สถาบันไทย-เยอรมัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 15 Sep 2008 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต https://positioningmag.com/43343 Mon, 15 Sep 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=43343

ศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย–เยอรมัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขยายบริการด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิต ให้สามารถแข่งขันในระดับสากล โดยบริการของศูนย์ฯประกอบด้วย เทคโนโลยีแม่พิมพ์ เทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ เทคโนโลยีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ เทคโนโลยีอัตโนมัติ และงานบริการอุตสาหกรรม ซึ่งจะเริ่มให้บริการเดือน ตุลาคม เป็นต้นไป

ติดต่อศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเชีย ต.หันตราอ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ 035-242554 โทรสาร 035-242654

]]>
43343
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ พัฒนาสารสนเทศ สร้างดัชนี เตือนภัย https://positioningmag.com/39181 Wed, 06 Feb 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=39181

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รุกยุทธศาสตร์พัฒนาสารสนเทศ รวมข้อมูลอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยทั้งระบบ จัดทำเป็นดัชนีสร้างระบบเตือนภัยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยใช้เป็นเข็มทิศพัฒนาธุรกิจ ย้ำข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว เข้าถึง เป็นต้นทุนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการในยุคการแข่งขันไร้พรมแดน

รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน ในฐานะผู้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เปิดเผยว่า นอกจากปัญหาด้านการขาดแคลนช่างฝีมือแม่พิมพ์ ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี และการขาดอำนาจต่อรองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยแล้ว ปัญหาการขาดแคลนข้อมูลอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ เข้าถึงได้ง่าย เป็นอีกอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถรับรู้สถานการณ์ แนวโน้ม แม้กระทั่งสภาพการแข่งขัน ที่แท้จริงได้ เนื่องจากในอดีตยังไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดรวมรวมและติดตามข้อมูลอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อย่างต่อเนื่อง

“ ตัวอย่างเช่น จากรายงานสภาวะอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย พบว่ามีโรงงานแม่พิมพ์ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตแม่พิมพ์โลหะ ที่เป็นโรงงานขนาดเล็ก และกลาง มีมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มากกว่าส่งออกถึง 4-5 เท่า เป็นต้น ซึ่งหากมีการศึกษาและจัดทำดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรมในประเด็นต่างๆ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการและภาครัฐให้ทราบถึงสภาวการณ์ที่แท้จริงของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ จะสามารถช่วยให้วางแผนการตัดสินใจรองรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมนั้นเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดี ” รศ.ณรงค์ กล่าว

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ จึงได้กำหนดให้การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งของโครงการฯ เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลสำหรับ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้อ้างอิง หรือเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนได้แม่นยำขึ้น โดยสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์นี้จะครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ผู้ใช้ ผู้ค้า และผู้จำหน่ายวัตถุดิบและเครื่องจักร รวมถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง โดยนำเสนอผ่านเว็บท่า www.thaimould.com ซึ่งผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว เปิดให้ใช้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา และจะมีการเพิ่มเติมและปรับปรุงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

รศ. ณรงค์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ ล่าสุดโครงการฯ ได้จัดให้มีการสัมมนา “การระดมสมอง ผู้ประกอบการ เพื่อจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมแม่พิมพ์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงถึงความ จำเป็นที่ต้องมีการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และอธิบายถึงขั้นตอนในการจัดทำดัชนี ผลของดัชนีที่ได้ และระบบเตือนภัยอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ต่างๆ เข้าร่วมสัมมนาให้ข้อมูลเป็นมาก ทั้งนี้ตลอดปี พ.ศ.2551 โครงการฯ จะจัดเก็บข้อมูล ผู้ประกอบการแม่พิมพ์ต่อเนื่องทุกไตรมาส และเมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะนำไปบรรจุในสารสนเทศ สำหรับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.thaimould.com เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป สามารถใช้ประโยชน์ต่อไป ”

]]>
39181
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ https://positioningmag.com/34567 Tue, 15 May 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34567

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ย้ำนโยบาย Be part of you…Be part of the future เปิดโครงการ M&D Best รุ่น 2 พัฒนาโรงงานแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีความเป็นเลิศ หวังบูรณาการมาตรฐาน และความสามารถในการประกอบการของโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยให้ทันต่อสถานการณ์การแข่งขัน

รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน ในฐานะผู้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เปิดเผยว่า จากความสำเร็จในด้านการพัฒนาเครือข่ายบูรณาการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ตั้งแต่การผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถระดับมาตรฐานเข้าสู่อุตสาหกรรม การพัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์ ( Excellence Center ) ที่มีผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านแม่พิมพ์ ไว้คอยให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการจำนวน 7 แห่ง การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ประกอบการด้านพิมพ์ และการพัฒนาสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ทำให้โครงการฯ มองเห็นถึงโอกาสในการบูรณาการโรงงานแม่พิมพ์ทั้งระบบ ให้มีความเป็นเลิศทั้งทางด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยี การบริหารการเงิน การบัญชี การตลาด และการจัดการองค์กร เพื่อให้ได้โรงงานต้นแบบที่สามารถเป็นตัวอย่างในการพัฒนามาตรฐานให้กับโรงงานแม่พิมพ์อื่น ทำให้เกิดโครงการพัฒนาต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ( M&D Best ) ขึ้น โดยปี พ.ศ.2550 เป็นการดำเนินงานในรุ่นที่ 2

“ สำหรับขั้นตอนการดำเนินงาน จะเริ่มจากการตรวจสอบความพร้อมของผู้ประกอบการเป้าหมายแต่ละรายที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ แล้วคัดเลือกเหลือเพียง 20 โรงงาน เพื่อเข้าไปให้คำปรึกษาในเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงสถานะ จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแบบบูรณาการเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของสถาบันฯ ก่อนจะคัดเหลือเพียง 10 โรงงาน ที่มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อให้คำแนะนำในเชิงลึก แล้วคัดเลือกเหลือเพียง โรงงานเดียว ที่มีความเป็นเลิศสูงสุด เพื่อเป็นต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของประเทศไทยต่อไป ” รศ.ณรงค์ กล่าว

“ หัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ( M&D Best ) คือ การวินิจฉัยสถานะของแต่ละโรงงาน โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางพัฒนาแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนั้นโรงงานที่ผ่านเข้ารอบ 10 โรงงาน ยังจะได้รับคำปรึกษาแนะนำแบบบูรณาการจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาไปสู่โรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ที่มีความเป็นเลิศ ก่อนที่จะพิจารณาคัดเลือก ให้เป็นต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ต่อไป “

กลุ่มเป้าหมายที่ทางโครงการฯ วางไว้ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงงานแม่พิมพ์ต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก แม่พิมพ์เป่าพลาสติก แม่พิมพ์อัดโลหะ แม่พิมพ์ Die Casting และแม่พิมพ์ยาง หรือสถานประกอบการใดๆ ก็ตาม ที่มีหน่วยงานผลิตแม่พิมพ์ประเภทดังกล่าว เป็นของสถานประกอบการเอง โดยมีคุณสมบัติ เป็นโรงงานที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่า 3 ปี มีคนไทยเป็นเจ้าของเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น โรงงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครได้ที่สถาบันไทย-เยอรมัน ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2550

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับติดต่อร่วมโครงการฯ : สำนักงานบริหารโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ( ชลบุรี ) อาคารสถาบันไทย-เยอรมัน 700 / 1 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถ.บางนา-ตราด กม. 57 ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทรศัพท์ 0-3821-5033-44 ต่อ 1737 โทรสาร 0-3845-6898 ผู้ประสานงาน คุณธีระพนธ์ ศรนิล

]]>
34567
สู่ทศวรรษที่ 2 สถาบันไทย-เยอรมัน ชู “ นวัตกรรม ” พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย https://positioningmag.com/33953 Tue, 10 Apr 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=33953

สถาบันไทย-เยอรมัน ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ชู “ นวัตกรรม ” เป็นหัวหอกในการ เพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต ผนึกเครือข่ายพันธมิตรพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และเทคโนโลยีให้อุตสาหกรรมไทย หวังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชีย

รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์ ในการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ของสถาบันไทย-เยอรมัน ว่า สถาบันฯ วางตำแหน่งตนเองไว้ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ที่ต้องมีความเป็นเลิศในการพัฒนา การถ่ายทอด และการจัดการในระดับมาตรฐานสากล มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บริการในด้านต่างๆมีความสำคัญ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง พร้อมร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการวางรากฐานที่มั่นคงทั้งด้านการพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อนำพาสถาบันฯ ไปสู่อนาคตของการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์

“ ในการก้าวสู่ปีที่ 11 สถาบันไทย-เยอรมัน จะชูแนวคิด นวัตกรรม : เครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และผลิตภาพ เพื่อพัฒนา และผลักดันอุตสาหกรรมต่างๆโดยรวมของประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมต่างๆของโลกได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า นวัตกรรม เท่านั้น ที่เป็นทางออกของการแข่งขันในโลกปัจจุบัน เนื่องจากต้นทุนในด้านต่างๆของประเทศไทย ที่เคยเป็นข้อได้เปรียบในอดีต ไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถนำมาใช้ในการแข่งขันได้อีกแล้ว จึงเป็นพันธกิจของสถาบันฯ โดยตรงในการชี้นำ และพัฒนาออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อนำร่องให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ ” รศ.ณรงค์ กล่าว

และตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา สถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีส่วนอย่างมากในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม ไปสู่ความยั่งยืน ควบคู่ไปกับแผนงานของการพัฒนาประเทศ และได้ริเริ่มดำเนินพันธกิจสำคัญต่างๆเป็นจำนวนมาก ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยดำเนินงานอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม และมีคณะกรรมการสถาบันฯ คอยกำกับดูแล

ด้านผลงานรูปธรรมที่สถาบันไทย–เยอรมันพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ กับเครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การสร้างเครื่องย่อยทำลายธนบัตรให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง การพัฒนาช่างแม่พิมพ์ และช่างเทคนิคให้กับบริษัทต่างๆ เป็นต้น ส่วนผลงานที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น การสานงานของภาครัฐ ในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วง โครงการเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพครูฝึก และร่วมร่างมาตรฐานของฝีมือแรงงาน การบูรณาการพันธกิจ และทรัพยากร เพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ทั้งระบบ และงานสร้างเครื่องจักรกล เป็นต้น

เกี่ยวกับสถาบันไทย-เยอรมัน : ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2538 เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี 2541 จากความร่วมมือระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีภารกิจเพื่อผลิตช่างเทคนิคที่มีฝีมือระดับสูงเฉพาะด้านในสาขา Advanced Manufacturing Technology ต่างๆ รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีในระดับเดียวกัน

]]>
33953
1 ทศวรรษ TGI https://positioningmag.com/34060 Thu, 05 Apr 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34060

ดร. ดำริ สุโขธนัง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ 1 ทศวรรษ TGI ” นวัตกรรม เครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และผลิตภาพ เนื่องในโอกาสที่สถาบันไทย-เยอรมัน ( TGI ) ก่อตั้งขึ้นมาครบ 10 ปี โดยมี รศ.ณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการ สถาบันไทย – เยอรมัน ร่วมทำพิธีเปิด ณ สถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

]]>
34060