สงครามข่าว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 30 Dec 2017 06:31:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผ่าสงครามข่าวทีวีดิจิทัล เช้า เที่ยง เย็น ค่ำ สู้กันไม่ถอย https://positioningmag.com/1152144 Fri, 29 Dec 2017 08:58:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152144 รายการข่าวของแต่ละช่องทีวีดิจิทัลโดยส่วนใหญ่ จะอยู่ในผังออนแอร์ช่วงเช้ากลางวันเย็นค่ำ แต่บางช่องจะเพิ่มช่วงดึก และเที่ยงคืน และก่อนเช้าด้วย จากข้อมูลเรตติ้งที่สำรวจ 4 ช่วงหลัก นั้น ช่วงเช้า กลางวัน และค่ำ ถือว่าเป็นพื้นที่ของช่อง 7 และ 3

**ช่วงข่าวเช้าช่อง 7 แชมป์ ช่อง 3 ยังต้องลุ้น

อย่างช่วงเช้าที่เป็นที่รู้กันว่ามีการแข่งขันกันรุนแรง แชมป์ตลอดกาลยังคงเป็นช่อง 7 ที่ปูพรมได้เรตติ้งไปตั้งแต่ 05.00-10.00 .ด้วยการแบ่งรายการเป็น 3 ช่วง ตั้งแต่เช้าข่าว 7 สี เช้านี้ที่หมอชิต และสนามข่าว 7 สี โดยเฉพาะสองรายการที่เรตติ้งเช้าทะลุ 1.5 ได้บ่อยครั้ง 

ส่วนอันดับ 2 เรื่องเล่าเช้านี้ โฉมใหม่ ที่มี ไก่ ภาษิต มาเป็นหลัก และมีช่วง ชูวิทย์มีเรื่องเล่าเสริม และช่วงสอนภาษาอังกฤษสั้น อีก  แต่ช่อง 3 ก็ต้องลุ้นทุกวันว่าจะทะลุ 1 มาได้หรือไม่ โดยมีช่อง 8 เบียดมาติด ตามที่เคยสำรวจก่อนหน้านี้เรตติ้งวันที่ 1-19 ..2560 (ยกเว้นเสาร์ อาทิตย์

รายการข่าวที่ต้องจับตามอง คือตีข่าวเช้า หลังปรับโฉมของช่อง 3SD  ที่มีทนายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ เป็นพิธีกรชูโรงตั้งแต่ 20 ..ที่ผ่านมา และรายการข่าวของจีเอ็มเอ็ม 25 ที่เรตติ้งหลุดต่ำกว่าอันดับที่ 20 มานาน ก็ถึงเวลารุก โดยรับ ต๊ะ พิภู” จากช่อง 3 มาอ่านในช่วงต้นปีหน้า

**ช่วงข่าวเที่ยงหืดเรตติ้งไม่เกิน 1 

สมรภูมิข่าวเที่ยง หรือข่าวช่วงกลางวัน เลือกสำรวจช่วงเวลา 10.00 -14.00 .พบว่ามีหลากหลายรายการทั้งรายการอ่านข่าวทั่วไป คุยข่าว ฮาร์ดทอล์คทั้งแบบสด และรีรัน รูปแบบไม่ต่างกันมากนัก รวมถึงมีการนำเสนอข่าวเชิงเศรษฐกิจธุรกิจมาก่อนรายการข่าวหลัก  ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้หวังเรตติ้ง แต่ทำเงินได้ในลักษณะการผสมผสานการโฆษณาระหว่างรายการข่าว 

เวลารายการข่าวเที่ยง หลายช่องเลือกขยับเวลาออนแอร์ก่อนเที่ยง เพื่อชิงคนดู บางช่องเริ่มเลยตั้งแต่ 10 โมง อย่างไทยพีบีเอส แต่ส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ 11.00-11.30 . เช่น ห้องข่าวภาคเที่ยงช่อง 7 แชมป์อันดับ 1 เริ่มตั้งแต่ประมาณ 11.20 พอๆ กับช่อง 3 เที่ยงวันทันเหตุการณ์ท่ีเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณ 5 นาที หรือแม้แต่ พีพีทีวี ก็เริ่มก่อนช่อง 3 ประมาณ 5 นาที ยังมีช่องเนชั่น สปริงนิวส์ ที่เลือกเริ่มในช่วงก่อน 11.30 

รูปแบบ มาเร็ว มาก่อน อัพเดท มาไวไปไว กระชับได้ใจความ พิธีกรข่าว หรือผู้ประกาศดูมีพลัง กระตือรือร้น ยิ่งทำให้หลายช่องได้เรตติ้ง แต่สำหรับช่วงเที่ยงที่คนดูมีภารกิจหลากหลาย แม้แต่แชมป์อย่างช่อง 7 ก็ยังดันเรตติ้งได้ไม่ถึง 1 หรือแม้แต่ช่อง 3 เที่ยงวันทันเหตุการณ์ที่ปรับทั้งเวลาเร็วขึ้น ให้เวลาออนแอร์สั้นลงเหลือประมาณ 1 ชั่วโมง จากเดิมยิงยาวเกือบ 2 ชั่วโมง เรตติ้งก็ยิ่งแผ่ว ก็ยิ่งต้องจบเร็วขึ้น

***เรื่องเด่นเย็นนี้ พาช่อง 3 สัมผัสที่ 1

ช่วงเรตติ้งข่าวเย็น ยังคงเป็นการสู้กันของช่องใหญ่ เวลานี้ ในช่วง 1-21 ..ที่ผ่านมา ถือว่าช่อง 3 ได้สัมผัสอันดับ 1 จากเรื่องเด่นเย็นนี้ แต่เหนือเจาะประเด็นข่าวของช่อง 7 ไม่มาก 

ตามมาด้วยรายการข่าวของเวิร์คพอยท์ และช่อง 8 แต่ที่เด่นขึ้นมาคือ เรื่องพลบค่ำ” ของคู่ซี้กำภูรัชนีย์ จากช่อง 9 ที่มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น ทั้งจากรายการวิทยุและรายการข่าวหลัก เรตติ้งพุ่งมาติดอยู่ในอันดับ 5 เหนือช่องวัน และไทยรัฐทีวี 

ใน 12 อันดับแรกคือสนามของการแข่งขันระหว่างช่องทีวีดิจิทัลประเภทวาไรตี้และเอชดีทั้งหมด

รวมถึง รายการ คนชนข่าว ของ โมนัย เย็นบุตร อดีตคนเนชั่นทีวี ที่ย้ายมาอยู่ค่ายทรูโฟร์ยู ก็สามารถสร้างเรตติ้งได้พอสมควรอยู่ในอันดับ 12 

ส่วนกลุ่ม 13-22 เป็นผลงานของช่องทีวีดิจิทัลประเภทข่าวแทบทั้งหมด ตั้งแต่รายการ ข่าวชนข่าว จากช่องนิวทีวี ที่มี เจ๊ปอง-อัญชะลี ไพรีรัก เป็นตัวชูโรง มีเรตติ้งเหนือกลุ่มช่องประเภทข่าวทั้งหมดโดยอยู่ในอันดับ 13  ตามจี้มาด้วย เก็บตกจากเนชั่น ของเนชั่นทีวี และรายการข่าว GMM นิวส์ เย็นนี้ ของ GMM25 ที่เป็นช่องวาไรตี้ช่องเดียว ที่มาติดอยู่ในอันดับที่ 15

สูตรสำเร็จของข่าวช่วงเย็น หลายช่องเน้นให้มีการเล่าข่าวแบบขยายความให้ข้อมูลเกี่ยวกับข่าวใหญ่ มากขึ้น 

***ข่าวค่ำช่องใหญ่ขอบันเทิง เปิดเวทีข่าวช่องเบอร์รอง 

ช่วงรายการข่าวค่ำที่ไม่ใช่แค่เล่าข่าว เพราะหลายเรื่องเกิดขึ้นตั้งแต่เช้า เหตุการณ์จบแล้วตั้งแต่บ่าย เย็น ตอนเย็นถ้าไม่ใช่เพราะลีลา การเล่าเร้าใจ ก็ต้องมีรูปแบบนำเสนอที่สร้างสรรค์ เพื่อขยายความข่าวที่เกิดขึ้นโอกาสทำเรตติ้งก็ไม่ยาก

และยิ่งช่วงเวลาหลัง 18.00 .ที่ช่องใหญ่เจาะกลุ่มแมส เรื่องเสนอข่าวบันเทิง ละคร วาไรตี้แล้ว ทำให้เป็นโอกาสของช่องรอง ลงไปใน 10 อันดับแรก จึงเป็นพื้นที่ของช่องวัน ไทยรัฐ อมรินทร์ พีพีทีวี นิวทีวี

การขยายความข่าวด้วยการทอล์คช่วงหลัง 6โมงเย็น จึงเข้มข้นมากันเต็ม อย่างรายการ ถามตรงตรง ของจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ อดีตลูกหม้อเนชั่น ช่องไทยรัฐ ได้เรตติ้งอยู่ในอันดับ 4 ชนะ ”ต่างคนต่างคิด” ดำเนินรายการโดยพุทธ อภิวรรณ ช่องอมรินทร์ ที่ได้อันดับ 6 

ใน 10 อันดับนี้ ยังมีอีกสองรายการของไทยรัฐ คือรายการไทยรัฐนิวส์โชว์  อยู่อันดับ 3 และ  ข่าวใส่ไข่  อันดับ 8 ที่ได้ดาราอย่าง มดดำ,กรรชัยม้า อรนภาเหมี่ยว ปวันรันต์ และ รถเมล์ คะนึงนิจ มาเล่าข่าวสไตล์ก็อสซิปข่าวบันเทิง

รายการข่าวอีกรายการ ที่อยู่ในท็อปเทน คือ เข้มข่าวค่ำ ของพีพีทีวี ทีมีตัวหลักอย่าง ”เสถียร วิริยะพรรณพงศา อดีตลูกหม้อเนชั่นอีกคน ได้เรตติ้งอันดับ 9 และ 12 ที่เสถียรจัดรายการฮาร์ดทอล์ค เป็นเรื่องเป็นข่าว” 

ขณะที่ เจ๊ปอง อัญชรีย์ ไพรีรักษ์ ก็ดันให้รายการนิวหมายข่าวของช่องนิวทีวี มาอยู่ในอันดับ 10 ได้ 

สำหรับวอยซ์ทีวีที่เป็นสถานีทีวีดิจิทัลรายล่าสุดที่ประกาศลดพนักงานลง 127 คน มีรายการข่าวที่เรตติ้งสูงสุดในช่วงค่ำคือ รายการ โอเวอร์วิว ที่จัดรายการโดยพิธีกรสายฮาร์ดคอร์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ อยู่ในอันดับ 18 ในขณะที่รายการ ใบตองแห้ง ออนแอร์ ของ อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง อยู่ในอันดับ 20.

]]>
1152144
สมรภูมิข่าวเดือด ทีวีดิจิทัลเปิดศึกชิง “พิธีกร” https://positioningmag.com/1145844 Wed, 08 Nov 2017 22:55:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145844 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการทีวีในยุคทีวีดิจิทัล พิธีกรข่าว “ตัวจริง” ยังมีที่แลนดิ้ง ย้ายเปลี่ยนช่อง บางคนก็ยังถูกแย่งชิง และบางช่องยอมลงทุนซื้อตัวข้ามช่อง จ่ายค่าฉีกสัญญา หลังจากตลาดเงียบมาสักพัก

ข่าวฮือฮาก่อนหน้านี้ คือการสลับตัวพิธีกรข่าวหลักระหว่าง “ช่องวัน” กับ “ไทยรัฐทีวี” นี่ไม่ใช่โครงการแลกเปลี่ยนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ แต่คือการวางยุทธศาสตร์หน้าจอที่ต่างกันของทั้งสองช่อง

ช่องวันรุกหนักในการปรับปรุงรายการข่าว หลังจากจัดทีมพิธีกรข่าวที่มีทั้งพิธีกรข่าวตัวจริง ผสมกับนักร้อง นักแสดง โดยมี “อุ๋ย ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์” จากช่อง 9 เป็นพิธีกรหลัก มาตั้งแต่ปี 2557 ในยุคที่ “นรากร ติยายน” เป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานบริหารข่าวช่องวัน และได้ลาออกไปแล้วตั้งแต่ปี 2559

“อุ๋ย ภาคภูมิ” ลาออกจากช่องวัน เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ไปอยู่หน้าจอ “ไทยรัฐนิวส์โชว์” ช่วงค่ำไทยรัฐทีวี

ส่วนพิธีกรข่าวของไทยรัฐทีวี ที่มานั่งแทนที่ “ภาคภูมิ” ที่ช่องวัน คือ “คิงส์ พีระวัฒน์ อัฐนาค” หลังจากที่ “คิงส์ พีระวัฒน์ ที่ย้ายมาจากมันนี่ แชนแนล มาอยู่ที่ไทยรัฐตั้งแต่ปี 2558

ไทยรัฐทีวี ใช้วิธีจ้างพิธีกรข่าวด้วยการทำสัญญาจ้างประมาณ 3 ปี เพราะช่องต้องสร้าง ต้องเทรน และโปรโมตผู้ประกาศ ซึ่งถือเป็นต้นทุน ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้น ช่องใหญ่ก็มีการดึงตัวและซื้อตัวพิธีกรข่าวกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะช่อง 3

ลือสนั่นกันว่า ช่องวันต้องจ่ายค่าฉีกสัญญาในการดึง “คิงส์” ในหลักล้านบาท ที่มาพร้อมกับทีมเบื้องหลังจากไทยรัฐอีกส่วนหนึ่ง เรื่องนี้ ผู้บริหารเครือแกรมมี่ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในช่องวัน ยอมรับว่ามีการจ่ายค่าฉีกสัญญา เพราะช่องวันต้องการรุกรายการข่าวอย่างเต็มที่ นอกจากข่าวเช้า เที่ยง เย็น แล้ว ยังมีแผนเพิ่มช่วงข่าวดึกเลทไนท์อีกด้วย

อีกช่องที่มีการทำสัญญากับพิธีกรข่าว คือช่อง 8 ค่ายอาร์เอส ที่ ดร.โด่ง องอาจ สิงห์ลำพอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 บอกว่า จำเป็นต้องทำสัญญา เพราะช่องมีการลงทุน ไม่เช่นนั้นแล้ว การย้ายค่ายเปลี่ยนช่องจะเกิดขึ้นง่าย ช่องก็ต้องสร้างใหม่ตลอดเวลา

ปัจจุบัน สมรภูมิทีวีดิจิทัลผ่านไปแล้วเกือบ 4 ปี หลายช่องเริ่มขยับปรับปรุงรายการข่าว ไม่เว้นแม้แต่ในกลุ่มช่อง 3 ที่ยังมีน้องรองคือ 3 เอสดี หรือช่อง 28 ที่บริษัทในเครือของ “เซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” เพิ่งได้เวลาช่วงเช้า ทำรายการที่ชื่อว่า “ตีข่าวเช้า” และได้อดีตพิธีกรข่าวของช่อง 8

“เอ ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์” เป็นพิธีกรหลัก ที่อยู่ระหว่างการเคลียร์สัญญากับช่อง 8

เรื่องนี้ “จอนนี่  แอนโฟเน่” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด  กล่าวว่า เป็นเรื่องระหว่างพิธีกรข่าวกับอาร์เอส ที่จะเคลียร์กัน สำหรับในเครือของช่อง 3 ไม่ได้ทำสัญญากับพิธีกรในลักษณะดังกล่าว  เรียกได้ว่าขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย

ย้อนหลังไป การซื้อตัวพิธีกรข่าวเกิดขึ้นอย่างคึกคัก เริ่มเมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อน ที่เบอร์ใหญ่ช่อง 3 ขยับตัวกวาดทั้งพิธีกรข่าว นักข่าวภาคสนาม ที่มีแนวโน้มเป็นพิธีกรข่าวได้ จากทั้งช่องเล็ก ช่องใหญ่ ซึ่งในช่วงนั้น “ประวิทย์ มาลีนนนท์” อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เคยอธิบายว่าต้องเตรียมบุคลากรไว้ ถ้ามีช่องเกิดขึ้นอีก ช่อง 3 ก็จะมีความพร้อม

ในขณะนั้น หลัก ๆ จึงมีพิธีกรข่าวที่มาจากทั้งช่อง 7 อย่าง “ไก่ ภาษิต” ที่มาอยู่ช่อง 3 ตั้งแต่ปี 2552มีบางส่วนมาจากไทยพีบีเอส และไอทีวี ทั้งพิธีกรเบอร์เล็กเบอร์ใหญ่หลายสิบชีวิต

แหล่งข่าวจากช่อง 3 เปิดเผยถึงค่าตอบแทนพิธีกรข่าวของช่อง 3 โดยทั่วไป จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ รับเป็นเงินเดือนส่วนหนึ่ง กรณีมีชื่อเสียงหน้าจอมาแล้ว ก็ได้ประมาณเดือนละ 1 แสนบาท บวกกับค่าอ่าน ที่แต่ละคนได้รับต่างกัน บางคนอาจคิดค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง รับในหลักพันหรือ 10,000 บาท บางคนเหมาเป็นค่าอ่านทั้งวัน เช่น วันละ 10,000 บาท

ส่วนทีวีดิจิทัลช่องอื่น ๆ ก็ยังต้องการพิธีกรข่าวจำนวนมาก มีหลายโมเดลที่เกิดขึ้น เช่น การนำเซเลบ หรือคนดัง รวมถึงดารานักร้องมาอ่านข่าว ขณะที่บางช่องเลือกปั้นจากคนข่าว นักข่าว ให้เป็นพิธีกรข่าวแถวหน้า ยิ่งถ้าได้คนข่าวที่มีบุคคลิก และวิธีการเล่าข่าวเฉพาะ ยิ่งเป็นสปริงบอร์ดให้รายการได้ไม่ยาก

อย่างกรณีพิธีกรข่าวที่หลายคนยกให้เป็นเบอร์ 1 มีความดังระดับอาจแทนที่ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ได้ คือ “พุทธ อภิวรรณ” ที่มาจากทีวีดาวเทียมช่องหนึ่ง และสร้างเรตติ้งรายการข่าวค่ำให้ช่องอมรินทร์ได้ในระดับผู้ชมหลักล้านต่อนาที ช่วงหนึ่งมีข่าวลือว่าจะมาอยู่ช่อง 3 ด้วยค่าตอบแทนเดือนละ 1 ล้านบาท แต่ปัจจุบัน “พุทธ” ยังคงอยู่ทำหน้าที่ในช่องอมรินทร์เช่นเดิม

หากเปรียบเทียบกับช่วงแรก ๆ ที่ “สรยุทธ” ดัง เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว ถือว่าใกล้เคียงกัน เพราะสรยุทธก็ไต่ระดับค่าอ่านจากครั้งละ 5,500 บาท มาเป็น 30,000 บาท ยังไม่นับส่วนแบ่งรายได้โฆษณาที่บริษัทของสรยุทธได้รับจากช่องอีก

ช่อง 9 พิธีกรข่าวที่เป็นพนักงานประจำ นอกจากเงินเดือนตามเกณฑ์รัฐวิสาหกิจแล้ว ยังมีค่าอ่านในแต่ละครั้ง ส่วนพิธีกรข่าวหน้าใหม่ที่เข้ามา ไม่ได้อยู่ในสถานะพนักงานประจำ ไม่ได้รับเป็นเงินเดือน แต่จะได้ค่าอ่านต่อครั้ง ถ้าได้อ่านช่วงหนึ่งของรายการข่าวหลัก จะได้ครั้งละ 1,500 บาท แต่ถ้าได้อ่านข่าวหลัก จะได้ครั้งละ 3,000 บาท

ขณะที่ช่องเล็กบางช่องจะมีการจ่ายเงินเดือนให้พิธีกรข่าว เฉลี่ยไม่เกิน 40,000 บาท แต่จะมีค่าอ่าน เช่น ครั้งละ 800-1,000 บาท ถ้าเศรษฐกิจ หรือรายได้ช่องไม่ดี ก็จะมีการตัดค่าอ่าน พิธีกรข่าวจากช่องเล็ก ๆ เหล่านี้ เมื่อมีโอกาสไปช่องใหม่ รายได้มากกว่า ก็มักจะไม่ลังเล

สำหรับบางช่องที่เลือกพิธีกรข่าวที่มีดีกรี เป็นนักแสดง คนดัง เซเลบริตี้มาก่อน จะยอมจ่ายค่าอ่านให้ครั้งละประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อคน

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงได้เห็นการย้ายช่องของพิธีกรข่าวในช่องต่างๆ จำนวนมาก เช่น จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ที่อยู่ค่ายเนชั่นมา 13 ปี และย้ายไปอยู่ช่องไทยรัฐ โมไนย เย็นบุตร จากเนชั่นทีวีไปอยู่ไทยรัฐช่วงสั้นๆ กลับมาเนชั่นทีวี และอยู่ทรูฟอร์ยู ในปัจจุบัน

บางคนที่ช่องดึงคนนอกมาจำนวนมาก และตัวเองถูกดึงจากช่องอื่นด้วย แม้จะเป็นช่องเล็กกว่า แต่มีบทบาทหลักบนหน้าจอและได้เป็นผู้บริหารด้วย ก็พร้อมไป เช่น ปราย ธนาอัมพุช และ ชาญชัย กายสิทธิ์ ที่ออกจากช่อง 3 ไปอยู่พีพีทีวี จัดรายการข่าวเช้า แทนที่บริษัทของ “บรรจง ชีวมงคลกานต์” ที่ย้ายร่วมบริหารงานข่าว และพิธีกรข่าวหลักช่องเวิร์คพอยท์ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 หลังเวิร์คพอยท์เลิกจ้างมติชนผลิตรายการข่าว

หากจะวัดที่ผลงานว่ารายการโดนใจผู้ชมหรือไม่ ก็ต้องดูเรตติ้ง ตัวอย่างเช่น รายการข่าวของวันที่ 1 พ.ย. เรตติ้ง “โชว์ข่าวเช้านี้“ ช่องพีพีทีวี ที่จัดรายการโดย ปราย กับ กายสิทธิ์ ตั้งแต่ประมาณตี 5 ถึง 8 โมงเช้า อยู่ที่ประมาณอันดับที่ 15 เรตติ้งที่ 0.09

ข่าวเที่ยงช่องวัน ที่คิงส์ เป็นแกน ได้เรตติ้ง 0.61 ในอันดับ 2 ในกลุ่มรายการข่าวเที่ยง และข่าวเย็น ได้เรตติ้ง 0.31 อยู่ในอันดับ 11 กลุ่มข่าวเย็น

ที่ช่อง 3ไก่ ภาษิต ที่รับงานเรื่องเล่าเช้านี้ โฉมใหม่ ได้เรตติ้ง 1.01 อยู่อันดับ 3 ส่วนเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ได้ 0.55 อยู่อันดับ 3

ส่วน อุ๋ย ภาคภูมิ ไทยรัฐนิวส์โชว์ ออนแอร์ช่วงแรกได้ 1.1 ช่วง 2 ได้ 0.5 โดยยังเป็นรองช่องอมรินทร์ ที่ได้ 1.3

ขณะที่  “บรรจง” ในรายการบรรจงชงข่าว ช่วงข่าวเย็น ได้เรตติ้ง 0.84 อันดับ 4 กลุ่มข่าวเย็น

“เขมทัตต์ พลเดช” ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สรุปว่า ในยุคสงครามข่าวทีวีดิจิทัลกว่า 20 ช่องนั้น พิธีกรรายการข่าวที่ผู้ชมคุ้นหน้าก็ทำให้มีโอกาสได้เรตติ้ง ซึ่งช่อง 9 เลือกวิธีการปั้นคนข่าวมาอยู่หน้าจอ แม้จะใช้เวลา แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง คือได้ภาพจำเป็นพิธีกรข่าวที่น่าเชื่อถือ ตามจุดยืนของช่องที่เติบโตมาจากความเป็นช่องข่าว

ความสำเร็จของ “รายการข่าว” ทางทีวีในยุคที่ธุรกิจทีวีแข่งเดือดเลือดสาดนี้ ไม่เพียงเสนอข่าวต้องยึดหลักของวิชาชีพสื่อเท่านั้น สิ่งสำคัญจึงมีคำตอบที่ชัดเจนว่า คือ “หน้าจอ” ในส่วนของผู้ประกาศ พิธีกรข่าว หรือนักเล่าข่าว ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพารายการให้มีเรตติ้งดี หรือไม่ดี

ในวงการรายการข่าวทีวี ถึงได้รู้ซึ้งกันดีว่า เนื้อหา รูปแบบรายการ ที่แม้ว่าทีมงานเบื้องหลังจะเตรียมมาอย่างดีแค่ไหน แต่ถ้าพิธีกร “ไม่ถึง” ทั้งการเตรียมตัวไม่ดีพอ ความรู้รอบตัวน้อย วิธีการอ่าน การเล่า ดึงผู้ชมไม่ได้ ก็นับถอยหลังถูกถอดออกจากรายการได้เลย ขณะเดียวกันใครผลงานดีเยี่ยม ช่องต่าง ๆ ย่อมอยากได้ตัวไปปั้นรายการของช่อง

ท่ามกลางการแข่งขันกันเองในธุรกิจทีวีดิจิทัล และการแข่งกับสื่อใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และที่สำคัญคือการไล่ตามความต้องการของผู้ชมให้ทัน การปรับกลยุทธ์ทุกรูปแบบจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา.

]]>
1145844
สงครามข่าวเริ่มตั้งแต่เช้า ช่อง 3 ดิ้นหนีเรตติ้งร่วง  https://positioningmag.com/1144897 Tue, 31 Oct 2017 21:55:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144897 ช่อง 33 หรือ 3 HD กำลังจะตื่นแล้ว ตั้งแต่เช้าวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยพึ่งพลังชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์มาอยู่หน้าจอ ที่ไม่ใช่แค่ระดับดันเรตติ้ง แต่ผู้บริหารช่องหวังถึงขั้นกระชากเรตติ้ง และยังเปลี่ยนตัวพิธีกรชายโดยดึงไก่ ภาษิต อภิญญาวาทมาแทนต๊ะ พิภู พุ่มแก้วมานั่งคู่กับน้องไบร์ท พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒคนเดิม ไม่เพียงเท่านั้นไก่ ภาษิตยังควบจัดรายการถึงข่าวเที่ยงด้วย 

นี่คือความเปลี่ยนแปลงหลัก ของหน่วยรบหน้าจอของช่อง 3 ใหญ่

ขณะที่น้องเล็กของช่อง คือช่อง 28 หรือ 3 SD ก็เตรียมขยับ เพื่อชิงคนดู แม้จะดูเหมือนแข่งกันเอง แต่ก็ดีกว่าปล่อยให้ไหลไปช่องอื่น จึงเริ่มทุ่มทุนกับข่าวเช้า โดยส่งทนายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์มาดันเรตติ้ง ขณะนี้รอเพียงเคาะวันออกอากาศโฉมใหม่กันอีกครั้ง

เวลานี้กลุ่มช่อง 3 จึงเหลือพี่ใหญ่ 3 HD เป็นหลักในการทำสงครามข่าวเช้า หลังจากเรตติ้งรายการตกลงเรื่อย ในช่วงเกือบ 1 ปี 8 เดือน หรือนับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ที่รายการข่าวช่องเรื่องเล่าเช้านี้มีคนดูลดลงเพราะสรยุทธ สุทัศนะจินดา” พิธีกรนักเล่าข่าว ต้องลาจอในฐานะที่เป็นผู้บริหารบริษัทไร่ส้ม ถูกศาลพิพากษาจำคุก 13 ปี 4 เดือน ในคดีความผิดฐานสนับสนุนการทุจริตเงินค่าโฆษณาเมื่อครั้งเคยทำธุรกิจกับช่อง 9   

   

คนดูทิ้งจอเกือบ 50% เมื่อไม่มีสรยุทธ

อะไรเกิดขึ้นหลังจากที่ไม่มีสรยุทธ ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลิเจนซ์ จำกัด บอกว่า จากข้อมูลเรตติ้งพบว่าผู้ชมรายการข่าวเช้าช่อง 3 หายไปเกือบ 50% แต่ไม่ได้หมายความว่าจำนวนทั้งหมดนี้จะไปดูช่องอื่น เพราะพบว่าครึ่งหนึ่งของ 50% ไม่ดูช่องใดเลย และหันไปดูสื่ออื่นแทน ส่วนที่เหลือกระจายไปชมช่องอื่น โดยช่องที่ได้เรตติ้งที่เป็นฐานแฟนเรื่องเล่าเช้านี้มากที่สุดคือ ช่อง 7 ประมาณ 15% ทำให้ช่อง 7 ได้เรตติ้งอันดับ 1 ทิ้งห่างช่อง 3 มากขึ้นในช่วงเช้า จากเดิมช่อง 3 กับช่อง 7 เรตติ้งใกล้เคียงกัน

ผู้บริหารช่อง 3 คนหนึ่งกล่าวว่า ผลกระทบของช่อง 3 นั้น ถ้าย้อนกลับไปดูเรตติ้งช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมารายการข่าวช่องใหญ่ ก็มีเรตติ้งลดลงอยู่แล้ว เพราะทีวีดิจิทัลเกือบทุกช่องมีรายการข่าว และทำได้ไม่ยาก ส่วนเรื่องความเปลี่ยนแปลงปรับทัพรายการข่าวนั้นของช่อง 3 นั้นเป็นการปรับตามปกติของธุรกิจทีวี 

อีกมุมหนึ่งคือผู้ชมทีวีลดลง เพราะใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียมากขึ้น โดยช่อง 3 ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่มีสรยุทธหน้าจอ เรตติ้งก็ลดลงเรื่อย จนเหลือประมาณ 1 กว่า ขณะที่ช่อง 7 ยังรักษาระดับ 2 กว่า และเป็นที่ 1 อย่างต่อเนื่อง 

สงครามข่าวจุดพลุไพรม์ไทม์เช้าชิงโฆษณา 25-30%

แม้จะเหลือผู้ชมครึ่งของครึ่งหนึ่งจากเรื่องเล่าเช้านี้ แต่ทุกสายตาผู้ชม ก็มีความหมายสำหรับทุกช่องทีวีดิจิทัลที่เกิดใหม่ เพราะปัจจุบันเม็ดเงินซื้อเวลาโฆษณาช่วงรายการข่าวคิดเป็นประมาณ 25-30% ซึ่งส่วนใหญ่เม็ดเงินอยู่กับช่วงข่าวเช้า แม้อัตราขายต่อนาทีจะถูกกว่าช่วงเย็น หรือค่ำ แต่เพราะหลายช่องแข่งกันเต็มที่ และให้เวลาออนแอร์นาน ทำให้ข่าวเช้าได้เม็ดเงินค่อนข้างสูง จนทำให้รายการข่าวโดยรวม ได้เม็ดเงินโฆษณามากใกล้เคียงกับรายการบันเทิงวาไรตี้ ขณะที่อีก 40-50% ซื้อโฆษณารายการละคร ที่ส่วนใหญ่ช่อง 3 และ 7 ได้ไป

ภวัต เรืองเดชวรชัย

ภวัตกล่าวว่า ช่วงเช้าจัดเป็นช่วงเวลาหากิน เวลาทำเงินของช่อง นับเป็นไพรม์ไทม์ช่วงเช้า นอกจากช่วงไพรม์ไทม์ค่ำถึงดึกเวลา 18.00-22.45 .

เวลาสู้รบชิงเรตติ้ง หลายช่องจึงเปิดศึกกันตั้งแต่ตีห้า เพื่อดึงผู้ชมแช่ช่องไว้แม้ว่าเวลาทำรายได้จริง จะเริ่มช่วง 06.00-07.00 .ก็ตาม

การเขย่าหน้าจอเรื่องเล่าเช้านี้ ช่องโดยดึงชูวิทย์ มามีโอกาสดึงผู้ชมได้หลังจากชูวิทย์ไปทดสอบอยู่หน้าจอช่องไทยรัฐมาแล้ว และพบว่าคนดูยอมรับได้แม้ว่าจะเคยต้องโทษเข้าคุกมาก่อน อย่างไรก็ตาม แค่นี้ไม่พอต้องมีไก่ ภาษิตมาเป็นหลักคู่กับน้องไบร์ทที่เชื่อมโยงภาพจำกับสรยุทธ” 

เวลาข่าวเช้าเป็นช่วงเวลาปราบเซียนสำหรับคนทำงานทีวีนี่คือความเห็นของ เขมทัตต์ พลเดช ที่เคยผ่านทั้งเอเจนซี่โฆษณา ผู้บริหารทีวีดิจิทัลพีพีทีวี และล่าสุด นั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

แม้จะยากแต่ทุกช่องต้องทำ เพื่อดึงผู้ชมให้ได้ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ดูทีวีแต่ฟังเล่าข่าว ต้องรีบไปทำงาน หรือไปทำสวนทำไร่ สำหรับ อสมท เลือกพิธีกรข่าวที่คนคุ้นเคย เพื่อช่วยดึงผู้ชม อย่างที่หลายๆ ช่องก็เชื่อว่าแบบเดียวกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ช่อง 3 เลือกเปิดเกมอีกรอบด้วยชูวิทย์” 

นี่คือปัจจัยหนุนที่จะทำให้คนดูเปิดช่องและดูต่อ เพราะมีคนดัง หรือคนคุ้นเคยมาอยู่หน้าจอ นอกเหนือจากเนื้อหาที่รายการข่าวซึ่งในปัจจุบันพบว่า รายการข่าวแต่ละช่องนำเสนอไม่ต่างกัน จนรายการข่าวช่วงเช้าที่ช่องทีวีดิจิทัลได้ผู้ชมมากขึ้นอย่างน่าจับตาคือ ช่อง 27 หรือ ช่อง 8 อาร์เอส ที่ไล่จี้ช่อง 3 มาติด ตามมาด้วยช่อง 23 เวิร์คพอยท์ และช่อง 31 วัน 

ช่อง 8 จัดเต็ม (อยู่แล้ว) ชิงฐานช่อง 3

การขยับของช่อง 3HD ล่าสุดนี้ แน่นอนว่าคือการส่งความท้าทายไปที่ช่อง 8 เพื่อชิงคนดูกลุ่มคนเมือง และตามหัวเมืองกลับมา หลังจากที่ช่อง 8 พยายามเบียดช่อง 7 เพื่อดึงคนดูกลุ่มแมส แต่ไม่ใช่ง่าย จึงได้เบนเข็มเข้าหากลุ่มคนเมือง หัวเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นฐานของช่องท่ามกลางความอ่อนแอของช่อง 3

ดร.องอาจ สิงห์ลำพอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 บอกว่า รายการข่าวช่อง 8 มีฐานผู้ชมประจำที่มีคนเมือง หัวเมืองใหญ่มากขึ้น ผู้ชาย และผู้หญิงมีจำนวนพอ กัน ได้กลุ่มผู้ชมหลากหลาย บางคนตื่นเช้าดูตอนตีห้า นับเป็นรายการข่าวที่ยาวที่สุดตั้งแต่ตีห้าจนถึง 9 โมงเช้า จนได้กลุ่มผู้ชมทั้งแม่บ้าน และคนไปทำงาน 

ความสำเร็จในการทำเรตติ้ง เพราะพัฒนารายการข่าวที่เน้นการคุยข่าวแบบให้ผู้ชมเข้าใจง่าย ที่สำคัญเน้นเลือกข่าวที่ผู้ชมสนใจ ข่าวที่รับชมแล้วได้ข้อมูลสาระ เป็นประโยชน์ และไม่ทำให้ผู้ชมตกข่าว

วิธีการทำงาน ต้องวัดผลเป็นรายนาที ทำให้พบได้ว่าข่าวแบบไหนโดนใจหรือไม่โดนใจผู้ชม ส่วนการปรับเปลี่ยนของช่อง 3 นั้น ไม่ได้มีผลทำให้ช่องต้องปรับอะไร เพราะปกติปรับตัวตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่จะทำเนื้อหาให้ดีขึ้น โดยผู้ประกาศยังคงเป็นชุดเดิมในปัจจุบัน แต่คู่แข่งทำอะไรก็ต้องศึกษาเป็นเรื่องปกติ

อาร์เอส สร้างความจดจำได้แล้วระดับหนึ่งว่าหากนึกถึงช่อง  8 ก็นึกถึงรายการข่าว ซึ่งปัจจุบันมีรายการข่าวในผังประมาณ 30% ซึ่งข่าวเช้าเป็นช่วงข่าวที่เรตติ้งสูงสุดเมื่อเทียบกับข่าวช่วงเวลาอื่นของช่อง ขายโฆษณาได้ราคาสูงสุด จากเดิมเริ่มต้นหลักหมื่น และเป็นหลักแสนในปัจจุบัน และมีแผนจะปรับราคาขึ้นอีก ตามเรตติ้งที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาพรวมของช่อง

นี่คือเหตุผลที่ทีมข่าวช่อง 8 มีกว่า 200 ชีวิต มีทีมข่าวประมาณ 16-17 ทีม และปัจจุบันทำรายได้น่าพอใจ คุ้มกับการลงทุน โดยเชื่อมั่นว่าคนจะดูข่าวมากขึ้นเรื่อย เพราะพิสูจน์แล้วว่ารายการข่าวสามารถทำรายได้ และเป็นหัวหอกสำคัญของช่อง 8

ช่องวาไรตี้ยึดฐานช่องข่าวตัวจริง

ในมุมของผู้ชมบางคน และผู้บริหารช่องวาไรตี้แล้ว เห็นภาพชัดว่า ในสถานการณ์ปกติ รายการข่าวก็ดูที่ช่องวาไรตี้ได้ ไม่จำเป็นต้องกดรีโมตไล่หาช่องทีวีดิจิทัลกลุ่มข่าว เพราะรายการข่าวก็คือรายการข่าว

เหตุผลหนึ่งคือคนข่าวตัวจริง ได้กระจายไปทำงานอยู่ในช่องวาไรตี้จำนวนมาก และหากดูจากเรตติ้งแล้ว ช่องข่าวเองก็อยู่ในลำดับท้ายของทีวีดิจิทัล เพราะผังรายการในช่องวาไรตี้ที่หลากหลายทำให้ส่งต่อมาถึงรายการข่าวอย่างชัดเจน 

ดร.องอาจ อธิบายว่า เมื่อ กสทชกำหนดให้ช่องวาไรตี้มีรายการข่าวสาระ 25% ของผังรายการ ทุกช่องต้องทำ และทำอย่างเต็มที่ และทำได้ไม่ต่างจากช่องข่าว ขณะที่ผังรายการมีความหลากหลาย โดยเฉพาะรายการบันเทิง เพราะโดยพฤติกรรมผู้ชมเอง ไม่มีใครที่อยากเสพข่าวตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นทางเลือกสร้างแฟนประจำช่องมากกว่า 

ขณะเดียวกันการทำรายการข่าวเองก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความบันเทิง ไม่ได้หมายถึงข่าวเป็นเรื่องสนุก แต่หมายถึงวิธีการนำเสนอข่าวสาร สาระที่ให้ประโยชน์ ที่คนดูรับชมและชอบ จึงทำให้สภาพธุรกิจทีวีดิจิทัลที่เกิดขึ้น รายการข่าวในช่องวาไรตี้จึงได้เรตติ้งมากกว่าช่องข่าวตัวจริง

ปรากฏการณ์การแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิทัลผ่านมาแล้วประมาณ 3 ปี หลังเริ่มมาตั้งแต่ปี 2557 จากอายุใบอนุญาตทั้งหมด 15 ปี หลายคนอ่อนล้า แต่หลายคนก็สตรองขึ้นเรื่อย เพราะสมรภูมิธุรกิจหลายหมื่นล้านนี้ ทุกนาทีคือเม็ดเงิน หากใครตามผู้ชมไม่ทัน บางคนเคยชนะ วันหนึ่งก็อาจแพ้ก็เป็นได้.

]]>
1144897