มหาเศรษฐี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Jul 2024 08:00:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สวรรค์เศรษฐี “ดูไบ” จ่อดึงคนมีฐานะย้ายประเทศเพิ่มอีก หลังพรรคแรงงานชนะเลือกตั้งอังกฤษ https://positioningmag.com/1484411 Tue, 30 Jul 2024 06:43:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484411 วิจัยพบ “ดูไบ” เมืองหลวง UAE มีโอกาสเป็นแหล่งดึงดูด “เศรษฐี” ย้ายประเทศเข้าไปพำนักเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในขณะที่ “สหราชอาณาจักร” น่าจะได้เห็นเศรษฐีย้ายออกราว 17% ภายใน 4 ปี หลังพรรคแรงงานชนะเลือกตั้งและน่าจะออกนโยบายที่ไม่เอื้อต่อคนมีฐานะ

รายงาน Henley Private Wealth Migration เปิดเผยว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) มีโอกาสเป็นประเทศที่สามารถดึงดูด “เศรษฐี” ย้ายถิ่นฐานเข้าไปพำนักเพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

ขณะเดียวกัน Swiss Bank UBS คาดการณ์ว่า “สหราชอาณาจักร” น่าจะเห็นการย้ายออกของเศรษฐีราวๆ 17% ภายในปี 2028 จากปัจจุบันมีเศรษฐีกว่า 3.06 ล้านคน เชื่อว่าใน 4 ปีจะลดเหลือ 2.54 ล้านคนเท่านั้น

เนื่องจากกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง หรือ High-Net Worth Individuals: HNWIs มักจะตัดสินใจลงหลักปักฐานด้วยสิทธิประโยชน์เรื่อง “ภาษี” เป็นหลัก ทำให้นโยบายปลอดภาษีของ “ดูไบ” กลายเป็นสวรรค์เศรษฐีกลางทะเลทราย

กรุงลอนดอน

ตรงกันข้ามกับสหราชอาณาจักร ซึ่งเพิ่งผ่านการเลือกตั้งและกลายเป็นพรรคแรงงานที่กำชัยชนะในครั้งนี้ ทำให้มีแนวโน้มว่าต่อไปรัฐบาลอังกฤษอาจจะออกนโยบายที่ไม่เอื้อต่อผลประโยชน์ของเศรษฐี

Karim Jetha นักลงทุนรายหนึ่งที่ย้ายออกจากสหราชอาณาจักรไปยัง UAE ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า การเลือกย้ายประเทศไปอยู่ใน UAE แทนนั้นมีทั้งแรงผลักและแรงดึงดูด โดยแรงผลักสำคัญคือ “ภาษี” ที่น่าจะปรับขึ้นในอังกฤษหลังพรรคแรงงานชนะเลือกตั้ง เช่น นโยบายหาเสียงของพรรคแรงงานมีการกล่าวถึงการเก็บภาษี VAT กับโรงเรียนเอกชน ซึ่งจะทำให้ค่าเทอมพุ่งขึ้น 20% ทันที ส่วนแรงดึงดูดจาก UAE เกิดจากการดูแลให้ประเทศมีความปลอดภัยสูงในการอยู่อาศัย และปฏิรูปวีซ่าเพื่อให้การย้ายประเทศเกิดง่ายขึ้น

รายงานของ Henley คาดการณ์ว่า UAE จะมีเศรษฐีใหม่ย้ายเข้าประเทศกว่า 6,700 คนภายในสิ้นปี 2024 ทิ้งห่างอันดับ 2 คือ “สหรัฐอเมริกา” ที่คาดว่าจะมีเศรษฐีย้ายเข้าราว 3,800 คนในสิ้นปีนี้

ดูไบ (Photo : Shutterstock)

รายงานฉบับนี้นำเสนอว่าเหตุที่เศรษฐีนิยมย้ายไป UAE เพราะปัจจัยเรื่องไม่เก็บภาษีเงินได้ มีระบบ “Golden Visa” ไลฟ์สไตล์ลักชัวรี และทำเลที่ตั้งสะดวกในการเดินทางไปทั่วโลก

Golden Visa ของ UAE นั้นมีส่วนสำคัญมากในการดึงดูด เพราะการได้วีซ่านี้หมายถึงสิทธิพำนักถาวรในประเทศ และอนุญาตให้ชาวต่างชาติอาศัย ทำงาน และเรียนในประเทศได้ตามต้องการ

Sunita Singh-Dalal พาร์ทเนอร์บริษัท Hourani Private Wealth & Family Offices ในดูไบ กล่าวเสริมว่า ระบบนิเวศในการจัดการความมั่งคั่งของ UAE มีการพัฒนาสูงมากในช่วง 5 ปีหลังมานี้ โดยมีการสร้างโซลูชันเพื่อทำให้การป้องกัน เก็บรักษา และต่อยอดความมั่งคั่งของผู้มีฐานะทำได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น

UAE สร้างแรงดึงดูดจากโครงสร้างพื้นฐานในประเทศด้วย เช่น ระบบโรงเรียนอินเตอร์แข็งแรง ปราบปรามอาชญากรรมให้อยู่ในอัตราต่ำ และบรรยากาศเมืองที่ทันสมัย

ปัจจุบันเศรษฐีส่วนใหญ่ที่ย้ายไปอยู่ “ดูไบ” มักจะมาจากอินเดีย ตะวันออกกลาง รัสเซีย และทวีปแอฟริกา แต่ในระยะหลังพบว่าเศรษฐีอังกฤษและยุโรปก็เริ่มนิยมย้ายไปอยู่แล้วเช่นกัน

เหตุผลเพราะแต่เดิมภาษีอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษนับว่าไม่จูงใจเศรษฐีอยู่แล้ว ด้วยการเก็บภาษีอสังหาฯ สูงถึง 40% หากครอบครองอสังหาฯ ในราคามากกว่า 325,000 ปอนด์ (ประมาณ 15 ล้านบาท) และอนาคตอันใกล้ รัฐบาลอังกฤษยังเตรียมยกเลิกนโยบายไม่เก็บภาษีเงินได้ผู้พำนักอาศัยหากได้มาจากแหล่งรายได้นอกประเทศ (non-dom tax) โดยจะเริ่มปี 2025 แถมพรรคแรงงานยังมีนโยบายเก็บภาษีโรงเรียนเอกชนซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาบุตรหลานเพิ่มขึ้น

ปัจจัยการรีดภาษีผู้มีฐานะ ทำให้ “เศรษฐี” เหล่านี้เตรียมเก็บกระเป๋าและย้ายประเทศไปอยู่ดูไบมากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1484411
‘ฮ่องกง’ ปูพรมแดงรอรับ ‘เศรษฐีจีน’ กลับประเทศ หลัง ‘สิงคโปร์’ เริ่มตรวจสอบเงินชาวต่างชาติจากคดีการ ‘ฟอกเงิน’ https://positioningmag.com/1481939 Tue, 09 Jul 2024 05:51:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481939 จากที่รัฐบาลจีนกำลังเข้มงวดกับการปราบปรามการ หนีภาษี ของบรรดา เศรษฐี รวมถึงการป้องกันทรัพย์สินจากนโยบาย Common Prosperity เพื่อลดความไม่เท่าเทียม ทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีนจึงย่องออกนอกประเทศ โดย สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในปลายทางยอดนิยม

โดยจากรายงานของ Henley & Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการย้ายถิ่นฐาน เผยว่า ในปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีน ที่มีรายได้อย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36.7 ล้านบาท) อพยพออกนอกประเทศถึง 13,800 คน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนเศรษฐีไหลออกนอกประเทศมากสุดในโลก และในปี 2024 นี้ คาดว่าจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 15,200 คน

โดย สิงคโปร์ ถือเป็นปลายทาง Top 3 ที่เศรษฐีจีนย้ายไปอยู่มากที่สุด นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากรัฐออกมาตรการดึงดูดหลายประการ เช่น การลดหย่อนภาษีสำนักงานครอบครัว, โปรแกรมวีซ่าและจัดหาถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ยังเป็นคนเชื้อสายจีนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีฟอกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีความผิดฐานพัวพันกับการพนันออนไลน์ ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับสำนักงานธุรกิจครอบครัว (Family Office) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวที่สิงคโปร์ในอนาคต ทำให้มีมาตรการคุมเข้มเพื่อป้องกันการฟอกเงิน ส่งผลให้ลูกค้าบางส่วนไม่อยากมาใช้บริการสำนักงานธุรกิจครอบครัว เพราะหงุดหงิดกับกระบวนการและคำถามที่ถูกถาม

“สำหรับมหาเศรษฐีบนแผ่นดินใหญ่หลายคน เพราะพวกเขาไม่ชอบการแทรกแซงของรัฐบาลตามอำเภอใจ การตรวจสอบของรัฐบาล หรือการคุกคามต่อความมั่งคั่งส่วนบุคคลของพวกเขา นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาต้องการย้ายเงินออกจากจีน หากสิงคโปร์จะตรวจสอบและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นดินใหญ่ แล้วทำไมพวกเขาถึงอยากไปที่นั่น?” Zhiwu Chen ศาสตราจารย์ด้านการเงินของมหาวิทยาลัยของฮ่องกง กล่าว

ส่งผลให้คาดว่า ฮ่องกง จะได้อ้าแขนรับเศรษฐีจีนกลับมาประมาณ 200 คนในปีนี้ เนื่องจาก ธุรกิจในฮ่องกงกำลังฟื้นตัว โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของฮ่องกงเติบโต 2.1% เป็น 31 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง (5.4 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์)

“ผมเริ่มเห็นมหาเศรษฐีที่เริ่มเข้าไปสร้างธุรกิจสำนักงานครอบครัวในฮ่องกงมากขึ้น หลังธุรกิจของธนาคารเอกชนในจีนฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเติบโตของกลุ่มเดียวกันในสิงคโปร์ชะลอตัวลง ซึ่งหมายความว่าเงินจะย้ายไปสิงคโปร์น้อยลง”

อีกจุดที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินของเศรษฐีจีนที่จะไปสิงคโปร์ตอนนี้มุ่งหน้าไปยังฮ่องกงก็คือ ยอดขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ยอดนิยมของชาวจีนผู้มั่งคั่งจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% เป็น 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023

ขณะที่ พอล ชาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในเดือนนี้ว่า ในปีที่ผ่านมา กระแสเงินไหลเข้าสุทธิของกองทุนพุ่งสูงขึ้น มากกว่าสามเท่า เป็นเกือบ 3.9 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากที่ในปี 2022 กระแสเงินไหลเข้าของกองทุนความมั่งคั่งและธนาคารส่วนตัวลดลงประมาณ 80%

 

Source

]]>
1481939
‘เจฟฟ์ เบโซส์’ ผู้ก่อตั้ง ‘Amazon’ ประกาศจะ “บริจาคทรัพย์สินส่วนใหญ่” ให้การกุศลหากเสียชีวิต https://positioningmag.com/1408474 Tue, 15 Nov 2022 12:02:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408474 ดูเหมือนเหล่ามหาเศรษฐีของโลกจะเริ่มวางแผนที่จะ ‘บริจาคทรัพย์สิน’ ให้กับองค์กรการกุศลกันแล้ว อาทิ ‘บิล เกตส์’ อภิมหาเศรษฐีร่ำรวยติดอันดับต้นของโลก และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ได้วางแผนบริจาคทรัพย์สินมากกว่า 700,000 ล้านบาทให้กับการกุศล ล่าสุด ก็มาถึงคิวของ เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้ก่อตั้ง Amazon

เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้ง Amazon ยักษ์ใหญ่แห่งอีคอมเมิร์ซ และเป็นผู้ที่ครองตำแหน่งมหาเศรษฐีเบอร์ 2 ของโลก ได้เปิดเผยว่า เขาและแฟนสาว ลอเรน ซานเชซ (Lauren Sanchez) เตรียมจะ บริจาคทรัพย์สินส่วนใหญ่ ให้กับการกุศล อาทิ การใช้เพื่อพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมและสังคม แม้จะไม่ได้ระบุจำนวนทรัพย์สินที่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน เจฟฟ์ เบโซส์ มีทรัพย์สินราว 1.24 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.4 ล้านล้านบาท

“ส่วนที่ยากคือ การหาวิธีทำมัน ซึ่งมันไม่ง่ายอย่างที่คิด อย่างการสร้าง Amazon ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความพยายามอย่างมากและเราต้องมีเพื่อนร่วมทีมที่ฉลาดมาก การบริจาคทรัพย์สินเพื่อการกุศลก็เช่นกัน มันไม่ง่าย มันยากจริง ๆ”

ย้อนไปปี 2021 ที่ผ่านมา เจฟฟ์ เบโซส์ ได้ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของ Amazon โดยให้เหตุผลว่าต้องการใช้เวลาให้กับงานการกุศลและโครงการอื่น ๆ มากขึ้น โดยเขาได้จัดตั้งกองทุน Bezos Earth Fund พร้อมบริจาคเงินมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้เป็นเงินตั้งต้นเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ เขาบริจาคเงิน 510.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการกุศลอื่น ๆ นอกจากนี้ เขาเพิ่งบริจาคเงิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับ Dolly Parton นักร้องที่มีส่วนในการช่วยสร้างวัคซีน Moderna เพื่อต่อสู้กับ COVID-19

อย่างไรก็ตาม ในอดีต เจฟฟ์ เบโซส์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่ลงนามในแคมปญ Give Pledge ซึ่งเป็นแคมเปญที่ริเริ่มโดย Bill Gates, Melinda French Gates และ Warren Buffet เพื่อสนับสนุนให้มหาเศรษฐีบริจาคความมั่งคั่งส่วนใหญ่ผ่านการทำบุญ ขณะที่ แม็คเคนซี สก็อตต์ อดีตภรรยาของเขาที่หย่าร้างกันในปี 2019 ได้บริจาคเงินเพื่อการกุศลอย่างมหาศาล โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เธอมอบเงินมากกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ให้กับวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย, กลุ่มสิทธิสตรี และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่น ๆ

Source

]]>
1408474
‘บิล เกตส์’ วางแผน ‘บริจาคทรัพย์สินทั้งหมด’ เพื่อการกุศล https://positioningmag.com/1392849 Sun, 17 Jul 2022 07:42:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392849 ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมักแนะนำให้เราควรระมัดระวังในการจัดสรรเงินเพื่อไม่ให้เงินหมด แต่สำหรับมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลกอย่าง บิล เกตส์ (Bill Gates) กลับมีเป้าหมายในการ บริจาคเงินให้หมด

บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้เปิดเผยว่า เขาได้บริจาคเงิน 2 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 7.3 แสนล้านบาท ให้กับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates พร้อมกับระบุว่า เขาจะ บริจาคทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับมูลนิธิ แม้ว่าชื่อเขาจะหลุดออกจากตำแหน่งบุคคลที่มั่งคั่นที่สุดในโลกก็ตาม

“ผมมีภาระผูกพันที่จะคืนทรัพยากรของผมสู่สังคม เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา และผมหวังว่ามหาเศรษฐีคนอื่น ๆ จะช่วยบริจาคเพิ่มมากขึ้นข้อความที่บิล เกตส์ประกาศผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว

นับตั้งแต่ปี 1994 บิล เกตส์ และอดีตภรรยา เมลินดา เฟรนช์ เกตส์ ได้บริจาคเงินกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญ และถ้าเขาต้องการบริจาคทรัพย์สินทั้งหมด แปลว่าเขาจะบริจาคทรัพย์สินถึง 1.13 แสนล้านเหรียญ จากการประเมินทรัพย์สินทั้งหมดในปัจจุบันของเขาโดยบลูมเบิร์ก

สำหรับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ความยากจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการศึกษา

บิล เกตส์ ระบุว่า มูลนิธิของเขาวางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายประจำปีอีกราว 50% จากประมาณ 6 พันล้านเหรียญเป็น 9 พันล้านเหรียญ ภายในปี 2026 เพื่อเป็นทุนในการวิจัยและพัฒนาในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต บรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และลดการเสียชีวิตของเด็กจากโรคที่ป้องกันได้

“ตอนนี้เป็นที่ชัดเจนว่าความต้องการในทุกพื้นที่ที่เราทำงานมีมากขึ้นกว่าที่เคย เพราะในสมัยของเรามีวิกฤตครั้งใหญ่จำนวนมาก และเราต้องการให้ทุกคนทำมากกว่านี้ นับตั้งแต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ถือเป็นการพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของโลก”

Source

]]>
1392849
‘ฟอร์บส์’ จัดอันดับมหาเศรษฐีโลก ‘อีลอน มัสก์’ ครองเบอร์ 1 ส่วน ‘เจ้าสัวธนินท์’ ติดอันดับ 137 https://positioningmag.com/1380674 Wed, 06 Apr 2022 05:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380674 เป็นประจำทุกปีที่นิตยสารระดับโลกอย่าง ฟอร์บส์ ได้จัดอันดับ มหาเศรษฐีโลก (The World’s Billionaires) ที่มีทรัพย์สินมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 33,000 ล้านบาท โดยที่น่าสนใจคือ จำนวนมหาเศรษฐีปีนี้ลดลง เนื่องจากปัญหาสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

สำหรับมหาเศรษฐีในปี 2565 นี้ มีจำนวนลดลงกว่าปีที่แล้ว 87 คน แม้จะมีเศรษฐีหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 236 ราย ก็ตาม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาวะสงคราม, โรคระบาด และตลาดที่ซบเซา ขณะที่มหาเศรษฐีที่ติดอันดับเหล่านี้มีทรัพย์สินรวมกันมูลค่า 12.7 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลงกว่าในปี 2564 ถึง 400,000 ล้านดอลลาร์ โดยในประเทศรัสเซีย มีมหาเศรษฐีลดลง 34 คนจากปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เศรษฐีพันล้านจำนวนกว่า 1,000 คนก็มีฐานะร่ำรวยขึ้น

สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำของโลก โดยมีมหาเศรษฐี 735 คน ซึ่งมีมูลค่ารวม 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วน ประเทศจีน (รวมถึงมาเก๊าและฮ่องกง) ยังคงเป็นที่สอง โดยมีมหาเศรษฐี 607 คน มูลค่ารวม 2.3 ล้านล้านดอลลาร์

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก

สำหรับ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของโลก ในปีนี้ อีลอน มัสก์ นักธุรกิจและนักลงทุนชาวอเมริกัน-แอฟริกาใต้ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัทเทสลาก็ครองตำแหน่งนี้ไป โดยมีมูลค่าทรัพย์สินโดยรวม 219,000 ล้านดอลลาร์ แซง เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งอเมซอน บริษัทค้าปลีกออนไลน์ชื่อดังสัญชาติเดียวกัน โดยมีทรัพย์สินรวมที่ 171,000 ล้านดอลลาร์

มาที่ประเทศไทย มีมหาเศรษฐีที่ติดอันดับรวมทั้งสิ้น 28 คน นำโดย เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยอยู่ อันดับที่ 137 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินโดยรวม 13,500 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งติดอันดับที่ 103 มีทรัพย์สินโดยรวม 18,100 ล้านดอลลาร์

เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

นอกจากนี้ยังมี เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ในเครือ ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด หรือเจ้าของอาณาจักร เบียร์ช้าง อยู่ อันดับที่ 156 มีทรัพย์สินโดยรวม 12,000 ล้านดอลลาร์ ตามด้วย นายสารัชถ์ รัตนาวะดี เจ้าของ gulf ธุรกิจด้านพลังงานของไทย ติด อันดับที่ 161 มีทรัพย์สินโดยรวม 11,800 ล้านดอลลาร์

เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

Source

]]>
1380674
สหรัฐฯ เล็งเก็บภาษี ‘มหาเศรษฐี’ ขั้นต่ำ 20% ย้ำคนรวยต้องจ่ายภาษีมากกว่า ‘ครู’ https://positioningmag.com/1379560 Tue, 29 Mar 2022 04:19:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379560 ในปีที่ผ่านมา รายงานฉบับล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า คนร่ำรวยระดับ top 1% ของอเมริกา ไม่ได้จ่ายภาษี 163,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่คนร่ำรวยระดับ top 5% ก็ไม่ได้จ่ายภาษีเป็นมูลค่า 307,000 ล้านดอลลาร์ รายได้ที่สูญเสียไปทำให้รัฐบาลมีแผนจะกำหนด ภาษีขั้นต่ำ ของเหล่ามหาเศรษฐีให้อยู่ที่ 20%

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีแผนจะเสนอภาษีขั้นต่ำใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2023 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เหล่ามหาเศรษฐี โดยเรียกว่า ภาษีเงินได้ขั้นต่ำของมหาเศรษฐี โดยจะประเมินอัตราภาษีขั้นต่ำที่ 20% สำหรับครอบครัวที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีประมาณกว่า 700 ครอบครัว และภาษีนี้ยังตั้งเป้ากำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น หุ้น ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีจนกว่าจะขาย

“ภาษีขั้นต่ำนี้จะช่วยให้แน่ใจว่าคนอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุดจะไม่จ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าครูและนักดับเพลิงอีกต่อไป”

ทั้งนี้ ผลการศึกษาของรัฐบาลพบว่า ระหว่างปี 2010-2018 เศรษฐีระดับพันล้านราว 400 ครัวเรือน เสียภาษีเฉลี่ยแค่ 8.2% ของรายได้ ซึ่งถือว่า ต่ำกว่าครัวเรือนชาวอเมริกันอีกมากมาย ซึ่งการจัดเก็บภาษีที่เสนอนี้ คาดว่าจะเพิ่มรายได้ประมาณ 3.6 แสนล้านดอลลาร์ใน 10 ปีข้างหน้า

นักวิเคราะห์มองว่า แผนการนี้จะเปลี่ยนแปลงการเสียภาษีของเหล่าเศรษฐีพันล้านสหรัฐฯ ตามการคำนวณของกาเบรียล ซุคแมน นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ ระบุว่า อีลอน มัสก์ ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วน เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งอเมซอน ต้องจ่ายเพิ่มราว 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์

ในปีงบประมาณ 2021 การขาดดุลของรัฐบาลกลางมีมูลค่าเกือบ 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ แต่น้อยกว่าในปี 2020 ประมาณ 3.6 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังการระบาดยังเป็นปัจจัยในการลดการขาดดุลอีกด้วย โดยทำเนียบขาวให้เครดิตกับแผนการกู้ภัยของอเมริกา ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการบรรเทาทุกข์แก่ชาวอเมริกันในช่วงวิกฤตโควิด ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต 5.7% ในปี 2021

Source

]]>
1379560
10 มหาเศรษฐีโลก “รวยขึ้น” 2 เท่า ในช่วง COVID-19 เพิ่มเฉลี่ย 1,300 ล้านเหรียญ/วัน https://positioningmag.com/1370663 Tue, 18 Jan 2022 09:15:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370663 มูลนิธิอ็อกซ์แฟม (Oxfam) เผย 10 มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีก “เท่าตัว” ในช่วง 2 ปีแรกที่โลกเผชิญกับโรคระบาดใหญ่ COVID-19 ในขณะที่ปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมทางรายได้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

รายงานที่อ็อกซ์แฟมเผยแพร่วันที่ 17 ม.ค. ระบุว่า มหาเศรษฐีระดับท็อป 10 ของโลกมีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มเฉลี่ยถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ต่อวัน

อ็อกซ์แฟมเป็นสมาพันธ์องค์กรการกุศลที่มุ่งบรรเทาปัญหาความยากจนทั่วโลก ระบุด้วยว่า มหาเศรษฐีกลุ่มนี้มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 เร็วที่สุดในรอบ 14 ปี ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญภาวะถดถอย (recession) ครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่กรณีตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่มเมื่อปี 1929

รายงานฉบับนี้เตือนว่า ความไม่เท่าเทียมดังกล่าวถือเป็น “ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ” (economic violence) และมีส่วนทำให้ประชากรเฉลี่ย 21,000 คนต่อวันต้องเสียชีวิตจากการเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพ เผชิญความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ เผชิญความหิวโหย และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อ็อกซ์แฟมระบุด้วยว่า COVID-19 ทำให้ประชากรโลกเข้าสู่วงจรความยากจนเพิ่มขึ้นถึง 160 ล้านคน โดยชาติพันธุ์กลุ่มน้อยต่างๆ ที่ไม่ใช่คนผิวขาว (non-white ethnic minorities) และสตรีเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

องค์กรเพื่อการกุศลแห่งนี้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปภาษี เพื่อนำมาเป็นทุนอุดหนุนการผลิตวัคซีนสำหรับทั่วโลก รวมถึงสนับสนุนบริการด้านสุขภาพ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศ และการต่อต้านความรุนแรงบนฐานของเพศสภาพ เพื่อรักษาชีวิตผู้คน

อ็อกซ์แฟมอ้างอิงรายชื่อมหาเศรษฐีโลกประจำปี 2021 ที่จัดทำโดยนิตยสารฟอร์บส และคำนวณมูลค่าทรัพย์สินโดยอาศัยแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย และครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สำหรับ 10 สุดยอดมหาเศรษฐีโลกตามการจัดอันดับของฟอร์บส ได้แก่

  • อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเทสลาและสเปซเอ็กซ์
  • เจฟฟ์ เบซอส เจ้าพ่อแอมะซอน
  • แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิล
  • มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก
  • บิล เกตส์ และ สตีฟ บอลล์เมอร์ อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์
  • แลร์รี แอลลิสัน อดีตซีอีโอออราเคิล
  • วอร์เรน บัฟเฟตต์ เศรษฐีชาวอเมริกันเจ้าของฉายา “พ่อมดการลงทุน”
  • แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ ประธานและซีอีโออาณาจักรแบรนด์หรูของฝรั่งเศส LVMH

Source

]]>
1370663
พิษโควิด 2 ปีทำ ‘คนจน’ ทั่วโลกพุ่งแตะ 100 ล้านคน เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี https://positioningmag.com/1368872 Mon, 27 Dec 2021 06:41:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368872 ธนาคารโลกประมาณการว่าประชากรกว่า 97 ล้านคนทั่วโลกตกอยู่ในความยากจนอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ในปี 2020 โดยมีรายได้ไม่ถึง 2 ดอลลาร์หรือราว 70 บาทต่อวัน โดยถือเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ขณะที่เหล่ามหาเศรษฐียิ่งทวีความร่ำรวย

ตั้งแต่ทั่วโลกได้เผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ความยากจนก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดยังคงอยู่ โดยในปี 2564 นี้มีจำนวนประชากรถึง 97 ล้านคน โดยมีจำนวนคนจนที่สุดในโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีตามการระบุของธนาคารโลก

Carolina Sánchez-Páramo ผู้อำนวยการระดับโลกด้านความยากจนและความเสมอภาคของ World Bank เปรียบว่าโรคระบาดใหญ่กับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วกว่าสึนามิที่มีศูนย์กลางในเอเชียตะวันออก ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันยิ่งเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ผู้คนหลายสิบล้านกำลังตกต่ำลง คนรวยมากก็ร่ำรวยขึ้น โดยเหล่าเศรษฐีกว่า 1,000 คน ใช้เวลาเพียง 9 เดือนในการฟื้นคืนความมั่งคั่งในช่วงการระบาดใหญ่ แต่กับคนจน พวกเขาอาจต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีเพื่อฟื้นตัว ตามรายงานความไม่เท่าเทียมกันประจำปีของ Oxfam International ที่เผยแพร่ในเดือนมกราคม

ชาเมรัน อาเบด กรรมการบริหารของ BRAC International ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วทั้งเอเชียและแอฟริกา ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างความมั่งคั่งที่กว้างขึ้น โดยกล่าวว่า

“คนที่ร่ำรวยที่สุด 3 คนของโลก อาจยุติความยากจนข้นแค้นบนโลกได้”

“แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของพวกเขาอย่างเดียว แต่แค่บอกว่าพวกเขามีทรัพยากรเพียงพอในการจัดการกับปัญหา”

Carolina Sánchez-Páramo กล่าวต่อว่า หนึ่งในทางที่จะช่วยได้ก็คือ ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงวัคซีนหรือการรักษาบางอย่างสำหรับการระบาดใหญ่ได้อย่างเท่าเทียม เพราะจนกว่าคุณจะควบคุมการระบาดได้ มันยากมากที่จะคิดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีนได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายแห่งได้กักตุนซื้อปริมาณมากพอที่จะฉีดวัคซีนให้กับประชากรของพวกเขาหลายครั้ง

นอกจากนี้ เหล่ามหาเศรษฐีที่มี 1% อยู่ภายใต้แรงกดดันในประเด็นด้านมนุษยธรรม โดยในเดือนพฤศจิกายน ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คนคือ เจฟฟ์ เบซอส และ อีลอน มัสก์ ตระหนักถึงปัญหา โดยกล่าวว่า การให้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2% ของมูลค่าสุทธิของ อีลอน มัสก์ สามารถช่วยแก้ปัญหาความหิวโหยของโลกได้

“6 พันล้านเพื่อช่วย 42 ล้านคนที่จะตายอย่างแท้จริง”

โดยการเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบสนองโดยตรงจาก อีลอน มัสก์ ซึ่งเขาทวิตบน Twitter ว่า “หากองค์กรสามารถจัดวางวิธีการที่เงินทุนจะแก้ปัญหาได้ เขาจะขายหุ้นของ Tesla ทันทีเพื่อช่วยเหลือ”

Source

]]>
1368872
จับตา Keyence Corp. ดันมหาเศรษฐีคนใหม่ของญี่ปุ่น ทำเงินอัตโนมัติ 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์!! https://positioningmag.com/1356152 Mon, 11 Oct 2021 15:35:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356152 ช่วงเดือนกันยายน 64 สื่อทั่วโลกตื่นตัวกับข่าวว่าผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ชื่อ “คีย์เอ็นซ์” (Keyence Corp.) สามารถแซงหน้า “ทาดาชิ ยานาอิ” (Tadashi Yanai) มหาเศรษฐีแห่งอาณาจักร Uniqlo กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในญี่ปุ่นแบบอัตโนมัติ เพราะมูลค่าหุ้นที่พุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่าต่อเนื่อง 1-2 ปีที่ผ่านมา

ความพิเศษของ Keyence Corp. ทำให้โลกส่องสปอตไลท์ไปที่ “ทาเคมิตซึ ทาคิซากิ” (Takemitsu Takizaki ) ซึ่งปัจจุบันมีทรัพย์สินมูลค่า 3.82 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.2 ล้านล้านเยน) หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท ตามดัชนีมหาเศรษฐีของบลูมเบิร์ก Bloomberg Billionaires Index หุ้นของบริษัท Keyence Corp. เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตั้งแต่ต้นปี 63 สวนทางกับยานาอิแห่งบริษัท Fast Retailing Co. ซึ่งสูญเสียความมั่งคั่งมากกว่า 1 ใน 5 ตลอด 3 ไตรมาสของปี 64 จนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.56 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

สถานการณ์นี้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในวงการธุรกิจโลก นั่นคือผู้ประกอบการในโรงงานอัตโนมัติ อาจกำลังเข้ามาแทนที่เจ้าพ่อค้าปลีก ที่สร้างความร่ำรวยเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ กรณีของ Keyence Corp. จึงเป็นตัวอย่างสำคัญว่า ภูมิทัศน์ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

หุ้นบลูชิพพุ่งแรง

นักวิเคราะห์วงในเชื่อว่า Keyence ได้รับแรงหนุนจากการรวมอยู่ในดัชนีหุ้นบลูชิพ 225 ของญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงหุ้นบลูชิพ (blue-chip) 225 อันดับแรกที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เช่น Sony, Canon, Toyota, Nissan และ Honda

บริษัทที่จะได้รับจัดอันดับเป็นหุ้นบลูชิพ ต้องเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่สูง มีชื่อเสียงไร้ที่ติ และประสบความสำเร็จมานานปี กรณีของ Keyence ศักยภาพของบริษัทเริ่มจากที่ทาคิซากิก่อตั้ง Keyence ในปี 1974 และก่อร่างสร้างบริษัทอย่างต่อเนื่องในฐานะผู้ผลิตเซ็นเซอร์ เครื่องมือวัด ระบบวิชันซิสเต็ม และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับใช้ในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม

Keyence ถูกมองว่าเป็นบริษัทที่ไม่ค่อยส่งเสียงและปรากฏตัวต่อสาธารณชนมากนัก บริษัทมีรากฐานอยู่ในโอซากา และเป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อเรื่องอัตรากำไรที่สูงและการให้ค่าตอบแทนพนักงานอย่างงาม

ตามสถิติพบว่าพนักงาน Keyence เป็นหนึ่งในกลุ่มพนักงานที่มีรายได้ดีที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีรายได้เฉลี่ย 170,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 5.7 ล้านบาท)

นอกจากศักยภาพภายใน ปัจจัยภายนอกอย่างภาวะเศรษฐกิจที่เอื้อจนทำให้ธุรกิจขยายตัว ทำให้หุ้นของ Keyence เพิ่มขึ้น 96% ตั้งแต่ต้นปี 2020 ทำให้บริษัทมีมูลค่าตลาดประมาณ 18.4 ล้านล้านเยน ส่งให้ Keyence เป็นบริษัทขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในญี่ปุ่นรองจาก Toyota Motor Corp.

นักวิเคราะห์จาก Bloomberg Intelligence มองว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้กระตุ้นความต้องการระบบอัตโนมัติของโรงงาน เนื่องจากรัฐบาลทั่วโลกกำหนดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งหมดเอื้อให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานของ Keyence พุ่งขึ้นอีกมากกว่า 50%

หุ้นของ Keyence พุ่งขึ้นอีกเมื่อช่วงต้นกันยายน 64 หลังจากที่บริษัทได้รับการประกาศเพิ่มตำแหน่งในดัชนี Nikkei 225 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยบริษัทที่มีชื่อเสียงอย่าง Nintendo Co. ผู้ผลิตคอนโซลเกม Switch ก็เป็น 1 ใน 3 บริษัทที่ได้รับเลือกให้เข้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา

ความเคลื่อนไหวนี้เรียกความสนใจได้มาก เพราะ Nikkei 225 เป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักราคาตลาด ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยของราคาหุ้นของทุกบริษัทที่รวมอยู่ โดยในหนังสือชี้ชวนของ Nikkei 225 ระบุว่าดัชนี JP225 จะถูกคำนวณทุก 5 วินาทีในขณะที่ตลาดหุ้นโตเกียวเปิดอยู่ เหตุผลที่นักลงทุนนิยมเทรดหุ้นกลุ่ม Nikkei 225 เนื่องจากความเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำที่สุดในตลาดการเงิน ซึ่งหากบริษัทใดในตารางสูญเสียมูลค่าไป บริษัทที่กำลังเติบโตบริษัทอื่นก็จะชดเชยการร่วงลงนั้น ทำให้ราคาดัชนี Nikkei 225 ทั้งหมดจะไม่ลดลงดิ่งเหว แต่อาจเพิ่มขึ้นได้แม้ว่าหุ้นบางตัวจะร่วงลง

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของบริษัทที่ปรึกษา Ichiyoshi Asset Management Co. ในโตเกียว เชื่อว่าการ Keyence จะถูกจัดเป็นหนึ่งในตาราง Nikkei 225 ในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งยังต้องรอดูปัจจัยสำคัญอื่นเนื่องจาก Keyence เพิ่งจะถูกเพิ่มเข้ามา จุดนี้ Keyence ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น ทำให้ยังไม่มีข้อมูลความเชื่อมั่นจากบริษัทอย่างเป็นทางการ

รวยอันดับ 9 ของเอเชีย

สำหรับทาคิซากิซึ่งเป็นเจ้าของ Keyence ในสัดส่วน 21% รายงานระบุว่า Keyence ได้เพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้อีก 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 64 ทำให้ขณะนี้ ทาคิซากิกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 9 ในเอเชีย ตามดัชนีของ Bloomberg

การขึ้นตำแหน่งแชมป์ของทาคิซากิ เป็นการแทนที่ ยานาอิ ผู้ก่อตั้ง Fast Retailing ซึ่งสูญเสียทรัพย์สินไปมากกว่า 9.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 หรือประมาณ 21% ของทรัพย์สินทั้งหมด เนื่องจากหุ้นของเจ้าของ Uniqlo ร่วงลง 18% หลังจาก Fast Retailing ปรับลดประมาณการกำไรจากการดำเนินงานทั้งปี ซึ่งประกาศชัดเจนในเดือนกรกฎาคม 64 ว่าเป็นผลจากยอดขายช่วงฤดูร้อนที่อ่อนแอในญี่ปุ่น และมาตรการของรัฐในการควบคุม COVID-19 ในหลากประเทศทั่วเอเชีย โดย “มาซาโยชิ ซัน” (Masayoshi Son) ผู้ก่อตั้ง SoftBank Group Corp. ยังคงเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 3 ของญี่ปุ่นด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2.73 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

สำหรับทาคิซากิวัย 76 ปี ตามประวัติระบุว่าไม่ได้เข้าเรียนในวิทยาลัย แต่สามารถประดิษฐ์เซ็นเซอร์ที่แม่นยำ เพื่อใช้ในสายการประกอบของอุตสาหกรรม สินค้าเด่นคือเซ็นเซอร์สำหรับใช้สร้างรถยนต์สำหรับโตโยต้า ขณะนี้ ทาคิซากิเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของ Keyence หลังจากก้าวลงจากตำแหน่งประธานในปี 2558

ล่าสุด Keyence ถูกบันทึกมูลค่าการซื้อขายที่ประมาณ 63 เท่าของรายได้โดยประมาณ จุดนี้นักวิเคราะห์ของ Bloomberg Intelligence เชื่อว่า Keyence จะยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทั้งในและนอกบ้านเกิด โดยสัดส่วนขณะนี้ชี้ว่ามากกว่า 40% ของรายได้ Keyence ยังคงมาจากประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับมีศักยภาพสูงที่จะเติบโตในต่างประเทศ.

ที่มา :

]]>
1356152
กางโผ 10 มหาเศรษฐีเอเชีย “อินเดีย” ครองแชมป์ จีนติดอันดับ 6 คน https://positioningmag.com/1355293 Wed, 06 Oct 2021 14:09:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355293 สื่อจีนรายงานว่า ผู้ประกอบการชาวจีน 6 รายได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 10 มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียในปี 2564 จากการจัดอันดับประจำปีครั้งที่ 35 ของฟอร์บส์ โดย อีก 4 ราย เป็นผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น และอินเดีย ชาติละ 2 ราย

การเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนอย่างรวดเร็วและราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้น คือปัจจัยทำให้จำนวนมหาเศรษฐีในรายชื่อผู้มั่งคั่งที่สุดในโลกประจำปีครั้งที่ 35 ของ Forbes เพิ่มเป็น 2,755 สูงสุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพิ่มจากปีที่แล้ว 660 คน

มาดู 10 อันดับมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชียในปี 2564 กัน

อันดับ 1 มูเกช แอมบานี (Mukesh Ambani)

  • ประเทศ: อินเดีย
  • อุตสาหกรรม: ธุรกิจหลากหลาย ประกอบด้วย พลังงาน ปิโตรเคมี เทเลคอม ค้าปลีก และอื่นๆ
  • มูลค่าสุทธิ: 8.45 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 10

อันดับ 2 จงสานส่าน (Shanshan)

  • ประเทศ: จีน
  • อุตสาหกรรม: อาหารและเครื่องดื่ม
  • มูลค่าสุทธิ: 6.89 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 13
Zhong Shanshan
(เเฟ้มภาพ- Photo by Jiang Xin/VCG via Getty Images)

อันดับ 3 หม่า ฮว่าเถิง (Ma Huateng)

  • ประเทศ: ประเทศจีน
  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี
  • มูลค่าสุทธิ: 6.58 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 15

อันดับ 4 โคลิน หวง เจิ้ง (Colin Huang Zheng)

  • ประเทศ: จีน
  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี
  • มูลค่าสุทธิ: 5.53 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 21

อันดับ 5 กอทัม อดานี (Gautam Adani) และครอบครัว

  • ประเทศ: อินเดีย
  • อุตสาหกรรม: Diversified
  • มูลค่าสุทธิ: 6.65 หมื่นล้านดอลลาร์ (ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
  • อันดับโลกโดยรวม: 24

อันดับ 6 แจ็ค หม่า (Jack Ma)

  • ประเทศ: ประเทศจีน
  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี
  • มูลค่าสุทธิ: 4.84 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 26
(Photo by Chesnot/Getty Images)

อันดับ 7 มาซาโยชิ ซน (Masayoshi Son)

  • ประเทศ: ญี่ปุ่น
  • อุตสาหกรรม: โทรคมนาคม
  • มูลค่าสุทธิ: 4.54 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 29

อันดับ 8 ทาดาชิ ยานาอิ (Tadashi Yanai) และครอบครัว

  • ประเทศ: ญี่ปุ่น
  • อุตสาหกรรม: แฟชั่นและการค้าปลีก
  • มูลค่าสุทธิ: 4.41 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 31

อันดับ 9 หวังเหว่ย (Wang Wei)

  • ประเทศ: ประเทศจีน
  • อุตสาหกรรม: บริการ
  • มูลค่าสุทธิ: 4.41 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 31

อันดับ 10 เฮ่อ เสียงเจี่ยน (He Xiangjian)

  • ประเทศ: ประเทศจีน
  • อุตสาหกรรม: การผลิต
  • มูลค่าสุทธิ: 3.77 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อันดับโลกโดยรวม: 37

Source

]]>
1355293