังคมยุคดิจิทัลต่อการทำงานของคนรุ่นใหม่ในยุค 4.0

โดยเฉพาะได้ศึกษาพฤติกรรมของทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย เพื่อหวังให้องค์กรหรือหน่วยงานได้ปรับเปลี่ยนเข้าถึงพฤติกรรมความต้องการของคนในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น GEN M ผู้ที่เกิดในช่วงอายุ 21 – 38 ปี หรือ GEN X ผู้ที่เกิดในช่วงอายุ 39 – 53 ปี และยังเจาะลึกไปที่ระดับการศึกษาที่ปริญญาตรี 54% และปริญญาโท 33% อื่น 13%

จากพฤติกรรมแนวคิดของกลุ่มคนยุคดิจิทัลต่อการทำงานในสังคมยุค 4.0 นั้น เสียงสะท้อนส่วนใหญ่ต้องการการทำงานในองค์กรที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน จะเห็นได้จากพฤติกรรมการทำงานของคนในสังคมปัจจุบันที่ต้องการทำหลาย อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งการทำงานประจำ ประกอบอาชีพเสริม การพักผ่อน การท่องเที่ยวและการออกกำลังกาย โดยเฉพาะพฤติกรรมของคนทำงานในสังคมเมือง

ดังนั้น แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จึงได้ทำการสำรวจถึงความต้องการของกลุ่มคนทำงานในช่วง GEN M และ GEN X ที่ตอบสนองในชีวิตสังคมเมืองมากที่สุด ในบริบทการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสังคมยุคดิจิทัลทั้งทางด้านการทำงานตลอดจนส่งผลต่อพฤติกรรมในช่วงเวลาว่างของคนกลุ่มนี้

พฤติกรรมเวลาว่างกับการใช้ชีวิตแบบสมาร์ทดีไวซ์ หรือที่เรียกได้ว่าท่องโลกออนไลน์แบบครบวงจร ซึ่งจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสังคมไทยในปัจจุบันปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์กระแสโลกแห่งเทคโนโลยี ทั้งการหารายได้ แหล่งช้อปปิ้ง รับประทานอาหาร การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร ล้วนแต่ปรับให้พฤติกรรมของคนยุคนี้ไปอยู่บนแพลตฟอร์มของสมาร์ทดีไวซ์ไปเป็นอย่างมาก ดังนั้น องค์กร หรือ หน่วยงานต้องทันต่อพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน การสั่งงานให้ง่าย เข้าถึงพฤติกรรม เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพด้วย

พฤติกรรมเทรนด์การออกกำลังกาย จะเห็นได้จากบางองค์กรเริ่มมีการปรับเข้าหาบุคลากรในองค์กรโดยเฉพาะองค์กรในระดับกลางและองค์กรขนาดใหญ่ที่เริ่มให้ความสำคัญในพฤติกรรมของบุคลากรในด้านการออกกำลังกาย ซึ่งผู้บริหารต้องการเข้าถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและบุคลากรในองค์กรให้เกิดความสัมพันธภาพที่ดี

โดยแมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้ทำการสำรวจถึงความคิดเห็นของกลุ่มคนใน 2 กลุ่มดังกล่าว GEN M และ GEN X เสียงสะท้อนคือ พวกเขาเหล่านี้ต้องการองค์กรที่ให้ความสำคัญในด้านความรู้สึกให้ความใส่ใจในบุคลากร และหากองค์กรให้ความสำคัญในด้านกีฬาถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในการใช้ชีวิต โดยผลสำรวจที่ได้รับคือกีฬาที่ต้องการให้องค์กรมีส่วนร่วมและพฤติกรรมส่วนตัวที่ชื่นชอบคือเดินวิ่ง 66%, แบดมินตัน 44%, ปั่นจักรยาน 42%, ฟุตบอล 17%บาสเกตบอล 11% และอื่นๆ 10%

พฤติกรรมด้านความบันเทิง จากการสอบถามกลุ่ม GEN M และ GEN X กิจกรรมด้านความบันเทิงเสมือนเป็นการผ่อนคลายของบุคลากรในองค์กร และยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับบุคลากรในการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาบางองค์กรยังเอากิจกรรมเหล่านี้ส่งต่อไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรและกลุ่มลูกค้าเช่น การทำ CRM (Customer Relationship Management) ร่วมกัน จากผลสำรวจกิจกรรมบันเทิงที่กลุ่มคนเหล่านี้ชื่นชอบคือ การชมภาพยนตร์ 89%, ร้องเพลงคาราโอเกะ 37%, การชมคอนเสิร์ต 35%, การชมละครเวที 15%, อื่น 10%

ทางด้านพฤติกรรมในส่วนของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ GEN M และ GEN X ชื่นชอบ จะเห็นได้ว่าสะท้อนมาจากพฤติกรรมองค์รวมของเทรนด์สังคมในด้านเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เข้าถึงการสื่อสารได้อย่างขีดสุด จะเห็นได้จากผลสำรวจส่วนใหญ่ตอบว่า ชอบท่องอินเทอร์เน็ตกว่า 87% ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Google, Facebook, IG และ Twitter แต่ยังมีอีกกลุ่มที่ยังคงพฤติกรรมด้านการอ่านหนังสือถึง 64% และต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต้องการเข้าอบรมคอร์สต่างๆ 39% ตามลำดับ

จากพฤติกรรมของกลุ่มคนในสังคมยุคดิจิทัลหรือคนทำงานในยุค 4.0 ที่มีการปรับเปลี่ยนไป และส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงาน ที่ต้องการทำงานที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน ต้องการใช้ชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง ตอบโจทย์ในไลฟ์สไตล์ของคนในสังคมปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเข้าได้กับพฤติกรรมในสังคมเมือง สังคมปัจจุบัน สังคมแห่งเทคโนโลยี

จะเห็นได้จาก การใช้เวลาว่างของคนกลุ่มนี้ที่มักท่องโลกออนไลน์ หากิจกรรมที่ชื่นชอบ มักทำงานและเก็บวันเวลาว่างทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ อาทิ กิจกรรมท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ กิจกรรมช่วงวันว่าง รับประทานอาหาร ช้อปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ตลอดจนสถานที่ที่ไป ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต คอมมูนิตี้มอลล์ หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 

ถึงเวลาที่องค์กรหรือหน่วยงานอาจต้องศึกษาเรียนรู้กับทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR ในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับกระแสเทรนด์พฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบัน สังคมในยุคที่ความคิดเปลี่ยน และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มคนแรงงานยุคใหม่ท่ามกลางดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ เสียงสะท้อนให้เห็นไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงต้องผนวกควบคู่การทำงานในกลไกหลักขององค์กรคือทรัพยากรบุคคลซึ่ง มนุษย์หรือ แรงงานคือ สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และทรัพยากรบุคคล คือ มดงานที่นำพาองค์กรไปถึงเส้นชัยในอนาคต.

]]>
1243357