วิดีโอออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 23 Dec 2019 03:26:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 NIVEA MEN ควง I Roam Alone ปั้นวิดีโอออนไลน์ยอดวิวสูงสุดประจำสัปดาห์ https://positioningmag.com/1258030 Fri, 20 Dec 2019 16:02:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258030 ในแต่ละสัปดาห์ Socializta ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดในแบบอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง ได้แทร็กวิดีโอทั้งหมดที่อัพโหลดเป็นจำนวนหลักแสนตัวเฉพาะในประเทศไทย ที่ทำขึ้นโดยแบรนด์และ Influencer บนออนไลน์ แพลตฟอร์มทั้งใน Youtube, Facebook และ Instagram เพื่อให้เห็นว่า 3 อันดับที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทางฝั่งแบรนด์และ Influencer นั้นเป็นใครกันบ้าง โดยวัดจากยอดวิวและไลค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักการตลาดและผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งต่อไป

ในรอบสัปดาห์นี้ Socializta ได้ทำ Video Listening เพื่อดูความเป็นไปของวิดีโอกว่า 104,000 ตัว ในช่วง 7 วัน ระหว่างวันที่  9-15 ธันวาคม 2562

ท็อป 3 จากฝั่งแบรนด์ ได้แก่

1. NIVEA MEN Thailand คุมมัน…ทุกสถานการณ์ด้วย นีเวีย เมน ครีม ปาดเดียวก็เอาอยู่!

2. Apple ไทย – ช่วงเทศกาล — เซอร์ไพรส์

3. Smooth-E จบทุกปัญหาสิว ปลอดภัย ใน 24 ชั่วโมง ด้วย Smooth-E Acne

และท็อป 3 จากฝั่ง Influencer ได้แก่

1. I Roam Alone EP.1 กิน ‘ตลาดเย็น’ บังคลาเทศ มือล้วนๆ! | Street Food Dhaka, Bangladesh

2. Pok Mindset – ทำไมแดดดี๊หม่ามี๊ไม่ค่อยอุ้มมีก้า #ป๊อกกี้ontherunthefamily Ep.34

3. ค่ายเพลง ได้หมดถ้าสดชื่น – อยู่ใกล้ ใจละลาย – เจนนี่ ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่นOfficial MV

วิดีโอของแบรนด์ที่ทำยอดวิวสูงสุด ได้แก่ NIVEA MEN Thailand มียอดวิว 11.4 ล้านวิว และ 12 ไลค์

เมื่อต้องเผชิญทั้งแดดและมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นคุณผู้หญิงหรือชายก็ไม่อาจหนีสภาพที่ทำให้หน้าหมองและมันเยิ้มได้ คลิป 15 วิ ได้ทำให้เห็นว่าผู้ชาย 4 คนที่ตากแดดตากฝุ่นควันมาด้วยกัน 3 คนหน้ามันเยิ้ม แต่อีกคนยังเด้ง ฉ่ำแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงได้โอกาสขายแบบเต็มๆ ตรงๆ ด้วยการชวนให้คุณผู้ชายหันมาใช้นีเวีย เมน เพื่อความกระจ่างใสและไม่มันของใบหน้า เดี๋ยวนี้ผู้ชายก็รักสวยรักงามเหมือนกันนะ

วิดีโอของ Influencer ที่ทำยอดวิวสูงสุด ได้แก่ I Roam Alone มียอดวิว 3.8 ล้านวิว และ 206,035 ไลค์

เจ้าของเพจใจกล้า ไปเผชิญดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าเดือดกว่าอินเดียอย่างประเทศบังคลาเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อไปกิน และลองไปชิมข้าวหมกแพะบิรยานี่อร่อยสุดในจักรวาล มิ้นท์พาไปเดินตลาดเย็นย่านที่เป็นสตรีทฟู้ดชื่อดังของเมือง เห็นอะไรน่าสนใจเดินเข้าไปชิมหมด กิน จก ซดทุกอย่างด้วยความเอร็ดอร่อย ถือเป็นการเดินทางที่คุ้มค่าและสมกับความตั้งใจคือไปกินอย่างเดียวจริงๆ

(ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2562)

ที่มา : www.socializta.com

]]>
1258030
NESCAFÉ ควง Billy_ss ปั้นวิดีโอออนไลน์ยอดวิวสูงสุดประจำสัปดาห์ https://positioningmag.com/1255453 Sun, 01 Dec 2019 11:46:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255453 ในแต่ละสัปดาห์ Socializta ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดในแบบอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง ได้แทร็กวิดีโอทั้งหมดที่อัพโหลดเป็นจำนวนหลักแสนตัวเฉพาะในประเทศไทย ที่ทำขึ้นโดยแบรนด์และ Influencer บนออนไลน์ แพลตฟอร์มทั้งใน Youtube, Facebook และ Instagram เพื่อให้เห็นว่า 3 อันดับที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากทางฝั่งแบรนด์และ Influencer นั้นเป็นใครกันบ้าง โดยวัดจากยอดวิวและไลค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักการตลาดและผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งต่อไป

ในรอบสัปดาห์นี้ Socializta ได้ทำ Video Listening เพื่อดูความเป็นไปของวิดีโอกว่า 101,000 ตัว ในช่วง 7 วัน ระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2562

ท็อป 3 จากฝั่งแบรนด์ ได้แก่

1. NESCAFÉ Thailand ชีวิตคุณ.. “เลือกเองชงเอง”

2. Mitsubishi Motors ThailandNew Attrage / Mirage – พลังจากข้างใน ไปให้สุด

 

3. realme Thailand realme X2 Pro แรงเต็มขั้น พลังเรือธง

และท็อป 3 จากฝั่ง Influencer ได้แก่

1. Billy_ss“เมื่อคุณคิดว่ามีคนกำลังจะออก”

2. กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking ผัดกะเพรานรกแตก ไข่เจียวดาวอองตอง

3. Kaykai Salaider – ถึงเวลาที่เก๋กับไปร์ทต้องแยกจากกัน หลงทางที่อินเดีย EP.1

วิดีโอของแบรนด์ที่ทำยอดวิวสูงสุด ได้แก่ NESCAFÉ Thailand มียอดวิว 7.5 ล้านวิว และ 103 ไลค์

เนสกาแฟจับเอาคนจากหลายกลุ่มที่ประกอบอาชีพต่างกัน และมีกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานมาสะท้อนให้เห็นว่า การเลือกที่จะใช้หรือชงชีวิตของเราให้มีรสชาตินั้น มันทำแล้วมีความสุขแค่ไหน เช่นเดียวกับความชอบในรสชาติของกาแฟ ที่เราสามารถเลือกชงเองได้ตามความชอบ โดยได้พรีเซ็นเตอร์หน้าหล่ออย่าง ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ มาช่วยทำให้โฆษณาดูกลมกล่อมและลงตัวมากขึ้น เป็นงานที่เท่ไม่เบาเลยทีเดียว

วิดีโอของ Influencer ที่ทำยอดวิวสูงสุด ได้แก่ Billy_ss มียอดวิว 4.7 ล้านวิว และ 11,923 ไลค์

เข้าถึงหัวอกคนเมืองโดยเฉพาะคนมีรถได้ดีมากๆ กับการแสดงให้เห็นถึงความยากในการหาที่จอดรถ เมื่อเจอคนกำลังขนของใส่ท้ายรถ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าซื้อของเสร็จคงกำลังจะออกแล้วแน่ๆ แต่เมื่อต้องเผชิญกับความอ้อยอิ่ง คลิปนี้เลยประชดด้วยการอ่านหนังสือ กินป็อปคอร์น มาส์กหน้า ไปจนถึงขั้นยอมทำทุกทางเพื่อให้ตัวเองได้มีที่จอด เป็นคลิป 40 วิ ที่ค่อนข้างเรียลและฮาทีเดียว

(ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562)

ที่มา : www.socializta.com

]]>
1255453
PwC ฟันธง! อุตสาหกรรมสื่อ-บันเทิงไทย ปี 66 โกย 6.5 แสนล้าน บริการ OTT มาแรง-แข่งเดือด https://positioningmag.com/1243551 Fri, 23 Aug 2019 06:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243551 จากรายงาน Global entertainment and media outlook 2019 – 2023 ของ PwC ซึ่งสำรวจข้อมูลด้านรายได้และคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของ 14 กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงใน 53 อาณาเขตทั่วโลกพบอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4.3% ต่อปี

ประเมินว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปี 2562 – 2566 จะเห็นรายได้ทั่วโลกของอุตสาหกรรมนี้สูงถึง 85.66 ล้านล้านบาท ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 69.5 ล้านล้านบาท ในปี 2561

พิสิฐ ทางธนกุล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี และหัวหน้าสายงาน Entertainment & Media บริษัท PwC ประเทศไทย คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงในประเทศไทย จะมีมูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 2566 การเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 5.05% เป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวมที่ 5.01%

แต่ประเทศไทยก็ยังโตได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่เฉลี่ยต่อปี 9.5%, ฟิลิปปินส์ 6.2% และเวียดนามที่ 7.1% อย่างไรก็ตาม ไทยจะยังเติบโตนำหน้ามาเลเซียที่ 4.7% ส่วนสิงคโปร์รั้งท้ายที่ 3.8%

“ผู้บริโภคชาวไทยต้องการเสพสื่อและบันเทิงแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ไม่แตกต่างไปจากผู้บริโภคในประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก เป็นผลจากการใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น”

5G หนุนวิดีโอออนไลน์โต

สิ่งที่เป็น “จุดเปลี่ยน” คือ การเข้ามาของเครือข่าย 5G ที่คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลเร็วๆ นี้ ทำให้การเชื่อมต่อและตอบสนองทางออนไลน์รวดเร็วยิ่งกว่า 4G ดังนั้นผู้ประกอบการสื่อและบันเทิง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่วันนี้หันมาเลือกเสพสื่อในรูปแบบที่ตัวเองต้องการมากขึ้นไม่ว่าจะ “เสพสื่อไหน อย่างไร หรือเมื่อไหร่”

กระแสของการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคและธุรกิจไทยที่เพิ่มมากขึ้นในที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น

“ยังมีผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิมหลายรายประสบกับความยากลำบากในประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด หรือแม้กระทั่งต้องล้มเลิกกิจการไปในที่สุด”

บริการ OTT ตลาดไทยโตแรง!

รายงานของ PwC คาดการณ์ด้วยว่า บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-top video: OTT video) จะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จากความต้องเสพคอนเทนต์แบบ Video on demand ที่ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดนี้คึกคักและเห็นการแข่งขันที่รุนแรง จากผู้ประกอบการต่างประเทศและไทย เช่น Netflix, iflix และ HOOQ

มูลค่าการใช้จ่ายบริการรับชมวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในไทยเมื่อปี 2561 อยู่ที่ 2,810 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในปี 2566 เป็น 6,080 ล้านบาท โตเฉลี่ยปีละ 16.64% ขณะที่สื่อทีวีและโฮมวิดีโอ โตเฉลี่ยต่อปีเพียง 4.76% จากมูลค่า 19,700 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 24,900 ล้านบาทในปี 2566

โฆษณาออนไลน์ไทยโตเร็วสุด

กลุ่มสื่อที่เติบโตต่ำสุดในช่วง 5 ปีจากนี้ คือ หนังสือพิมพ์แและนิตยสาร เฉลี่ยลดลง 3.05% ต่อปี หนังสือเล่ม ลดลง 0.34% ต่อปี และ โฆษณาทีวี เติบโตต่ำที่ 1.8% ต่อปี

ขณะที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต (Internet advertising) ของไทย จะเป็นตลาดที่เห็นการเติบโตรวดเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากความชื่นชอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 32,500 ล้านบาทในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 13.62%

โดย Facebook ยังเป็นสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมใช้มากที่สุด ตามมาด้วย YouTube และ Line ข้อมูลจากรายงาน Digital 2019 ของ Hootsuite และ We are Social ระบุว่า 74% ของประชากรไทยทั้งหมด เป็นผู้ใช้งานประจำของสื่อสังคมออนไลน์ ใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 11 นาทีในแต่ละวัน

ขณะที่วิดีโอเกมและอีสปอร์ต (Video games and esports) จะกลายเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของไทย คาดว่ามูลค่า 33,000 ล้านบาท ในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 7.7% จากการขยายตัวของสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ฐานลูกค้าของผู้บริโภคเกมบนมือถือเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

]]>
1243551
ศึกชิงเวลาคนดู! “Workpoint” จับมือ “Viu” ปั้นออริจินัลคอนเทนต์ หวังลด “ต้นทุน” เพิ่ม “กำไร” https://positioningmag.com/1210809 Mon, 28 Jan 2019 13:27:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1210809  การแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ได้เริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง จากเดิมจุดตัดระหว่างผู้เข้าแข่งขัน คือ การมีคอนเทนต์เยอะๆ เข้ามาสร้างความหลากหลายให้กับผู้ชม ช่วงปีที่ผ่านมาจึงเห็นการจับมือกับทีวีช่องต่างๆ และคอนเทนต์ โพรวายเดอร์ ในการนำละครหรือรายการวาไรตี้ มาเซ็นสัญญาในลักษณะเอ็กซ์คลูซีฟ รีรัน 

แต่การทำเอ็กซ์คลูซีฟ รีรัน ก็ใช่ว่าจะทำให้แพลตฟอร์มเป็นเพียงผู้เดียว ที่มีคอนเทนต์นั้นอยู่ในมือ เพราะหลังจากหมดระยะเวลา 30 วัน หรือตามที่ดีลไว้ เจ้าของคอนเทนต์ก็สามารถนำไปลงที่แพลตฟอร์มไหนก็ได้ เป็นวิธีหารายได้อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการจะสร้างความแตกต่างที่แท้จริง จึงใช้วิธีปั้น ออริจินัลคอนเทนต์ เพื่อเสิร์ฟให้กับฐานผู้ชมของตัวเองโดยเฉพาะ

เหมือนอย่างที่ “Viu” (วิว) แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของกลุ่ม PCCW Media ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อของฮ่องกง ที่เข้าสู่เมืองไทยได้เกือบ 2 ปีแล้ว ก็เลือกจะใช้วิธีทำออริจินัลคอนเทนต์ สร้างแรงดึงดูดให้กับฐานผู้ชมโดยการจับมือกับ “Workpoint”

คนดูชอบโรแมนติก คอมเมดี้

ทำไมถึงเลือกให้ Workpoint ทำ? เพราะก่อนหน้านี้ Viu เข้ามาเปิดตลาดด้วยการชูโรงคอนเทนต์ เกาหลีใต้ ทั้งละครและรายการวาไรตี้ จากทีวีทุกช่องกว่า หมื่นชั่วโมงจนสามารถสร้างฐานผู้ชมหลักเป็นผู้หญิงอายุ 18-34 ปี ก่อนที่จะเติมคอนเทนต์อื่นๆ ที่มาจากจีนและญี่ปุ่น

วิธีการเติมคอนเทนต์ของ Viu มี 4 รูปแบบ คือ

  1. ซื้อสิขสิทธิ์คอนเทนต์ที่เคยออกอากาศไปแล้ว 1-2 ปี เข้าสะสมในแพลตฟอร์ม
  2. เอ็กซ์คลูซีฟ รีรันในระยะเวลา 30 วัน
  3. ซื้อสิขสิทธิ์แล้วฉายพร้อมกับแพลตฟอร์มอื่น และ
  4. ออริจินัลคอนเทนต์

ดังนั้น เมื่อมีคอนเทนต์ในระบบแน่นแล้ว ก็ได้เวลาของการเติมคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ รีรัน โดยเจ้าแรกที่ Viu เลือกจับมือคือ “GMM25” ราวต้นปีที่แล้ว นำคอนเทนต์ละครและรายการวาไรตี้มารีรันประมาณ 200 ชั่วโมง และเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งเซ็นสัญญากับ Workpoint ในการนำคอนเทนต์อีก 1,500 ชั่วโมงเข้ามาเสริม

แม้จำนวนพาร์ตเนอร์ที่ Viu มีอยู่ในมือตอนนี้เมื่อเทียบกับคู่แข่งโดยตรงอย่าง “LINE TV” จะมีจำนวนที่ห่างกันอยู่มาก แต่ Viu บอกว่า ไม่ได้เน้นที่ปริมาณ คอนเทนต์ที่จะเข้ามาต้องถูก จริตกับฐานคอนดูหลักที่ชื่นชอบแนวโรแมนติก คอมเมดี้

ฉายในทีวีก่อน ได้ทั้ง “Reach” และรายได้

ซึ่งเหตุผลที่ว่านี้ก็คือเหตุผลที่เดียวกับที่ Viu ตัดสินใจให้ “Workpoint” ผลิตออริจินัลคอนเทนต์ เนื่องจาก Workpoint มีชื่อเสียงจากการผลิตรายการคอมเมดี้อยู่แล้ว เรื่องแรกที่ทำเป็นซีรีส์ ชื่อ โฮะ แฟมิลี่ ใช้ เก้า จิรายุ และ ปันปัน นำแสดง ซึ่งมาจากพฤติกรรมคนดูที่ชอบตัวละครพระเอกหล่อ และนางเอกน่ารัก

มีทั้งหมด 15 ตอน โดยรูปแบบการออกกาศจะฉายที่ช่อง Workpoint ก่อน ทุกวันอังคาร เวลา 21.15 . ซึ่ง Workpoint ให้ พัน พลุแตกเข้าร่วมแสดงเป็นตัวเอกด้วย เพื่อคงลายเซ็นของช่องไว้ ซึ่งตัวของ พัน พลุแตกก็มีภาพจำของคนดูอยู่แล้ว คือเห็นหน้าปุ๊บรู้เลย ยี่ห้อ Workpoint ก่อนที่จะนำไปรีรันทันทีใน Viu

ดีลนี้ Viu จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพราะเป็นฝ่ายลงทุน ส่วน Workpoint มีรายได้จากการรับจ้างผลิต และโฆษณาตอนที่ฉายในช่อง ซึ่งรายได้ในส่วนนี้จะต้องแบ่งกับ Viu

ธวัตวงศ์ ศิลมานนท์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) กล่าวว่า

คนไทยชอบดูคอนเทนต์ฟรี จึงเป็นเหตุผลที่ต้องไปออกทีวีก่อน เพื่อสร้าง Reach แล้วค่อยมาดูย้อนหลังใน Viu แต่มากกว่านั้นคือรายได้จากโฆษณาที่จะเข้ามา เพราะเมื่อไปดูเม็ดเงินในภาพรวม มากกว่า 50% ยังถูกถือครองด้วยทีวี ซึ่งใน Viu เองผู้ชมที่จ่ายเงินก็ยังมีไม่มากนัก จากแพ็กเกจเดือนละ 119 บาท

อย่างไรก็ตาม Viu ยังสามารถนำออริจินัลคอนเทนต์ไปหารายได้อีก โดยการขายสิขสิทธิ์ให้กับทั้งทีวีและช่องทางออนไลน์ ในประเทศที่พฤติกรรมและความชอบของผู้ชมคล้ายกับเมืองไทย เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

ต้องแย่ง เวลาถึงจะชนะ” 

ความท้าทายของ Viu คือการทำคอนเทนต์ที่ต้องไปแย่งเวลา กับคอนเทนต์อื่นๆ จึงต้องทำมาให้ตอบโจทย์ และให้คนดู Enjoy ถึงจะ ชนะ ซึ่งตอนนี้มีคนดู Viu เฉลี่ยรายวันถึง 108 นาทีต่อคน ในขณะที่ชาวเอเชียทั่วไปใช้เวลา 186 นาทีต่อวันในการดูวิดีโอในทุกแพลตฟอร์ม

สิ่งที่ Viu ต้องการต่อไปคือ แม้เวลาการรับชมจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องทำยังไงไม่ให้ลด ซึ่งวิธีการที่ทำจึงต้องเพิ่มคอนเทนต์ไปเรื่อยๆ อย่างเช่นออริจินัลคอนเทนต์ ซึ่งปีที่แล้ว Viu มีในรูปแบบนี้ทั้งหมด 70 รายการ 900 ตอน

ในภาพรวมของ Viu ได้ให้บริการไปแล้ว 16 ประเทศ มี Active Users 20 ล้านราย โดยประเทศที่ Viu ให้ความสำคัญมากที่สุดคืออินโนนีเซียและไทย เพราะมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่สูง เฉพาะเมืองไทยปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดโตจาก 2.3 ล้านครั้งเป็น 4.5 ล้านครั้ง

Workpoint ต้อง กำไร

ในขณะที่ฝั่ง “Workpoint” การจับมือกับ “Viu” เรียกได้ว่าตอบโจทย์ธุรกิจที่วางไว้ในปี 2019 ทั้ง 2 ข้อคือ 

  1. ขยายคอนเทนต์สู่แพลตฟอร์มอื่นให้เร็ว จากทีวีไปสู่ออนไลน์ ผ่านการจับมือกับพันธมิตร เป็นตัวกลางนำคอนเทนต์ในมือไปเสิร์ฟผู้ชมในแพลตฟอร์มอื่นๆ รวมไปถึงการนำคอนเทนต์ออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นรายได้ โดยปีที่แล้วมีรายได้จากการขายคอนเทนต์ต่างประเทศ 30 ล้านบาท ปีนี้ต้องการ 40 ล้านบาท
  2. การลดต้นทุนเพื่อรักษาระดับของกำไรโดยปีนี้ Workpoint วางแผนใช้เงินลงทุนคอนเทนต์ 600 ล้านบาท จากปีก่อนที่ใช้ไป 800 ล้านบาท ซึ่ง 200 ล้านบาทที่หายไปคือการที่มีพันธมิตรมาช่วยจ่ายนั้นเอง

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

ความท้าทายของ Workpointในปีนี้คือ การทำกำไรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนเรตติ้งที่ขึ้นอันดับ 2 ได้ เราไม่คิด กำไรเป็นเรื่องใหญ่กว่า เพราะสุดท้ายเรื่องใหญ่ในการทำธุรกิจบนโลกดิจิทัล คือมุ่งโกยยอดการเข้าถึงกลุ่มคนดู ซึ่งสถานการณ์ตลาดที่เกิดขึ้นคือเราเริ่มเห็นธุรกิจออนไลน์ดาวรุ่ง ขาดทุนล้มหายตายจากกัน เมื่อธุรกิจไม่ทำกำไรเราจึงต้องเลือกว่าจะมุ่งเรตติ้ง หรือกำไร” 

ชลากรณ์ ขยายความเรื่องกำไรว่า ปี 2019 คาดหวังกำไรต้องไม่น้อยกว่าปี 2018 ซึ่งยังไม่ปิดงบ ตัวเลข 9 เดือนอยู่ที่กว่า 420 ล้านบาท แต่ก็คงไม่คาดหวังกำไรเหมือนปี 2017 ที่ทำได้ 900 กว่าล้านบาท เติบโตหวือหวาจากปีก่อนหน้าที่ทำได้เพียง 100 ล้านบาท

หารายได้จากวิธีอื่นๆ

ดังนั้นนอกเหนือจากการมีคนเข้ามาช่วยจ่ายต้นทุนแล้ว Workpoint จึงวางแผนหารายได้ทางใหม่ๆ ทั้งการลุยธุรกิจทีวีช้อปปิ้งโดยนำเวลาช่วงเวลากลางวันและหลังเที่ยงคืน ประมาณ 100-120 นาทีต่อวัน ที่เคยให้แบรนด์ขนาดใหญ่ และรายเล็กๆ อื่นเช่า กลับมาทำเอง

โดยการจับมือกับบริษัทอื่นไม่ได้ลงทุนเองทั้งหมด Workpoint รับหน้าที่เป็นช่องทางขายสินค้า ส่วนบริษัทร่วมทุนรับหน้าที่จัดการคลังและส่งสินค้า ซึ่งการทำทีวีช้อปปิ้ง Workpoint ไม่ได้คาดหวังกำไรมากนัก เพราะต้นทุนสูง

แต่หวังรายได้ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 400-600 ล้านบาท เบียดขึ้นมาเป็นที่สองของตารางรายได้แทนออนไลน์ ส่วนหัวตารางยังเป็นค่าโฆษณา เฉลี่ยทั้งวันอยู่ที่ 70,000 บาทต่อนาที ช่วงไพรม์ไทม์ 250,000 ต่อนาที

นอกจากนั้นยังได้จับมือตำมั่วของกลุ่มเซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป ทำตลาดสินค้าต่างๆ ผ่านทางสื่อในมือทั้งทีวีและออนไลน์

ขณะเดียวกันด้านผังรายการ ได้เตรียมรายการใหม่อีก 10 รายการ มีทั้งรายการใหม่แกะกล่อง และนำรายการเดิมมาปัดฝุ่นใหม่ เช่น “Earth Quake เกมแผ่นดินไหว ที่มีปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกรเอง ซึ่งได้ปรับมาจากรายการปริศนาฟ้าแลบ เนื่องจากคนดูอยากได้ความตื่นเต้นใหม่ๆ

หรือรายการวิคตอรี่ BNK48” ที่หลุดผังไปก่อนหน้านี้ เหตุที่หยุดเพราะสมาชิกใน BNK48 ไม่มีเวลาที่จะถ่ายทำ จึงวางแผนปรับรายการใหม่ นอกจากนั้นยังมีรายการของ BNK48 อยู่ในแผนอีก 1-2 รายการที่เตรียมทำ รวมไปถึงรายการออนไลน์โดยเฉพาะ ซึ่งต้องรอดูทิศทางก่อน

ปัจจุบันฐานคนดูหลักของ Workpoint อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ส่วนในออนไลน์อายุ 13-45 ปี เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 ปีนี้ตั้งเป้ารักษาให้อยู่ในระดับ 1.1-1.2 ส่วนรายได้ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท โดย 9 เดือนแรกของปี 2018 มีรายได้ 2,700 ล้านบาท.

]]>
1210809
คนไทยฮิตวิดีโอออนไลน์ดูผ่านยูทูปติดท็อป 10 ของโลกทะลุ 40 ล้านคน คุกกี้เสี่ยงทาย-บุพเพสันนิวาส หวย 30 ล้าน ฮิตดูมากสุด https://positioningmag.com/1162488 Tue, 20 Mar 2018 13:57:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162488 เมื่อยูทูปเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ใช้แค่ฟังเพลง แต่เป็นช่องทางเจ้าของคอนเทนต์ แบรนด์สินค้าและบริการ รวมถึงบรรดาคนมีไอเดีย ยึดพื้นที่ในการทำตลาด นำเสนอคอนเทนต์ “วีดีโอออนไลน์” เพื่อป้อนชาวโซเชียลมีเดียกันจำนวนมาก แต่มาดูกันว่าในปี 2561 สถิติคนรับชม คนติดตาม (Subscribe) เป็นยังไงกันบ้าง  

  • ทั่วโลกมีคนรับชมยูทูปประมาณ 1,000 ล้านชั่วโมงต่อวัน และมีผู้ใช้ล็อกอินเข้าระบบยูทูปมากถึง 1,500 ล้านต่อเดือน และทุกๆ นาที มีคนอัพโหลดวิดีโอขึ้นแพลตฟอร์มยูทูป 400 ชั่วโมง
  • ส่วนประเทศไทยมีคนใช้งานยูทูป (Users) ประมาณ 40 ล้านคน
  • ไทยเป็นประเทศที่ติดท็อป 10 ประเทศที่มีคนดูยูทูปมากสุดในโลก
  • คนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในเขตเมืองมีการรับชมยูปทูปมากถึง 93% และต่างจังหวัดอยู่ที่ 92%
  • อานิสงส์ของละคร “บุพเพสันนิวาส” ส่งผลให้ระยะเวลา 30 วันที่ผ่านมา สถานีโทรทัศนช่อง เป็นช่องที่มีคนดูมากสุด 34.7 ล้านวิว ตามด้วยเวิร์คพอยท์ 22 ล้านวิว
  • ในปี 2560 มีแบรนด์สินค้าและบริการที่ยึดยูทูปเปิดช่องสำหรับแบรนด์อย่างป็นทางการ (Brand Channel) ที่มีผู้ติดตามเกิน 100,000 รายการ เติบโตมากถึง 50%  

++ใครเป็นฐานยูทูปบ้าง?

ในไทยมีคนดูยูทูปหลายครั้งต่อวันประมาณ 65% ขณะที่คนที่เข้าไปดูยูทูปทุกวันอยู่ที่ 75% โดยคนที่ดูทุกวันมีหลากหลายอายุ ดังนี้

  • อายุ 16-24 ปี มากถึง 85%
  • อายุ 25-34 ปี 79%  
  • อายุ 35 ปีขึ้นไป 67%

++คนไทยฮิตฟังเพลง ดูทีวีรีรันผ่านยูทูป

ทั้งนี้พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้งานยูทูปส่วนใหญ่ 70% ยังคงใช้เป็นช่องทางในการฟังเพลง และส่วนใหญ่ 77% จะเป็นผู้บริโภคอายุระหว่าง 16-34 ปี รองลงมาเป็นคนอายุ 35 ปีขึ้นไป 62% ที่เข้ามาฟังเพลง  

อันดับ คือใช้ยูทูปเป็นช่องทางในการดูทีวีรีรัน 51% กลุ่มหลักที่ดูคอนเทนต์ดังกล่าวมีอายุระหว่าง 25-34 ปี อันดับ ใช้เป็นช่องทางค้นหาความรู้ 33% จากกลุ่มผู้ชมอายุ 16-24 ปี อันดับ ใช้ในการค้นหาสินค้าและบริการ 24% โดยคนอายุ 25-34 ปี ใช้งานมากถึง 30% และอายุ 35 ปีขึ้นไป ใช้ค้นหาสินค้าและบริการ 24% สะท้อนว่าสินค้าก็ยังมีโอกาสในการทำตลาดและโฆษณาบนแพลตฟอร์มดังกล่าว  

นอกจากนี้ พฤติกรรมการเสพยูทูปวันจันทร์-ศุกร์ ของคนไทยเฉลี่ย 2.3 ชั่วโมงต่อวัน โดยช่วงที่นิยมดูมากสุด จะเป็นเวลา 18.00-20.00 น.

ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ คนไทยเสพยูทูปเฉลี่ย 2.9 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้น 30% และช่วงเวลาพีคยังเป็น 18.00-20.00 น.

สำหรับคนต่างจังหวัดนิยมใช้มือถือในการรับชมวิดีโอยูทูปมากถึง 93% และเมื่อเปรียบเทียบการรับชมวิดีโอยูทูปของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล กับคนต่างจังหวัด เป็นดังนี้

  • คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล รับชมวิดีโอยูทูปต่อครั้งเฉลี่ยนาน 70 นาที และใช้เวลาต่อวันรับชมมากถึง 2.4 ชั่วโมง  
  • คนต่างจังหวัด รับชมเฉลี่ยต่อครั้งนาน 60 นาที และต่อวันอยู่ที่ 2.1 ชั่วโมง

สิ่งที่น่าสนใจในการรับชมวิดีโอยูทูป สัดส่วน ใน 10 คอนเทนต์ เป็น “เพลงลูกทุ่ง” ซึ่งมีเพลงจำนานมากที่ยอดวิวทะลุหลัก 100 ล้านวิว

อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 วิดีโอคอนเทนต์ของไทยที่สร้างปรากฏการณ์ติดเทรนด์ผู้รับชมสูงสุดในโลกได้แก่เพลง “ตราบธุลีดิน” ของหน้ากากหอยนางรม ที่ออกอากาศผ่านรายการ The Mask Singer Season 2 ส่วนปีนี้ช่องศิลปิน (Artist Channel) ที่มาแรงยังคงเป็นเพลง “คุกกี้เสี่ยงทาย” ของไอดอลเกิร์ลกรุ๊ป “BNK48” และแน่นอนละครยอดฮิตบนยูทูปที่คนดูมากสุดคือ “บุพเพสันนิวาส” ส่วนข่าวที่คนไทยติดตามชมมากสุดคือ “หวย 30 ล้าน”. 

]]>
1162488
5 จุดขายใหม่ ความท้าทายของ YouTube ในวัย 12 ปี https://positioningmag.com/1138325 Sat, 02 Sep 2017 15:44:03 +0000 http://positioningmag.com/?p=1138325 ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ยูทูป (YouTube) เปิดตัวหลายคุณสมบัติใหม่น่าตื่นตา พร้อมกับสัญลักษณ์ใหม่ และการปรับโฉมดีไซน์แอปพลิเคชันสำหรับชมวิดีโอบนอุปกรณ์พกพา เบื้องต้นนักวิเคราะห์เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ YouTube มีภาพแบรนด์ที่เหมาะกับการติดเป็นปุ่มในรีโมตทีวีมากขึ้น รวมถึงอุปกรณ์เสริมอื่นของทีวี เครื่องเล่นวิดีโอออนไลน์ และอุปกรณ์ทั่วไป

YouTube ให้รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ในบล็อกของบริษัท โดยระบุว่าต้องการพัฒนาแอปพลิเคชัน YouTube โฉมใหม่ที่เหมาะกับผู้ใช้ทุกคน เรื่องนี้ YouTube อธิบายว่าเมื่อ 12 ปีก่อน YouTube ได้เปิดตัวในฐานะเว็บไซต์หนึ่งที่รองรับวิดีโอรูปแบบเดียวคือ 320×240 ที่มีสัดส่วนภาพ 4:3 แต่วันนี้รูปแบบวิดีโอมีความหลากหลาย จนมาถึงวันนี้ YouTube รองรับวิดีโอทั้ง SD, HD, 4K, 360, 3D และวิดีโอถ่ายทอดสด

YouTube นั้นเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของกูเกิล (Google) สิ่งที่ YouTube ทำคือการเน้นย้ำว่า YouTube ได้พยายามทำให้แทบทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถรองรับ YouTube ได้ ซึ่งมีตั้งแต่เดสก์ท็อปไปจนถึงโทรศัพท์ แท็บเล็ตไปจนถึงทีวี คอนโซลเกม หรือแม้แต่ชุดหูฟัง VR เรียกว่าหน้าจอทุกขนาด ทุกสัดส่วน สามารถเปิดชมทั้งแนวตั้งและแนวนอนได้บน YouTube

เพื่อตอบโจทย์คอเพลง แฟนรายการทีวี หรือเกมเมอร์ รวมถึงผู้ใช้ทุกคน YouTube ลงมือปรับดีไซน์ของแอปพลิเคชันให้สะอาดตากว่าเดิม สามารถเร่งหรือย้อนวิดีโอกลับไป 10 วินาทีได้ด้วยการแตะครั้งเดียว แถมผู้ใช้ยังสามารถเลือกเล่นวิดีโอด้วยความเร็วที่ต่างกัน รวมถึงระบบแสดงรายการวิดีโอใหม่ ที่ผู้ชมวิดีโอสามารถเลือกรายการชมไปพร้อมกันโดยไม่ต้องหยุดวิดีโอไว้

“YouTube มีการพัฒนาขึ้นมาก และเราก็ยังไม่หยุดที่จะพัฒนาต่อไป ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเราได้เริ่มปล่อยการอัปเดต และจะอัปเดตต่อไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี เมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เราจะมีฟังก์ชันใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นและมีรูปแบบที่สอดคล้องกันมากยิ่งขึ้นทั้งในการใช้งานบนเดสก์ท็อปและบนอุปกรณ์เคลื่อนที่”

5 ฟังก์ชันใหม่ YouTube

ฟังก์ชันใหม่ที่ YouTube พูดถึงประกอบด้วย 5 ส่วน ส่วนแรกคือการออกแบบโฉมใหม่ที่สะอาดตา เรื่องนี้ YouTube บอกว่าทำให้ส่วนหัวเป็นสีขาวเพื่อให้เนื้อหาโดดเด่น และย้ายแท็บการนำทางไปด้านล่างของแอป เพื่อให้อยู่ใกล้นิ้วโป้งมากขึ้น และได้เพิ่มแท็บไลบรารีและแท็บบัญชีใหม่ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสิ่งที่ต้องการค้นหาได้ง่ายขึ้น

ฟังก์ชันที่ 2 คือการกรอวิดีโอ YouTube บอกว่าสิ่งหนึ่งที่บริษัทกำลังพัฒนาอยู่คือการนำท่าทางสัมผัสมาใช้กับ YouTube เมื่อช่วงต้นปี บริษัทได้เปิดตัวท่าทางสัมผัสที่ให้ผู้ใช้แตะสองครั้งทางด้านซ้ายหรือขวาของวิดีโอเพื่อกรอไปข้างหน้าหรือกรอกลับ 10 วินาที จุดนี้ YouTube พบว่าได้เห็นการแตะสองครั้งหลายพันล้านครั้งต่อวันแล้ว 

“ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า YouTube จะทดลองฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้สลับวิดีโอไปมาได้โดยใช้เพียงการเลื่อนมือ นั่นคือแค่เลื่อนไปทางซ้ายเพื่อดูวิดีโอก่อนหน้าหรือเลื่อนไปทางขวาเพื่อดูวิดีโอถัดไป” ในบล็อกของ YouTube ระบุ

ฟังก์ชันที่ 3 คือดูวิดีโอด้วยความเร็วที่ต้องการ ผู้ใช้สามารถเร่งหรือลดความเร็วในการเล่นวิดีโอผ่านแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่นเดียวกับที่ทำได้บนเดสก์ท็อป

ฟังก์ชันที่ 4 คือการปรับเข้ากับทุกขนาดวิดีโอได้ จุดนี้ YouTube ย้ำว่าอีกไม่นานโปรแกรมเล่นวิดีโอ YouTube จะเปลี่ยนรูปร่างไปตามรูปแบบวิดีโอที่กำลังรับชมได้อย่างไร้ที่ติ เช่น วิดีโอแนวตั้ง สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือแนวนอน 

“หมายความว่าชาว YouTube จะได้ประสบการณ์การดูที่ดีที่สุดเสมอโดยอัตโนมัติ รวมถึงการดูวิดีโอแนวตั้งที่ไม่มีแถบสีดำด้านข้างอีกด้วย”

ฟังก์ชันที่ 5 คือการเรียกดูและค้นพบวิดีโออื่นๆ ขณะรับชม จุดนี้ YouTube ได้เพิ่มฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้ดูวิดีโอแนะนำได้ ขณะที่กำลังชมวิดีโอแบบเต็มหน้าจอ YouTube กำลังเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ด้านล่างโปรแกรมเล่นวิดีโอ ทำให้สามารถเรียกดูวิดีโอด้วยวิธีใหม่ได้ง่าย

โลโก้ใหม่ YouTube ติดในอุปกรณ์ง่ายขึ้น

สัญลักษณ์ใหม่ของ YouTube นั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เห็นได้ชัดคือส่วนข้อความ “Tube” ซึ่งจะไม่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงขอบมนอีกต่อไป โลโก้ใหม่ดึงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขอบมนโยกย้ายไปทางด้านซ้ายของคำ “YouTube” พร้อมกับติดสัญลักษณ์สามเหลี่ยมที่ผู้ชมจะคลิกเพื่อเล่นหรือ Play ไว้อย่างโดดเด่น ทั้งหมดนี้นักวิเคราะห์ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้สัญลักษณ์ของ YouTube สำหรับติดในปุ่มบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำได้เหมาะสมกว่าเดิม แถมยังรองรับหลากหลายทั้งในรีโมตทีวี กล่องอุปกรณ์เสริม และเครื่องเล่นวิดีโออื่น

เรื่องนี้ YouTube ระบุว่าออกแบบโลโก้ใหม่เพื่อการใช้บนหลายหน้าจอ การแสดงแบรนด์ที่อัปเดตใหม่ของเราสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากอุปกรณ์หลากหลาย โดยโลโก้แบบใหม่นี้จะรวมโลโก้ตัวอักษรและไอคอน YouTube ที่ปรับโฉมแล้วเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับดีไซน์โดยรวมมากขึ้น

“ที่ผมบอกว่ายืดหยุ่นมากขึ้นก็คือ หากมีพื้นที่จำกัด (เช่น บนสมาร์ทโฟนเครื่องเล็ก) คุณสามารถใช้ไอคอนที่สว่างขึ้นเป็นโลโก้แบบย่อซึ่งมองเห็นได้ง่ายกว่าดีไซน์แบบเต็มของเรา ซึ่งวันนี้คุณจะได้เห็นการออกแบบโฉมใหม่ทั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป และในเร็วๆ นี้จะได้เห็นในแอปและบริการทั้งหมดของเรา” นีล โมฮาน (Neal Mohan) หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ YouTube ระบุ

“เรารู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่เราอยากบอกอย่างชัดเจนว่าสิ่งหนึ่งที่ยังเหมือนเดิมเสมอคือภารกิจของ YouTube ที่ให้ผู้คนทั่วโลกมีโอกาสได้แชร์ความคิดเห็นและรับรู้เรื่องราวต่างๆ ในโลก ไม่ว่าคุณจะใช้อุปกรณ์ใด” ผู้บริหาร YouTube ทิ้งท้ายหวานเยิ้ม


ที่มา : https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000090143

]]>
1138325