ยืมมั้ย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Jan 2022 13:47:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘YES โทเคน’ และแพลตฟอร์ม ‘ยืมมั้ย.digital’ บริการ ‘เช่าสินทรัพย์ดิจิทัล’ ครั้งแรกในไทย https://positioningmag.com/1370644 Mon, 17 Jan 2022 12:27:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370644 ย้อนไปเมื่อปี 2019 ได้มีบริการ ‘เช่ายืมสมาร์ทโฟน’ ครั้งแรกในประเทศไทยจาก ‘ยืมมั้ย’ (Yuemmai) บริษัทให้เช่าและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก บริษัท ยืมมั้ย (ประเทศไทย) จำกัด ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้บริการปัจจุบันถึง 200,000 เครื่อง และล่าสุด บริษัทก็ขอเกาะกระแสคริปโตฯ ด้วยการเปิดตัว ‘YES’ (เยส) โทเคนใหม่เพื่อใช้ เช่าสินทรัพย์ดิจิทัลครั้งแรกในประเทศไทย

YES โทเคนคืออะไร

YES โทเคนเป็นเหรียญดิจิทัล ที่เกิดจาก 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ยืมมั้ย (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เวลธิเทคฟิน จำกัด, บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด และ บริษัท ฟินสเตเบิ้ล จำกัด โดย YES โทเคนจะออกให้กับ ลูกค้าที่ใช้บริการหรือซื้อสินค้า จากธุรกิจในเครือ ยืมมั้ย โฮลดิ้ง เป็นประจำทุกเดือน (ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป) โดยจำนวนที่ได้ขึ้นอยู่กับการคำนวณเครดิตของผู้ใช้ ผ่านการประเมินจากระบบ เครดิตสกอริ่ง โดยเหรียญ YES เป็นโทเคนได้รับการรับรองโดย บิทคับ เชน (Verified by BitKub Chain)

เบื้องต้น มูลค่าเหรียญ YES เริ่มต้น 28 บาท (ณ วันเปิดตัว 14 ม.ค.) โดยผู้ที่ถือเหรียญ YES ครบ 10 เดือนสามารถซื้อ-ขาย (เทรดได้) ในตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มบิทคับ โดยยืมมั้ยมีตั้งเป้าพัฒนาเหรียญ YES ในอนาคต ให้เป็นเหรียญที่สามารถโหวต และมีสิทธิ์ในระบบการเทรดได้อย่างโปร่งใส ทั้งนี้ ยืมมั้ย ตั้งเป้าที่จะปล่อยให้ได้ 3-5 พันคน วงเงิน 300 ล้านบาท

สุทธิเกียรติ กิตติภัทรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยืมมั้ย (ประเทศไทย) จำกัด

ใช้งานเหรียญ YES อย่างไร

เหรียญ YES จะเป็นเสมือนตัวแทนด้านเครดิตของลูกค้า โดยเหรียญ YES สามารถนำไปใช้ ค้ำประกันเพื่อเช่าสินทรัพย์ดิจิทัลตัวอื่น ๆ บนแพลตฟอร์ม ยืมมั้ย.digital ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการให้เช่าสินทรัพย์ดิจิทัลครั้งแรกในประเทศไทย ที่ผสมผสานระหว่างการเงินแบบรวมศูนย์และแบบกระจายศูนย์ (CeDeFi) โดยได้รับการพัฒนาจาก บริษัท ฟินสเตเบิ้ล จำกัด (Finstable)

ผู้ที่ถือเหรียญ YES ในการเช่าสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ จะคิดมูลค่าต่อหลักประกันที่ 75% เช่น นำเหรียญโทเคน YES 100 บาทมาค้ำประกัน จะได้เช่าเหรียญดิจิทัลอื่น 75 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ เหรียญ YES โทเคนจะแลกสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 6 สกุล โดยมีการคิดค่าเช่า 30% ต่อปี ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่เช่าไป

“เราต้องการสร้างโอกาสในการลงทุนในโลกดิจิทัลได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างเราเก็บเหรียญบิตคอยน์ไว้เฉย ๆ แต่ไม่รู้จะทำอะไร เราก็ให้คนเช่า เขาอาจจะเอาไปเทรดก็ได้ แล้วก็จ่ายค่าเช่าให้ เบื้องต้น แพลตฟอร์มต้องการเจาะกลุ่มนักศึกษา และ First Jobber ที่กำลังหาทางเลือกในการสร้างรายได้” สุทธิเกียรติ กิตติภัทรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยืมมั้ย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

เผด็จ จินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟินสเตเบิ้ล จำกัด

ให้ยืมไม่ต้องเสียภาษีคริปโต 15%

ดราม่าอย่างร้อนแรงเลยทีเดียวสำหรับ ภาษีคริปโต 15% โดยการคิดคำนวณ และจัดเก็บภาษีนั้น เป็นการคิดจากฐานของภาษีเงินได้ในการนำไปซื้อขาย หรือทำธุรกรรมคริปโตในทุกรายการ (transactions) ที่มีกำไรเป็นเงินสด เช่น ผู้เสียภาษีทำการแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน 10 รายการในปีนั้น โดยขายเหรียญได้กำไรเป็นเงินสด 5 รายการ รวม 2 แสนบาท แต่อีก 5 รายการ ขายเหรียญแล้วขาดทุน 5 แสนบาท รวมทั้งปีผู้เสียภาษีขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนรวม 3 แสนบาท

ดังนั้น ผู้เสียภาษีก็จะต้องระบุเงินได้เพื่อเสียภาษีจากกำไร 2 แสนบาทอยู่ดี แม้ยอดรวมทั้งปีจะขาดทุน หรือแม้จะยังไม่ได้ถอนเงินบาทออกมาจากกระดานเทรดบนแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นก็ตาม แต่การที่ผู้ใช้มาเช่าคริปโตฯ แล้วจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้เช่าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3-5% ไม่ใช่ 15% เพราะไม่ใช่แพลตฟอร์มการซื้อขายหรือการเทรด

ทิศทางคริปโตฯ จะยิ่งเติบโต

ภาสกร ปานนอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด มองว่า ทิศทางตลาดคริปโตฯ ไทยจะยิ่งเติบโตในปีนี้ เนื่องจากคนเริ่มเข้าใจเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตฯ ดังนั้น จะเห็นว่าภาคธุรกิจเริ่มหันมาสร้างแพลตฟอร์มและเหรียญคริปโตฯ และในอนาคตหากแพลตฟอร์มไหนเติบโต มูลค่าหรือการลงทุนก็จะเพิ่มเข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนก็ต้องศึกษาถึงความน่าเชื่อถือของแต่ละโปรเจกต์ด้วย

ภาสกร ปานนอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด

บาลานซ์การควบคุมให้เหมาะสม

การคิดภาษีคริปโตฯ ควรอยู่บนพื้นฐานเดียวกับภาษีซื้อขายหุ้นแบบเดียวกับอเมริกาและยุโรป ที่เมื่อได้กำไรจะหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยไม่ไปรวมกับ Income Tax เพื่อให้ไม่เป็น 2 มาตรฐาน ไม่เช่นนั้นผู้ที่เล่นหุ้นจะได้เปรียบผู้เล่นคริปโตฯ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าภาครัฐกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องของคริปโตฯ ดังนั้น อาจมีการปรับกฎระเบียบ เพราะหากกฎเข้มเกินไปจะทำให้เกิดผลเสีย ดังนั้น ต้องยืดหยุ่นเพียงพอให้ตลาดเติบโต ไม่เช่นนั้นนักลงทุนจะหนีออกไปที่กระดานต่างประเทศแทน และทำให้ตลาดไม่เติบโต

“เราเชื่อว่าการได้ภาษีเล็ก ๆ น้อย ๆ (จากคริปโตฯ) มันได้ไม่คุ้มเสีย เพราะธุรกิจตริงนี้มันเพิ่งเริ่มเก็บไปก็ได้ไม่เยอะ สู้เราเปิดกว้างดึงให้ต่างชาติมาลงเงินเรื่องคริปโตฯ ในไทย และถ้าไม่บาลานซ์การควบคุมและการส่งเสริม เน้นแต่ควบคุมก็จะทำให้ตลาดไม่เติบโต ประเทศก็จะไม่ได้อะไรเผด็จ จินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟินสเตเบิ้ล จำกัด กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สนใจเหรียญ YES สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปบนแพลตฟอร์ม ยืมมั้ย.digital และจะได้รับเหรียญ YES AirDrop แจกฟรีให้กับลูกค้า โดยจะได้รับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวนจำกัดเพียง 2,500,000 เหรียญ (75 ล้านบาท)

นอกจากนี้ จะมีการนำร่องทดสอบระบบ (Beta Test) ในวันที่ 14-31 มกราคม 2565 โดยเปิดโครงการแข่งขันทดสอบระบบ CeDeFi ขึ้น ดึงนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเข้าร่วมกิลด์ ประลองฝีมือเพื่อชิงรางวัลทุนการศึกษาเหรียญ KUB มูลค่า 100,000 บาท (ดูกติกาการแข่งขัน และสมัครเข้าร่วมได้ที่ เว็บไซต์ www.ยืมมั้ย.digital

]]>
1370644
คนไทยใช้มือถือนานขึ้นกว่าจะเปลี่ยนเครื่องใหม่! เปิดช่องว่างให้ “ยืมมั้ย” แจ้งเกิดบริการยืมโทรศัพท์มือถือผ่านแอปพลิเคชั่น https://positioningmag.com/1240029 Mon, 22 Jul 2019 11:39:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240029 ต้องยอมรับว่า พฤติกรรมของการใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทยในวันนี้กำลังเปลี่ยนไป มีการใช้มือถือในระยะเวลาที่นานขึ้น ผลสำรวจบอกว่า ผู้ใช้ 35.6% ในมือถือมากกว่า 2 ปีถึงจะเปลี่ยนเครื่องใหม่, 35.1% ในเวลา 1 – 2 ปี, 18.8% อยู่ที่ 1 เดือน 1 ปี ที่เหลือ 10.3%

โดยเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ ทั้งราคาโทรศัพท์มือถือที่มีราคาสูงขึ้นหรือการขายต่อในราคาที่ต่ำมาก ทั้งผลสำรวจและปัจจัยที่กล่าวไปจึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนในปีที่ผ่านมาลดลง 8.6% เหลือราว 19.2 ล้านเครื่อง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในมุมของสุทธิเกียรติ กิตติภัทรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยืมมั้ย (ประเทศไทย) จำกัด กลับมองว่าเป็นโอกาสของตัวเอง เพราะยังมีผู้บริโภคบางส่วนต้องการมือถือเครื่องใหม่ เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี

กลายเป็นที่มาของการจับมือระหว่างโกลด์ อีลิท ปารีส (ประเทศไทยซึ่งจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่ทำจากทองคำ มีประสบการณ์ในวงการกว่า 12 ปี และเอสซีไอ อีเลคตริคซึ่งทำธุรกิจผลิตตู้ควบคุมไฟฟ้า และรางเดินสายไฟ รวมทุนในสัดส่วน 51:49 จัดตั้งบริษัท ยืมมั้ย (ประเทศไทย) จำกัดเบื้องต้นมีทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท และจะทยอยเพิ่มทุนให้ครบ 200 ล้านบาท

ยืมมั้ย เป็นบริการให้บริการยืมโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน รุ่นยอดนิยมและรุ่นใหม่ล่าสุด ทั้ง Apple – Samsung – Huawei มาพร้อมฟรีค่าโทรและค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือน ทำทุกอย่างผ่านแอปพลิเคชั่น ตั้งแต่จองเครื่อง นัดรับ ชำระเงิน

โดยมีการจับมือกับผู้ให้บริการในธุรกิจอื่นๆ อีกได้แก่ AIS ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือพร้อมแพ็กเกจ, เมืองไทยประกันภัย ดูแลรับประกันตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือตลอดการใช้งาน และ คอมเซเว่น (COIII7) พันธมิตรจุดรับบริการลูกค้ายืมมั้ยผ่านศูนย์ iCare

สุทธิเกียรติ ระบุว่า เมื่อเทียบกับการซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ภาพรวมจะถูกกว่าราว 20 – 25% โดยยกตัวอย่าง iPhone XR ราคาเครื่องอยู่ที่ 29,900 บาท ค่าบริการรายเดือน 599 บาท เบ็ดเสร็จ 1 ปีจะต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 37,000 บาท ถ้าต้องการขายเครื่องเพื่อซื้อใหม่ราคาจะลดลงไปทันที 65 – 70% เมื่อเทียบกับบริการยืมมั้ยจะจ่ายราว 20,000 บาท

เบื้องต้นมีให้บริการ 4 รุ่นและจะทยอยเพิ่มให้ครบ 10 รุ่นในเวลาต่อไป สำหรับแพ็กเกจมีราคาเริ่มต้น 900 บาทต่อเดือน และค่ามัดจำเริ่มต้น 575 บาทต่อเดือน สำหรับสัญญาเช่า 12 เดือน (365 วัน) โดยจะได้รับเครื่องใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังต้องจ่ายค่าประกันซึ่งจะรับผิดชอบ 90% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากหน้าจอแตก หรือ ตกน้ำ เป็นต้น หากทำหายลูกค้าจะต้องจ่าย 100%

จับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ พ่อแม่ที่ต้องการซื้อมือถือให้บุตรหลาน และผู้ที่มองหาทางเลือกใหม่ของการใช้สมาร์ทโฟน คุณสมบัติอย่างเดียวที่ต้องมีคือบัตรเครดิต เพราะเมื่อเลือกผ่อนจะมีการตัดเงินทุกเดือนเหมือนการผ่อนสินค้าทั่วไป และเมื่อเข้าปีที่ 2 จะมีระบบ AI ของ SCB เข้ามาช่วยคัดกรอง

นอกจากนี้ยังต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการใช้โทรศัพท์ในธุรกิจหรือเป็นสวัสดิการสำหรับพนักงานซึ่งได้ตั้งเป้าหมายช่องทางการจำหน่ายให้แก่กลุ่มองค์กรจำนวน 15,000 เครื่องต่อปี โดยแบ่งสัดส่วนเป็นลูกค้าทั่วไป 70% และลูกค้าองค์กร 30%

เราตั้งเป้าในปีแรกจะมียอดการยืม 100,000 เครื่องต่อปี ในแง่ของการทำธุรกิจความเสี่ยงที่สุดของยืมมั้ยคือการที่ลูกค้าทำหาย ซึ่งคาดว่าจะมีราว 5 – 10% ส่วนเครื่องที่ถูกยืมไปแล้วหลังครบสัญญาจะเปิดให้เช่าต่อเป็นมือสอง ในราคาที่ลดลงมา

รายได้ของยืมมั้ยมาจากการเป็นผู้บริหารจัดการแพลตฟอร์ม โดยตั้งเป้าคืนทุนในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งค่อนข้างเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยืมมั้ยจะได้ราคาเครื่องที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับลูกค้าทั่วไป เพราะมีการซื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับซิมที่มีลักษณะเหมือนกัน

อีกส่วนหนึ่งจะมาจากการที่ยืมมั้ยจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับยืมสินค้าชนิดอื่นๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ คอมพิวเตอร์ จักรยานยนต์ไฟฟ้า ที่เน้น High-end เป็นหลัก ไปจนถึงการเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อในที่สุด โดยอีก 3 เดือนจะเพิ่มสินค้าชนิดอื่นๆ เข้ามา แต่ยังไม่สามารถบอกได้จะเป็นสินค้าชนิดไหน กำลังอยู่ในระหว่างพูดคุย

]]>
1240029