ศึกทีวีดิจิตอล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Oct 2016 08:40:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ทีวี” เขย่าผัง สู้ศึกชิงเรตติ้งโค้งสุดท้ายปี 59 https://positioningmag.com/1104957 Wed, 05 Oct 2016 23:50:18 +0000 http://positioningmag.com/?p=1104957 ช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2559 นับเป็นช่วงต้องจับตากันเป็นพิเศษ เมื่อช่องฟรีทีวีเดิมและดิจิทัล ทยอยประกาศปรับผังใหม่ ทุกช่องทุ่ม งัดรายการระดับแม่เหล็กออกมาเพื่อช่วงชิงคนดู ยึดไพรม์ไทม์ ชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร

สถานการณ์ของทีวีดิจิทัลเวลานี้ ต้องถือว่าผ่านช่วง “ฝุ่นตลบ” กันมาแล้ว ช่องดิจิทัลที่ไต่ขึ้นอันดับมาได้ก็เริ่มมองเห็นแสงสว่าง จากการใส่รายการไปแล้วเจอแจ็กพอตโดนใจคนดู ก็หยุดไม่ได้ ต้องใส่เกียร์เดินหน้า เพื่อก้าวขึ้นไปแข่งกับช่องใหญ่

ในขณะที่ช่องฟรีทีวีเดิม ก็ต้องยกการ์ดปกป้องตลาดเต็มที่ ไม่ให้ทีวีดิจิทัลมาแย่งชิงฐานคนดูและส่วนแบ่งตลาดไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่

ทุกช่องเวลานี้ จึงต้องงัดเอารายการที่เรียกได้ว่าเป็น “จุดแข็ง” ของตัวเองมาใส่กันแบบเต็มที่ เพื่อช่วงชิงเค้ก หรือเม็ดเงินโฆษณามาไว้ในมือให้ได้มากที่สุด ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่เป็นใจ ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณายังอยู่ในช่วงขาลง

ช่อง 3 ปรับผัง รับศึก

ช่องฟรีทีวีเดิมอย่าง ช่อง 3 ต้องเผชิญกับโจทย์ท้าทายรอบด้าน ส่งผลถึงผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2559 (มกราคม-กันยายน 2559) ต้องติดลบ 9-10%

เป็นผลมาจากทั้งภาวะเศรษฐกิจขาลง “ขาดทุน” จากถ่ายทอดสดโอลิมปิก รายการช่วงดึก หรือ “เลตไนต์” คือตั้งแต่ 23.20 น. เป็นต้นไป ซึ่งเคยทำรายได้ อยู่ในภาวะ “สิ้นมนต์ขลัง” จากพฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไปดูหนัง ฟังเพลง ผ่านออนไลน์ ส่งผลกระทบให้รายได้ในช่วงเวลานี้ที่เคยเป็นช่วงทำเงิน ต้องหายไปถึง 30%

สมัยก่อน ช่วงนี้เราได้เงินมากกว่าทีวีดิจิทัลทั้งช่องเสียอีก แต่พอคนไม่ดู โฆษณาก็ไม่เข้า ผู้จัดรายการก็ไม่ไหว รายการที่เคยโดดเด่นก็ต้องขยับไปไว้ช่วงกลางวัน เสาร์ อาทิตย์ เพื่อเพิ่มคนดูให้มากขึ้น รายการอื่นๆ ที่เหลืออยู่ก็อ่อนลง ในอนาคตทางสถานีก็ต้องไปผลิตรายการเอง เพราะต้องใช้เงินลงทุนเยอะ ผู้ผลิตข้างนอกเขาไม่ไหว” สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติการแทนรักษาการกรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ส่วนรายการข่าว “เรื่องเล่าเช้านี้” นับตั้งแต่ขาดผู้ประกาศหลัก สรยุทธ สุทัศนะจินดา ส่งผลให้เรตติ้งของรายการหายไปถึง 25% จากเดิมทำได้ 2 กว่า ปัจจุบันเรตติ้งลดลงเหลือ 1.5-1.7 กระทบไปถึงรายได้จากค่าโฆษณาลดลงไปถึง 30%

open_rong

เมื่อประกอบกับเม็ดเงินโฆษณาที่หายไป คู่แข่งขันเพิ่มขึ้น ช่อง 3 จึงตัดสินใจหั่นเวลาออกอากาศ “เรื่องเล่าเช้านี้” ลง 45 นาที จากเดิมที่เคยออกอากาศ จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 06.00-09.30 น. เหลือเวลาออกอากาศ ตั้งแต่ 06.00-8.45 น.

6_tv-copy

ช่วงเวลา 45 นาทีจะถูกแทนที่ด้วยรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” ที่เคยออกอากาศในช่อง 13 Family มาออกอากาศในช่อง 3 ออริจินัล และช่อง 33 HD พร้อมกับปรับเปลี่ยนพิธีกรยกชุด

ช่อง 3 มองว่า การนำรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงมาช่วยกู้สถานการณ์ เพราะถือเป็นต้นแบบของรายการวาไรตี้ผู้หญิง เป็นแบรนด์เก่าแก่อายุเกิน 10 ปี ที่แข็งแรง มีฐานคนดูอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้างใหม่ ทีมงานช่อง 3 มั่นใจว่า จะมาช่วยดึงเรตติ้งและโฆษณาได้ทันที และแข่งขันกับช่องดิจิทัลที่ล้วนแล้วแต่มีรายการผู้หญิงเกือบทุกช่อง ในขณะที่ช่อง 3 เองขาดรายการวาไรตี้ผู้หญิงอยู่ในผังมาได้พักใหญ่แล้ว

นอกจากนี้ ช่อง 3 ยังได้โยก “รายการแจ๋ว” รายการผู้หญิงที่คนรู้จักดีอีกรายการ และออกอากาศอยู่ในช่อง 13 มาออกอากาศในช่อง 33 HD ในช่วงบ่าย 14.45-15.30 น. จันทร์ถึงศุกร์ มาช่วยเติมผังรายการผู้หญิงให้แน่นขึ้น โดยจะมีการปรับรายการใหม่ เช่น รายงานสดข่าวเกี่ยวกับผู้หญิง

“ทั้งสองรายการจะนำโซเชียลมีเดียมาใช้มากขึ้น เพื่อดึงให้คนมาดูรายการในขณะที่ออนแอร์ หรือคนที่ดูไม่จบ หรือพลาดไม่ได้ดูรายการสด ให้ไปดูต่อที่ช่องทางต่างๆ“ 

2_tv-copy

ขณะที่ในภาพรวมของทั้ง 3 ช่อง 13, 28 และ33 จะใช้ “กีฬา” มาเป็นตัวชูโรง โดยจะมีการถ่ายทอดสดออกอากาศทุกสัปดาห์ ในกีฬาที่หลากหลาย ทั้งการถ่ายทอดสดรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร, ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป รอบคัดเลือก ถ่ายทอดสดการแข่งขันวอลเลย์บอลทั้งหญิง-ชาย ทั้งในระดับเวิลด์กรังปรีซ์ เวิลด์ลีก และระดับสโมสร กีฬามอเตอร์สปอร์ต เทควันโด แบดมินตัน

ส่วนการแข่งขันในปีหน้าจะยิ่งลำบากขึ้น เพราะต้นทุนของรายการแพงขึ้น เช่น กีฬา ที่ต้องแข่งซื้อลิขสิทธิ์กับต่างประเทศ ทำให้ได้คอนเทนต์แบบเดิมๆ มาในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมเยอะ กำไรก็ลดลง และยังต้องเผชิญกับความไม่ชัดเจนของสื่อใหม่

ในมุมมองของสุรินทร์ “เรตติ้งของช่อง” ไม่สำคัญเท่ากับมี “รายการที่โดนใจคนดูและกลุ่มเป้าหมายจะสำคัญมากกว่า

“โฆษณาเขาซื้อที่รายการ เขาไม่ได้ซื้อทั้งช่อง เขาจะดูจากรายการนี้มีคนดูเท่าไหร่ และใครเป็นคนดู มันตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเขาหรือไม่ ผมจะดีใจมากเลยถ้าช่องมีรายการดัง 2-3 รายการ แทนที่จะบอกว่าเรตติ้งของช่องมาเป็นอันดับ 1 หรืออันดับ 5”

สุรินทร์ เชื่อมั่นว่า ด้วยสภาพการแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนของรายการที่สูงขึ้น การที่ช่องใหม่ๆ จะมาแข่งขันกับช่องเดิมซึ่งมีฐานคนและเงินที่มากกว่า ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ช่อง 3 ก็ประมาทไม่ได้

การรับมือของช่อง 3 จึงต้องมุ่งไปที่การนำรายการที่แข็งแรง มีฐานคนดู และคนรู้จักดีอยู่แล้ว เข้ามาปรับแทนรายการที่คนดูลดลง ดังเช่น ผู้หญิงถึงผู้หญิง ตลาดสดสนามเป้า ซึ่งเปลี่ยนเป็น ตลาดสดพระราม 4 จะมาเสริมรายได้ รวมทั้งรายการกีฬา รายการข่าวที่จะทยอยปรับปรุงต่อไป

ช่องวัน ส่งซิทคอม-กีฬา-ข่าวตรึงไพรม์ไทม์ 4 โมงเย็นถึง 4ทุ่ม

ส่วน “ช่องวัน” หลังจากประสบความสำเร็จด้วยการวางกลยุทธ์ จากการให้น้ำหนักช่วงไพรม์ไทม์เลี้ยงทั้งช่อง ยิ่งมาได้ “แจ็กพอต” กับ ละคร “พิษสวาท” ที่เป็นปรากฏการณ์สร้างความสำเร็จทั้งฐานคนดูและเรตติ้ง ขึ้นชั้นสูสีกับละครช่องฟรีทีวีเดิม ขณะที่เรตติ้งรวมทั่วประเทศ ในช่วงเดือนสิงหาคม  0.77 ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 4 ของทีวีดิจิทัล

ก็ยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับช่องวัน ในการอัดรายการลงผังรายการใหม่ ในเดือนตุลาคม เพื่อปักหมุดตรึงคนดูในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ตั้งแต่ 16.00 น. – 22.30 น. เอาไว้ให้อยู่หมัด

โดยหลังจากปูด้วยรายการต่อเนื่อง วาไรตี้ เกมโชว์ ประกวดแข่งขัน ละคร มาต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคมนี้ จะมีการปรับผังรายการส่งท้ายปี โดยเฉพาะในช่วงเวลา 20.00 น. – 20.30 น. รายการ “ซิทคอม” ที่ถือเป็นจุดแข็งของช่องวัน มาออกอากาศตั้งแต่วันจันทร์ – พฤหัส เพื่อตรึงคนดู ก่อนเข้าสู่ช่วงซูเปอร์ไพรม์ไทม์ ซึ่งเป็นช่วงละคร และยังช่วยขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เช่น กลุ่มครอบครัวและกลุ่มวัยรุ่น

3_tv-copy

เริ่มจากวันจันทร์ ด้วยรายการ “4 โพธิ์ดำการละคร” วันอังคาร “บางรักซอย 9/1” วันพุธ “รักแท้แม่ไม่ปลื้ม” และวันพฤหัสบดี “สูตรรักชุลมุน”

7_tv-copy1

นอกจากนี้ ยังได้ขยับผังรายการด้วยการเติมรายการฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือกปี 2559 พร้อมกับ 2 รายการมวย คือ เอ็มเอ็กซ์ มวยเอ็กซ์ตรีม สไตล์มวยโชว์ นักมวยคนไทยแข่งกับต่างชาติ ออกอากาศทุกวันศุกร์ช่วงเวลา 21.00 น. และมวยราชดำเนิน ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอดสดเดือนละครั้ง เพื่อขยายคนดูผู้ชายทั้งในเมืองและต่างจังหวัดให้เพิ่มขึ้น

ในขณะที่จะมีการปรับรายการข่าวค่ำ จะปรับรูปแบบการนำเสนอให้ตรงกับดีเอ็นเอของช่อง ให้คนดูทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ภายใต้สโลแกนใหม่คือ “ใกล้ชิดข่าว ใกล้ชิดคุณ”

เดียว วรตั้งตระกูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ “ช่องวัน 31” บริษัท เดอะวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด บอกว่า การปรับผังรายการครั้งนี้ เพื่อรักษาฐานคนดูหลักของช่องวัน คือผู้หญิงวัยทำงาน ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ และยังขยายฐานไปที่กลุ่มผู้ชายทั้งในเมืองและต่างจังหวัด

นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่าจะช่วยขยายไพรม์ไทม์ให้เติบโตขึ้นอีก 30-50% โดยวางเป้าหมายขยับขยายเรตติ้งรวมทั่วประเทศ (18.00-24.00 น.) จาก 0.7 ไปเป็น 1 เพื่อก้าวจากอันดับ 4 ไปสู่ อันดับ 3 ให้ได้ภายในสิ้นปี หรืออย่างช้าต้นปี 2560

เป้าหมายของช่องวัน ไม่ใช่แค่การขึ้นสู่ Top 5  ซึ่งครองตลาดโฆษณา 80% เท่านั้น แต่ยังต้องวิ่งไล่กวดกับ “เวิร์คพอยท์” ที่ครองอันดับ 3 อยู่ในเวลานี้ โดยใช้จุดแข็ง ละคร และซิทคอม ที่มีฐานคนดูแน่นหนา มาเป็น “หัวหอก” เพื่อรักษาฐานคนดูในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่

ในขณะเดียวกัน ก็เพิ่ม “กีฬา” มวยมาเป็นตัวเสริมทัพ เพื่อขยายฐานไปยังกลุ่มคนต่างจังหวัดและฐานราก ที่ช่องวันยังขาดอยู่

ช่อง 8 ดันละครไพรม์ไทม์

ในขณะที่ช่อง 8 ของค่ายอาร์เอส ปรับผังรายการ เติมคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้กับคอนเทนต์ 4 แกนหลัก ละคร กีฬา ข่าว และวาไรตี้ แต่คราวนี้พุ่งเป้าไปที่การขยายฐานไปยังกลุ่มคนเมืองและหัวเมืองใหญ่ จากเดิมที่กลุ่มคนดูกลุ่มแมสทั่วประเทศ

4_tv-copy

เริ่มตั้งการขยายผังละคร “เออร์ลี ไพรม์ไทม์” เวลา 18.20 น. วันจันทร์-พฤหัส ประเดิมด้วยละคร กระถินริมรั้ว ต่อด้วยรายการวาไรตี้ “Dream song ร้องสร้างฝัน” เวลา 19.05 น. ประกวดร้องเพลง เจาะกลุ่มครอบครัว ทุกเพศทุกวัย เป็นการขยายฐานคนดู

5_tv-copy

จากนั้นจะทยอยเติมคอนเทนต์ ซีรีส์เกาหลีและจีน มาออกอากาศในช่วง 22.00 น. จันทร์ถึงศุกร์ โดยเรียกว่า ช่วง The 8PISODE เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน

ขณะเดียวกัน มองโอกาสของคอนเทนต์มวย เป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์กีฬาที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ชมชาวไทยในวงกว้าง โดยมี 8 แม็กซ์มวยไทย ที่มีเรตติ้งรายการมวยอันดับ 1ในกลุ่มผู้ประกอบการเลือดใหม่ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ตามด้วย เดอะแชมเปี้ยน มวยไทยตัดเชือก และมวยไทยแบทเทิล ศึกค่ายชนค่าย จึงเตรียมจะเปิดช่วงไพรม์ไทม์ใหม่สำหรับกีฬาเพิ่มขึ้นอีก

8_tv-copy

ส่วนรายการข่าว นอกจากมีทั้ง 4 ช่วง คุยข่าวเช้า ข่าวเด่นเที่ยง คุยข่าวเย็น และข่าวเด่นรอบวัน ยังเพิ่มรายการวาไรตี้ข่าว สะดุดข่าวเด็ด เวลา 22.00 น. ทุกวันเสาร์

ช่อง 8 วางเป้าหมายว่า การปรังผังรายการอบนี้ จะมีเรตติ้ง 4 แสนรายต่อนาที จากปัจจุบันที่มี 3.5 รายต่อนาที ค่าโฆษณาเฉลี่ยอยู่ที่ 3 หมื่นบาทต่อนาที เพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ราคาขายสูงสุดอยู่ที่ 2.5-3 แสนบาทต่อนาที มีรายได้ 2 พันล้านบาท

]]>
1104957
จับตารายการประกวดร้องเพลงกระชากเรตติ้งดิจิตอลทีวี https://positioningmag.com/1098422 Thu, 28 Jul 2016 05:56:29 +0000 http://positioningmag.com/?p=1098422 คนดูดิจิตอลทีวีเพิ่ม

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) รายงานข้อมูลสภาพตลาดกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (ดิจิตอลทีวี) ระหว่างวันที่ 1-15 ก.ค. 2559 พบว่า ผู้ชมช่องทีวีดิจิตอลเติบโตอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนผู้ชมดิจิตอลทีวีขยับเข้าใกล้ผู้ชมช่องรายการเดิม คือ ช่อง 3, 5, 7, 9, NBT และ ThaiPBS โดยสัดส่วนผู้ชมดิจิตอลทีวีขึ้นมาอยู่ที่ 46.43% และผู้ชมช่องรายการเดิมอยู่ที่ 53.57% สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนเริ่มหันมาดูดิจิตอลทีวีซึ่งเป็นช่องใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เกือบจะเท่าช่องเดิม

5 รายการแข่งประกวดเพลง

ทั้งนี้ รายการประเภทประกวดแข่งขันความสามารถ หรือ Talent Contest เป็นที่นิยมของประชาชนไม่ต่างจากรายการประเภทละครหรือการแข่งขันกีฬา

โดยพบว่ารายการประเภท Talent Contest ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรกในช่วงวันที่ 1-15 ก.ค. 2559

อันดับ 1 รายการไมค์ทองคำ ปี 4 ทางช่อง Workpoint มีเรตติ้งอยู่ที่ 5.592

อันดับ 2 รายการ I CAN SEE YOUR VOICE THAILAND ทางช่อง Workpoint มีเรตติ้งอยู่ที่ 5.281

อันดับ 3 รายการกิ๊กดู๋สงครามเพลงเงินล้าน ทางช่อง 7  มีเรตติ้งอยู่ที่ 4.505

อันดับ 4 รายการดันดารา ทางช่อง 3 มีเรตติ้งอยู่ที่ 3.938

อันดับ 5 รายการศึกวันดวลเพลง ทางช่อง One มีเรตติ้งอยู่ที่ 3.510

รายการประเภท Talent Contest ที่มีความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรกนั้นเป็นรายการในช่องทีวีดิจิตอลถึง 3 รายการ

การที่รายการประเภทประกวดแข่งขันความสามารถที่เป็นที่นิยมจะพบว่าเป็นรายการเกี่ยวกับการร้องเพลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นที่นิยมของคนโดยทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบกับรายการแข่งขันความสามารถประเภทอื่น

เม็ดเงินโฆษณาดิจิตอลทีวีเพิ่ม

ด้านมูลค่ารวมจากการโฆษณาทีวีในเดือน มิ.ย. 2559 อยู่ที่ 6,084 ล้านบาท ลดลง 4% จากเดือน พ.ค. 2559  ซึ่งเป็นการลดลงที่เกิดจากมูลค่าการโฆษณาในช่องเดิมที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการโฆษณาในส่วนของดิจิตอลทีวีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยมีมูลค่าการโฆษณาเพิ่มขึ้นจาก 1,696 ล้านบาทในเดือน พ.ค. 2559 เป็น 1,746 ล้านบาทในเดือน มิ.ย. 2559

]]>
1098422
“กีฬา” เกมเดือดดิจิตอลทีวี ซดกันสนั่นจอ https://positioningmag.com/1094056 Wed, 08 Jun 2016 23:45:56 +0000 http://positioningmag.com/?p=1094056 กีฬาท่วมจอ ! รายการถ่ายทอดสดกีฬาสารพัด ทั้งฟุตบอล มวย วอลเลย์บอล กำลังกลายเป็นคอนเทนต์ที่ดิจิตอลทีวีซื้อลิขสิทธิ์มาออกอากาศ หวังให้เป็น “ทางด่วน” ปั๊มเรตติ้ง สร้างฐานคนดูในเวลาอันรวดเร็ว 

รายการกีฬาที่ช่องต่างๆ นำมาถ่ายทอดสดในช่วงค่ำของวันอาทิตย์ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งฟุตบอลไทยคิงส์คัพ นัดชิงชนะเลิศ ไทย-จอร์แดน ช่องไทยรัฐทีวี, วอลเลย์บอล มองเทรอซ์ มาสเตอร์ นัดชิงไทย-จีน ช่องทรูฟอร์ยู, ฟุตบอล Nation’s Cup รอบชิงชนะเลิศไทย-มาเลเซีย ช่องทีเอ็นเอ็น, ซูเปอร์มวยไทย คุนหลุน ไฟท์ บัวขาว VS หวังเว่ยเฮา ทางช่องเวิร์คพอยท์

กำลังเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ที่สะท้อนว่า ทีวีช่องต่างๆ ได้หันมาให้น้ำหนักกับรายการกีฬา เพราะมองว่านอกจากละคร ข่าวแล้ว ”กีฬา” ถือเป็น “คอนเทนต์” ระดับแม่เหล็ก ช่วยสร้างเรตติ้งและขยายฐานผู้ชมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ผังรายการของทีวีช่องต่างๆ ในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 ช่อง 7 ทรูฟอร์ยู พีพีทีวี ไทยรัฐทีวี จึงบรรจุรายการกีฬาทั้งในและต่างประเทศเข้าไปแบบเต็มพิกัด

2_sport

ช่อง 3 นั้น ทุ่มซื้อลิขสิทธิ์กีฬา 2 รายการใหญ่ ฟุตบอลยูโร 2016 ถ่ายทอดสดแบบครบ 51 แมตช์ ออกอากาศทั้ง3 ช่องในมือ 33 HD, ช่อง 28 SD และช่อง 13 Family และถ่ายทอดสดการแข่งขันวอลเลย์บอล FIVB World Grand Prix Final Bangkok 2016  รอบชิงชนะเลิศ

ส่วนพีพีทีวีนั้น ใส่เกียร์เดินหน้า ทุ่มทุนซื้อลิขสิทธิ์รายการกีฬามาบรรจุรายการ “กีฬา” ไว้เต็มพิกัด ภายใต้สโลแกน “PPTV Premium Sport” หวังว่าจะฉุดเรตติ้งให้เพิ่มขึ้น

นอกจากซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ 3 ฤดูกาล ปี 2016-2019 จำนวน 26 แมตช์ จากบีอินสปอร์ตแล้ว พีพีทีวียังกวาดลิขสิทธิ์อีก 5 รายการฟุตบอล บุนเดสลีกา เยอรมัน, ลาลีกา สเปน, กัลโช่ เซเรียอา อิตาลี และยังยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก และยูฟ่า ยูโรป้า ลีก รวมกับลิขสิทธิ์เดิม คือ ฟุตบอลสโมสรโลก FIFA Club World Cup และ ICC ทำให้พีพีทีวีมีรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลทั้งหมดไว้ในมือถึง 4 ฟุตบอลลีก และ 4 ฟุตบอลถ้วยระดับโลก 8 รายการ รวมกว่า 200 แมตช์ต่อฤดูกาล

3_sport

ในขณะที่เวิร์คพอยท์เองก็ชิมลางด้วย “วอลเลย์บอล” มาช่วยให้เรตติ้งวิ่งแซงหน้าละครมาแล้ว

ส่วนค่ายทรูนั้น การมีทั้งเพย์ทีวี และฟรีทีวี ก็ทำให้ช่องทรูฟอร์ยูสามารถจัดหนักใช้กลยุทธ์ “ซินเนอยี” มาใช้ในการกว้านซื้อลิขสิทธิ์กีฬามาออกอากาศได้ต่อเนื่อง 

ทรูชี้ ค่าคอนเทนต์กีฬาพุ่ง 30%

พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าสายงานคอนเทนต์ และมีเดีย (มหาชน) และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด มองว่า นอกจากรายการ ละคร เกมโชว์ และรายการกีฬา เป็นเพียง 3 คอนเทนต์หลักของทีวี ที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้สม่ำเสมอ และนั่นคือสาเหตุที่ทรูมุ่งมั่นในการนำลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาทั้งในและต่างประเทศหลายประเภท วอลเลย์บอล แบดมินตัน และฟุตบอล มาออกอากาศต่อเนื่อง

4_sport

เขายกตัวอย่าง ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ที่ทรูคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมาออกอากาศก็สามารถดึงดูดผู้ชมในช่องทรูฟอร์ยูได้สม่ำเสมอ และสามารถ “การันตี” จำนวนคนดูได้ด้วย เพราะมีแฟนติดตามดูประจำ และการที่ทรูมีทั้งเพย์ทีวี และฟรีทีวี ถือเป็นข้อได้เปรียบ ที่ทำให้ทรูมีโอกาสในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬามาออกอากาศได้มากกว่าช่องคู่แข่ง

“ช่องคู่แข่งขัน อาจจะซื้อลิขสิทธิ์มาได้ แต่ก็เป็นลักษณะอีเวนต์ชั่วคราวเท่านั้น เพราะการถ่ายทอดสดรายการกีฬา มวย ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก หรือฟุตบอลอิงลิชพรีเมียร์ลีก หรือ EPL ต้องมีจำนวนช่องมากพอถึงจะถ่ายทอดสดได้ และนั่นคือข้อดีของการที่ทรูมีซินเนอยีระหว่างเพย์ทีวี และฟรีทีวี”

แต่ด้วยการที่ช่องต่างๆ หันมาให้ความสนใจกับรายการกีฬา มีการแข่งขันแย่งชิงซื้อลิขสิทธิ์มาถ่ายทอด ส่งผลให้ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาในปี 2015 แพงขึ้นถึง 30%

สำหรับการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษ จากทางบีอินสปอร์ต ยังอยู่ระหว่างเจรจา เนื่องจากบีอินสปอร์ตได้ไปกว้านซื้อลิขสิทธิ์รายการฟุตบอลจากหลายประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นสเปน อิตาลี ฝรั่งเศส ยกเว้นเยอรมนี จึงต้องขายลิขสิทธิ์ แบบ “เหมารวม” และกลายเป็นดีลใหญ่รายละเอียดเยอะมากขึ้น ทรูเองจึงต้องพิจารณาอย่างหนัก ต้องคำนึงถึงเงินลงทุนกับรายได้ และผลตอบแทนที่ได้รับ รวมทั้งจุดยืนของช่อง มาประกอบการตัดสินใจ

พีรธน ยังบอกด้วยว่า ทรูได้ซื้อรายการกีฬาของปี 2017 2018 และปี 2020 ไว้แล้ว ต้องวางแผนล่วงหน้ากันหลายปี เพราะการซื้อลิขสิทธิ์รายการกีฬาไม่ใช่เรื่องของ “งบประมาณ” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องอาศัยทักษะในการเลือกซื้อ มีการประเมินกระแสความนิยม และนำมาออกอากาศในจังหวะที่เหมาะสม

เอเจนซีชี้สร้างเรตติ้งได้ชั่วคราว

กอบกาญจน์ ประจงแสงศรี กรรมการผู้จัดการ Invesment & Knowledge บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ มองว่า การที่ทีวีหันมาถ่ายทอดสดรายการกีฬาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นรายการที่ต้องดูถ่ายทอดสด จึงเพิ่มเรตติ้งและขยายฐานคนดูให้กับช่องได้ในเวลาอันรวดเร็ว

แต่ก็ต้องเป็นรายการกีฬาที่ได้รับความนิยมในหมู่คนดูจำนวนมาก เช่น ฟุตบอลโลก หรือวอลเลย์บอล ซึ่งช่องเวิร์คพอยท์ได้ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลก ส่งผลให้เรตติ้งเพิ่มสูงขึ้นแซงหน้ารายการละครมาแล้ว จึงทำให้ทีวีช่องต่างๆ หันมานำรายการกีฬามาออกอากาศเพิ่มขึ้น

ถึงแม้จะช่วย “เรตติ้ง” คนดูได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นแค่ระยะสั้นๆ หากช่องนั้นไม่มีกีฬาดังที่อยู่ในกระแสมาออกอากาศได้ต่อเนื่องได้ และก็เป็นเรื่องยากที่มีกีฬาดังๆ ที่นิยมในระดับแมส มาออกอากาศได้ทุกซีซั่น ส่วนใหญ่คนดูจะเฉพาะกลุ่ม และความนิยมก็ไม่ถาวร

“แม้ว่ารายการกีฬาจะช่วยเพิ่มเรตติ้ง ช่วยให้เรตติ้งเพิ่มสูงขึ้นก็จริง แต่ไม่ได้ส่งผลในระยะยาว ซึ่งหากเทียบกับละคร ก็ยังเป็นตัวยืนที่ดึงดูดคนดูในระยะยาวได้มากกว่า ส่วนกีฬากระแสได้เป็นพักๆ หรือรายการวาไรตี้ ก็ต้องดูกันเป็น “ซีซั่น” แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นรายการประเภทไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับ “เนื้อหา” เป็นหลักอยู่ดี”

1_sport

ต้องสร้างคอนเทนต์ระยะยาว

ทางด้าน พเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อทีวี บริษัท มายด์แชร์ (ประเทศไทย) มองว่า การที่ทีวีหลายช่องหันมาให้น้ำหนักกับกีฬา เพราะเป็นจังหวะที่กีฬาหลายประเภทมีการแข่งขัน และกีฬาก็ถือเป็นคอนเทนต์ที่กำลังได้รับความนิยมจากคนดู

เธอยกตัวอย่างกรณีที่ช่อง 3 ยอมทุ่มงบซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2016 โดยนำออกอากาศทั้งใน 3 ช่อง คือ ช่อง 33 HD ช่อง 28 SD และช่อง 13 Family เพื่อต้องการให้คนรู้จักช่องมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม พเยาว์มองว่า การได้เรตติ้งของรายการกีฬานั้นไม่ถาวร เพิ่มได้เฉพาะในช่วงที่มีการถ่ายทอดสดเท่านั้น ดังนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับภาพรวมในการสร้าง “คอนเทนต์” ของช่อง จึงจะสร้างเรตติ้งและฐานคนดูในระยะยาวได้

  ส่วนการหาสปอนเซอร์โฆษณาในรายการกีฬาด้วยแพ็กเกจใหญ่ รายละ 30-50 ล้านบาท ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทางช่องจึงต้องจัดสรรเป็นแพ็กเล็กลง ในการนำเสนอขายในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองลูกค้าให้ได้มากขึ้น

]]>
1094056
รอดมั้ย? เวิร์คพอยท์–แกรมมี่ โยกรายการกลับช่องทีวีดิจิตอล เรตติ้งเพิ่ม แต่โฆษณาร่วง https://positioningmag.com/61268 Thu, 20 Aug 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=61268

จับตาเรตติ้งเดือนกรกฎาคม ช่องทีวีดิจิตอล เวิร์คพอยท์-ช่องวัน ขยับเบียด ช่อง3 และช่อง 7 เผยเรตติ้ง “ชิงร้อยชิงล้าน” โยกกลับเวิร์คพอยท์ เรตติ้งไปได้ ในขณะที่รายการอย่าง “ทูเดย์โชว์” ของช่อง 3 เรตติ้งหล่นฮวบ สะเทือนรายได้

ตัวเลขยอดผู้ชมช่องทีวีดิจิตอลเริ่มขยับขึ้นมาอย่างชัดเจน ในเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา กำลังสะท้อนถึง 2 ช่องแอนะล็อกทีวี ช่อง 7 และช่อง 3 ที่แม้ยังคงนำหน้าเป็น “จ่าฝูง” ครอง “เรตติ้ง” อยู่ก็ตาม แต่สถานการณ์เวลานี้ได้เปลี่ยนแปลงไป

จากรายงานสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียง และโทรทัศน์ (วส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ได้ประเมินภาพรวมของผู้ชมทีวีดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสัดส่วนระหว่างผู้ชมรายการช่องแอนะล็อก และทีวีดิจิตอล 21 ช่อง ขยับจากเดือนมิถุนายน 7%  69:31 (มิถุนายน 2558) เปลี่ยนมาเป็น 67:33 (20 กรกฎาคม 2558)

ส่วนเรตติ้งคนดู ช่องทีวีดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้น ช่องเวิร์คพอยท์ เวลานี้ รั้งอันดับ 3 รองจากช่องรายเดิมยักษ์ใหญ่อย่างช่อง 7 และช่อง 3  และอีกช่องหนึ่งที่น่าจับตามองก็คือช่องวัน ที่มีแนวโน้มเรตติ้งเพิ่มขึ้นตลอดทุกเดือน เป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ด้านผังรายการ ซึ่งทั้งช่อง เวิร์คพอยท์ และช่องวัน ต่างก็เคยเป็นผู้ผลิตรายการเพื่อป้อนให้กับช่องแอนะล็อกมาก่อน

ก่อนหน้านี้ได้มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา คือ การที่ ช่องวัน ได้ถอนรายการละครซิทคอม ที่เคยผลิตให้กับช่อง 9 ช่อง 5 มาออกอากาศช่องทีวีดิจิตอลที่ตัวเองเป็นเจ้าของ

 ขณะเดียวกัน เมื่อผู้ผลิตรายการเปลี่ยนจาก “คู่ค้า” กลายมาเป็น “คู่แข่ง” ช่องแอนะล็อกเดิม อย่างช่อง 3  ได้ตัดสินใจถอดรายการ “ชิงร้อยชิงล้าน ซันชายน์ เดย์” ของเวิร์คพอยท์ ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.30 – 16.45 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของช่อง 3 และรายการนี้ถือเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของเวิร์คพอยท์ ออกจากผังรายการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นต้นมา  เพราะช่อง 3 ประเมินแล้วว่า หากปล่อยให้เวิร์คพอยท์ออกอากาศต่อไป ก็เท่ากับปล่อยให้คู่แข่งอย่างเวิร์คพอยท์เข้ามาสร้างรายได้ แล้วนำเงินไปพัฒนารายการเพื่อมาแข่งกับช่อง 3 

การย้ายรายการชิงร้อยชิงล้าน มีข้อดี คือ ลดต้นทุนค่าเช่าเวลา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 50-60 % ของรายได้ แต่เวิร์คพอยท์ก็ยากที่จะคงราคาค่าโฆษณา 3 แสนบาทต่อนาทีเหมือนสมัยที่ออกอากาศช่อง 3 ซึ่งคิดนาทีละ 3 แสนบาทไว้ได้ และคาดกันว่าต้องลดค่าโฆษณาลงเหลือ 150,000 บาท เพื่อจูงใจโฆษณา เพราะคนดูช่องดิจิตอลก็ยังไม่มากเท่ากับช่องแอนะล็อก

ผลปรากฏว่า รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว ซึ่งเป็นชื่อรายการใหม่ หลังจากมาออกอากาศในช่วงเวิร์คพอยท์นั้น ทำเรตติ้งอยู่ที่ 2.639 (ระหว่างวันที่ 1-20 ก.ค.) ลดลงประมาณ 33.7% 

แต่เมื่อนำไปเทียบกับเรตติ้งช่องรายการที่ช่อง 3 นำมาออกอากาศแทน ชิงร้อยชิงล้าน มีเรตติ้ง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เรตติ้งลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 2.5 – 2.7 จากเดิมที่ชิงร้อยชิงล้านเคยทำเรตติ้งได้ 3.98

เอเยนซีซื้อสื่อโฆษณา ระบุว่า เมื่อเทียบระหว่าง ช่องรายการชิงร้อยชิงล้าน เมื่อย้ายมาออกอากาศที่ช่องเวิร์คพอยท์จะมีเรตติ้งลดลงก็ตาม แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญมากนัก แต่ก็ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณา จากเดิมที่ออกอากาศช่อง 3 จะขายได้นาทีละ 3-3.5 แสนบาท ลดลงไปกว่าครึ่ง ก็ยังถือว่าไม่ได้เจ็บตัวมากนัก เนื่องจากเรตติ้งโดยรวมของช่องเวิร์คพอยท์ และตัวรายการก็ยังได้รับความนิยมอยู่

ในขณะที่หากเทียบกับรายการ “ทูเดย์โชว์” ที่ช่อง 3 นำมาออกอากาศในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ 14.45-16.45 น. กลับมีเรตติ้งลดลงไปมาก เมื่อเทียบกับชิงร้อยชิงล้านที่เคยออกอากาศมาก่อนหน้านี้ หรือแม้แต่รายการ ตีท้ายครัว ที่ช่อง 3 นำมาออกอากาศในบ่ายวันอาทิตย์ มีช่วงเวลาเหลื่อมกันนิดหน่อย ก็ทำเรตติ้งน้อยกว่า ในช่วงที่ชิงร้อยชิงล้านเคยออกอากาศ ส่งผลให้รายได้จากค่าโฆษณาลดลงไปไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท 

 

ช่องวัน –เดอะสตาร์ นิยมแค่ในกรุงเทพฯ เมืองใหญ่ทั่วประเทศยังเนือย

แต่ก็ไม่เสมอไปสำหรับทุกช่องทีวีดิจิตอล เพราะดูอย่าง รายการ The Star ที่ย้ายจากช่อง 9 มาที่ช่อง One ตั้งแต่ The Star 11 โดยเริ่มออกอากาศในเดือนมกราคม–เมษายน 58  กลับมีเรตติ้งลดลงต่อเนื่อง

รายการ The Star 10 ที่เคยออกในช่อง 9 ในปี 57 มีเรตติ้งสูงกว่าปีล่าสุดที่ออกอากาศทางช่องวัน เนื่องจากช่องรายการทีวีดิจิตอลยังไม่ครอบคลุมผู้ชมกลุ่มเดิม อย่างในวันแข่งขันรอบชิงแชมป์ซึ่งเป็นวันที่มีรายการมีค่าความนิยมสูงที่สุดนั้น ในการแข่งขัน The Star 11 เรตติ้งลดลง  33.33 % และเรตติ้งภาพรวมของรายการโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 41.17

สำหรับรายการประเภทละคร นั้นถือเป็นไฮไลต์สำคัญของช่องทีวีดิจิตอลในปีนี้ ซึ่งช่อง One ได้หลังจากยกเลิกผลิตละครและซิทคอมต่างๆ ให้กับช่อง 5 และช่อง 9 และหันมาผลิตละครเพื่อออกอากาศในช่อง One เอง โดยใช้กลยุทธ์โปรโมตช่องด้วยละคร 18+ แนวชิงรักหักสวาท เน้นจูบจริง และตอบโจทย์ผู้ชมกลุ่มกว้างด้วยละคร prime time 2 เรื่องต่อสัปดาห์ รวมทั้งรายการหลัก คือ ละคร ซิทคอม ข่าว และรายการวาไรตี้

ผลปรากฏว่า ฐานคนดูและเรตติ้งของช่อง One  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกเดือน โดยเฉพาะในกลุ่มคนเมืองและหัวเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นฐานผู้ชมหลัก ซึ่งช่อง One ได้ทุ่มประชาสัมพันธ์ช่องด้วยกิจกรรมโรดโชว์ เพื่อขยายฐานผู้ชมในวงกว้าง ในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น ทำให้เรตติ้งของช่องวันเวลานี้ติด 1 ใน 5 ของกลุ่มดิจิตอลทีวีช่องใหม่

โดยจากที่ผ่านมาพบว่า รายการประเภทละครของช่อง One นั้น ได้รับการตอบรับจากแฟนละครของ Exact หรือ Scenario ที่เคยรับชมในช่องเดิมนั้นตามติดมารับชมทางช่อง One  เช่น ละครเรื่องสงครามนางงาม เงาใจ บัลลังก์เมฆ ซึ่งเนื้อหาละครของช่องวันนั้นมีความหลากหลาย จึงส่งผลต่อค่าความนิยมที่แตกต่างกัน เช่น ละครเรื่อง ร้อยเล่ห์เสน่ห์ร้าย ค่อนข้างเป็นที่นิยมในต่างจังหวัดนอกเมือง ต่างจากละครเรื่องบัลลังก์เมฆ ที่นิยมในเมือง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล

อย่างไรก็ตาม เรตติ้งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาของช่อง One กลับไม่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างที่คาด โดยเฉพาะละคร บัลลังก์เมฆ ที่โด่งดังเเป็นกระแสในโลกออนไลน์ จะได้รับความนิยมในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นหลัก แต่ต่างจังหวัดไม่ได้รับความนิยมมากเท่า จึงส่งผลให้เรตติ้งทั่วประเทศของช่องลดลงไปด้วย 

สะท้อนชัดเจนถึงดีกรีการแข่งขันจะรุนแรงขึ้นอีกแน่นอน เพราะเมื่อช่องทีวีดิจิตอล ที่เมื่อเรตติ้งเพิ่มขึ้น มีเม็ดเงินโฆษณาเข้ามามีเงินลงทุนผลิตรายการ

ในขณะที่ช่องแอนะล็อกเดิม ก็ต้องทำการปรับรูปแบบช่องรายการให้ดียิ่งขึ้น ถอนรายการออกไป ทำให้ต้องเร่งผลิตรายการใหม่หรือซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศเพื่อทดแทนรายการที่มีอยู่เดิม รวมไปถึงการปรับลดอัตราค่าเช่าช่วงเวลาลง และการปรับลดอัตราค่าโฆษณา เพื่อรักษาลูกค้าที่มาลงโฆษณา 

ช่อง 9 HD ที่ปรับผังช่องใหม่ โดยมีรายการใหม่ชื่อ งานวัดเฟสติวัล ที่มาแทนรายการชิงช้าสวรรค์ และรายการคุณพระช่วย โดยทุ่มงบกว่า 3000 ล้าน เพื่อพัฒนารายการใหม่ๆ สู้ศึกครั้งนี้ โดยตั้งเป้าปรับราคาโฆษณาลงร้อยละ 5–10 เพื่อสู้กับช่องเวิร์คพอยท์ ที่แซงหน้าไปแล้ว

ผลจากการแข่งขัน นอกจากต้องแข่งกันพัฒนาเนื้อหาแล้ว ยังต้องปรับตัวในเรื่องของอัตราค่าโฆษณา ซึ่งมีผลโดยตรงต่อรายได้และความอยู่รอดของช่อง 

อย่างที่รู้กันว่า ช่องดิจิตอลที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ยังเก็บอัตราค่าโฆษณาได้ไม่สูงมากเท่ากับอัตราค่าโฆษณาของช่องรายการเดิม ซึ่งการย้ายรายการที่เคยออกช่องเดิมมาอยู่ช่องใหม่นั้น ย่อมเกิดความเสี่ยงต่อรายได้และจำนวนผู้ชมที่ลดลง อีกทั้งเมื่อเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ช่องรายการเดิมก็ปรับตัวด้วยการลดอัตราค่าโฆษณาลง ซึ่งส่งผลทำให้ช่องรายการใหม่ไม่สามารถปรับตัวเลขอัตราค่าโฆษณาได้สูงขึ้นมากนัก

พเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อทีวี บริษัท มายด์แชร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า จำนวนคนดู และเรตติ้งช่องทีวีดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบช่องแอนะล็อกเดิมที่เรตติ้งลดลงไปไม่น้อยเลย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ นีลเส็น ได้มีการเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการวัดเรตติ้ง จาก 1,800 ราย เป็น 2,200 ราย โดยไปเพิ่มกลุ่มคนดูช่องดิจิตอลและทีวีดาวเทียมมากขึ้น และได้ปรับลดกลุ่มตัวอย่างที่ดูช่องแอนะล็อกลงจาก 500 เหลือ 100 ราย  การเปลี่ยนแปลงนี้ จะยิ่งส่งผลกระทบต่อเรตติ้งของช่องแอนะล็อกลดลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่ช่องดิจิตอลจะได้รับการวัดเรตติ้งเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันเม็ดเงินโฆษณาเวลานี้กระจายไปยังช่องทีวีดิจิตอลมากขึ้น เนื่องจากความนิยมของคนดูเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะช่องที่มีเรตติ้งติดอันดับท็อป 10 จะมีโฆษณาไปลงค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อช่องแอนะล็อกเดิม เพราะถูกแชร์ส่วนแบ่งตลาดไปเรื่อยๆ 

แต่ในแง่ของ “อัตราค่าโฆษณา” ของช่องทีวีดิจิตอล ก็ยังไม่สามารถตั้งราคาได้สูงเท่ากับช่องแอนะล็อกเดิม เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาเท่าเดิม แต่ตัวเลือกเยอะขึ้น จึงทำให้ช่องดิจิตอลต้องให้ส่วนลดและแถมเวลา อยู่ในอัตรา 50-70% จาก Rate Card (ราคาตั้ง ก่อนหักส่วนลด) จึงทำให้มูลค่าโฆษณาที่แท้จริงน้อยกว่าตัวเลขดังกล่าวอยู่ค่อนข้างมาก

เมื่อมาดูงบโฆษณาในเดือนกรกฎาคม 2558 ที่นีลเส็นได้ประกาศออกมา พบว่า เม็ดเงินโฆษณาใช้ไปกับสื่อทีวีแอนะล็อก 5,026 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2558 ใช้ไป 4,809 ล้านบาท  และใช้ไปกับสื่อทีวีดิจิตอล 2,978 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมิถุนายน 2558 ใช้ไป 3,332 ล้านบาท จะพบว่าลดลง 354 ล้านบาท 

]]>
61268
เขย่าผัง ถอนรายการคืนช่อง ชิงเรตติ้งทีวีดิจิตอล https://positioningmag.com/60670 Fri, 12 Jun 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=60670

ปฏิบัติการชิงไหวชิงพริบระหว่างช่องแอนะล็อกเดิม และช่องทีวีดิจิตอลเกิดใหม่ กับการปรับผังรายการเพื่อชิงเรตติ้ง และฐานคนดู ในสงครามทีวีดิจิตอล

ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายนัก กับการที่ช่อง 3 ถอดรายการ “ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day” ออกจากผังรายการ วันอาทิตย์ช่วงบ่าย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 นี้เป็นต้นไป

ก่อนหน้านี้ ช่อง 3 ได้ไล่ถอดรายการต่างๆ ที่ผลิตโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น  เฮง เฮง เฮง และผู้กองเจ้าเสน่ห์ และวาไรตี้พรมแดงมาแล้ว
แม้ว่ารายการเหล่านี้จะเรียกได้ว่าเป็นรายการระดับแม่เหล็กครองเรตติ้งสูงเป็นอันดับ 2 ของรายการวาไรตี้ อยู่คู่กับช่อง 3 มานาน แต่เมื่อผู้ผลิตเหล่านี้ได้กลายสภาพมาเป็น “เจ้าของสถานีทีวีดิจิตอล” จากคู่ค้ามาเป็นคู่แข่ง เงื่อนไขของธุรกิจย่อมเปลี่ยนแปลง

ช่อง 3 เองก็ประเมินแล้วว่า ในเมื่อผู้ผลิตเหล่านี้ก็มีช่องรายการของตัวเอง ก็ควรนำรายการไปออกในช่องทีวีดิจิตอล แทนที่จะปล่อยให้คู่แข่งมาหารายได้แล้วไปนำเงินไปพัฒนารายการมาแข่งกับช่อง 3

อย่างที่ สุรินทร์  กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด บอกถึงสาเหตุว่า ช่อง 3 ไม่ได้มีปัญหากับเวิร์คพอยท์ แต่เมื่อเวิร์คพอยท์มีช่องทีวีดิจิตอลแล้ว ก็ควรนำรายการไปออกในช่องของตัวเอง

การเขย่าผังรายการของช่อง 3 ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์ แต่ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าช่อง 3 จะถอดรายการเหล่านี้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิมที่วางไว้ 

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บอกว่า เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า เวิร์คพอยท์จะต้องนำรายการ “ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day” ออกจากช่อง 3  แต่กำหนดการคือช่วงต้นปี 2559 แต่ปรากฏว่า รายการกลับถูกถอดออกเร็วกว่ากำหนดถึงครึ่งปี 

ในมุมของช่อง 3  เอง คงประเมินแล้วว่า  ถึงแม้รายการ “ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day” จะมีเรตติ้งสูง 4.25 เป็นอันดับ 2 ของรายการวาไรตี้ทั้งหมด แต่ไหนๆ ก็ต้องแยกทางกันแล้วก็ควรรีบทำทันที ไม่ควรปล่อยให้เวลายาวนานออกไป ยิ่งนานวันคู่แข่งก็ยิ่งแข็งแรง สะสมฐานคนดูเพิ่มมากขึ้น เรตติ้งมากขึ้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อช่อง 3

นอกจากนี้ ช่อง 3 จะได้มีเวลาเตรียมตัวจัดรายการที่จะมาแทนรายการชิงร้อยชิงล้านของเวิร์คพอยท์ ซึ่งเวลานี้ได้ผู้ผลิตรายการแล้ว คือ รายการ 3 วาไรตี้ของ ต๋อย-ไตรภพ จะออนแอร์ในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ เวลา 14.45-16.45 น.

รายการที่จะมาแทนรายการของทางซีเนริโอ คือ กอสซิปเกิร์ล แทน สมรภูมิพรมแดง ซึ่งมองเป็นเรื่องปกติที่กลุ่มช่องทีวีดิจิตอลจะนำรายการไปลงในช่องตัวเอง โดยช่อง 3 ได้มีการเตรียมการวางแผนผลิตและหาคอนเทนต์มาแทนอยู่แล้ว

ส่วนเวิร์คพอยท์เองก็มีโจทย์ใหญ่รออยู่ แม้ว่าเรตติ้งของช่องจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขึ้นมาเป็นเบอร์ 3 แล้วก็ตาม แต่ถึงอย่างไรฐานคนดูยังห่างจากช่อง 7 และช่อง 3 การที่เอเยนซีจะยอมซื้อโฆษณาในอัตราเท่ากับสมัยออนแอร์อยู่ช่อง 3 นาทีละ 300,000 บาท ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย

ถึงแม้จะมีการแจ้งกับทางนักวิเคราะห์หลักทรัพย์แล้วว่า เมื่อย้ายรายการชิงร้อยชิงล้านไปอยู่ที่ช่องเวิร์คพอยท์ จะมีการลดค่าโฆษณาจะลดลง 50% เหลือ 150,000 บาทต่อนาทีก็ตาม แต่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเวิร์คพอยท์ได้ออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้ลดค่าโฆษณาลง ยังคงยืนราคา 300,000 บาทต่อนาที แต่สามารถต่อรอง ลด แลก แจก แถมเวลาโฆษณาให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ เวิร์คพอยท์ยังได้ชี้แจงด้วยว่า ข้อดีของการถอดรายการออกจากช่อง 3 ครั้งนี้ จะทำให้เวิร์คพอยท์ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าเวลาให้กับช่อง 3 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 50-60% ของรายได้  

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเวิร์คพอยท์ได้ทยอยถอดรายการที่เคยออกอากาศให้กับช่องแอนะล็อกเดิมมาตลอด เช่น ชิงช้าสวรรค์ ตลก 6 ฉาก คนอวดผี  ไอเดนทิตี้ ไทยแลนด์ My Man Can แฟนฉันเก่ง เป็นต้น ยกเว้น รายการชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day เท่านั้น ที่ยังคงออกอากาศอยู่กับช่อง 3  เพราะถือเป็นรายการอู่ข้าวอู่น้ำ

ดูจากไตรมาสแรกของปีนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธของเวิร์คพอยท์ชี้แจงถึงรายได้จากธุรกิจโทรทัศน์รวม 385 ล้านบาท เป็นรายได้จากช่องเวิร์คพอยท์ทีวี 295 ล้านบาท รายได้จากรายการชิงร้อยชิงล้าน 70 ล้านบาท ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว

ส่วนรายการอื่นๆ ที่ยังคงอยู่ในช่อง 3  อย่าง ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ สุรินทร์ บอกว่า ยังไม่มีนโยบายถอดรายการนี้ออก เนื่องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพียงแต่ให้เวิร์คพอยท์ และโซนี่มิวสิค เป็นผู้ผลิตรายการและจัดการแข่งขันเท่านั้น  

รวมทั้งรายการ “เดอะวอยซ์ ไทยแลนด์” ยังคงออนแอร์ที่ช่อง 3 เช่นเดิม เพราะเป็นลิขสิทธิ์ ของ บริษัท AP&J PRODUCTION ผลิตรายการโดย ทรู มิวสิค ส่วนบริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด ในเครือเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ มาร่วมผลิตในปีแรก

การเขย่าผังรายการบนหน้าจอ “ทีวีแอนะล็อกเดิม” ถือเป็นส่วนหนึ่งของ “สงครามทีวีดิจิตอล” ที่ต้องมีการการชิงไหวชิงพริบระหว่างช่องแอนะล็อกเดิม และช่องทีวีดิจิตอล เพราะช่องดิจิตอลเกิดใหม่ อย่าง เวิร์คพอยท์ และช่องวัน เมื่อสะสมฐานคนดู และเรตติ้งมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทยอยถอดรายการออกจากช่อง 5 และช่อง 9 

ส่งผลให้ช่อง 5 และช่อง 9  ต้องตกที่นั่งลำบาก ไหนจะต้องเผชิญกับคู่แข่งมากหน้าหลายตาแล้ว หลังจากถูกทอดรายการเรตติ้งก็ยิ่งร่วงหล่นจนถูกช่องดิจิตอลหน้าใหม่วิ่งแซงหน้าไปแล้ว จึงต้องวิ่งหาผู้ผลิตรายใหม่มาแทน พร้อมกับลดปรับลดค่าเวลาลง เพื่อหวังจะกอบกู้สถานการณ์

การแข่งขันของทีวีดิจิตอลนับจากนี้ ทั้งช่องแอนะล็อกเดิม และช่องดิจิตอลหน้าใหม่ เมื่อถอนรายการออกไปแล้ว ต้องสู้กันด้วย “คอนเทนต์” กันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน ชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร

 

ครึ่งปี 58 แข่งเดือด อัดคอนเทนต์เต็มสูบ

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี และอุปนายกสมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเมินว่า สถานการณ์ในครึ่งปีหลังของทีวีดิจิตอลน่าจะดี เพราะหลังจากที่ผู้ประกอบการได้จ่ายค่าประมูลใบอนุญาตงวดที่ 2 ไปอีก 30% ยังเหลือการชำระค่าประมูลใบอนุญาตอีก 20% แบ่งเป็นปีละ 10%  ภาระที่ผู้ประกอบการต้องแบกไว้จะเบาลงไป ทำให้กล้าการลงทุนมากขึ้น

ในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ จะมีการลงทุนคอนเทนต์แบบจัดเต็ม โดยคาดว่า 5 ช่องทีวีดิจิตอลรายใหญ่ เช่น เวิร์คพอยท์, ช่อง 8, ช่อง 3, ช่องกลุ่มแกรมมี่ และไทยรัฐทีวี จะมีการใช้งบลงทุนอีกราว 300-500 ล้านบาท โดยสังเกตได้จากการที่ช่อง 3 มีการจัดอีเวนต์ใหญ่เปิดตัวละคร ทุกคนกล้าลงทุนกันมากขึ้น

สำหรับช่องพีพีทีวีเอง ตั้งเป้างบลงทุนในครึ่งปีหลังอีกราว 500 ล้านบาท ซึ่งถ้ารวมงบลงทุนทั้งปีจะมากกว่า 1,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนคอนเทนต์เป็นวาไรตี้ 70% และ ข่าว 30% แต่จะมีการเพิ่มคอนเทนต์ “ละครไทย” ให้มีมากขึ้น คาดว่าจะมีลงจออีก 10 เรื่อง และมีผู้จัดละครอยู่ 7-8 รายแล้ว หลังจากที่ผ่านมาพีพีทีวีเน้นคอนเทนต์ของ “ซีรีส์ต่างประเทศ” ค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันมีเรื่อง “ปริศนา” เป็นละครไทยเพียงแค่เรื่องเดียวของช่อง แต่มีผลตอบรับค่อนข้างดี เพราะเข้าถึงผู้ชมได้ง่าย

ส่วนช่อง 3 มองว่า นี่คือจังหวะและก้าวย่างสำคัญ  สุรินทร์ มองว่า ธุรกิจทีวีไม่เหมือนธุรกิจประเภทอื่น ธุรกิจอื่นเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีจะส่งผลให้ยอดขายตกลงไปด้วย แต่ธุรกิจทีวีสามารถโตได้ และยังทำรายได้ดี หากมีคอนเทนต์ที่ดีและเข้มแข็ง ซึ่งบางครั้งสามารถขายโฆษณาได้ดีกว่าในช่วงเศรษฐกิจดีด้วยซ้ำ

“ในช่วงที่เศษฐกิจไม่ดีสำหรับผู้ซื้อโฆษณาอาจจะมีการลดงบโฆษณาลง แต่จะไปทุ่มให้กับช่องที่มีคอนเทนต์ที่ดีที่สุด ซึ่งถ้าเราเป็นช่องที่มีคอนเทนต์ที่ดีที่สุดได้ก็จะเติบโตไปได้”

อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 เอง ยอมรับว่าการที่มีช่องทีวีดิจิตอล 3 ช่อง และ 2 ช่องเพิ่งเริ่มดำเนินการนั้น ปีนี้ยังคงอยู่ในภาวะขาดทุน ซึ่งตามแผนเดิมที่วางไว้จะขาดทุน 3 ปีแรก อาจจะต้องเลื่อนออกไปเป็น 4-5 ปีแทน

]]>
60670
ศึกคอนเทนต์ กีฬาฟีเวอร์ สนั่นจอทีวี https://positioningmag.com/60100 Thu, 16 Apr 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=60100

หลังผ่านพ้นจากภาวะฝุ่นตลบมาแล้ว ได้เวลาที่ดิจิตอลทีวีต้องเร่งสปีด อัดฉีดรายการกันแบบเต็มพิกัด คราวนี้มาถึงคิวถ่ายทอดสด “กีฬา” ที่ช่องทีวีต่างๆ ใช้เป็น “ทางด่วน” กระชากเรตติ้งผู้ชมพุ่งขึ้นทันที 

ยิ่งในยุคดิจิตอลทีวีที่กำลังแข่งขันกันอย่างหนัก รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาจะยิ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้น 

ทุกช่องมองว่า การถ่ายทอดสดกีฬาช่วยสร้างความนิยมจากผู้ชมได้จำนวนมาก และเห็นผลชัดเจนในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ในปีนี้จึงเห็นได้ชัดว่าหลายช่องได้ปรับผังรายการ ชูถ่ายทอดสดกีฬามากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพื่อซื้อลิขสิทธิ์กีฬา เพื่อเอาใจคอกีฬาของช่องต่างๆ เข้มขึ้น และหลากหลายมากขึ้น ทั้ง ฟุตบอล มวย วอลลเลย์บอล  

จากเดิมที่การถ่ายทอดสดกีฬามีผู้สนใจเฉพาะกลุ่ม มักอยู่ในช่องเคเบิลดาวเทียม ที่ต้องมีการจ่ายค่าสมาชิก หรือถ่ายทอดในช่องฟรีทีวีเดิมก็มีเฉพาะกรณีเทศกาลหรือการแข่งขันตามฤดูกาลต่างๆ เท่านั้น เวลานี้กลายเป็นรายการที่หาดูได้จากฟรีทีวีแทบทุกช่อง แถมมีเลือกหลากหลาย 

ดูอย่างการปรับผังรายการล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาของ พีพีทีวี ได้เพิ่มการถ่ายทอดสดกีฬาฟุตบอลลีกดังๆ รวมถึงรายการที่เกี่ยวกับกีฬาเช่นการวิเคราะห์รูปแบบการเล่นของทีมฟุตบอล   ควบคู่ไปกับละครไทย และกิจกรรมโรดโชว์ทั่วประเทศ
 
รวมทั้งช่อง 8 ของอาร์เอส ที่เอาใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นระดับฐานราก ปรับผังรายการนำเอา “แม็กซ์มวยไทย” มาเป็นจุดขาย

ฟุตบอลไทย แม่เหล็กอันดับ 1

ส่วนกีฬายอดนิยมของคนไทย ยังคงต้องเป็นการถ่ายทอด “ฟุตบอล” นอกจากรายการถ่ายทอดฟุตบอลดังระดับต่างประเทศ อย่าง พรีเมียร์ลีกของอังกฤษ และฟุตบอลยูโรที่คนไทยรู้จักกันดี

เวลานี้ “ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก” ได้รับความนิยมจากผู้ชมเพิ่มขึ้นตลอด มีแฟนคลับคอยดูตามเชียร์ตลอด จนทำให้ค่ายทรูต้องคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมาได้ต่อเนื่อง และถูกวางให้เป็นคอนเทนต์หลักทางด้านกีฬา ที่กระชากเรตติ้งคนดูเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้นำออกอากาศทั้งในช่องเพย์ทีวีของทรูวิชั่นส์ และออกอากาศใน “ทรูโฟร์ยู” ดิจิตอลทีวีของค่ายทรู

แถมยังมีกรณีของฟุตบอลของ “ทีมชาติไทย” ได้รับความนิยมต่อเนื่อง ตั้งแต่การแข่งขันบอล ซูซูกิคัพ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งในปรากฏการณ์ที่ช่วยสร้างกระแสให้คนหันมาสนใจกีฬาฟุตบอล ส่วนหนึ่งมาจากนักเตะหน้าตาดี ฟอร์มการเล่นดี อย่าง ชัปปุยส์ และ เมสซี่เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์  อีกทั้งมีซิโก้เป็นผู้จัดการทีมชาติไทย เพิ่มรสชาติการดูฟุตบอล แถมยังได้คนดูที่เป็นสาวๆ เพิ่มอีกด้วย
ฟุตบอลต่างประเทศ เพิ่มลีกใหม่ๆ

ฟุตบอลจากต่างประเทศนำมาถ่ายทอดกันทุกลีก ตั้งแต่ พรีเมียร์ลีก ประเทศอังกฤษ ลาลีก้า ประเทศสเปน บุนเดสลีก้า ประเทศเยอรมนี เอิงลีก ประเทศฝรั่งเศส ฟุตบอลเอฟ เอ คัพ ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ยูฟ่า ยูโรปาลีก แม้แต่ลีกที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก เช่น แคปปิตอลวันคัพ ก็ยังมีการนำถ่ายทอดสดด้วยเช่นกัน รวมถึงฟุตบอลสโมสรระหว่างประเทศ เช่น สโมสรเอเชีย เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (AFC Champions League: ACL) ก็มีถ่ายทอดแล้ว

ความนิยมของคนดู นอกจากขึ้นอยู่กับลีกและทีมที่ลงแข่งแล้ว วันเวลาในการออกอากาศก็มีผลต่อความนิยมด้วย เช่น หากเป็นวันธรรมดา ช่วงกลางวัน ความนิยมค่อนข้างน้อย แต่หากเป็นช่วงเสาร์ และอาทิตย์ คนดูเพิ่มสูงขึ้น ทุกช่องมักจะนำรายการกีฬามาออกอากาศในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เสาร์และอาทิตย์

ด้วยความนิยมรายการฟุตบอลนี้เอง กลายเป็นแม่เหล็กช่วย “กระชากเรตติ้ง” คนดูให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติอย่างเห็นได้ชัด
 
สำหรับ ช่อง 3 และช่อง 7 เนื่องจากฐานคนดูสูงอยู่แล้ว รายการฟุตบอลจึงไม่ได้สูงเรตติ้งเฉลี่ยของช่องมากนัก แต่สำหรับช่อง 9 ที่ค่าเฉลี่ยความนิยมของช่อง 0.2 แต่เมื่อมีการถ่ายทอดสดฟุตบอล พบว่า ค่าความนิยมอยู่ที่ 1.56  เป็นทางเดียวกับบรรดาช่องดิจิตอลทีวี  ที่เรตติ้งถ่ายทอดสดฟุตบอลจะสูงโดดขึ้นกว่าความนิยมเฉลี่ยของช่อง
อย่าง ช่องไทยรัฐทีวี ที่เรตติ้งช่วงถ่ายทอดฟุตบอลคิงส์คัพครั้งที่ 43 สูงที่สุดถึง 3.43 คิดเป็น 26 เท่าของค่าความนิยมเฉลี่ยทั้งเดือนของช่อง

เช่นเดียวกับการถ่ายทอดสดฟุตบอลโตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก ของช่องทรูโฟร์ยู ที่มีค่าความนิยมสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 1.16 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่องในเดือนเดียวกันถึง 15 เท่า

ศึกมวยสะท้านจอ

ไม่ใช่แค่ฟุตบอลเท่านั้น มวยไทยและมวยสากลเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่คนไทยให้ความสนใจ ดังนั้น เมื่อมีช่องรายการเพิ่มมากขึ้น การถ่ายทอดสดกีฬามวยไทยและมวยสากลที่มีการแข่งขันอยู่แล้ว ถูกนำมาออกอากาศ เพิ่มค่าความนิยมให้กับช่องได้อีกทางหนึ่ง

ช่อง 8 มีการถ่ายทอดสดแม็กซ์มวยไทย ซึ่งเป็นเกมการแข่งขันมวยไทยฟอร์มยักษ์ที่มีทั้งนักมวยไทยและฝรั่งขึ้นชกบนเวทีกลางเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่าความนิยมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 1.54 สูงที่สุดเมื่อเทียบจากภาพรวมตลอดทั้งวันของช่อง และยังสูงกว่าละคร ที่ออกอากาศในวันเดียวกันมีเรตติ้งอยู่ที่ 0.66

ช่อง ไทยทีวี มีรายการการถ่ายทอดสดทั้งมวยไทยและมวยสากล เช่น ศึก AEC สะท้านโลก ศึกเออีซี ชอปปิ้งสะท้านโลก และ ศึกมวยไทยทีวีก่อเกียรติ ส่วนช่อง PPTV มีถ่ายทอดสด ศึกราชดำเนินซูเปอร์ไฟท์

ผลปรากฏว่า การถ่ายทอดสดมวยในทั้ง 3 มีค่าความนิยมอยู่ที่ประมาณ 0.1 – 0.25

ช่อง Mono29 นำรายการแข่งขันชกมวยระดับโลก ถ่ายทอดสดศึกป้องกันแชมป์โลก ไอ.บี.เอฟ. เป็นการออกอากาศในวันเสาร์ เวลา 20.30 – 22.30 น. ค่าความนิยมค่อนข้างสูงอยู่ที่ 2.55 เมื่อเทียบกับความนิยมของช่องมากกว่าถึง 11 เท่า

วอลเลย์บอล ฟีเวอร์

เป็นอีกหนึ่งในคอนเทนต์กีฬาที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กีฬาชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะ “ทีมวอลเลย์บอลหญิง” ที่มีกระแสโด่งดังอย่างต่อเนื่องจากแฟนคลับ

ช่องทรูโฟร์ยู เป็นเสือปืนไว เกาะกระแสความดังของวอลเลย์บอลหญิง วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกมาถ่ายทอดสด ผลปรากฏว่าช่วงแข่งขันของคู่ที่ได้รับความนิยมจากคนดู ส่งผลให้เรตติ้งคนดูช่อง ทรูโฟร์ยู มีถึง0.42 เมื่อเทียบกับเรตติ้งเฉลี่ยต่อเดือนของช่องที่อยู่ที่ประมาณ 0.08 5 สูงกว่า 5 เท่า

ช่อง 3 เน้นกีฬาหลากหลายในช่อง SD

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง3  บอกถึงการให้น้ำหนักในการนำถ่ายทอดสดกีฬา ระหว่าง ช่อง 3 HD และช่อง 3 SD แตกต่างกันมาก เนื่องจากกลุ่มคนดูแตกต่างกัน  โดยช่อง3 HD กลุ่มคนดูส่วนใหญ่จะเป็นคนกรุงเทพฯ หรือหัวเมือง กีฬาที่นำมาถ่ายนั้นจะเน้นรายการกีฬาที่ได้รับความนิยมจากผู้ชม เช่นฟุตบอลพรีเมียร์ลีก หรือมวยไทยไฟต์

ในขณะที่ช่อง3 SD กลุ่มเป้าหมายกว้างมากกว่า จึงมุ่งเน้นถ่ายทอดกีฬาที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ชมที่มีความชอบที่หลากหลาย และถือเป็น “ไฮไลต์” สำคัญใช้ดึงดูดผู้ชม โดยจำนวนรายการถ่ายทอดกีฬาในช่อง 3 SD จะมีมากกว่าช่อง 3 HD อย่างเช่น การถ่ายทอดสดรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือฟุตบอลยูโร 2016 ที่แมตช์การแข่งขันเยอะมาก จะถ่ายทอดในช่อง 3 SD

อย่างล่าสุด ช่อง 3 SD เพิ่งคว้าลิขสิทธิ์การแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตรายการ The 2015 motoGP World Championship การแข่งขันมอเตอร์ไซค์ Premium Class เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ชมที่รักและชื่นชอบในการชมกีฬาที่เกี่ยวกับความเร็ว

“ปัจจุบันการแข่งขันแย่งชิงรายการการถ่ายทอดกีฬาถือมีความดุเดือด เพราะแต่ละช่องมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และต้องการ Content ที่มีผู้ชมสนใจเพื่อมาดึงดูเรตติ้ง ส่งผลให้ค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดกีฬามีมูลค่าสูงตามไปด้วย  เพราะไม่ใช่แค่การแข่งขันเฉพาะลิขสิทธิ์ในเมืองไทย แต่ต้องแข่งขันกันระหว่างคู่ค้าในทวีปเดียวกัน ยิ่งเป็นกีฬาที่คนสนใจมากค่าลิขสิทธิ์ก็จะแพงมาก และค่าโฆษณาก็จะแพงขึ้น เช่น ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ที่มีอัตราค่าโฆษณาเทียบเท่ากับละคร อยู่ที่ประมาณ 480,000 บาทต่อนาที”

ถึงแม้กีฬาจะได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ทุกช่องที่ถ่ายทอดกีฬาจะได้รับเรตติ้งสูงเสมอไป เพราะผู้ชมส่วนใหญยังให้ความสนใจกับละครมากกว่ากีฬาอยู่มาก

และเมื่อจัดอันดับความสนใจของผู้ชมของช่อง3 จะพบว่าอันดับที่ผู้ชมสนใจอันดับ1คือละคร 2ข่าว 3วาไรตี้ 4ซีรีส์และกีฬา โดยกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็นฟุตบอล ตามด้วยมวย

 

เอเยนซีชี้ กีฬากระชากเรตติ้งได้ชั่วคราว

สำหรับมุมองของ พเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อทีวี บริษัท มายด์แชร์ (ประเทศไทย) มองว่า ทีวีทุกช่องในขณะนี้ ต้องแข่งขันกันอย่างหนัก เพื่อนำคอนเทนต์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นละคร ข่าว วาไรตี้ รวมทั้งรายการถ่ายทอดกีฬา เพื่อมาดึงดูดฐานคนดู และเม็ดเงินโฆษณาให้ได้มากที่สุด 

ทำให้เวลานี้จึงมีรายการถ่ายทอดสดกีฬาประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล มวย กอล์ฟ วอลเลย์บอล มอเตอร์สปอร์ต ได้รับความสนใจจากทีวีช่องต่างๆ ไปซื้อลิขสิทธิ์นำมาออกอากาศ

อีกสาเหตุหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการนำรายการถ่ายทอดสดกีฬานั้นไม่มีความยุ่งยาก หรือต้องมีขั้นตอนในการผลิตเหมือนกับรายการอย่างละคร ข่าว หรือ วาไรตี้  จึงง่ายกับช่องที่จะนำมาออกอากาศได้ทันที ยิ่งเวลานี้ที่การแข่งขันของช่องต่างๆ สูงมาก ผู้ผลิตรายการในประเทศเองก็งานล้นมือ ทำให้ช่องต่างๆ จึงต้องหันไปเพิ่มรายการกีฬาเข้ามา เพราะทำได้เร็ว และต้องการมีรายการที่ตอบสนองคนดูให้ได้มากที่สุด

แม้ว่ารายการกีฬาจะเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อเรตติ้งผู้ชมรายการ แต่พเยาว์มองว่า เป็นแค่การเพิ่มเรตติ้งคนดูได้ชั่วคราว ยังขาดความ “ต่อเนื่อง” ไม่หมือนกับละคร ข่าว หรือวาไรตี้ ดึงคนดูได้ตลอด และมีความต่อเนื่องมากกว่า

นอกจากนี้รายการกีฬาไม่สามารถเข้าถึงคนดูระดับแมสได้มากเท่ากับ ละคร ข่าว และวาไรตี้ แต่สามารถเข้าถึงคนดูเฉพาะกลุ่มได้ตามประเภทของกีฬา เช่น รายการฟุตบอล คนดูจะกว้าง หรือถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวย กลุ่มคนดูจะเป็นผู้ชาย ถ้าเป็นวอลเลย์บอล กลุ่มคนดูจะเป็นผู้หญิง 

]]>
60100
ละครท่วมจอ ศึกใหม่ในโลกใบเก่าของ “ดิจิตอลทีวี” https://positioningmag.com/59874 Thu, 26 Mar 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=59874

ก้าวเข้าสู่ยกที่สองของ สมรภูมิดิจิตอลทีวี แต่กลับย้อนรอยเข้าสู่โหมด อนาล็อกแบบเดิมๆ เมื่อบรรดาเหล่าดิจิตอลทีวีต่างขน “ละคร” ออนแอร์กันแบบจัดเต็ม หวังชิงคนดู และเรตติ้งช่วงไพร์มไทม์จากช่องอนาล็อกขึ้นสู่ท็อปไฟว์ จนทำให้สภาพทีวีของไทยเวลานี้ต้องเข้าสู่ภาวะ “ละครล้นจอ” นี่หรือ คือ ภูมิทัศน์ใหม่ของดิจิตอลทีวี ?

เมื่อการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกทีวีมาสู่ “ดิจิตอลทีวี” ในช่วงออกสตาร์ท 6 เดือนแรกเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม มาเริ่มเข้าที่เข้าทางเมื่อเดือนมกราคม 2558 ที่ผ่านมา ตัวเลขคนดูช่องดิจิตอลทีวีเพิ่มขึ้น ในขณะที่ช่องอนาล็อกเดิม ช่อง 3, 5,7 และ 9 ความนิยมลดลง 

แม้ว่าช่อง 7 และช่อง 3 จะยังครองแชมป์เรตติ้งอันดับ 1 และ 2 แต่ก็ต้องปาดเหงื่อไม่น้อยกับคู่แข่งดิจิตอลทีวี ที่เข้ามาแย่งชิงเรตติ้งลดลงไปจากเดิม แต่ที่อาการจะหนักกว่า คือ ช่อง 5 และช่อง 9 ที่ถูกช่องดิจิตอลถอนรายการที่เคยออกในช่องอนาล็อกมาออนแอร์ในช่วงของตัวเอง  ไม่ว่าจะเป็นเวิร์คพอยท์ ของเสี่ยตา–ปัญญา นิรันดร์กุล ที่ถอนรายการจากช่อง 9 ไปออนแอร์ในช่องเวิร์คพอยท์ทีวี หรือค่ายเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ในเครือแกรมมี่ ถอนทั้งละครหลังข่าว ที่ป้อนให้กับช่อง 5 มาอย่างยาวนาน และรายการเดอะสตาร์ ที่ออกอากาศในช่อง 9 ไปออกอากาศในช่อง ONE
 
ช่องดิจิตอลเมื่อเห็นโอกาสจากยอดคนดูช่องดิจิตอลเพิ่มขึ้น ในขณะที่ช่องอนาล็อกที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง จึงเร่งขยับปรับผังรายการกันอย่างคึกคัก เพิ่มรายการต่างๆ ข่าว บันเทิง วาไรตี้ ถ่ายทอดสดกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการ “ละคร” ที่ถือเป็น “ไฮไลต์” สำคัญของสมรภูมิดิจิตอลทีวี ยกที่สองในปีนี้

เพราะทุกรายต่างประเมินแล้วว่า นอกจากกีฬาดังแล้ว ละครหลังข่าวถือเป็นช่วงเวลาไพร์มไทม์ที่ทำเงินจากโฆษณาได้มากที่สุด ดังนั้น ต้องใช้ “ละคร” เป็นตัวนำ เป้าหมายแรก คือ เบียดแซงช่อง 5  และช่อง 9  ที่อยู่อยู่ในช่วงอ่อนแรง ก้าวขึ้นไปเป็น 1 ใน 5 รายอันดับแรกให้เร็วที่สุด หากยิ่งช้าโอกาสรอดตายก็ยิ่งห่างไกล

หลายค่ายทั้งที่เคยเป็นผู้ผลิตเดิมและหน้าใหม่ ต่างหันมาให้น้ำหนักกับ “ละคร” หลังข่าวกันชนิดจัดเต็ม ทั้งผลิตเอง จ้างผลิต แบ่งเวลาขายโฆษณา หรือไทม์แชร์ริ่ง เรียกว่า ใครมีเท่าไหร่ใส่กันไม่ยั้ง

ช่อง “พีพีทีวี” ของ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่มีฐานเงินทุนแน่นหนา โดยได้ดึงเขมทัตต์ พลเดช นั่งเป็นกรรมการผู้อำนายการใหญ่ ช่อง “พีพีทีวี เอชดี”  หลังจากออกสตาร์ทช่วง 6 เดือนแรก ด้วยรายการข่าว วาไรตี้ บันเทิง เพื่อให้มีความหลากหลาย โดยมี “ซีรีส์เกาหลี” เป็นแม่เหล็กใช้สร้างฐานคนดูในช่วงสั้นๆ

มาปีนี้ พีพีทีวี ประกาศใช้ 1,600 ล้านบาท ลงทุนสตูดิโอ โปรโมตช่อง และใช้งบส่วนใหญ่กับผลิตคอนเทนต์ เพื่อมุ่งเจาะตลาดคนดูกลุ่มแมสเพิ่มขึ้น โดยจะมีทั้งรายการเกมโชว์ เรียลลิตี้ ซีซันนอล รวมทั้ง “ละครหลังข่าว” ที่จะเป็นคอนเทนต์หลักของพีพีทีวีปีนี้ เพราะมองว่าคนไทยกว่า 60-70% ยังชื่นชอบรายการบันเทิงเป็นหลัก รองมาเป็นกีฬา 20% และข่าว 10%

พีพีทีวี ได้ผู้ผลิตละคร อย่าง เอ-ศุภชัย ศรีวิจิตร ผู้จัดการดารามือทอง ที่ปั้นดาราระดับซุปตาร์ให้ดังมานักต่อนัก มาประเดิมผลิตละคร “เพลิงดาว” เรื่องราวที่สะท้อนเบื้องหลังวงการมายา เป็นเรื่องแรก เมื่อได้เอมาประเดิมเปิดกล้องผลิตละครให้ ทำให้ผู้ผลิตละครรายอื่นๆ ทยอยผลิตละครป้อนให้ไม่น้อยกว่า 8-10 เรื่องในปีนี้ และอยู่ระหว่างผลิตอีก 15 เรื่อง ที่จะ “สต็อก” ไว้จึนถึงปี 2560

แนวละครของช่องนี้จะเน้นคนดูที่เป็นกลุ่มคนเมือง (Urban Mass) และวัยรุ่น ซึ่งพีพีทีวี ตั้งเป้าว่า จะสามารถขยับเรตติ้งจากอันดับที่ 14 มาเป็นอันดับ 6 และคาดว่าปีนี้จะต้องขึ้นติดท็อปไฟว์ของดิจิตอลทีวีให้ได้

ทางด้าน “เจ๊ติ๋ม-พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย” ประมูลใบอนุญาตมาได้ 2 ช่อง คือ ช่องข่าวไทยทีวี และช่องเด็กโลก้า ที่ออกสตาร์ทช่วงแรกแบบจัดเต็ม

โดยเฉพาะช่องไทยทีวี ที่นอกจากจะดึงพันธมิตรผลิตรายการข่าว ส่วนเนื้อหาบันเทิง เจ๊ติ๋ม ประกาศผลิต “ละคร” ท้าชนกับช่อง 3 และช่อง 7

แต่มาในช่วงหลัง เริ่มมีกระแสข่าวลือว่าละครที่เจ๊ติ๋มเปิดกล้องไว้ต้องหยุดถ่ายทำ เพราะไม่มีเงินทุนทำต่อ บางกระแสก็ว่า เจ๊ติ๋มต้องหอบเอาละครที่ลงทุนไว้ เรื่องละ 20 ล้านบาท ไปเร่ขายให้กับดิจิตอลทีวีบางช่อง แม้ว่าเจ๊ติ๋มได้ออกมาปฏิเสธว่า สายป่านยาวพอจะอยู่ต่อไปได้ไม่เดือดร้อน

แต่ล่าสุด มีกระแสข่าวว่า “เจ๊ติ๋ม” ได้เปิดทางให้ บริษัทเอ็มวี เทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) ซึ่งทำธุรกิจช่องทีวีดาวเทียมมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก เน้นหนังชุดและซีรีส์จีน เข้ามาเทกโอเวอร์ ช่อง LOCA ช่องเด็กและครอบครัวไปแล้ว

แต่เพื่อไม่ให้ผิดกติกาของ กสทช.ที่กำหนดไว้ว่าตลอดอายุใบอนุญาตที่ได้ไปจะต้องดำเนินงานเองห้ามขายหุ้นเปลี่ยนมือ บริษัทเอ็มวีทีวีจะเข้ามาในฐานะของผู้รับจ้างผลิตในสัดส่วน 40% แต่ในทางปฏิบัติเวลานี้พนักงานทั้งหมดของ LOCA  ได้โอนย้ายไปอยู่กับเอ็มวีทีวีหมดแล้ว ส่วนเจ๊ติ๋มยังคงต้องเป็นคู่สัญญากับ กสทช.ต่อไปเช่นเดิม

เจ๊ติ๋ม เมื่อตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตแล้ว จะหันไปมุ่งเน้นช่องข่าว “ไทยทีวี” นอกจากเพิ่มทีมข่าว 40-50 คนแล้วเพื่อผลิตข่าวสาร ในส่วนของบันเทิง จะเริ่มทยอยนำละคร 7 เรื่องที่สต็อกไว้ออกมาออนแอร์ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา 

แนวละครของเจ๊ติ๋ม มุ่งเน้นกลุ่มคนดูทั่วไป ลงลึกในระดับชาวบ้าน ทั้ง ผี ตลก ชิงรัก หักสวาท รวมทั้งแนวจักรๆ วงศ์ๆ  อย่าง แก้วหน้าม้า แนวเดียวกับช่อง 7 แต่เพิ่มความแซ่บแบบครบเครื่อง แต่แทนที่จะเป็นในช่วงไพร์มไทม์หลังข่าว เจ๊ติ๋มเลี่ยงไปออนแอร์ในช่วงเวลา 1 ทุ่มครึ่ง ซึ่งเป็นข่าวราชสำนักฯ ของช่องต่างๆ เพื่อหวังโกยคนดู ก่อนช่วงไพร์มไทม์ละครหลังข่าว

เพื่อเรียกคนดู และโฆษณาให้มาเร็วขึ้น แทนที่จะใช้วิธีโฆษณาเคาะประตูเรียกคนดูแบบเดิม เจ๊ติ๋มใช้วิธีเดินสายลงทุนเอาโทรทัศน์ไปตั้งให้ฟรี ในต่างจังหวัด เช่น อนามัยอำเภอ ชุมชนต่างๆ แต่ละจุดต้องมีไม่น้อยกว่า 500 คนขึ้นไป มีข้อแม้ เปิดได้เฉพาะช่องไทยทีวีช่องเดียวเท่านั้น

เจ๊ติ๋มเชื่อว่า วิธีนี้สร้าง “อายบอล” ได้ทันที ช่วงแรกเน้นต่างจังหวัดเป็นหลัก ตั้งเป้าติดตั้งทีวีให้ได้ 8,000 จุด เฉลี่ยจุดละ 500 คน ได้คนดูมาทันที 4 ล้านคน ไว้เคลมโฆษณาได้โดยไม่ต้องพึ่งวัดเรตติ้ง

เมื่อต่างจังหวัดติดตั้งได้ครบแล้ว จะใช้กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” จากต่างจังหวัดขยับเข้ากรุงเทพฯ สวนทางกับคู่แข่ง ที่เน้นคนดูในเมืองก่อน จึงค่อยออกต่างจังหวัด

ส่วนละครเหล่านี้เจ๊ติ๋มใช้วิธี “ไทม์แชร์ริ่ง” คือ แบ่งเวลาโฆษณาให้ผู้ผลิตละครไปขาย 8 นาที ส่วนเจ๊ติ๋มขายเอง 4 นาทีครึ่ง เป็นวิธีเดียวกับที่ช่อง 3 เคยใช้มาแล้วในช่วงหาผู้จัดละคร

ทางด้าน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จากที่เคยออมแรงไว้ช่วงแรก 4-5 เดือนแรก เมื่อเห็นว่าฝุ่นหายตลบ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่ายนี้ใส่เกียร์เดินหน้า โดยหันมาให้น้ำหนักกับ “ละคร” เต็มสูบ

ผ่านทางช่อง ONE  ช่องความคมชัดสูง HD และช่อง จีเอ็มเอ็ม แชนแนล 2ช่องดิจิตอลทีวีในมือแกรมมี่

ช่อง ONE  มี “ถกลเกียรติ วีรวรรณ” เป็นผู้กุมบังเหียน ฝีไม้ลายมือเมื่อครั้งยังผลิตป้อนให้กับช่อง 5 มายาวนานจึงมีฐานแฟนละครเหนียวแน่น เมื่อยกเลิกผลิตป้อนให้กับช่อง 5 เพื่อมาออกอากาศทางช่อง ONE หันมามุ่งเน้นผลิตละครเป็นไฮไลต์สำคัญ โดยมุ่งเน้นกลุ่มคนดูที่เป็นคนเมืองและหัวเมืองใหญ่ จนได้ชื่อว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญที่มีผลให้เรตติ้งช่อง 3 ต้องหล่นลง

นอกจากจะได้ทีมงานชุดเดิมจาก ซีเนริโอ และเอ็กแซ็กท์ยังเปิดให้ดาราในสังกัดขึ้นแท่นเป็นผู้จัด ผลิตละครป้อน เพื่อเติมความหลากหลาย โดยเป้าหมายอยู่ที่ช่วงไพร์มไทม์ช่วงละครหลังข่าว โดยหลังจากจุดติดจาก ละครสงครามนางงาม ที่คนดูยอมรับในความแซ่บของเนื้อหา ช่อง ONE ทยอยส่งสื่อริษยาที่เพิ่งออนแอร์ วันจันทร์ และอังคาร ตามต่อด้วย เล่ห์รตี  ออกอากาศวันพุธ และพฤหัส 

ช่อง ONE  ถูกจับตามองว่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญของช่อง 3 ที่มีผลให้เรตติ้งของช่อง 3 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งมาได้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล ที่เน้นคนดูในเขตกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ทำให้ช่อง ONE ถูกจับตามองว่ากำลังเป็นคู่แข่งที่สำคัญของช่อง 3 และมีผลทำให้เรตติ้งของช่อง 3 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับ จีเอ็มเอ็ม แชนแนลมี “พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา” เป็นแม่ทัพ โดยมุ่งเน้นคนดูกลุ่มวัยรุ่น ที่มีซีรีส์ต่างๆ ที่ได้วัตถุดิบจาก “คลับฟรายเดย์” ที่มีดีเจพี่อ้อย พี่ฉอด ตอบปัญหารักในคลื่นวิทยุ ขยับมาผลิตเป็นซีรีส์ดัง และยังมีเหล่าดีเจดังมาปั้นเป็นดาราป้อนให้กับ “ซีรีส์” ต่างๆ แบบไม่ขาดช่วง แล้วยังได้ค่ายหนัง “จีทีเอช” ที่โด่งดังจากซีรีส์ฮอร์โมน มาช่วยผนึกกำลังผลิตรายละคร เรื่องล่าสุด “น้ำตากามเทพ” ที่แค่เปิดตัวก็ได้กระแสจากกลุ่มคนดูในเมืองแล้ว

 

สำหรับช่อง 8 ของค่ายอาร์เอส มีฐานคนดูมาจากทีวีดาวเทียม เมื่อประมูลได้ดิจิตอลทีวีมาได้ จึงนำเอาช่อง 8 มาต่อยอดออกอากาศได้ทันที โดยเติมเนื้อหาวาไรตี้เพิ่ม ส่งให้เรตติ้งของอาร์เอสไต่ขึ้นอยู่ในอันดับต้นๆ ขึ้นปีใหม่ อาร์เอส จึงจัดเต็มอัดฉีดเงินลงทุน เพิ่มเนื้อหา โดยเฉพาะเพิ่มเวลาละคร  แนวละครของช่อง 8 มุ่งเน้นไปยังลูกค้าชาวบ้านทั่วไป ทั้งแนวตบจูบ เป็นกลุ่มเดียวกับช่อง 7

ในขณะที่ค่าโฆษณาของช่อง 8 แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นมาแล้ว 4-5 เท่า เพื่อรับกับเรตติ้งที่สูงขึ้น แต่ก็ยังไม่เท่ากับช่อง 7 จึงทำให้ช่อง 8 เป็นตัวเลือกให้เจ้าของสินค้าและเอเยนซี่ที่ต้องการเจาะฐานลูกค้าทั่วไปมาเลือกลง

เมื่อดิจิตอลทีวีต่างก็พร้อมใจกันหันหัวรบมาที่ “ละคร” เพื่อหวังในเรื่องเรตติ้งคนดู และรายได้ค่าโฆษณา เพื่อหวังคืนทุนโดยเร็ว เพราะมีโจทย์ใหญ่รออยู่ ทั้งค่าใช้จ่ายรออยู่ ทั้งค่าใบอนุญาต ค่าโครงข่าย ค่าคอนเทนต์ การแข่งขันก็สูง เพราะมีถึง 24 ช่อง แต่เม็ดเงินโฆษณาเท่าเดิม และยังมีสื่อออนไลน์อย่าง “ยูทิวบ์” เข้ามาแย่งแชร์คนดู และเม็ดโฆษณาไปอีก

จนอาจลืมไปว่า ดิจิตอลทีวี ที่ กสทช.เคยวาดฝันไว้ว่า จะเกิดการปฏิวัติวงการ สร้าง “ภูมิทัศน์” ใหม่ให้กับอุตสาหกรรมทีวี เพื่อให้ผู้ชมมีทางเลือกดูเลือกชมรายการอันหลากหลายจากดิจิตอลทีวีทั้ง 24 ช่อง แตกต่างจากที่เคยอยู่ในมือช่อง 3 และช่อง 7 ทำให้คนดูไม่มีทางเลือกมากมายนัก ต้องทนดูละครน้ำเน่า แต่ปรากฏว่าคนดูกลับยิ่งต้องเผชิญกับภาวะ “ละคร” ล้นจอ แต่จะเป็นละครแนวไหน เน่ามากเน่าน้อย ขึ้นอยู่กับนโยบาย และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละช่องเท่านั้น

 

]]>
59874
ดิจิตอลทีวี จัดทัพรับศึกปี 58 https://positioningmag.com/58940 Thu, 11 Dec 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=58940

จับตาศึก “ดิจิตอลทีวี” ทะลุจุดเดือดปีหน้า “ช่อง 3” ซุ่มปรับผังรายการ “ช่อง 3 SD”  ออกศึกขยายแนบรบ ด้าน “มายด์แชร์” ชี้ “ปีนี้แค่น้ำจิ้ม ตลาดปีหน้าแข่งจริง” คาดเม็ดเงินโฆษณาปี 58 โตแค่ 5% ระบุลูกค้ารายใหญ่ปรับวางแผนซื้อสื่อใหม่ เปลี่ยนจากซื้อทั้งปี ประเมินซื้อรายไตรมาส พร้อมเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ

หลังจากที่ช่อง 3 ยอมนำช่องแอนะล็อกออก “คู่ขนาน” ในช่องดิจิตอล 3 HD หลังจากยืดเยื้อมานาน ได้กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งใหญ่ให้กับ “ธุรกิจทีวี”

เพราะทันทีที่ช่อง 3 ออกคู่ขนานไม่ทันไร ช่องดิจิตอลก็ประกาศขยับปรับผังรายการกันขนานใหญ่ ทั้งเวิร์คพอยท์ จีเอ็มเอ็มวัน พีพีทีวี ค่ายอมรินทร์ อาร์เอส ส่วนช่องหลักๆ ซุ่มเปิดแผนใหม่รับศึกปีหน้า จึงคาดหมายกันว่า จะเป็นช่วงที่ดิจิตอลทีวีเปิดศึกแข่งกันอย่างแท้จริง ชนิดที่ “ใครแพ้คัดออก” ดังนั้นทุกรายต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน

เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ได้ทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว วันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า “ธุรกิจสื่อทีวี กำลังแข่งขันรุนแรงเข้มข้นดุเดือด ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวดเร็วตลอดเวลา ต้องรอบคอบ รอบรู้ รอบตัว รอบจัด จึงจะรับมือได้

ดิจิตอลทีวี เกมวัดใจที่เข้ามาแล้วออกไม่ได้ หากติดหล่ม ดิ้นไม่หลุดก็น่ากลัวมาก ยิ่งตัวใหญ่ยิ่งดิ้นก็ยิ่งจมลึก ทุกๆ ก้าวต้องรอบคอบ พลาดไม่ได้

มาถึงวันนี้ ฝุ่นควันจางลงแล้ว เร็วกว่าที่คาดการณ์ พอจะเห็นภาพของอุตสาหกรรมสื่อในอนาคตใกล้ๆ นี้ได้ชัดเจนแล้วว่าใครน่าจะรอดและใครจะ……

ช่อง 3 มุ่งจับคนดูเสาร์-อาทิตย์

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด หรือ ช่อง 3 ประเมินว่า การแข่งขันของดิจิตอลทีวีในปีนี้ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากคูปองเพิ่งแจกได้ไม่นาน และคนยังไปแลกกล่องรับสัญญาณไม่มาก เครือข่ายเองยังไม่ครอบคลุม การแข่งขันจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างก็ต้องเป็นปีหน้า

“ส่วนการที่ดิจิตอลทีวีมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดมากขึ้น ส่วนใหญ่ไปดึงมาจากช่องในดาวเทียมและเคเบิลทีวี ช่องแอนะล็อกเดิม อย่าง ช่อง 5 ช่อง 9 ก่อน การจะแข่งกับช่อง 3 และช่อง 7  ได้คงไม่ใช่เรื่องง่าย”

อย่างไรก็ตาม เพื่อรับมือการแข่งขันที่กำลังตามมา ช่อง 3  จึงต้องเพิ่มความแข็งแรงให้กับทุกช่วงเวลามากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ “เสาร์และอาทิตย์” ที่คนดูจะพักผ่อนอยู่กับบ้าน สุรินทร์มองว่า “เป็นช่วงที่ช่อง 3 ต้องแข็งแรงสุดขีด” จึงมีการขยับนำ “รายการ” ระดับ “แม่เหล็ก” เข้ามาเสริมตั้งแต่เช้าจรดดึก เพื่อตรึงให้คนดูอยู่กับช่อง 3 ตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะรายการที่ตอบโจทย์คนดูที่เป็น “กลุ่มครอบครัว” 

เขายกตัวอย่าง การนำรายการ ดันดารา มาออกอากาศต่อจาก “เดอะวอยซ์” เพราะมองว่า เดอะวอยซ์ เป็นรายการที่สามารถ “เรียกน้ำย่อย” ก่อนไพรม์ไทม์ ดึงคนดูที่เป็นวัยรุ่น ตามต่อด้วยรายการ “ดันดารา” ตอนแรกตั้งใจจะให้ไพรม์ไทม์ เพื่อดึงดูดครอบครัว

แต่ปรากฏว่า เดอะวอยซ์ กลับเป็น “มวยหลัก” ที่โดนใจคนทุกวัย และไปดึงรายการ “ดันดารา” แข็งแรงตามไปด้วย “เราดูจากยอดรายได้ โฆษณาเต็มตลอด” คำยืนยันของสุรินทร์

ปั้นช่อง 3SD

ขณะเดียวกัน เป้าหมายในปีหน้าของช่อง 3 คือการปั้นช่อง 3 SD (ช่องมาตรฐาน) ให้มาเป็น “อาวุธ” อีกชนิดในการสู้ศึกกับ “ดิจิตอลทีวี” เท่ากับว่าช่อง 3 จะมีหมากรบพร้อมกัน 2 ช่อง ในการต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งที่มากหน้ามากขึ้น

โดยไพรม์ไทม์ของช่อง 3 SD จะอยู่ในช่วง 5 โมงเย็นถึงสี่ทุ่ม ซึ่งรูปแบบรายการของช่อง SD จะต้องไม่ซ้ำรายการหลักของช่อง 3 HD  ละคร ข่าว โดยจะเป็นรายการวาไรตี้ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ส่วนช่องแฟมิลี่ ยังรอดูไปก่อน

“คู่แข่งต้องเข้ามาแข่งในช่วงเวลาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่วงไพรม์ไทม์ เพื่อที่ว่าเขาจะทำราคาค่าโฆษณาได้ คนซื้อก็อาจจะรู้สึกว่าเขาคุ้มค่า แต่ผมเชื่อว่าเวลานี้ คนซื้อเขาไม่ได้ดูความคุ้มค่า ต้องดูโพรไฟล์รายการด้วย ไม่อย่างนั้นโฆษณาในรายการข่าวของช่อง 3 จะขายได้ยังไง ในเมื่อแพงกว่าช่องข่าวอื่นๆ เป็นสิบเท่า”

ส่วนจะใช้งบลงทุนมากแค่ไหนในปีหน้า สุรินทร์ยังไม่เปิดเผย แต่ที่แน่ๆ ช่อง 3 ได้เตรียม “ขึ้นราคา” ค่าโฆษณาในบางรายการแล้ว

“ทีวีเป็นธุรกิจจากคนดู เมื่อไหร่ที่รายการมีคนดู ก็สามารถขึ้นราคาได้ ต่อให้มีคู่แข่งก็ตาม เวลานี้หลายช่องเขาก็ขึ้นราคา จากนาทีละ 1-2 หมื่น ก็เพิ่ม 5หมื่น ที่เขาก็กล้าพูดได้ เพราะเขาเห็นแล้วว่าเรตติ้งเขามี แต่จะขึ้นเป็นบางรายการเท่านั้น ขึ้นทั้งช่องเป็นไปได้ยาก”

การแข่งขันธุรกิจทีวีในปีหน้าจะหนักมาก เพราะดูแล้วเศรษฐกิจยังไม่น่าจะดีมาก โดยมูลค่าตลาดโฆษณาปีหน้า (2558) จะเพิ่มขึ้นอย่างไม่เกิน 5% ส่วนปีนี้ติดลบไปถึง 10% แต่การแข่งขันในเรื่องของราคามากขึ้น เพราะลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น ความหลากหลายจะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันการซื้อโฆษณาในทีวีจะมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้น

“สมัยก่อนซื้อรายการเดียวมีคนดู 5 แสนคน แต่ต่อไปเขาต้องซื้อเป็น 10 รายการ เพื่อให้มีคนดู 5 แสนคน คนซื้อสื่อโฆษณาจะยุ่งเหยิงและวุ่นวาย เพราะจำนวนคนดูเท่าเดิม แต่เขาจะไปดูในจออื่นๆ มากขึ้น ดูในจอทีวีน้อยลง นี่คือการบ้านในปีหน้า”

ทีวีพูล ปรับผังปีหน้า

ทางด้านของค่ายสื่อบันเทิง “ทีวีพูล” ที่มีช่องดิจิตอลทีวีในมือ 2 ช่องด้วยกัน ได้แก่ ช่อง “ไทยทีวี” หรือ THV ที่จัดอยู่ในช่องประเภทข่าว และช่อง LOCA ประเภทเด็กและเยาวชน เป็นอีกช่องที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษว่าจะเอาตัวรอดอย่างไรในเกมการแข่งขันรอบใหม่นี้

“ช่องไทยทีวีมีการปรับผังอยู่ตลอดอยู่แล้ว ซึ่งเนื้อหาหลักยังคงเป็นวาไรตี้บันเทิง ข่าวบันเทิง และละคร ส่วนแผนปรับผังรายการในปีหน้ายังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาหลายๆ ฝ่ายอยู่ ต้นปีหน้าน่าจะเห็นได้ชัดมากขึ้น แต่เรื่องการลงทุนคิดว่าจะเบาลงจากปีนี้ เพราะปีนี้เป็นปีที่ลงทุนหนักอยู่แล้ว ลงทุนไปทั้งหมด 800 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคอนเทนต์ และประชาสัมพันธ์ ส่วนอัตราค่าโฆษณาก็มีการปรับขึ้นตามเรตติ้งแน่นอน ตอนนี้เราขายอยู่ที่ราคาหมื่นกว่าบาทต่อนาที ปีหน้าจะปรับขึ้นอีก” “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” หรือ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด บอก

พันธุ์ทิพา หรือ เจ๊ติ๋ม มองถึงสถานการณ์การแข่งขันต่อไปว่ายังเป็นโอกาสทองของดิจิตอลทีวีอยู่ ซึ่งต้องมาแข่งกันเรื่องเนื้อหาให้โดนใจผู้บริโภค เห็นได้จากช่องดิจิตอลทีวีมีเรตติ้งแซงหน้าช่องแอนะล็อกเดิมอย่างช่อง 5 และช่อง 9 แล้ว แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคและข้อจำกัดในการเข้าถึงของผู้บริโภคอยู่ ที่ยังไม่สามารถรับชมดิจิตอลทีวีได้ครอบคลุม

“กสทช. ไม่ได้มีแผนประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้ชมยังไม่เข้าใจ และยังรับชมไม่ได้ การแจกคูปอง แจกกล่องฯ ก็ล่าช้า และไม่ครอบคลุม ตอนนี้ยังไม่ถึง 10 ล้าน จากที่มีครัวเรือนทั้งหมด 22 ล้านทั่วประเทศ อุปกรณ์ไม่ค่อยมีคุณภาพ ทำให้รับสัญญาณไม่ค่อยได้ ตอนนี้ทางผู้ประกอบการก็ต้องโฆษณาช่องตัวเองให้โดนใจผู้บริโภคมากที่สุด”

มายด์แชร์ชี้ต้องปรับให้เร็ว

พเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อทีวี บริษัท มายด์แชร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า ช่วงที่ผ่านมานี้เห็นความเคลื่อนไหวของช่องดิจิตอลทีวีมีการปรับผังรายการปรับกลยุทธ์กันยกใหญ่ เป็นรูปเป็นร่างกันมากขึ้น แบรนด์สินค้าก็เริ่มสนใจมากขึ้น เชื่อว่าการแข่งขันในปีหน้าต้องดุเดือดแน่ แต่ในแง่ของการซื้อสื่อโฆษณาในช่องดิจิตอลทีวีตอนนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก การลงโฆษณายึดช่องที่มีการลงโฆษณา ส่วนใหญ่ก็เป็นช่องที่เรตติ้งสูงๆ เช่น เวิร์คพอยท์, ช่อง 8 ส่วนอีก 3 ช่อง ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นช่อง โมโน, ทรูโฟร์ยู และไทยรัฐทีวี

ราคาค่าโฆษณาส่วนใหญ่จะปรับขึ้นตามเรตติ้ง อย่าง “ช่อง 8 และ เวิร์คพอยท์” จะปรับค่าโฆษณาขึ้นอีก 100% จากตอนนี้ขายเป็นหลักแสนต่อนาที ขึ้นไปเป็นสองแสนต่อนาที ถือว่าเป็นราคาตั้งที่เริ่มใกล้เคียงกับช่อง 5 และ ช่อง 9 แล้ว

“เมื่อเขาปรับราคาค่าโฆษณาขึ้นสูง ก็เป็นโจทย์ใหญ่สำหรับเขาที่ต้องประคองเรตติ้งให้อยู่ ไม่งั้นก็จะลำบาก เพราะตอนนี้ตัวเลือกมีมากมาย ลูกค้ามีความพร้อมจะเปลี่ยนไปลงโฆษณาในดิจิตอลทีวีมากขึ้น ถ้าช่องไหนมีเนื้อหาที่ดี และมีคนดู ลูกค้าพร้อมที่จะไปเลย ไม่ได้ยึดติดกับช่องเดิมๆ”

ส่วนฐานคนดูดิจิตอลทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้นชัดเจน พฤติกรรมผู้บริโภคก็ยังไม่เปลี่ยนไปเลยทีเดียว เพราะกล่องรับดิจิตอลทีวีแลกไปได้ไม่ถึงครึ่งจาก 22 ล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังคงดูผ่านจานดาวเทียม แต่ถ้าจะวัดจำนวนคนดูจริงๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับการวัดเรตติ้งของนีลเส็น ที่ต้องวัดให้ “กระจายและแม่นยำ” มากขึ้น ว่าคนดูดิจิตอลทีวี 24 ช่องนี้มากน้อยแค่ไหน และดูช่องทีวีดาวเทียมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ยังไม่ค่อยเคลียร์เท่าไหร่ คาดว่าอีก 2 ปีน่าจะเข้าที่เข้าทาง

ช่อง 3 ช่อง 7 ยังครองแชมป์ลงโฆษณาไพรม์ไทม์

ในส่วนของเม็ดเงินลงสื่อโฆษณาของดิจิตอลทีวีนั้น พเยาว์ระบุว่า ในปีนี้ มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาราว 78,000 ล้านบาท เป็นสัดส่วนของเคเบิลและดาวเทียม ไม่เกิน 10% ที่เหลือเป็นของทีวีแอนะล็อกและดิจิตอลรวมกัน ซึ่งเวลานี้ในแวดวงโฆษณาไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นทีวีแอนะล็อก หรือดิจิตอล เพราะสามารถดูและวัดผลดิจิตอลทีวีได้หมดแล้ว

การลงโฆษณาในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ตอนนี้จะเป็นการผสมกัน มีส่วนประกอบหลายตัวในการเข้าถึงคนดูได้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนผสมระหว่าง “ช่อง 3 + ช่อง 7 + ช่องดิจิตอล” ซึ่งแล้วแต่ลูกค้าจะกำหนดสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ในการลงโฆษณาแต่ละช่องมา แต่ละรายก็มีสัดส่วนไม่เท่ากัน แต่จะยึดช่อง 3 กับ ช่อง 7 เป็นหลัก เป็นวิธีที่ทำให้คนดูได้เห็นในช่วงเวลาที่กำหนดได้ดี

แต่ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าทางช่อง 3 กับช่อง 7 จะมีการปรับขึ้นราคาโฆษณา ช่องก็ต้องพิจารณาให้ดีเพราะในเมื่อช่องเยอะขึ้น ผู้ซื้อ และผู้ดูมีทางเลือกมากขึ้น การเพิ่มราคาขึ้นสูงมากๆ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนทิศทางก็ได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ การที่ลูกค้าจะซื้อขึ้นอยู่กับว่าราคาพอสมควรแล้ว มีจำนวนคนดูพอสมควร เพราะตอนนี้ค่าโฆษณาก็แพงมากอยู่แล้ว ไพรม์ไทม์อยู่ที่ราคา 4-5 แสนบาทต่อนาที

ลูกค้ารายใหญ่เปลี่ยนซื้อเป็นไตรมาส

ทางด้าน รัฐกร สืบสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนสื่อ กรุ๊ปเอ็ม และกรรมการสมาคมมีเดียเอเยนซี่แห่งประเทศไทย มองว่า เวลานี้ยอดผู้ชมแอนะล็อกยังไม่ลดลงเยอะมาก และยังวัดผลได้ยากว่าใครจะชนะหรือแพ้ในเกมการแข่งขันใหม่ในครั้งนี้ เนื่องจากคูปองแลกกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีก็เพิ่งแจกไป และคนดูก็ยังแค่ทดลองดูเป็นบางรายการ ไม่ได้เปิดแช่ดูทั้งช่องเหมือนกับสมัยที่เป็นแอนะล็อก

นอกจากนี้ ผู้เล่นที่เป็น “รายใหญ่” อย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็ยังไม่ได้เดินเกมบุกเต็มที่ 100% ที่ผ่านมายังเป็นแค่ “น้ำจิ้ม” เท่านั้น “ผมเชื่อว่าเขามีคอนเทนต์ดีๆ อีกมาก แต่ยังไม่ได้นำออกมา” แม้แต่ “ช่อง 3” เองก็ยังไม่ได้เปิดหน้าไพ่เต็มที่ ทำให้ดูเหมือนว่าช่องดิจิตอลทีวีจะแซงหน้า 

“ผมว่าเขารอดูทิศทางไปก่อน สภาพเศรษฐกิจปีนี้ก็ไม่ดี จะมีแต่เวิร์คพอยท์และอาร์เอสที่รุกหนักกว่าคนอื่นที่เป็นรายใหญ่ จะไปปล่อยของจริงกันปีหน้า คาดว่าในช่วงปลายไตรมาสแรกจะเห็นการแข่งขันชัดเจน”

สำหรับมูลค่าตลาดโฆษณาในปีหน้า ส่วนตัวเชื่อว่าจะเติบโตไม่เกิน 5-7% จากปีนี้ที่ติดลบไป 10% แต่ที่สำคัญ ลูกค้าซื้อสื่อโฆษณาที่เป็นบริษัทข้ามชาติเปลี่ยนวิธีการวางแผนซื้อสื่อ จากเดิมที่เคยวางแผนซื้อสื่อกันเป็นปีต่อปี เปลี่ยนมาวางแผนระยะสั้นขึ้น ประเมินเป็น “รายไตรมาส” สะท้อนได้ชัดเจนว่าการแข่งขันของช่องต่างๆ จะรุนแรงขึ้นแน่ ลูกค้าพร้อมจะเปลี่ยนแปลงไปได้ทันที

“ฐานคนดูของช่องหลัก อย่าง ช่อง 3 และช่อง 7 ยังไม่ลด ค่อนข้างอยู่ตัว ช่อง 3 อาจได้รับผลกระทบจากการแข่งขันบ้าง เนื่องจากสัญญาณของดิจิตอลทีวีในช่วงแรกยังครอบคลุมในกรุงเทพฯ และจังหวัดหลักๆ ทำให้ช่องดิจิตอลทีวีจึงโฟกัสไปที่กลุ่มคนเมืองที่เป็นฐานคนดูของช่อง 3  ซึ่งช่อง 3 เองยังไม่ได้ขยับอะไร รอดูเชิงไปก่อน ผมเชื่อว่าเขายังมีรายการดีๆ อีกมาก รอเวลาไปก่อน ผมว่าเสือยังไม่ออกจากถ้ำมากกว่า”

อย่างไรก็ตาม รัฐกรมองว่า การมาของดิจิตอลทีวีไม่ได้ส่งผลกระทบภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาไม่มากเท่ากับ “สื่อดิจิตอล” บนออนไลน์และสมาร์ทโฟน ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ ส่งผลการจัดสรรงบประมาณในการใช้สื่อ หันมาให้ความสำคัญกับสื่อดิจิตอลควบคู่ไปกับซื้อสื่อทีวี ส่วนสื่ออื่นๆ เป็นทางเลือกอันดับรองๆ 

]]>
58940