มิสยูนิเวิร์ส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 31 Dec 2021 13:26:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 อันดับประเด็นร้อนแรงบนโลกโซเชียลแห่งปี 2564 “โควิด-19” ครองแชมป์ https://positioningmag.com/1369215 Thu, 30 Dec 2021 14:09:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369215 ก้าวเข้าสู่วันสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งเป็นอีกปีหนึ่งที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นบนโลกโซเชียล ไวซ์ไซท์จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE เพื่อวิเคราะห์และจัดอันดับประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงมากที่สุด โดยเก็บข้อมูลช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม-28 ธันวาคม 2564 เรามาดูกันดีกว่าว่าระหว่าง 1 ปีที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง

อันดับที่ 1 สถานการณ์โควิด-19 (119,499,177 เอ็นเกจเมนต์)

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันยังคงน่าเป็นห่วง หลังจากผ่านการล็อกดาวน์ ปิดประเทศ จนเปิดประเทศล่าสุด ก็ต้องเจอกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอมิครอน’ อีกระลอก ทำให้ปีนี้ ประเด็นโควิดมาเป็นอันดับ 1 บนโลกโซเชียล

อันดับที่ 2 ปรากฏการณ์ลิซ่าฟีเวอร์ (98,967,525 เอ็นเกจเมนต์)

เมื่อวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา ลลิษา มโนบาล หรือที่รู้จักกันดีในนาม ลิซ่า แบล็กพิงก์ หนึ่งในสมาชิกของวงเกิร์ลกรุ๊ปจากประเทศเกาหลีใต้ ได้ปล่อยอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับโลกออนไลน์อย่างมาก ทั้งประเด็นการเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวคนแรกที่มียอดเข้าชมผ่านช่องทาง YouTube มากกว่า 10 ล้านครั้งภายใน 1 ชั่วโมงครึ่ง ทุบสถิติเดิมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ และได้สร้างเอ็นเกจเมนต์ขึ้นในโลกออนไลน์มากกว่า 53 ล้านเอ็นเกจเมนต์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ปล่อยเอ็มวี รวมถึง ลูกชิ้นยืนกินที่สร้างรายได้ให้ชุมชนมากมาย นั่นทำให้ลิซ่ามาเป็นอันดับที่ 2 ในปีนี้

อันดับที่ 3 การประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2020/2021 (80,398,276 เอ็นเกจเมนต์)

เป็นครั้งแรกที่งานประกวด Miss Universe 2020 และ 2021 จัดขึ้นในปีเดียวกันอันเนื่องมาจาก สถานการณ์โควิด-19 ซึ่งผู้ชนะทั้งสองรายการ ได้แก่ อแมนด้า ออบดัมและแอนชิลี สก๊อต-เคมมิส ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ปลุกกระแสให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับประเด็น “Real Size Beauty” หรือการภูมิใจในรูปร่างของตนเอง และมีความสุขในสิ่งที่ตัวเองเป็น

อันดับที่ 4 มหกรรมกีฬาโอลิมปิกโตเกียว 2020 (59,829,135 เอ็นเกจเมนต์)

มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติกับงานโอลิมปิกโตเกียวที่ได้เลื่อนจากปี 2563 มาจัดในปี 2564 ซึ่งหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวไทยทั้งประเทศมีความสุขท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่มีความรุนแรง คือ น้องเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ได้คว้าเหรียญทองจากการแข่งขันเทควันโดนั่นเอง

อันดับที่ 5 พิมรี่พาย (54,686,116 เอ็นเกจเมนต์)

อีกหนึ่งบุคคลที่เป็นที่พูดถึงตลอดทั้งปีนี้คงหนี้ไม่พ้นพิมรี่พาย หรือ พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ ทั้งประเด็นงาน CSR วันเด็กในช่วงต้นปี ที่เข้าไปติดแผงโซล่าร์เซลล์ที่หมู่บ้านชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงปรากฏการณ์ไลฟ์ขายของ 10 นาที 100 ล้านบาท ที่เปิดขายกล่องสุ่มเครื่องสำอางกล่องละ 1 แสนบาท และมีคนสนใจสั่งซื้อกว่า 1,000 ชุด รวมถึง ประเด็นคลินิกเสริมความงามที่มีผู้เสียหายเข้ามาร้องเรียนหลายราย

อันดับที่ 6 ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว (39,427,269 เอ็นเกจเมนต์)

เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกบริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ใน ซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ทำให้ประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร ต้องอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากกลัวว่าเพลิงจะลุกลาม นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ในรอบหลายปีที่ผ่านมาและมีการพูดถึงบนโลกโซเชียลอย่างมากตลอด 24 ชั่วโมงในขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมเพลิง

อันดับที่ 7 น้ำท่วม (34,989,035 เอ็นเกจเมนต์)

นอกจากพิษโควิด-19 แล้วปีนี้เรายังคงเจอกันสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงหลายๆ จังหวัดในภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากสถานการณ์ครั้งนี้ได้เกิดคลิปไวรัลจากชาวโซเชียลที่จังหวัดนครราชสีมาทำคลิปล้อเลียนโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์ดัง

อันดับที่ 8 ลุงพล (34,239,932 เอ็นเกจเมนต์)

สิ้นสุดคดีน้องชมพู่ ที่อยู่บนความสนใจของชาวโซเชียลมาอย่างยาวนาน การเกาะติดความคืบหน้าของคดีได้สร้างให้เกิดเรื่องราวของ “ผู้ต้องหา” ที่ถูกจับตาจากโซเชียลทุกย่างก้าวให้กลายเป็น “คนดัง” ในชั่วข้ามคืน และในที่สุดศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้ออกหมายจับลุงพล หรือนายไชย์พล วิภา 3 ข้อหา ผู้ต้องหาคดี “น้องชมพู่” หนูน้อยวัย 3 ขวบ แห่งบ้านกกกอก ที่เสียชีวิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อันดับที่ 9 ผู้กำกับโจ้ (33,367,496 เอ็นเกจเมนต์)

ประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลกับกรณีมาวิน ผู้ต้องสงสัยคดียาเสพเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดย พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผู้กำกับโจ้ โดยสาเหตุเกิดจากการขาดอากาศหายใจ ส่งผลให้เกิดเป็น คดีดัง และถูกขุดขุ้ยจนพบว่าครอบครองรถหยนต์หรูกว่า 30 คันและพบการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จนได้ฉายา “โจ้เฟอร์รารี่”

อันดับที่ 10 น้าค่อม (33,160,272 เอ็นเกจเมนต์)

ถือเป็นอีกหนึ่งการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบันเทิงและวงการตลกไทย กับการจากไปของนายอาคม ปรีดากุล หรือ น้าค่อม ชวนชื่น หลังพบเชื้อโควิด-19 และอาการทรุดลงเรื่อยๆ ชาวโซเชียลร่วมไว้อาลัย #น้าค่อม จนขึ้นอันดับ 1 ทวิตเตอร์ไทย

]]>
1369215
เบื้องหลังมหาอำนาจนางงาม “ฟิลิปปินส์” หยาดเหงื่อ คราบน้ำตา และความลุ่มหลงในความงาม https://positioningmag.com/1204137 Thu, 20 Dec 2018 04:05:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1204137 ภาพจาก : https://missuniverse.in.th

นอกจากความโดดเด่นของผู้เข้าประกวดแล้ว ตำแหน่ง “มิสยูนิเวิร์ส” คนที่ 2 ในรอบ 3 ปี ของฟิลิปปินส์ยังสะท้อนถึงความรุ่งเรืองของธุรกิจการประกวด และความลุ่มหลงต่อความงามในหมู่ชาวฟิลิปปินส์ด้วย

ฟิลิปปินส์เคยมีตำแหน่งผู้หญิงที่สวยที่สุดในจักรวาลเท่ากับประเทศไทย คือ 2 คนอยู่นานหลายปี จนกกระทั่ง เพีย วูร์ทซบาค สามารถรคว้าตำแหน่งมิสยูนเวิร์สมาได้ในการประกวดประจำปี 2015

และล่าสุดกับการประกวดในประเทศไทยที่ตัวแทนของฟิลิปปินส์ อย่าง แคทรีโอนา เกรย์ ที่คว้ามงกุฎไปครองได้ในท้ายที่สุด จนกลายเป็นผู้หญิงชาวฟิลิปปินส์คนที่ 4 ที่ได้รับตำแหน่งผู้หญิงที่สวยที่สุดในจักรวาลไปครอง

จนพูดได้ว่าฟิลิปปินส์ได้ขึ้นมาอยู่ในระดับ “มหาอำนาจ” แห่งวงการนางงามเท่าๆ กับประเทศหมู่ลาตินอเมริกาแล้ว

“ประกวดนางงาม” อาจจะขาลงในหลายประเทศ แต่รุ่งสุดๆ ในฟิลิปปินส์

ความสำเร็จของ ฟิลิปปินส์ บนเวทีประกวดความงามระดับโลก กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบหลายปีที่ผ่านมา อย่างเมื่อปี 2013 เมแกน ยัง ก็เพิ่งจะกลายเป็นผู้หญิงชาวฟิลิปปินส์คนแรกที่ได้รับตำแหน่งมิสเวิลด์ในการประกวดที่ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนั้นสาวงามของฟิลิปปินส์ก็ยังคว้าตำแหน่งสำคัญๆ เรียกว่าเข้ารอบ 10 คน 5 คน หรือ 3 คนสุดท้ายจนเป็นเรื่องชินตาของผู้ชมการประกวดไปแล้ว

ในสังคมตะวันตกการประกวดนางงามเริ่มถูกมองในมุมลบมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเวทีที่มีกรรมการมา “ให้คะแนน” สาวๆ ในชุดว่ายน้ำ เริ่มจะถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติกับผู้หญิงเหมือนเป็นวัตถุทางเพศ จน มิสเวิลด์ ได้พยายามลบภาพดังกล่าวด้วยการยกเลิกการประกวดในรอบชุดว่ายน้ำ ส่วนเวทีใหญ่หลายๆ แห่งก็เลือกให้ผู้หญิงมามีบทบาทเป็นกรรมการมากขึ้น

แม้ภาพพจน์ของการประกวดนางงามจะเริ่มไม่สวยงามในหลายๆ ประเทศ แต่ไม่ใช่สำหรับฟิลิปปินส์ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงนิยมการประกวดนางงาม และมองว่าเวทีประชันโฉมไม่ได้เป็นเรื่องการเหยียดเพศ แต่ตรงกันข้ามชาวฟิลิปปินส์ยังเชื่อว่า “เวทีประกวดนางงาม” คือการเชิดชูสตรี และเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้แสดงพลังในตัวเองออกมาด้วย

การประกวดนางงามสำหรับชาวฟิลิปปินส์ยังเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนไปถึงความภาคภูมิใจในชาติ เมื่อสาวงามไปคว้าตำแหน่งในเวทีสำคัญระดับโลกด้วย

ธุรกิจนางงามเฟื่องฟูในฟิลิปปินส์

ความเฟื่องฟูของธุรกิจการประกวดในประเทศฟิลิปปินส์เอง ก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวทีประกวดระดับโลกให้ความสำคัญกับประเทศหมู่เกาะแห่งอาเซียนประเทศนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน ฟิลิปปินส์ กลายเป็นตลาดหลักของการธุรกิจนางงามในยุคนี้ตลาดหนึ่งไปแล้ว

การประกวดนางงามในฟิลิปปินส์นั้น จะมีขึ้นในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่น, สาวงามประจำหมูบ้าน, คนสวยประจำเมือง, การประกวดประจำเทศกาล จนไปถึงระดับชาติ จนทำให้ธุรกิจที่แวดล้อมเรื่องการประกวดทั้งหมดพลอยได้ดิบได้ดีไปด้วย

ความนิยมในการประกวดทำให้ธุรกิจการนางงามในประเทศฟิลิปปินส์ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนน่าทึ่ง จากเมื่อปี 2010 การจัดประกวดทั้งประเทศในเครือของ Binibining Pilipinas Charities Inc เคยขายตั๋วเข้าชมได้ประมาณ 1.2 ล้านใบ ในปี 2014 ยอดขายตั๋วทั้งหมดก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 4 ล้านใบ

แต่ที่ทำรายได้ให้การประกวดอย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างแท้จริง ก็คือรายได้จากบรรดาสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนต่างๆ จากเคยได้รับการสนับสนุนรวม 2.7 ล้านเปโซ (1.6 ล้านบาท) ในปี 2010 พอถึงปี 2014 ผู้จัดงานประกวดสามารถกอบโกยเงินจากสปอนเซอร์ได้รวมกันถึง 35 ล้านเปโซ (22 ล้านบาท) และน่าจะมากขึ้นอีกในปัจจุบัน

“นางงาม” กลายเป็นหัวข้อยอดฮิตในชุมชนออนไลน์ของฟิลิปปินส์ ส่วนเว็บไซต์เกี่ยวกับการประกวดนางงามที่ชื่อว่า Missosology ที่ริเริ่มโดยชาวฟิลิปปินส์ ก็กลายเป็นชุมชนออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนางงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว

ศูนย์ฝึกนางงาม ธุรกิจโดย “แฟนนางงาม” ขาดทุนไม่ว่า ขอส่งสาวงามไประดับโลก

ความคึกคักของการประกวดยังทำให้เกิดโรงเรียนฝึกนางงามขึ้นมากมายในฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะกรุงมะนิลา

โรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากความคลั่งไคล้ในการประกวดของกลุ่มแฟนนางงาม ซึ่งพวกเขายืนยันว่าไม่ได้คิดเรื่องผลกำไร แต่เพราะรักการประกวด จึงอยากส่งเสริมสาวๆ และหวังผลักดันให้ตัวแทนของฟิลิปปินส์มีศักยภาพ และไปไกลที่สุดในระดับนานาชาติ

เหมือนกับศูนย์อบรบ Kagandahang Flores ของ โรดิน กิลเบิร์ต ฟลอเรส ที่ไม่ขอเรียกโรงเรียนสอนนางงามของเขาว่าเป็น “ธุรกิจ” เพราะเขายืนยันว่าทำด้วยความรัก และไม่แสวงหากำไร เขาบอกว่าเจ้าหน้าที่หลายคนของศูนย์มีงานประจำกันอยู่แล้ว จึงต้องอาศัยฝึกสอนนางงามกันในนอกเวลางานปกติ

ส่วนสาวงามที่มาฝึกฝนบางคนก็จ่ายเงินให้กับโรงเรียน บางคนก็มาเรียนแบบฟรีๆ หากทางโรงเรียนเห็นแวว “ถ้าทำเป็นธุรกิจจริงๆ ก็คงอยู่ไม่ได้นานขนาดนี้หรอก” ฟลอเรส กล่าว โดยเขาเคยมีลูกศิษย์ที่ไปไกลถึงระดับโลกอย่าง บี โรส ซานติอาโก มิสอินเตอร์เนชั่นแนล 2013 และ เจมี เฮอร์เรลล์ มิสเอิร์ธ 2014 มาแล้ว

สาวงามส่วนที่ผ่านการอบรมจะได้รับการฝึกฝนทั้งการโพสท่า, การเดินบนเวที และยังได้เรียนรู้เรื่องการควบคุมน้ำหนัก, รักษารูปร่าง, แต่งหน้า รวมถึงแนะนำเรื่องการศึกษาหาความรู้ทั้งเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงประวัติศาสตร์ต่างๆ สำหรับการตอบคำถามบนเวทีด้วย

บนเวทีพวกเธออาจจะดูสวยงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในระหว่างการฝึกฝน โดยเฉพาะการฝึกเดินบนเวที หญิงสาวชาวฟิลิปปินส์เหล่านี้ต้องอดทนต่อความเมื่อยล้า และความเหน็ดเหนื่อยอยู่ในศูนย์ฝึกที่ไม่ได้ดูหรูหราฟู่ฟ่า จนกว่า “กล้ามเนื้อจะจดจำ” ท่วงท่าการเดินที่สวยงามเหมือนนางพญา เพื่อให้ทุกอย่างดูเป็นธรรมชาติที่สุด

เส้นทางสู่ความสำเร็จ … หนทางหลุดจากความยากจน

หากกีฬามวยและบาสเกตบอลคือสิ่งที่จะทำให้สาวๆ ชาวฟิลิปปินส์โด่งดังและร่ำรวยขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เวทีนางงามก็คือโอกาสสำหรับสาวๆ ในฟิลิปปินส์จึงมีการประกวดเวทีน้อยใหญ่มากมาย ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงจังหวัด และระดับประเทศ

จึงพูดได้ว่า ณ ปัจจุบันเวทีประชันความสวยได้กลายเป็นสะพานไปสู่ความสำเร็จของหญิงสาวในหลายๆ กลุ่มในฟิลิปปินส์

สำหรับหญิงสาวชนชั้นกลาง หรือเหล่านักศึกษาในมหาวิทยาลัย ต่างหวังว่าเวทีประกวดจะเป็นโอกาสให้พวกเธอได้เข้าวงการบันเทิง หรือวงการแฟชั่น แต่สำหรับหญิงสาวในครอบครัวชนชั้นล่างปากกัดตีนถีบ พวกเธอบางคนอาจจะหวังแค่เงินรางวัลระดับไม่กี่พันเปโซ หรือ โทรทัศน์จอ 21 ซักเครื่อง

นอกจากนั้นก็ยังมีหญิงสาวหลายคนที่ยอมรับว่ามองเวทีประกวดเป็นหนทางที่จะทำให้พวกเธอหลุดพ้นจากความยากจน เหมือน จานีเซล ลูบินา อดีตผู้เข้าประกวดมิสฟิลิปปินส์ที่มีพื้นเพเป็นคนทำความสะอาดพื้น ที่กล่าวว่าหากไม่มีการประกวดนางงาม เธอก็คงไม่มีหนทางที่จะหลุดจากวงเวียนชีวิตแบบเดิมๆ

“เวทีประกวดเดี๋ยวนี้ดีมากๆ มีความเท่าเทียมพอสมควร แม้แต่คนที่มาจากครอบครัวที่ยากจนที่สุดก็ยังมีโอกาสคว้าตำแหน่ง ในประเทศของเราเวทีนางงามจึงเป็นเรื่องของโอกาส และการแสดงพลังของผู้หญิงอย่างแท้จริง” อดีตมิสฟิลิปปินส์ จอยซ์ เบอร์ตัน-ทิทูลาร์ กล่าว

สำหรับชาวฟิลิปปินส์แล้ว “เวทีนางงาม” จึงเป็นทั้งเวทีของโอกาส เป็นความคลั่งไคล้ กับความภาคภูมิใจของประชาชนในชาติ และเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ไม่เลว จนกลายเป็นความลงตัวที่ทำให้วงการประกวดในฟิลิปปินส์รุ่งเรืองจนขึ้นมาอยู่แถวหน้าของโลก.

]]>
1204137