สถาบันคีนันแห่งเอเชีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Sep 2010 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สสว. จับมือคีนัน ติวเข้มผู้ประกอบการ SMEs ไทย ดึงกูรู 7 ประเทศอาเซียนถ่ายทอดกลยุทธ์การตลาด https://positioningmag.com/53010 Wed, 08 Sep 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53010

สสว.จับมือคีนัน ติวเข้มกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ไทย จัดงานสัมมนา “กูรูอาเซียน ชี้ช่อง SMEs ไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก” พร้อมเชิญกูรูเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จจาก 7 กลุ่มธุรกิจ จาก 7 ประเทศใน ร่วมถ่ายทอดกลยุทธ์การตลาดและแนวทางการพัฒนาสินค้าให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย ใช้เป็นแนวทางพัฒนาธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ หลังเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน คาดมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 200 ราย

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี หรือ สสว. เปิดเผยว่า หลังจากประเทศในกลุ่มอาเซียนบรรลุข้อตกลงการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายการค้า การลงทุน และการบริการ ภายในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ของไทย ที่จะต้องปรับตัวเพื่อเผชิญกับการแข่งขันทางธุรกิจจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ สสว.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ของไทย ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้แข่งขันกับการเปิดตลาดการค้าเสรี ให้ก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจในระดับภูมิภาคอาเซียน เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย เพื่อรับมือกับการเปิดตลาดการค้าเสรี เพื่อก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจในระดับภูมิภาคอาเซียน

ดังนั้น สสว. จึงได้ร่วมกับ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย จัดงานสัมมนาเรื่อง “กูรูอาเซียน ชี้ช่อง SMEs ไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก” ขึ้นในระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2553 ที่ห้องบอลรูม 1 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานจากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย และผู้ประกอบการ SMEs อาเซียน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย ได้ศึกษาความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs อาเซียน+3 ในการทำตลาด พร้อมรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการทำธุรกิจเพื่อถ่ายทอด ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย นำไปใช้ในการพัฒนาและปรับกลยุทธ์ในการทำตลาดในต่างประเทศต่อไป

“กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ถือเป็นกลุ่มที่เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 98 ของธุรกิจทั้งหมดของอาเซียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ของไทย จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

ด้าน นายพอล วิเด็ล ประธานอำนวยการและกรรมการอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นการเตรียมพร้อมให้กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ของไทย เพื่อรับมือการแข่งขันหรือต้องรุกขยายตลาดในต่างประเทศ โดยไฮไลต์ของงานสัมมนาในครั้งนี้ ได้เชิญกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกจาก 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ใน 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรมของเล่น เฟอร์นิเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ สิ่งพิมพ์ แฟชั่น และกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ เข้ามาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำตลาด ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ

สำหรับวิทยากรที่เข้ามาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้การทำธุรกิจในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารค่ายเพลง JYP เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบันเทิงจากประเทศเกาหลี ผู้บริหารลอฟท์ (LOFT) ร้านสเปเชี่ยลตี้สโตร์จากประเทศญี่ปุ่นที่นำเสนอสินค้าแปลกใหม่ดีไซน์ที่ไม่ธรรมดา ผู้ก่อตั้งบริษัท แบรนด์ 77th Street เสื้อผ้าแนวสตรีทแวร์จากประเทศสิงคโปร์ และประธานบริหาร บริษัท วันเดอร์เวิร์ล โปรดัคส์ จำกัดที่เป็นแบรนด์ของเล่นจากไทยที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดและส่งออกสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศต่างๆ ในยุโรป เป็นต้น

ทั้งนี้ คาดว่า การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ จะได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ของไทย สนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนาไม่ต่ำกว่า 200 ราย โดยผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

]]>
53010
อบรมหลักสูตร “การบริหารการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร” https://positioningmag.com/52432 Tue, 29 Jun 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52432

มูลนิธิซิตี้ ธนาคารซิตี้แบงก์ และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย  ผนึกกำลังจัดการอบรมหลักสูตร “การบริหารการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร”

มูลนิธิซิตี้ ธนาคารซิตี้แบงก์ และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการบริหารการเงินสำหรับ SMEs “การบริหารการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร” ซึ่งหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้บริหารระดับสูงที่มีพื้นฐานทางการเงินแล้ว หรือเจ้าของกิจการ ผู้จัดการการเงิน การบัญชีที่ต้องการพัฒนาความรู้ด้านกลยุทธ์การเงินระดับมืออาชีพ

การสัมมนาจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6, 8, 13 และ 15 กรกฎาคม 2553 นี้ เวลา 9.00 น. – 16.00 น. ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ

**สมัครด่วนตั้งแต่วันนี้ – 2 กรกฎาคม 2553

หมายเหตุ: ที่นั่งมีจำนวนจำกัด ติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่: ติดต่อ คุณสรินพร หรือ คุณปาริชาติ หรือ คุณสุวิภาโทร 0-2229-3131-2 ต่อ 306, 315, 275

หน่วยที่ปรึกษาทางการเงิน สถาบันคีนันแห่งเอเซียอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น2 โซนดี ห้อง 201/260 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวง คลองเตย เขต คลองเตยกรุงเทพฯ 10110 โทรสาร 0-2229-3130 E-mail:sarinporns@kiasia.org;paricharts@kiasia.org; suviphac@kiasia.org Website: www.kiasia.org

]]>
52432
เผยผลศึกษา Creative Economy สร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยล้านล้านบาท https://positioningmag.com/50762 Wed, 03 Feb 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=50762

ผลจากการศึกษาของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ชี้ 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจไทย 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 10 ของ GDP ประเทศ โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอีกหากได้รับการสนับสนุนด้านห่วงโซ่มูลค่าและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้เข้มแข็งขึ้น

ฯพณฯ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในสัมมนา “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 ว่า ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือ Creative Economy ของรัฐบาล และได้สนับสนุนให้สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังและสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ดำเนินโครงการศึกษามูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย

ทั้งนี้ จากการศึกษาของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง พบว่า เมื่อเปรียบเทียบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยกับต่างประเทศ จะพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเชิงสร้างสรรค์ของไทยสูงประมาณ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีส่วนแบ่งตลาดโลกอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เป็นรองเพียงประเทศในกลุ่ม OECD อินเดีย และจีน ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าเชิงสร้างสรรค์ของไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยจึงมีศักยภาพในการที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดงานเปิดตัวโครงการ Creative Thailand อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศ จากร้อยละ 12 ของ GDP เป็นร้อยละ 20 ของ GDP ภายในปี 2555

“ผมยังได้พยายามแสวงหาความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิก เช่น องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และอังค์ถัด ซึ่งจากการปรึกษาหารือกับผู้อำนวยการใหญ่ของทั้ง 2 องค์การในหลายโอกาส ล้วนแสดงความพร้อมและความกระตือรือร้นที่จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคกับไทย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเจนีวา ได้พบหารือกับนาย James Pooley รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ด้านสิทธิบัตร และ นาย Trevor Clarke ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ด้านลิขสิทธิ์ ซึ่งดูแลรับผิดชอบ Creative Enterprises Division ของ WIPO ด้วย” นายอลงกรณ์กล่าว

โดยได้ใช้โอกาสดังกล่าวหารือเรื่องบทบาทและความร่วมมือกับด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยจะร่วมกันจัดสัมมนาระดับภูมิภาคที่ไทยในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันโครงการ Creative ASEAN ที่ได้เสนอไว้ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อกลางปีที่แล้ว ทั้งนี้ ทางองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกได้แสดงความชื่นชมไทยอย่างมาก ที่มีความมุ่งมั่นในการนำนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาประเทศ มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น และเชื่อมโยงทรัพย์สินทางปัญญากับภาคธุรกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ นอกจากนี้ ในอนาคตอาจจะดึงให้ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ หรือ International Trade Center (ITC) ซึ่งเป็นองค์กรลูกของอังค์ถัดที่เน้นภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

“เราได้แสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีศักยภาพหรือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างเครือข่าย และพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย เช่น การประสานความร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สหรัฐฯ (MPAA) Sony Pictures และ Time Warner เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และแอนิเมชั่นไทย การร่วมมือกับกลุ่ม LVMH ผู้นำด้านสินค้าแฟชั่นระดับสูงส่งเสริมผ้าไหมไทย เป็นต้น ดังนั้น ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา ผมมั่นใจว่าการดำเนินตามนโยบายจะบรรลุผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ซึ่งเป็นแกนหลักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมมือร่วมพลังกัน” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ขณะที่นายนิตย์ พิบูลย์สงคราม ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันคีนันแห่งเอเซียและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า จุดประสงค์ของการศึกษาเรื่อง “มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม” ครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และความจำเป็นในการคุ้มครองทรัพย์สินสร้างสรรค์ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งรายงานนี้ยังได้ประเมินความเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวครอบคลุมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 9 อุตสาหกรรม ได้แก่ การพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนทำด้วยไม้ การผลิตยารักษาโรค อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และสถาบันวิจัย นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สามารถจัดอยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แต่ไม่ได้ถูกรวมไว้ในการศึกษานี้ เนื่องจากความไม่พร้อมด้านข้อมูล และไม่สามารถเปรียบเทียบกับการศึกษาอื่นได้ เช่นของสิงคโปร์

จากการศึกษาพบว่า 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจไทยประมาณหนึ่งล้านล้านบาท หรือ ร้อยละ 9.53 ของ GDP และการใช้จ่ายของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการส่งผลให้เกิดการผลิตในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 1 บาทในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ จะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมอื่นสร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 2.14 และ 1.50 บาท ในระบบเศรษฐกิจรวม ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมหลักทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการ ยังมีการนำผลผลิตจากอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์มาใช้เป็นปัจจัยการผลิตด้วย
รายงานยังชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อเทียบกับประเทศที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบอื่นๆ ยังพบว่าผลกระทบของตัวคูณทวีนั้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทยยังมีการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สิงคโปร์ การเสริมสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเร่งการพัฒนา และในที่สุด จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ในระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้น

การศึกษาชี้ว่า ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การศึกษาได้ทำการประเมินผลกระทบของการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาใน 4 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พบว่ามีมูลค่าถึง 14 พันล้านบาท ทั้งนี้ไม่รวมผลกระทบทางอ้อมอีก 9 พันล้านบาทในอุตสาหกรรมอื่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมผลิตยา 6.6 พันล้านบาท ให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 3.7 พันล้านบาท ให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.8 พันล้านบาท และให้กับอุตสาหกรรมดนตรี 1.7 พันล้านบาท ขณะที่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและสินค้าปลอมแปลงส่งผลกระทบทางลบแก่แบรนด์และการลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ดนตรี และการผลิตยา ทั้งกับบริษัทในและต่างประเทศ

“การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาลดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์และลงทุน” ผลการศึกษาระบุพร้อมทั้งเตือนว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการสนับสนุนองค์กรอาชญากรรม และในเรื่องของยา การศึกษาอ้างถึงการสำรวจยาต้านเชื้อมาเลเรียในพื้นที่ ไทย-กัมพูชา พบยาปลอมถึง 38% ส่งผลให้การรักษาโรคล้มเหลวและอาจทำให้เกิดอาการดื้อยาได้ ซึ่งถือเป็นผลเสียที่ร้ายแรงอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าวยังได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยทั่วไป ดังนี้
• การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ควรดำเนินการควบคู่กันไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงความรู้ เนื่องจากทั้งความรู้และความคิดสร้างสรรค์ต่างก็เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกันอยู่
• ควรมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่มูลค่าในด้านความคิดสร้างสรรค์
• ปรับปรุงระบบทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะขั้นตอนและกระบวนการจดสิทธิบัตรและการบังคับใช้สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์
• สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับบุคคลทั่วไปว่าการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นรูปแบบหนึ่งของการขโมยและส่งผลทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
• ภาครัฐควรมีนโยบายดึงดูดผู้มีความสามารถด้านการสร้างสรรค์ให้มาทำงานในประเทศไทย และลดอุปสรรคให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้สามารถเข้ามาทำงานได้ง่ายขึ้น
• ลดความล่าช้าในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมใหม่ๆ มาใช้ เช่น WiMax และ 3G ซึ่งมีความสำคัญมากกับอุตสาหกรรม IT และบันเทิง

เกี่ยวกับสถาบันคีนันแห่งเอเซีย
สถาบันคีนันฯ ให้บริการในการบริหารโครงการ ให้คำปรึกษา จัดการฝึกอบรม รวมถึงดำเนินการวิจัยให้แก่ ภาคธุรกิจ รัฐบาล และ กลุ่มองค์กรระหว่างประเทศ สถาบันคีนันฯ มีความเชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการ การพัฒนาเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ นวัตกรรมการศึกษาและเยาวชน การสาธารณสุข การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ

ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดระยะเวลา 13 ปีในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สถาบันคีนันฯ ได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินการ และบริหารจัดการโครงการ รวมเป็นมูลค่ากว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากภาคธุรกิจ รัฐบาล และ กลุ่มองค์กรระหว่างประเทศ

]]>
50762
สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ https://positioningmag.com/50752 Tue, 02 Feb 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=50752

ฯพณฯ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ซ้าย)) ดร.มานะ ลักษมีอรุโณทัย ผู้แทนวิจัย-สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (ขวา) นายพอล วิเด็ล ประธานสถาบันคีนัน (กลาง) ร่วมแถลงข่าว “โอกาสและความท้าทายของ Creative Economy ในสายตารัฐและเอกชน” : เผยผลการศึกษาเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม จัดโดยสถาบันคีนันแห่งเอเซีย โดยโอกาสนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบผลการศึกษาเกี่ยวกับมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมดังกล่าวจากคณะผู้จัดทำผลศึกษาด้วย

]]>
50752
คีนันผุดโครงการช่วยธุรกิจเอสเอ็มอี ลดผลกระทบ- เพิ่มขีดแข่งขันรับ EU FTA https://positioningmag.com/48005 Fri, 05 Jun 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48005

สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ผุดโครงการหาความช่วยเหลือธุรกิจ SME ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้ากับสหภาพยุโรป โดยใช้เวลาศึกษา 16 เดือน ก่อนจะนำเสนอข้อมูลที่ได้ต่อภาครัฐ ภาคเอกชน และสาธารณชน เพื่อหาทางลดผลกระทบและพลิกสร้างโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจ

นายพอล วิเด็ล กรรมการอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย เปิดเผยว่า ทางสถาบันได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมตัวรองรับการเปิดเสรีทางการค้าของประเทศไทยกับสหภาพยุโรป ซึ่งบางธุรกิจจะได้ประโยชน์เต็มที่ แต่บางธุรกิจอาจได้รับผลกระทบบ้าง จึงได้เกิด “โครงการหาความช่วยเหลือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยเพื่อลดผลกระทบจาก Thailand –EU FTA” ขึ้น โดยหวังว่าโครงการนี้ จะทำให้รู้อย่างชัดเจนถึงเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับการค้าการลงทุนในประเทศไทย รวมถึงการค้าการลงทุนที่ทำระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทย ด้วย

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะมีการศึกษาถึงแง่มุมต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งผลกระทบในด้านบวกและด้านลบ โดยจะคัดเลือก 10 ภาคธุรกิจหลักขึ้นมาศึกษา ซึ่งผลที่ออกมาน่าจะสามารถหาทางลดผลกระทบ และอาจช่วยพลิกสถานการณ์ของบางธุรกิจจากที่อาจถูกกระทบให้กลับเป็นฝ่ายที่ได้รับโอกาสที่ดีได้ด้วย นอกจากนี้ โครงการยังจะศึกษาการช่วยเหลือของภาครัฐที่ทำอยู่แล้ว ว่ามีอะไรบ้าง พร้อมทั้ง ศึกษานโยบายการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมที่จะลดผลกระทบด้านลบ และสร้างความแข็งแกร่งในเชิงการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอี

กรรมการอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ยังกล่าวอีกว่า โครงการนี้ได้รับทุนศึกษาวิจัยเป็นจำนวนเงิน 100,000 ยูโร หรือประมาณ 4,576,400 บาท จากสหภาพยุโรป และยังเป็นโอกาสดีที่จะได้รับฟังความเห็นจากองค์กรทางวิชาการ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ทั้งนี้โครงการนี้ จะทำในรูปแบบการสัมภาษณ์ การวิจัย และการสัมมนา ซึ่งจะจัดขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 และจะรวบรวมข้อมูลนำเสนอต่อสาธารณชนในงานสัมมนาใหญ่ ที่จะจัดขึ้นเดือนพฤษภาคม 2553

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล หรือติดตามดูรายละเอียดและแสดงความคิดเห็น ที่เว็บไซต์ www.kiasia.org หรือจะส่งอีเมล์มาได้ที่ SME-FTA@kiasia.org ทั้งนี้ โครงการหาความช่วยเหลือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยเพื่อลดผลกระทบจาก Thailand–EU FTA คาดว่าจะสิ้นสุดโครงการภายในเดือนมิถุนายน 2553

]]>
48005
KBankจับมือKIAsia พัฒนาเอสเอ็มอีไทย ด้านการขนส่งและซัพพลายเชน https://positioningmag.com/34352 Thu, 03 May 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34352

ธนาคารกสิกรไทยหนุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทยสุดตัว ล่าสุดจับมือกับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย (KIAsia) จัดโครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอีไทยด้านการขนส่ง และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน นำร่องด้วยธุรกิจของผู้ประกอบการ 15 ราย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปขยายผล ช่วยเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วประเทศ

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารมีนโยบายส่งเสริมให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยเติบโตอย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการ K SME Care ขึ้น เพื่อมอบเครื่องมือในการทำธุรกิจอย่างครบวงจร ทั้งด้านเงินทุน การให้ความรู้ ข้อมูล และคำปรึกษาให้แก่บรรดาผู้ประกอบการ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต้องอาศัยทรัพยากรที่ธนาคารและบริษัทในเครือมี รวมทั้งความร่วมมือจากพันธมิตรภายนอก

ล่าสุด ทางธนาคารจึงได้ร่วมมือกับสถาบันคีนันแห่งเอเชีย หรือ KIAsia จัดโครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางด้าน Logistics and Supply Chain Management ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยทั่วประเทศ เพื่อช่วยศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการบริหารจัดการด้านการขนส่งและห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวที่เกิดขึ้นในธุรกิจของผู้ประกอบการ พร้อมนำเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยมีรากฐานด้านการจัดการที่แข็งแกร่ง

ในเบื้องต้น ทางธนาคารได้คัดเลือกธุรกิจผู้ประการเอสเอ็มอีไทยที่มียอดขายไม่เกิน 400 ล้านบาท จำนวน 15 ราย เข้ารับการวิเคราะห์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการของธุรกิจ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ระบบการจัดการด้วยเครื่องมือ Logistic Audit & Implementation Methodology หรือ LAIM ซึ่งจะวิเคราะห์ต้นทุนการขนส่งต่อกิจกรรม ทำให้ทราบต้นทุนที่แท้จริง พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาด้านการจัดการการขนส่งและห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้น และระบุถึงสาเหตุ จากนั้นนำเสนอผลที่ได้ผ่านเครื่อง Cause and Effect Diagram ใช้เวลาประมาณ 9 เดือน ทั้งนี้ธนาคารจะนำผลการวิเคราะห์ธุรกิจทั้ง 15 รายไปปรับใช้กับธุรกิจของผู้ประกอบการไทยรายอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในรูปแบบของการจัดงานสัมมนา และการจัดทำเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ก รวบรวมกรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานด้านการขนส่งไว้ทั้งหมด

โครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางด้านการขนส่งและการจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ K SME Care ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและ KIAsia ซึ่งเป็นพันธมิตรล่าสุดของธนาคาร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED จัดโครงการช่วยวินิจฉัยธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการส่งเสริมการจัดการที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยนำเสนอหลักสูตรเพื่อพัฒนาความรู้ที่หลากหลายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ

]]>
34352
หน่วยพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม หลักสูตร “กลยุทธ์การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” https://positioningmag.com/34202 Wed, 25 Apr 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34202

หน่วยพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม ฝ่ายพัฒนาความสามารถทรัพยากรมนุษย์ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย จัดกิจกรรมฝึกอบรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม : หลักสูตร “กลยุทธ์การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ”

วันที่ 17 -18 พฤษภาคม 2550 เวลา 8.30 – 17.00 น.

สถานที่ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ ภาษา ไทย

วิทยากร ดร. อัศนียา สุวรรณศิริกุล
อ. พิเศษ วิทยากร และที่ปรึกษา
การทำโครงการเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างรัฐ-เอกชน – ชุมชน
“ โครงการคุณภาพชีวิตคนทำงานและพนักงานจิตอาสา”

อ. กิตติ คัมภีระ
ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันคีนันแห่งเอเซีย
อ. พิเศษ วิทยากร และที่ปรึกษา เชิงเทคนิคสาขาสิ่งแวดล้อม
การสื่อสารสาธารณะ รัฐ – เอกชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรนี้เป็นหลักสุตรที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีเนื้อหาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบแก่ภาคธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะนำเสนอกลยุทธ์ แนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้มากที่สุดอย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงการเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ และความไว้วางใจกับชุมชนแวดล้อมและกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนเรียนรู้เกณฑ์ในการประเมินสถานภาพของธุรกิจและชุมชนรอบข้าง รวบรวมและจัดลำดับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น และสร้างกระบวนการเพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอย่างยั่งยืนในองค์กร

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
– ผู้บริหารระดับสูงทุกท่าน
– เจ้าหน้าที่ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
– เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และ ชุมชนสัมพันธ์
– ผู้ที่สนใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ

ประโยชน์อื่นๆที่จะได้รับ
– แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในสายงานเดียวกันจากบริษัทชั้นนำต่างๆ
– เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้บุกเบิกในการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในประเทศไทย

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณ จิรัญญา หรือคุณวีณา
โทร. 02229-3131 ต่อ 232 หรือ 109 อีเมลล์ scc@kiasia.org

]]>
34202
คีนันฯ จัดงานสัมมนาหัวข้อ “การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ” https://positioningmag.com/27668 Sun, 05 Feb 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=27668

คีนันฯ เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ จัดสัมมนาใหญ่ครอบรอบ 10 ปี เปิดเวทีระดมสมองแลกเปลี่ยนประสบการณ์หาข้อสรุป “การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ” เสนอรัฐบาลใช้ประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์ต่อไป

นายพอล วิเด็ล กรรมการอำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการจัดงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2549 นี้ คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ซี่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน จึงได้มีมติเห็นชอบให้จัดการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ” (Development Around Suvarnabhumi Airport – Planning to get it right)

“การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบรับกับการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคอาเชียอาคเนย์อย่างเต็มภาคภูมิ ที่คงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ของชุมชนเมืองโดยรอบ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงถือเป็นประโยชน์และจำเป็นในการนำมาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา…”

กรรมการอำนวยการ สถาบันคีนันฯ กล่าวและว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการแบบบูรณาการเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย สถาบันคีนันฯ เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้งดำเนินงาน และจะครบรอบการดำเนินงานเป็นปีที่ 10 ในปีนี้นั้น จึงได้ถือเอาโอกาสอันดีเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการดำเนินงานของสถาบันฯ จัดสัมมนาในหัวข้อดังกล่าว

ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดสัมมนาในครั้งนี้เป็นเวทีในการแสดงวิสัยทัศน์ ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในระดับนานาชาติ และจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และหรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป

การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มาเปิดการสัมมนาและแสดงวิสัยทัศน์ด้านศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันที่จะส่งผลต่อการก้าวสู่การเป็น Hub / ศูนย์กลางธุรกิจ พาณิชย์ การท่องเที่ยว รวมถึงแผนการพัฒนานครสุวรรณภูมิ

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในระดับสากล อาทิ ดร.จอห์น คาซาร์ดา (Dr. John Kasarda) กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันคีนันแห่งสหรัฐอเมริกา มากล่าวในหัวข้อ โอกาสมหาศาลในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ Mr.Willem Trommels ผู้อำนวยการ The Berlin Airport Area Development Corporation อดีตผู้อำนวยการ The Schipol Area Development Company หัวข้อ การวางแผนและการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรอบสนามบิน Schipol ในประเทศเนเธอแลนด์ ประเทศเยอรมัน นายสุวัฒน์ วาณีสุบุตร ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หัวข้อ แผนแม่บทในการพัฒนาและยกระดับพื้นที่โดยรอบสนามบิน

และการเสวนาการผสมผสานการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ธุรกิจ และชุมชน ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดย นางสมหทัย พานิชชีวะ ผู้บริหารจากเครืออมตะ กรุ๊ป เรื่องการสร้างมหานครแห่งการบินที่สมบูรณ์แบบ นายปราโมทย์ ไม้กลัด การวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำโดยรอบ นายชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิในอนาคต นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ความต้องการจากภาคชุมชน ดำเนินการเสวนาโดย ดร.สายสวรรค์ วัฒนพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการจัดการธุรกิจ สถาบันคีนันฯ

อย่างไรก็ตาม สาระจากเนื้อหาในการสัมมนาครั้งนี้จะถูกรวบรวมสรุปนำเสนอต่อภาครัฐผ่านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อไป เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการมาตลอดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ พาณิชย์อากาศ อุตสาหกรรมอาหารไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย

มุมมองและประสบการณ์ที่ได้จากการสัมมนา จึงถือเป็นประโยชน์สูงสุด สถาบันคีนันฯ จึงได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อมตะ คอร์เปอเรชัน จำกัด (มหาชน) งานสัมมนา “การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ” (Development Around Suvarnabhumi Airport – Planning to get it right) จึงกำหนดจัดขึ้นให้มีขึ้นในวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ระหว่างเวลา 9.00 – 15.30 น. ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท กรุงเทพฯ สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา สำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 0 2229 3131 ต่อ 216 คุณวลัยภรณ์ และหรือสอบถาม/ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kiasia.org

]]>
27668