รับคำสั่งด้วยเสียง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 May 2020 12:11:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปลอดภัยหรือยัง? Google Assistant ทดลองระบบ “ยืนยันตัวตน” ซื้อสินค้าด้วย “คำสั่งเสียง” https://positioningmag.com/1280712 Tue, 26 May 2020 11:55:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280712 Google Assistant เปิดทดลองโครงการนำร่อง สั่งซื้อสินค้าด้วย “คำสั่งเสียง” จากเดิมที่มีเฉพาะการยืนยันด้วยลายนิ้วมือหรือใบหน้า โดยผู้บริโภคบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้าถึงระบบทดลองนี้ และยังใช้ได้เฉพาะการซื้อสินค้าหรือบริการบางประเภท

โฆษกบริษัท Google เปิดเผยกับ Android Police ว่าฟังก์ชันการยืนยันตัวตนด้วยคำสั่งเสียง เพื่อซื้อสินค้า-บริการเริ่มทดลองแล้ว แต่เปิดให้ใช้ผ่านผลิตภัณฑ์ลำโพงอัจฉริยะ (Smart Speakers) และผลิตภัณฑ์กลุ่มหน้าจออัจฉริยะ (Smart Display) ของ Google เท่านั้น

รวมถึงจะซื้อได้เฉพาะสินค้าหรือบริการภายในแอปพลิเคชันที่ดาวน์โหลดผ่าน Google Play (in-app purchase) กับการสั่งอาหารจากร้านอาหารบางแห่ง และจำกัดเพดานมูลค่าการซื้อด้วยวิธียืนยันตัวตนรูปแบบนี้

อย่างไรก็ตาม ฟังก์ชันนี้ยังเป็นโครงการนำร่องจึงเปิดให้ใช้เฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเล็ก โดยทั่วไปแล้วหากจะสั่งซื้อสินค้าผ่าน Google Assistant จะยังยืนยันตัวตนได้เพียง 2 ระบบคือลายนิ้วมือกับระบบจดจำใบหน้า

รวมถึงแพลตฟอร์มจะยังแจ้งเตือนก่อนใช้งานว่า “ผู้ที่มีเสียงเหมือนกับเจ้าของบัญชีหรือการอัดเสียงเจ้าของบัญชีมาใช้งาน อาจจะยืนยันการสั่งซื้อบนอุปกรณ์นี้ได้เช่นกัน”

หน้าจอแสดงฟังก์ชันซื้อสินค้าด้วยระบบคำสั่งเสียงของ Google Assistant (Photo: Android Police)

แม้ว่าจะดูเป็นระบบที่ไม่ปลอดภัยนักในขณะนี้ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้ระบบยืนยันตัวตนด้วยเสียงมีศักยภาพที่จะเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในการยืนยันตัวตนเมื่อเทียบกับการใช้ลายนิ้วมือหรือใบหน้า

หรือหากเทียบกับระบบ Alexa ในคู่แข่งลำโพงอัจฉริยะ Echo ที่มีระบบยืนยันด้วยคำสั่งเสียงแล้วแต่ต้องตั้ง PIN และเจ้าของต้องพูดเลข PIN เหล่านั้นเพื่อยืนยันอีกขั้น ทำให้การใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น ถ้าหาก Google Assistant สามารถทำให้การยืนยันด้วยเสียงมีความปลอดภัยในขั้นตอนเดียว น่าจะได้เปรียบเรื่องความสะดวกสบายมากขึ้น

สำหรับ Google Assistant นั้นเป็นระบบ “ผู้ช่วยอัจฉริยะ” เหมือนกับ Siri ใน iOS หรือ Alexa จาก Amazon เหมือนกับเป็นเลขานุการส่วนตัวที่เราสามารถคุยตอบโต้ สอบถาม และสั่งการต่างๆ ได้ โดยมีฟังก์ชันหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันตัวตนคือจัดการซื้อสินค้าและบริการให้ เช่น สั่งซื้อของใช้ในบ้านจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ สมัครสมาชิกบริการสตรีมมิ่งเพลงหรือภาพยนตร์ ซื้อไอเทมหรือคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ เป็นต้น

เดิมที Google ตั้งใจจะเปิดตัวฟังก์ชันยืนยันตัวตนด้วยเสียงที่งาน Google I/O 2020 เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่เนื่องจากงานต้องยกเลิกไปด้วยเหตุการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้เปิดการทดลองโครงการอย่างเงียบๆ ทั้งนี้ Google ยังไม่มีข้อมูลออกมาว่าจะเปิดให้ใช้ระบบยืนยันตัวตนด้วยคำสั่งเสียงในวงกว้างมากขึ้นเมื่อไหร่

Source

]]>
1280712
เลิกจิ้มหน้าจอ! สั่งด้วย “เสียง” เทรนด์ใหม่มาแน่ๆ ใช้เกิน 50% ภายในปี 2020 https://positioningmag.com/1145573 Mon, 06 Nov 2017 11:07:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145573 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า พฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์จะมาถึงเปลี่ยนอีกครั้ง นั่นคือ การเข้าสู่ยุคแห่งการสั่งการ และรับคำสั่งด้วยเสียง 

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อนำเสนอความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานว่า มือของพวกเขาจะว่างมากขึ้น และทำงานต่าง ๆ ได้มากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้นิ้วจิ้มเลือกฟังก์ชันที่ต้องการบนหน้าจอสมาร์ทโฟนเหมือนเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนั่นจะทำให้มนุษย์สามารถทราบข้อมูลที่ต้องการได้ในระหว่างทำอาหาร, ซักผ้า, ขับรถ, ปีนเขา ฯลฯ โดยที่ไม่ต้องวางมือจากงานที่ทำอยู่อีกต่อไป

ขณะที่มีการประมาณการกันว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของการค้นหาบนออนไลน์ จะเกิดขึ้นผ่านเสียงภายในปี 2020 โดยงานวิจัยจาก ComScore ระบุว่า ปัจจุบัน ผู้ใช้งานผู้ใหญ่ 40 เปอร์เซ็นต์ มีการสั่งการด้วยเสียงอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

ค่าเฉลี่ยของการสั่งด้วยเสียงนั้น อยู่ที่ 50 คำต่อหนึ่งคำสั่ง ขณะที่ถ้าเป็นการพิมพ์ จะอยู่ที่ 40 คำเท่านั้น จากจุดนี้จะพบความแตกต่างข้อหนึ่งที่จะเกิดขึ้นหากสังคมยกระดับไปสู่การสั่งการด้วยเสียง นั่นคือ ระบบจะต้องรับคำสั่งยาวขึ้น

ในยุคเริ่มต้นของการสั่งการด้วยเสียงนั้น คาดว่าหน้าจอก็จะยังอยู่ แต่ในระยะยาว เมื่อสังคมคุ้นเคยกับการสั่งงานในแบบใหม่แล้ว ก็เป็นไปได้ว่า การสั่งการด้วยนิ้วบนหน้าจอสมาร์ทโฟนจะค่อย ๆ หมดความสำคัญลงไปตามลำดับ

สำหรับการสั่งด้วยเสียงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การค้นหาร้านอาหาร โดยได้รับความนิยมมากกว่าการค้นหาด้วยข้อความถึง 3 เท่า ขณะที่การค้นหาสินค้าออนไลน์นั้น พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์เป็นการสั่งการด้วยเสียงแล้วเช่นกัน

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000111952

]]>
1145573