สถาบันวิจัยนครหลวงไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Sep 2009 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 NIDA Business School-SCRI ชี้ครบปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ https://positioningmag.com/49400 Fri, 25 Sep 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49400

NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประเมินครบรอบ 1 ปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ประเทศใดสอบผ่าน-สอบตกจากการประเมินด้วยเกณฑ์การฟื้นตัวของ GDP ของ G-3 และเอเชีย พบสหรัฐฯ ต้นตอปัญหามีการฟื้นตัวทาง GDP ที่แข็งแกร่งที่สุดใน G-3 แต่ภาคการเงินยังคงอ่อนแอที่สุด ขณะที่ประเทศไทยสอบตกในด้านการฟื้นตัวและการบริโภคภายในเมื่อเทียบกับชาติเอเชียที่พบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยกัน แนะจับตาความเสี่ยงรอบใหม่โดยเฉพาะผลกระทบข้างเคียง จากภาวะเงินเฟ้อ การเก็งกำไรและภาวะฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์และตราสารบางประเภท

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) จัดเสวนาวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงิน Crisis Watch series 10 ในหัวข้อ “ครบรอบปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ประเทศใดสอบผ่านหรือตก” โดย รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School เปิดเผยว่า หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นการล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจรายใหญ่ของโลกในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งกระทบความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯและยุโรป ต่อเนื่องไปจนถึงภาคธุรกิจที่แท้จริงทั่วโลก ที่ต้องประสบปัญหาความต้องการสินค้าลดลง การผลิตและการลงทุนของภาคเอกชนลดลง ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ภาคการส่งออกย่ำแย่ เงินเฟ้อและอัตราการเติบโตติดลบ

คณบดี NIDA Business School กล่าวว่า ทั้งนี้ จากประสิทธิภาพของมาตรการในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลดีเกินคาด ทำให้เศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสแรกของปีนี้ และส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจากการประเมินว่าประเทศใดสอบผ่านหรือสอบตกในการแก้วิกฤตครั้งนี้ ทาง NIDA Business School และ SCRI ได้แบ่งประเทศที่พบกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประเทศ G-3 ที่มีวิกฤตสถาบันการเงิน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น กับกลุ่มประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศไทยซึ่งไม่มีปัญหาด้านสถาบันการเงินแต่พึ่งพิงการส่งออกอย่างมาก

สำหรับกลุ่มแรก ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นนั้น จากการประเมินอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในขณะที่ญี่ปุ่น มีการฟื้นตัวที่แย่ที่สุดเมื่อเทียบกับสหรัฐฯและสหภาพยุโรป แต่ถ้าพิจารณาในด้านการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินพบว่า สถาบันการเงินของญี่ปุ่นนั้นเข้มแข็งที่สุดโดยได้ทำการเพิ่มทุน 3 เท่าของความเสียหายในการลงทุนในตราสาร Sub-prime ในขณะที่สหรัฐฯและยุโรปนั้นยังเพิ่มทุนสถาบันการเงินไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจากการลงทุนในตราสาร Sub-Prime อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป พบว่าเยอรมนีและฝรั่งเศส ทำได้ดีกว่าสหรัฐฯ ในด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะที่ประเทศในเอเชียในกลุ่มที่สองซึ่งพบกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจซึ่งในปัจจุบันนี้ ชาติเอเชียนั้นได้พ้นจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเชิงเทคนิคหมดแล้ว แต่เมื่อประเมินความเข้มแข็งของการฟื้นตัวในลักษณะเปรียบเทียบกันพบว่า สิงคโปร์มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในกลุ่มที่สองรวมในขณะที่การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศแข็งแกร่งเป็นอันดับสองในกลุ่มที่สองรองจากเกาหลีใต้ ในขณะที่ไต้หวัน แม้มีการฟื้นตัวทาง GDP ที่แข็งแกร่งเท่ากับสิงคโปร์แต่การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนแออยู่ สำหรับประเทศเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์นั้นยังคงมีการฟื้นตัวทาง GDP ที่ไม่ดีนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเอเชียในกลุ่มที่ 2 ด้วยกันแต่มีการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในระดับสูง โดยเฉพาะเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางการบริโภคภายในประเทศที่สูงที่สุดในกลุ่มที่สอง สะท้อนถึงการ Re-balance growth และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

“ประเทศในกลุ่มที่สองที่มีระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในกลุ่มคือประเทศไทยซึ่งไม่เพียงแต่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดเท่านั้นหากแต่การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศยังแย่ที่สุดในกลุ่มที่สอง ในขณะที่ มาเลเซีย แม้ว่าจะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีเท่ากับประเทศอื่นรวมทั้งการบริโภคภายในประเทศด้วยแต่ตัวเลขของมาเลเซียในสองด้านนี้ยังดีกว่าประเทศไทย” รศ.ดร.เอกชัยกล่าว

ด้านนายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมินว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา วิกฤติการเงินและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีผลช่วยให้เกิดการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง (Change) ในหลายภาคส่วน แต่สำหรับความเห็นของ SCRI ประเมินว่า การเปลี่ยนแปลงยังคงไม่เท่ากับความคาดหวังหรือความตั้งใจของผู้ดำเนินนโยบาย (Policy maker) ดังนั้น จึงประเมินว่าวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่ จึงยังคงไม่สามารถไว้วางใจได้ว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ

สำหรับเรื่องที่จะเป็นประเด็นสำคัญในช่วง 1 ปีจากนี้ไป คือ การแยกตัวกันของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน รวมถึงวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน ซึ่งผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจคาดว่าจะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ในเบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่า ประเทศในเอเชียมีโอกาสมากที่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศในสหรัฐฯและยุโรปเนื่องจากภาคสถาบันการเงินมีความพร้อมในการกลับมาปล่อยสินเชื่อได้เร็วกว่า เนื่องจากเกิดความเสียหายไม่มาก และที่สำคัญประเทศในเอเชียสามารถระดมทุนในประเทศได้แม้ต้นทุนจะสูงขึ้นก็ตาม

ในส่วนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น คาดว่าทุกประเทศทั่วโลกคงต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายใน 1 ปีข้างหน้า โดยเร็วที่สุดน่าจะเป็นไตรมาสที่ 1/53 ทั้งนี้ เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเริ่มเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าวัตถุดิบเริ่มปรับตัวขึ้นแล้ว โดยเฉพาะวัตถุดิบหลัก เช่น น้ำมัน เหล็ก สินค้าเกษตร ในขณะเดียวกัน คาดว่า ปริมาณเงินที่อยู่ในระบบเป็นจำนวนมากจะเริ่มส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเงินเฟ้อมากขึ้น เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มคลี่คลายจะส่งผลให้ระดับของความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจลดลง โดยมีความเสี่ยงที่จะหันกลับมาดูแลเศรษฐกิจของประเทศตนเองมากขึ้น โดยปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ คือ การค้าระหว่างประเทศที่ลดลง

]]>
49400
เสวนา : จับตาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย หลัง GM ล้มละลาย https://positioningmag.com/48261 Thu, 25 Jun 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48261

NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย จัดเสวนาวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน Crisis Watch series 8 “จับตาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย หลังการล้มละลายของ GM” วิเคราะห์เจาะลึกทิศทางของเศรษฐกิจโลก และอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย พร้อมเผยตัวเลขดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ จากวิทยากรชั้นนำ อาทิ รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์, สุกิจ อุดมศิริกุล, เก่งกล้า รักเผ่าพันธุ์, อดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พลาดไม่ได้ วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคมนี้ เวลา 10.00-12.15 น. ณ โถงนิทรรศการชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
48261
บทวิเคราะห์ mai จากสถาบันวิจัยนครหลวงไทย 3 เม.ย. 2552 https://positioningmag.com/47247 Tue, 07 Apr 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=47247

การลงทุนอย่างต่อเนื่องของกลุ่มปตท.และกลุ่มปิโตรเคมีในการวางระบบโครงข่ายท่อก๊าซฯในช่วงปี 2552 – 2555 เพื่อตอบสนองอุปสงค์การใช้ก๊าซฯจากโรงไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมยังมีการเติบโตปีละ 4 – 8% อีกทั้งแผนการขยายระบบท่อและสถานีจำหน่ายก๊าซ NGV จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ผลการดำเนินงานของ TRC ยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 3 ปีข้างหน้า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขาลง โดย SCRI คาดการรับรู้รายได้กว่า 80% ของ Backlog ที่มีราว 1,600 ล้านบาทจะทำให้รายได้ปี 2552 เติบโต 11% yoy ประกอบกับ ความสามารถในการรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้นที่ 17% ซึ่งสูงกว่า GPM เฉลี่ยของกลุ่มรับเหมาฯที่ 10 – 15% จากการรับงานในลักษณะผู้รับเหมาฯเบ็ดเสร็จและมีงานพิเศษต่อเนื่อง ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2552 ปรับเพิ่มขึ้น 8% yoy เป็น 136 ล้านบาท สำหรับผลประกอบการที่เติบโตอย่างมั่นคง ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ฐานะการเงิน อีกทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เคร่งครัดทำให้บริษัทมีสภาพคล่องในระดับเหมาะสม และสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ระดับ 8% ต่อปี ดังนั้น SCRI แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าเหมาะสม 3.04 บาท

การเป็น Specialist ในธุรกิจการวางท่อก๊าซฯ ส่งผลให้ TRC มีโอกาสเติบโตจากการลงทุนของกลุ่มธุรกิจพลังงานและกลุ่มปิโตรเคมี : TRC มีความชำนาญในงานวางระบบท่อก๊าซฯและการได้ร่วมงานกับผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ เช่น ไชน่าปิโตรฯ และซีแลนด์ ช่วยเสริมศักยภาพบริษัทให้สูงขึ้นในการรับงานที่ซับซ้อน บวกกับผลงานที่โดดเด่นในอดีต เช่น งานวางท่อก๊าซฯแก่งคอย และสงขลา ทำให้ TRC ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่ม ปตท.และ ผู้ประกอบการกลุ่มปิโตรเคมีในการส่งมอบงานให้ TRC อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ทั้งจากโรงไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตเฉลี่ยต่อปีราว 4% และ 8% ตามลำดับ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การลงทุนของ ปตท.ในช่วงปี 2552 – 2554 ยังอยู่ในระดับสูงไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 ล้านบาท ซึ่ง SCRI ประเมิน TRC จะได้ประโยชน์จากแผนการลงทุนดังกล่าว

คาดกำไรสุทธิปี 2552 เติบโต 8% yoy : แม้ปริมาณงานรับเหมาก่อสร้างในช่วง 1H/52 จะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การรับรู้รายได้ถึง 80% จาก Backlog ที่มีในปัจจุบันกว่า 1,580 ล้านบาท ประกอบกับ การลงทุนของปตท.ที่ยังมีสม่ำเสมอ บวกกับจุดเด่นในความชำนาญงานวางท่อก๊าซ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ TRC มีโอกาสประมูลได้รับงานเพิ่มอีก 1,500 ล้านบาท ซึ่งช่วยหนุนรายได้ปี 2552 เติบโต 11% yoy เป็น 1,998 ล้านบาท นอกจากนี้ การรับงานในลักษณะของผู้รับเหมารายเดียว และมี Additional work จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทสามารถทรงตัวในระดับสูงที่ 16.9% ประกอบกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีฯที่ยังมีอยู่จนถึงปี 2553 ส่งผลให้แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2552 ของ TRC จะปรับเพิ่มขึ้น 8% yoy เป็น 136 ล้านบาท

ฐานะการเงินแข็งแกร่ง จ่ายเงินปันผลที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7 – 8% ต่อปี: ผลประกอบการที่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีการเติบโตของผลการดำเนินงานในอีก 3 ปีข้างหน้าเฉลี่ย 5% ต่อปี ช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ฐานะการเงินโดยรวม และทำให้บริษัทมีความสามารถการชำระหนี้สูงขึ้น โดย SCRI คาด Debt Service Coverage Ratio (DSCR) จะปรับดีขึ้นเป็นมาก โดยคาดว่าจะสูงถึง 9 เท่าในปี 7.8 เท่าในปี 2552 เมื่อเทียบกับปี 2551 ที่ 3.9 เท่า นอกจากนี้ สภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง โดยมี EBITDA ต่อปีเฉลี่ยกว่า 205 ล้านบาท ขณะที่บริษัทไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มเติม ทำให้ TRC สามารถจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่องในมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ระดับเฉลี่ย 8% ต่อปีในช่วง ปี 2552 – 2554 ได้

แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าเหมาะสม 3.04 บาท : ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ TRC ประกอบกับ การลงทุนวางระบบท่อก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการเติบโตของโรงผลิตไฟฟ้าและอุปสงค์ในภาคอุตฯอย่างต่อเนื่อง คาดจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของ TRC ในปี 2552 – 2554 ให้อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ย 5.1% CAGR จาก 126 ล้านบาทในปี 2551 เป็น 136, 152 และ 154 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสม ทำให้ TRC สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ โดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเท่ากับ 7 – 8 % ต่อปี SCRI ประเมิน มูลค่าหุ้น TRC โดยวิธี Sum of the part (ใช้การประเมินมูลค่าทางบัญชี + อัตรากำไรของมูลค่า Backlog ในอนาคต) เนื่องจากวิธีดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้มูลค่าแท้จริงของกิจการ โดยได้มูลค่าเหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐาน เท่ากับ 3.04 บาท/หุ้น ดังนั้น แนะนำ “ซื้อ”

วิเคราะห์ทางเทคนิค : ดัชนี mai ตามสัญญาณทางเทคนิคมีแนวโน้มปรับขึ้น ขณะที่ indicator แสดงสัญญาณเชิงบวก หลังจากที่ดัชนีผ่านบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันขึ้นมา คาดว่าดัชนีมีแนวโน้มปรับขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 158 จุด โดย SCRI ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวในสัปดาห์นี้ที่ 153-158 จุด TRT ราคาหุ้นมีแนวโน้มปรับขึ้นระยะสั้น หลังจากที่ราคาได้ผ่านบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 5 10 และ 25 วันขึ้นมา คาดว่ามีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ 9-9.40 บาท

]]>
47247
นิด้า-SCRI ชี้ทางออกดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวสู้วิกฤติโลก https://positioningmag.com/46921 Fri, 20 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46921

NIDA Business School ผนึกความร่วมมือกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) หาแนวทางหวังผลักดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวสู้วิกฤติโลก แนะรัฐบาลนำทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่สะสมไว้มาใช้ประโยชน์ ด้วยการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขนาด 1.3 หมื่นล้านเหรียญ พร้อมระดมทุนเพิ่มเติมจากการกู้ยืมต่างประเทศ การเร่งรัดจัดเก็บภาษีฟุ่มเฟือย การออกพันธบัตรรัฐบาล หวังอัดฉีดเงินลงทุนรอบใหม่ 5 แสนล้าน ผ่าน 4 โครงการหลัก ทั้งเมกะโปรเจ็คท์ เน้นวางระบบขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ พร้อมเร่งโครงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) จัดเสวนาพิเศษ Crisis Watch Series 6 ภายใต้หัวข้อ “ชี้ทางออกเศรษฐกิจ…ธุรกิจไทยทำอย่างไรไม่ให้ติดลบ” โดย รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 ด้วยวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท โดยเป้าหมายหลักอยู่ที่การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะช่วยพยุงการบริโภคภายในประเทศเพื่อชดเชยการลดลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ รวมถึงการใช้จ่ายลงทุนในโครงการต่างๆ ผ่านรัฐบาลกลางและกองทุนที่จัดสรรสู่ส่วนท้องถิ่น

ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งที่ 2 รัฐบาลควรอัดฉีดเงินลงทุนครั้งใหม่ประมาณ 5 แสนล้านบาท เพื่อใช้จ่ายในโครงการหลักๆ อย่างน้อย 4 โครงการ ได้แก่ 1.การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็คท์ เช่น ระบบขนส่งและระบบโลจิสติกส์ โดยจัดสรรเม็ดเงินจำนวน 3.57 แสนล้านบาทในโครงการดังกล่าว พร้อมกับจัดสรรเงินจำนวน 8.7 หมื่นล้านบาทในโครงการด้านพลังงานและโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ช่วยเกื้อหนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2.รัฐบาลควรส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะใช้เงินทุนในส่วนนี้ 2.5 หมื่นล้านบาท 3.การส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร 1.6 หมื่นล้านบาท และ 4. ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ด้วยเงินลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนกู้เงินต่างประเทศในวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท แต่แหล่งเงินกู้ต่างประเทศนั้นอาจจะมีความไม่แน่นอน หรือความไม่เพียงพอของเงินทุนที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ดังนั้นถ้ามีแหล่งเงินทุนที่แน่นอนกว่าย่อมจะสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชน

สำหรับแหล่งเงินทุนที่แน่นอนสำหรับใช้ในโครงการดังกล่าว NIDA Business School และสถาบันวิจัยนครหลวงไทย เห็นว่า รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) มูลค่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญหรือประมาณ 4.68 แสนล้านบาท โดยนำทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เก็บสะสมไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมกับระดมเงินทุนจากแหล่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการพัฒนา เช่น ธนาคารโลกหรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ตลอดจนการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และภาษีบาป (Sin Tax) เป็นต้น รวมทั้งการกู้ยืมจากภาคเอกชนและจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล

“เราคิดว่า รัฐบาลควรนำเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่เก็บสะสมไว้มาใช้ประโยชน์ ผ่านโครงการหลักๆ ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตที่ควรพิจารณาสำหรับแนวทางนี้ ก็คือ ใครควรเป็นผู้บริหารจัดการ และจะบริหารจัดการในรูปแบบใด ขณะเดียวกัน ยังต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากการชำระคืนเงินตราต่างประเทศ หากเกิดวิกฤติการเงินเช่นในปี 2540” รศ.ดร.เอกชัยกล่าว

ด้านนายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) กล่าวว่า SCRI ได้จัดทำโครงการประเมินความเสี่ยงภายใต้ชื่อ “SCRI Rating” โดยโครงการระยะแรกซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ คือ การประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนทั้ง 2 ด้าน คือ 1.ด้านบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ซึ่งเป็นการประเมินในเชิงคุณภาพ และ 2.สถานภาพทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน โดยเป็นการประเมินในเชิงปริมาณผ่านแบบจำลองและอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ

“เพื่อให้สถาบันการเงินและนักลงทุนรับทราบถึงระดับความเสี่ยงในด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนวางแผนจะลงทุน ซึ่งจะแตกต่างจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยทั่วไปที่จะมุ่งเน้นเพียงมุมมองด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ในขณะที่ SCRI Rating จะมีลักษณะเป็นคะแนนเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส SCRI กล่าว

ทั้งนี้ ในโครงการระยะต่อไป คือการประเมินความเสี่ยงในกรอบของโครงสร้างอุตสาหกรรม (SCRI Industry Risk Index) ว่ามีความเสี่ยงในระดับใด โดยความเสี่ยงในโครงสร้างอุตสาหกรรมนั้นจะทำการประเมินในลักษณะ “ดัชนีความเสี่ยง (Risk Index)” โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม และคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ได้แก่สถาบันการเงิน นักลงทุนและที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจจะได้รับทราบสถานะความเสี่ยงของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ

นายสุกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยนั้นกำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจต่างประเทศทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศที่หดตัวลงอย่างรุนแรงและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่มีลักษณะผันผวนมากขึ้นรวมทั้งแนวโน้มใหม่คือการกีดกันการค้า (Trade Protectionism) และการกีดกันทางการเงิน (Financial Protectionism) ซึ่ง ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจ สถาบันการเงินและนักลงทุน จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงธุรกิจภายใต้สภาวะความเสี่ยงอย่างเข้มข้นขึ้น จากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยสามารถนำข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ของ SCRI ไปปรับตัวในการดำเนินธุรกิจหรือวิเคราะห์คู่แข่งได้

]]>
46921
นิด้า-SCRI จี้รัฐเร่งโครงการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้อัดฉีดระยะสั้น 1.15 แสนล้าน https://positioningmag.com/45774 Fri, 23 Jan 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45774

NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ผ่ามาตรการลงทุนภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจไทย รับมือเศรษฐกิจขาลง จี้ภาครัฐต้องเร่งลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน พลังงานทดแทน และด้านการศึกษา หวังพัฒนาและกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานทั่วประเทศ หลังประเมินเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 1.15 แสนล้าน แค่ประคองจีดีพีโตได้เพียง 1.4% หวั่นหากภาครัฐไม่เร่งลงทุน เศรษฐกิจไทยมีสิทธิ์โตไม่ถึง 2% ดันยอดตกงานพุ่งกว่า 1 ล้านคน

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2552 NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอไอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” จัดงานเสวนา “Crisis Watch series 4 : Investment Package for Economic Stimulus ผ่ามาตรการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ”

รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School ประธานที่ปรึกษาโครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า การเสวนาในครั้งนี้ จะมุ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนภาครัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดการจ้างงานทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งเรื่องของการขนส่งสินค้า เช่น โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน โครงการพลังงานทดแทนเพื่อรองรับกับแนวโน้มในอนาคตที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการลงทุนในด้านการศึกษา ตลอดจนการลงทุนในการพัฒนาทักษะของแรงงานไทยให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า โครงการลงทุนด้านสาธารณูปโภค ถือเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศได้ดีขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐออกมากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเม็ดเงินกว่า 1.15 แสนล้านบาทนั้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นให้เกิดการจับจ่ายภายในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ที่ไม่ได้มีผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่าใดนัก โดยคาดว่าจากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวจะช่วยให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปีนี้เติบโตได้เพียง 1.4% เท่านั้น

“ภาครัฐต้องเป็นพระเอกในการเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ แม้บางโครงการอาจจะใช้เวลายาวนานกว่าจะแล้วเสร็จ แต่เม็ดเงินก้อนแรกในการลงทุนที่บางโครงการสามารถเริ่มต้นได้ภายในปีนี้ ก็จะช่วยให้เกิดการจ้างงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้มากกว่าการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น” รศ.ดร.เอกชัยกล่าว

ด้านนายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกได้ส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ จากการที่คำสั่งซื้อสินค้าลดลง ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและการปิดสนามบิน ที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภาคบริการและกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในที่สุด

อย่างไรก็ตาม มองว่า มาตรการที่ภาครัฐออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ หรือแม้กระทั่งการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ถือเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยประคองเศรษฐกิจของไทยไม่ให้ทรุดตัวลงตามเศรษฐกิจของโลกและรอจังหวะการฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง ซึ่งหากภาครัฐเร่งเดินหน้าลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มเติมที่จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นจากภาคเอกชนให้กลับคืนมา และกล้าเข้ามาลงทุนเพิ่มเติม ก็จะช่วยทำให้เศรษฐกิจของไทยในปี 2552 สามารถเติบโตได้ถึง 2% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนี้ เนื่องจากหากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าระดับ 2% ก็จะส่งผลให้มีคนว่างงานมากกว่า 1 ล้านคน

]]>
45774
ผ่าวิกฤต ‘เอสเอ็มอี’ หวั่นรุนแรงกว่าปี 40 เหตุเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก-แนะรัฐบาลใหม่ตั้งศูนย์เฉพาะกิจ https://positioningmag.com/45423 Tue, 23 Dec 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45423

สถาบันวิจัยนครหลวงไทยจับมือ NIDA Business School ผ่าผลกระทบธุรกิจเอสเอ็มอีภายใต้ภาวะวิกฤต หวั่นปี 2552 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับผลกระทบหนักจากปัญหาเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นไปได้ยากลำบากขึ้น ด้านรองประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ยอมรับมีโอกาสประสบปัญหาหนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แนะรัฐบาลใหม่ตั้งศูนย์เฉพาะกิจรวบรวมข้อมูลแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านก่อนธุรกิจแห่ปิดกิจการ พร้อมวางมาตรการดูแลสร้างความมั่นคงในระยะยาว

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2551 สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ร่วมกับ NIDA Business School ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” จัดเสวนาในหัวข้อ “การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่ : มุมมองของ CFOs”

โดย รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School ประธานที่ปรึกษา โครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า การเสวนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs กำลังประสบภาวะวิกฤต เนื่องจากปัจจัยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในปี 2552 ซึ่งคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาธุรกิจ SMEs ของไทยไม่สามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่มีความ ผันผวนสูง

นอกจากนี้ วิกฤตด้านการเงินในสหรัฐอเมริกายังก่อให้เกิดปัญหาความไม่มั่นใจในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทำให้เชื่อว่าในปี 2552 สถาบันการเงินจะใช้ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น และจะส่งผลกระทบกับโอกาสในการขยายธุรกิจและสภาพคล่องของ SMEs ในที่สุด

ด้าน ดร.นิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานที่ปรึกษา โครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” กล่าวว่า สถานการณ์ของผู้ประกอบการ SMEs ในปี 2552 ถือเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์คาดว่า ความรุนแรงในครั้งนี้จะเลวร้ายมากกว่า เมื่อครั้งวิกฤตเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 เนื่องจากวิกฤตในครั้งนี้เป็นการเกิดขึ้นในขอบข่ายทั่วโลก หลังจากที่ตลาดต่างประเทศประสบปัญหาเรื่องวิกฤตการเงินที่ลุกลามสู่ภาคการผลิตและการจ้างงาน ขณะที่สถานการณ์การเมืองในประเทศก็ยังส่อเค้ามีความขัดแย้งที่รุนแรง ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่มีเงินทุนไม่มาก และขาดการบริหารการจัดการที่ดี ต้องเลิกกิจการ หรือจำเป็นต้องปลดคนงานเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการผลิต จากเดิมที่ธุรกิจพึ่งพาการใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมาก ก็ต้องนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการลดต้นทุนสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ

“ปี 2552 จะเป็นปีที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตในครั้งนี้ ที่คาดว่าจะรุนแรงกว่าช่วงปี 2540 อย่างมาก เพราะวิกฤตในช่วงนั้นเกิดขึ้นจากค่าเงินภายในประเทศ แต่ในปีหน้าวิกฤตจะเกิดจากกำลังซื้อของคนทั่วโลกลดลง ทำให้มีการสั่งผลิตสินค้าลดลง ฉะนั้นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีตลาดส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้า ตั้งแต่การพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนในการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต การหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ และการสร้าง ตราสินค้าของตนเองเพื่อเพิ่มกำไรให้มากขึ้น ” ดร.นิพนธ์ กล่าว

ขณะที่ภาครัฐจะต้องเร่งเข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs โดยเป็นเจ้าภาพในการรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหามาอยู่ในศูนย์เฉพาะกิจที่มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ปัญหา จากเดิมที่ผ่านมา การแก้ปัญหาต่างๆ ของภาครัฐจะเป็นการแก้ปัญหาที่แต่ละกระทรวงต่างคนต่างทำ ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ถูกหมักหมมจนยากเกินกว่าจะแก้ไขหรือขาดงบประมาณในการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม

ส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีความเข้มแข็งในระยะยาวนั้น ภาครัฐควรจัดตั้งสำนักวิจัยระบบอุตสาหกรรม เพื่อเป็นผู้นำในการทำวิจัยขีดความสามารถของแต่ละอุตสาหกรรม ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงให้การสนับสนุนในเรื่องขององค์ความรู้ในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า เพื่อแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ เนื่องจากที่ผ่านมา ภาครัฐยังขาดข้อมูล ที่ได้จากการทำวิจัยมากำหนดแผน ส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยในประเทศขาดทิศทางในการพัฒนาหรือขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละภาคอุตสาหกรรมของไทยลดลงจนไม่สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้

“ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการทำวิจัย ในการใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ และกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ และยังใช้ฐานข้อมูลที่ดี เพื่อนำมาวางแผนในการแก้ปัญหาของแต่ละภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า” รองประธานสภาอุตสาหกรรมฯ กล่าว

]]>
45423
เสวนา “การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่ : มุมมองของ CFOs” https://positioningmag.com/45383 Mon, 22 Dec 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45383

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย และ NIDA Business School ขอเชิญผู้สนใจร่วมเสวนา “การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่ : มุมมองของ CFOs” ฟังผู้เชี่ยวชาญจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ และผู้ประกอบการตัวจริงเสียงจริง ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและทางออกภายใต้ภาวะวิกฤต วันอังคารที่ 23 ธันวาคม 2551 เวลา 09.30-12.00 น. ณ โถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
45383
สถาบันวิจัยนครหลวงไทย จับมือนิด้า มองเศรษฐกิจโลก ชี้วิกฤติสหรัฐ ส่งผลต่อการส่งออกและการจ้างงานของไทย https://positioningmag.com/45059 Mon, 01 Dec 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45059

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย จับมือNIDA Business School จัดทำบทวิจัย ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อการจ้างงานในประเทศไทย เชื่อวิกฤติการเงินสหรัฐ-ยุโรป ถึงจุดต่ำสุดในปีหน้า ก่อนจะฟื้นตัวในปี 2553 ประเด็น สำคัญคือ การแก้ไขปัญหาการว่างงาน และการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องรอจนกว่าประธานาธิบดีคนใหม่รับตำแหน่ง ด้านนิด้าประเมิน เศรษฐกิจไทยจะยังคงมีการเติบโต แต่อัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 2% จากเดิมคาดโต 3.6-4% และอัตราคนตกงานจะไม่ถึง 1 ล้านคนอย่างที่กังวล

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัย นครหลวงไทย (Siam City Research Institution : SCRI) เปิดเผยในงานเสวนาภายใต้หัวข้อ Crisis Watch Series 2 : November 2008 “ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อการจ้างงานในประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ตลาดหลักทรัพย์ mai ,โครงการสร้าง “CFO มืออาชีพ” NIDA Business School และ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่าวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 ของปี 2552 หลังจากนั้นจะเริ่มฟื้นตัว โดยสาเหตุของการที่สหรัฐฯ ฟื้นตัวล่าช้ามาจากความไม่ชัดเจนของกระบวนการแก้ไขปัญหาวิกฤติการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งควรจะได้ข้อสรุปและดำเนินการตามแผนกู้วิกฤติการเงินซึ่งมีวงเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้ทำการเปลี่ยนแผนจากเดิมที่จะมีการจัดตั้งหน่วยงานมาซื้อสินทรัพย์ด้อยค่าออกจากสถาบันการเงิน เพื่อลดปัญหาการขาดทุนและการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน โดยเปลี่ยนเป็นการเข้าไปลงทุนในสถาบันการเงินแทน

ผลจากการเปลี่ยนแผนทำให้ตลาดฯประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของสถาบันการเงินกันใหม่และส่งผลให้ราคาหุ้นของ Citi ปรับลง 83 % และในที่สุดสหรัฐฯ ต้องเข้าไปค้ำประกัน Citi ด้วยวงเงิน 306,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มทุน Citi 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และที่สำคัญคือ การที่สหรัฐฯ อยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายคณะรัฐบาลทำให้ความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาภาคเศรษฐกิจจริงอาทิ การช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ การแก้ไขปัญหาการว่างงาน และการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องรอจนกว่าประธานาธิบดีคนใหม่ นายโอบามาเข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. 2552

ทั้งนี้ ในขณะที่ภาพรวมของการประชุมร่วมกันของผู้นำโลกกลุ่ม G-20 และนโยบายของแต่ละประเทศในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น มีจุดร่วมกันที่เน้นการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการคลังแบบขยายตัวด้วยการตั้งงบประมาณรัฐแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้น โดย มีความเห็นว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหามากที่สุดคือ จีน และประเทศในแถบเอเชียที่ได้เริ่มใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้

“ขณะที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่จากการชะลอลงของภาคการส่งออก โดยทิศทางของภาคส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4/2551 และ ปี 2552 ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการชะลอตัวลงมากกว่าคาดการณ์ โดยการขยายตัวของภาคการส่งออกของไทยในปี 2551 โดยเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 15.0-20.0% และ 2-6% ในปี 2552 ทั้งนี้ในเบื้องต้นประเมินว่า ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างมากในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา”นายสุกิจ กล่าว

ทางด้าน รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School และ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2552 จะได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งในส่วนผลการดำเนินงาน การลงทุน และอัตราการจ้างงานจะลดลง ซึ่งส่งผลต่อภาคการผลิตสินค้าของไทย ที่มีตลาดส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป ประเทศในแถบอาเซียน อย่างไรก็ตาม หากประเมินสถานการณ์ในขณะนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มอาหารทะเลแช่แข็ง ขณะที่สินค้าในกลุ่มเกษตรและภาคบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่นร้านค้าปลีก ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และความต้องการของลูกค้าให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ราคาแพง ที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดมาเป็นการทำกิจกรรมการตลาด การประชาสัมพันธ์ และการทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายกับลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้ามากกว่าการโฆษณาผ่านสื่อ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

“ภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 2552 จะมีความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ แต่ทาง NIDA Business School และสถาบันวิจัยนครหลวงไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะยังคงมีการเติบโต ประมาณ 3.6-4% อัตราคนตกงานไม่ถึง 1 ล้านคน อย่างที่หลายฝ่ายกังวล เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540- 2541 ที่เศรษฐกิจไทยติดลบ แต่ช่วงดังกล่าวยังมีอัตราว่างงานอยู่แค่ 4% จากผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศที่มี 37 ล้านคน แต่หากปีหน้า สถานการณ์เลวร้ายลง คาดว่าจะมีคนตกงานอย่างมากที่สุดไม่เกิน 1.5 ล้านคน” รศ.ดร.เอกชัยกล่าว

คณบดี NIDA Business School ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพนักงานบริษัทฯ มีความตื่นตระหนกต่อการรับข่าวสารเกี่ยวกับการปลดพนักงาน ทำให้หลายคนมีความกังวล แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม ก็สามารถรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้นได้ เช่น ลดค่าใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย และหันมาออมเงินมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรลดการใช้จ่ายในสินค้าในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากภาครัฐปล่อยให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในลักษณะเช่นนี้ต่อไป เศรษฐกิจไทยอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดได้ในอนาคต

]]>
45059