วิดีโอ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 04 Oct 2022 11:47:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อัปเดต 3 เทรนด์ ‘YouTube’ ในวันที่ ‘Gen Z’ กว่าครึ่งดูวิดีโอที่คนทั่วไปไม่ดู https://positioningmag.com/1403033 Tue, 04 Oct 2022 08:17:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403033 ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงแรกวิดีโอไวรัลบน YouTube เป็นตัวกำหนดเทรนด์ต่าง ๆ แต่บทบาทของ YouTube เปลี่ยนไปจากแมสเทรนด์ไปสู่คน แต่ตอนนี้เป็นการสร้างเทรนด์ ยิ่งในยุคนี้ที่ใคร ๆ ก็ครีเอทวิดีโอเองได้ โดยเฉพาะ Gen Z ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี อีกทั้ง ยังมีความเป็นตัวเองสูง ดังนั้น ไปอัปเดต 3 Types ที่เหล่าครีเอเตอร์ควรรู้ เพื่อที่จะสร้างวิดีโอให้ตรงใจคนดู

จากการสำรวจของ Ipsos พบว่า Gen Z ถึง 85% เคยโพสต์วิดีโอมาก่อน และเพราะคน Gen Z คุ้นเคยกับการผลิตและชมวิดีโอ ทำให้มีความเป็นตัวเองมากที่สุด 65% ของคน Gen Z ดูคอนเทนต์ที่ เกี่ยวของกับตัวเองมากกว่าคอนเทนต์ที่เป็นที่สนใจ และ 50% ดูคอนเทนต์ที่คนทั่วไปไม่ดู ดังนั้น ไปเจาะลึก 3 เทรนด์ ที่เหล่าครีเอเตอร์ควรรู้

Community Creativity

การสร้างคอนเทนต์สำหรับคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน โดย 61% ของคน Gen Z ระบุว่าพวกเขาเป็น BigFan ของใครสักคนหรืออะไรสักอย่าง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากแค่ วิดีโอเครื่องบินขึ้น-ลง จะมียอดวิวหลักหมื่นล้าน หรือครีเอเตอร์บางคนก็ผันตัวจาก แฟนด้อม ไปสู่การสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจเหล่าแฟน จนสามารถขยายฐานผู้ติดตามไปจนกลายเป็นแมส

“เราเห็นชุมชนย่อย ๆ ที่มีความเฉพาะตัวสูงบน YouTube มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมันอาจไม่แมสแต่มีคนดูเหนียวแน่น และ 92% รอตอนต่อไปของครีเอเตอร์ นอกจากนี้ ยังพบเห็นการสนับสนุนผ่าน Fan Funding จากแฟนคลับด้วยฟีเจอร์ Membership” มุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ ยูทูบ ประเทศไทย และเวียดนาม กล่าว

มุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจ ยูทูบ ประเทศไทย และเวียดนาม

Responsive Creativity

การสร้างคอนเทนต์เพื่อตอบสนองต่อความรู้สึกหรืออารมณ์ของคน โดย 83% ของ Gen Z หาคอนเทนต์ที่ทำให้ ผ่อนคลาย ทำให้คอนเทนต์ประเภท ASMR (Autonomous Sensory Meridian Response) มีการค้นหามากขึ้น โดยยอดวิวทั่วโลกของคอนเทนต์ประเภทนี้มีกว่า 65,000 ล้านวิวเลยทีเดียว นอกจากนี้ Gen Z 64% ยังต้องการหาคอนเทนต์ที่สามารถดูเรื่อย ๆ เพื่อเป็น เพื่อนแก้เหงา และ 80% ใช้วิดีโอรำลึกอดีต

Multi-format Creativity

เพราะฟอร์แมตวิดีโอบน YouTube เปลี่ยนไป มีทั้ง Shorts From, Long From และ Live-Stream ดังนั้น ครีเอเตอร์ควรสร้างสรรค์หลาย ๆ แบบ เพื่อหารูปแบบที่ตรงใจกับผู้ชม อย่าง Shorts อาจตั้งสั้น ๆ เป็น Meme เพื่อดึงดูดให้มาดูวิดีโอยาว เพราะ 59% ของ Gen Z ระบุว่า เขามักเจอวิดีโอใหม่ ๆ ในวิดีโอสั้น

]]>
1403033
ส่องอินไซต์การรับชม ‘วิดีโอ’ บน ‘Facebook’ คลิปแบบไหน ยาวเท่าไหร่ คนไทยนิยมสุด https://positioningmag.com/1362928 Fri, 19 Nov 2021 12:33:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362928 ต้องยอมรับว่าคอนเทนต์วิดีโอเป็นอะไรที่มาแรงมาก เนื่องจากโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น บวกกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ 99% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยชมวิดีโอออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละเดือน แล้วสำหรับ Facebook เองผู้ใช้งานมีพฤติกรรมในการดูวิดีโออย่างไรทาง ‘Meta’ ก็ได้ออกมาเปิดเผยอินไซต์ให้ดูกัน

97% ของคนไทยชม Facebook Watch

ปรีชา คุณธรรมสถิต หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรเพื่อความบันเทิง ประจำประเทศไทย เวียดนาม และบังกลาเทศ จาก Meta เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวน 2 พันล้านคนทั่วโลกรับชมวิดีโอบนช่องทางออนไลน์ในแต่ละวัน และคนกว่า  720 ล้านคนทั่วโลกใช้เวลาในการรับชมวิดีโอผ่าน Facebook Watch อย่างน้อย 1 นาทีในแต่ละเดือน สำหรับประเทศไทยพบว่า

  • กว่า 97% ของคนไทยรับชมวิดีโอผ่านฟีเจอร์ Facebook Watch เป็นประจำ
  • กว่า 67% เลือกดูวิดีโอบน Facebook Watch เพราะใช้งานอยู่แล้ว และ 56% รับชมเพราะเนื้อหาทันสมัย
  • ผู้ชายคิดเป็นสัดส่วน 49% หญิง 51%
  • ช่วงวัยที่ใช้งานมากที่สุดคือ Gen Z (28%), มิลเลนเนียล (23%), Gen X รวมกับเบบี้บูมเมอร์ (49%)
  • 98% ชมผ่านสมาร์ทโฟน ตามด้วย คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก 79% และ สมาร์ททีวี 42%

วิดีโอ สั้น-กลาง นิยมสูงสุด

วิดีโอแบบสั้น (0-3 นาที) และวิดีโอความยาวปานกลาง (3-10 นาที) นิยมมากที่สุด

  • วิดีโอที่มีความยาว 0-3 นาที ถูกรับชมโดยเฉลี่ย 13 ครั้ง/สัปดาห์
  • วิดีโอที่มีความยาว 3-10 นาที ถูกรับชมโดยเฉลี่ย 11 ครั้ง/สัปดาห์
  • วิดีโอที่มีความยาว 10 นาทีหรือมากกว่า ถูกรับชมโดยเฉลี่ย 9 ครั้ง/สัปดาห์
  • คนนิยมรับชมวิดีโอที่มาจากเพจทางการ (official pages) แพลตฟอร์มสื่อ (ช่องทีวีต่าง ๆ) หรือผู้เผยแพร่เนื้อหาดิจิทัลต่าง ๆ (ครีเอเตอร์)
  • 9 ใน 10 รับชมวิดีโอเพื่อพักผ่อนจากการใช้ชีวิตประจำวัน
  • 8 ใน 10 รับชมวิดีโอเพื่อเชื่อมต่อกับผู้คนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน

รูปแบบวิดีโอที่ชอบ

ไลฟ์สตรีมมิ่ง ก็เป็นอีกรูปแบบของวิดีโอที่คนสนใจชม เนื่องจาก รู้สึกได้เชื่อมต่อกันแบบเรียลไทม์ อีกส่วนก็คือ การช้อปปิ้ง นอกจากนี้ยัง แชร์ ไปยังกลุ่มคอมมูนิตี้ หรือเพื่อน ๆ และครอบครัวได้ง่าย ในส่วนของรูปแบบวิดีโอทั่วไปแบ่งที่ได้รับความนิยมแบ่งเป็น 3 ส่วน

  • วิดีโอสั้น : ชอบดูไฮไลต์ละคร, คลิปขข่าวสั้น ๆ และตัวอย่างหนัง
  • วิดีโอกลาง : คลิปข่าว และรีวิวสินค้าต่าง ๆ
  • วิดีโอยาว : ละคร, สารคดี และคลิปท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ในส่วนของโฆษณาพบว่า คนไทยจำนวนกว่าครึ่งคลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าหลังเห็นโฆษณา

  • 49% ค้นหารีวิวและข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม
  • 28% ตัดสินใจซื้อท้นที
  • 22% ติดต่อผู้ขายในทันที
  • 64% พิจารณาก่อน
]]>
1362928
‘ShopBack’ มองตลาดอีคอมเมิร์ซครึ่งปีหลังยังเดือด และ ‘วิดีโอ’ จะยิ่งมีอิทธิพลในการช้อป https://positioningmag.com/1342388 Wed, 14 Jul 2021 12:52:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342388 หากพูดถึง ‘ShopBack’ แพลตฟอร์มสะสมรางวัล และ เงินคืนบนอีคอมเมิร์ซ ซึ่งขาช้อปหลายคนอาจผ่านหูผ่านตามาบ้าง เพราะ ShopBack ให้บริการมา 4 ปีแล้ว โดย กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย ก็ได้มาคาดการณ์ถึงตลาดอีคอมเมิร์ซในครึ่งปีหลัง รวมถึงเทรนด์ที่จะได้เห็นในอนาคต

โดย กวิน มองว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโต เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ยังคงเป็นตัวกระตุ้นเพราะการเดินทางไปจับจ่ายยังจำกัด ซึ่งเป็นภาพชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกในเดือนเมษายน-พฤษภาคมปี 63 ขณะที่โปรโมชันสำคัญของเหล่าอีมาร์เก็ตเพลสยังคงเป็นแคมเปญดับเบิลเดย์ อาทิ 11.11, 12.12 ที่น่าจะทำโปรโมชันแรงมาก ๆ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค

ในส่วนของเทรนด์ที่จะเริ่มเห็นจากนี้และในระยะยาวคือ แบรนด์หันมาขายออนไลน์เองโดยไม่พึ่งอีมาร์เก็ตเพลส เนื่องจากแบรนด์ต้องการ ข้อมูล เพื่อนำไปต่อยอดทางการตลาดทั้งการทำแบรนดิ้งต่าง ๆ ดังนั้น งบการตลาดจากนี้จะลงน้ำหนักไปกับส่วนนี้ โดยกลุ่มแรกที่จะเห็นคือ กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม, แฟชั่น ดังนั้น ShopBack ก็มีแผนจะเพิ่มพันธมิตรรายใหม่แบบโดยตรงมากขึ้น

นอกจากนี้ ที่น่าจับตามองคือ วิดีโอ เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้น คอนเทนต์วิดีโอน่าจะเป็นเทรนด์ของอนาคตและจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อ ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลัง ShopBack จึงร่วมมือกับครีเอเตอร์จาก TikTok กว่า 100 ราย นำคลิปวิดีโอรีวิวสินค้ามานำเสนอบนแพลตฟอร์มเพื่อให้รายละเอียดสินค้า โดยครีเอเตอร์จะได้ส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งจากการทดลองพบว่า ผู้รับชมวิดีโอกว่าครึ่งมีการคลิกต่อเพื่อเข้าไปเลือกชมสินค้าและบริการ

กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย

จากปัจจัยจากการระบาดของ COVID-19 กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์วิดีโอ รวมถึงการทำโปรโมชันที่จูงใจ เชื่อว่าจะทำให้ ผู้ใช้งานและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ShopBack มียอดดาน์โหลดมากกว่า 18 ล้านครั้ง มีผู้ใช้งานกว่า 4.7 ล้านคน เป็นผู้หญิง 60% และชาย 40%

โดยกลุ่มอายุ 18-24 ปี มีสัดส่วน 11%, 24-34 ปี 42%, 34-44 ปี 29% และอายุ 45 ปีขึ้นไป 18 ผู้ใช้งานที่แอคทีฟราว 4.5 แสนราย/วัน มีอัตราการใช้ซ้ำ 50% มีการเข้าใช้งานผ่านแอนดรอยด์ 63% IOS 36% PC 1% และสำหรับกลุ่มสินค้าที่มียอดการสั่งซื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มความงาม, เสื้อผ้าและรองเท้าผู้หญิง, อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน, ของชำ และโมบายและแท็บเล็ต

]]>
1342388
กองทัพสหรัฐฯ สั่งเเบนเเอปฯ TikTok ห้ามทหารใช้ในราชการ ชี้เป็นภัยความมั่นคงของชาติ https://positioningmag.com/1259181 Thu, 02 Jan 2020 07:46:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259181 ด้วยกระเเสไวรัลวิดีโอที่กำลังฮอตฮิตอย่างมาก ส่งผลให้เเอปพลิเคชั่น TikTok สตาร์ทอัพยูนิคอร์นสัญชาติจีน ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายตลอดช่วงปี 2019 ที่ผ่านมา เเต่ดูเหมือนว่ายังต้องฝ่าอุปสรรคเข้าเจาะตลาดอเมริกาอยู่มาก เพราะล่าสุดกองทัพสหรัฐฯ ประกาศสั่งห้ามไม่ให้ทหารใช้เเอปฯ นี้ ด้วยเห็นว่าเป็น “ภัยต่อความมั่นคง”

พันโท โรบิน โอชัว (Lt. Col. Robin Ochoa) โฆษกประจำกองทัพบกสหรัฐเปิดเผยกับ Military.com ว่า TikTok ถูกจัดให้เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ จึงไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ในกองทัพติดตั้งไว้บนโทรศัพท์ที่ใช้ในงานราชการ

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า กองทัพเรือของสหรัฐฯ ก็มีคำสั่งห้ามทหารเรือทุกนายติดตั้งเเอปฯ TikTok ลงบนโทรศัพท์ที่ใช้งานราชการเช่นกัน ขณะที่กองทัพอากาศยังปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลต่อกรณีนี้

ในช่วงปีที่ผ่านมา TikTok ถูกสอบสวนจากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะมีความสงสัยว่าข้อมูลผู้ใช้งานเเละคอนเทนต์ทั้งหลายที่ถูกเเชร์ในเเอปฯ นั้นจะถูกรัฐบาลจีนจัดเก็บและควบคุมหรือไม่ นอกจากนี้ TikTok ยังถูกมองว่าอาจเป็นเครื่องมือแทรกแซงการเลือกตั้ง รวมถึงการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงที่ต่อต้านรัฐบาลจีนด้วย

ด้าน TikTok ภายใต้การบริหารของบริษัท ByteDance ออกแถลงการณ์ตอบโต้ต่อกรณีนี้ โดยยืนยันว่าข้อมูลของผู้ใช้งานในสหรัฐฯ ทั้งหมดถูกจัดเก็บในสหรัฐฯ และสำรองข้อมูลไว้ที่ศูนย์ข้อมูลใหญ่ที่สิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายและการควบคุมของรัฐบาลจีน เเละเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจีนจะเข้ามาเเทรกเเซงตามที่โดนกล่าวหา รวมถึงไม่มีการจัดการคอนเทนต์หรือลบข้อมูลใดๆ ตามคำสั่งของรัฐบาลจีน เเละพร้อมเดินหน้าให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อไป

 

ที่มา : military.com , the verge , tiktok 

]]>
1259181
เปิดพฤติกรรมคนไทยยุค 5G คาดดูวิดีโอนานขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ https://positioningmag.com/1238785 Thu, 11 Jul 2019 23:05:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238785 สรุปประเด็นสำคัญจากรายงานความคืบหน้าสถานการณ์ 5G ทั่วโลก “Ericsson Mobility” ฉบับล่าสุดเดือนมิถุนายน 2019 พบศักยภาพผู้บริโภคไทยไม่ธรรมดา ส่วนใหญ่ยินดีจ่ายเงินเพิ่ม 30% เพื่อใช้ 5G และจะย้ายค่ายไปหาโอเปอเรเตอร์ที่มี 5G ภายใน 6 เดือนหากโอเปอเรเตอร์เดิมไม่มี 5G คาดปริมาณการใช้ข้อมูลเฉลี่ยในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า เชื่อคนไทยจะใช้เวลาเพิ่มอีก 3 ชั่วโมง เป็น 11 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อดูวิดีโอบนมือถือและอุปกรณ์พกพา 

ไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่ถูกสุ่มกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้สมาร์ทโฟน 35,000 ราย ตั้งแต่อายุ 15 ถึง 69 ปี เพื่อสรุปเป็นรายงาน Ericsson Mobility โดยกลุ่มตัวอย่างไทยมีจำนวนราว 1,500 คน เชื่อว่าจะสะท้อนความจริงของมุมมองผู้ใช้ได้มากกว่า 19 ล้านคน

ในรายงานฉบับนี้ Ericsson เก็บข้อมูลบนพื้นฐานความเชื่อยุคเก่า กลายเป็น 4 ข้อสรุปที่สวนทางกับ Myth ดั้งเดิม ตอกย้ำว่า 5G ไม่ต้องรอนานหลายปีกว่าจะเห็นผลประโยชน์อย่างที่หลายคนคิด เพราะกรณีศึกษาเกี่ยวกับ 5G สำหรับผู้บริโภคนั้นเกิดขึ้นจริงแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลายอุตสาหกรรมตื่นตัว ทำให้ 5G ไม่ได้ใช้เฉพาะบนสมาร์ทโฟนเท่านั้น และสุดท้ายคือพฤติกรรม 5G ของผู้บริโภค จะผลิกฝ่ามือจนต่างจากยุค 2G, 3G และ 4G ที่ผ่านมา

คนไทยไม่ปลื้มบรอดแบนด์บ้าน

วุฒิชัย วุติอุดมเลิศ รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์กโซลูชัน บริษัท อิริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่าพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่จะเกิดในยุค 5G คือการย้ายค่าย ซึ่งแปลว่าโครงสร้างเป็นส่วนสำคัญ เพราะสะท้อนความพร้อมของโครงข่ายและความคาดหวังของผู้บริโภค การสำรวจพบว่า 52% ของผู้บริโภคในประเทศไทย มีความรู้สึกว่ายังไม่พอใจกับบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่บ้านและมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการในอีก 6 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ 50% ของผู้บริโภคไทยจะย้ายค่ายไปหาโอเปอเรเตอร์ที่มี 5G ภายใน 6 เดือนหากโอเปอเรเตอร์เดิมไม่มี 5G 

การสำรวจพบอีกว่า 40% ของผู้บริโภคในประเทศไทยคาดหวังว่าบริการ 5G จะสามารถออกสู่ตลาดได้จริงภายใน 2 ปีอีกข้างหน้า โดยหวังว่าจะใช้ 5G ในพื้นที่กลางเมือง ตามแนวขนส่งสาธารณะ ย่านช็อปปิ้ง พื้นที่สำนักงาน และสนามกีฬาหรือสถานที่จัดคอนเสิร์ต เหตุผลที่ทำให้คนไทยหวังให้เกิด 5G ในพื้นที่ “hot zone” เหล่านี้ คือเพราะการนำไปเปรียบเทียบกับ Wi-Fi ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่คนไทยมองว่าควรให้บริการ 5G ก่อน

ในมุม 5G สำหรับผู้บริโภค การสำรวจพบว่าบริการ eMBB หรือบริการที่เน้นความเร็วในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Enhanced Mobile Broadband) และอุปกรณ์เซนเซอร์ในบ้านอัจฉริยะ เป็น 2 สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยยินดีที่จะจ่ายค่าบริการ โดยผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าบริการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีข้างหน้า

ตัวเลขน่าสนใจคือกว่า 83% มีความสนใจในบริการและยินดีที่จะจ่ายค่าบริการ 5G ที่เพิ่มขึ้น โดย 1 ใน Top 5 อันดับแรกที่ผู้บริโภคในประเทศไทยคาดหวังอยากให้รวมอยู่ในบริการ 5G คือ 5G hot zone เพื่อให้สามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์แบบ full HD ได้ภายในไม่กี่วินาที

จับตา Top 5 บริการใหม่ยุค 5G

นอกจาก 5G hot zone บริการอื่นในกลุ่ม Top 5 ที่คนไทยหวังได้เห็นในยุค 5G ได้แก่บริการ Diorama, บริการ 3D hologram, บริการ 5G สำหรับความบันเทิงในรถยนต์ และบริการเซนเซอร์ในบ้านอัจฉริยะ ที่ชาว 5G จะสามารถเชื่อมต่อจอมอนิเตอร์ต่าง ภายในบ้านเข้าด้วยกันเพื่อความง่ายในการจัดการและรักษาความปลอดภัย

วิดีโอ 3 มิติเสมือนจริงที่เรียกกันว่า Diorama เป็นวิดีโอที่ผู้ชมจะสามารถเลือกมุมมองของการดูกีฬาบนหน้าจอแท็ปแล็ตได้เอง จากกล้องมุมต่าง เช่น มุมมองจากผู้เล่น ผู้ตัดสิน หรือผู้ชม พร้อมกับดูคะแนนหรือสถิติในปัจจุบันได้ อีกทั้งยังสามารถแชร์หน้าจอไปหาคนอื่นได้อีกด้วย ขณะที่บริการ 3D hologram คือบริการวิดีโอคอลล์ที่มีเทคโนโลยีฉายภาพแบบใหม่ให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นหน้าคู่สนทนาที่โทรเข้ามาด้วยโทรศัพท์แบบโฮโลแกรม 3 มิติ ให้ความรู้สึกเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน

“88% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยเชื่อว่าจะสื่อสารทางโทรศัพท์ในแบบโฮโลแกรม 3 มิติ เป็นประจำทุกสัปดาห์ผ่าน 5G ขณะที่ราว 13 % คาดว่าการโทรศัพท์แบบ Video call ธรรมดาจะถูกแทนที่อย่างสิ้นเชิงด้วยการสื่อสารแบบโฮโลแกรม 3 มิติ

อีกจุดน่าสนใจคือ “5G สำหรับความบันเทิงในรถยนต์นอกจาก 5G จะทำให้ผู้โดยสารในรถสามารถชมวีดีโอ 4K ได้ต่อเนื่อง หรือสามารถหยุดพักและกลับมาชมต่อได้ ผู้โดยสารยังสามารถช้อปปิ้งออนไลน์และเล่นโซเชียลมีเดียได้ต่อเนื่องเช่นกัน ขณะเดียวกันก็อาจได้เห็นภาพจากกล้องติดรถยนต์ของรถที่แล่นอยู่ด้านหน้า เป็นการมองเห็นข้ามช่วงรถที่อาจจะป้องกันอุบัติเหตุรถชนต่อเนื่องได้

ผู้บริโภคในประเทศไทยมีความพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้นอีก 30%  (โดยเฉลี่ย) สำหรับบริการ 5G เหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ยอมจ่ายเพิ่ม 150 บาทต่อเดือน ขณะที่คนที่อยากใช้ 5G ก่อน จะยอมเสียค่าบริการเพิ่ม 175 บาทต่อเดือน

จุดพลุสินค้าใหม่ พฤติกรรมเปลี่ยนรับยุค 5G

คนไทยดูวิดีโอเฉลี่ย 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ปี 2018)

จะไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟนที่ต้องพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งาน 5G แต่ยังมีอุปกรณ์กลุ่มอื่นที่จะมาปฏิวัติตลาดในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า สำรวจพบ 76% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยคาดหวังว่าจะได้ใช้แว่น AR ภายในปี 2025

การรอแว่น AR และปัจจัยอื่นทำให้ทีมสำรวจประเมินว่าผู้บริโภคในประเทศไทยจะใช้เวลาดูวิดีโอเพิ่มมากขึ้นประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดย 1 ใน 3 ชั่วโมงส่วนเพิ่มขยายที่ดูวิดีโอบนมือถือและอุปกรณ์พกพานี้ จะเป็นการใช้งานผ่านอุปกรณ์แว่น AR และ VR 

จากปี 2018 ข้อมูลระบุว่าคนไทยดูวิดีโอเฉลี่ย 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อคำนวณว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 3 ชั่วโมงในปี 2022-2025 ก็แปลว่าคนไทยจะดูวิดีโอไม่ต่ำกว่า 11 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

ตัวเลขนี้สอดคล้องกับตลาดโลก การสำรวจพบว่าวิดีโอเป็นแอปพลิเคชันหลักที่ชาวโลกใช้งานดาต้ามากที่สุด คิดเป็น 60% ของปริมาณดาต้าที่ใช้งานกัน คาดว่าต่อไปสัดส่วนนี้จะเพิ่มอีกเป็น 74% ในปี 2024 โดยแอปพลิเคชันกลุ่มโซเชียลจะยังมีปริมาณการใช้งานคงที่ไม่ลดหรือเพิ่ม แต่อาจจะมีแอปพลิเคชันใหม่ขึ้นมาเพิ่มเช่น แอปรับส่งลิงก์เพื่อให้ชมวิดีโอบนคลาวด์ ซึ่งจะทำให้การชมวิดีโอแตกต่างไปจากปัจจุบัน และส่วนที่ลดลงคือการเรียกดูเว็บไซต์ผ่านเบราว์เซอร์ เพราะผู้ใช้จะไปออนไลน์บนแอปพลิเคชันแทน

ตัวเลขล่าสุดประจำไตรมาส 1 ปี 2019 พบว่าโลกมีจำนวนผู้สมัครใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 7.9 พันล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้สมัครใช้บริการรายใหม่ 44 ล้านราย โดย 12 ล้านรายมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (ไม่นับรวมจีนและอินเดีย)

การวิจัยคาดการณ์ว่า 5G จะมาเร็วกว่าเมื่อเทียบกับตอนเปิดให้บริการ 4G  เชื่อว่าภายในปี 2024 ผู้สมัครใช้บริการ 5G จะมีจำนวนมากถึง 1.9 พันล้านราย ส่งให้เครือข่าย 5G ครอบคลุมได้ถึงประมาณ 65% ของจำนวนประชากรทั้งโลก.

Source

]]>
1238785
Google เผยพฤติกรรมซื้อรถของคนไทย ปี 2018 เสิร์ช-วิดีโอ ขาดไม่ได้ เคาะซื้อจาก 2 เดือนเหลือแค่ 2 สัปดาห์ https://positioningmag.com/1204568 Fri, 21 Dec 2018 12:25:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1204568 โลกสื่อดิจิทัลและการใช้มือถือส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อรถยนต์ของคนไทยเปลี่ยนแปลง” ไป  เสิร์ชออนไลน์ วิดีโอ คือแหล่งข้อมูลหลักใช้ประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่เวลาในการตัดสินใจซื้อเหลือแค่ 2 สัปดาห์ จากเดิมต้องใช้เวลาถึง 2-3 เดือน

เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลจากงานวิจัยชิ้นใหม่เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์ของคนไทยในปัจจุบัน “Gearshift 2018 : Purchase Journey of Thai New Car Buyers” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Google และ TNS เพื่อสะท้อนถึงกระบวนการที่ซับซ้อนผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ ซึ่งเป็น online survey ของผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ ทั้งชายและหญิง จำนวน 503 ราย ที่มีการซื้อรถยนต์ในช่วง 6-12 เดือนที่ผ่านมา

ภูมิภัส ฉัตรแก้ว ผู้จัดการกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ Google ประเทศไทย ระบุว่า

ผลวิจัย ปี 2018 สะท้อนให้เห็นถึงการเปลียนแปลงในหลายๆ ด้าน จากผลวิจัย (ปี 2017 ) คนไทยมีแบรนด์ในใจเพียงแค่ 3 แบรนด์ แต่มาปีนี้ 2018 พบว่าคนไทยมีแบรนด์ในใจถึง 4.7 แบรนด์ 

เนื่องจากแบรนด์รถยนต์มีสินค้าออกมามากมายทั้งรถรุ่นใหม่ เซกเมนต์ทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น สองพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เปิดใจรับแบรนด์ใหม่ๆ ยิ่งถ้าแบรนด์ไหนเข้าถึงลูกค้าในเวลาที่ถูกต้องจะเปิดใจรับได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผู้บริโภคถึง 90% จะเลือกซื้อจาก 5 แบรนด์หลัก หรือที่เป็น Top of mind ถ้าแบรนด์ไหนไม่ติดโผ การขายจะยิ่งยาก ดังนั้นแบรนด์ควร engage หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของลูกค้าจะมีโอกาสมากขึ้น

โดยเฉพาะ 60% ของกลุ่มผู้บริโภคซื้อซ้ำ มักจะไม่เลือกแบรนด์เดิม ต้องการทดลองแบรนด์ใหม่ๆ ดังนั้นนักการตลาดต้องพยายามทำแคมเปญการตลาดในการดึงคนกลุ่มนี้ให้มาเป็นลูกค้า ขณะเดียวกันก็ต้องทำแคมเปญ CRM เพื่อรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ให้ได้ เพราะหากลูกค้าเปลี่ยนใจ” ไปใช้แบรนด์อื่นแล้ว ความยากและ ต้นทุน” ที่ใช้ดึงกลับมาจะแพงกว่ามาก

ดังนั้นแบรนด์ต้องให้ความสำคัญในทุกๆ Touch Point  ที่ผู้บริโภคจะมีโอกาสัมผัสกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งมีทั้งหมด 22 Touch Point เช่นตัวแทนจำหน่ายศูนย์บริการ

เมื่อดูจาก Touch Point ในส่วนของออนไลน์แล้ว พบว่า อันดับแรก ใช้การเสิร์ช 99%  อันดับ 2 ดูออนไลน์ วิดีโอ 96% อันดับ 3 หาข้อมูลจากแบรนด์ เว็บไซต์ 88% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (2017) ถึง 46% ดังนั้นนอกจากแบรนด์จะต้องโฟกัสเรื่องการตลาดออนไลน์แล้วยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเว็บไซต์ข้อมูล และการเข้าถึงต้องทำได้ง่ายและรวดเร็ว

อีกส่วนที่น่าสนใจคือเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายที่เคยอยู่อันดับท้ายๆ ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 6 เพิ่มขึ้นถึง 36% เมื่อเทียบกับปี 2018

ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 77% เป็นผู้ทีซื้อรถคันแรก ไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อรถยนต์มาก่อน โดยคนกลุ่มนี้จะใช้ออนไลน์ วิดีโอ” ในการหาข้อมูลเป็นหลักถึง 97%

อันดับแรก 81% เป็น วิดีโอ ที่ทำโดยผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งทำแบบมืออาชีพ อันดับ 2 วิดีโอ ทำโดยมืออาชีพ บุคคลที่ 3 สัดส่วน 59% อันดับ 3 วิดีโอ ทำโดยคนทั่วไป 26%

คนที่ซื้อรถยนต์ เขาจะมองหาข้อมูลจากแบรนด์ก่อน จากนั้นจึงไปที่ทัชพอยท์อื่นๆ เพราะมีข้อมูลบางอย่างที่เขาต้องการศึกษาเพิ่มเติม

ออนไลน์วิดีโอมีความสำคัญมากเพียงแค่ออแกนิกคอนเทนต์อาจไม่พอ ต้องทำโฆษณาทางยูทิวบ์เพิ่ม ซึ่ง 3 ไฮไลต์ที่สำคัญโดยเนื้อหาที่ต้องเล่าผ่านโฆษณาบนยูทิวบ์จะต้องเน้นฟีเจอร์ของรถยนต์เกี่ยวข้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของลูกค้า ส่วนการออฟเฟอร์เรื่องของโปรโมชั่นเป็นอันดับรองลงมา

โดยหลังจากดูออนไลน์วิดีโอเกือบ 100% จะไปที่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อหาข้อมูลดูแบบไหนชอบที่สุด ซึ่งถือว่าใกล้ตัดสินใจซื้อแล้ว

สรุปได้ว่าทัชพอยท์ที่มีอิทธิพลต่อผู้ซื้อนอกจากเสิร์ชก็คือออนไลน์วิดีโอ และแบรนด์ เว็บไซต์ ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์มีความสำคัญ ทั้งข้อมูล ความเร็ว

สำหรับจำนวนเฉลี่ยคนไทยไปดีลเลอร์และทดสอบรถ (Test drive) ในปี 2018 พบว่าไปดีลเลอร์ไม่เกิน 2.6 ครั้ง และทดสอบรถ 1.7 ครั้ง โดย 44% ตัดสินใจซื้อทันทีหลังจากเทสไดรฟ์ครั้งเดียว

ลูกค้ายุคนี้ทำการบ้านหาข้อมูลมาออย่างดีแล้ว ดังนั้นถ้าเขาตัดสินใจจะไปตัวแทนจำหน่าย และตัดสินใจซื้อเลย ดังนั้นออฟไลน์ทัชพอยท์ อย่าง ดีลเลอร์ที่ต้องมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ก็มีความสำคัญไม่แพ้ออนไลน์

สำหรับระยะเวลาเฉลี่ยในการตัดสินใจซื้อจากเมื่อก่อนต้องใช้เวลาถึง 3 เดือน มาในปี 2018 ใช้เวลาเหลือ 2 เดือน และมีถึง 15% ที่ใช้เวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก็ตัดสินใจซื้อแล้ว

ดังนั้นนักการตลาดจะต้อง engage กับลูกค้าตั้งแต่ต้นน้ำ เล่าเรื่องแบรนด์ เล่าเรื่องสินค้าถึงแม้ว่าการซื้อรถยนต์ยังไม่ใช่ท็อปออฟมายด์ของเขาก็ตาม แต่ก็ต้องสร้างการรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้นโดยทัชพอยท์ต่างๆ แบรนด์เว็บไซต์ต้องมีข้อมูลครบ โหลดสปีดเร็วเพราะมีจำนวนน้อยที่ทดสอบรถครั้งเดียวก็ตัดสินใจซื้อเลย

เพื่อให้เห็นภาพยิ่งขึ้น สุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การทำตลาดยุคนี้ มีทั้งเหมือนเดิม และต้องเปลี่ยนแปลง มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภค มีข้อมูล” ในมือให้การตัดสินใจในการซื้อรถเปลี่ยนไปจากอดีตต้องไปที่โชว์รูม แต่เวลานี้ทำได้ตลอดไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลาและสถานที่

โดยพฤติกรรมผู้บริโภคเลือกแบรนด์ที่ชื่นชอบใส่ตะกร้าไว้ก่อน จากนั้นจะเลือกไม่เกิน 3 แบรนด์สุดท้ายในการตัดสินใจ ซึ่งการสื่อสารเรื่องของแคมเปญจะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจมาก

นิสสันได้ร่วมมือกับ Google ในการทำแคมเปญซิตี้คาร์เพื่อพัฒนาแนวทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าออนไลน์ได้ดีขึ้น และจากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวการเลือกซื้อรถยนต์ของคนไทยทำให้ทราบว่าผู้ซื้อรถยนต์ใช้สื่อดิจิทัลในทุกขั้นตอนของการศึกษาหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อรถคันใหม่

เริ่มด้วยการสื่อสารผ่าน KOL หรือคนดังในโลกออนไลน์ ซึ่งการร่วมกับ Google ทำให้มีข้อมูลรู้ได้ว่าผู้บริโภคสนใจอะไร ต้องการเนื้อหาแบบไหน แคมเปญอะไรสามารถสื่อสารได้ตรงกับความต้องการได้ ซึ่งในอดีตทำเรื่องเหล่านี้ไม่ได้

โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงสุด ตัดสินใจเร็วสุดคือมิลเลนเนียล ซึ่งจะคุ้นเคยกับการใช้มือถือ และเสิร์ชหาข้อมูลล ส่งผลให้การสินใจเกิดขึ้นรวดเร็ว และผู้หญิงจะมีบทบาทมากขึ้น

เมื่อดูถึงแต่ละช่วงชีวิตจะพบว่า เรื่องของไฟแนนเชียลและการเปลี่ยนงานจะมีการซื้อและเปลี่ยนรถมากกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต 

แต่งงาน ยังรอได้ แต่เปลี่ยนงาน ทำให้เขาได้เงินมากขึ้น หรือการได้โบนัสปลายปี จึงเป็นที่มาว่า ทำไมงานมอเตอร์โชว์ถึงจัดช่วงปลายปี ซึ่งการเสิร์ชหาข้อมูลทำให้เรารู้ได้ว่า ช่วงชีวิตของเขาเป็นอย่างไร เราจะนำเสนอรถแบบไหนให้เขา

ยิ่งทุกวันนี้การแข่งขันของรถอีโค่คาร์ สูงมาก ถ้าเสนอของแถม เช่น ประกันภัย เข้าศูนย์ ไม่ถึง 40,000 บาท จะขายยากมาก

ดังนั้นการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ แบบถูกที่ในเวลาที่ถูกต้องจึงสำคัญมาก

ผลจากการทำแคมเปญดังกล่าวส่งผลให้แบรนด์นิสสันซิตี้คาร์ดีขึ้น 22% โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง ซึ่งถือเป็นผู้บริโภคสำคัญ ทั้งจำนวนเกิดมากกว่า และเป็นคนตัดสินใจ และหารายได้ การรับรู้แบรนด์เพิ่มขึ้น 13% และที่สำคัญ แบรนด์ได้รับการพิจารณาเพิ่มขึ้นถึง 19% และทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 32% ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดนิสสันเพิ่มขึ้นอีก 9%

ทั้งนี้ นิสสันได้ใช้งบดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง” เพิ่มขึ้นทุกปี จาก 10-15% ในปี 2016 เพิ่มเป็น 40% ในปี 2018.

]]>
1204568
ทวิตเตอร์เอาด้วย ลุยศึก “วิดีโอ” จับมือ เวิร์คพอยท์ – วัน แชมเปียนชิพ ถ่ายทอดสด https://positioningmag.com/1185872 Sun, 02 Sep 2018 23:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185872 ร้อนแรงจริงๆ สำหรับออนไลน์ วิดีโอ หลังจากแพลตฟอร์มดังอย่าง เฟซบุ๊ก ส่ง Watch ให้บริการทั่วโลก พร้อมจับมือ วู้ดดี้ ออนแอร์รายการ ส่วนทวิตเตอร์ใช้ช่วงขาขึ้นควงเวิร์คพอยท์ วัน แชมเปียน ถ่ายทอดสดกีฬา

ไหนๆ ก็อยู่ในช่วงขาขึ้นโดยเฉพาะในประเทศไทย ทุบสถิติ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์เติบโตมากที่สุดในโลก งานนี้จึงลุยขยายบริการวิดีโอ” ด้วยคน หลังจากพบว่าคนแห่ดูวิดีโอบนทวิตเตอร์มากขึ้น

Arvinder Gujral กรรมการผู้จัดการ ทวิตเตอร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า ทวิตเตอร์มีอัตราการเติบโตในไทยมากที่สุดในโลก ถึง 200% โดยกลุ่มผู้ใช้งานหลักของทวิตเตอร์ในไทยคือกลุ่มมิลเลนเนียล อายุ 16-34 ปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 68%

โดยทั่วโลกมีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ที่เป็น Monthly Active Users (MAU) จำนวน 335 ล้านคนทั่วโลก ในขณะที่ช่วง 7 ไตรมาสหลังมานี้ ผู้ใช้ทวิจเตอร์ที่เป็น Daily Active Users (DAU) ทั่วโลก เติบโต 7-14%

ทวิตเตอร์จึงอาศัยจังหวะที่กำลังเติบโต ประกาศลงทุนในไทยเพิ่มเติม เลือกปักหมุดบุก “วิดีโอ” เพื่อรับกับกระแสวิดีโอที่กำลังร้อนแรง ด้วยสถิติ 96% ของมิลเลนเนียลในประเทศไทยรับชมวิดีโอผ่านมือถือ และการรับชมวิดีโอของคนไทยในทวิตเตอร์เติบโต 69%

ขณะที่ทั่วโลกรับชมวิดีโอทุกวัน 1.6 พันล้านครั้ง ถึงแม้จะเป็นยอดวิวที่น้อยกว่ายูทิวบ์ที่เป็นวิดีโอแพลตฟอร์มโดยตรงก็ตาม แต่การเติบโตของคนดูวิดีโอบนทวิตเตอร์กำลังไปได้ดี

เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ผู้บริหารทวิตเตอร์โชว์สถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมรับชมวิดีโอในทวิตเตอร์นานกว่าแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม 3.5 เท่า โดย 50% ของคนที่ชมวิดีโอในทวิตเตอร์ จะรับชมอย่างน้อยเป็นระยะเวลาครึ่งหนึ่งของความยาววิดีโอนั้น ในขณะที่คนที่ชมวิดีโอในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมในระยะเวลาดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 15% และ 19% ตามลำดับ

ถ้าดูเม็ดเงินโฆษณาจากออนไลน์ วิดีโอของไทยเวลานี้ ทำได้ 791 ล้านบาท ครองสัดส่วน 5%

ดังนั้น สิ่งที่ทวิตเตอร์ต้องทำต่อไป คือ เน้นความหลากหลายของเนื้อหา รวมถึงการสร้างคอนเทนต์ไทย

จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์ไทย ถ่ายทอดสด และ in-stream video นำร่องโดย วัน แชมเปียนชิพ การแข่งขันศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (Mixed Martial Art : MMA)

ONE Championship รวมทั้งเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เพื่อนำคอนเทนต์ รูปแบบไฮไลต์ คลิปจากรายการเพลงแบบเรียลลิตี้ เช่น รายการ The Mask Singer Project A และรายการ I Can See Your Voice มาปล่อยบนทวิตเตอร์

ทำตลาดผ่านทวิตเตอร์อย่างไรให้ได้ผล

ผู้บริหารทวิตเตอร์บอกด้วยว่า พฤติกรรมการใช้ทวิตเตอร์กับแพลตฟอร์มจะแตกต่างกันค่อนข้างมาก

คนส่วนใหญ่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารในเชิงความสัมพันธ์ (Relationship) กับคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว และเพื่อน มีความเป็นส่วนตัวสูงกว่า โดยจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง โพสต์ภาพสวยๆ ของตัวเอง เช่น ภาพถ่ายปลายเท้าขณะนอนเล่นริมชายหาดในวันพักร้อน เป็นต้น เป็นพฤติกรรมแบบ Look at me ดูฉันสิ ชีวิตของฉันดีงามแค่ไหน

แต่คนคนเดียวกันเมื่อใช้ทวิตเตอร์ จะสื่อสารแบบ #LookAtThis ชี้ชวนหรือบอกกล่าวให้คนอื่นได้รับรู้ข่าวคราว กระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเป็นเรื่องราวที่เขาสนใจและหลงใหล (Interest & Passion) ทำให้การใช้ทวิตเตอร์จึงแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น โดยเน้นการค้นหาสิ่งใหม่ๆ และเปิดกว้างมากกว่า

ในแง่การตลาด ทวิตเตอร์เหมาะกับแบรนด์จะใช้สำรวจความสนใจหรือประเด็นที่กำลังเป็นที่พูดถึงในโลกโซเซียลอย่างมหกรรมกีฬาต่างๆ อย่างฟุตบอลโลก รวมถึงข่าวสาร การเมือง เทรนด์ ความบันเทิง วัฒนธรรม และภัยพิบัติต่างๆ

สร้างการมีส่วนร่วมหรือจดจำได้มากว่าในแพลตฟอร์มอื่น ซึ่งที่คนจะไถหน้าจอไปมา หรือเป็น mindset แบบ Lean back”

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ยังเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนรอบข้าง 69% โดยมักจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ๆ ให้กับครอบครัวและเพื่อนๆ ทำให้เกิด conversation นอกทวิตเตอร์ได้

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับทวิตเตอร์ในไทยก็คือ มีทั้งปรากฏการณ์ที่เป็น Imported Conversation

โดยยกเคส #MAMAwards2017 หรือรายการ 2017 Mnet Asian Music Awards  ที่แฟนๆ เค-ป็อปช่วยกันสร้างกระแสและช่วยกันโหวตให้ศิลปินเกาหลีใต้ที่ตัวเองชอบกว่า 48 ล้านทวีต ซึ่งมิลเลนเนียนชาวไทยทวีตกันหนักหน่วง และถือเป็นแฟนที่เหนียวแน่นของเค-ป็อปเป็นอันดับที่ 2 รองจากตลาดในเกาหลีใต้เอง

ส่วน #ThaiCaveRescue ภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง เป็น Exported Conversation มียอดทวีตเกือบ 3 ล้านทวีต ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น

ทำให้เวลานี้หลายแบรนด์เริ่มใช้ Twitter trend กันเยอะมากขึ้น โดยเฉพาะใช้เปิดตัวแคมเปญใหม่ๆ และสร้างกระแสที่เป็น Big idea

ยิ่งทุกวันนี้ทวิตเตอร์ปรับเปลี่ยนจำนวนตัวอักษรในการทวีตต่อครั้งจาก 140 ตัวอักษร เป็น 280 ตัวอักษร รวมถึงการเพิ่มอัตราการมองเห็นในแต่ละทวีต จากเดิมที่จะต้อง Retweet ถึงจะเห็น เปลี่ยนมาเป็นแค่กด Like ทำให้ทวิตข่าวสารแพร่หลายได้กว้างขึ้น

ธนาคาร-สื่อสาร ใช้เยอะสุด

สำหรับในไทยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทุ่มเม็ดเงินโฆษณากับทวิตเตอร์มากที่สุด คือ กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงิน รวมถึงกลุ่มโทรคมนาคม เนื่องจากต้องการเข้าถึงกลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานหลักของทวิตเตอร์ในประเทศไทย.

]]>
1185872
ผ่า! 9 กลยุทธ์การตลาดได้ใจ “Gen Z” แบบไม่ผิดท่า-ผิดที่ https://positioningmag.com/1158709 Sun, 25 Feb 2018 23:15:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158709 เพราะคนรุ่นใหม่ หรือ Generation Z จะเติบโตขึ้นจนกลายเป็นผู้ครองพื้นที่ 40% ของผู้บริโภคทั้งหมดทั่วโลกภายในปี 2020 เพื่อสร้างการตลาดที่โดนใจกลุ่มนี้ ขอเชิญทุกคนไปเรียนรู้ 9 กลยุทธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ทลวงยุทธจักร Gen Z ได้โดยไม่ต้องออกแรงผิดกระบวนท่า

9 กลยุทธ์นี้ถูกรวบรวมจากสมาชิก 9 รายที่มีรายชื่อในสภาการพัฒนาธุรกิจของ Forbes หรือ Forbes Business Development Council ซึ่งต้องยกนิ้วให้เลยว่า ข้อเสนอทั้ง 9 กลยุทธ์นี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการขายที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ (บริษัทวิจัย Fast Company กำหนดว่า Generation Z เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เกิดหลังปี 1995) ที่เน้นเทคโนโลยีสูงและเติบโตขึ้นมาในยุคทองของโซเชียลมีเดียอย่าง Generation Z 

1. พบ Gen Z ที่ Gen Z อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ 

Christopher Kingman แห่ง TransUnion บอกว่า Gen Z เป็นเจเนอเรชั่นที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนยุคอื่น Gen Z ใช้เวลามากขึ้นบน social media ดังนั้นกลยุทธ์การขายจึงควรเริ่มจากโซเชียลและโทรศัพท์มือถือ รวมถึง touch point หรือจุดติดต่อหลายจุด ด้วยการส่งตรงข้อความแบบ direct และไม่ต้องเวิ่นเว้อ (no-fluff) ผ่านรูปแบบสื่อที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ ภาพ และภาพชุด stories ฯลฯ

กิมมิกขายของแบบเก่า จะไม่ได้ผลกับ Gen Z ทางที่ดีควรมุ่งเน้นไปที่การส่งข้อความและเนื้อหาแบบรายบุคคลแทน โดยชูให้ชัดเจนว่ามีอะไรในแคมเปญที่เหมาะสำหรับพวกเขา

2. ต่อยอดเนื้อหา User-Generated Content 

การใช้ประโยชน์จากเนื้อหาที่ผู้ใช้ร่วมกันสร้างขึ้นหรือ User-Generated Content (UGC) คือสิ่งที่ Ali Fazal จากบริษัท Yotpo เชื่อว่าจะเป็นกุญแจหลักในการเข้าถึง Gen Z 

Gen Z จำนวนไม่น้อยเริ่มไม่คิดจะซื้ออะไรถ้าไม่มีบทความรีวิวหรือบอกต่อว่าของหรือบริการนี้ดีน่าสนใจ ดังนั้น UGC จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ช่วยให้ Gen Z พร้อมหรือมีที่ปรึกษาก่อนตัดสินใจซื้อ แน่นอนว่าจะต้องไม่ใช่คำวิจารณ์สั้น ที่แบรนด์แต่งเองแค่ 1 หรือ 2 รีวิว แต่อาจต้องเป็นความเห็นนับร้อยหรือรูปภาพที่ผู้ใช้ร่วมกันถ่ายและเผยแพร่ มาตรฐานใหม่นี้จึงไม่ใช่เรื่องของการมีก็ดีหรือ nice to have เพราะถ้ากระแสโตพอ Gen Z จะรู้สึกว่าต้องมีหรือ a must

3. ขายความสำเร็จ

Gen Z คือกลุ่มที่ถูกมองว่า จะทำอะไรตามผลลัพธ์หรือผลประโยชน์ที่หวังไว้ (results-driven group) ดังนั้นอย่าได้คิดขายสินค้าให้คนกลุ่มนี้ แต่ให้ขายความสำเร็จที่จะได้รับหลังจากใช้สินค้า (หรือบริการ) นั้นแทน

Julie Sokley แห่ง Autodesk อธิบายว่าการขายความสำเร็จ คือวิธีที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อจุด หรือ connect the dots ให้ Gen Z ได้เห็นภาพกระบวนการทำงาน รวมถึงแนวทางเพิ่มประโยชน์สูงสุดของการใช้ผลิตภัณฑ์ แถมวิธีนี้จะทำให้แบรนด์อยู่ในฐานะที่ลูกค้าสามารถมองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจความต้องการของตัวเองได้อย่างแท้จริง

4. ตรงประเด็น

เพราะความที่เน้นเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง คน Gen Z จะคุ้นเคยกับการตัดสินใจที่รวดเร็ว ผลคือช่วงความสนใจ หรือ attention span ของคน Gen Z จะสั้นลงด้วย เนื่องจากคน Gen Z สามารถเข้าถึงอะไรก็ตามที่สนใจได้อย่างทันทีทันใด

Adam Mendler แห่ง Custom Tobacco จึงแนะว่าแบรนด์ใดที่ต้องการขายกลุ่ม Generation Z จงสื่อสารและนำเสนอมูลค่าของแบรนด์อย่างชัดเจนและรวดเร็ว หากไม่อยากเสี่ยงกับการสูญเสียผู้ชมและการขายที่ไม่สำเร็จ 

5. ตรวจสอบการออกแบบให้แน่ใจว่าสุดยอด

Christian Valiulis จากบริษัท Automatic Payroll Systems เน้นว่าแบรนด์ที่หวังคว้าใจ Gen Z ต้องมั่นใจว่าการออกแบบทางเทคนิคของแบรนด์นั้นอยู่ในระดับสุดยอดจริง

เหตุผลเป็นเพราะระบบทำงานอัตโนมัติและงานบริการตนเอง เป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ แต่กุญแจสู่ระบบอัตโนมัติคือการทำอย่างถูกต้อง ดังนั้นบริษัทจึงต้องมั่นใจว่าการออกแบบเทคโนโลยีของตัวเองนั้นดีกว่า และตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ต้องมั่นใจว่าลูกค้า Gen Z จะไม่พิจารณาแบรนด์อื่นที่มีคุณภาพมากกว่า ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ แบรนด์จะพบฝันร้ายแน่นอนเพราะความนิยมต่อตราสินค้าจะลดลง

6. อย่าเหมาแล้วแปะชื่อกลุ่ม

Wayne Elsey มือการตลาดจากบริษัท Elsey Enterprises คิดว่าหนึ่งในข้อผิดพลาดที่สำคัญคือสังคมพยายามจะติดป้ายชื่อเรียกคนกลุ่มนี้ 

ไม่เหมือนผู้สูงอายุ คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการถูกเรียก หรือถูกแยกประเภทออกเป็นกลุ่ม เนื่องจากทุกคนเข้าใจคนกลุ่มนี้หมดแล้วโดยเฉพาะเรื่องการเน้นเทคโนโลยีมากขึ้น ที่บอกชัดอยู่แล้วว่าคนกลุ่มนี้อยู่ที่ไหน และวิธีการที่แบรนด์จะต้องเปลี่ยนเพื่อทำการตลาดกับกลุ่มนี้ โดยที่ไม่ต้องเรียกชื่อกลุ่มโดยบอกว่าลูกค้ากลุ่มนี้เป็นมวลชน และผู้บริโภคที่ทรงพลังมาก ที่จะทำในสิ่งที่ต่างออกไปจากคนรุ่นเก่า

7. ให้ความบันเทิง

วันนี้ Gen Z ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตออนไลน์ไม่เหมือนกัน ทำให้การโต้ตอบของ Gen Z แต่ละรายแตกต่างกันไปด้วย แม้ว่าจะไม่ชอบโฆษณาเนื่องจากภาพลักษณ์คู่หูของยุคลุงป้า แต่ Gen Z จำนวนไม่น้อยคาดหวังความสนุกสนาน และประสบการณ์ที่ตรงใจ ก่อนที่จะต้องเอ่ยปากบอกแบรนด์ว่าต้องการอะไร

Lisa Box จาก WP Engine, Inc. เชื่อว่าหากแบรนด์ต้องการชนะใจ Gen Z นักการตลาดต้องพัฒนาจากแนวคิด informing มาเป็น delighting โดยต้องเปลี่ยนจากการให้ข้อมูลทั่วไป มาเป็นการทำให้แบรนด์น่าสนใจ ซึ่งอาจใช้คนดัง ข้อเท็จจริง และปัจจัยอื่นจากภาพรวมทั่วไปไปจนถึงการคาดเดา

8. ใช้ประโยชน์จากวิดีโอ

Gen Z ไม่เคยใช้ข้อความเสียง และเลือกส่งข้อความแชตแทนอีเมล นอกจากนี้ยังเป็นคนรุ่นใหม่ที่นิยม YouTube / Netflix / Reddit ในการชมวิดีโอสั้น 1 ถึง 3 นาทีบนโทรศัพท์ของตัวเอง

หากคุณต้องการมีส่วนร่วมกับพวกเขาตลอดกระบวนการขาย วิดีโอควรเป็นสื่อที่คุณเลือก แผนกงานขายจะต้องเพิ่มความสามารถในการสร้างวิดีโอให้กับเครื่องมือการขายที่ใช้อยู่ ซึ่งจะเป็นอาวุธที่เหนือกว่าให้สามารถเอาชนะใจผู้ซื้อ Gen Z” Jim Ninivaggi, Brainshark

9. ใช้กลยุทธ์ Mobile-First

ทั้งกลุ่ม Generation Z และ millennial แบรนด์ควรชัดเจนเรื่องกลยุทธ์ Mobile-First ทั้งบนสินค้าและบริการ จุดนี้ Adam Livesay จาก Elevat Inc ชี้ว่าถึงเวลาบอกลาเว็บเบราเซอร์บนเดสก์ท็อปและอีเมล เพราะแบรนด์ควรหันมาใช้แอปพลิเคชั่น native app,  Instagram, Facebook และ Snapchat แทน 

นอกจาก 9 กลยุทธ์นี้ รายงานของ Forbes ยังบอกว่าการปฏิบัติกับ Gen Z ในฐานะปัจเจกบุคคลก็เป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอีคอมเมิร์ซ ซึ่งหมายความว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แบรนด์สามารถปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าได้ 

ยังมีเรื่องของการให้ข้อมูลที่ชัดเจน การเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้า และการเน้นมูลค่าของบริษัท ทั้งหมดนี้สามารถอ่านฉบับเต็มได้จากที่มา.

ที่มาhttps://www.forbes.com/sites/forbesbusinessdevelopmentcouncil/2018/02/22/13-strategies-for-marketing-to-generation-z/#2d76703f31c3

]]>
1158709
ผ่า 6 เทรนด์ตลาดโซเชียล ผ่านพฤติกรรมผู้ใช้ อินสตาแกรม https://positioningmag.com/1153213 Wed, 10 Jan 2018 11:42:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153213 ด้วยยอดผู้ใช้ของ Instagram ที่มี 800 ล้านคน พฤติกรรมของผู้ใช้ในคอมมูตินี้แห่งนี้ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2561  โดยพอล เว็บสเตอร์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและสร้างสรรค์แบรนด์ อินสตาแกรม ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก Facebook

1. ร้านค้าโซเชียลมีเดีย

ไอจี ถูกใช้ในการคุ้นหาเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหารที่ได้รับความนิยม และเทรนด์แฟชั่นล่าสุด โดย 62% ของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลบอกว่า หากแบรนด์ติดต่อกับพวกเขาผ่านโซเชียลมีเดีย ก็จะเพิ่มโอกาสในการเป็นลูกค้าประจำที่จงรักภักดีต่อแบรนด์นั้น เนื่องจากโซเชียลแพลตฟอร์มเชื่อมต่อไปสู่การขายสินค้าอย่างแพร่หลาย

ในปี 2561 จากการที่แบรนด์ต่างๆ เริ่มได้รับผลประโยชน์จากการเชื่อมต่อนี้ โซเชียลมีเดียจะกลายเป็นแหล่งซื้อขาย และจะช่วยกระตุ้นยอดขายผ่านช่องทางโซเชียลได้เป็นอย่างดี  และผลจากการ อินสตาแกรม ได้ทดลองฟีเจอร์ Shoppingในอินสตาแกรมในสหรัฐมา 1 ปี ช่วยให้การซื้อสินค้าภายในแอพพลิเคชั่นเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ฟีเจอร์นี้จะนำไปใช้ในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในปี 2561 นี้

2. วิดีโอจะมาแรงในปีหน้า แต่จะหายไปในวันพรุ่งนี้

ภายในปี 2562 คาดการณ์ว่า 72% ของยอดชมวิดีโอออนไลน์ทั้งหมดจะเกิดขึ้นบนมือถือ ซึ่งช่วยสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ต่างๆ ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสร้างประสบการณ์วิดีโอที่ดึงดูดผู้บริโภคผ่านเนื้อหาที่อยู่ในมือของพวกเขา

ไอจีเอง ก็คาดหวังว่าข้อมูลแบบชั่วคราวอย่าง Stories จะได้รับความนิยมมากขึ้น และคาดว่าแบรนด์ต่างๆ กล้าที่จะลองเสี่ยงกับการใช้ข้อมูลแบบชั่วคราว โดยเชื่อมั่นว่าโพสต์ต่างๆที่จะหายไปหลังจากระยะเวลา 24 ชั่วโมงนั้นจะช่วยสนับสนุนคิดสร้างสรรค์เนื้อหามากยิ่งขึ้น

3. การส่งข้อความจะกลายเป็นพื้นที่สำหรับธุรกิจ

นอกจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้โทรศัพท์มือถือแล้ว การส่งข้อความ ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารที่รวดเร็ว ตรงไปตรงมา และเป็นส่วนตัว ผู้คนต้องการที่จะสื่อสารกับธุรกิจต่างๆ ในวิธีการที่รวดเร็วและเป็นกันเองมากขึ้น เช่นเดียวกับวิธีสื่อสารกับเพื่อนฝูง

64% ของผู้คนเลือกส่งข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารกับธุรกิจ แทนการใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์ คาดการณ์ว่าจำนวนนี้จะเติบโตขึ้นในปี 2561 และจะเห็นการซื้อขายผ่านการส่งข้อความมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

4. ธุรกิจขนาดเล็กจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมด้านการตลาด

ในอดีตนั้นการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดระดับโลกเคยเป็นสิ่งที่ถูกสงวนไว้สำหรับ “แบรนด์ขนาดใหญ่” ที่มีงบประมาณจำนวนมากเท่านั้น แต่ความง่ายดายในการจัดการและประสิทธิภาพของโซเชียลมีเดีย ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กได้เกิดและเติบโตในระดับโลก เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขัน  โดยปี 2561 คาดว่าบริษัทขนาดเล็กจะยังคงผลักดันเพื่อลดขีดจำกัดต่างๆและสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับทุกคนในอุตสาหกรรม

5. การเติบโตของตลาดเฉพาะ

ในโลกของโซเชียลมีเดีย ผู้คนจากทั่วโลกเชื่อมต่อกันผ่านการแบ่งปันความสนใจและความชอบที่คล้ายกัน  ในอินสตาแกรมประกอบด้วยคอมมูนิตี้ที่มีความสนใจเฉพาะอยู่จำนวนมาก ซึ่งแปลว่ามีกลุ่มผู้ชมที่มีส่วนร่วมสูง มีคุณค่า และสามารถเข้าถึงได้ง่าย สำหรับแบรนด์ใดก็ตาม

6. การทบทวนประเมินคุณค่าของเนื้อหา

ในขณะที่เครื่องมือวัดผลอย่าง ยอดไลค์ และการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จเชิงการตลาดในโลกโซเชียล แต่การวัดผลที่มีความหมายอย่างแท้จริงคือยอดขายหรือการกระทำเชิงธุรกิจอื่นๆ  ซึ่งมาจากการที่แบรนด์ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ลึกยิ่งขึ้น ทำให้สามารถเลือกใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและพัฒนาเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่แบรนด์ได้เรียนรู้พฤติกรรมและความเป็นมาของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ใช้สร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจในเวลาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นยอดขายในที่สุด.

ที่มา : insights.fb.com/morethanamessage

]]>
1153213