มาม่าโอเค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 12 Feb 2019 03:05:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาดบะหมี่ซองโตอืด ‘มาม่า’ อยากโต ต้อง “โก” ประเทศเพื่อนบ้าน  https://positioningmag.com/1213380 Mon, 11 Feb 2019 11:18:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213380 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยอยู่ในสภาพโตถดถอยต่อเนื่อง “มาม่า” ซึ่งครองตลาดเกินครึ่งก็ยอมรับว่าอยู่ในภาวะ “อิ่มตัว” มาตลอด  

พิพัฒ พะเนียงเวทย์ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ มาม่า เปิดเผยว่า ภาพรวมของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย การเติบโตเริ่มลดน้อยถอยลง และโอกาสที่จะผลักดันให้ตลาดรวมเติบโตมากเหมือนในอดีตคงยาก

เมื่อตลาดในประเทศไม่เป็นใจ ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จึงต้องสร้างโอกาสใหม่ๆ ด้วยการขยับไปลงทุนต่างประเทศ ด้วยการลงทุนในสร้างฐานการผลิตใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจและขยายตลาดเพิ่มขึ้น

โดยเลือกประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง 2 แห่ง อย่าง เมียนมา และกัมพูชา เป็นเป้าหมายหลักในการขยายตลาด

โดยใช้งบประมาณรวม 660 ล้านบาท เพื่อลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใหม่อีก 2 แห่ง ที่เมียนมากับกัมพูชา โดยจะสร้างโรงงานใหม่ ที่เมืองมัณฑะเลย์ เนื้อที่โรงงาน 16 ไร่ งบลงทุน 330 ล้านบาท ซึ่งหากโรงงานใหม่นี้แล้วเสร็จ จะเป็นโรงงานที่ 3 ในเมียนมา จากเดิมที่มีอยู่ 2 โรงงานผลิต และจะมีกำลังผลิตใหม่เพิ่มอีก 1 เท่าตัว

ปัจจุบันอัตราการบริโภคของคนเมียนมาต่ำแค่ 11.1 ซองต่อคนต่อปี เท่านั้นเอง ถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับตลาดในประเทศไทย ที่บริโภคเฉลี่ย 49 ซองต่อคนต่อปีแล้ว

เพราะเป้าหมายหลักของมาม่าในเมียนมา คือการผลักดันให้แบรนด์มาม่ามียอดขายรวมเป็นผู้นำตลาดให้ได้ภายในปี 2563 ซึ่งปัจจุบันมาม่ามีแชร์ประมาณ 30% ในเมียนมา เป็นเบอร์สองรองจากแบรนด์ยำยำจากไทยเช่นกัน

ส่วนอีกแห่งที่ลงทุนสร้างโรงงานผลิตใหม่คือ ที่พนมเปญ กัมพูชา ด้วยงบลงทุนประมาณ 330 ล้านบาท ขณนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตก่อสร้าง คาดว่าอีกประมาณ 2 เดือนจากนี้จะเริ่มก่อสร้างโรงงานได้

นอกจากที่เมียนมากับกัมพูชาแล้ว มาม่ายังมีฐานการผลิตในต่างประเทศอีกหลายแห่ง คือที่ ลาว 1แห่ง มีกำลังการผลิตมาม่าประมาณ 40,000 หีบต่อเดือน และยังมีการนำเข้าบะหมี่ซองจากไทยไปด้วยประมาณ 40,000 หีบ และแบบถ้วยอีก 140,000 หีบ และยังมีโรงงานที่บังกลาเทศกับฮังการีด้วย

บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายปี 62 มียอดขายรวมเติบโต 3.5% เพิ่มขึ้นจากปี 61 ที่มียอดขาย 12,460 ล้านบาท เติบโต 5.49% แบ่งสัดส่วนรายได้มาจากในประเทศ 70% และต่างประเทศ 30%.

ส่วนฐานการผลิตในไทย ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาได้เริ่มนำระบบเครื่องจักรผลิตอัตโนมัติเข้ามาทดลองใช้ในโรงงานที่ลำพูน 2 แห่งแล้ว และมีแผนที่จะขยายการใช้เครื่องจักรผลิตอัตโนมัตินี้ไปยังโรงงานที่ระยอง และชลบุรี อีกด้วย.

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9620000014370

]]>
1213380
แข่งกันกินเผ็ด แซ่บเว่อร์! ทำบะหมี่ฯ เกาหลีโตแรง 600% “มาม่า” ทนไม่ไหว เกาะกระแส ส่ง “ฮอตโคเรียน” ประชันตลาด https://positioningmag.com/1164191 Sun, 01 Apr 2018 23:15:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164191 หลายปีที่ผ่านมาเกาหลีกลายเป็นประเทศที่ส่งออกวัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์ ซีรีส์เกาหลี “บุกตลาดโลก” และกระแส K-pop ไม่ได้ฮิตแค่นั้น แต่ปัจจุบันที่แรง! ไม่แพ้กันคือเรื่องอาหารการกิน มีปิ้งย่างเกาหลี คนเห่อกินกิมจิ ต๊อกโบกี (topbokk) ชาบูชาบู เป็นต้น

แต่ 2 ปีที่ผ่านมา อาหารที่ฮิตและท้ากันให้ลองบนโลกโซเชียล เห็นจะเป็น “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” รสจัดจ้านจากเกาหลี และกลายเป็นอีกสินค้าที่เข้าตีตลาดไทยจนกระจุย ด้วยจุดขาย “เผ็ด แซ่บ แห้ง” กินกันให้ปากเจ่อเลยทีเดียว 

ตลาดบะหมี่นำเข้าถือเป็นบะหมี่ในเซ็กเมนต์พรีเมียม แบรนด์นำเข้าส่วนใหญ่ที่ตบเท้ามาเจาะตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยมีทั้งอินโดนีเซียอย่าง Indomie Mie, ญี่ปุ่นอย่างนิชชิน นู้ดเดิล ซึ่งทำตลาดมานานมาก และเกาหลี ซึ่งไม่ต่ำกว่า 4-5 แบรนด์ แต่ที่ดังและทำตลาดปังมากสำหรับสาวกคนกินเส้นต้องยกให้แบรนด์ “ซัมยัง” (SAMYANG) เบอร์ 3 จากเกาหลี แต่เป็นบอร์ 1 ในไทยสำหรับบะหมี่เผ็ดแซ่บ, เสริมทัพด้วยแบรนด์ “นองชิม” (NONG SHIM) เบอร์ 1 ของเกาหลี และโอโตกิ (Ottoki)

ปัจจุบันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่าประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาท เติบโตเพียง 3% เท่านั้น โดยตลาดแบ่งเป็นบะหมี่โลคัลแบรนด์หรือผู้ผลิตในประเทศทั้งมาม่า ไวไว และยำยำ กินสัดส่วนตลาด 90% และเป็นบะหมี่นำเข้า 10% 

ตลาดรวมที่โตต่ำเพียง 3% เมื่อชำแหละลงไปจะพบว่า บะหมี่โลคัลแบรนด์นั้น “ติดลบ” 1-3% สวนทางกับบะหมี่นำเข้าที่โตทะลุทะลวง 600% ต่อเนื่องมา 2 ปีแล้ว สิ่งที่ทำให้บะหมี่เกาหลีประสบความสำเร็จ คือห้างค้าปลีกที่นำเข้ามาขายจะได้เอ็นจอยกับ “กำไร” (Margin) ในระดับที่ดี จูงใจให้มีการขายมากขึ้น ส่วนสูตรการตลาดที่ทำให้สินค้าดังเว่อร์คงหนีไม่พ้นการ “ท้าให้ลอง” จากบรรดา Influencer บนโลกออนไลน์ ปั่นกระแสให้คนต้องรับคำท้า สุดท้ายทำให้เกิดการทดลองแล้วแชร์ต่อนั่นเอง

สถานการณ์ดังกล่าว “มาม่า” ในฐานะเจ้าตลาดต้องแก้เกม เพราะตลาดบะหมี่ในประเทศที่โตลดลง ส่วนหนึ่งเพราะเจ้าตลาดอย่าง “มาม่า” ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 50% ยอดขายลดด้วย เป้าหมายตั้งไว้ว่าจะเติบโตในปี 2560 กลับไม่โตอย่างที่หวังไว้ แต่ปีนี้บริษัทขอตั้งเป้าโต 8% พร้อมทั้งส่งสินค้าสูตรใหม่มาสู้ศึกบะหมี่เผ็ดแซ่บแห้งในชื่อ “มาม่าโอเค” หรือ มาม่า ออเรียนทัลคิท รสฮอตโคเรียน เรียกว่านำมาเกาะกระแสและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

“ตอนนี้ผู้บริโภคชอบกินบะหมี่เผ็ดๆ แห้งๆ แพงเท่าไหร่ก็ซื้อ ขอให้เผ็ด ขอให้แห้ง แล้วมาม่าทำอะไรอยู่ หลับอยู่หรือเปล่า ต้องบอกว่าเราพิ่งผลิตมาม่ารสชาติใหม่ออกจากโรงานสดๆ ร้อนๆ รสชาติเผ็ดแห้งสะใจ การันตีด้วยความเป็นมาม่า และสินค้าตัวใหม่นี้เราต้องการรับกับกระแสบะหมี่ฯพรีเมียม” เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) บอก

มาม่าเผ็ด แซ่บ แห้ง ไม่ได้มีแค่พอร์ตพรีเมียม เพราะปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ได้ออกสินค้าใหม่ “มาม่ากะเพราแซ่บแห้ง” เอาใจคนไทยกับเมนูยอดฮิตก่อนจะเสริมด้วยเผ็ดร้อนแบบเกาหลีนั่นเอง

สูตรการตลาดของมาม่า ฮอตโคเรียน เพื่อท้ารบบะหมี่ฯ เกาหลี คือวาง Positioning เป็นพรีเมียมแต่ราคาขาย 15 บาท “ต่ำกว่า” แบรนด์นำเข้าทั้งหลายที่ขายกันตั้งแต่ 30 บาทขึ้นไปต่อซอง และเป็นปกติที่สินค้าใหม่ออกมา มาม่ามักเล่นกับผู้บริโภคโลกโซเชียล ไถ่ถามกันว่าใครลองแล้วบ้าง เป็นการหยั่งกระแสความชอบจากตลาดด้วย

มาม่าโอเค เป็นความหวังของสหพัฒนพิบูลอย่างมาก เพราะแค่ปีนี้บริษัทตั้งเป้าโกยยอดขาย 200 ล้านบาท เพื่อดันให้ยอดขายรวมกับมาโตได้ 8% ที่ 11,000 ล้านบาท จากปีก่อน 10,300 ล้านบาท

ต้องมาดูว่าเผ็ดแซ่บแบบมาม่า จะสู้เกาหลีไหวไหม ลุ้น!

]]>
1164191