รายได้โฆษณา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 21 Nov 2020 02:59:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รวมกันเราอยู่ ! BuzzFeed ซื้อ HuffPost เสริมพลังสื่อออนไลน์ เเย่งรายได้โฆษณา Google-Facebook https://positioningmag.com/1307043 Fri, 20 Nov 2020 20:40:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307043 สื่อออนไลน์ชื่อดัง BuzzFeed เข้าซื้อกิจการ HuffPost สื่อดิจิทัลในเครือ Verizon ผนึกกำลังข่าวโซเซียล ขยายฐานลูกค้า เพื่อดึงรายได้โฆษณาเพิ่มขึ้น โดยถือเป็นการควบรวมสื่อออนไลน์ครั้งใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นทางรอดใหม่ในวงการที่มีการเเข่งขันสูง

ข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้ BuzzFeed เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน HuffPost (ชื่อเดิม The Huffington Post) ขณะที่ Verizon Media นั้นจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของทั้งสองบริษัท อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการระบุราคาหรือส่วนแบ่งการถือหุ้น ณ ขณะนี้

การรวมตัวกันของยักษ์ใหญ่สื่อดิจิทัลอย่าง BuzzFeed เเละ Huffpost นับเป็นดีลที่เจรจากันกับคนที่คุ้นเคย เพราะ Jonah Peretti ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง BuzzFeed นั้นเคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Huffpost ขึ้นมาในปี 2005 ก่อนจะขายกิจการให้ Verizon ในปี 2015 ผ่านดีลซื้อกิจการ AOL มูลค่ากว่า 4.4 พันล้านเหรียญ เเละต่อจากนี้ Peretti จะกลับมาเป็นผู้นำของทั้งสองบริษัทที่เขาร่วมก่อตั้งมาอีกครั้ง

โดยเเนวทางหลักๆ ทั้ง BuzzFeed เเละ Huffpost จะร่วมกันเเชร์ข้อมูลเเละเนื้อหา ซึ่งจะยังคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์ รูปเเบบเเละคงสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงทีมงานเดิม ขณะเดียวกันก็จะได้พลังเสริมจาก Verizon Media ที่มีสื่อดิจิทัลต่างๆ ในมืออย่าง Techcrunch, Engadget เเละ Yahoo!

การที่ฐานผู้อ่านทั้งสองแพลตฟอร์มต่างกันมาก จึงเป็นการรวมตัวกันเพื่อขยายฐานลูกค้ามุ่งหารายได้จากค่าโฆษณาที่สูงขึ้น เเต่ก็ยังต้องเเข่งขันอย่างดุเดือดกับสื่อออนไลน์ที่ผุดขึ้นมามากมาย ทำให้รายได้ของธุรกิจสื่อลดลง รวมถึงต้องสู้กับเจ้าเทคโนโลยีรายใหญ่ที่โกยรายได้มหาศาลจากโฆษณาอย่าง Google เเละ Facebook ด้วย

ก่อนหน้านี้ Verizon Media เริ่มปรับพอร์ตสื่อในเครือใหม่ โดยพยายามจะขาย Yahoo Finance แต่ไม่สำเร็จ จากนั้นได้ขายแพลตฟอร์ม Tumblr ไปเมื่อปีที่เเล้ว

สำหรับ The Huffington Post เป็นเว็บไซต์ข่าวออนไลน์รายใหญ่ของสหรัฐฯ รีแบรนด์ตัวเองใหม่เป็น HuffPost เมื่อปี 2017 หลังใช้ชื่อเดิมมานาน 12 ปี

ช่วงที่ผ่านมา HuffPost ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงิน จากรายได้โฆษณาที่ลดลง จนถึงใช้มาตรการลดต้นทุนหลายอย่าง เช่น ปลดพนักงาน และพยายามปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจมาขายสมาชิกรายเดือน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก

ความเคลื่อนไหวของสื่อดิจิทัลที่ควบรวมกัน กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในวงการนี้ เพื่อให้มีเครือข่ายที่ครอบคลุม มีฐานผู้อ่านเพิ่มเเละหลากหลายขึ้น มุ่งหารายได้ใหม่ๆ 

ในปีที่ผ่านมา สื่อดิจิทัลอย่าง Vox Media ได้ซื้อกิจการ New York Media สื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ และ Vice Media Group ได้ซื้อสื่อไลฟ์สไตล์ Refinery29 ที่มีฐานผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ทั้งหมดนี้ นำไปสู่โอกาสการขยายฐานลูกค้า ทำรายได้จากโฆษณามากขึ้น เพื่อเเข่งขันกับคู่เเข่งรายใหญ่

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC 

]]>
1307043
เปิดรายได้โฆษณาทีวีดิจิทัล 11 เดือน ปี 61 ทำได้ 6.2 หมื่นล้าน ช่อง HD ทำรายได้สูงสุดเกือบ 4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1205399 Wed, 26 Dec 2018 23:07:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205399 จากการเก็บข้อมูลของนีลเส็น มูลค่าโฆษณากลุ่มธุรกิจทีวีดิจิทัลใน 11 เดือนปี 2561 มีการเติบโตประมาณ 8% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 เมื่อแยกเป็นหมวดธุรกิจตามหมวดการประมูลทีวีดิจิทัลของ กสทช. พบว่า หมวด HD เป็นกลุ่มที่ทำรายได้สูงสุดจากทุกกลุ่ม

กลุ่มช่อง HD มีทั้งหมด 7 ช่อง ประกอบไปด้วย ช่อง 7, ช่อง 3, ช่องวัน, ช่อง 9, ไทยรัฐทีวี, อมรินทร์ทีวี และพีพีทีวี ทำรายได้โฆษณาทั้งปี มีมูลค่ารวมกว่า 3.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่ารายได้ส่วนใหญ่ประมาณ 70% ยังเป็นของกลุ่ม HD ยังเป็นของ 2 ช่องใหญ่ คือช่อง 3 และช่อง 7 ที่เหลือเฉลี่ยกันไปตามสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับเรตติ้งเฉลี่ยช่อง โดยที่พีพีทีวียังเป็นช่องที่มีรายได้น้อยที่สุดในกลุ่มนี้

จากตัวเลขคาดการณ์นี้แม้เป็นตัวเลขเรตการ์ด ที่ยังไม่รวมส่วนสด แต่ก็แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์แนวโน้มรายได้ของแต่ละช่องเป็นอย่างไร ในกลุ่มนี้ “พีพีทีวี” กลายเป็นช่องที่มีมาร์เก็ตแชร์น้อยที่สุด ทำให้พีพีทีวีกลายเป็นช่องที่มีความ aggressive สูงสุด ที่ประกาศพร้อมทุ่มทุน ดึงรายการใหญ่จากช่องต่างๆ ตั้งแต่ The Voice จากช่อง 3 และ “กิ๊ก ดู๋” จากช่อง 7 รวมถึงแผนการสร้างสังกัดดารา โดยดึง “ปุ๊กลุก-ฝนทิพย์ วัชรตระกูล” นักแสดงดังมาเข้าสังกัดรายแรก ที่คาดว่าจะเปิดตัวในปีหน้านี้

หมวด SD เวิร์คพอยท์นำกลุ่ม

สำหรับหมวดช่อง SD วาไรตี้ มีทั้งหมด 7 ช่อง เวิร์คพอยท์, ช่อง 8, โมโน, ช่อง 3SD, ทรูโฟร์ยู, จีเอ็มเอ็ม 25 และนาว 26 ทำรายได้โฆษณาไปรวมกันกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 26.6% ของรายได้รวมของทุกช่อง โดยที่เวิร์คพอยท์เป็นผู้นำรายได้สูงสุดของกลุ่มนี้

ถัดจากเวิร์คพอยท์ คือ ช่อง 8, โมโน, ทรูโฟร์ยู, 3SD, จีเอ็มเอ็ม 25 และช่องนาว 26 ซึ่งไม่เป็นไปตามตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยและอันดับของช่อง เพราะจุดเด่นจุดแข็งของแต่ละช่องมีความแตกต่างกัน

ช่อง 8 เป็นช่องที่ให้ความสำคัญกับโฮมช้อปปิ้ง รายได้โฆษณาจึงมาจากการขายสินค้าและบริการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่โมโนเป็นช่องลงหนังยาว มูลค่าโฆษณามีน้อยกว่า จึงทำให้เห็นได้ชัดว่าโมโนต้องประกาศธุรกิจโฮมช้อปปิ้งของตัวเองด้วยเช่นกัน ในชื่อรายการ 29 Shopping

ทรูโฟร์ยู ส่วนใหญ่เป็นสินค้าและบริการในเครือซีพี แม้เรตติ้งน้อยกว่าช่อง 3 SD แต่มูลค่าโฆษณาจึงมีสูงกว่า ส่วนช่องนาว 26 แม้เรตติ้งเฉลี่ยช่องอยู่ในอันดับ 10 เพราะได้รายการถ่ายทอดสดมวยไทยเป็นรายการหลัก แต่รายได้โฆษณาช่องไม่ได้สูงมากนัก อยู่เป็นอันดับสุดท้ายของกลุ่มนี้

กลุ่มช่องข่าว รายได้ไล่เรี่ยกัน

กลุ่มช่องข่าว มีอยู่ทั้งหมด 6 ช่อง เนชั่นทีวี, ทีเอ็นเอ็น, ไบรท์ทีวี, สปริงนิวส์, นิวทีวี และวอยซ์ทีวี นั้น มีรายได้โฆษณาใกล้คียงกันในกลุ่ม 4 ช่อง คือ เนชั่นทีวี,ทีเอ็นเอ็น, ไบรท์ทีวี และสปริงนิวส์ โดยมี 2 ช่อง นิวทีวีและวอยซ์ทีวีเป็นอีกกลุ่มที่ไล่เรี่ยกัน

รายได้รวมของกลุ่มช่องข่าวรวม 11 เดือนอยู่ที่ 2.368 ล้านบาท คิดเป็น 3.79% ของรายได้รวมของทุกช่อง โดยในกลุ่มนี้ เนชั่นทีวีมีเรตติ้งเฉลี่ยช่องสูงสุดเมื่อเทียบกับช่องอื่นๆในกลุ่ม

จากสถานการณ์รายได้โฆษณาในกลุ่มช่องข่าวที่มีสัดส่วนน้อยมาก ในจำนวน 6 ช่องนี้ จึงมีสปริงนิวส์ เป็นช่องแรกที่ต้องขายธุรกิจให้กับทีวี ไดเร็ค เพื่อเตรียมตัวเป็นช่องทีวีช้อปปิ้งเต็มรูปแบบในปีหน้าเป็นต้นไป

ส่วนกลุ่มช่องเด็กที่เหลืออยู่เพียง 2 ช่อง คือ 3 Family และ MCOT Family นั้น มีรายได้โฆษณารวมกันเพียง 568 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.91% เท่านั้น

ทั้งนี้การเป็นช่องเด็ก มีข้อจำกัดมากจากเงื่อนไขการโฆษณาสินค้าในกลุ่มช่องเด็ก ทำให้ไม่สามารถลงโฆษณาได้ทุกชิ้น จึงกลายเป็นจุดอ่อนของกลุ่มช่องเด็ก ที่แทบจะไม่มีกำไรในการบริหารงาน เนื่องจากรายได้โฆษณาลงน้อยมาก

ช่องรัฐยัง “อู้ฟู่”

กลุ่มช่องรัฐ มี 3 ช่องหลัก คือ ช่อง 5, NBT และ ไทยพีบีเอส แต่เนื่องจากไทยพีบีเอสไม่สามารถมีรายได้จากโฆษณาได้ ในกลุ่มรายได้จากค่าโฆษณาของกลุ่มนี้ จึงหมายรวมถึง 2 ช่อง ช่อง 5 และ NBT เท่านั้น

รายได้รวมของกลุ่มช่องรัฐ 2 ช่อง ในรอบ 11 เดือนของปีนี้มีมูลค่ารวม 4,236 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 7% ของมูลค่ารวม มีรายได้สูงกว่ากลุ่มช่องข่าว และช่องเด็กเสียอีก

ทั้งนี้เกินกว่า 50% ของรายได้ในกลุ่มนี้เป็นของช่อง 5 ที่ได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ในปีนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นตัวเลขคาดการณ์จากเรตการ์ด ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงจะต้องมีการหักส่วนลด ของแถมที่แตกต่างกันในแต่ละช่องอีก แต่ตัวเลขประมาณการทั้งหมดนี้ ก็แสดงให้เห็นภาพรวมของวงการทีวีดิจิทัลในปี 2561 ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ปีหน้าใครจะอยู่ใครจะไป รอลุ้นกัน.

]]>
1205399