สนามบินสุวรรณภูมิ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Jul 2021 02:38:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สุวรรณภูมิ” เปิดพื้นที่อาคารแซทเทิลไลท์ตั้งรพ.สนามแทนบุษราคัม รองรับ 5,000 เตียง https://positioningmag.com/1341068 Tue, 06 Jul 2021 14:34:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341068 สุวรรณภูมิ เปิดพื้นที่อาคารแซทเทิลไลท์เป็นโรงพยาบาลสนาม “ศักดิ์สยาม” เผยใหญ่กว่าบุษราคัม 3 เท่า ระยะแรก 5,000 เตียง รับคนไข้สีเขียว และสีเหลือง คาดให้บริการได้ใน ส.ค.นี้

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม จะเปิดพื้นที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (แซทเทิลไลท์ : SAT-1) สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นโรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งวันนี้ (6 ก.ค. ) ทางกระทรวงสาธารณสุขได้เข้าไปสำรวจพื้นที่แล้ว ซึ่งเบื้องต้นพื้นที่ของอาคาร SAT1 มีขนาดมากกว่าโรงพยาบาลบุษราคัม ที่อิมแพคเมืองทองธานี ประมาณ 3 เท่า และมีเป้าหมายจะใช้ทดแทนโรงพยาบาลบุษราคัม ที่จะครบการใช้พื้นที่ในเดือนสิงหาคมนี้

ศักดิ์สยาม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ประสานกับกระทรวงคมนาคม ในการใช้พื้นที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สนามบินสุวรรณภูมิ จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม โดยทางกระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า พื้นที่ของ SAT 1 มีความเหมาะสม โดยจะใช้พื้นที่ประมาณ 1 แสนตารางเมตร ซึ่งจะเป็นพื้นที่เตียงผู้ป่วยได้อย่างน้อย 5,000 เตียงในระยะแรก โดยจะใช้พื้นที่ชั้น 2 เป็นสถานที่ทำการของแพทย์และห้อง ICU ส่วนชั้น 3และ 4 เป็นพื้นที่สำหรับคนไข้สีเขียวและเหลือง ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการได้ประมาณเดือนสิงหาคมนี้

สำหรับ อาคาร SAT1 เป็นอาคาร 4 ชั้น มีความยาวประมาณ 1,000 เมตร พื้นที่ใช้สอย 216,000 ตร.ม. ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วมีระบบปรับอากาศ ไฟฟ้า น้ำประปาพร้อม หากปรับใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม จะต้องมีการปรับพื้นที่ และเพิ่มเติมห้องอาบน้ำ ตลอดจนอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ

ส่วนการเดินทาง จากบางนาใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งปัจจุบันมีถนนชั่วคราวเข้าพื้นที่อาคาร SAT1 ซึ่งหากใช้เป็นเส้นทางหลักจะต้องมีการปรับปรุงสภาพถนนเล็กน้อย

Source

]]>
1341068
ลือสะพัด! “แอร์เอเชีย” ซุ่มขออนุญาตบิน “สุวรรณภูมิ” 5 เส้นทาง แต่ยังไม่คอนเฟิร์มทางการ https://positioningmag.com/1287228 Fri, 10 Jul 2020 01:51:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287228 สะพัดสายการบินแอร์เอเชีย ซุ่มขออนุญาตสนามบินสุวรรณภูมิ ทำการบิน 5 เส้นทาง “เชียงใหม่-ขอนแก่น-เชียงราย-กระบี่-ภูเก็ต” แต่ไม่ย้ายจากดอนเมือง ให้ผู้บริโภคเลือกได้ว่าจะไปขึ้นหรือลงที่ไหน อีกด้านพบขออนุญาตสนามบินหัวหิน ทำการบินเส้นทางข้ามภาค “เชียงใหม่” และ “อุดรธานี”

รายงานข่าวแจ้งว่า ในเฟซบุ๊ก We Love Thailand Airlines ได้ออกมาระบุว่า สายการบินแอร์เอเชียอยู่ในระหว่างขออนุญาตทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังจุดหมายปลายทาง 5 เส้นทาง ซึ่งเป็นเส้นทางยอดนิยม ได้แก่ สุวรรณภูมิ-เชียงใหม่, สุวรรณภูมิ-ขอนแก่น, สุวรรณภูมิ-เชียงราย, สุวรรณภูมิ-กระบี่ และ สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต โดยจะเป็นการปฏิบัติการบินร่วมกับท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นว่าจะใช้บริการที่ไหน

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีการประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการจากทางแอร์เอเชีย ถึงกระนั้นได้มีภาพสื่อโฆษณาที่คาดว่าจะใช้สำหรับประชาสัมพันธ์หลุดออกมา ระบุว่า

“บินสะดวก เลือกได้ 2 สนามบิน ดอนเมือง และสุวรรณภูมิ กับ 5 เส้นทางสุดฮอต เชียงใหม่ ขอนแก่น เชียงราย กระบี่ ภูเก็ต”

ปัจจุบัน เส้นทางในประเทศจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีสายการบินที่ทำการบินประกอบด้วย การบินไทย (TG), ไทยสมายล์ (WE), บางกอกแอร์เวย์ส (PG) และ ไทยเวียดเจ็ท (VZ)

ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอเปิดเพิ่มเที่ยวบินเส้นทาง เชียงใหม่-หัวหิน, หัวหิน-เชียงใหม่, หัวหิน-อุดรธานี และ อุดรธานี-หัวหิน โดยจะเริ่มทำการบินระหว่างวันที่ 7 ส.ค. 2563 ถึง 23 ต.ค. 2563 เริ่มต้นโดยเที่ยวบินที่ FD3901 เชียงใหม่-หัวหิน ออกจากเชียงใหม่เวลา 10.00 น. ถึงหัวหินเวลา 11.00 น. ต่อด้วยเที่ยวบินที่ FD3910 หัวหิน-อุดรธานี ออกจากหัวหินเวลา 11.30 น. ถึงอุดรธานีเวลา 12.55 น.

จากนั้นจะเป็นเที่ยวบินที่ FD3911 อุดรธานี-หัวหิน ออกจากอุดรธานีเวลา 13.25 น. ถึงหัวหินเวลา 14.40 น. และเที่ยวบินที่ FD3900 หัวหิน-เชียงใหม่ ออกจากหัวหินเวลา 15.10 น. ถึงเชียงใหม่เวลา 16.10 น. โดยจะทำการบินเฉพาะวันศุกร์และวันอาทิตย์ หากเป็นเช่นนั้นจริงจะถือว่าเป็นเส้นทางบินข้ามภาคสายใหม่ ต่อจากเส้นทางเชียงใหม่-หาดใหญ่, เชียงใหม่-พัทยา (อู่ตะเภา), หาดใหญ่-พัทยา (อู่ตะเภา) ให้บริการเฉพาะวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ และขอนแก่น-หาดใหญ่ เฉพาะวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์

]]>
1287228
 ท่าอากาศยาน “ชางงี” สิงคโปร์ ครองแชมป์สนามบินดีที่สุดในโลก 8 ปีซ้อน “สุวรรณภูมิ” รั้ง 48 https://positioningmag.com/1278226 Tue, 12 May 2020 15:26:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278226 SKYTRAX บริษัทจัดอันดับให้แก่อุตสาหกรรมการบิน ในการจัดอันดับสนามบินระดับโลก ประกาศผลการจัดอันดับ สนามบินที่ดีที่สุดในโลก หรือ World’s Best Airports of 2020 ผลปรากฏว่า สนามบินซางงี ของสิงคโปร์ ยังคงรักษาตำแหน่งแชมป์อย่างเหนียวแน่น คว้าอันดับ 1 เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน

โดยสายการบินที่ดีที่สุดของโลก 10 อันดับแรก ได้แก่

1. สนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์
2. สนามบินฮาเนดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
3. สนามบินฮาหมัด โดฮา ประเทศกาตาร์
4. สนามบินอินชอน โซล ประเทศเกาหลีใต้
5. สนามบินมิวนิค ประเทศเยอรมนี
6. สนามบินฮ่องกง ฮ่องกง
7. สนามบินนาริตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
8. สนามบินชูบุเซ็นแทร์ นาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น
9. สนามบินสคิปโฮล อัมสเตอร์ดัม ของเนเธอร์แลนด์
10. สนามบินคันไซ ประเทศญี่ปุ่น

ขณะที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 48 ร่วงลงมา 2 อันดับเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

Source

]]>
1278226
กวาดเรียบ! “คิง เพาเวอร์” ชนะประมูล “ดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์” สุวรรณภูมิ บริหารต่ออีก 10 ปี https://positioningmag.com/1232408 Fri, 31 May 2019 05:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232408 ยังคงรักษาธุรกิจเดิมที่ทำมากว่า 30 ปี ไว้ได้เหนียวแน่น หลัง ทอท. ประกาศให้ “คิงเพาเวอร์” เป็นผู้ชนะประมูลสิทธิ์บริหารดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิอีกครั้ง ด้วยอายุสัญญา 10 ปี

วันนี้ (31 พ.ค.) ช่วงเช้า 9.30 น. บริษัท ท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ประกาศผลการประมูลบริหารโครงการดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ชนะประมูลอันดับ 1 คือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด อันดับ 2 BA หรือ บริการการบินกรุงเทพ จำกัด และอันดับ 3 ROH หรือ บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

วิชัย บุญยู้ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด ทอท. กล่าวว่า ทอท. ยังไม่ประกาศคะแนนของทั้ง 3 ราย เนื่องจากมีข้อเกี่ยวข้องกับการให้ผลตอบแทนที่จะได้รับตลอดอายุสัมปทาน หลังจากนี้จะนำผลประกวดราคาครั้งนี้เข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการรายได้วันที่ 12 มิ.ย. นี้ และเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด ทอท. วันที่ 19 มิ.ย. นี้

ผู้ชนะคัดเลือกได้เสนอผลตอบแทนสูงกว่าเดิมและสูงกว่าที่ ทอท. คาดหมาย

หลังจากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน ทอท. ได้เปิดซองประมูลราคาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ชนะคือ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งคว้าชัยชนะเหนือคู่แข่งเพียงรายเดียว คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN

การคว้าชัยชนะประมูลทั้งบริหารพื้นที่ดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่มีอายุสัญญาสัมปทาน 10 ปี ครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ฝีมือการขึ้นมาบริหารอาณาจักรแสนล้าน “คิงเพาเวอร์” ของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ต่อจากเจ้าสัว วิชัย ศรีวัฒนประภา

สำหรับการประมูลโครงการดิวตี้ฟรี และพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ ทอท. เปิดให้เอกชน “ซื้อซอง” เมื่อวันที่ 1 – 18 เม.ย. 2562 และเปิดให้ “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 จากนั้นวันที่ 27 พ.ค.2562 เปิดให้นำเสนอผลงาน และประกาศผลในวันที่ 31 พ.ค.2562 เพื่อเข้ารับสัญญาสัมปทานครั้งใหม่ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. 2563 – 23 มี.ค. 2574 อายุ 10 ปี 6 เดือน

การประมูลครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 สัญญา คือ 1. สิทธิ์บริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) สุวรรณภูมิ สัญญานี้มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 5 ราย คือ 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด 3. บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป และ WDFG UK ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีจากอังกฤษ 4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ 5. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ในกลุ่มนี้ มี 2 บริษัท คือ เซ็นทรัลและไมเนอร์ ไม่ยื่นซองเอกสารเทคนิค จึงเหลือผู้ชิงประมูล 3 ราย

ส่วนสัญญาที่ 2 สิทธิ์บริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial area) สนามบินสุวรรณภูมิ มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 4 ราย 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN 3. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT 4. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

หลังเปิดให้เอกชน “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ในสัญญานี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่ยื่นซองประมูล ส่วน ไมเนอร์ ถูก ทอท. ตัดสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ด้วยเหตุผลผิดเงื่อนไขตามทีโออาร์ ข้อ 3 และ ข้อ 5 จากการอ้างอิงเอกสารประสบการณ์ของบริษัทลูก “ไมเนอร์ ฟู้ด” ทำให้สัญญาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ เหลือผู้ผ่านเกณฑ์เข้าชิงเพียง 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และ เซ็นทรัลพัฒนา

]]>
1232408
ทำไม “ไมเนอร์” ต้องชิงบริหารพื้นที่พาณิชย์สุวรรณภูมิ แจงปมโดนตัดสิทธิ์ จี้ ทอท.ทบทวนใหม่ https://positioningmag.com/1231716 Mon, 27 May 2019 12:56:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231716 ค่ายไมเนอร์ เจ้าของธุรกิจอาหารและโรงแรม ปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้ที่เสนอตัวเข้ามชิงสัมปทานดิวตี้ฟรี และสิทธิ์บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ หลังจาก “คิงเพาเวอร์” เป็นผู้ถือสิทธิ์บริหารดิวตี้ฟรีมายาวนาน 30 ปี

แต่ยังไม่ทัน บมจ. การท่าอากาศยานไทย (ทอท.) หรือ AOT จะเปิดซองผู้เสนอราคาสูงสุด ในวันศุกร์นี้ (31 พ.ค.) ชื่อของ “ไมเนอร์” ต้องหายไปจากรายชื่อผู้เสนอราคาแล้ว

การประมูลครั้งสำคัญนี้ ทอท. เปิดให้เอกชนซื้อซองเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 และเปิดให้ “ยื่นซอง” โครงการบริหารจัดการพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 เพื่อเข้ารับสัญญาสัมปทานครั้งใหม่ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. 2563 – 23 มี.ค. 2574 อายุ 10 ปี 6 เดือน

โดยแบ่งการประมูลเป็น 2 สัญญา คือ 1. สิทธิบริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) สุวรรณภูมิ สัญญานี้มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 5 ราย คือ 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด 3. บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป และ WDFG UK 4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ 5. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ในกลุ่มนี้ มี 2 บริษัท คือ เซ็นทรัลและไมเนอร์ ไม่ยื่นซองเอกสารเทคนิค จึงเหลือผู้ชิงประมูล 3 ราย

สัญญาที่ 2. สิทธิบริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial area) สนามบินสุวรรณภูมิ มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 4 ราย 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

การเปิดให้เอกชน “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ในสัญญานี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่ยื่นซองประมูล ส่วน ไมเนอร์ ถูก ทอท. ตัดสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ด้วยเหตุผลผิดเงื่อนไขตามทีโออาร์ ข้อ 3 และ ข้อ 5 จากการอ้างอิงเอกสารประสบการณ์ของบริษัทลูก ทำให้สัญญาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เหลือผู้ผ่านเกณฑ์เข้าชิงเพียง 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และ เซ็นทรัลพัฒนา

กรอบเวลาหลังจากนี้ คือวันที่ 29 – 30 พ.ค. นี้ ทอท. กำหนดให้ผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติมานำเสนอแผนบริหารโครงการ จากนั้นวันศุกร์ 31 พ.ค. นี้ จะเปิดซองราคาและประกาศผลผู้ชนะทั้ง 2 สัญญา

ไมเนอร์แจงปมตัดสิทธิ์คุณสมบัติ

หลังจาก “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ถูกตัดสิทธิ์คุณสมบัติเข้าร่วมประมูลในวันที่ 22 พ.ค. จากนั้น วันที่ศุกร์ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

แจกแจงประเด็นที่ ทอท. ชี้ว่าผิดเงื่อนไขการประมูล ที่ระบุว่า ไมเนอร์ ขาดประสบการณ์ในการดำเนินงาน ตามเงื่อนไข คือ การบริหารพื้นที่ศูนย์การค้าขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์บริหารธุรกิจค้าปลีก จำหน่ายสินค้า อาหารและเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า พื้นที่ขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ดำเนินการต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นเพราะนำเสนอประสบการณ์ โดยอ้างอิงการทำงานของบริษัทลูก ที่ดำเนินธุรกิจโรงแรม ค้าปลีก และร้านอาหาร

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่การเงินส่วนกลางและวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไมเนอร์ “ไม่เห็นด้วย” กับ ทอท. ในการตัดสิทธิ์ไมเนอร์ ที่มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจด้านอาหาร เครื่องดื่มและการค้าปลีกในประเทศไทยตามข้อกำหนดของเอกสารการยื่นข้อเสนอ

“ไมเนอร์” เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจด้านอาหารและค้าปลีกในประเทศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง ผ่านบริษัทลูกที่ไมเนอร์ เป็นเจ้าของและเป็นผู้ถือหุ้นหลัก 80 – 90%

  1. บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้ดำเนินธุรกิจประเภทร้านอาหาร
  2. บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้ดำเนินธุรกิจประเภทจัดจำหน่ายสินค้าด้านแฟชั่น และไลฟ์สไตล์
  3. บริษัท รอยัล การ์เด้น พลาซ่า จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้า รอยัล การ์เด้น พลาซ่า พัทยา และ ศูนย์การค้า เทอร์เทิล วิลเลจ พลาซ่า
  4. บริษัท เจ้าพระยา รีซอร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้า ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า

“ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ซื้อซองและยื่นซองประมูล อีกทั้งเป็น “เจ้าของ” ที่มีอำนาจในการบริหารและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ 4 บริษัทลูกที่มีประสบการณ์ตามเงื่อนไขเข้าประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิตามที่ ทอท. กำหนด

การที่ ทอท. ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอของไมเนอร์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติจึงไม่ถูกต้อง จึงขอให้ ทอท. พิจารณาทบทวนการตัดสินของ ทอท. อย่างเร่งด่วนอีกครั้ง เพื่อความเป็นธรรมการประมูลครั้งนี้

หลังจากยื่นหนังสือให้ ทอท. ทบทวน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังรอผลตอบกลับจาก ทอท. แต่ก็เหลือเวลาอีกไม่มาก เพราะตามกำหนดผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติจะต้องเสนอแผนบริหารพื้นที่ในวันที่ 29 – 30 พ.ค. นี้

ชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์หนุนธุรกิจหลัก

ปัจจัยที่ทำให้ “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” สนใจเข้าร่วมประมูลบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ ชัยพัฒน์ อธิบายว่าต้องการพัฒนาพื้นที่สุวรรณภูมิให้เป็นสนามบินที่ติดอันดับโลก เพื่อเป็น “ประตู” ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยให้ได้จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์และธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้ประโยชน์ทั้งหมด รวมทั้งธุรกิจของกลุ่มไมเนอร์

ปัจจุบัน ไมเนอร์มีธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท อยู่ใน 64 ประเทศ ใน 5 ทวีป รู้ข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติดีว่าต้องการรับบริการประเภทใด เพื่อที่จะนำมาพัฒนาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สุวรรณภูมิ

หวังดันรายได้ไมเนอร์โตแกร่ง

“ไมเนอร์ กรุ๊ป” เป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงแรม อาหาร และไลฟ์สไตล์ ที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ภายใต้แผนระยะยาวช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ตั้งเป้าเติบโต 15 – 20% การเข้าประมูลบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ ถือเป็นการขยายธุรกิจใหม่ ที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของไมเนอร์ ให้แข็งแกร่งมากขึ้นและเติบโตได้สูงกว่าเป้าหมายแผน 5 ปีที่บริษัทวางไว้

สำหรับผลประกอบการ “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทำรายได้เติบโตต่อเนื่อง

  • ปี 2562 ไตรมาสแรก รายได้ 29,029 ล้านบาท กำไร 583 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 79,328 ล้านบาท กำไร 5,444 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 58,643 ล้านบาท กำไร 5,415 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 56,972 ล้านบาท กำไร 6,590 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 48,149 ล้านบาท กำไร 7,040 ล้านบาท
]]>
1231716
ผิดคาด! เซ็นทรัล ถอนตัวประมูลดิวตี้ฟรี คิงเพาเวอร์-รอยัลออคิด-บางกอกแอร์เวย์ส ชิงดำ https://positioningmag.com/1231089 Wed, 22 May 2019 12:02:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231089 ผิดคาด เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลถอนตัวกะทันหันไม่ยื่นซองประมูลดิวตี้ฟรีสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งๆ ที่พยายามผลักดันเรื่องนี้มาตลอด

จากการที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้เปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลจำหน่ายสินค้าปลอดอากร หรือ ดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ กำหนดให้ยื่นซองในวันนี้ (22 พ.ค. 62)

จากจำนวนเอกชนซื้อซอง 5 ราย ผลปรากฏว่ามีเอกชน 3 ราย เข้ายื่นซองประมูล คือ

1. บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด

2. บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ROH ร่วมกับผู้ร่วมทุน 3 ราย คือ บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED ผู้ประกอบธุรกิจดิวตี้ฟรีในประเทศอังกฤษ

3. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด ดิวตี้ฟรีจากประเทศเกาหลีใต้

ส่วนเอกชนอีก 2 ราย ไม่ได้มายื่นซอง คือ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ร่วมมือกับบริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ จำกัด ธุรกิจดิวตี้ฟรีประเทศสิงคโปร์ และ 2. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ยื่นชื่อพันธมิตรร่วมทุน

หลังจากนี้ ทอท.จะเปิดซองเทคนิคในวันที่ 27 พฤษภาคม ให้เสนอราคาในวันที่ 31 พฤษภาคม และวันที่ 12 มิ.ย. เสนอให้บอร์ด ทอท.อนุมัติในวันที่ 19 มิ.ย. และลงนามผู้ชนะประมูล ประมาณ ก.ค. หรือ มิ.ย.

ไมเนอร์ตก เหลือ 2 ราย ! “คิงเพาเวอร์ – เซ็นทรัล” ผ่านเกณฑ์ ชิงดำพื้นที่รีเทล สุวรรณภูมิ

สำหรับการเปิดประมูลโครงการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ (รีเทล) สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีเอกชนซื้อซองไป 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ 4. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งไม่มีรายใดแจ้งเรื่องการร่วมลงทุน (Joint venture) 

ทอท.กำหนดให้ผู้เข้าประมูลโครงการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ (รีเทล) สนามบินสุวรรณภูมิ ในวันนี้ (22 พ.ค.) เวลา 13.00 – 15.00 น ปรากฏว่ามีผู้ยื่นซอง ประมูลจำนวน 3 ราย ได้แก่ คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ, เซ็นทรัลพัฒนา และไมเนอร์

หลังจากตรวจสอบคุณสมบัติ พบว่ามีผู้ผ่าน 2 รายคือคิงเพาเวอร์สุวรรณภูมิ และเซ็นทรัลพัฒนา

ส่วนบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เชั่นแนล ได้ยื่นประมูล โดยใช้ผลงานของบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ซึ่งถือว่าไม่ตรงกับเงื่อนไขใน TOR ข้อ 3.5 ที่ระบุให้ผู้ยื่นซองต้องเป็นผู้ซื้อซองด้วยดังนั้น

แม้ว่าจะเป็นการใช้ผลงานของบริษัทลูกแต่เนื่องจาก บริษัท ไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป ไม่ได้เป็นผู้ซื้อซอง อีกทั้งไม่ได้แจ้งเรื่องการ Joint venture กันต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นคนละนิติบุคคล และทำให้ไมเนอร์ฯ ไม่ผ่านคุณสมบัติ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติได้ชี้แจง และไมเนอร์ฯเข้าใจในข้อผิดพลาดดังกล่าว วิชัย บุญยู้ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอทกล่าว

โดยผู้ผ่านคุณสมบัติ 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และเซ็นทรัล จะต้องนำเสนอผลงานในวันที่ 29 .และเปิดซองราคาในวันที่ 31 .ช่วงบ่าย โดย ทอท.จะสรุปการประมูลดิวตี้ฟรีและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เสนอต่อคณะกรรมการรายได้ ทอทในวันที่ 12 มิ.. จากนั้นจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอทวันที่ 19 มิ.. อนุมัติ คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาไม่เกินกลางเดือน ส.. 2562

โครงการให้สิทธิ์ประกอบกิจการระยะเวลา 10 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 28 .. 2563 – 31 มี.. 2574 

ลุ้น ดิวตี้ฟรี ภูมิภาค ยื่นซอง 4 มิ.ย.

ส่วนโครงการให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ และหาดใหญ่ มีผู้ซื้อซองไป 4 ราย ได้แก่ คิงเพาเวอร์, บางกอกแอร์เวย์ส, โรงแรมรอยัลออคิด, เซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดได้แจ้งเรื่องการร่วมลงทุน หรือ Joint venture มาแล้ว โดยมีคิงเพาเวอร์รายเดียวที่ไม่เสนอรายชื่อ Joint venture ดังนี้

  1. บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ไม่เสนอรายชื่อ JV / Consortium
  2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) JV ประกอบด้วย
    • บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด
    • บริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด
  3. บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) JV ประกอบด้วย
    • บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด
    • WDFG UK LIMITED
  4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด Consortium ประกอบด้วย
    • บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
    • บริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ จำกัด

โดยจะมีการยื่นซองในวันที่ 4 มิ.ย. นำเสนอผลงาน วันที่ 5 – 6 มิ.ย. เปิดซองราคาวันที่ 10 มิ.ย. เพื่อนำเสนอบอร์ด ทอท. ในวันที่ 19 มิ.ย. เช่นกัน.

Source

]]>
1231089