สมูทอี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 05 Aug 2019 09:05:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องมุมคิดวิถีการให้ “แสงสุข พิทยานุกุล” เจ้าของสมูทอี “บริจาควันละ 1 ล้าน” แต่โอกาสได้คืนมากกว่า https://positioningmag.com/1241340 Mon, 05 Aug 2019 00:50:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241340 ในวัย 61 ปี “ดร.แสงสุข พิทยานุกุล” ผู้ที่เชื่อในเรื่องการสร้างแบรนด์และการทำมาร์เก็ตติ้ง ตลอดการทำงานกว่า 35 ปี Smooth E และ Dentiste จึงเป็นแบรนด์เวชสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากของคนไทย ที่แข่งขันได้กับแบรนด์ต่างชาติ และส่งออกไปทำตลาดกว่า 25 ประเทศทั่วโลก วันนี้ในมุมธุรกิจถือว่า “อยู่ตัว” มีกำไรเข้ามาต่อเนื่อง จึงสานต่ออีกความเชื่อที่ว่า Give Before Take ให้เข้มข้น

“บางครั้งการทำธุรกิจ ที่ได้เงินมามากหมายมหาศาล ไม่ได้มีความสุขเสมอไป แต่การได้ส่งมอบสิ่งดีๆ คืนให้สังคมถือเป็นความสุข” ดร.แสงสุข พิทยานุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเฮลท์ กรุ๊ป และ บริษัท สมูท อี จำกัด ให้มุมคิด

การทำงานวันนี้ จึงต้องการทำสิ่งใหม่ๆ และแบ่งปันประสบการณ์และความรู้การทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หลักการทำงานในแต่ละวันจึงแบ่งเวลาให้ 8 เรื่องที่ต้องทำทุกวัน คือ BMWSEEFG

  • B : Book ต้องอ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง
  • M : Meditation นั่งสมาธิวันละ 1 ชั่วโมง
  • W : Work ทำงานวันละ 10 ชั่วโมง
  • S : Sleep นอนวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
  • E : Exercise ออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง
  • E : Eat รับประทานอาหารวันละ 1 ชั่วโมง
  • F : Family & Friends ให้เวลากับครอบครัวและเพื่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • G : Give คือการทำอะไรให้กับสังคมและนึกถึงคนอื่น 1 ชั่วโมง
ดร.แสงสุข พิทยานุกุล

ปีนี้ผมวางเป้าหมายไว้ว่าจะให้เงินช่วยเหลือสังคมในทุกๆ ด้าน วันละ 1 ล้านบาท 

ดร.แสงสุข บอกว่าได้เริ่มบริจาคมาตั้งแต่ต้นปี การให้มีหลากหลายรูปแบบ เดือนนี้ก็กำลังจะไปบริจาครถบัสคันละ 4 ล้านบาท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นคณะและมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษา นอกจากนี้ยังได้สร้างห้องแล็บ มูลค่า 2.7 ล้านบาท ให้คณะเภสัชฯ มหาวิทยาลัยมหิดล

การบริจาคเพื่อการศึกษาเป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์และชื่นชอบที่จะทำอย่างมาก และยังตั้งมูลนิธิการศึกษา ดร.แสงสุข พิทยานุกุล เพื่อผู้ประกอบการ เป็นการส่งเสริมความรู้และเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ

“เงินบริจาควันละ 1 ล้านบาท ผมมองว่าไม่เยอะ เพราะธุรกิจที่ทำอยู่ก็สร้างรายได้และกำไรเข้ามาทุกปี ทำให้สามารถบริจาคได้ การยิ่งให้จะยิ่งได้ ผมเชื่อแบบนั้นมาตลอด

ดร.แสงสุข พิทยานุกุล

บริจาควันละล้านได้คืนมากกว่า

ความตั้งใจที่จะให้และบริจาควันละ 1 ล้านบาทในปีนี้ เพราะต้องการทำสิ่งนี้ให้กับสังคม เมื่อเริ่มให้สิ่งที่ได้กลับมาทันที อย่างแรก คือ “ความสุข” เมื่อคนเรา Happy ก็คิดงานออก แก้ปัญหาได้ และได้ใจคนที่รู้จัก จากนั้นก็มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมา

“ต่อปีตัวเลขที่บริจาคปีละ 300 – 400 ล้านบาท ผมว่าสิ่งที่ได้กลับมาเกินกว่ามูลค่าที่บริจาค”

สะท้อนได้จากธุรกิจที่เพิ่มขึ้นทุกปี เดือน มิ.ย. ปีนี้ ได้ซื้อกิจการร้านขาย P&F ต้องบอกว่าธุรกิจร้านขายยา เป็นสิ่งที่ใจอยากทำอยู่แล้ว เพราะต้องการยกระดับร้านขายยาและอาชีพเภสัชกร

การได้มีโอกาสซื้อกิจการร้านขายยา P&F จากกลุ่มเภสัชกรผู้ก่อตั้ง ก็มาจากการบริจาคเงินเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม จึงมีคนแนะนำให้รู้จักกับกลุ่มเภสัชกรที่ทำร้านขายยา P&F ซึ่งก็มีความตั้งใจจะยกระดับวิชาชีพเภสัชกร เช่นกัน แต่ในตลาดร้านขายที่มีการแข่งขันสูงต้องใช้เงินลงทุนเยอะและกำไรไม่มาก จึงทำงานได้ลำบาก

หลังการพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อตั้ง P&F ก็ได้ขายธุรกิจให้ในราคาไม่แพงและยังทำงานร่วมกันต่อ เพื่อทำตามความตั้งใจ ในการพัฒนาร้านขายยาให้มีคุณภาพ คนทั่วไปเข้าถึงได้

อีกมุมของการให้ ดร.แสงสุข เล่าว่า วันเกิดที่ผ่านมา ได้มอบเงิน 1 ล้านบาท ให้พนักงานกว่า 100 คนนำไปแบ่งกัน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน สิ่งที่ได้กลับมาคือใจ และประสิทธิภาพการทำงานที่ดี เพราะเชื่อว่า “สิ่งที่ดีที่สุดคือการทำบุญกับมนุษย์ที่มีลมหายใจ”

เงินที่ตั้งใจบริจาคปีนี้ 300 – 400 ล้านบาท มาจากกำไรของธุรกิจเดิม และมีธุรกิจใหม่เข้ามาต่อยอดสร้างรายได้และกำไรใหม่ให้อีก จึงอยากให้ทุกคนที่มีความสามารถบริจาคได้ ลองร่วมกันแบ่งปันให้สังคม ลองให้ตามกำลังที่มี และดูว่าความสุขที่ได้กลับมา จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตอย่างไร

เปิดโรงเรียนบ่มเพาะธุรกิจ BIS

เพราะเป็นคนที่เชื่อเรื่อง Brand และ Marketing ตั้งแต่เริ่มทำงานและผ่านมา 35 ปี จึงก่อตั้ง 2 แบรนด์ คือ Smooth E และ Dentiste ที่ส่งออกไปทำตลาดใน 25 ประเทศ และสามารถต่อยอดทำธุรกิจไปตลอดชีวิต และตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำธุรกิจให้กับ “ผู้ประกอบการรุ่นใหม่”

โดยได้เปิดโรงเรียน The Business Incubation School หรือ BIS โรงเรียนบ่มเพาะธุรกิจ เป็นการศึกษารูปแบบใหม่ เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเติบโต และสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งในระดับโลก

ผู้เรียนต้องเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยหลักสูตรการเรียนเน้นปฏิบัติจริง มี “นักธุรกิจ” ที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้สอน และถ่ายทอดประสบการณ์ตรง และทำหน้าที่เป็นโค้ชส่วนตัว (personal coach) ให้ผู้เรียนนำกลยุทธ์ที่ได้จากห้องเรียนไปปฏิบัติจริง และนำผลลัพธ์ที่ได้มาวิเคราะห์ต่อ

นักธุรกิจที่มาร่วมเป็นผู้สอน เช่น วิลเลียม ไฮเน็ค ผู้ก่อตั้งเครือบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ สหพัฒนพิบูล, สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ อดีตซีอีโอ ยูนิลีเวอร์ ปัจจุบัน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพฤกษา, สมพร ธีระโรจนพงษ์ ซีอีโอ เอสไอ คอร์ปอเรชั่น, เอ ศุภชัย ศรีวิจิตร ผู้จัดการดารา เจ้าของร้านตำแหล เป็นต้น

“วันนี้จะไปลงทุนธุรกิจโรงแรม อสังหาฯ ก็ได้เงินเหมือนกัน แต่การทำโรงเรียนสอนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่นำมาถ่ายทอด เป็นการ Shortcut การลองผิดลองถูก และสร้างธุรกิจเอสเอ็ม อีไทยให้เติบโต เป็นสิ่งที่เห็นแล้วมีความสุขมากกว่า เช่นเดียวกับนักธุรกิจทุกคนที่มาเป็นอาจารย์สอน บอกเหมือนกันว่ากลับไปแล้วมีความสุข”

ปัจจุบันคนทำธุรกิจมี Entrepreneur และ Business Owner ซึ่งแตกต่างกัน ต้องบอกว่าในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น Business Owner ที่ทำงานแบบเดิมและต่อยอดจากธุรกิจเดิมได้ยาก จึงหา Entrepreneur ได้น้อยเพราะการเป็น Entrepreneur จะมีไอเดียพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา วางกลยุทธ์การตลาด มองการ Collaborate เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้ประกอบการที่ร่ำรวยติดอันดับเศรษฐีโลก “ตระกูลสิริวัฒนภักดี” ที่มีทรัพย์สินเป็น “ล้านล้านบาท” ยังไม่หยุดคิดและมีโปรเจกต์ลงทุนธุรกิจใหม่ๆ ออกมาตลอดเวลา เพราะใช้หลักคิดแบบ Entrepreneur

“เป้าหมายของ BIS ต้องการเปลี่ยนความคิดของ Business Owner ให้เป็น Entrepreneur สร้าง Motivation เมื่อไหร่ก็ตามที่มีใจที่มุ่งมั่น มีความสามารถ และเห็นโอกาส นั่นคือ การประสบความสำเร็จ และต้องการเห็นเอสเอ็มอีไทย สร้างแบรนด์ก้าวสู่ระดับโลก เหมือนที่สมูทอีทำได้”

การทำงานด้านการศึกษา ท้ายที่สุดต้องการพัฒนา Education Model ของ BIS ให้สถาบันการศึกษาต่างๆ นำไปใช้ เพื่อร่วมกันบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่จะเป็นรากฐานผลักดันเศรษฐกิจไทยเติบโต ความคาดหวังต้องการเห็นโรงเรียน BIS เปิดในทุกจังหวัด เพื่อให้เอสเอ็มอีและคนรุ่นใหม่ได้เข้ามาศึกษาวิธีการทำธุรกิจ

เป้าหมายวันนี้จึงต้องการส่งมอบความรู้ให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีพลังงาน นำไปสานต่อธุรกิจให้สำเร็จ.

]]>
1241340
สเต็ปใหม่ สมูทอี เทคโอเวอร์ร้านขายยา P&F ปั้นเชนจับกลุ่มกระเป๋าหนักวัย 40 ปีอัพ เตรียมขยายสาขาต้องมีทุกอำเภอ https://positioningmag.com/1231451 Fri, 24 May 2019 11:50:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231451 สำหรับผมธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุข ไม่ใช่ทำแล้วได้เงิน ผมทำธุรกิจมาได้เงินเยอะแยะ แต่ไม่เคยมีความสุขเท่าการได้เงินจากร้ายขายยาเล็ก ๆ ขนาด 6 ตารางเมตรที่เคยเปิดครั้งแรกเมื่อ 30 ปีก่อนที่ศูนย์การค้าสยาม วันนี้เลยคิดว่าจะกลับมาทำอะไรสนุกๆดร.แสงสุข พิทยานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีแอนด์เอฟอินทิเกรท จำกัด กล่าว

ดร.แสงสุข เภสัชกรที่ผันตัวมาเป็นนักธุรกิจ ผู้ปั้นแบรนด์สมูธอีจนโด่งดัง ทำรายได้ปีละกว่า 3-4 พันล้านบาท เพิ่งเสร็จจากการเข้าซื้อหุ้น 90% ของบริษัทพีแอนด์เอฟฯ เจ้าของร้านขายยาพีแอนด์เอฟ (P&F) ที่มีอยู่ราว 35 สาขาในปัจจุบัน ด้วยวงเงินลงทุนรวมกว่า 200 ล้านบาท พร้อมแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงร้านขายยาไทย ให้มีความแตกต่างจากเดิมที่มีอยู่ เพื่อเป้าหมายที่จะปั้นแบรนด์ร้านขายยาพีแอนด์เอฟให้กลายเป็นร้ายขายยาในดวงใจ หรือ Top of Mind ของคนไทยภายใน 1-2 ปีจากนี้

เขายอมรับว่าไอเดียนี้ไม่ง่ายเพราะปัจจุบันสถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจร้านขายยาไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบมูลค่ายาในตลาดไทยปีหนึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านบาท เป็นมูลค่าจากร้านขายยาประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ที่เหลือ1.5 แสนล้านเป็นมูลค่ายาที่จ่ายจากโรงพยาบาลซึ่งส่วนทางกับสภาพของตลาดร้านขายยาในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยุโรปอเมริกาซึ่งแพทย์จะเขียนใบสั่งยาแล้วให้ผู้บริโภคไปซื้อจากร้านขายยาเป็นหลัก

มองในแง่การตลาด โอกาสก็คือร้านขายยายังไม่มีร้านในดวงใจ คนส่วนใหญ่นึกถึงแค่ร้านขายยาใกล้บ้านแค่นั้น ถ้ามีใครเข้ามาเพื่อมาทำมาร์เก็ตติ้งหรือส่งมอบอะไรให้สังคม ก็เชื่อว่ามีโอกาสไม่ยากและเร็ว โดยไม่ต้องใช้เงินเยอะ และถ้าผมทำอย่างที่พูดได้จบแล้ว ไม่มีเหตุผลที่คนจะไม่เลือกมาใช้บริการกับเรา

Operation Plan

เริ่มต้นจากงานวิจัยเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ ที่บริษัทใช้งบ 1 ล้านบาททำการวิจัยกับผู้บริโภคจำนวน 1,600 คน เพื่อหาคำตอบว่าปกติไปซื้อขาอะไรที่ร้านขายยาชอบและไม่ชอบอะไร และทำการสอบถามเภสัชกรในร้านขายยา 40 แห่งเพื่อหาแนวทางว่าจะมีบริการอะไรที่ให้บริการผู้บริโภคได้ดีขึ้น และกลายมาเป็นแผนการของพีแอนด์เอฟที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้

คำถามแรกที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เอ่ยถามเมื่อเข้าร้านขายยาคือมีเภสัชกหรือเปล่าหรือเภสัชกรอยู่ไหม นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายแรกว่า ร้านขายยาพีแอนด์เอฟจะต้องมีเภสัชกรประจำตลอดเวลา ผู้บริโภคจะต้องได้รับยาจากมือเภสัชกรเท่านั้น และนอกเหนือจากนั้นจะต้องเพิ่มเติมด้วยการบริการที่เป็นมิตรจากใจเหมือนญาติพี่น้อง พร้อมรอยยิ้ม รวมทั้งการกล่าวสวัสดีและขอบคุณด้วยการไหว้จากเภสัชกร

เราถามเภสัชกรเคยไหว้ลูกค้าไหม ไม่มีใครเคยไหว้เพราะบอกว่าตัวเองเป็นเภสัชกร แต่เราลองให้เขาเปลี่ยนมาลองทำ ผลปรากฎกว่ายอดขายดีขึ้น ผลตอบรับดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ นี่คือเรื่องของอีโมชั่นแนล ที่นอกเหนือจากเรื่องวิชาชีพ

การทำอะไรที่แตกต่างจากเดิมเพราะ ดร.แสงสุข บอกว่า การจะสร้างความแตกต่างต้องทำให้เกิดความว้าว (Wow Factor) ที่เหนือกว่าความคาดหมายของผู้บริโภค เป็นเรื่องอีโมชั่นแนลทั้งด้านรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่จะเติมเต็มเข้าไปในร้านขายยาพีแอนด์เอฟ โดยเขามั่นใจว่า

ถ้าเราทำได้ เราจะทำให้พีแอนด์เอฟเป็นฟามาร์ซีออฟช้อยส์ (Phamacy of Choice) ได้ภายใน 1-2 ปี

แต่เนื่องจากตลาดร้านขายยาที่มีอยู่ในปัจจุบันมีเซ็กเมนท์หลากหลายมากทั้งร้านที่มีเภสัชกรประจำไม่มีเภสัชกรร้านติดแอร์ร้านมีแบรนด์ไม่มีแบรนด์ร้านหน้ามหาวิทยาลัยร้านใกล้โรงพยาบาลฯจนจัดเซ็กเมนท์กันไม่ถูกแต่โดยรวมแล้วมีกลุ่มแบรนด์ร้านขายยาที่ติดท็อป 5 ได้แก่ ร้านฟาสซิโน ร้านเซฟดรัก(ในเครือรพ.กรุงเทพ) ร้านเฮลธ์อัพและพีแอนด์เอฟ

ดร.แสงสุข กล่าวว่า ในช่วงต้นจะเน้นปรับปรุงร้านสาขาที่มีอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ นั่นคือ การอบรมบริการให้กับกลุ่มเภสัชกร การตกแต่งบรรยากาศร้าน และการวางสัดส่วนสินค้าให้มีทั้งยา เวชสำอางค์ อุปกรณ์การแพทย์ สินค้าอินโนเวชั่นเพื่อสุขภาพ วิตามิน อาหารเสริม ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนการจำหน่ายในร้านอย่างละครึ่ง ก็จะปรับสัดส่วนเป็นยา/อื่นๆ ในสัดส่วน 30/70 ในอนาคต

รวมทั้งการปรับบางสาขาที่มีทราฟฟิกใหญ่ให้เป็นคลินิกสุขภาพเพิ่มเติมด้วยส่วนหนึ่งโดยจะมีแพทย์เข้ามาประจำทุกวันอังคารและพุธวันละ 3 ชั่วโมงสำหรับตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ รวมทั้งแก้ปัญหาการจ่ายยาบางชนิดที่ต้องให้หมอเท่านั้นเป็นผู้จ่ายยา เช่น ยาที่อยู่ในกลุ่มยาเสพติด ฯลฯ

ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ที่จะสร้างแบรนด์ให้เป็นร้านยาในดวงใจครั้งนี้พีแอนด์เอฟเลือกจับกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไป รายได้ระดับ เอ และบี ซึ่งส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนเป็นผู้หญิงถึง 75% ที่เป็นผู้ซื้อของร้านขายยา

เทียบกับประชากรของประเทศ 67 ล้านคนเราคงไม่ได้ขายเยอะ ในทางตลาดเราต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย ที่เลือกกลุ่ม 40 ปีขึ้นไป เราขอแค่ 8 ล้านคน เพราะกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่มาพร้อกับโรคนิด ๆ หน่อย ๆ เริ่มบริโภคยา อาหารเสริม ซื้อเครื่องมือแพทย์ มีรายได้สุงหน่อยเพราะร้านเราอยู่ในห้างค่าเช่าค่อนข้างสูง ที่สำคัญเราต้องเทรนด์เภสัชกรตลอดเวลาเพื่อบริการลูกค้าให้จับใจด้วยรอยยิ้ม ความมั่นใจ จากความรุ้จริงแบบมืออาชีพ

อย่างไรก็ตาม แม้จะบอกว่าเป็นร้านขายยา แต่ดร.แสงสุข ก็ยอมรับว่า เป้าหมายสูงสุดที่จะวัดว่าพีแอนด์เอฟประสบความสำเร็จจริง นั้น อยู่ที่ความสามารถในการสร้างบริการที่สร้างมาดึงดูดแม้แต่คนที่ไม่ป่วยให้เข้ามาใช้บริการในร้านได้ ซึ่งบริษัทจะเน้นพัฒนาสินค้าและบริการในร้านเพื่อให้บริการในส่วนของเวชศาสตฟื้นฟูหรือชะลอวัย (Regeneration) ซึ่งเป็นเทรนด์ของของการดูแลสุขภาพยุคนี้ด้วย

สำหรับการทำตลาดซึ่งต้องมาพร้อมโปรโมชั่น เดิมร้านขายยาพีแอนด์มีระบบสมาชิกของร้านแต่ไม่แอคทีฟ พีแอนด์เอฟยุคใหม่ตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดสมาชิกเพิ่มอีกกว่า 2 แสนรายภายใน 1 ปี โดยใช้โปรโมชั่นการตลาดเข้ามาเสริม เมื่อสมัครสมาชิกจะได้สินค้ามูลค่า 200 บาททันที พร้อมกับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ที่บริษัทจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผมสนใจทำร้านขายยาพีแอนด์เอฟด้วยความชอบส่วนตัว ตามแผนการนี้จะทำกำไรไหม ผมคิดว่ายากในระยะสั้น ต้องขาดทุนไปก่อนช่วงเริ่มต้น 2-3 ปี แต่ผมเชื่อว่าไม่เกิน 5 ปี กม.จะเปลี่ยน จากที่คนรับยาจากโรงพยาบาลจะต้องใช้ใบสั่งแพทย์มาซื้อจากร้านขายยามากขึ้นเหมือนในต่างประเทศในอนาคต

ทั้งนี้ปัจจุบันกำไรของร้านขายยาเฉลี่ยอยู่ที่ 10% จากเมื่อ 30 ปีก่อนมีกำไรสูงถึง 40% เนื่องจากการแข่งขันด้านราคา และมีผลให้ร้านที่ขายถูกเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ตั้งเป้าเปิดทุกอำเภอเพื่อเป็นร้านยาในดวงใจ

แผนงานของร้านขายยาพีแอนด์เอฟหากพิจารณาแล้วไม่ต่างจากธุรกิจที่ขายไอเดียหรือการสร้างให้คนเห็นโอกาสทางธุรกิจแบบที่ดร.แสงสุข ให้ความสำคัญ เพราะนอกจากเงินลงทุนในการควบรวมกิจการจำนวน 200 ล้านบาทแล้ว การขยายสาขาที่บริษัทกำหนดไว้ว่าจะมีให้ครบทั้ง 77 จังหวัด โดยคาดว่าจะให้ครอบคลุมทั้งประเทศ อย่างน้อยจะต้องมีหนึ่งร้านต่อหนึ่งอำเภอหรือประมาณ 800 สาขา แต่ละสาขานอกจากเปิดในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า สามารถเป็นแบบสแตนด์อะโลน หรือร้านที่มีขนาดไม่ต้องใหญ่ รวมทั้งการคอลลาบอเรทกับร้านขายยาของเภสัชกรท้องถิ่นในรูปแบบของแฟรนไชส์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยคาดว่าแต่ละร้านจะใช้เงินลงทุนขั้นต่ำ 2 ล้านบาท นั่นเท่ากับบริษัทจะต้องใช้เงินในการขยายสาขาราว 1,600 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้อยู่ในแผนงานอนาคตที่บริษัทคาดว่าจะได้มาจากการระดมทุนจากการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 4 ปีข้างหน้า ที่เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากเภสัชกรที่ต้องการที่พร้อมจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในอนาคต

การซื้อกิจการครั้งนี้ เราซื้อหุ้น 90% ไม่ได้ซื้อทรัพย์สิน เราตั้งเป้าว่าบริษัทจะเป็นบริษัทมหาชนมากกว่า ผมต้องการให้เภสัชกรทั้งประเทศเป็นเจ้าของ ถ้าเขาร่วมกิจการกับเรา เขาได้เป็นเจ้าของกิจการที่มีบริการดีขึ้นและคงไม่มีใครปฏิเสธข้อเสนอจากรูปแบบที่เรามีให้”.

ต้นแบบร้านขายยาพีแอนด์เอฟมาจากไหน

ที่ผ่านมาร้านขายยาพีแอนด์เอฟ มีรายได้ต่อปีประมาณ 700 ล้านบาท จำนวนสาขาที่มีอยู่แค่หลัก 10 ทำให้บริษัทรู้ดีว่า การขยายสาขาในอนาคต จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเข้ามาเสริมอีกมาก อีกทั้งการย้ำว่าจะพัฒนาให้เป็นร้านขายยาที่แตกต่างจากร้านขายยาที่มีอยู่ในไทย พีแอนด์เอฟได้แรงบันดาลใจมาจากไหน

ดร.แสงสุข กล่าวว่า ร้านขายยาที่เขาชอบมากจอห์นเบลฯ (John Bell & Croyden) ในประเทศอังกฤษ และเป็นเจ้าของร้านขายยาใหญ่ที่สุดในโลก มียาทุกอย่าง มีหมอเฉพาะทางให้บริการ ร้านไลฟ์ฟามาร์ซี (Life Pharmacy) ในสวิตเซอร์แลนด์ ร้านวอลกรีน (Walgreen) ในอเมริกา ที่มีสาขาใหญ่สุดใหญ่กว่าซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในไทย

แต่ที่เราคุยอยู่ตอนนี้คือเชนร้านขายในเกาหลีที่มีสาขาทั่วประเทศกว่า 2,000 แห่ง และในญี่ปุ่นที่มีร้านประมาณ 200 สาขาที่สนใจมาลงทุนในเมืองไทย ซึ่งเราคิดว่าถ้าจะขยายสาขาจำนวนมาก จำเป็นต้องอาศัยความรู้ด้านการจัดการระบบจากพันธมิตรเหล่านี้ในอนาคต รู้กันดีอยู่แล้วว่าญี่ปุ่นเป็นคนมีระบบ มีคุณภาพ และสะอาด นี่คือสิ่งที่เราต้องการ

ที่สำคัญหากมีการร่วมเป็นพันธมิตรกันในอนาคต ยังส่งผลดีต่อสมูธอีและเดนทิสเต้ที่จะส่งไปจำหน่ายผ่านเชนร้านขายยาของพันธมิตรในประเทศนั้น ด้วย

อย่างไรก็ตามกว่าจะไปถึงจุดนั้นสิ่งที่ดร.แสงสุข ประเมินไว้ในเบื้องต้นนอกจากการลงทุนแล้ว รายได้จากร้านขายยาที่คาดการณ์ไว้ เขาบอกว่า แต่ละสาขาควรจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทถึงจะอยู่ได้ นั่นเท่ากับพีแอนด์เอฟมีโอกาสที่จะทำรายได้ต่อปีถึง 20,000 ล้านบาทในอนาคตหากแผนการณ์ทุกอย่างดำเนินไปตามเป้าหมาย

]]>
1231451