ราเม็ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Jan 2025 06:33:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ซูชิ’ ครองแชมป์ร้านอาหารญี่ปุ่น ‘ปิดตัวมากที่สุด’ เหตุผู้บริโภคมองหา ‘รสชาติต้นตำรับในราคาย่อมเยา’ สวนทางต้นทุนที่สูง https://positioningmag.com/1505649 Thu, 09 Jan 2025 02:45:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1505649 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า มูลค่าของธุรกิจร้านอาหารปี พ.ศ. 2567 จะเติบโตขึ้น 8.9% จากปีก่อน คิดเป็น 5.45 แสนล้านบาท โดยร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบจะเติบโต 6.9% จากปีก่อน คิดเป็น 2.07 แสนล้านบาท แม้มูลค่าจะเติบโต แต่จำนวนร้านอาหารเปิดใหม่กับปิดตัวแทบจะเรียกได้ว่าแทบ ครึ่งต่อครึ่ง เพราะการแข่งขันที่รุนแรง รวมไปถึง ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่เริ่มเห็นการเติบโตของร้านที่ช้าลง

ร้านอาหารญี่ปุ่นเริ่มโตอืด

จากการสำรวจของ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กรุงเทพฯ พบว่า การเติบโตของ ร้านอาหารญี่ปุ่น ในประเทศไทย ปี 2567 ที่ผ่านมาจะเริ่ม ชะลอตัว อันเป็นผลจากการแข่งขัน และสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้มีร้านอาหารญี่ปุ่นเปิดใหม่เพียง 165 ร้าน หรือเติบโต +2.9% รวมทั้งหมดเป็น 5,916 ร้าน โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการเติบโต 2.7% ส่วนในต่างจังหวัดเติบโต 3.1%

สำหรับประเภทร้านอาหารที่ ปิดมากที่สุด ได้แก่

  • ซูชิ เหลือ 1,279 ร้าน -6.8%
  • สุกี้, ชาบู เหลือ 448 ร้าน -1.1%
  • ข้าวหน้าเนื้อ เหลือ 162 ร้าน -4.1%
  • ข้าวแกงกะหรี่, ข้าวห่อไข่ เหลือ 156 ร้าน -1.3%

คุโรดะ จุน ประธานเจโทร กรุงเทพฯ อธิบายว่า ร้านซูชิซึ่งเป็นประเภทร้านที่มีจำนวนร้านมากที่สุดตั้งแต่ปี 2563 ถึงปี 2566 โดยปัจจัยที่ร้านซูชิปิดเยอะเป็นเพราะ การแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมามีร้านซูชิคุณภาพดีและราคาไม่แพงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องการซูชิที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นกว่าในอดีต ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร้านซูชิที่แข่งขันกันด้านราคา 

ขณะเดียวกัน ต้นทุนก็สูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากราคาวัตถุดิบ และค่าแรงต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ร้านซูชิในไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก บางส่วนเป็นร้านแฟรนไชส์ ดังนั้น เป็นไปได้ว่าอาจจะมีบางร้านที่เลือกจะไม่ต่อสัญญา รวมถึงมีบางส่วนที่เปลี่ยนจากขายซูชิอย่างเดียว ไปขายอาหารประเภทอื่น ๆ รวมด้วย

สำหรับประเภทร้านอาหารที่ เปิดใหม่มากที่สุด 

  • ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น จำนวน 1,439 +6.3%
  • ราเมง จำนวน 802 ร้าน +8.2%
  • อิซากายะ จำนวน 480 ร้าน +9.8%
  • ปิ้งย่าง จำนวน 433 ร้าน +3.8%
  • คาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่น 329 ร้าน +13.1%
  • แฮมเบิร์ก จำนวน 151 ร้าน +4.9%
  • อาหารทอด เช่น ทงคัตสึ, เทมปุระ 149 ร้าน +9.6%
  • อุด้ง, โซบะ จำนวน 36 ร้าน +16.1%

“ที่อาหารประเภทเส้นเติบโตเยอะเป็นเพราะคนไทยรู้จักและคุ้นเคย สามารถทานง่าย ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาง่ายกว่าการทำซูชิ ทำให้ร้านเปิดได้ง่าย ส่วนร้านอิซากายะก็ได้รับความนิยมจากคนไทยมาก เพราะสามรถนั่งกินดื่มได้แบบสบาย ๆ โดยเฉพาะร้านที่เป็นย้อนยุคคนไทยจะชอบ ส่วนร้านคาเฟ่เติบโตได้ดีในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว”

ร้านพรีเมียมหัวละ 1,000+ เพิ่มขึ้นมากที่สุด

เมื่อวิเคราะห์ร้านตามระดับราคาเฉลี่ยต่อหัวพบว่า ร้านที่มีราคาเฉลี่ยต่อหัว 

  • ราคา 101 – 250 บาท (2,057 ร้าน) +3%
  • ราคา 251 – 500 บาท (1,401 ร้าน) +4.4%
  • ราคา ต่ำกว่า 100 บาท (749 ร้าน) +2.4%
  • ราคา 501 – 1,000 บาท (681 ร้าน) -6.4%
  • ราคา มากกว่า 1,000 บาท (270 ร้าน) +13.9% 

“ในไทยสามารถแบ่งผู้บริโภคได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการร้านอาหารที่ราคาไม่สูงมาก และกลุ่มที่ต้องการทานร้านพรีเมียม อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ทานร้านที่ราคาไม่สูงมาก ก็ยอมจ่ายแพงขึ้นได้ในบางโอกาส”

ร้านเฉพาะทางจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเติบโตของจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยจะชะลอตัวลง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภค แต่เชื่อว่าจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยจะยังเติบโตได้ เพราะประเทศไทยมีการรับประทานอาหารญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน ชาวไทยจึงคุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่นเป็นอย่างดี โดยเฉพาะใน ต่างจังหวัด ที่ยังมีโอกาสเติบโต

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นมากถึง 1 ล้านคน/ปี ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดแนวโน้มของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมพร้อมทั้งค้นหาเทรนด์ใหม่ ๆ ของอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้น มองว่า เทรนด์ต่อไปของร้านอาหารญี่ปุ่นจะเป็น ร้านเฉพาะทาง เช่น ร้านแฮมเบิร์ก HIKINIKU TO COME ที่เพิ่งมาเปิดในไทย เป็นต้น 

ปัจจุบัน ไทยถือเป็นประเทศที่มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นมากเป็น อันดับ 6 ของโลก ตามหลัง จีน (78,760 ร้าน), สหรัฐอเมริกา (26,040 ร้าน), เกาหลีใต้ (18,210 ร้าน), ไต้หวัน (7,440 ร้าน) และ เม็กซิโก (7,120 ร้าน)

]]>
1505649
ยังไม่อิ่มตัว! “ร้านอาหารญี่ปุ่น” ในไทยยังเติบโตได้ 8% แม้กระแส ‘หม่าล่า’ จะมาแรง https://positioningmag.com/1458311 Thu, 11 Jan 2024 01:58:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458311 แม้ว่าปีนี้เทรนด์ของ หม่าล่า จะมาแรงขนาดที่แพลตฟอร์ม LINE MAN ยังยกให้เป็น “ปีแห่งหม่าล่า” ดันยอดเดลิเวอรีหมวดเมนูหม่าล่าโตสูงขึ้นถึง 45% มีคำสั่งกว่า 1 ล้านออเดอร์ แต่ ร้านอาหารญี่ปุ่น ในไทยยังเติบโตจนมีจำนวนร้านมากสุดอันดับ 6 ของโลก และยังมีช่องว่างให้ไปต่อได้อีก

ไทยขึ้น Top6 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากสุดในโลก

จากการสำรวจขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กรุงเทพฯ พบว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีจำนวน 5,751 ร้าน เพิ่มขึ้น 426 ร้าน หรือ 8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถ้าเทียบกับภาพรวมทั่วโลก ไทยถือเป็นประเทศที่มีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นมากเป็น อันดับ 6 ของโลก ตามหลัง จีน (78,760 ร้าน), สหรัฐอเมริกา (26,040 ร้าน), เกาหลีใต้ (18,210 ร้าน), ไต้หวัน (7,440 ร้าน) และ เม็กซิโก (7,120 ร้าน)

แม้ว่าจำนวนร้านจะเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ 5 จังหวัดปริมณฑล และต่างจังหวัด แต่ในปริมณฑลและเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดมีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อเปรียบเทียบจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในปี 2561 และปี 2566 พบว่า

  • ร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 5 เท่า
  • 5 จังหวัดปริมณฑลเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า
  • ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า
  • รวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 1.9 เท่า

ราเมง, ชาบู, สุกี้ เพิ่มมากสุด

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ตามประเภทร้านอาหารพบว่า มีทั้งการขยายตัวและการหดตัว โดยประเภทร้านอาหารที่เติบโต ได้แก่

  • ร้านราเมง
  • ร้านสุกี้ยากี้
  • ร้านชาบู
  • ร้านอิซากายะ
  • ร้านเนื้อย่าง (ยากินิกุ)

ส่วนประเภทร้านที่จำนวนลดลงคือ ร้านซูชิ ซึ่งเป็นประเภทของร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีจำนวนร้านมากที่สุด โดยมีจำนวนลดลงมากกว่าจำนวนร้านที่เพิ่มขึ้น โดยรวมแล้ว ลดลง 4.1% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหา การแข่งขัน ทั้งจากร้านอาหารญี่ปุ่นด้วยกัน และร้านอาหารประเภทอื่นที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเผชิญกับความท้าทายของ ต้นทุนวัตถุดิบอาหารและค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้น

“ร้านซูชิในกรุงเทพฯ ยังเติบโตขึ้น แต่ที่ปิดตัวเยอะจะเป็นในต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งเป็นประในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีร้านซูชิเปิดใหม่เยอะทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้น อีกทั้งลักษณะเฉพาะของร้านซูชิยังใช้ของสด ทำให้ถ้าขายไม่ได้ก็จะเกิดการสูญเสีย ทำให้การทำธุรกิจร้านซูชิจึงมีข้อจำกัด” คุโรดะ จุน ประธานเจโทร กรุงเทพฯ กล่าว

ราคาเฉลี่ย 101-250 บาท มีจำนวนร้านมากที่สุด

จากการสำรวจในปี 2566 เมื่อแยกจำนวนร้านที่เปิดดำเนินการอยู่แบ่งตำมระดับราคาอาหารเฉลี่ยต่อหัว พบว่า ระดับราคาอาหารเฉลี่ยต่อหัว 101 – 250 บาท มีจำนวนมากที่สุด (2,040 ร้าน) รองลงมาคือ ระดับราคา 251 – 500 บาท (1,333 ร้าน) ตามด้วยราคา กว่า 100 บาท (691 ร้าน) และราคา 501 – 1,000 บาท (690 ร้าน) ซึ่งมีจำนวนร้านใกล้เคียงกัน

เมื่อแยกตามพื้นที่ ระดับราคาอาหารเฉลี่ยต่อหัว 101 – 250 บาทมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ ระดับราคา 251 – 500 บาท ทั้งในกรุงเทพฯ 5 จังหวัดปริมณฑลและต่างจังหวัด อันดับต่อมาสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ ระดับราคา 501 – 1,000 บาท ส่วนพื้นที่ปริมณฑลและต่างจังหวัด ได้แก่ ระดับราคาต่ำกว่า 100 บาท

ยอดขายฟื้นจากโควิด 90%

ในด้านของยอดขายและจำนวนลูกค้าพบว่า ฟื้นตัว 80 – 90% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด โดยการรับประทานอาหารนอกบ้านของผู้บริโภคชาวไทยกลับสู่สภาพช่วงก่อนโควิดแล้ว และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะยังกลับไปไม่ถึงระดับช่วงก่อนโควิด

ที่น่าสนใจคือ ปี 2565 เป็นช่วงที่ยังไม่สามารถเดินทางไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นได้ ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมารับประทานอาหารญี่ปุ่นในประเทศ แต่ปี 2566 ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นได้แล้ว ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นได้อีกครั้ง

รุกต่างจังหวัด หวังเพิ่มการนำเข้า

ปัจจุบัน ไทยถือเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ที่นำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่น และถือเป็นอันดับ 8 ของโลก มีมูลค่าการนำเข้าที่ 465 ล้านเยน ดังนั้น การเชิญชวนให้ร้านอาหารญี่ปุ่น รวมถึงร้านอาหารประเภทอื่น ๆ ในต่างจังหวัดมาใช้วัตถุดิบอาหารจากญี่ปุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ปีที่ผ่านมา เจโทร กรุงเทพฯ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกในต่างจังหวัด เช่น จัดงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นร้านอาหารและร้านค้าปลีกในจังหวัดเชียงใหม่, ขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นการจัดงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจเฉพาะในต่างจังหวัดครั้งแรก

“ต้องยอมรับว่าจากกรณีการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทร ทำให้การส่งออกวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ เพราะจีนที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ได้ระงับการนำเข้า แต่สำหรับไทยยังคงมีการนำเข้าตามปกติ เพราะไทยมีมาตรการการตรวจสอบอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาไทยนิยมนำเข้าปลาซาบะ, ปลาซาดีน แต่ปีนี้เรามีแผนจะนำเสนอหอยเชลล์ (หอยโฮตาเตะ) และปลาคัตสึโอะมากขึ้น”

 

ยังไม่อิ่มตัว ต่างจังหวัดเป็นโอกาสสำคัญ

คุโรดะ ย้ำว่า แม้จะไม่มีการคาดการณ์ว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยจะอิ่มตัวเมื่อไหร่ แต่เชื่อว่า ยังมีที่ว่างที่จะเติบโตได้ แม้ว่าจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยจะมากสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่ถ้าวัดจาก จำนวนเฉลี่ยต่อจำนวนประชากร ไทยถือเป็นอันดับ 4 ของโลก แปลว่ายังมีช่องว่างให้เติบโต

โดยในปีนี้ ทางเจโทรพบว่า มีร้านอาหารในญี่ปุ่นหลายรายที่สนใจมาเปิดสาขาในไทย โดยส่วนใหญ่เป็นร้านราเมง แกงกะหรี่ เป็นต้น

“แม้จะมีอุปสรรคบางประการ เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค การออกแบบเมนูที่เหมาะกับคนไทย แต่อาหารญี่ปุ่นยังคงได้รับความนิยมจากคนไทย แต่เชื่อว่าแนวโน้มในอนาคตจะมีความหลากหลายมากขึ้น และจะแพร่หลายมากขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดที่มีประชากรเยอะ ๆ ซึ่งเรามองว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องนำเสนอรสชาติหรือเมนูต้นฉบับเสมอไป แต่เราอยากเห็นการนำไปปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคไทย”

]]>
1458311
ล้ำ ๆ บริษัทขนส่งในญี่ปุ่นใช้ ‘ซุปราเม็ง’ สกัดเป็นน้ำมันดีเซล https://positioningmag.com/1346793 Sun, 15 Aug 2021 08:56:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346793 ไบโอดีเซล (biodiesel) ถือเป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย และด้วยสามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้บริษัทขนส่งในญี่ปุ่นได้คิดค้นวิธีการนำน้ำซุปทงคตสึราเม็งที่เหลือมาทำเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซล

Masumi Nishida ประธานบริษัทขนส่ง Nishida Shoun ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฟุกุโอกะ ได้คิดค้นวิธีเพิ่มพลังให้รถบรรทุกของเขาด้วยเชื้อเพลิงไบโอดีเซลซึ่งทำมาจากน้ำซุปทงคตสึราเม็งที่เหลือ โดยนำน้ำมันที่ใช้แล้วทิ้ง ผสมน้ำมันหมูที่สกัดจากน้ำซุปซึ่งทำจากกระดูกหมู

เบื้องต้น บริษัทได้เริ่มใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซลในรถบรรทุกบางคันจากทั้งหมด 170 คัน และมีแผนที่จะใช้กับน้ำมันดีเซลทั้งหมดตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป ซึ่งเชื้อเพลิงไบโอดีเซลเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับน้ำมันดีเซลปิโตรเลียม และเป็นที่ทราบกันดีว่าเชื้อเพลิงไบโอดีเซลช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Masumi Nishida กล่าวว่า ตนได้คิดค้นการใช้น้ำซุปทงคตสึราเม็งสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2556 เมื่อเขาได้รับการติดต่อจากหนึ่งในซัพพลายเชนราเม็งขณะทำการวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่ได้จากน้ำมันพืช เนื่องจากมีต้นทุนในการกำจัดน้ำซุปราเม็งที่เหลือทิ้ง ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะนำน้ำซุปมาใช้เป็นน้ำมันได้หรือไม่ ทำให้ Masumi Nishida ในวัย 74 ปี ได้พัฒนาอุปกรณ์เพื่อแยกน้ำมันหมูออกจากน้ำซุปที่สามารถใส่ในครัวของร้านราเม็งได้

Masumi Nishida ประธานบริษัทขนส่ง Nishida Shoun

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าน้ำมันหมูจะแข็งตัวได้ง่ายเมื่อเทียบกับน้ำมันพืช แต่ Masumi Nishida ได้คิดค้นวิธีกำจัดองค์ประกอบบางอย่างในระหว่างการกลั่น เพื่อให้สามารถผสมกับเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่ทำจากน้ำมันที่ใช้แล้วทิ้งได้ ปัจจุบัน บริษัทซื้อน้ำมันหมูและน้ำมันสำหรับประกอบอาหารที่ใช้แล้วของเสียจากร้านอาหารประมาณ 2,000 แห่ง และใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงประมาณ 3,000 ลิตรต่อวัน ที่โรงงานในจังหวัด

“ในตอนแรกผมก็ไม่มีความรู้ด้านเคมีมาก่อนและมันเป็นเรื่องของการลองผิดลองถูก แต่การพัฒนาของฉันได้เห็นแสงสว่างของวันที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นความท้าทายครั้งใหญ่” Masumi Nishida กล่าว

Source

]]>
1346793
ผลวิจัยญี่ปุ่นชี้! กิน “ราเม็ง” มากเกินไป เสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก https://positioningmag.com/1257940 Sun, 22 Dec 2019 14:18:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257940 Photo : Pixabay
ผลการวิจัยในญี่ปุ่นพบความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ที่มีจำนวนร้านราเม็งมากเท่าไหร่ ยิ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองแตกมากด้วยเท่านั้น

ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์จิชิ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Journal ของอังกฤษ ระบุว่า ราเม็งมีปริมาณเกลือสูงมาก ซึ่งทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดในสมองแตก

ในการวิจัยได้แบ่งจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ตามจำนวนร้านราเม็ง, ร้านฟาสต์ฟู้ด, ร้านอาหารอิตาลีและฝรั่งเศส รวมทั้งร้ายอูด้ง และบะหมี่โซบะ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนร้านอาหารต่อประชากร และอัตราการเสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองแตกและหัวใจวาย โดยใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรับเฉลี่ยอายุและเพศ

ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดที่มีร้านราเม็งต่อประชาการยิ่งมาก อัตราการเสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองแตกก็มากตามไปด้วย จังหวัดที่มีจำนวนร้านเราเม็งมากได้แก่ ยามางาตะ โทชิงิ อาโอโมริ อากิตะ นีงาตะ คาโงชิมะ จังหวัดเหล่านี้ มีผู้เสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองแตกสูงทั้งชายและหญิง

ถึงแม้จำนวนผู้เสียชีวิตจากหลอดเลือดในสมองแตกในญี่ปุ่นจะลดลงในภาพรวม แต่ว่าก็ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวญี่ปุ่นสูงเป็นอันดับที่ 4

อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยก็ไม่ได้โทษว่าร้านราเม็งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตกทั้งหมด เพราะพบว่า ในจังหวัดดังกล่าว ประชากรก็นิยมทานอาหารรสเค็มมากอยู่แล้ว โดยประชาชนบริโภคเกลือมากติดอันดับประเทศ

นอกจากปริมาณเกลือที่สูงมากในราเม็งจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตก ความดันโลหิตสูง และความจำเสื่อมแล้ว ราเม็งยังมีน้ำตาล ผงชูรส และไขมันสูงมาก ซึ่งทำให้เป็นอาหารจานเด็ดของญี่ปุ่นมีรสชาติเข้มข้นเอร็ดอร่อย แต่ว่าไม่ดีต่อสุขภาพ

Source

]]>
1257940
อ่านแผน Ippudo วางเป้าเชนราเมนระดับโลก ขอ 600 สาขาภายในปี 2026 https://positioningmag.com/1254491 Thu, 21 Nov 2019 15:50:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254491 Photo : facebook.com/IppudoThailand

Ippudo เชนราเม็งามแดงจากญี่ปุ่นประกาศตัวพร้อมขยายสาขาทั่วโลก เตรียมขยายเป็น 600 สาขาภายในปี 2026 สำหรับไทยนั่งอันดับ 2 ในตลาดเอเชียด้วยหน้าร้าน 16 สาขารองจากจีน เบ็ดเสร็จแล้วขณะนี้ Ippudo มีสาขานอกบ้านเกิด 120 สาขา ท่ามกลางร้านในญี่ปุ่นรวม 156 สาขา

การประกาศแผนลุยตลาดโลกเกิดขึ้นหลังจาก Ippudo เปิดร้านราเม็งสาขาแรกในต่างประเทศแห่งแรกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นอกจากการขยายสาขาจาก 276 สาขา (สถิติ กันยายน 62) เจ้าพ่อราเม็งชามแดงวางแผนผ่าตัดต้นทุนด้านแรงงานและค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่กำลังเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น จนทำให้กำไรจากการดำเนินงาน Ippudo หดหายในบ้านเกิด

เบื้องต้น Ippudo เผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปีถึงเดือนกันยายน กำไรจากการดำเนินงานโดยรวมของร้าน Ippudo ในญี่ปุ่นลดลง 7% ขณะที่ตัวเลขกำไรจากต่างประเทศพุ่งขึ้น 14% กลายเป็นสิ่งที่ตอกย้ำทิศทางของ Ippudo ในอนาคต

ต้องรักษาโมเมนตัม

Chikaranomoto Holdings บริษัทแม่ของ Ippudo ประกาศแนวทางรักษาการเติบโตอย่างจริงจัง ด้วยการจัดงานประชุมผู้จัดการร้าน Ippudos ประมาณ 100 คนใน 14 ประเทศเช่น จีน ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ให้มารวมตัวกันที่โตเกียวเพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ 3 วัน ทำให้ผู้เข้าร่วมจากทั้งญี่ปุ่นและต่างประเทศได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการขายราเม็งเพิ่มขึ้น

การประชุมนี้ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการใช้รูปภาพในเมนูบางประเทศ ยังมีแนวคิดการทำตลาดบนโลกโซเชียล รวมถึงอีกหลายความพยายามที่จะพา Ippudo ให้ขยายตัวในตลาดต่างประเทศ

Ippudo วางยุทธศาสตร์บุกเมืองใหญ่ให้ได้เป็นอันดับแรก โดย Shigemi Kawahara ประธาน Chikaranomoto Holdings กล่าวว่าถ้า Ippudo ประสบความสำเร็จในนิวยอร์ก ซึ่งศูนย์กลางผู้คน เศรษฐกิจ และสังคมโลก Ippudo ก็จะสามารถปรากฏตัวในตลาดใดก็ได้ ยุทธศาสตร์นี้ทำให้ Ippudo แจ้งเกิดที่ลอนดอนในปี 2014 และปารีสในปี 2016

ยังมีการเปิดสาขาแห่งแรกของนิวซีแลนด์เมื่อปลายเดือนตุลาคม ทำให้ Ippudo แจ้งเกิดใน 15 ตลาดสำเร็จ

ราเม็งกำไรงาม

Ippudo มีการเติบโตชัดเจนในแง่กำไร โดยในช่วงครึ่งแรกของปี ยอดขายถึงเดือนกันยายนของ Ippudo เพิ่มขึ้น 13% เป็น 14,700 ล้านเยน โดยมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 14% เป็น 449 ล้านเยน ตามผลประกอบการที่ประกาศวันที่ 8 .. 62

Ippudo ยังพยายามของปรับแต่งการออกแบบร้านอาหารในบางประเทศเป็นพิเศษ รวมถึงปรับเมนูเพื่อให้เหมาะกับแต่ละตลาด ตัวอย่างเช่นร้าน Ippudo ในนิวยอร์กที่มีบาร์สำหรับรออาหาร ซึ่งบาร์ลักษณะนี้ไม่เคยมีในร้าน Ippudo ที่ญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้มีส่วนทำให้อัตรากำไรสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ

ต้นสังกัด Ippudo ยอมรับว่าชาวนิวยอร์กชอบดื่มขณะรอเพื่อนหรือดูเมนู โดยปกติจะมีบาร์ลักษณะนี้ในร้านหรู นอกจากนี้ร้าน Ippudo ใน New York ยังมีรายการอาหารตามสั่งและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หลากหลาย ขณะที่ร้านในยุโรป สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์มีให้บริการราเมนมังสวิรัติ และในอินโดนีเซียให้บริการซุปไก่มากกว่าซุปกระดูกหมูเพื่อเจาะตลาดคนอิสลาม

ปัจจุบัน ตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของ Ippudo คือจีน สถิติขณะนี้คือ 34 ร้านสาขารวมฮ่องกง มีการลงนามแต่งตั้งผู้จัดหาวัตถุดิบให้กับร้านค้าทั้งหมดในจีน ทำให้ Ippudo บริหารต้นทุนของบะหมี่และท็อปปิ้งเช่นชาบูหมูตุ๋นได้ดี

ปัญหาที่ Ippudo พบเมื่อขยายสาขาไปทั่วโลก คือการดึงดูดความสนใจจากลูกค้า บางสาขาเช่นในเมลเบิร์นที่เปิดร้านเดือนเมษายน 2018 กลับดึงความสนใจได้น้อยกว่าที่คาดไว้ ทำให้ Ippudo ต้องทำการบ้านเรื่องการตลาดแบบเจาะลึกอย่างจริงจังกว่าเดิม.

Source

]]>
1254491