สวนสยาม-ทะเลกรุงเทพฯ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 13 Sep 2019 04:23:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ภารกิจสุดท้าย! “ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ส่งไม้ต่อรุ่น 2 “สวนสยาม” ขอสร้างชื่ออีกครั้งกับบิ๊กโปรเจกต์ Bangkok World รีแบรนด์รอบ 39 ปี https://positioningmag.com/1246260 Fri, 13 Sep 2019 02:58:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246260 “สวนสยาม” คือ ความภาคภูมิใจของคนจบ ป.4 ชายสู้ชีวิต “ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ที่เริ่มต้นจากกระเป๋ารถเมล์สู่ผู้สร้างอาณาจักรสวนสนุกและสวนน้ำกรุงเทพฯ บนพื้นที่ 300 ไร่ เพื่อให้ประเทศไทยมีสวนสนุกเช่นเดียวกับต่างประเทศ ตลอดเส้นทาง 39 ปี ผ่านมาทุกวิกฤติ ที่หนักสุดคือถูกธนาคารฟ้องล้มละลายจากหนี้ 3,000 ล้านบาท หลังใช้เวลาเคลียร์หนี้กว่า 10 ปี วันนี้ “สวนสยาม” ขอไปต่อกับเรื่องราวบทใหม่ในมือทายาทรุ่น 2 ของตระกูล “เหลืองอมรเลิศ”

“ทะเลกรุงเทพ” เป็นสโลแกนที่ทำให้ “สวนสยาม” สวนสนุกย่านมีนบุรีเป็นที่รู้จัก เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2523 เป็นธุรกิจที่ก่อตั้งโดย “ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ที่พลิกชีวิตจากจุดเริ่มต้นกระเป๋ารถเมล์สู่เศรษฐีอสังหาริมทรัพย์พันล้าน ช.อมรพันธุ์” จากนั้นเริ่มต้นไอเดียทำ “สวนสนุก” เดิมมีนายทุนพร้อมร่วมลงขัน

แต่หลังจากเดินทางไปศึกษาการลงทุนจากแบรนด์สวนสนุกระดับโลก “ดิสนีย์แลนด์” ที่สหรัฐฯ วิเคราะห์ว่าขณะนั้นประเทศไทยยังไม่เหมาะกับการลงทุนสวนสนุกขนาดใหญ่ ทั้งกำลังซื้อที่ค่าแรงเฉลี่ยวันละ 60 บาท สถานที่ ระบบขนส่งยังไม่สะดวกในการเดินทาง เมื่อเป็นเช่นนั้น “นายทุน” จึงไม่หนุน แต่ “ไชยวัฒน์” ไม่ล้มเลิกความตั้งใจสร้างสวนสนุก ขอเดินหน้าต่อลงทุน “คนเดียว”  

“สวนสยาม” จึงเกิดขึ้นจากความตั้งใจที่ต้องการ “เอาชนะ” ทุกอุปสรรคเพื่อให้ประเทศไทยมีสวนสนุกระดับโลกเช่นเดียวกับต่างประเทศ เป็นสถานที่ต้องเที่ยวของครอบครัว สนับสนุนการท่องเที่ยวไทย

แต่ธุรกิจ “ไม่ง่าย” โปรเจกต์สวนสยามลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนยาวมาก เมื่อเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 สวนสยามก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เงินสดเริ่มขาดมือ การจ่ายเงินกู้เริ่มสะดุด และถูกฟ้องล้มละลายตามมา

เพราะเป็น “คนสู้ชีวิต” และไม่ยอมแพ้ จึงเดินหน้าแก้ไขหนี้ เจรจาปรับโครงสร้างหนี้สินและประนีประนอมกับธนาคารเจ้าหนี้ ขายที่ดินแปลงใหญ่ย่านลาดพร้าวให้แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เคลียร์หนี้ธนาคารหมด และกลับมาเริ่มต้นได้ใหม่

หลังจากสวนสยามกลับทำกำไรอีกครั้ง ก็ได้เวลาที่ “ไชยวัฒน์” ในวัย 81 ปี ขอเกษียณการทำงาน ณ สวนสยาม ในวันที่ 1 ต.ค. 2562 จบการทำงาน 39 ปี ส่งต่อธุรกิจให้ทายาทรุ่น 2 ทั้ง 3 คน สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ, วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ และ จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา สานต่อ “สวนสยาม” ยุคใหม่ กับบิ๊กโปรเจกต์ Bangkok World (บางกอกเวิลด์) ภารกิจสุดท้ายที่ “ไชยวัฒน์” เป็นคนริเริ่มไว้!

ขอไปต่อกับ Bangkok World

ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานคณะกรรมการกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ กล่าวว่า หลังเกษียณการทำงานในวันที่ 1 ต.ค. นี้ ยังเป็นที่ปรึกษาโครงการ Bangkok World โปรเจกต์การลงทุนครั้งใหญ่ของสวนสยามบนพื้นที่ 70 ไร่ ด้านหน้าสวนสยาม ด้วยการก่อสร้างใหม่ 14 อาคาร คอนเซ็ปต์เป็นแหล่งรวม “ของดี” ประเทศไทย สินค้าโอทอปทั่วประเทศ ร้านอาหารชื่อดัง ที่ต้องแวะมาชิม

โครงการเริ่มก่อสร้างแล้วปีนี้ จะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้าหรือในปี 2564 เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท การตกแต่งอาจวิ่งไปที่ 5,000 ล้านบาท

แม้ต้องเป็นหนี้อีกครั้ง แต่เป็นสิ่งที่อยากทำ เพื่อสร้างให้สวนสยาม และ Bangkok World เป็นสวนสนุกและแหล่งท่องเที่ยวของคนไทยและต่างชาติ มาซื้อสินค้าที่ได้ชื่อว่าเป็นของดีของประเทศไทย “ถือเป็นภารกิจสุดท้ายที่อยากทำ” และฝากให้ทายาทรุ่น 2 สานต่อให้สำเร็จ แม้ต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนอีกยาวเหมือนตอนทำสวนสยามก็ตาม

จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา,ไชยวัฒน์, สิทธิศักดิ์ และวุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ

พลิกโฉมรีแบรนด์รอบ 39 ปี

สำหรับทายาทรุ่น 2 ของตระกูลเหลืองอมรเลิศ 3 คน คือ สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ, วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ และ จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา (ลูกสาวคนเล็ก) พร้อมเปิดตัว “สวนสยาม” ยุคใหม่ด้วยการรีแบรนด์ในรอบ 39 ปี ในชื่อใหม่ Siam Amazing Park (สยาม อะเมซิ่ง พาร์ค) สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว ด้วยภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ “Everyday is Amazing”

ปรับโฉม 5 โซนเครื่องเล่นใหม่ Water World สวนน้ำเจ้าของสถิติทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดส Extreme World โซนเครื่องเล่นท้าความตื่นเต้นในที่เดียว อาทิ Vortex รถไฟเหาะตีลังกาเกลียวสว่านแบบห้อยขาที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 2 ของโลก, Giant Drop ยักษ์ตกตึก เครื่องเล่นทิ้งดิ่งที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Log Flume ล่องซุงมหาสนุกขนาดยักษ์สัญชาติเยอรมัน

Adventure World ดินแดนผจญภัย กับ Jurassic Adventure Twin Dragon เรือมังกรสองหัว และอีกหลายเครื่องเล่น Family World โซนเครื่องเล่นสำหรับครอบครัว และ Small World เครื่องเล่นไซส์มินิสำหรับเด็กๆ พร้อมเปิดตัว 6 กับมาสคอต Si-Am and Friends” ที่ใช้คาแร็กเตอร์ผลิตเป็นสินค้าเมอร์แชนไดส์จำหน่าย

โดย Siam Amazing Park จะทดลองเปิดตัวในวันที่ 19 ก.ย. นี้ และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้งในเดือน มี.ค. 2563 วางเป้าหมายผู้ใช้บริการปีละ 1.5 ล้านคน เป้าหมายรายได้ไว้ที่ 500 ล้านบาท

จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา

บิ๊กโปรเจกต์ท้าทายเจน 2  

จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา รองประธานบริหาร บริษัท สยาม พาร์ค กรุงเทพ จำกัด กล่าวว่า โครงการ “บางกอกเวิลด์” ถือเป็นความท้าทายของทายาทรุ่น 2 ที่ต้องรับไม้ต่อจากความตั้งใจที่คุณพ่อ (ไชยวัฒน์) ที่ได้ริเริ่มโครงการไว้แล้ว ถือเป็นการลงทุนใหญ่ของครอบครัว ที่ต้องกู้เงินมาทำโปรเจกต์นี้อีกครั้ง แต่ก็เชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของคุณพ่อ ที่จะสร้างให้ Bangkok World และ Siam Amazing Park เป็น Attraction ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทย

โครงการ Bangkok World เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขนาดใหญ่ ด้วยแนวคิด “ดินแดนที่ยกเสน่ห์และความงดงามของเมืองพระนครในวันวานมารวมไว้ในที่เดียว” ตอบโจทย์นักเดินทางที่มีเวลาจำกัดให้เที่ยวได้ครบ ทั้งงานสถาปัตยกรรมของเมืองหลวงในอดีตที่จำลองมารวมไว้ให้ชม ไม่ว่าจะเป็นศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างบี.กริมแอนด์โก เยาวราชไชน่าทาวน์

Bangkok World

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมที่สุดของเมืองบางกอก ทั้งเรื่องชิม ช้อป เที่ยวมาไว้ที่เดียว รวมของดีของเด่นจากวิสาหกิจชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยจะร่วมกับสินค้าโอทอป ผลิตสินค้าของที่ระลึกแบรนด์ Bangkok World จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ วางเป้าหมายเป็นอีกแบรนด์ไทยที่สร้างชื่อให้ประเทศ เช่นเดียวกับ จิม ทอมป์สัน และ นารายา เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มโอทอป

Bangkok World

การลงทุนใหม่ในโครงการ Bangkok World เพื่อใช้เป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน เข้ามาท่องเที่ยวใน Siam Amazing Park และสร้างโอกาสจากการหารายได้จากในธุรกิจอื่นๆ นอกจากการขายตั๋วที่ปัจจุบันเป็นสัดส่วน 70% ซึ่งในธุรกิจสวนสนุกสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่ที่ 50% บิสสิเนสโมเดลใหม่จึงขยายไปที่การเช่าพื้นที่และการขายสินค้าจากแบรนด์ Bangkok World ธุรกิจจัดเลี้ยงมากขึ้น

แม้เป็นสิ่งท้าทายในการสานต่อธุรกิจ แต่วิสัยทัศน์และต้นแบบการทำงานที่ส่งต่อมาถึงรุ่น 2 จึงมั่นใจว่าจะสร้าง Siam Amazing Park ให้เป็นสวนสนุกยุคใหม่และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตามเป้าหมายของผู้ก่อตั้ง “สวนสยาม” ให้ได้

]]>
1246260
ควัก 3 พันล้าน ทุบปราสาท “สวนสยาม” พลิกสู่ “สยามเมืองบางกอก” https://positioningmag.com/1156950 Wed, 14 Feb 2018 08:50:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156950 ธุรกิจสวนสนุกในประเทศไทย ปัจจุบันไม่ใช่ขาขึ้นมากนัก เพราะจากข้อมูลของสมาคมสวนสนุกโลก (IAAPA) ระบุว่า สถานการณ์ตลาดไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวมากนัก เพราะยุคนี้มีสิ่งดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น เช่น สวนน้ำ ความบันเทิงกึ่งการเรียนรู้ (Edutainment) ที่เข้ามาแย่งตลาดมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ของเจ้าตลาดสวนสนุกในประเทศไทยอย่างสวนสยามทะเลกรุงเทพฯเผชิญภาวะรายได้ดิ่งลง ไม่เพียงแค่รายเดียว แต่คู่แข่งในสนามเดียวกันอย่างดรีมเวิลด์ก็เหนื่อยไม่แพ้กัน

เพื่อไม่ให้ธุรกิจเจ็บตัว “ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ประธานคณะกรรมการ กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ จำกัด ผู้ก่อตั้งสวนสยามฯ เลยต้องปรับแผนพัฒนาพื้นที่โครงการใหม่สวนสยามเนื้อที่ 400 ไร่ใหม่ ยอมทุบทิ้งอาคารทางเข้าที่เป็นปราสาทอันเป็น “ไอคอนิค” ของโครงการที่สร้างยาวนานกว่า 40 ปี เพื่อนำพื้นที่บริเวณดังกล่าว 70 ไร่ ไปลุยโปรเจกต์ใหม่ “สยามเมืองบางกอก” มูลค่า 3,000 ล้านบาท ส่วนสวนน้ำยังเปิดบริการปกติ

“สิ่งหนึ่งที่ต้องทำทั้งที่ไม่อยากทำก็คือ การทุบทิ้งอาคารทางเข้าด้านหน้าที่เป็นปราสาททางเข้าสวนสยาม สัญลักษณ์ที่สร้างมานานกว่า ทศวรรษ” ไชยวัฒน์ บอกถึงความรู้สึก

สำหรับโครงการสยามบางกอก มีพื้นที่รวม 6,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) แบ่งการพัฒนาเป็น เฟส โดยเฟสแรกจะลงทุน 300 ล้านบาท เพื่อทำจุดจำหน่ายบัตร จุดประชาสัมพันธ์ ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุม พื้นที่การค้า เป็นต้น ซึ่งจะแล้วเสร็จไตรมาส ปีหน้า

เฟส จะก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ จำนวน 13 อาคาร สำหรับการจำลองวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ สมัยเก่ามาไว้ให้ชม เช่น ศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างบีกริมแอนด์โก คลองถม สำเพ็ง เยาวราชไชน่าทาวน์ บ้านพระอาทิตย์ เรียกว่าเป็นการดึงสถานที่แม่เหล็กที่เคยเป็นแหล่งไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยวของคนกรุงมาไว้ในที่เดียวเสร็จสรรพ

สยามเมืองบางกอก

ภายในโครงการยังมีเรือนขนมปังขิง เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าชุมชน โอทอป ทั่วประเทศด้วย เพื่อให้พ่อค้าแม่ขายมีช่องทางจำหน่ายสินค้า แต่อีกมุมหนึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับทางโครงการ เพราะสวนสยามไม่ได้มีแค่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเยือน แต่ยังมีต่างชาติเข้าไปหาความสนุกสนาน เมื่อกลับออกจากโครงการก็จะได้ซื้อสินค้าที่ระลึกของฝากติดไม้ติดมือกลับไปได้ โดยเฟส นี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2563  

โครงการสยามบางกอกนี้จะใช้เวลาคืนทุนไม่ต่ำกว่า 10-15 ปี แต่จะเป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญให้กับสยามพาร์คหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มรายได้ของบริษัท จากเกือบ 500 ล้านบาท ในปี 2560 จะเพิ่มเป็น 1,500 ล้านบาทต่อปี และมีผู้ใช้บริการรวม 3 ล้านคน ช่วยดึงกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้นเป็น 50% จากเดิมสัดส่วน 30% และคนไทย 70% ช่วยบาลานซ์พอร์ตโฟลิโอลูกค้าได้เป็นการกระจายความเสี่ยงในการทำเงินที่ไม่กระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มเป้าหมายเดียว

เมื่อรายได้เพิ่ม ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บริษัท “มีโอกาส” นำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายใน ปีข้างหน้า หลังจากที่ผ่านมามีความพยายามที่จะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องผลประกอบการ ทำให้เป็นอุปสรรคในการยื่นแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ผ่าน

อย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่นในการเข้าตลาดครั้งนี้ มีความชัดเจนอีกครั้ง เพราะบริษัทได้ ใน Big4 ผู้ตรวจสอบบัญชี อย่าง EY มาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเรียบร้อยแล้ว

“เคยคิดจะเข้าตลาดหุ้นมานานแล้ว นึกว่าเข้าง่าย เอาเข้าจริงมันยาก เพราะบริษัทต้องมีความพร้อมทั้งด้านการบริการ จัดการ รายได้ กำไร เราต้องทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้น ต้องมีการจัดการที่ดี แต่ตอนนี้มีรุ่นลูกเข้ามาช่วยรับช่วงบริหารและสานโปรเจกต์ต่อแล้ว  ไชยวัฒน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของสมาคมสวนสนุกโลก (IAAPA) ระบุว่า ในปี 2558 ธุรกิจสวนสนุกไทยมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท เท่านั้น และมีการเติบโตค่อนข้างน้อย โดยตลาดยังแบ่งย่อยเป็น หมวดได้แก่ สวนสนุกกลางแจ้ง ธีมพาร์ค เช่น สวนสยามฯ ดรีมเวิลด์ฯ และสวนสนุกในร่ม ซึ่งอยู่ตามศูนย์การค้าต่างๆ รวมจำนวนสวนสนุกกว่า 20 แห่ง แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการประมาณ 5-10 ล้านคน.

]]>
1156950