ศูนย์บ่มเพาะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 12 Nov 2019 08:27:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ต่อยอดความฝัน FoodTech โปรแกรม SPACE-F ดัน 23 ทีมสตาร์ทอัพไทย-เทศไประดับโลก https://positioningmag.com/1253156 Mon, 11 Nov 2019 09:36:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253156 เปลี่ยนกลยุทธ์จากโตเดี่ยวเป็นโตหมู่ เมื่อ TU-ไทยยูเนี่ยน ปรับศูนย์นวัตกรรมของตนเองเป็นพื้นที่วิจัยและพัฒนาของสตาร์ทอัพในโปรแกรม SPACE-F ร่วมสนับสนุนโดย NIA-ม.มหิดล คัดเลือกสตาร์ทอัพเฉพาะสาย FoodTech ร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโต 23 ทีม ด้วยจุดหมายให้ไทยเป็นแหล่งรวมนวัตกรรมด้านอาหารออกสู่ทั่วโลก

ยุคสมัยที่การโตให้ไวต้องอาศัยไอเดียจากภายนอก ทำให้ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป หรือ TU แปลงศูนย์นวัตกรรมของบริษัทที่ร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อ 6 ปีก่อน เปิดรับสตาร์ทอัพมาร่วมโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งการเติบโต SPACE-F

งานนี้เป็นความร่วมมือ 3 ฝ่ายคือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) , ไทยยูเนี่ยน และ ม.มหิดล ที่ให้การสนับสนุนแบบสามประสาน โดย NIA ในฐานะหน่วยงานรัฐเป็นผู้เปิดโอกาสเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ และให้คำปรึกษาด้านขั้นตอนราชการและกฎหมาย ส่วนไทยยูเนี่ยนในฐานะบริษัทเอกชนที่ขยายตลาดไปทั่วโลก จะให้การสนับสนุนทุนตั้งต้น (Initiative Fund) ด้านการตลาด พัฒนางานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ขณะที่ ม.มหิดล คือผู้สนับสนุนพื้นที่ เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร และโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย

หลังจากเปิดรับสมัคร Batch 1 มีผู้สมัคร 142 ทีมทั่วโลก คณะกรรมการได้คัดเลือกจนเหลือ 23 ทีมสุดท้าย แบ่งเป็นทีมประเภทบ่มเพาะนวัตกรรม (incubator) 12 ทีม ซึ่งจะได้ร่วมโปรแกรมนาน 15 เดือน และประเภทเร่งผลักดันความสำเร็จ (accelerator) 11 ทีม ร่วมโปรแกรมนาน 8 เดือน

ผลักดันไทยเป็นแหล่งนวัตกรรมอาหาร

ที่กล่าวว่า ‘ทั่วโลก’ นั้นเป็นเพราะ SPACE-F มีทีมจากประเทศอื่นๆ เข้าร่วมด้วย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย สหรัฐฯ เยอรมนี และนอร์เวย์ โดย “พันธุ์อาจ ชัยรัตน์” ผู้อำนวยการ NIA กล่าวถึงภาพรวมด้าน FoodTech ของไทยว่ามีสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ราว 150 บริษัท แต่ส่วนใหญ่หลักร้อยบริษัทเป็นกลุ่มแพลตฟอร์มให้บริการ ขณะที่สตาร์ทอัพสาย Deep Technology คือเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่จากงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีนั้นมีเพียงหลักสิบ ซึ่งน้อยเกินไปและทำให้การส่งเสริมด้าน FoodTech ต้องเปิดกว้างให้กับสตาร์ทอัพทั่วโลก

ศูนย์นวัตกรรม SPACE-F บนตึก N คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็มีจุดแข็งที่ทำให้สตาร์ทอัพต่างชาติสนใจ เพราะไทยมีบริษัทด้านอาหารขนาดใหญ่ระดับโลกอยู่หลายบริษัท และเริ่มปรับตัวมาตั้งกองทุนเวนเจอร์แคปิตอลให้ทุนกับสตาร์ทอัพ รวมถึงในประเทศเป็นแหล่งซัพพลายเชนวัตถุดิบพร้อมกับตลาดขนาด 70 ล้านคนที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเริ่มต้นสเกลอัพได้

ฟาก “ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ” ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ฉายภาพระดับโลกว่า ประเทศไทยไม่ได้น้อยหน้าใครด้าน FoodTech เพราะสตาร์ทอัพกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหม่ในโลกเช่นกัน

“FoodTech เราไม่ได้ล้าหลังนะเพราะมันใหม่มาก และเป็นงานที่ต้องใช้เวลาสูง ทำให้ทุกคนก็เพิ่งเริ่ม พอเราเปิดรับสมัครโปรแกรมนี้ทำให้เห็นเลยว่าจริงๆ คนไทยเรามีไอเดียเยอะ เพียงแต่ยังมีจุดอ่อนคือสตาร์ทอัพไทยยังไม่มองไปไกลกว่าประเทศไทย ซึ่งเราจะนำมุมมองระดับโลกของ TU เข้าไปทำให้เขาเห็นว่า คู่แข่งเขาไม่ได้อยู่ข้างๆ แต่อยู่ทั่วโลก” ดร.ธัญญวัฒน์ ให้มุมมองต่อโครงการนี้

ThaanThai หนึ่งในสตาร์ทอัพประเภทบ่มเพาะ เป็นสตาร์ทอัพอาหารสตรีทฟู้ดไทยที่ผลิตด้วยโปรตีนจากพืช

ใน 23 ทีมที่ติด Batch 1 ของ SPACE-F กลุ่มบ่มเพาะนวัตกรรมนั้นมีหลายบริษัทที่อยู่ในระดับ ‘pre-seed’ คือมาพร้อมไอเดียและงานวิจัยตั้งต้นโดยยังไม่มีสินค้าหรือการระดมทุนใดๆ มาก่อนเลย สะท้อนให้เห็นความตั้งใจของโปรแกรมที่จะช่วยเหลือสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ให้ตั้งไข่

“เราหวังว่าพวกเขาจะเกิด success story เพื่อให้นักวิจัยอยากจะต่อยอดงานให้เกิดเป็นธุรกิจจริงๆ” รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวเสริม

สตาร์ทอัพใน SPACE-F ที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น EAT Straw หลอดรับประทานได้จากข้าวสาลี, Phum Meal เทคโนโลยีปลูกผำ/ไข่น้ำ ซูเปอร์ฟู้ดผักที่มีโปรตีนสูง, HydroNeo ระบบ IoT สำหรับฟาร์มกุ้ง, JuiceInnova8 เทคโนโลยีลดน้ำตาลในน้ำผลไม้, Khaisook ไข่ขาวพร้อมทานเจาะกลุ่มผู้ป่วย เป็นต้น

TU มองไกลกว่าเรื่องซีฟู้ด

แล้วฝั่งไทยยูเนี่ยนได้อะไรจากการสนับสนุนสตาร์ทอัพเหล่านี้ที่เห็นได้ว่า ไม่ได้เจาะจงเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเลซึ่งเป็นสินค้าหลักของไทยยูเนี่ยน

ดร.ธัญญวัฒน์บอกว่า โครงการนี้ไม่ได้มุ่งเป้าเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์กับปัจจุบันของไทยยูเนี่ยน เพราะบริษัทมองไกลไปในอนาคตอยู่แล้วว่าวันหนึ่งอาหารทะเลอาจจะไม่เพียงพอและคนต้องมองหาโปรตีนทดแทนอื่นๆ

“เราอยากเป็นตัวกลาง อนาคตจะชวนรายอื่นๆ มาร่วมสนับสนุนโครงการ และมองแหล่งทุนจากทั่วโลกให้มาร่วมลงทุนในไทย”

ก่อนหน้านี้ไทยยูเนี่ยนเพิ่งประกาศจัดตั้งกองทุนเวนเจอร์แคปิตอลมูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพ 3 ด้าน คือ โปรตีนทางเลือก อาหารฟังก์ชั่น และเทคโนโลยีห่วงโซ่คุณค่า และเริ่มลงทุนครั้งแรกกับบริษัท ฟลายอิ้ง สปาร์ค จากอิสราเอล เป็นบริษัทพัฒนาการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแมลงกินผลไม้สำหรับเป็นโปรตีนทางเลือก

โครงการ SPACE-F จะเปิดรับสมัครอย่างต่อเนื่องเมื่อ Batch ก่อนหน้าจบโปรแกรม ดังนั้นจะเปิดรับสมัครใหม่ทุก 8-15 เดือน สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการพัฒนาวงการเทคโนโลยีอาหารสามารถเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับโอกาสทะยานสู่อนาคต

]]>
1253156
ยกเครื่ององค์กรรอบ 60 ปี TCP ผุดหน่วยงาน “อีบิสสิเนส-ศูนย์บ่มเพาะ” ปั้นคนรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1243437 Thu, 22 Aug 2019 07:55:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243437 ในยุคที่ทุกอย่างในโลกกำลังถูก Disrupt ทุกคนต้องปรับตัว TCP องค์กรอายุกว่า 60 ปี เริ่มทศวรรษแรกในปี 2499 ก็ต้องปรับสู่การทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ 5 ปี เพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับชั้นให้รองรับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ภายใต้เป้าหมายสร้างยอดขายกลุ่ม TCP เติบโต 3 เท่าเป็น 100,000 ล้านบาท ก้าวไปสู่การเป็นบริษัทข้ามชาติ (Multinational Company) ของคนไทยอย่างแท้จริง

ประกรรษ์ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการสายงานทรัพยากรบุคคลและธุรการ กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นองค์กรใหญ่ที่มีคนหลากหลายเจน คนทำงานกว่า 5,000 คน มีคนรุ่นใหม่ราว 10% มีเป้าหมายจะเพิ่มเป็น 20% อัตราการเข้าออกของพนักงานเฉลี่ย 12 – 15% ทำให้การหลอมรวมให้คนที่มากประสบการณ์กับคนรุ่นใหม่มีความคิดและการกระทำที่คล้ายกันถือเป็นความท้าทาย

เราจึงได้ออกแบบการทำงานใหม่ ภายใต้แนวคิด 3C ให้พนักงานทุกคนได้ก้าวข้ามเฟรมเวิร์กเดิมสู่นวัตกรรมใหม่

ชูแนวคิด 3C ปรับโฉมการทำงาน

C1 เปลี่ยนรูปแบบสำนักงานใหม่ เน้นสร้างนวัตกรรม ลงทุน 740 ล้านบาท สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่รองรับพนักงานใหม่ได้ 250 คน สร้างติดกับสำนักงานปัจจุบัน เนื้อที่ราว 6 ไร่ สูง 4 ชั้น เริ่มก่อสร้างปี 2562 คาดว่าแล้วเสร็จปี 2564

ส่วนสำนักงานปัจจุบันจะปรับปรุงใหม่ กับแนวคิด Open Office พื้นที่ทำงานจึงเปิดโล่ง พร้อมจัดสรรพื้นที่กว่า 30% เป็นพื้นที่ส่วนกลางระหว่างแผนกเพื่อใช้เป็นที่พบปะ แลกเปลี่ยนความคิด ติดตั้งระบบเทคโนโลยีอันทันสมัย เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ของพนักงานทั้งในสำนักงานใหญ่ สาขาในต่างจังหวัด และสาขาต่างประเทศมี 2 ที่ คือ เวียดนาม กับพม่า

C2 เปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ จะเปิดโอกาสให้พนักงานมี Virtual Office ที่เป็นเสมือนสำนักงานเคลื่อนที่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่สำนักงาน พนักงานอาจจะทำงานที่บ้าน หรือที่ co-working space นำแนวคิดการทำงาน agile และ scrum มาใช้ทำแบบ cross functional และ cross generation

C3 เปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้ง Internet of Things, Virtual Reality, AI, Cloud Computing หรือเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ล้วนมีศักยภาพในการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ จึงลงทุน 560 ล้านบาท นำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมการทำงานให้กับทีม ทั้ง virtual office และ AI Chatbot การจัดตั้งทีมงาน Incubator ที่สนับสนุนให้พนักงานได้เรียนรู้ ทดลอง และทดสอบไอเดียใหม่ๆ หรือ

“ผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบ” (Prototype) ที่จะนำไปสู่การคิดค้นผลิตภัณฑ์ ซึ่งขณะนี้มีการคิดค้นและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บ้างแล้ว

“เราได้ตั้งหน่วยงานใหม่ 2 หน่วย คือ อีบิสสิเนส เน้นการทำตลาดออนไลน์ และหน่วยอินคิวเบเตอร์ เพื่อเป็นศูนย์บ่มเพาะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะมีเงินเดือนตามปกติแล้วจะมีผลตอบแทนอีกต่างหากเมื่อสำเร็จ ลงทุนอีก 80 ล้านบาท ฝึกอบรม ช่วยเหลือ และเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ทีมงาน จะไม่มีการปลดพนักงาน รวมถึงเปิดรับคนดี คนเก่ง คนรุ่นใหม่ เพิ่มขึ้น”

การปรับโฉมองค์กรเพื่อให้การทำงานอยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์ จะแล้วเสร็จภายในปี 2565 ซึ่งจะช่วยเสริมรากฐานขององค์กรให้แข็งแกร่ง สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กร และผลักดันให้ TCP ก้าวไปสู่การเป็นบริษัทข้ามชาติ.

Source

]]>
1243437