สมาคมผู้ค้าปลีกไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 18 Oct 2021 04:31:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดผลสำรวจ ผู้บริหารค้าปลีกฯ 62% เห็นด้วยเปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ https://positioningmag.com/1356966 Mon, 18 Oct 2021 03:30:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356966 ผลการสำรวจ TRA Poll ในหัวข้อ “ภาคการค้าปลีกและบริการพร้อมเปิดประเทศ ภายใต้เงื่อนไขมิติเศรษฐกิจและสาธารณสุข” จากการสำรวจผู้บริหารกลุ่มค้าปลีก ค้าส่ง และบริการ จำนวน 283 ราย ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ ในระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2564

พบว่า ผู้บริหาร 62.1% มองว่าด้วยมาตรการสาธารณสุขที่เข้มข้น และจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ค่อยๆ ลดลง เห็นควรสนับสนุนให้ภาครัฐ เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้นับจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า

“จากผลสำรวจของ TRA Poll ของผู้บริหารกลุ่มค้าปลีก ค้าส่ง และบริการ จำนวน 283 ราย ชี้ให้เห็นว่านโยบายการเตรียมเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ของภาครัฐ ถือเป็นสัญญาณที่ดี เป็นการเปิดรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติให้เข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องขอเน้นย้ำรัฐบาลในเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างจริงจังและเข้มข้น พร้อมทั้งเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 70% ของประชากรทั้งประเทศภายในปี 2564 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ รวมทั้งต้องจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ และมีจำนวนที่เพียงพอจนถึงปี 2565 และการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงชุดตรวจ ATK ที่สะดวกและราคารับได้”

ผลสรุปความคิดเห็นของผู้บริหารกลุ่มค้าปลีก ค้าส่ง และบริการ ในหัวข้อ “ภาคการค้าปลีกและบริการพร้อมเปิดประเทศ ภายใต้เงื่อนไขมิติเศรษฐกิจและสาธารณสุข” มีรายละเอียด ดังนี้

“อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการเปิดประเทศครั้งนี้ นอกเหนือจากการผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุขแล้ว สมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ ในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงโดยการนำโครงการ “ช้อปดีมีคืน” กลับมาอีกครั้งหนึ่ง และเพิ่มวงเงินเป็น 200,000 บาท เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นให้กลับมาโดยเร็ว

สำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SME ให้จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และเป็นแต้มต่อให้ SME ไทยสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป คนไทยควรปรับแนวคิดว่าจะต้องใช้ชีวิตร่วมกับโควิดให้ได้ และต่อจากนี้ไปเราต้องร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยเข้าสู่การฟื้นฟูอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน”

]]>
1356966
“สมาคมผู้ค้าปลีก” เสนอแผนกระจายวัคซีน ลดค่าน้ำ-ไฟ 50% หยุดดอกเบี้ย 6 เดือน https://positioningmag.com/1342753 Fri, 16 Jul 2021 06:48:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342753 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ ทั้งมาตรการจัดการวัคซีนที่รวดเร็ว ลดค่าน้ำค่าไฟ 50% เป็นเวลา 6 เดือน พักชำระหนี้ และหยุดดอกเบี้ยเงินกู้ 6 เดือน เพื่อต่อลมหายใจ SME

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ประกอบด้วยกลุ่มแรงงาน และผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม มีระยะเวลาในการช่วยเหลือ 1 เดือน โดยครอบคลุม 10 กลุ่มอาชีพ รวมทั้งลดค่าน้ำค่าไฟแก่ประชาชนทั่วประเทศอีก 2 เดือน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของลูกจ้าง นายจ้างและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในช่วงล็อกดาวน์

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า

“มาตรการภาครัฐครั้งนี้ออกมาได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่สิ่งที่ต้องการจากรัฐบาลคือ การเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงให้กับบุคลากรของกลุ่มการค้าปลีกและบริการเพื่อให้การล็อกดาวน์ครั้งนี้ เจ็บแต่จบ และหากฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย ก็จะสามารถเปิดประเทศได้ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ และควรครอบคลุมผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่ม รวมทั้งขยายระยะเวลาในการเยียวยาให้ยาวขึ้น พร้อมเร่งดำเนินการให้เงินเยียวยาถึงมือโดยทันที”

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ขอเสนอ 3 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการจัดหา และกระจายวัคซีนที่ชัดเจน

  • ใช้พื้นที่จุดฉีดวัคซีนที่ภาคค้าปลีกและบริการได้เตรียมไว้ทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เร่งฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรของกลุ่มการค้าปลีกและบริการให้ทั่วถึง
  • สนับสนุนชุดตรวจ Rapid Antigen Test ให้กับธุรกิจในภาคค้าปลีกและบริการเพื่อนำไปตรวจเชิงรุกให้กับบุคลากรในบริษัท เป็นการลดความเสี่ยงของการระบาด

2. มาตรการช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ

  • ลดค่าน้ำ ค่าไฟ เพิ่มเป็น 50% เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • เพิ่มมาตรการพักหนี้ ช่วยลูกหนี้ในพื้นที่ล็อกดาวน์ จาก 2 เดือน เป็น 6 เดือน พร้อมหยุดคิดดอกเบี้ยเงินกู้
  • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่เป็นผู้รับสินเชื่อ Soft Loan จากสถาบันการเงิน เพื่อนำไปให้กับผู้ประกอบการ SME

3. มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน

  • ปรับกลไกโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ให้เหมือนกับ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” และเพิ่มวงเงินเป็น 100,000 บาท เพื่อกระตุ้นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง
  • ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมโดยจัดเก็บภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตั้งแต่บาทแรกและห้ามขายสินค้าต่ำกว่าทุน
  • ปลดล็อกขั้นตอนการออกใบอนุญาตเหลือเพียง 1 ใบ (Super License) จากเดิมที่ต้องขอใบอนุญาตกว่า 43 ใบจาก 28 หน่วยงาน
  • ขยายเวลาโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับนักศึกษาจบใหม่ (Co-payment) ซึ่งจะสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 ออกไปอีก 1 ปี
  • ทดลองใช้ระบบการจ้างงานประจำเป็นรายชั่วโมง เพื่อสอดคล้องกับช่วงฟื้นฟูธุรกิจและเกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น
]]>
1342753
“วรวุฒิ อุ่นใจ” ลาออกจากประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เดินหน้าเส้นทางการเมือง “พรรคกล้า” https://positioningmag.com/1264722 Mon, 17 Feb 2020 08:45:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264722 วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และ CEO ออฟฟิศ เมท ได้ประกาศลงจากตำแหน่งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเป็นที่เรียบร้อย เพื่อเดินหน้าเส้นทางการเมืองเต็มตัว มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563

โดยที่วรวุฒิเป็นประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทยมาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้เรื่อง Duty Free ในสนามบิน ที่ไม่ควรผูกขาดเพียงแค่รายเดียว แต่ก็ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในการประมูลรอบใหม่เท่าไรนัก

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วรวุฒิได้โพสท์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Worawoot Ounjai ถึงการเริ่มต้นการทำงานด้านการเมืองอย่างเต็มตัวเป็นวันแรก นั่นคือการเป็นสมาชิก “พรรคกล้า” ที่ก่อตั้งโดย “กรณ์ จาติกวณิช” และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายราย

ในวันนี้ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ส่งจดหมายแจ้งสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการถึงการลงจากตำแหน่งของวรวุฒิ มีใจความดังนี้

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ขอแจ้งให้ทราบว่า นายวรวุฒิ อุ่นใจ ซึ่งดํารงตําแหน่งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ในวาระ พ.. 2561 – .. 2563 ได้แจ้งลาออกจากตําแหน่งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เนื่องจากต้องไปปฏิบัติภารกิจด้านอื่นตามที่ตั้งใจไว้ ทําให้ไม่สามารถสละเวลาเพื่อบริหารงานสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป  

นการนี้ ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทย จึงขอเรียนแจ้งมายังท่านสื่อมวลชนเพื่อโปรดทราบ และจะได้ไม่เกิดความสับสน ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมฯ อยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ที่จะมารักษาการในตําแหน่งประธานสมาคมฯ จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย วาระพ.. 2563-2565 ในการประชุมใหญ่สามัญประจําปี และจะแจ้งให้ท่านสื่อมวลชนทราบต่อไป

]]>
1264722
เมื่อค้าปลีกไทยโตช้ากว่าปกติ ต่อจากนี้ “ห้าง” ต้องเป็น “New Retail” https://positioningmag.com/1252876 Thu, 07 Nov 2019 12:31:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1252876 ภาพรวมรอบ 3 ปี ภาคค้าปลีกไทยโตช้ากว่าจีดีพีประเทศ สะท้อนความน่าเป็นห่วงในธุรกิจศูนย์การค้า-ซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งถูกอี-คอมเมิร์ซเข้ามาดิสรัปต์ดึงลูกค้าออกจากห้างฯ แม้จะปรับตัวกันมาสักระยะแล้วแต่อาจจะยังไม่พอเพราะโลกสองใบ “ออนไลน์-ออฟไลน์” ของห้างฯ ยังไม่เชื่อมเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แบบ “New Retail”

“2.9%” คือตัวเลขคาดการณ์เติบโตของภาคค้าปลีกไทยปี 2562 ที่ “วรวุฒิ อุ่นใจ” ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย นำเสนอบนเวทีสัมมนา Line Retail Tech 2019 แบบไม่พึงพอใจนัก เพราะตัวเลขนี้ยังต่ำกว่าคาดการณ์จีดีพีประเทศที่น่าจะเติบโต 3.0-3.2% เขายังกล่าวย้ำด้วยว่าสภาวะที่ค้าปลีกเติบโตต่ำกว่าจีดีพีเกิดขึ้นต่อเนื่องมาแล้ว 3 ปี ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติจากในอดีตที่การเติบโตของค้าปลีกจะสูงกว่าจีดีพีประเทศ 1-2% อยู่เสมอ

การเติบโตของรีเทลไทยปี 2019 อาจจะเติบโตเพียง 2.9% ซึ่งต่ำกว่าการเติบโตของจีดีพีประเทศ

“รีเทลไทยปรับตัวเร็ว เราไปปรับไปเป็น lifestyle mall แทน shopping plaza แล้ว ทำให้คนไทยใช้เวลาในห้างฯ ได้ทั้งวัน การปรับตัวนี้เกิดขึ้นมาเป็นสิบปี” วรวุฒิกล่าว แต่เหตุที่ยังไม่เพียงพออาจเป็นเพราะห้างฯ กลายสภาพเป็นโชว์รูมสินค้าแต่ลูกค้ากลับไปสั่งซื้อออนไลน์ที่บ้าน ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าลูกค้าจะซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของห้างฯ หรือเจ้าอื่น แล้วห้างฯ จะทำอย่างไรเพื่อดึงยอดขายให้อยู่กับตัว?

ขั้นแรกที่วรวุฒิแนะนำให้ทั้งศูนย์การค้าหรือแม้แต่ร้านค้าออฟไลน์ที่เปิดในห้างฯ สามารถทำได้เหนือกว่าออนไลน์คือ “กิจกรรม” ซึ่งออนไลน์ยังมีจุดบอด ไม่สามารถทำกิจกรรมตอบโต้กับลูกค้าได้เต็มที่

ยกตัวอย่าง เพาเวอร์บาย มีกิจกรรมการบริการให้มากขึ้นในการให้คำปรึกษากับลูกค้าและบริการหลังการขาย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่าง เช่น ระบบโฮมออโตเมชั่น เป็นสินค้าที่ซับซ้อนและต้องการคำอธิบาย หรือตัวอย่างร้าน บีทูเอส ซึ่งปรับตัวเองจากร้านขายหนังสือมาขายอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เมื่อร้านจะขายสินค้าบอร์ดเกม ร้านจึงจัดกิจกรรมแข่งขันบอร์ดเกม จุดประสงค์เพื่อแนะนำเกมที่นำมาขายให้ลูกค้าเข้าใจวิธีเล่นซึ่งนำไปสู่ยอดขายได้มากกว่าตั้งสินค้าและแปะป้ายราคาไว้เฉยๆ

 

เร่งปรับตัวก่อน “New Retail” พายุระลอกใหม่มาถึง

ส่วนอนาคตอันใกล้นี้ วรวุฒิชี้ให้เห็นพายุลูกใหม่จาก Alibaba ในจีนซึ่งทดลองเปิด ร้านเหอหม่า เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้นิยามใหม่ของบริษัทคือ “New Retail”

“เมื่อคนที่เริ่มจากออนไลน์มาทำออฟไลน์ เขาจะทำง่ายและทรงพลัง เพราะเขามีดาต้าเบสอยู่ในมืออยู่แล้ว”

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ (photo: Alibaba)

วรวุฒิแจกแจงว่าการพัฒนาห้างฯ แบบ New Retail ดังกล่าวคือการผูกเทคโนโลยีเข้าไปในร้านค้าโดยไม่ได้แบ่งแยกว่านี่คือร้านแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น ภายในซูเปอร์มาร์เก็ตจะเปลี่ยนป้ายโฆษณาและป้ายบาร์โค้ดราคาเป็นดิจิทัลทั้งหมด สาเหตุเพราะจะทำให้ร้านซึ่งมีดาต้าการซื้อของลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนโปรโมชันได้ถี่ขึ้นเป็นรายชั่วโมง ถ้าลูกค้าเข้าไปเลือกซื้ออาหารสดยังสามารถสแกนบาร์โค้ดเพื่อดูรายละเอียด ดูเมนูแนะนำ ไปจนถึงสั่งครัวในห้างฯ ให้ทำอาหารตามเมนู ปิดท้ายด้วยกดสั่งให้นำอาหารปรุงเสร็จไปส่งที่บ้านได้ด้วย

ความล้ำหน้าใน New Retail หรือห้างฯ แนวใหม่ยังผนวกระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) ในการชำระเงิน หรือการใช้หุ่นยนต์ปรุงอาหาร/เครื่องดื่มแบบ customized ให้ลูกค้าเป็นรายคน

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการจัดการดาต้าเป็นพื้นฐาน ซึ่งรีเทลไทยต้องวิ่งตามให้ทัน!!

]]>
1252876
กำลังซื้อไม่มา! “ค้าปลีกไทย” ปี 62 ส่อซึมยาว ชง 8 มาตรการกระตุ้น https://positioningmag.com/1213430 Mon, 11 Feb 2019 23:07:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213430 ท่ามกลางความท้าทายทั้งสภาวะเศรษฐกิจ และช่องทางขายผ่านออนไลน์ มาดูกันว่าค้าปลีกของไทยปี 2562 จะเป็นอย่างไร? เมื่อสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ประเมินไว้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2561 เติบโตราว  4.0-4.2% แต่พบว่าภาคค้าปลีกเติบโตเพียง 3.1% จากการชะลอตัวช่วงไตรมาสที่ 3-4 ขณะที่การค้าปลีกค้าส่งมีสัดส่วนจีดีพี ด้านการผลิต 16.1% เป็นอันดับ 2 รองลงมาจากภาคอุตสาหกรรม

การขยายตัวของภาคค้าปลีกค้าส่ง จึงมีความสำคัญต่อการจ้างงานที่คิดเป็น 16% ของการจ้างงานทั้งประเทศ ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาภาคค้าปลีกลงทุนต่อเนื่อง พบว่า ปี 2559-2561 กลุ่มโมเดิร์น เชน สโตร์ ลงทุนรวม 130,200 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 43,400 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 210,000 คนต่อปี และการจ้างงานทางอ้อมอีกกว่า 150,000 คน

วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า แนวโน้มค้าปลีกไทยเติบโตต่ำมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2557 และมีทิศทาง “ทรงตัว” ในปีนี้  หากเป็นเช่นสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ค้าปลีกไม่สามารถรักษาระดับการลงทุนเหมือนที่ผ่านมา

โดยเป็นผลมาจากตัวแปรเศรษฐกิจปี 2562 ที่พบว่าตัวเลขจีพีพี ปี 2562 ทุกสถาบันต่างเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในแบบชะลอจากปีก่อน นอกจากนี้ยังมีความไม่ชัดเจนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นรายได้หลักของกลุ่มคนฐานรากกลุ่มใหญ่ของประเทศ จากการคาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรโภคภัณฑ์อาจไม่เพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดโลก แต่อาจมีเพียงข้าวที่ทำรายได้ได้ดีในระดับหนึ่ง

อีกปัจจัยสำคัญ คือ เสถียรภาพทางการเมืองหลังเลือกตั้ง ธุรกิจค้าปลีกคงต้องเฝ้าติดตาม บรรยากาศโดยภาพรวม ซึ่งจะส่งผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจเดินหน้าการค้าและการลงทุนในปีต่อๆ ไป

กำลังซื้อ “ซึม-ทรง” ค้าปลีกเสี่ยง”

โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยปี 2562 ต้องเผชิญกับกลุ่มฐานผู้บริโภคกลางลงล่าง “ซึม” กลุ่มฐานผู้บริโภคกลางขึ้นบน “ทรง” และทั้งภาคค้าปลีกยังคงต้อง “เสี่ยง” กับความไม่ชัดเจนและความไม่แน่นอน

การคาดการณ์สถานการณ์ค้าปลีกครึ่งปีแรก 2562

อุตสาหกรรมภาคค้าปลีกคงหวังไม่ได้กับ “มาตรการ อั่งเปาช่วยชาติ” ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีการจับจ่ายกว่าแสนล้าน โดยมีผู้บริโภคเข้าร่วมโครงการกว่า 6 ล้านคน แต่ข้อมูลล่าสุดมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนเพียงหลักหมื่นคน ทำให้การจับจ่ายเหลือเพียงประมาณหมื่นล้านบาท เมื่อรวมถึงการเลือกตั้งที่จะมีเงินสะพัดราว 50,000 ล้านบาท ทำให้ครึ่งปีแรกจะมีเงินสะพัดเพียงประมาณ 60,000 ล้านบาท ถือว่าอยู่ค่อนข้างน้อย ดังนั้นภาพรวมค้าปลีกครึ่งปีแรก คงจะไม่เห็นการเติบโตภาคค้าปลีกเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร

สำหรับสถานการณ์ครึ่งปีหลัง หากภาครัฐเร่งให้มีการประมูลโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ภายในไตรมาสแรก ผลจากการลงทุนนี้จะส่งผลต่อการเติบโตแก่ภาคค้าปลีกในปลายไตรมาส 3 ต่อต้นไตรมาส 4 แต่หากไม่เป็นตามระยะเวลาดังกล่าว ครึ่งปีหลังก็คงจะ “ซึม ถึง ทรุด” ในบางกลุ่มประเภทธุรกิจเซ็กเมนต์

โดยรวมดัชนีค้าปลีกปี 2562 อาจจะทรงตัวหรืออาจจะต่ำกว่าเดิมเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2561 คาดว่า การเติบโตน่าจะอยู่ราว 3.0-3.1% แต่ซึ่งก็ยังต่ำกว่าจีดีพีประเทศ ที่คาดการณ์ว่าน่าจะเติบโตราว 3.5-4.0%

ชง 8 ข้อเสนอกระตุ้นค้าปลีก

ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอ 8 มาตรการ ต่อภาครัฐบาลเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง ดังนี้

1. รัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งอย่างจริงจัง เนื่องจากภาคค้าปลีกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการจ้างงานอันดับ 1 ของการจ้างงานนอกภาคเกษตร ขณะเดียวกันภาคการบริโภคค้าปลีกค้าส่ง มีสัดส่วนกว่า 55% ของมูลค่าการบริโภคภาคเอกชน

2. เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีที่ถูกบิดเบือน รัฐบาลควรศึกษาและพิจารณาเรื่องการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์หรูอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่มแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และนาฬิกาชั้นนำ (Luxury Brand) เพื่อกระตุ้นยอดจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในเมืองให้เพิ่มขึ้น

3. สร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศและผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศจัดงาน “Thailand Brand Sale” ระยะเวลา 3 เดือน ช่วงโลว์ซีซันของการท่องเที่ยว หรือช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์หรูในกลุ่มแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และนาฬิกา ชั้นนำ (Luxury Brand) เพื่อกระตุ้นยอดจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เพิ่มขึ้น และกระตุ้นการจับจ่ายผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ให้กลับคืนมา

4. ภาครัฐต้องไม่ปิดกั้นผู้ประกอบการรายอื่นๆ ให้เข้ามาดำเนินธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีในสนามบิน และพื้นที่ค้าปลีกนอกสนามบิน เพื่อเปิดแข่งขันเสรีในทุกภาคส่วนในประเทศไทย เพื่อรัฐจะสามารถสร้างรายได้มากขึ้น

5. ปัจจุบันกลุ่มค้าปลีกมีความต้องการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพนักงานรายชั่วโมงที่ไม่สามารถจ้างงานได้เพียงพอ ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มที่ขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลหลังเกษียณ ที่ไม่มีรายได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานได้เต็มเวลา 8 ชั่วโมง จึงเหมาะสมที่จะจ้างกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นรายชั่วโมง ภาครัฐจะต้องกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้สามารถจ้างงานบุคคลกลุ่มดังกล่าวได้

6. นโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ ขอให้พิจารณาปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างผู้สูงอายุที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษี ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 15,000 บาท เสนอให้พิจารณากรณีค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท ให้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดที่ 15,000 บาท เพราะปัจจุบันหากค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เลย และสามารถจ้างงานเป็นรายชั่วโมงตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง ตามข้อ 5

7. ภาครัฐต้องสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่ง ตลอดจนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจบริการให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระบบทวิภาคี โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ และอาจให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษีหรือสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกทั้งภาครัฐจะต้องมีมาตรการสนับสนุนการนำคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นมาตรฐานการจ้างงานโดยเริ่มที่การจ้างงานภาครัฐก่อน

8. รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมการค้าชายแดนอย่างชัดเจน โดยพิจารณาผ่อนผันการเปิดด่านต่างๆ การเพิ่มจำนวนด่าน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งพิจารณาให้มี VAT Refund for Tourist ในกรณีนักท่องเที่ยวเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้เส้นทางบก

]]> 1213430 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เคาะดัชนีค้าปลีกครึ่งปี 60 โต 3% แต่จับจ่ายยังไม่สดใส พึ่งรัฐต้องลงทุน https://positioningmag.com/1126352 Mon, 22 May 2017 07:22:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1126352 สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผย ดัชนีอุตสาหกรรมค้าปลีกโดยรวมของไตรมาสแรกปี 2560  เติบโตขึ้นถึง 3.02% ซึ่งเป็นผลจากภาพรวมของเศรษฐกิจและธุรกิจไทยในครึ่งปีแรก มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป เนื่องจากบรรยากาศการจับจ่ายยังไม่แจ่มใสเท่าที่ควร คาดการณ์ว่า หากเครื่องยนต์การใช้จ่ายภาครัฐแผ่วลง ดัชนีค้าปลีกครึ่งปีแรก อาจต่ำกว่า 3% หรือในทางกลับกัน หากการใช้จ่ายภาครัฐมีประสิทธิภาพ ดัชนีค้าปลีกครึ่งปีแรกน่าจะมีโอกาสเติบโตถึง 3.2%

นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า สมาคมได้คาดการณ์สถานการณ์ค้าปลีกครึ่งปีแรกน่าจะเติบโตระหว่าง 3.0-3.2%  วิเคราะห์จากการเติบโตของ ภาคบริการ 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง, ภาคการเงินการธนาคาร และภาคค้าปลีก

ค้าปลีกโตจากขยายสาขา

โดยในไตรมาสแรกพบว่ากำไรของสถาบันการเงินการธนาคารยังดีอยู่ แม้หนี้เสียจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้และกำไรยังคงที่ ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังเติบโตต่ำ เมื่อพิจารณาจากผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ 4-5 บริษัทที่ทั้งยอดขายและกำไรต่างก็ลดลง ส่วนภาคค้าปลีก มีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจากผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ 4-5 บริษัท พบว่าการเติบโตส่วนใหญ่มาจากการขยายสาขา ในขณะที่การเติบโตจากสาขาเดิมมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่มากพอที่จะทำให้หมวดสินค้าต่างๆเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้หมวดสินค้าไม่คงทน ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล Retail Landscape by The Nielsen ที่แสดงให้เห็นว่าการเติบโตในหมวด FMCG ยังคงติดลบเล็กน้อยในไตรมาส 1/2560

ส่วนหมวดสินค้าคงทน และสินค้ากึ่งคงทน ยังคงทรงตัว และยังไม่เห็นสัญญาณที่จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้วิเคราะห์ผลการเติบโตของสินค้าแต่ละหมวดในไตรมาสแรกของปี 2560 โดยละเอียด ดังต่อไปนี้

1.หมวดสินค้าคงทน (Durable Goods) เติบโตในอัตราที่ต่ำเพียง 1.25% ใน ไตรมาส 1/2560 เห็นได้ชัดจากผลประกอบการของอุตสาหกรรมการก่อสร้างและที่อยู่อาศัยในไตรมาส 1/2560 ติดลบ ส่งผลให้ผลประกอบการธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างเติบโตแบบถดถอย

ส่วนธุรกิจจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Home Appliance) เติบโตเพียงเล็กน้อย เนื่องมาจากการเข้มงวดของการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคของสถาบันการเงิน ส่วนหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Mobile & Camera) แม้เติบโตเพิ่มขึ้นราว 3% แต่ปริมาณการซื้อ (volume) ยังน้อยเมื่อเทียบกับทั้งหมวดสินค้า ส่งผลให้โดยรวมหมวดสินค้าคงทน เติบโตเพียง 1.25%

2. หมวดสินค้ากึ่งคงทน (Semi Durable Goods) เติบโตในอัตราที่ถดถอย เพียง 2.3 % ในไตรมาส 1/2560 แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 1/2560 จะเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2559 แต่ก็ไม่ส่งผลให้การจับจ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนฟื้นตัวขึ้น

ปัจจัยหลักที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญคือ อัตราภาษีสินค้านำเข้าแบรนด์หรูยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้หมวดสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง ยังคงเติบโตต่ำกว่าเมื่อปีที่ผ่านมา ประกอบกับประชาชนชาวไทยยังอยู่ในช่วงไว้อาลัย บรรยากาศการจับจ่ายสินค้าแฟชั่นแบรนด์ดังจึงยังค่อนข้างซบเซา อย่างไรก็ดี ด้วยความที่หมวดเครื่องกีฬาและสุขภาพยังเติบโตค่อนข้างมากตามเทรนด์ จึงทำให้การเติบโตในหมวดสินค้ากึ่งคงทนทั้งหมดยังคงทรงตัว

3. หมวดสินค้าไม่คงทน (Non Durable Goods) เป็นหมวดสินค้าที่มีการเติบโตอย่างชัดเจนถึง 3.4% ในไตรมาส 1/2560 แม้จะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวช้า แต่ยังคงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยบวกจากราคาพืชผลทางเกษตรมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรซึ่งเป็นรากฐานใหญ่ของกลุ่มผู้บริโภคหมวดสินค้าไม่คงทน มีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้อัตราการบริโภคสินค้าหมวดนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับการผลักดันการใช้งบประมาณภาครัฐลงสู่ภูมิภาคและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เม็ดเงินงบประมาณเริ่มไหลลงสู่ประชาชนฐานรากของประเทศอย่างชัดเจน ทำให้ธุรกิจในหมวดสินค้าไม่คงทนเติบโตฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัย สินค้าหมวดดังกล่าวมีสัดส่วนถึง 68% ของดัชนีค้าปลีก

ปัจจัยบวกเศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2560

  1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6%
  2. อัตราการส่งออกขยายตัว 4.9%
  3. จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 5%
  4. ราคาพืชผลการเกษตรเพิ่มขึ้น
  5. ดัชนีการบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
  6. ตลาดรถยนต์ขยายตัว 15.4%
  7. ตลาดรถจักรยานยนตร์ขยายตัว 5%

ปัจจัยลบเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังปี 2560

  1. ขณะนี้กำลังเข้าสู่รอบไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ การใช้จ่ายอาจแผ่วลง
  2. โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ ยังไม่เกิดการปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
  3. การลงทุนภาคอกชนยังไม่ฟื้นตัว และพึ่งพาแต่การลงทุนภาครัฐ
  4. บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เติบโตลดลงทั้งยอดขายและกำไร
  5. หนี้ครัวเรือนที่ยังส่งสัญญาณที่จะทรงตังในระดับ 80.2% มีผลต่ออำนาจการซื้อของครัวเรือนต่ำ   ทำให้การบริโภคสินค้าหมวดคงทนและหมวดสินค้ากึ่งคงทนอาจต้องชะลอออกไป

ค้าปลีกจ้างงาน 4.5 แสนคน/ปี เฉลี่ย 10%

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังให้ความเห็นถึงจำนวนแรงงานภาคค้าปลีกและบริการทั่วประเทศมีจำนวนทั้งหมด 14 ล้านคน เฉพาะภาคค้าปลีกมีจำนวน 6.2 ล้านคนทั่วประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาสมาชิกของสมาคมภาคธุรกิจค้าปลีกได้มีการจ้างงานรวมกว่า 450,000 คน เฉลี่ยปีละประมาณ 10% หรือกว่า 45,000 คนต่อปี ซึ่งอัตราการจ้างงานก็ไม่สามารถบรรจุได้ครบ เนื่องจากประชากรวัยทำงานเริ่มลดลง แรงงานในภาคการค้ายังขาดแคลนอีกมาก

ปัจจุบันสังคมผู้สูงอายุมีมากขึ้น ภาครัฐควรส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพได้มีโอกาส มีอาชีพ มีรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการขยายการจ้างงานในวงกว้าง ดังนั้นการที่เรามีจำนวนผู้สูงอายุมาก ถือเป็นโอกาสที่ดีในการจ้างแรงงานกลุ่มนี้ รวมถึงกฎหมายควรเปิดช่องทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเป็นรายชั่วโมง

]]>
1126352
DID YOU KNOW? https://positioningmag.com/62193 Wed, 13 Jan 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62193

]]>
62193
งาน FHT 2013 BIGGER@BITEC จัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี https://positioningmag.com/57177 Mon, 09 Sep 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57177

เปิดงานอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้สำหรับงาน Food & Hotel Thailand 2013 ภายใต้ธีม BIGGER@BITEC บนพื้นที่แสดงงานที่ใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นับเป็นงานแสดงสินค้าและบริการระดับพรีเมียมเพื่อธุรกิจบริการระดับ 5 ดาวของไทยและภูมิภาคเอเชียที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยงานในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 21 ภายใต้แนวคิด “เสิร์ฟรสชาติใหม่ให้แก่ธุรกิจ”

งาน FHT 2013 ในปีนี้ได้รับความสนใจจากธุรกิจมากขึ้น โดยจำนวนผู้ร่วมจัดแสดงสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จาก 271 รายในปีที่แล้ว เพิ่มเป็นกว่า 350 รายจาก 26 ประเทศ ครอบคลุมพื้นที่จัดแสดงงานทั้งหมด 3 ฮอลล์ คือ ฮอลล์ 103 – 104 – 105 รวมพื้นที่จัดแสดงงานกว่า 18,500 ตารางเมตร ถือได้ว่าเป็นงานที่จัดใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ณ ไบเทค บางนา

งาน Food & Hotel Thailand 2013 จัดเป็นงานแสดงสินค้า ที่รวบรวมผู้จัดแสดงสินค้าจากทั่วโลกและตัวแทนประเทศต่างๆ โดยมีสินค้าและบริการระดับพรีเมียมเพื่อธุรกิจบริการระดับ 5 ดาวของไทยและภูมิภาคเอเชีย มาร่วมจัดแสดงกว่า 350 รายจาก 26 ประเทศ กว่า 800 แบรนด์ดัง รวมถึงศาลาจัดแสดงสินค้าประจำชาติจาก 7 ชาติ ได้แก่ อาร์เจนตินา บัลแกเรีย เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา

นายสมศักย์ ภูริศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยเขาได้กล่าวว่า “ขณะนี้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาก เนื่องจากทำรายได้เข้าประเทศมหาศาล โดยได้มีการขยับเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2558 จากเดิมที่ตั้งไว้ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นไปอีกร้อยละ 10 เป็น 2.2 ล้านล้านบาท เนื่องจากในการจัดทำแผนการตลาดประจำปี 2557 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เห็นแนวโน้มชัดเจนแล้วว่าในปี 2557 จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวที่ 2 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยอีกประมาณ 7 แสนล้านบาท”

“ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของตนพัฒนาทักษะและฝีมือให้ก้าวหน้าทัดเทียมมาตรฐานสากล และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานและบริการของตนเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนกลายเป็นผู้นำตลาดในที่สุด” นายสมศักย์ กล่าว

งาน FHT2013 เสิร์ฟรสชาติใหม่ให้กับธุรกิจ

งาน Food & Hotel Thailand 2013 ถือเป็นเวทีจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุด พร้อมนำเสนอแนวโน้มและทิศทางธุรกิจใหม่ๆ โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่กำลังเติบโตทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค

และเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น งาน FHT2013 ได้จัดแสดงกิจกรรมที่เพิ่มรสชาติใหม่ให้กับธุรกิจหลากหลาย ได้แก่

• ศาลาประจำชาติที่เพิ่มขึ้น จากประเทศบัลแกเรีย อาร์เจนติน่า และอินเดีย
• เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ (เปิดตัวทั่วโลก 22 รายการ เปิดตัวในไทย 21 รายการ และระดับอาเซียนอีก 7 รายการ)
• เปิดตัวประธานกรรมการคนใหม่ อาจารย์ไพรัช อินทะพุฒ ซอมเมอลิเย่ระดับเทพ สำหรับงานประกวดไวน์นานาชาติ FBAT International Wine Challenge ครั้งที่ 9 และงานประกวดไวน์ไทยครั้งแรก กับรายการ FBAT Thai Wine Challenge
• เวลาเปิดแสดงงานนานขึ้น จาก 10.00 น. ไปจนถึง 19.00 น.
• สัมมนาและเวิร์คชอปหัวข้อใหม่ๆ
• การแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งครั้งใหม่ ระหว่างประเทศไทยกับไต้หวัน

“ในฐานะที่ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน ผนวกกับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 จะทำให้ไทยมีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรมและธุรกิจบริการต่างๆ จะได้พบโอกาสใหม่ๆ อีกมากมาย และจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อม พัฒนาและปรับปรุงธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งงาน FHT 2013 ถือเป็นที่สุดของงานแสดงสินค้าที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ใหพัฒนายิ่งขึ้น” นายจัสติน พาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัทแบงค็อค เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (BES) กล่าว

งาน FHT 2013 ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากสมาคมอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมเชฟแห่งประเทศไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมสปาไทย สมาคมผู้บริหารงานแม่บ้านแห่งประเทศไทย สมาคมบาริสต้าไทย สมาพันธ์กาแฟอาเซียน สมาคมอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย สมาคมนักบริหารอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย ชมรมผู้บริหารงานวิศวกรรมในโรงแรมและอาคารพาณิชย์ สมาคมประชาสัมพันธ์โรงแรมแห่งประเทศไทย และ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.

ด้วยความร่วมมืออย่างดีจากสมาคมชั้นนำดังกล่าว งาน FHT2013 ได้จัดให้มีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งการจัดประชุมและงานสัมมนาต่างๆ ซึ่งรวมถึง งานประชุมว่าด้วยอุตสาหกรรมการต้อนรับแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 Thailand’s 15th Hospitality Industry Congress จัดโดยสมาคมโรงแรมไทย ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยก่อนเข้าสู่ AEC” การแข่งขัน Thailand’s 19th International Culinary Cup (TICC) ครั้งที่ 19 จัดโดยสมาคมเชฟแห่งประเทศไทย การแข่งขันบาริสต้าชิงแชมป์อาเซียน ครั้งที่ 2 จัดโดยสมาคมบาริสต้าไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาพันธ์กาแฟอาเซียน งานสัมมนาสมาคมภัตตาคารไทย การแข่งขันบาร์เทนเดอร์ชิงแชมป์ประเทศไทย โดยสมาคมโรงแรมไทย การประกวดไวน์นานาชาติ ครั้งที่ 9 The 9th FBAT International Wine Challenge การประกวดไวน์ไทยครั้งแรก FBAT Thai Wine Challenge งานสัมมนาของ สมาคมผู้บริหารงานแม่บ้านแห่งประเทศไทยและการแข่งขัน งานสัมมนาของชมรมผู้บริหารงานวิศวกรรมในโรงแรมและอาคารพาณิชย์ รวมถึงงานสัมมนาว่าด้วยเรื่องไวน์ และงานสัมมนาของวิทยาลัยดุสิตธานี

]]>
57177
2 สมาคม ผู้ค้าปลีกไทยและสมาคมนักออกแบบ เตรียมจัดงาน Better Shop https://positioningmag.com/38176 Mon, 03 Dec 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=38176

สมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส, สมาคมผู้ค้าปลีกไทย, ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน BETTER SHOP งานแสดงบูทสินค้าและบริการสำหรับร้านค้าปลีก ที่แสงดเทคโนโลยีอุปกรณ์ร้านค้า และโอกาสในการสรรหาสินค้าใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ ในธุรกิจ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการพบปะระหว่างผู้ทำกิจการค้าปลีก กับซัพพลายเออร์

ร่วมให้ความรู้ เพื่อการปรับปรุงร้านค้า พร้อมโชว์ไอเดียแปลกใหม่ในการทำร้านค้าปลีก อาทิ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Special Store) เช่น ร้านขายเครื่องสำอาง ร้านเสื้อผ้าแฟชั่น ร้านรองเท้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องประดับ ร้านขายยา ร้านเครื่องเขียน ร้านขายโทรศัพท์ ฯลฯ และเจ้าของร้านเชนสโตร์ ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2551 ณ ฮอลล์ 4 อิมแพคเมืองทองธานี

โดยมีผู้ร่วมแถลงดังนี้
1. นายมกร เชาวน์วาณิชย์ นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IDS)
2. คุณสมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด
3. คุณสุทธิพงษ์ สุริยะ เจ้าของ KARB STUDIO (Kitchen & food concept)
4. คุณพีรศักดิ์ ทองนรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีแมท คอร์ปอเรชั่น

]]>
38176