iTopPlus จับมือ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เดินหน้าเปิดห้อง “iTopClasses”(ไอท้อปคลาส) สานต่อความร่วมมือสร้างสถาบันการตลาดดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทยเปิดสอนหลักสูตรอบรมความรู้ด้านดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ ตลอดจนผู้ที่สนใจ ที่ต้องการนำการตลาดออนไลน์ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำธุรกิจ ช่วยสร้างยอดขาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัดผลได้จริง และคุ้มต่อการลงทุนล่าสุดเพื่อเป็นการตอบสนองกระแสความนิยมของผู้บริโภคยุคโซเชียล และก้าวให้ทันเทรนด์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกออนไลน์ “iTopClasses” จึงเปิดหลักสูตรสอนเทคนิคการทำโฆษณาออนไลน์บน TOP 4 โซเชียลมีเดียยอดนิยม ได้แก่ Google Facebook Youtube และ Line@ แบบเจาะลึก ครบทุกฟังก์ชั่น เป็นหลักสูตรระยะสั้น แต่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง โดยวิทยากรที่มากประสบการณ์ จากตัวแทนของผู้ให้บริการโดยตรง และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลระดับแนวหน้าของไทย
หลักสูตร “iTopClasses” ที่จะเปิดสอนเร็วๆ นี้ ได้แก่
1. หลักสูตร High Performance Google Adwords (วันที่ 23-25 เมษายน 2559)
สอนการทำGoogle AdWords แบบครบเครื่องพร้อมวิธีการวิเคราะห์คู่แข่งและการวัดผลบนตัวเลข (Analysis data) รวมถึงเทคนิคการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่คาดไม่ถึงโดยตัวแทนผู้ให้บริการ Google AdWords อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านประสบการณ์จริงในด้านการบริหารจัดการโฆษณาทั้งในฝั่งอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลียและไทย มามากกว่า 5 ปี
2. หลักสูตร Professional Facebook Marketing (วันที่ 14-15 พฤษภาคม 2559)
สอนการทำโฆษณาบน Facebook ที่เชื่อมกับการทำ Content Marketing ให้เกิดประสิทธิภาพ และวิธีการวัดค่าการทำการตลาดผ่าน Facebook Insight พร้อมแชร์กรณีศึกษาจริงที่เป็นประโยชน์ โดยวิทยากรที่ผ่านการอบรมจากทีมงาน Facebook โดยตรง
3. หลักสูตร Effective GDN &Youtube Advertising (ติดตามตารางการเรียนการสอนได้ในเว็บไซต์ www.itopclass.com) สอนเทคนิคการทำโฆษณาบน YouTube สื่อที่มาแรงที่สุด และการกระจายโฆษณาบนเครือข่ายโฆษณาของ Google Display Network (GDN) ที่มีมากกว่าแสนเว็บไซต์ รวมถึงการส่งโฆษณา Remarketing ตามลูกค้าที่เคยเข้าเว็บของคุณ เพื่อให้กลับมาเป็นลูกค้า!
4. หลักสูตร Intensive Line@ Marketing (ติดตามตารางการเรียนการสอนได้ในเว็บไซต์ www.itopclass.com) เรียนรู้เทคนิคใช้ Line@ เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึงลูกค้าตัวจริงโดยตรง โดยสอนการใช้ทุกเครื่องมือให้คุ้มค่าแบบมือโปรจากตัวแทน Line ประเทศไทยและตัวแทนร้านค้าที่จะมาแชร์เคล็ดลับความสำเร็จจาก Line@
นายกัมพล ธนาปัญญาวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอท้อปพลัส กล่าวว่า “iTopClasses” สถาบันดิจิทัลมืออาชีพแห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากความร่วมมือของ 2 ฝ่าย ได้แก่ บริษัทไอท้อปพลัส จำกัดและมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งให้แก่ผู้ประกอบการไทย อีกทั้งเพื่อสร้างบุคลากรด้านการตลาดออนไลน์ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล โดยดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งถือเป็นเทรนด์ของโลกที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น “iTopClasses” จึงทำการคัดสรรหลักสูตรที่อยู่ในกระแสและเป็นเทรนด์ใหม่ๆ มาอัพเดทและเพิ่มเติมความรู้ให้กับผู้ที่สนใจอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ตั้งแต่ก่อตั้ง “iTopClasses” เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ มาแล้วทั้งสิ้น 11 หลักสูตรรวม 20 รุ่น มีผู้สนใจเข้าเรียนทั้งหมด 188 คน โดยภายในปี 2559 นี้ ตั้งเป้าจะจัดการเรียนการสอนให้ครบ 60 หลักสูตร พร้อมกันนี้ “iTopClasses” ยังออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมพิเศษสำหรับองค์กร (Corporate Training) เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งให้กับองค์กรทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมา มีองค์กรไว้วางใจให้เราออกแบบหลักสูตรให้แล้ว อาทิ บริษัท เซเรนดิพิตี้ มีเดีย จำกัด กับหลักสูตร Digital Marketing, บริษัท โฮมบายเออร์ไกด์ เชียงใหม่ จำกัด กับหลักสูตร Facebook Marketing Best Practice, คณะแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี กับหลักสูตร Content Marketing, คณะแพทย์ โรงพยาบาลศิครินทร์ กับหลักสูตร Social Media Marketing เป็นต้น”
ด้าน ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวเพิ่มเติมว่า “iTopClasses” สถาบันการฝึกอบรมทางด้านดิจิทัลที่จัดตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจจริงของมหาวิทยาลัยศรีปทุม และiTopPlus ด้วยเราเล็งเห็นว่าโลกอนาคตกำลังเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว แต่ความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาธุรกิจและเพื่อใช้ในการทำงานยังมีอยู่น้อยมาก จึงร่วมกันจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมด้านดิจิทัล ทั้งด้าน Digital Marketing, Multimedia และ Programing ซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่หลักสูตรพื้นฐานจนถึงหลักสูตรชั้นสูง ทุกหลักสูตรเราเน้นวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์จริงเพื่อให้นักศึกษา คนทำงาน ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาอบรมและนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจและการทำงานของตนเองได้อย่างแท้จริงต้องยอมรับว่า วันนี้เป็นยุคของดิจิทัล เออีซี และคนเจนวายในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นเสมือน “ต้นน้ำ” มีหน้าที่ในการสร้างคนหัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การปรับตัวให้เร็วและให้ทันกับไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่ง มหาวิทยาลัยศรีปทุมให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรป้อนสู่สาขาอาชีพใหม่ๆซึ่งเป็นเทรนด์อาชีพในอนาคต”
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนยื่นใบสมัครหรือดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ www.itopclass.com หรือ โทร 061-419-7442, 02-934-2512 E-Mail: [email protected]
เกี่ยวกับ iTopPlus
เริ่มต้นจากการเป็นผู้ให้บริการรับจัดทำเว็บไซต์ จึงได้เริ่มเปิดให้บริการทำการตลาดออนไลน์ แบบครบวงจร จากประสบการณ์ของเราพบว่า สื่อออนไลน์ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดสำหรับเจ้าของกิจการหรือนักการตลาดรุ่นใหม่ เพราะเป็นสื่อที่เชื่อมทุกธุรกิจเข้าหากัน และเว็บไซต์ คือ จุดตั้งต้นของการเชื่อมโยงสื่อออนไลน์ให้กลายเป็นยอดขายทั้งหมด ดังนั้นเราจึงเริ่มต้นที่ธุรกิจรับทำเว็บไซต์แบบมาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการ จากนั้นจึงพัฒนาสู่เว็บไซต์อัจฉริยะที่เจ้าของสามารถบริหารจัดการได้เอง โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านไอที มีทั้งแบบมาตรฐาน ราคาประหยัดตอบโจทย์ความต้องการของ SME และแบบสวยงามตามสไตล์มืออาชีพสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงต่อยอดให้เว็บไซต์สามารถเชื่อมโยงกับระบบการบริหารจัดการภายในบริษัททั้งหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ริเริ่มนำวิธีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่าน Google หรือ Google AdWords เข้ามาให้บริการ และได้รับความนิยมจนขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็น Google SME Premier Partner ได้ภายใน 2 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการ จากนั้นเมื่อยุคของ Social media ได้รับความนิยม จึงต่อยอดการทำโฆษณาบน Facebook ด้วยอีก 1 ช่องทาง
พบกับสุดยอดบริการ Solutions online marketing จากเราได้ที่ www.itopplus.com
ลืมได้เลย…โฆษณามหาวิทยาลัยที่เน้นวิชาการเชยๆ เพราะปีนี้ มหาวิทยาลัยเอกชนทุกแห่งจัดเต็มกับการใช้สื่อโฆษณา ทั้ง “เนื้อหา” วิธีการนำเสนอ รวมถึงการใช้สื่อครอบคลุมทั้งทีวี ออนไลน์ และโซเชี่ยลมีเดีย ทุ่มทุนจ้างเอเยนซี่ดัง ผู้กำกับฝีมือดีจากค่ายจีทีเอช สร้าง Story ที่มีทั้งทีวีซี มินิซีรี่ส์ หนังรัก หนังให้กำลังใจ ชนิดที่ต้องกระชากใจกลุ่มเป้าหมาย วัยรุ่นมัธยมอยู่หมัด
ม.กรุงเทพ ตอกย้ำ Creative University
ปีนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาพร้อมกับการตอกย้ำจุดยืนของการเป็น “มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์” หรือ Creative University ผ่าน TVC ที่ใช้ชื่อว่า “ชุดลักพา” ภายใต้สโลแกนที่ว่า “คนมีความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นที่ต้องการ” นำเสนอผ่าน…ภาพมนุษย์ยุคหินจุดไฟด้วยก้อนหิน นักวิทยาศาสตร์ที่ชอบทดลอง คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ถูกโป๊ะยาสลบลักพา ภาพ สตีฟ จ็อบส์ ซีอีโอApple เปิดตัว โปรดักต์ iPad บนเวทีถูกนางฟ้าอุ้มไปสวรรค์
ตามมาด้วยหนังโฆษณาที่ตอกย้ำแนวคิดนี้ ด้วยเนื้อหาที่ให้บัณฑิตที่นั่งเป็นแถว 4 ชั้นกำลังนั่งถ่ายรูปแล้วถูกบรรดาบริษัทต่างๆ เข้ามายกบัณฑิตไปทั้งหมด โดยมีข้อความที่สื่อสารถึงแบรนด์โพสิชันนิ่ง คือ ทุกหลักสูตร เน้นความคิดสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้เลือกใช้ครีเอทีฟมืออาชีพจากเอเยนซี่ค่ายNudeJEH นำทีมโดย จุรีพร ไทยดำรงค์ หรือ จูดี้ ครีเอทีฟชื่อดัง ฝีมือดี เข้ามาดูแลทั้งแคมเปญโฆษณาเป็นปีแรก
จุรีพร หรือ เจ๊จูดี้ บอกว่า หากมองมหาวิทยาลัยเป็นโปรดักต์ มหาวิทยาลัยชั้นนำแต่ละแห่งจะมีจุดยืนชัดเจน เช่น จุฬาลงกรณ์ เด่นด้านวิชาการ ธรรมศาสตร์ ดังเรื่องของสังคมการเมือง ส่วนมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้วางจุดยืนของเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์มาแล้ว
แต่ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ยังมองว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นด้านศิลปะเท่านั้น มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องตอกย้ำจุดยืนด้วยโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ต่อเนื่อง โดยเพิ่มคำ The Creative University นำเสนอให้รูปแบบง่ายๆ คนดูเข้าใจได้ทันที พร้อมกับการตอกย้ำแบรนด์โพสิชันนิ่งไปในตัว การเลือกใช้สื่อทีวีซียังเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อดึงดูดคนดู สนใจและติดตาม และจดจำแบรนด์ได้เร็ว จากนั้นเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หลักสูตร จะนำเสนอผ่านเว็บไซต์ โบรชัวร์ ที่จะให้รายละเอียดได้ดีกว่า
ม.หอการค้า เลิกใช้ TVC
จัดเต็มซีรี่ส์ออนไลน์กระชากใจวัยรุ่น
มหาวิทยาลัยหอการค้าปีนี้ ปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การโฆษณาอย่างชัดเจน โดยหันหลังให้กับสื่อ TCV เปลี่ยนมาใช้สื่อออนไลน์เต็มพิกัด โดยสร้างสีสันใหม่ในรูปแบบของ “มินิซีรี่ส์” ภาพยนตร์ออนไลน์จำนวน 4 ตอน ใช้ชื่อหนังรักวัยรุ่น “Love 18+รักต้องเลือก” โดยนำเสนอผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.love18themovie .com พร้อมจัดทำMovie Catalogue
มานา คุณธาราภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการโฆษณามหาวิทยาลัยหอการค้า มองว่า การเลือกทำเป็น “มินิซีรี่ส์” และMovie Catalogue สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลายและครบถ้วนกว่า TVC ที่มีเวลาจำกัด และการเลือกสื่อออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมวัยรุ่น ระดับมัธยม 6 ที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่ามักเลือกใช้สื่อออนไลน์ เปิดรับสื่อฟรีทีวีน้อยลง
โจทย์สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ “มินิซี่รี่ส์” ได้รับความสนใจจนเกิดเป็นกระแส “ไวรัล” บอกต่อและแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก “เนื้อหา” จึงต้องเป็นเรื่องใกล้ตัวกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น เด็กมัธยม และพฤติกรรมของวัยรุ่นมักสนใจกับเรื่องความรัก การเรียน และชีวิต มาเป็นธีมเดินเรื่อง นั่นคือที่มาของการออกแบบให้มินิซีรี่ส์ชุดนี้เล่าเรื่องให้วัยรุ่นสนใจและติดตาม ผ่านตัวละครเอก 4 คน นักเรียนชายม.6 ที่ตกหลุมรักนักศึกษาสาวสวยหญิงรุ่นพี่ 2 คน โดยมีรุ่นพี่ชายอีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ดังนั้น จึงกลายเป็นรักต้องเลือก
จากนั้นจึงสอดแทรกแนะนำหลักสูตรของคณะต่างๆ บรรยากาศในห้องเรียน รูปแบบการเรียนการสอน เข้าไปในเนื้อเรื่องแบบเนียนๆ ด้วยวิธีแบบนี้ มียอดคนดูรวมทั้งเว็บไซต์ ยูทูบ เฟซบุ๊ก ทะลุ 6 แสนวิวเลยทีเดียว
มินิซีรี่ส์ออนไลน์เรื่องนี้ ได้เลือกเอเยนซี่ที่เชี่ยวชาญสื่อดิจิตอล บริษัทซีเจ เวิร์ค CJ WORX ของจิณณ์ เผ่าประไพ อดีตผู้บริหาร ที่เคยฝากผลงานมาแล้วกับแคมเปญโฆษณาออนไลน์ มินิซีรี่ส์ออนไลน์ ผลงานล่าสุดของเขา คือ การปั้นแฟนเพจให้กับ AXE Thailand ด้วยมุขจีบสาว จนติดอันดับแฟนเพจสูงสุด มินิซีรี่ส์เรื่องนี้ยังได้ คมกฤษ ตรีวิมล ผู้กำกับมืออาชีพจากภาพยนตร์ไทยเงินล้าน เพื่อนสนิท และแฟนฉัน จากค่ายGTH เป็นผู้ดูแลการผลิตมินิซีรี่ส์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
ม.ศรีปทุม ตีโจทย์ 4 ปีเปลี่ยนได้แน่
สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุม เคยสร้างความฮือฮากับหนังโฆษณาทีวีมาแล้ว เมื่อหลายปีที่แล้ว มาปีนี้ เลยจัดเต็มแคมเปญโฆษณาโฆษณาทีวี 4ชุด (ชื่อชุดว่า พ่อตา, เด็ก, ร้าน และมรดก) ผสมผสานไปกับใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียเพิ่มมากขึ้น โดยเลือกใช้เอเยนซี่ชั้นนำอย่าง JWT คิดแคมเปญมีชื่อว่า “4 years change”
ปีนี้มหาวิทยาลัยศรีปทุมยังคงต้องตอกย้ำโพสิชันนิ่ง ของการเป็นมหาวิทยาลัยของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีความพร้อมในทุกด้านที่เตรียมไว้ให้กับนักศึกษา ให้เห็นว่า เวลา 4ปีกับการเปลี่ยนแปลงเด็กนักเรียนธรรมดาคนหนึ่งให้เป็นมืออาชีพทุกวงการ โดยปีนี้จะเน้นการเล่าเรื่อง (Story Telling) และวิธีการนำเสนอที่มีทั้งสื่อทีวี ออนไลน์ โซเชี่ยลมีเดีย โรดโชว์ ซีอาร์เอ็ม ใช้ทุกรูปแบบ
“การสื่อสารกับเด็กวัยรุ่นสมัยนี้จำเป็นต้องใช้ช่องทางสื่อสารครบทุกมิติ กับเครื่องมืออย่างหลากหลาย ทั้งทีวีและโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของเด็กวัยรุ่นในยุคนี้ เพราะช่องทางหาข้อมูลและเป็นทางลัดตรงเข้าถึงกลุ่มเด็กวัยรุ่น” เทพ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อธิบายถึงที่มาของกลยุทธ์โซเชี่ยลมีเดีย
การนำเสนอข้อมูลในเฟซบุ๊ก จะเน้นเนื้อหาวาไรตี้ที่นักเรียน นักศึกษาสามารถเข้ามาดูแล้วทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น เกิดแรงบันดาลใจ อยากเป็นอะไรในอนาคต จากนั้นจึงสอดแทรกข้อมูลหลักสูตร คณะสาขาต่างๆ ในเนื้อหาอีกที ขณะที่ Twitter นำเสนอข้อมูลแคมเปญและรายละเอียดคณะ สาขาวิชา กิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อสื่อสารว่าเวลา 4 ปีในมหาวิทยาลัยมีเรื่องราวต่างๆ มากมาย ควบคู่ไปกับการสื่อสารด้วยภาพยนตร์โฆษณาทางทีวี
เนื้อหาในTVC จะมี 4 ชุด (ชุดพ่อตา, เด็ก, มรดก และร้าน) มีบทบาทเป็นเพียงส่วนเสริม และดึงดูดให้คนเข้ามาดูในเว็บไซต์อีกต่อ ซึ่งสามารถนำข้อมูลรายละเอียดหลักสูตรจำนวนมากได้ดีกว่าโฆษณาทีวีไม่สามารถใส่ข้อมูลทั้งหมดนำเสนอได้ภายใน 30 วินาที อย่างไรก็ตาม TVC ก็ยังสร้างการรับรู้แบรนด์ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้ปกครอง บริษัทต่างๆ อีกด้วย ได้รู้ความมีตัวตนของมหาวิทยาลัย
ม.รังสิต CSR University
มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอีกแห่งที่เลือกใช้สื่อออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทั้งการให้รุ่นพี่แชตกับรุ่นน้อง จนบางแคมเปญกวาดรางวัลทั้งในและต่างประเทศมาแล้ว
ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปีนี้ยังคงมุ่งเน้นการนำ “นิวมีเดีย” มาเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังคงไม่ทิ้งสื่อหลักอย่างทีวีซี โดยเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้สื่อทีวีซี พรีเซนเตชั่น ซีรี่ส์ออนไลน์ เพื่อตอกย้ำ Brand Positioning ของการเป็น CSR University
แนวคิดมหาวิทยาลัย CSR เป็นการฉีกแนวจากเดิมที่มุ่งประเด็นความสำเร็จของนักศึกษาหรือศิษย์เก่า (Success Stories) โดยได้ตอกย้ำประเด็นนี้มาเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 แต่เมื่อมหาวิทยาลัยอื่นๆ นำเรื่อง Success Stories มาใช้กันแพร่หลาย ม.รังสิตจึงได้ฉีกแนวมาเป็นประเด็นจิตสาธารณะตั้งแต่ปี 2551 โดยนำเรื่องราวชีวิตจริงของนายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ หรือ “หมอม้ง” ที่ได้รับโอกาส หรือทุนการศึกษาเป็นกรณีพิเศษจากมหาวิทยาลัยรังสิต มาผลิตเป็นภาพยนตร์โฆษณา
“หนังแนวนี้คนดูจะรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่ดี เสียสละไม่มุ่งแสวงหากำไร กลุ่มผู้ใหญ่ ผู้ปกครองชอบ แต่ต้องยอมรับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นอาจจะเฉยๆ”
จึงเป็นโจทย์ให้หนังโฆษณาทีวีปีนี้ ที่ใช้ชื่อชุดว่า Why Sharing หรือ ทำไมเราต้องแบ่งปัน ทำควบคู่กับพรีเซนเตชั่น 4 ชุด โดยใช้วิธีตั้งคำถามแบบโดนใจวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย “ทำไมฉันเกลียดที่นี่” ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องของมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดการอัพโหลด และแชร์ต่อในเฟซบุ๊ก มีความยาว 4.59 นาที ใช้เวลา 10 เดือนในการผลิตทั้งวางโครงการ วิธีเล่าเรื่องและพัฒนาบท
ซีรี่ส์ออนไลน์จำนวน 4 ชุด เพื่อตอบโจทย์ให้รับรู้โลกความจริงว่าเป็นเช่นไรและบทสรุปของศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จแล้วในอาชีพ โดยมีกลยุทธ์ซีรี่ส์ออนไลน์อินไซต์ จากพฤติกรรมของนักเรียน มัธยมปลาย กำหนดให้ออกทุกวันศุกร์จำนวน 4 ครั้ง เริ่มตอนแรกศุกร์ที่ 11 พฤษภาคมนี้ ใช้ชื่อว่า “ฉันเกลียดที่นี่” โดยความเกลียด ได้แก่ เกลียดระบบการศึกษาของประเทศไทย ทำไมต้องสอบเข้า และเกลียดการทำข้อมูล ทำไมต้องมีข้อสอบ เป็นต้น
ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ชูจุดขาย 4ทศวรรษ.
ส่วนโฆษณาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ไม่ได้หวือหวาเหมือนกับคู่แข่ง โดยยังคงพยายามเน้นย้ำเรื่องความน่าเชื่อถือ เพื่อลบภาพลักษณ์ในอดีต ภายใต้ TVC ที่ใช้ชื่อชุดว่า “Discover the pride in you” โดยใช้ Key Massages คือ 44 ปีแห่งความภูมิใจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ร่วมสร้างบุคลากรคุณภาพสู่สังคมไทย
โดยนำเอาผลงานที่แล้วมา เช่น คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์, วิทยาลัยนานาชาติจีนที่เป็นการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยคุนหมิง, วิทยาลัยนานาชาติ DPUIC, รางวัลชนะเลิศหุ่นยนต์นานาชาติ เพื่อตอกย้ำถึงตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความร่มรื่นย์ภายในมหาวิทยาลัย
ร.ร.ปัญญาภิวัฒน์ รีแบรนด์ใหม่ PIM
อีกแห่งที่ต้องจับตา คือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แห่งนี้ เดิมใช้ชื่อว่า “โรงเรียนปัญญญาภิวัฒน์” เปิดสอนหลักสูตรในระดับ ปวช.และ ปวส. ล่าสุดได้เพิ่มหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท จึงได้รีแบรนด์ใช้ชื่อใหม่ว่า “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM” พร้อมกับออกภาพยนตร์โฆษณาทีวีชุดใหม่ ความยาว60 วินาที โดยใช้ผู้กำกับในวงการโฆษณาอย่าง อรรณพ ชั้นไพบูลย์ จากเอเยนซี่โฆษณา บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด
แนวคิดของภาพยนตร์โฆษณาฯ ยังคงตอกย้ำ เรื่องของหลักสูตรการเรียนทฤษฎีควบคู่ปฏิบัติกับสาขาวิชาที่เรียนจริง (Work-Based Learning) ตลอดทั้ง 4 ปี ซึ่งเป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง PIM กับมหาวิทยาลัยทั่วไป
เนื้อเรื่องเล่าผ่านกลุ่มนักศึกษาในห้องเรียน ผลักกำแพงห้องเรียนออกไปพบกับการเรียนปฏิบัติในสถานที่จริง ภาพเห็นตึกทรู (True) ที่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ ฝึกประสบการณ์การจัดการข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ กับ บริษัท ทรู ทัช จำกัด ขณะที่นักศึกษาอีกกลุ่มผลักกำแพงอีกด้านเข้าไปฝึกประสบการณ์จริงกับ ธนาคารแห่งประเทศจีน (Bank of China) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน
ขณะที่กลุ่มนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาชาวิชาการจัดการค้าปลีก ผลักกำแพงห้องพบกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยพวกเขาได้เรียนประสบการณ์กับผู้นำธุรกิจค้าปลีกตั้งแต่ขั้นตอนการคัดสรรสินค้า เพื่อส่งมอบสินค้าคุณภาพแก่ลูกค้ากว่า 8 ล้านคนต่อวัน
กิมมิกของภาพยนตร์ ยังได้นำ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งสถาบันการจัดการ PIM มาร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อสะท้อนถึงความใส่ใจของมืออาชีพกับบุคลากรในอนาคต
การปรับเปลี่ยนของปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM ครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่ง ที่เพิ่มดีกรีการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชน ที่รุนแรงอยู่แล้วให้เพิ่มขึ้นไปอีก
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center;”>กลยุทธ์การสื่อสารของสถาบันการศึกษา-มหาวิทยาลัยเอกชน
2012
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แบรนด์
(สถาบันการศึกษา )
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แบรนด์โพสิชันนิ่ง/คีย์แมสเสจ
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>กลยุทธ์สื่อสาร/แคมเปญโฆษณาปี
2555
ทำโรดโชว์, ใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียครบครัน
รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ร่วมกับทีมคณาจารย์บุคลากรชั้นนำด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมของเมืองไทย สร้างสรรค์เนื้อหาหลักสูตรพร้อมประสบการณ์เข้มข้นครบวงจรระบบบริหารงานก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง และนับเป็นครั้งแรกของสถาบันการศึกษาเอกชนในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนในสาขานี้ โดยได้รับความร่วมมือจากคณะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในวงการที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ
วัตถุประสงค์ของการเปิดหลักสูตรดังกล่าวเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในวงการวิศวกรรมและสถาปนิกให้มีความพร้อมและตอบรับตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างและออกแบบ มุ่งรองรับความต้องการเมื่อถึงสภาวะเศรษฐกิจขยายตัวพร้อมเผยความสามารถบุคลากรไทยพร้อมไปสู่ตลาดต่างประเทศ ด้วยหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกเนื้อหาตั้งแต่การบริหารงานก่อสร้าง และสามารถนำไปบริหารงานด้านการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนจบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พลเอกเสรี พุกกะมาน คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล็งเห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบันของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ คณะฯ จึงมุ่งหวังที่จะผลิตบุคลากรคุณภาพด้านการบริหารจัดการวงการก่อสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ซึ่งเรามั่นใจว่าทีมคณะอาจารย์ที่จะมาสอนจะทำให้เรามีเนื้อหาหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุด นอกเหนือจากการเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในสาขานี้”
“มหาวิทยาลัยศรีปทุมเชื่อมั่นว่านักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้จะสามารถนำความรู้เชิงลึกด้านการบริหารงานก่อสร้างไปปรับใช้กับสภาวะเศรษฐกิจและการวางแผนงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการเปิดโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างมีคุณภาพ” คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวย้ำ
รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า “อุตสาหกรรมการก่อสร้าง นับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนร่วมมากับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด ในปัจจุบันการบริหารจัดการงานโครงการ ที่ต้องมีการก่อสร้างเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ นับวันจะมีความซับซ้อนและมีปัญหาด้านการบริหารและจัดการมากขึ้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และสถาปนิก วิศวกร ผู้ออกแบบ ที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ จึงต้องสามารถทำความเข้าใจโครงการในภาพรวม และบทบาทของทุกฝ่ายที่ร่วมงานเพื่อให้สามารถร่วมกันทำงาน นำทีมฟันฝ่าปัญหาในหลากหลายสาขาที่จะมีมา ให้ไปสู่ความสำเร็จร่วมกันของโครงการได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวบรวมและนำวิทยาการการจัดการขั้นสุดยอดและล่าสุด ที่มีใช้กันอยู่ในการบริหารงานด้านการจัดการโครงการ นำมาเรียนรู้และใช้งานให้ได้จริง” รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “หลักสูตรนี้ จึงเปิดขึ้นมาเพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงบทบาทของตน ในทีมงานการบริหารงานโครงการการก่อสร้างอย่างถ่องแท้ และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้กว้างด้านการบริหารงานก่อสร้าง และสามารถเจาะลึกลงค้นคว้าหาความรู้ ที่จะนำไปสู่คำตอบในปัญหาเฉพาะของแต่ละโครงการของตนเองได้อีกด้วย ผม คณะอาจารย์ และมหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงมีความเชื่อมั่นว่าหลักสูตรนี้จะเป็นการขับเคลื่อนองก์ความรู้ใหม่ให้แก่ บุคลากรในวงการสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมไทย ให้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างแน่นอน”
ผศ. มนต์ผกา วงษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความโดดเด่นของหลักสูตรนี้ คือการรวมตัวกันของที่ปรึกษาหลักสูตรและผู้สอนมืออาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม อาทิ รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง, อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ผู้บุกเบิกทางด้านที่ปรึกษาการบริหารงานก่อสร้าง, อ.ประสงค์ ธาราไชย นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, อ.พลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว ประธานกรรมการบริษัท Design103 International จำกัด เป็นต้น ทั้งนี้นักศึกษาจะมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์จากคณาจารย์หรือเข้าค้นคว้าข้อมูลหรือทำงานวิจัย หรือดูงานกับหน่วยงานหรือองค์กรของคณาจารย์เหล่านี้ได้ด้วย นอกเหนือไปจากเครือข่ายข้อมูลจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยมีอยู่”
“หลักสูตรนี้ยังเน้นกระบวนการทำความเข้าใจในองก์รวม โดยมีการทำวิทยานิพนธ์เป็นกลไกสำคัญ ซึ่งนักศึกษาจะใช้เวลาตั้งแต่ต้นหลักสูตรเพื่อสามารถวิเคราะห์ วิจัย และค้นคว้าหาข้อมูล โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นที่ปรึกษาจนจบ ซึ่งถือว่ามีความแตกต่างจากหลักสูตรปริญญาโททั่วไป ที่ระบบการทำวิทยานิพนธ์จะเริ่มต้นช่วงปลายหลักสูตร ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือว่าเป็นระบบพื้นฐานที่สำคัญมากในการบริหารงานทุกแขนง”
อุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการใหญ่ๆ ของภาครัฐหรือภาคเอกชน จำเป็นต้องมีทีมควบคุมและบริหารงานโครงการที่มีประสบการณ์และเข้าใจภาพรวม รวมถึงความต้องการทั้งหมดของโครงการก่อสร้างนั้นๆ สามารถบริหารจัดการทั้งเวลาเริ่มต้นสิ้นสุดของโครงการ บุคลากร และงบประมาณโครงการ คาดการณ์จากโครงการขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐ และเอกชน อาทิโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีและสายต่างๆ ยังมีความต้องการบุคลากรด้านนี้อีกมาก รวมถึงโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ ณ ต่างประเทศ เช่น โครงการรถไฟฟ้า ในรัฐดูไบ ทั้งนี้ตามปรัชญาของหลักสูตร “แนวคิดของคนยุคใหม่ ขับเคลื่อนองก์ความรู้ สู่ประโยชน์ของประเทศชาติ”
ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งมากว่าระยะเวลา 39 ปี ปัจจุบันเปิดสอน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี 10 คณะ 1 วิทยาลัย จำนวน 65 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 21 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 6 หลักสูตร และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมาย มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้นในปัจจุบันกว่า 20,000 คน รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถค้นหาได้ที่ www.spu.ac.th
มหาวิทยาลัยศรีปทุมและสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเล็งสร้างทรัพยากรบุคคลคุณภาพทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อตอบรับความต้องการได้อย่างตรงเป้าประสงค์ของทุกอุตสาหกรรมและเตรียมความพร้อมรองรับความต้องการเพิ่มเมื่อสภาวะเศรษฐกิจขยายตัว เปิดหลักสูตรปริญญาโท เล็งนักศึกษารุ่นแรกจากภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการพัฒนาบุคลากรของตนเองให้เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น เน้นใช้ความสามารถเฉพาะทางของทั้งสองหน่วยงานสร้างความต่างของหลักสูตร
ดร. กมล ชัยวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยศรีปทุมสถาบันการศึกษาของคนรุ่นใหม่ เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิทยาการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน โดยร่วมมือกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เน้นนำกรณีศึกษาจริงในภาคธุรกิจบูรณการกับกระบวนการเรียนการสอน โดยมุ่งหวังผลิตบุคลากรที่มีความเข้าใจ และรับรู้ความท้าทาย ปัญหาอุปสรรคของภาคธุรกิจโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อตอบสนองและรองรับความต้องการในภาคธุรกิจนี้ ด้วยความพร้อมของมหาวิทยาลัยทั้งด้านหลักสูตรและบุคลากร ทั้งที่เป็นคณาจารย์ประจำและนักธุรกิจผู้มีประสบการณ์ในด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่จะมาให้คำปรึกษา และร่วมในการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับโลกธุรกิจในปัจจุบัน”
ดร. บุญทรัพย์ พานิชการ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า “โลจิสติกส์และซัพพลายเชน นับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจทั้งมหภาคและจุลภาค เพราะทุกธุรกิจต้องอาศัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในทุกกระบวนการ และเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริหารต้องเข้าใจและตระหนักถึง อันดับต่อไปคือใช้โลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในแง่คุณภาพและการลงทุน บุคลากรทางด้านนี้จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทาง รวมถึงเข้าใจถึงลักษณะธุรกิจขององค์กร ผนวกรวมกลไกภาวะเศรษฐกิจและอื่นๆ ได้ ซึ่งประสบการณ์ก็เป็นปัจจัยหลักอีกประการหนึ่งด้วยเช่นกัน ทั้งหลายเหล่านี้หากมีการจัดกระบวนความคิด ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์อย่างดีเยี่ยม ก็จะทำให้โลจิสติกส์และซัพพลายเชนสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้อย่างมากมาย”
นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยกล่าวว่า “กระบวนการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งของการดำเนินธุรกิจทุกประเภทในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอสินค้าสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วที่สุด คงคุณภาพสินค้าอย่างดีที่สุด ด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผลมากที่สุด รวมถึงความสามารถและความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” และเสริมว่า “ทางสหพันธ์ฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการร่วมพัฒนาและผลิตบัณฑิตในสาขานี้ ความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และนับเป็นก้าวย่างที่สำคัญของการผนวกรวมความเชี่ยวชาญด้านทฤษฏี และแนวคิด เข้ากับผู้มีประสบการณ์ที่อยู่ในสถานการณ์จริงในการทำงาน ด้วยมุ่งหวังพัฒนาบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในธุรกิจนี้ ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมยังมีความต้องการบุคลากรที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพอีกมาก”
จากแผนปฏิบัติการพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์พุทธศักราช 2551-2554 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพิ่มในภาคการผลิตจำนวน 159,100 คน กว่าร้อยละ 97 เป็นความต้องการเพิ่มในระดับผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและย่อม ในขณะที่ภาคผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีความต้องการเพิ่มประมาณ 5,000 คน และส่วนใหญ่เป็นความต้องการเพิ่มในธุรกิจขนาดกลางและย่อมเช่นเดียวกับภาคการผลิต เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีมากกว่า 2.27 ล้านราย และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจคือผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งมีความต้องการนำความรู้ ทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ ไปปรับใช้หรือประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ
อีกจุดเด่นหนึ่งของหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิทยาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนี้คือการส่งเสริม สนับสนุนข้อมูลอัพเดท สถานการณ์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จากสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน แห่งมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่นับเป็นองค์ความรู้ที่ทันสมัย เพียบพร้อมด้วยบุคลกรที่เข้าใจความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี
หลักสูตรปริญญาโทด้านการจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี ประกอบด้วยการเรียนในชั้นเรียน (คอร์สเวิร์ค) และการทำเวิร์คช็อบกับภาคธุรกิจ จากคณาจารย์ที่มีความพร้อม การแลกเปลี่ยนความรู้ และมีส่วนร่วมในภาคธุรกิจชั้นนำด้านโลจิสติกส์
ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อตั้งมากว่าระยะเวลา 39 ปี ปัจจุบันเปิดสอน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี 10 คณะ 1 วิทยาลัย จำนวน 65 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 21 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 6 หลักสูตร และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมาย มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้นในปัจจุบันกว่า 20,000 คน รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถค้นหาได้ที่ www.spu.ac.th
ข้อมูลเกี่ยวกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย
สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ภายหลังการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มบทบาทและอำนาจในการต่อรองหรือเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมของส่วนรวมทั้งในส่วนชุมชนและผู้ประกอบการ เป็นศูนย์รวมในการแก้ไขปัญหาและร่วมมือกันระหว่างภูมิภาค การร่วมมือประสานงานการรับส่งสินค้า การพึ่งพาอาศัยกันในการดูแลระหว่างกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันงานขนส่งกัน การร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการขนส่งเพื่อลดต้นทุนการประกอบการ และพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้มาตราฐานเพื่อแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากภาพ : ดร.กมล ชัยวัฒน์ (ที่ 3 จากซ้าย) คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.ศรีปทุม พร้อมด้วย ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา (ที่ 2 จากซ้าย) หัวหน้าโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านส่งเสริมความรู้ทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ม.ศรีปทุม ถ่ายภาพร่วมกับ นายพงศ์วิทย์ พงษ์ไพเชฐ (ที่ 3 จาก ขวา) รองผู้อำนวยการ Business Customer Solution II บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ นางสาวมนสินี นาคปนันท์ (ที่ 2 จากขวา) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ Access Solution & Application Development บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงให้ความร่วมมือโครงการส่งเสริมองค์ความรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2552 ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อเร็วๆ นี้
ทรู คอร์ปอเรชั่น ดึงจุดเด่นความเป็นผู้นำธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (e-Commerce) ที่สมบูรณ์แบบ จับมือพันธมิตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดตัวโครงการส่งเสริมความรู้ทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนนักศึกษาให้มีความรู้และสามารถทำธุรกิจ e-Commerce อย่างมืออาชีพ ด้วยการสอนและแนะนำเทคนิคต่างๆ ในการเปิดร้านค้าออนไลน์บน www.weloveshopping.com มั่นใจมีร้านค้าออนไลน์ที่เกิดใหม่จากนักศึกษารุ่นนี้กว่า 350 ร้าน
นายพงศ์วิทย์ พงษ์ไพเชฐ รองผู้อำนวยการ Business Customer Solution II บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า “โครงการส่งเสริมองค์ความรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2552 ที่จัดร่วมกับมหาวิทยาลัย ศรีปทุมครั้งนี้ ตอกย้ำความตั้งใจกลุ่มทรู ที่จะร่วมกับสถาบันการศึกษา ยกระดับสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษามีโอกาสพัฒนาตนเองนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ด้วยการทำธุรกิจในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ให้สมบูรณ์แบบเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล อีกทั้งยังสนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการแสดงความสามารถและแนวคิดในการปรับปรุง พัฒนาระบบการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ต จากประสบการณ์ตรงที่ได้จากการสร้างหน้าร้านค้าจริงใน www.weloveshopping.com เว็บไซต์ที่เป็นผู้นำ e-Commerce สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศ มีผู้เข้าชมกว่า 100,000 คนต่อวัน หรือมากกว่า 500 ล้านครั้งในปีนี้ และมีหมวดสินค้าให้เลือกซื้อกว่า 192,478 ประเภท ทั้งนี้ ทรูจะดำเนินการเปิดร้านค้า บนเว็บไซต์ www.weloveshopping.com ให้นักศึกษาที่สมัครผ่านมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 350 คน หรือ 350 ร้านค้า พร้อมจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จาก weloveshopping.com เพื่ออบรมวิธีการสร้างหน้าร้านค้าบนเว็บไซต์ และวัดผลความสำเร็จจากการ ซื้อขายจริง เพื่อเพิ่มโอกาสนำสินค้าและบริการของผู้ประกอบธุรกิจไปสู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกจำนวน 800 ล้านคน ในกว่า 225 ประเทศ โดยทรู มั่นใจว่าความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถของนิสิต นักศึกษาไทยด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถเป็นหัวจักรสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติต่อไป”
ด้าน ดร.กมล ชัยวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า “คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในฐานะสถาบันการศึกษาของคนรุ่นใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจแบบ e–Commerce ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจในอนาคตที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน จึงได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตร e–Commerce แบบเข้มข้นแก่นักศึกษาภาควิชาการจัดการที่เรียนในรายวิชาการจัดการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรซึ่งเป็นมืออาชีพในการดำเนินธุรกิจ e–Commerce ที่ให้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์ อย่าง www.weloveshopping.com ในเครือ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในการสนับสนุนเรื่องการเรียนการสอน และพื้นที่ในการเปิดร้านค้าออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้เบื้องต้นตลอดจนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ e–Commerce ซึ่งผู้เรียนจะได้เปิดร้านค้าออนไลน์ และ ได้บริหารร้านค้าของตนเอง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนต่อไปในอนาคต ในการทำเป็นอาชีพเสริม หรือเป็น อีกหนึ่งทางเลือกในการประกอบอาชีพหลักได้อีกด้วย ซึ่งแนวคิดตรงนี้ถือเป็นนโยบายของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนหรือบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเป็นผู้ประกอบการ”
โครงการส่งเสริมองค์ความรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2552 นี้จะเริ่มเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โดยเริ่มมีการเรียนการสอน ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธานกรรมการโครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืน เปิดเผยว่า ทางโครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับโครงการ ศรีปทุม ยูเอสอาร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทางสังคม เปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทยเข้าร่วม โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งมีองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เกือบ 30 องค์กร อาทิมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์ มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง มูลนิธิกองทุนไทย มูลนิธิกระจกเงา ฯลฯ
ทั้งนี้กิจกรรมหลักของโครงการคือ การจัดการอบรมเพิ่มพูนความรู้ และทักษะด้านการบริหารจัดการต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญด้านไอที ซึ่งทักษะดังกล่าวมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการยกระดับการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนให้ทัดเทียมกับภาคธุรกิจ
“ความร่วมมือกันของภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคสังคมในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทางสังคมนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาสังคมไทย อาจกล่าวได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางความคิดเพื่อสังคมสูตรใหม่ คือ ไม่ใช่ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสองแล้ว แต่เป็นพัฒนาการที่นำไปสู่ความยั่งยืน สูตร หนึ่ง บวก หนึ่ง เท่ากับ สาม ซึ่งการนำทรัพยากร ความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และเครือข่ายที่เป็นจุดแข็งของแต่ละภาคส่วน มาร่วมกันพัฒนาบุคคลากรขององค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารงาน และดำเนินงานอย่างพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเจริญก้าวหน้า และยังสามารถพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพให้กับผู้มาร่วมงาน ซึ่งจะเป็นข้อจูงใจให้คนรุ่นใหม่ สนใจสมัครเข้ามาร่วมงาน เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมมากขึ้น”
ดร.จรรยา พุคยาภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม และประธานโครงการ ศรีปทุม ยูเอสอาร์ (Sripatum University Social Responsibility) กล่าวว่า เพื่อให้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทางสังคม เกิดประโยชน์สูงสุด กับบุคคลากรขององค์กรพัฒนาเอกชน ทางมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ผสานความร่วมมือจากทั้ง คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยในคณะต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจ มาเป็นวิทยากรความรู้ โดยเนื้อหาจะมีการปรับให้เข้ากับองค์กรพัฒนาเอกชน มีระยะเวลาเรียนทั้งหมด 66 ชั่วโมง ใช้เวลาเรียนทุกวันเสาร์ รวม 3 เดือน คือตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2551 มุ่งเน้นการจัดการสมัยใหม่ควบคู่กับการพัฒนาความรู้ด้านไอที โดยด้านการจัดการนั้น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนจะได้รับการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการองค์กร การจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การเขียนโครงการของบประมาณสนับสนุน วิธีบริหารและดำเนินโครงการ การตลาด กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนด้านไอทีนั้น จะได้รับการเสริมความรู้ในการใช้ประโยชน์จาก Internet การสร้างเว็บไซต์ และเทคนิคการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อช่วยให้งานที่ทำอยู่เกิดประสิทธิภาพมีความคล่องตัว
ด้าน นางสุภารัตน์ จูระมงคล ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมเพื่อชุมชน บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภายใต้แนวคิด Microsoft Unlimited Potential ที่มุ่งเน้นการขยายโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น บริษัทเห็นความสำคัญในการที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทางสังคม ได้มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านไอทีอันจะช่วยทำให้ ภารกิจในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ ของแต่ละองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่า หากผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการเติมเต็มความรู้ด้านการการพัฒนาเว็บไซต์ การใช้อินเตอร์เน็ต การใช้โปรแกรมออฟฟิศช่วยงานต่างๆ ที่ทางบริษัทจะได้จัดโปรแกรมและวิทยากรมาถ่ายทอดให้ ก็จะทำให้ สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดทางเทคโนโลยี และมีการทำงานที่คล่องตัว ร่นระยะเวลาในการทำงานเอกสาร และทำให้การติดต่อสื่อสารกับองค์กรเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
คุณสินี จักรธรานนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย) กล่าวว่า การทำงานของผู้ประกอบการทางสังคมนั้น จริงๆแล้วก็เหมือนกับผู้ประกอบการทางธุรกิจ ต่างกันที่องค์กรหนึ่งหวังผลกำไร อีกองค์กรหนึ่งไม่หวังผลกำไร ซึ่งปัจจัยสู่ความสำเร็จของทั้งสองส่วนนั้นเหมือนกัน คือจะต้องมีทั้งวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่น การบริหารจัดการ กระบวนการวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการทางสังคม นั้นยังขาดทักษะด้านการบริหารจัดการ ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนภารกิจทางสังคมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงนับว่าโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทางสังคมที่ได้ริเริ่มขึ้นมานี้ มีประโยชน์ มีความสำคัญ และมีความจำเป็นมาก
“นับเป็นเรื่องที่ดีที่ภาคธุรกิจ หันมาสนใจปัญหาสังคม และยื่นมือเข้ามาช่วย โดยจับมือกับภาควิชาการ ที่มีองค์ความรู้ เชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมพลังของภาคประชาชน ให้มีความเข้มแข็ง สามารถทำงาน ตอบสนองเป้าหมายของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเอาจุดแข็งหลายๆ ฝ่ายมารวมกัน ไม่เพียงแต่จะช่วยทำให้บุคคลากรที่ทำงานภาคสังคม มีทักษะมากขึ้น แต่ยังจะเป็นโอกาสในการผสาน เชื่อมโยงความร่วมมือและ จับมือกันไปแก้ปัญหาสังคม อีกทั้ง ยังจะเป็นการปูทางบ่มเพาะ จูงใจให้คนรุ่นใหม่ซึ่งมีใจอยู่แล้ว มาร่วมงาน เชื่อว่าหากมีการดำเนินโครงการต่อเนื่อง จะทำให้การทำงานในทุกด้านพัฒนาและสำเร็จลุล่วงไปได้เร็ว ง่ายขึ้น ใช้ทรัพยากรน้อยลง”
อาจารย์เกื้อ แก้วเกตุ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเยาวชน YPDC กล่าวว่า ตนทำงานด้านเด็กและเยาวชนมาประมาณ 43 ปี การดำเนินโครงการแบ่งปันฯ ถือว่าเป็นมิติที่ดีเพราะเป็นความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคสังคม ซึ่งถือว่าการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางสังคมมากมาย นอกจากนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยไม่หวังผลกำไร และในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเข้ามาทำงานด้านสังคมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราก็พยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เมื่อมีกำลังเสริมก็จะทำให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและสามารถพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้ทำงานได้ดีและมีความสุขในอนาคต
โครงการ“แบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 โดยมีเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Venture Network: SVN) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำหน้าที่เชื่อมโยง องค์กรภาคสังคม ที่ทำงานโดยไม่หวังผลกำไร กับองค์กรภาคธุรกิจ เพื่อทำงานพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทางสังคม ที่ทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้มาร่วมกันดำเนินโครงการนี้ นับเป็นหนึ่งใน 48 คู่ความดี ที่ทางโครงการได้ดำเนินการประสานงาน สร้างความเข้าใจ และเชื่อมโยงให้มาทำงานร่วมกัน
นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการแถลงข่าว ความร่วมมือระหว่างโครงการแบ่งปันเพื่อสังคมที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ บริษัทไมโครซอฟท์ ในการจัดทำหลักสูตรพิเศษ อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสังคมยุคใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการสังคม โดยการแถลงข่าวจัดขึ้นที่อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.30น. รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณไขแสง ศักดา โทรศัพท์ 08-1622-3269
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ตอกย้ำองค์กรแห่งการเรียนรู้ สานต่อความร่วมมือกับ ไมโครซอฟท์ เพิ่มศักยภาพนักศึกษาไทย เสริมความแกร่งด้วยหลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่โลกแห่งการทำงานด้วย Microsoft iCafe e-Learning @ True เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ใกล้สำเร็จการศึกษาได้เรียนรู้โปรแกรมต่างๆ ของ Microsoft Office 2007 ก่อนเข้าสู่การทำงานในสถานประกอบการต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ผ่านการเรียนจะได้รับประกาศนียบัตร เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสมัครงานอีกด้วย โดยสามารถใช้ ทรู คอฟฟี่ และ ทรูไลฟ์ ทุกสาขา เป็นสถานที่เรียน และสอบวัดผล
ในภาพ นายปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ (แถวยืนที่ 2 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่/ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ถ่ายภาพร่วมกับ ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน (แถวยืนกลาง) อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ในโอกาสเซ็นสัญญา ความร่วมมือ Microsoft iCafe e-Learning @ True เปิดโอกาสให้นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เรียนรู้โปรแกรมการใช้งาน Microsoft Office 2007 อย่างถูกต้อง โดยมี มร.ดิเรก บราวน์ (แถวยืนที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแสดงความยินดีด้วย ณ ร้าน ทรูมูฟ แฟล็กชิพ ช้อป สยาม สแควร์ ซอย 2
เกี่ยวกับ Microsoft iCafe e-Learning @ True
สำหรับหลักสูตร Microsoft iCafe e-Learning @ True เป็นหลักสูตรการเรียนการใช้งานคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม Microsoft Office 2007 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักสูตรการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานด้วยสื่อการเรียน การสอนแบบทันสมัย ในรูปแบบ วิดีโอ Simulation แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ ซึ่งมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมากมาย โดยสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ๆ ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีอาจารย์ และสามารถทบทวนบทเรียน ได้อย่างไม่จำกัด มีแบบฝึกหัดให้ทบทวนในทุกท้ายบทเรียน พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานโปรแกรมไปกับหลักสูตรคุณภาพจากไมโครซอฟท์ โดยหลักสูตรที่เปิดให้บริการที่ร้าน ทรู ไลฟ์ และ ทรู คอฟฟี่ ได้แก่ หลักสูตร Operating System ประกอบด้วย Windows XP และ Window Vista หลักสูตร Microsoft Office 2007 ประกอบด้วย Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Power Point และ Microsoft Outlook
นับตั้งเดือนกันยายนนี้ นักศึกษาน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม จะมีทางเลือกมากขึ้น จากบัตรนักศึกษารุ่นใหม่ของพวกเขา สามารถใช้ประโยชน์ได้ถึง 3 ฟังก์ชันในบัตรเดียว หรือเรียกว่า “3 อินน์ 1”
บัตร 3 in 1นี้ เป็นบัตรที่ไทยสมาร์ทเพิร์ส พยายามตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป้าหมายที่เป็น นักศึกษามหาวิทยาลัย หลังจากที่เคยทำมาแล้วกับมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้ามาแล้ว ใช้เป็นบัตรนักศึกษาของสมาร์ทเพิร์ส
แต่ครั้งนี้ จะแตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา เพราะได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นอีกราย ทำให้บัตร ประจำตัวนักศึกษของมหาวิทยาลัยศรีปทุม “SPU-KRUNGTHAI Smart Purse ใช้เป็นบัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม เพื่อฝากถอนเงินกับธนาคาร และนำไปซื้อสินค้าตามร้านค้าที่ร่วมกับไทยสมาร์ทเพิร์ส 12,000 แห่ง
“เราเชื่อว่าบัตรนี้จะสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้นของนักศึกษาได้” ฉัตรไชย ฉัตรชัยกนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานธุรกิจและปฏิบัติการ บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ไทยสมาร์ทการ์ด ต้องประสบกับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงเหลือ 1,200 บาทต่อเดือน จากปีที่ผ่านมา 1,500 บาทต่อเดือน เพื่อกระตุ้นยอดใช้จ่ายบัตรให้มากเท่ากับปีที่แล้ว และเป็นเตรียมออกบัตรนักศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 3 สถาบัน จึงต้องจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “I love Food I Love Fun” ร่วมมือกับร้านอาหารเล็กๆ 3-4 พันร้าน เมื่อใช้ครบ 50 บาท ลด 10 บาท ส่วน I Love Fun เป็นเรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ เช่น ร้านหนังสือ ร้านขายซีดี – วิดีโอ เมื่อใช้ครบ 50 บาท ลด 10 บาท
ไทยสมาร์ทการ์ด มองว่าตลาดการศึกษายังคงเป็นโอกาสและมีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ กำลังปรับปรุงรูปแบบเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา และไลฟ์สไตล์ของนักศึกษามีคอมมูนิตี้ของกลุ่ม ยังเป็นความหวังของไทยสมาร์ทการ์ดคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ถือบัตรประมาณ 2 ล้านใบ มาจากแคมเปญนี้ 1 แสนใบ ส่วนปีที่ผ่านมา 1.5 ล้านใบ ส่วนยอดขายในปีนี้ตั้งเป้า 4, 500 ล้านบาทเท่ากับปีที่ผ่านมา
Did u know?
อายุเฉลี่ยของผู้ใช้บัตรสมาร์ทเพิร์ท 16-35 ปี อยู่ในกลุ่มวัยรุ่น และเฟิร์ส จ๊อบเปอร์ คิดเป็น 68% ของผู้ใช้บัตร
ความเร็วในสแกนบัตรอดีต 6 วินาที ปัจจุบัน 2 วินาที
ม.ศรีปทุม ชลบุรี ทุ่มทุนขยายศักยภาพระบบไอซีทีครั้งใหญ่ วางใจเฟิร์ส ลอจิกพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ SPUC Net เล็งกวาดนักศึกษาในแถบภูมิภาคตะวันออกและประชาชนในนิคมอุตสาหกรรม ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรับพิษเศรษฐกิจซึมระยะยาว เผยได้ความรู้ทัดเทียมสถาบันการศึกษาชั้นนำในกรุงเทพ ประกาศตั้งเป้าเป็น ICT Campus ชั้นนำแห่งภาคตะวันออกเร็วๆ นี้
ดร.บุษบา ชัยจินดา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เปิดเผยถึงนโยบายด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย รวมถึงการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Environment) อย่างแท้จริงว่า มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหนึ่งในห้าแห่งแรกของประเทศไทย และในปีการศึกษา 2530 ได้ขยายวิทยาเขตไปที่จังหวัดชลบุรี
ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ ICT ทั้งในด้านการเรียนการสอน การดำเนินงาน และการให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เข้าถึงระบบ ICT อย่างเต็มประสิทธิภาพ และให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำสำหรับคนรุ่นใหม่ จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนและแนวทางการพัฒนา ICT ของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความพร้อมและทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแผนงานดังนี้
1. แผนพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) 2. แผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ความสามารถด้านการประยุกต์ใช้ ICT 3. แผนพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน ICT ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจ 4. แผนการสร้างพันธมิตรและความร่วมมือกับองค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการให้ความรู้และบริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางด้าน ICT ร่วมกัน
ดร.บุษบา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีการศึกษา 2551 มหาวิทยาลัยฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท เฟิร์ส ลอจิก ในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือ และระบบต่างๆ หลายโครงการทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพความเร็ว และระบบรักษาความปลอดภัย พร้อมติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายคลอบคลุมทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับ ICT เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเป็น ICT Campus แห่งภาคตะวันออก
ดร.บุษบา กล่าวเพิ่มอีกว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มีอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องสมุด ที่มีความทันสมัย เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นอกเหนือจากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ SPUC Net กับทางบริษัท First Logic แล้วนั้น มหาวิทยาลัยยังได้ ดำเนินการ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ และศูนย์ทดสอบความรู้ความสามารถด้าน ICT เพื่อการรองรับด้านการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพด้าน ICT ให้กับนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ ICT อยู่ในระดับมาตรฐาน ซึ่งได้เปิดศูนย์ทดสอบ Microsoft ขึ้นมาเพื่อรองรับด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรของนักศึกษาที่จะต้องเรียนวิชา Microsoft Office ทุกคน พร้อมส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนสอบใบประกาศนียบัตร (Certification) ของ Microsoft ด้วย
นายสุเทพ อุ่นเมตตาจิต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้น เป็นลูกค้ารายสำคัญของบริษัทฯ จากการเริ่มต้นทำความเข้าใจ โครงสร้างระบบ ICT และ วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ ทำให้บริษัทฯ เห็นศักยภาพการเติบโตของมหาวิทยาลัยฯ ในอนาคตที่ชัดเจน สำหรับเป้าหมายของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าท้ายความสามารถของบริษัทฯ เป็นอย่างยิ่ง ในการตอบโจทย์ให้มหาวิทยาลัยฯ ก้าวสู่การเป็น “ICT Campus ชั้นนำแห่งภาคตะวันออก”
สำหรับในเนื้องาน ที่ทางบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ได้นำเสนอต่อทางมหาวิทยาลัยฯนั้น เรามุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ ICT โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก โดยแต่ละส่วนจะประกอบไปด้วยโครงการย่อย ๆ จำนวน 11 โครงการ จากนั้นได้ทำการ Integrate ระบบทั้งหมด เข้าด้วยกัน ทำให้ได้ระบบ ICT ในเฟสนี้ ที่สามารถรองรับ Master plan ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีได้ตามเป้าหมาย
1. Network & Security Infrastructure
a. โครงการปรับปรุงระบบเครือข่ายหลักของมหาวิทยาลัย
b. โครงการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
c. โครงการปรับปรุงระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
2. System Infrastructure
a. โครงการปรับปรุงระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
b. โครงการปรับปรุงเครื่องแม่ข่ายเว็บไซต์มหาวิทยาลัย
c. โครงการเพิ่มสัญญาณอินเตอร์เน็ต
d. โครงการระบบสำรองข้อมูล (Backup System)
e. โครงการปรับปรุงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายระบบ MIS
3. Application Infrastructure
a. โครงการปรับปรุงระบบ E-mail
b. โครงการระบบ Single Password
c. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำหรับระบบต่างๆ
อ.นรินทร์ พนาวาส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กล่าวเพิ่มเติมถึงโครง สร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แบ่งออกเป็น
1. Network & Security Infrastructure
เป็นการปรับปรุงระบบเครือข่ายหลักของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความเร็วสูงขึ้น รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เพื่อป้องกันและตรวจสอบการโจมตีบนระบบ นอกจากนี้ เรายังได้เพิ่มพื้นที่ Wireless LAN ให้ครอบคลุมทุกอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ของทั้งนักศึกษา และอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยฯ
ขณะนี้มหาวิทยาลัย สามารถรองรับผู้ใช้งานระบบเครือข่ายภายใน (LAN) พร้อมกันได้ประมาณ 800 คน และระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ประมาณ 400 คน โดยมีน.ศ.ประมาน 4,000 คน และมีแผนที่จะพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันได้ประมาณ 2,000 คน
2. System Infrastructure
เป็นการเพิ่ม Server เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเว็บไซต์ อีกทั้งระบบสำรองข้อมูล ปรับปรุงระบบ MIS และ ระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเช่น ปัญหา Junk Mail, Virus Mail และ ภัยคุกคามทางธรรมชาติ
3. Application Infrastructure
เป็นโครงการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งาน ที่มีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ให้สามารถใช้งานได้พร้อมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายเพื่อที่จัดเก็บจดหมาย (Mailbox) ติดตั้งระบบ Load Balance รวมถึงการทำ Single Password ซึ่งกำหนดใหผู้ใช้งานมี Username เพียงชุดเดียว ซึ่งสามารถเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ได้ตามสิทธิ์ ที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนดได้อย่างสะดวก และช่วยลดความยุ่งยากในการดูแลระบบผู้ใช้งาน
“การลงทุนทางด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้ระบบเครือข่าย SPUC Net มีศักยภาพโดดเด่นหลาย ๆ ประการ คือ ระบบเครือข่าย มีความเชื่อถือได้สูง และมีความมั่นคงปลอดภัย, การให้บริการครอบคลุมอย่างทั่วถึง ทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัย และนักศึกษา, ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสื่อข้อมูลได้ทุกประเภท เช่น ข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวอักษร ภาพ วีดีโอ เป็นต้น , นักศึกษาสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้แบบทุกที่ทุกเวลาทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย , การบริหารจัดการเครือข่าย และตรวจสอบระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ ทำได้โดยง่ายและสะดวกขึ้น,ผู้ใช้งานระบบเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดร็วยิ่งขึ้น, สามารถขยายระบบในอนาคตได้อย่างไม่มีข้อจำกัด, รองรับแอพลิเคชั่นใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่อง, สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550” อ.นรินทร์ กล่าว
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนหนึ่งในห้าแห่งแรกของประเทศไทย สถาปนาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชทานนาม “ศรีปทุม” พร้อมความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว” และได้ขยายวิทยาเขตในปีการศึกษา 2530 ไปที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ในคณะนิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ บัญชี ศิลปศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ และในระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และนิติศาสตรมหาบัณฑิต (สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักสูตรต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ http://www.east.spu.ac.th )
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย “ชั้นนำสำหรับคนรุ่นใหม่” อย่างแท้จริง ด้วยการส่งเสริม และสนับสนุนการใช้ ICT ของบุคลากรและ นักศึกษา และยึดมั่นปณิธานในการสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มี “ปัญญา เชี่ยวชาญ เบิกบาน คุณธรรม” เพื่อที่บัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจะได้ออกสู่สังคม การรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรับใช้สังคมได้อย่งแท้จริง
บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด
บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน ธันวาคม ปี พ.ศ. 2546 สืบเนี่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ของบริษัท ลอจิก จำกัด ที่เติบโตขึ้น และเพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว จึงก่อกำเนิด บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ภายใต้ทีมผู้บริหาร และ ทีมงานกว่า 150 ท่าน ที่มีความรู้และประสบการณ์ระบบไอทีด้าน Infrastructure มากว่า 20 ปี จากบริษัท ลอจิก จำกัด
เฟิร์ส ลอจิก มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ ด้าน IT infrastructure Integrator นำสุดยอดเทคโนโลยี IT infrastructure ทั้ง ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟท์แวร์ จากผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก ผสานกับการบริการที่เข้าใจคนไทย อย่างมืออาชีพ ภายใต้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นที่วางใจจากลูกค้าระดับ Enterprise มากกว่า 100 บริษัททั่วประเทศ และครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจในไทย
บริการ(Core Service)
เฟิร์ส ลอจิก ประกอบไปด้วย 4 บริการหลัก ดังนี้
1. บริการด้านการทำอินทิเกรชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. บริการด้านไอที โปรเฟสชั่นนอล เซอร์วิส
3. บริการด้านการบำรุงรักษา
4. บริการฝึกอบรม