มหาวิทยาลัยสยาม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 29 Jun 2010 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เรียนอย่างเทรนดี้ ต้องมี iPad https://positioningmag.com/12678 Tue, 29 Jun 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=12678

iPad เริ่มเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของนักเรียน นักศึกษาที่อเมริกาหลังจากเปิดจำหน่ายไม่กี่วัน และภาพนี้กำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา ที่ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างน้อย 3 แห่ง กำลังพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียหากให้นักศึกษาถือ iPad แทนที่ Netbook ด้วยเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนสนุก เข้าถึงบทเรียน และที่สำคัญเป็นมหาวิทยาลัยที่ Trendy มากขึ้น

ในช่วงเทอม 2 ที่จะถึงนี้ หากการเจรจาซื้อ iPad จาก Apple Thailand สำเร็จ นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม ย่านถนนเพชรเกษม ส่วนหนึ่งประมาณ 50-80 คน จะถือ iPad ในมือ เพื่อร่วมสร้างคอนเทนต์ และทดสอบการใช้งาน iPad ว่าเหมาะกับนักศึกษาอย่างพวกเขาเพียงใด และจะใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ได้อย่างไร จากนั้นในเทอมแรกของปีการศึกษาหน้า จะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการภาควิชานี้ แจกให้นักศึกษาโดยมีพันธสัญญาว่าต้องมีผลงานในการพัฒนาคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่น ซึ่งเป็นครั้งแรกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่แจกอุปกรณ์ไอที จากเดิมที่มหาวิทยาลัยสยามในระดับปริญญาโท ถึงจะมีการแจก Notebook ให้นักศึกษาเท่านั้น

อาจารย์ปริวรรต องค์ศุลี หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มี iPad อยู่ในมือเกือบตลอดเวลา ที่ตัวเขาเองบอกว่าเขาถึงขั้นขาดไม่ได้ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้มากมาย ตั้งแต่อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร พ็อกเกตบุ๊ก และแอพพลิเคชั่นมากมาย ที่อะไรใหม่อยู่บนหน้าจอของเขาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นแมกกาซีนต่างประเทศอย่าง Wired หนังสือพิมพ์ USA Today และพ็อกเกตบุ๊กที่เต็มชั้นวางส่วนตัว

ตอนนี้อาจารย์ปริวรรตกับนักศึกษาส่วนหนึ่งกำลังทดสอบ iPad 4 เครื่อง เขาเห็นผลชัดเจนว่า iPad ทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นจริงและได้ผลมากขึ้น เช่น ไม่เพียงแต่อาจารย์สามารถทำตำราเรียนเป็น Power Point ให้นักศึกษาดาวน์โหลดมาเรียนได้ แต่ยังเพิ่มความสนุกในการเรียนมากขึ้นด้วย VDO Clip และ Interactive รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AR (Augmented reality) Code (ระบบเสมือนจริงเสริม) ที่ทำให้การเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่น่าเบื่อ โดยมหาวิทยาลัยมีความพร้อมในเครือข่ายสื่อสาร ที่วาง Wi-Fi อย่างทั่วถึงให้นักศึกษาออนไลน์ได้อย่างสะดวก

นอกจากรูปแบบการเรียนของนักศึกษาจะเปลี่ยนไป ที่ไม่ต้องซีร็อกซ์เอกสารมากมาย ไม่ต้องซื้อตำราเรียนและแบกมาหนัก อาจารย์ปริวรรตยังบอกว่า นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสยามได้ Exposure ตัวเองกับไอทีอย่างเต็มที่อีกด้วย

เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรังสิต ที่นอกจากกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะให้นักศึกษาใช้ iPad แล้ว ยังต้องให้อาจารย์มีในมือทุกคน ซึ่ง ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสะดวกในการเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะ Wi-Fi ภายในมหาวิทยาลัยมีพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งหากผลศึกษาพบว่าเป็นผลดี ก็อาจเป็นได้ทั้ง iPad หรือแท็ปเล็ตอื่นๆ มหาวิทยาลัยก็จะนำมาให้นักศึกษาใช้ อาจมีทั้งรูปแบบแจก หรือรับภาระบางส่วน แทนโน้ตบุ๊กที่ใช้มานานประมาณ 4-5 ปีแล้ว

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กำลังขยับอีกรอบจาก 3 ปีที่แล้วได้แจกโน้ตบุ๊กให้นึกศึกษาใหม่ ที่ปีหนึ่งรับเพิ่มไม่ต่ำกว่า 5,000 คน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนมาเป็นเน็ตบุ๊กแทน และปีการศึกษาหน้าอาจเปลี่ยนเป็น iPad เพื่อรักษา Positioning ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นให้นักศึกษาทุกคนคุ้นเคยและเชี่ยวชาญการใช้อุปกรณ์ไอทีใหม่ๆ และเป็นจุดขายที่แสดงถึงมหาวิทยาลัยที่ Trendy

อาจารย์ปรเมศ ส่งแสงเติม รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า เป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือการทำให้คอนเทนต์ด้านวิชาการแข็งแรง และยังต้องให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ เข้าสู่รูปแบบของ Edutainment ที่มีไอทีมาซัพพอร์ตเต็มที่ ตั้งแต่เครือข่าย Wi-Fi ทั่วมหาวิทยาลัย และความร่วมมือกับสถาบันและบริษัทไอทีชั้นนำ

สิ่งที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต้องพิจารณาคือ iPad จะไปได้ดีกับระบบการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยใช้อยู่หรือไม่ คือHybrid Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่าง e-Learning กับการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ มากน้อยเพียงใด

ความแรงของ iPad กำลังเข้าสู่สถาบันการศึกษา ที่หากบุกตลาดนี้ได้สำเร็จ นั่นหมายถึงจำนวน iPad ในเมืองไทยจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และเมื่อถึงเวลานั้น ธุรกิจและกิจกรรมการตลาดทั้งหลายคงเลิกลังเล และเดินหน้าเพื่อให้ iPad เป็นสื่อที่ทรงประสิทธิภาพในที่สุด

อเมริกาทั้งแจกทั้งแบน
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในอเมริกา ได้กระโดดเข้าสู่กระแส iPad ด้วยการประกาศแจก iPad ให้นักศึกษา ตัวอย่างเช่น
– Seton Hill University ใน Pennsylvania ให้ iPad แก่นักศึกษาเต็มเวลา 2,000 คน
– George Fox University ใน Oregon ให้ทางเลือกนักศึกษาเลือกระหว่าง Macbook และ iPad แต่ในปีต่อไปเหลือทางเลือกเดียวคือ iPad

แต่ขณะเดียวกัน iPad ก็เผชิญกับอุปสรรค เมื่อมีมหาวิทยาลัยชั้นนำ 3 แห่ง แบน หรือสั่งห้ามนักศึกษาใช้ iPad ภายในมหาวิทยาลัย คือ Cornell University, Princeton University และ George Washington University ที่บอกว่า เป็นอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยเลยทีเดียว และกลัวว่าจะไปกินแบนด์วิธมากจนเกิน

การห้ามนี้จึงทำให้เกิดกระแสร้องเรียนว่า 3 มหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรแบน iPad และอยากให้มหาวิทยาลัยให้ความเป็นธรรมกับอุปกรณ์ที่มาแรงนี้

]]>
12678
มหาวิทยาลัยเอกชนในยุคแข่งขันทางการตลาด https://positioningmag.com/7421 Wed, 18 May 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=7421

หลังจากปล่อยให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกโฆษณามากวนตลาดอยู่นาน ไม่ว่าจะเป็น ม.รังสิต ม.หอการค้าไทย ม.สยาม ม.กรุงเทพ ที่ยิงแอดมาตลอดช่วงฤดูการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่นำเสนอความพร้อมด้านหลักสูตรและสถานที่เป็นประเด็นสำคัญ

เมื่อถึงคราวของม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ยิงแอดโฆษณา กลับสวนกระแสด้วยการเลือกที่จะพูดถึงสิ่งที่นักศึกษาคนหนึ่งจะสามารถทำได้ในโลกแห่งการทำงาน เป็นการมองข้ามช็อตไปถึงเอาต์พุตว่าเรียนจบแล้วจะได้อะไร มากกว่าที่จะบอกว่าตอนเรียนจะเจออะไร เพื่อเลี่ยงการสื่อ “สาร” ที่ซ้ำกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พูดถึงที่มาของโฆษณาล่าสุดของมหาวิทยาลัยฯ ว่า มีที่มาจากการเป็นสหกิจศึกษามาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ด้วยโครงการส่งนักศึกษาไปฝึกงานทั้งเทอมในเทอมสุดท้าย โดยมหาวิทยาลัยฯ จะทำการคัดเลือกภายใน จนได้ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมประมาณ 100 กว่าคน แล้วจัดคอร์สอบรมพิเศษเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน และปลูกฝังทัศนคติในการทำงาน จากนั้นจึงส่งออกไปฝึกงานยังหน่วยงานต่างๆ

“ที่โฆษณาออกมาว่าทำอะไรได้หมด เป็นนัยว่าเด็กที่จบไปจากที่นี่เป็นคนสู้งานและมีความรู้ทางธุรกิจ นี่คือเป้าหมายในการผลิตนักศึกษาของเรา ซึ่งพอทางแม็ทชิ่งเขามาฟังสรุปแล้วเสนอสตอรี่บอร์ดมา เราก็เห็นด้วยที่เติมเรื่องชงกาแฟเข้าไปตอนท้าย ก็เพื่อเป็นมุกให้คนดูรู้สึกสนุกสนานและจดจำได้เท่านั้น เพราะเนื้อหาที่ปูมาแต่ต้นก็บอกแล้วว่านักศึกษาเราทำงานเป็น มีความพร้อม และมีความสามารถในการปรับตัว”

ดร.วรากรณ์ ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยเอกชนมีการแข่งขันกันสูงมาก บางมหาวิทยาลัยใช้งบสูงกว่า 25 ล้านบาทในการทำโฆษณาทีวี จากจำนวนมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีในตลาด 140 แห่ง แต่ละรายจึงต้องทำการตลาดเชิงรุกแย่งชิงลูกค้ากันตรงๆ และยิ่งจะต้องแข่งขันกันมากขึ้นในปี 2549 เพราะนโยบายการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (ICL) ที่ต่อไปรัฐบาลจะยกเลิกการจัดสรรเงินส่วนนี้ให้กับสถาบัน แต่ให้นักศึกษากู้และบริหารเงินเองโดยตรง ทำให้การตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น โดยไม่มีปัจจัยเรื่องทุนการศึกษามาแทรกแซง ขณะเดียวกันตัวนักศึกษาเองจะมีกำลังซื้อสูงขึ้น สามารถเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนที่ตนเองพอใจได้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามหาวิทยาลัยรัฐบาลยังได้เปรียบอยู่ในแง่ของชื่อเสียง

“เป้าหมายของเราคือพยายามให้ติดอันดับทอป 3 ของประเทศให้ได้ภายใน 5 ปี ซึ่ง 3 สุดยอดมหาวิทยาลัยเอกชนที่ว่านี้จะประกอบไปด้วย ABAC ม.กรุงเทพ และธุรกิจบัณฑิตย์ การตลาดแบบอ้อมที่เราทำอยู่ตอนนี้ก็มีทั้ง การที่อาจารย์เขียนบทความไปลงตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้ชื่อมหาวิทยาลัยปรากฏตามสื่ออย่างสม่ำเสมอและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และมีการทำอีเวนต์มาร์เก็ตติ้งผ่านการจัดแข่งขันกีฬา และการที่มีดาราเข้ามาเรียนก็ช่วยประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยได้อีกส่วนหนึ่ง” ดร.วรากรณ์ กล่าว

]]>
7421