ร้านอาหารไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Dec 2022 07:58:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ต๊อด ปิติ” – “เชฟชุมพล” เปิดร้าน “หวานไทย” จัดทัพอาหาร-ขนมไทยโบราณ ต่อยอดความสำเร็จจากร้าน R-HAAN https://positioningmag.com/1412949 Mon, 19 Dec 2022 10:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412949

ก้าวสู่ปีที่ 5 เป็นที่เรียบร้อย สำหรับร้านอาหาร (R-HAAN) ร้านอาหารไทยแท้ต้นตำรับสไตล์ Fine Dining ที่ก่อตั้งโดย “ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี” ทายาทรุ่นที่ 4 ของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ผู้มีแพชชั่นอันแรงกล้าในการทำอาหาร ร้านนี้ได้ก่อตั้งร่วมกับและเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทยชื่อดัง

เส้นทาง 5 ปีที่ผ่านมาของร้าน R-HAAN เรียกว่าประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของการประยุกต์อาหารไทยแท้ให้อยู่ในรูปแบบ Fine Dining ได้อย่างลงตัว รวมไปถึงในแง่ของรางวัล เพราะสามารถคว้ารางวัลมิชลินสตาร์ (Michelin star) 1 ดาวได้ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดให้บริการ และสามารถครองรางวัล 2 ดาวมาตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรางวัลมิชลินสตาร์ถือเป็นรางวัลที่มอบให้กับร้านอาหารคุณภาพที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

อีกทั้งร้าน R-HAAN ยังได้รับมอบหมายให้รังสรรค์เมนูสำรับไทย เพื่อต้อนรับผู้นำ 21 ผู้นำเขตเศรษฐกิจอาเซียน ในการประชุม APEC 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความชื่นชมจากผู้นำหลายประเทศมากมาย

จากความสำเร็จของร้าน R-HAAN ในปีนี้ต๊อด ปิติจึงได้ต่อยอดสู่ร้านหวานไทย (Waan Thai) ภายใต้แนวคิด Thai Cuisine, Thai Dessert รังสรรค์อาหารไทย และขนมไทยโบราณในรสชาติแบบไทยแท้ ชูวัตถุดิบพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาค โดยคัดเลือกวัตถุดิบที่ขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว, ข้าวเหนียวดำจากภาคเหนือ เป็นต้น พร้อมกับการผสานความละเมียดละไมทุกขั้นตอนเสิร์ฟผู้บริโภค

นายปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้ก่อตั้ง ร้านอาหาร (R-HAAN) และร้านหวานไทย (Waan Thai) เปิดเผยว่า

“จากความความชื่นชอบ และความสนใจในอาหารไทยสู่แรงบันดาลใจในการเปิดร้านอาหาร (R-HAAN) ร้านอาหารไทยแท้ต้นตำรับสไตล์ Fine Dining ร่วมกับ เชฟชุมพล แจ้งไพรที่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารของไทยที่มีเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์เพื่อให้ชาวไทยและต่างชาติได้ลิ้มลองอาหารสำรับไทยแท้ๆ โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบท้องถิ่นที่ดีที่สุดทั่วประเทศ มารังสรรค์เมนูอาหารรสชาติไทยแท้นำเสนอรูปลักษณ์ที่สวยงาม สะท้อนความเป็นไทย

ล่าสุดต่อยอดความสำเร็จสู่การเปิดร้านหวานไทย (Waan Thai) ร้านอาหารไทย และขนมไทยโบราณ ผสานภูมิปัญญาและรสชาติไทยแท้ คัดเลือกวัตถุดิบเลื่องชื่อจากแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย นำมารังสรรค์ด้วยวิธีการปรุงตามแบบสมัยใหม่ จนได้เป็นสูตรเฉพาะทั้งอาหารไทย และขนมหวานอันเป็นเอกลักษณ์ของร้าน ผสมผสานด้วยขั้นตอนการทำที่ประณีตละเมียดละไมนำเสนอในรูปแบบสากลที่ทันสมัยมากขึ้น”

สำหรับร้านหวานไทย (Waan Thai) มีตั้งแต่เมนูอาหารคาวหวานรสชาติไทยแท้ อาทิ หวานไทยไฮที (Waan Thai High Tea), ทับทิมสยามหวานไทย, ซูเฟล่น้ำกะทิแตงไทย, มิลล์เฟยหม้อแกงเผือกหอม, เครปซูเซท ฯลฯ ส่วนเมนูอาหารคาว ได้แก่ ไส้กรอกปลาแนม, ขนมจีนน้ำพริก, โรตีแกงเนื้อพริกขี้หนูสวน, ไข่พะโล้คุณย่า, หมี่กรอบกุ้งแม่น้ำ, ข้าวผัดปลากุเลาเค็มไข่เป็ดซูวีร์ ฯลฯ พร้อมเครื่องดื่มหลากหลากชนิดที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ทั้ง ชาพรีเมี่ยมปรุงสูตรพิเศษจากสิงห์ปาร์ค จ.เชียงราย, น้ำผลไม้สกัดเย็น, น้ำสมุนไพรสกัดเย็น, กาแฟ ฯลฯ

ปิติ ยังเสริมถึงความสำคัญในการเปิดร้านหวานไทยอีกว่า เป็นการพัฒนาขนมไทยให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น ด้วยการใส่นวัตกรรม และขั้นตอนการทำที่ปราณีต เพื่อไม่ให้ขนมหวานไทยโบราณต้องหายไปตามยุคสมัย อีกทั้งร้านนี้ยังเสริมกลุ่มไลน์อาหารจานเดียวเข้ามาเพื่ออุดช่องว่างของร้านอาหารที่เป็นร้านสไตล์ Fine Dining เพื่อให้ลูกค้าได้ทานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งร้านหวานไทยยังเปิดช่วงกลางวัน เสริมจากที่ร้านอาหารเปิดให้บริการแค่ช่วงเย็น ในอนาคตมีแผนจะเปิดให้บริการตั้งแต่เช้า และมีไลน์อาหารเช้าเพิ่มเติมอีกด้วย

ร้านหวานไทย (Waan Thai) ตั้งอยู่ที่ทองหล่อ ซ.9 อยู่ติดกับร้านอาหาร เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 – 17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมโทร. 094-215-3945 หรือ www.waanthai.com FB, IG: @waanthaidessert

]]>
1412949
เปิดตำนาน 60 ปี “แม่ศรีเรือน” ฝ่า 4 วิกฤตการณ์ สู่ก๋วยเตี๋ยวไก่ 500 ล้าน https://positioningmag.com/1309442 Tue, 08 Dec 2020 16:39:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309442 พามาร่วมเปิดตำนาน “แม่ศรีเรือน” จากร้านก๋วยเตี๋ยวไก่สู่ร้านอาหารไทย 500 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นจากสาขาเล็กๆ ที่พัทยา จนขยายมาในกรุงเทพฯ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายมรสุม แต่ก็ยังยืนหยัด ปีนี้มีการขยับครั้งใหญ่ เปิดไลน์สินค้า “น้ำแกง” จับตลาดคนทำอาหารที่บ้าน โฮเรก้า

ตำนาน 60 ปี ตั้งแต่ชามละ 6 สลึง

เชื่อว่าหลายคนต้องคุ้นเคย และเติบโตมากับร้านอาหาร “แม่ศรีเรือน” เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เป็นตำนานเกือบ 6 ทศวรรษ สร้างชื่อจากเมนูก๋วยเตี๋ยวไก่ สู่เมนูอาหารไทยอื่นๆ มากมาย

ชาณ เรืองรุ่ง กรรมการบริหาร บริษัท ครัวแม่ศรีเรือน จำกัด เป็นทายาทเจน 2 ของแม่ศรีเรือน เข้ามาเริ่มดูกิจการตั้งแต่สาขาแรกตอนปี 2514 ได้เห็นการพัฒนาของแบรนด์อยู่ตลอดเวลา ได้เริ่มเล่าว่า

จุดเริ่มต้นของร้านได้เปิดสาขาแรกที่พัทยากลาง ตั้งแต่ปี 2504 โดยคุณยายศรีเรือนเป็นคนคิดค้นสูตรก๋วยเตี๋ยวไก่ด้วยตนเอง เนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงมีนโยบายให้คนไทยทานก๋วยเตี๋ยวแทนข้าวแกง คุณยายจึงเริ่มคิดค้นสูตรก๋วยเตี๋ยว มีถั่วงอก เส้น ไก่ฉีก และมะนาว เริ่มขายตั้งแต่ชามละ 6 สลึง

ด้วยความที่เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงเกิดกระแสปากต่อปาก ลูกค้าจากกรุงเทพฯ ที่ไปเยือนก็ติดใจ จึงขยายสาขามาที่กรุงเทพฯ แห่งแรกเมื่อปี 2521 หลังจากนั้นก็เริ่มพัฒนาเมนูอาหารจานเดี่ยว อาหารไทย ของทานเล่นให้มากขึ้น

ฝ่าวิกฤตการณ์ 4 ยุค

ด้วยความที่ชานเข้ามาดูแลกิจการตั้งแต่ยุคแรกๆ ตั้งแต่ก๋วยเตี๋ยวชามละ 6 บาท จนพัฒนาทั้งเมนู และราคามากขึ้นเรื่อยๆ ได้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากมาย แต่ที่หนักที่สุดมี 4 เหตุการณ์ ที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของแม่ศรีเรือน

msr แม่ศรีเรือน

1. วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เป็นเหตุการณ์ที่หลายธุรกิจต้องผ่านมาอย่างแน่นอน ตอนนั้นหลายคนได้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหนักหนา ชานบอกว่าตอนนั้นแม่ศรีเรือนมีอยู่ 3-4 สาขา ก๋วยเตี๋ยวชามละ 18 บาท เป็นเหตุการณ์ที่นึกไม่ถึงว่าจะรุนแรงขนาดนี้ “สิ่งที่นึกไม่ถึงคือ ดอกเบี้ยเงินกู้สูงมาก 17.5% ไม่ได้คิดว่าเดินไปข้างหน้ามีอุปสรรคไรบ้าง”

ตอนนั้นต้องหาเงินให้พอกับดอกเบี้ย ต้องตัดทุกสิ่งทุกอย่าง ขายบางสาขา ตัดหนี้สิน ขายหมด ปลดภาระ ต้องประนอมหนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 7 ปี ถึงใช้หนี้กว่า 20 ล้านบาทหมด

“พอมีวิกฤตก็ทำให้เรานึกขึ้นได้ว่า พอทำธุรกิจแล้วลืมเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง ทุกธุรกิจมีความเสี่ยงตลอดเวลา หลังจากนั้นมีความเข้าใจความเสี่ยงเกิดขึ้นตลอดเวลา”

2. วิกฤตไข้หวัดนก ปี 2547 ทำให้คนเกิดความกลัว และไม่กล้ากินเตี๋ยวไก่ ชานบอกว่าตอนนั้นเริ่มมี 6-7 สาขาแล้ว แต่ “ขายไม่ได้เลย ไม่มีคนเข้าร้าน” ทำให้ตอนนั้นเริ่มพัฒนาเมนูใหม่มากขึ้น และทำการสื่อสาร ถึงกับออกโรดโชว์ทำให้ลูกค้ารู้ว่าไก่ที่สุกแล้วมีความปลอดภัย สามารถทานได้ ใช้เวลา 3 เดือน ลูกค้าถึงกลับมาทานเหมือนเดิม

3. วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ตอนนั้นสาขารอบนอกกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก 6-7 สาขา ต้องปิดให้บริการหมด งดการขยายการลงทุนโรงงานฝ่ายผลิตที่ลำลูกกา เพราะโซนนั้นน้ำท่วม ส่วนโซนที่น้ำไม่ท่วมก็ยอดขายลดลง เพราะไม่ออกมาใช้จ่าย ทุกคนวิกฤตหมด ต้องดูแลตัวเองมากขึ้น

4. วิกฤตไวรัส COVID-19 ปี 2563 เป็นวิกฤตล่าสุดที่ไม่สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าผ่านไปแล้ว เพราะไวรัสยังคงไม่หายไป แต่ไม่ได้มีมาตรการล็อกดาวน์เท่านั้นเอง ชานบอกว่าวิกฤตมีโอกาสที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ ได้พัฒนาเดลิเวอรี่ เรียนรู้แพลตฟอร์มที่ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่าย พัฒนาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ รสชาติ แพ็กเกจจิ้ง พัฒนารสชาติอาหารให้เหมาะกับการเดลิเวอรี่ ทุกวิกฤตมีโอกาสพัฒนาเรียนรู้

“วิกฤต COVID-19 รุนแรงเหมือนสงครามโลก ทุกคนโดนกันหมด กำลังซื้อหายไป ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคกับการทานอาหารเปลี่ยนไป เราก็ต้องพัฒนาสิ่งที่เป็นความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เขาไม่ต้องเดินทางมาทานที่ร้านก็ได้”

แตกไลน์ “น้ำแกง-ปิ่นโต” ต้องเป็นสำรับที่ 2 ของครอบครัว

ในปีนี้ถือเป็นการขยับตัวครั้งใหญ่ของแม่ศรีเรือน ได้พัฒนาสินค้าที่เป็น “ต้นน้ำ” เป็นครั้งแรก ได้จำหน่าย “น้ำแกงปรุงสำเร็จ” สำหรับปรุงอาหารที่บ้านได้ และ “สำรับแม่ศรีเรือน” เป็นโปรแกรม Subscription ตามแพ็กเกจ ทางร้านจะส่งอาหารให้ประจำทุกวัน

“จริงๆ ตรงนี้เป็นวัฒนธรรมอาหารไทย เราอยากให้แม่ศรีเรือนเป็นสำรับสองของครอบครัว ไม่มาที่ร้านก็ทานที่บ้านได้ มีทั้งเดลิเวอรี่ และน้ำแกงปรุงสำเร็จ เป็นรากหญ้าของอาหารไทย เครื่องแกงไทย เปลี่ยนสิ่งที่มีให้ถึงมือผู้บริโภคง่ายขึ้น”

น้ำแกงปรุงสำเร็จ เป็นน้ำแกงหรือเครื่องแกงที่ทางร้านทำ แล้วจัดส่งให้กับทุกสาขาอยู่แล้ว มีทั้งหมด 10 สูตร เช่น แกงส้ม แกงเหลือง แกงเลียง พะแนง เป็นต้น เพียงแต่นำมาพัฒนาบรรจุใส่ถุง เพื่อให้เข้าถึงมือผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น สามารถเป็นต้นทางในการประกอบอาหารได้เลย

“ตลาดโฮเรก้า หรือให้ผู้ประกอบการซื้อเป็นตลาดใหญ่สุด ในอนาคตอยากเปรียบเราเป็นแม็คโคร ทำวัตถุดิบส่งให้ร้านค้าได้ แต่ตอนนี้ต้องเริ่มจากทำตลาดให้กับลูกค้าก่อน ให้ลูกค้าเป็น Influencer กลุ่มร้านอาหารเป็น Connector ตอนนี้มีเทรนด์ที่ว่า บางแห่งไม่ได้มีแม่ครัวประจำ มีแค่คนปรุงอาหาร ซึ่งน้ำแกงจะตอบโจทย์ได้มาก แค่ตัดซองใส่ส่วนผสมอื่นๆ ก็ทานได้แล้ว”

มีการตั้งเป้ารายได้น้ำแกงมาจากลูกค้า 20% และจากร้านอาหาร 80% ในอนาคตจะเข้าจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดภายใน 6 เดือน – 1 ปี

สำหรับ “สำรับแม่ศรีเรือน” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ปิ่นโต” เป็นเหมือนโมเดล Subscription ตามแพ็กเกจต่างๆ เริ่มต้นที่

  • 7 วัน ราคา 3,050 บาท (3 เมนู) – 3,650 บาท (4 เมนู)
  • 14 วัน ราคา 5,750 บาท (3 เมนู) – 6,850 บาท (4 เมนู)
  • 26 วัน ราคา 8,850 บาท (3 เมนู) – 10,750 บาท (4 เมนู)

ทางร้านจะจัดส่งอาหารภายในระยะทางไม่เกิน 8 กิโลเมตร เปรียบเสมือนเป็นการ “ผูกปิ่นโต” กับลูกค้านั่นเอง

ปีหน้าต้องกลับมาโต 10%

ปัจจุบันร้านก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือนมีสาขาที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 27 สาขา ที่พัทยา 4 สาขา และที่หัวหินอีก 1 สาขา รวมทั้งหมด 32 สาขา

ในปีหน้ามีแผนขยายอีก 2 สาขา ร่วมกับพาร์ตเนอร์ “โฮมโปร” กำลังเซตโมเดลไซส์เล็กลง เน้นเทคโฮมเป็นหลัก มีเมนูไม่เยอะ ไม่เกิน 10 อย่าง ปรับตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่อยู่ในศูนยการค้ามีพื้นที่กว่า 200 ตารางเมตร

ในปีนี้เจอวิกฤต COVID-19 ทำให้ยอดขายลดลง 5% คาดว่าจะปิดรายได้ที่ 500 ล้านบาท ปีหน้ามีการตั้งเป้ากลับมาโตให้ได้ 10% ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จจากร้านอาหารแม่ศรีเรือน 80% และกลุ่มขนมไทย 20%

]]>
1309442
ไรมอนแลนด์ กระจายความเสี่ยงจับมือบ้านหญิง ลุยร้านอาหารไทยในต่างแดน รับขาลงธุรกิจอสังหาฯ https://positioningmag.com/1151572 Sun, 24 Dec 2017 23:07:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151572 บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) เลือกที่จะขยายมารุกธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ด้วยการส่ง บริษัท สยาม สพูน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ร่วมทุนกับ บริษัท บางกอก วูดเด้น สพูน จำกัด หรือเจ้าของร้านอาหารบ้านหญิงตั้งบริษัท BAAN YING PTE. LTD., ขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้ทุนจดทะเบียน 1,400,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 33.6 ล้านบาท โดยสยาม สหพูน ถือหุ้น 51% บ้านหญิง 49%

วางเป้าหมาย ขยายร้านอาหารไทยบ้านหญิงในประเทศสิงคโปร์ โดย 3 สาขาแรกจะเปิดให้บริการไตรมาส 1 ปี 2561 และยังมีแผนขยายไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศจีนด้วย

บางกอก วูดเด้น สหพูน มีร้านอาหาร ในเครือทั้งสิ้น 12 แบรนด์ เช่น บ้านหญิงคาเฟ่ แอนด์ มีล ให้บริการ 10 แห่ง ในกรุงเทพฯ, Isan & Grill by Baanying, Three Wheels Tom Yum Noodle, แบรนด์ Uma Uma Ramen จากประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

การร่วมทุนครั้งนี้ จะส่งผลให้ไรมอนแลนด์ มีรายได้ประจำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง (Recurring income) เพื่อกระจายความเสี่ยงของรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว มีสัดส่วนรายได้สูงถึง 98% ประกอบกับที่ผ่านมาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะที่ชะลอตัวเนื่องจากผู้บริโภคอยู่ในภาวะนี้ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยค่อนข้างช้า

แม้ไรมอนแลนด์จะเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับลักชัวรี่เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายระดับบ แต่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ก็มุ่งไปแบ่งเค้กจากตลาดเศรษฐีจึงทำให้การแข่งขันของตลาดอสังหาริมทรัพย์ระดับบนมีความรุนแรง 

ที่ผ่านมาไรมอนแลนด์ต้องผ่านทั้งร้อนหนาว มีทั้งจังหวะเติบโต แต่ก็มีช่วงที่ ล้มละลายต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้ถือหุ้นเปลี่ยนมือหลายรายกระทั่งล่าสุดคือ JS Oil Pte Ltd. ทุนจากสิงคโปร์ ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น JS ASSET MANAGEMENT PTE. LTD.

ถ้าดูผลประกอบการไรมอนแลนด์ พบว่า รายได้ในช่วงเดือนลดต่ำลงมากกว่าปีที่แล้ว ค่อนข้างมาก น่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ไรมอนแลนด์ต้องหารายได้จากธุรกิจอื่น ๆ เข้ามาเสริม

  • เดือน ปี 2560 รายได้ 2,563.73 ล้านบาท กำไรสุทธิ 217.01 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 5,206.43 ล้านบาท กำไรสุทธิ 850.65 ล้านบาท ทำให้ไรมอนแลนด์ ต้องแตกขยายไปหาธุรกิจใหม่ ๆ เข้ามาเสริมรายได้

ขณะที่บ้านหญิง ซึ่งมีสาขาอยู่ตามศูนย์การค้า แบรนด์เป็นที่รู้จักในหมู่คนทำงาน เมื่อได้พาร์ตเนอร์เข้ามาช่วยขยายสาขาไปต่างประเทศเพิ่มโอกาสทางการเติบโตให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น

หากมองธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ปี 2560 จะมีมูลค่า 390,000-397,000 ล้านบาท เติบโต 2-4% แบ่งเป็นเชนร้านอาหาร 119,000-122,000 ล้านบาท ร้านอาหารทั่วไปจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก 271,000-275,000 ล้านบาท นับวันการแข่งขันรุ่นแรงขึ้นทั้งด้านความหลากหลายของเมนูอาหาร ราคาโปรโมชั่น ตลอดจนเดลิเวอรี่ เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น

ส่วนภาพรวมร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย ชาวต่างชาติที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยทำร้านอาหารตั้งแต่ระดับบน ร้านอาหารระดับกลาง ไปจนถึงร้านอาหารแบบเร่งด่วน รวมกันจำนวน 14,908 ร้าน ประกอบกับนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกส่งผลให้อาหารไทยโด่งดังมากขึ้นนั้น จึงสะท้อนโอกาสทางธุรกิจร้านอาหารสำหรับไรมอนแลนด์ในต่างประเทศ

ร้านอาหารไทยเวลานี้บุกขยายไปสร้างตลาดต่างประเทศกันอย่างคึกคัก เช่น บลูเอเลเฟ่นท์ (Blue Elephant) ร้านอาหารไทยระดับบนที่ต่างชาติรู้จักอย่างดีเอสแอนด์พีจับมือกับไมเนอร์ ส่งแบรนด์ ภัทรา และ Suda บุกตลาดอังกฤษ รวมถึงมีร้านอาหารในรูปแบบแฟรนไชส์เจาะลาว เมียนมา เวียดนาม กัมพูชาเกรย์ฮาวด์ คาเฟ่ ร้านอาหารไทยฟิวชั่น เมื่อมาอยู่ในมือของกลุ่มมัดแมน ก็วางที่ขยายตลาดเจาะจีน ฮ่องกง มาเลเซีย และอังกฤษ

แบล็คแคนยอนมีหลายสิบสาขาใน 8 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย, โคคา มีร้านอาหาร 9 แบรนด์ เช่น แม็งโก ทรีโคคา สุกี้, ไชน่าไวท์ เปิดให้บริการกว่า 50 สาขา ในต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์
เป็นหนึ่งในร้านอาหารไทยที่ทำตลาดต่างแดนมานานกว่า 30 ปี เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติอย่างดี รวมถึงค่ายสิงห์ ที่ซื้อกิจการร้านอาหารเอเชีย พาคาต้า ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป้าหมายจะมี 50 สาขาในอนาคต ล่าสุดยังวางแผนเปิด Est.33 ที่ประเทศสหรัฐฯ ด้วย.

]]>
1151572
เมื่อร้านอาหารไทยต้องไปนอก https://positioningmag.com/1111645 Thu, 22 Dec 2016 03:07:24 +0000 http://positioningmag.com/?p=1111645 ตลาดไทยแคบไปแล้ว สำหรับแบรนด์ร้านอาหารไทย ที่ได้เตรียมขยับขยายไปเปิดสาขาในต่างประเทศ ภายใต้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป

ไมเนอร์ซื้อสิทธิ์ “เย็นตาโฟทรงเครื่อง” บุกสิงคโปร์

“มัลลิการ์” เจ้าของแบรนด์ร้าน “เย็นตาโฟทรงเครื่อง” เลือกใช้กลยุทธ์ขายแฟรนไชส์ ในการขยายสาขาเพื่อความรวดเร็วในการเติบโต โดยมีกลุ่มไมเนอร์ คว้าสิทธิ์ลงทุนบริหารแบรนด์ “เย็นตาโฟเครื่องทรง” ในสิงคโปร์ เบื้องต้นเปิดแล้ว 3 สาขา

1_shop_food

อาจารย์มัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ ประธานบริหาร บริษัท มัลลิการ์ อินเตอร์ฟู๊ด จำกัด เปิดเผยถึงว่า เพื่อเป็นการขยายธุรกิจร้านในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว จากเดิมที่บริษัทฯ ลงทุนเองซึ่งอาจจะช้าและใช้เวลานาน จึงหันมาใช้แนวทางในการขายสิทธิ์แฟรนไชส์รายสาขาให้แก่ผู้ที่สนใจ

โดยกลุ่มแรกที่ได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้วคือ กลุ่มไมเนอร์ ที่ซื้อแฟรนไชส์เปิดสาขาแรกแล้วที่ถนนออร์ชาร์ด สิงคโปร์ เมื่อเดือนที่แล้ว (พฤศจิกายน2559) ปัจจุบันไมเนอร์บริหารร้านเย็นตาโฟเครื่องทรงแล้ว 3 สาขา ที่เหลือคือในศูนย์การค้ากับโรงพยาบาลของรัฐในย่านออร์ชาร์ดเช่นกัน โดยวางแผนไว้ว่าปีหน้าจะเปิดอีก 4 -5 สาขาในสิงคโปร์ต่อเนื่อง

ภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกันคือ ไมเนอร์กร๊ปุจะได้สิทธิ์บริหารจัดการและลงทุนเปิดร้านเย็นตาโฟเครื่องทรงเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งไมเนอร์จะต้องชำระค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียวจำนวน 1 ล้านบาทต่อสาขา ระยะเวลา 10 ปี และจ่ายอีก 4% ของยอดขายต่อสาขาต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่ได้ขายมาสเตอร์แฟรนไชส์หรือขายสิทธิ์เป็นรายประเทศให้กับไมเนอร์ รวมทั้งในประเทศอื่นก็เช่นกันไม่ได้ขายมาสเตอร์แฟรนไชส์ให้ใคร แต่บริษัทฯ ทำการขายสิทธิ์เป็นรายสาขา ใครสนใจจะเปิดก็ติดต่อเพื่อรับสิทธิ์ได้

นอกจากในสิงคโปร์แล้ว บริษัทฯ จะขยายในประเทศอื่นอีกที่มีศักยภาพในอาเซียน รวมทั้งจีนด้วย มีแผนที่จะทำการโรดโชว์ในต่างประเทศ โดยร่วมเดินทางไปกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อประชาสัมพันธ์ร้านเย็นตาโฟเครื่องทรงให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งเร็วๆ นี้จะไปโรดโชว์ที่จีน

ในไทยเน้นเปิดสาขาปั๊มน้ำมัน  

ส่วนแผนธุรกิจในไทยปีหน้าคาดว่าจะใช้งบประมาณ 50-60 ล้านบาท เพื่อเปิดใหม่ประมาณ 3-4 สาขา จะเน้นทำเลในปั๊มน้ำมันเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาได้เปิดไปแล้วกับปั๊ม ปตท.หลายสาขา ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีหน้า 300 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันเย็นตาโฟเครื่องทรงมีร้านเปิดบริการรวม 35 สาขา แบ่งเป็น ไทย 30 สาขา, ลาว 2 สาขา และที่สิงคโปร์ 3 สาขา ตั้งเป้าหมายจะเปิดให้ครบรวมเป็น 50 สาขาภายในปี 2563

ร้านอาหารภายในเครือปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 แบรนด์ ได้แก่ 1. ร้าน อ.มัลลิการ์ 2. เรือนมัลลิการ์ 3. ร้านเย็นตาโฟเครื่องทรง โดย อ.มัลลิการ์ 4. ร้านปังยิ้ม คาเฟ่แอนด์เบเกอรี่ 5. ร้านปาป้าปอนด์ และ 6. ร้านคุ้มกะตังค์ ซึ่งรายได้กว่า 70% มาจากร้านเย็นตาโฟเครื่องทรงเป็นหลัก อีก 30% มาจากแบรนด์ที่เหลือรวมกัน

ซานตา เฟ่ สเต๊ก เน้นเออีซี

สำหรับ “ซานตา เฟ่ สเต๊ก” ได้วางเป้าหมาย ในปี 2561 ทั้งเข้าตลาดหุ้น ควบคู่ไปกับการรุกตลาดต่างประเทศ และเปิดแบรนด์ใหม่

2_shop_food

สุรชัย ชาญอนุเดช ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกั บอกถึงแผนการขยายธุรกิจไปต่างประเทศที่จะเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งปีนี้ได้จดลิขสิทธิ์แบรนด์ ซานตา เฟ่ สเต๊ก ไปแล้วใน 8 ประเทศกลุ่มเออีซี ยกเว้นสิงคโปร์กับบรูไน

โดยเบื้องต้นมองที่ประเทศเวียดนามก่อน คาดว่าจะสรุปได้ปลายปี 2560 ซึ่งมีการเจรจากับผู้ที่สนใจอย่างน้อย 3 ราย มีทั้งที่เป็นแลนด์ลอร์ด กลุ่มทุนร้านอาหาร และ 4. การเปิดตัวร้านอาหารแบรนด์ใหม่**

ส่วนผลประกอบการปีนี้ (2559) ทำได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท เติบโต 13% จากปีที่แล้วทำได้ 1,300 ล้านบาท แต่ปีนี้ยังต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ จากเดิมที่ตั้งไว้เติบโต 40% หรือมีรายได้รวม 1,800 ล้านบาท แต่เป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี และการเปิดสาขาใหม่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะหาทำเลที่เหมาะสมไม่ได้ และศูนย์การค้าหลายแห่งชะลอการเปิดโครงการ จากตั้งเป้าเปิด 20 สาขา แต่เปิดได้เพียง 12 สาขาเท่านั้น ขณะนี้มีรวม 90 สาขา ใช้จ่ายของลูกค้าที่เข้าร้านปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 175 บาทต่อคนต่อครั้ง

สำหรับปี 2560 วางแผนจะลงทุนรวม 280 ล้านบาท แบ่งเป็น งบ 150 ล้านบาท ใช้ลงทุนสาขาใหม่ 21 สาขา และตั้งเป้าหมายเติบโต 15-20% หรือมีรายได้รวม 2,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายรวมอีก 5 ปีจากนี้จะมีรายได้รวม 3,000 ล้านบาท สัดส่วนในไทย 90% และในต่างประเทศ 10%

ที่มา : http://astv.mobi/AHqoIkZ

]]>
1111645