สหพัฒนพิบูล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Aug 2022 09:36:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เลย์ x มาม่า OK การ Collab ครั้งแรกของมาม่า ภารกิจดัน “มาม่า OK” ให้แมส https://positioningmag.com/1395149 Thu, 04 Aug 2022 09:12:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395149 โดยปกติแล้วเราจะได้เห็น “เลย์” และ “มาม่า” ต่างออกรสชาติใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง มีทั้งรสชาติตามกระแส หรือรสชาติที่มีความพิเศษบางอย่าง เป็น Limited Edition

แต่การร่วมมือกันครั้งนี้ของเลย์ และมาม่า มีความพิเศษตรงที่เป็นการพัฒนารสชาติร่วมกัน แล้วออกรสชาตินั้นด้วยกัน ทำหนังโฆษณาด้วยกัน แต่ไม่มีโลโก้ของอีกฝ่ายอยู่บนสินค้าของตัวเอง

ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยเห็นเลย์ออกรสชาติใหม่ๆ ด้วยการนะเมนูอาหารที่ขึ้นชื่อ หรือที่คนไทยชื่นชอบมาทำรสชาติใหม่ และ Collab กับแบรนด์ต่างๆ เช่น รสวิงค์แซ่บ ทำร่วมกับ KFC, รสชีสพิซซ่า ทำร่วมกับพิซซ่าฮัท รวมไปถึงการให้เชฟชื่อดังมาเนรมิตเมนู รสชาติใหม่ๆ ด้วย

ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า “มาม่า” ไม่เคย Collab กับแบรนด์ใดๆ เลย ไม่ว่าจะกับแบรนด์ของกิน หรือของใช้ การร่วมมือกันครั้งนี้เรียกว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมาม่าตั้งแต่ทำตลาดมา 50 ปี

เพชร พะเนียงเวทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ทายาทเจนเนอเรชั่นที่ 2 ของมาม่า ได้เริ่มเล่าให้ฟังว่า

ก่อนหน้านี้มีหลายแบรนด์ติดต่อมาขอ Collab กับมาม่า เขาอยากได้ชื่อมาม่าไปอยู่ในแบรนด์ด้วย แต่ไม่เคยรับเลย ความร่วมมือนี้เป็นการ Collab ครั้งแรก เขามองว่าไม่อยากเอา Asset ของมาม่าไปไว้กับสินค้าอะไรทั้งสิ้น

แล้วความร่วมมือนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เพชรเล่าย้อนไปว่า

ย้อนกลับไปตอนเดือนพ.ค. 64 ตอนนั้นเลย์มีอีเวนต์ภายในบริษัท เป็นการเชิญบุคคลภายนอกไปพูดคุยด้วย และได้เชิญทางมาม่าไปแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ว่าทำอะไรมาบ้าง จากการแชร์ประสบการณ์ในตอนนั้นทำให้เกิดการพูดคุยกันว่าทั้งคู่ก็มีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกัน ถ้ามีโอกาสก็อยากทำอะไรร่วมกัน

เกิดเป็นความร่วมมือในเฟสแรก ได้ร่วมทำโปรโมชันสำหรับรสชาติที่มีอยู่ในตลาด ส่วนเฟสสองได้ทำรสชาติร่วมกัน จึงออกมาเป็น 2 รสชาติใหม่ “ชิลลี่แครบ – มิโซะบัตเตอร์” ภายใต้แบรนด์มาม่า OK

เนื่องจากทั้งคู่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่นเหมือนกัน ชอบออกรสชาติใหม่เหมือนกัน อยากสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย และได้แลกเปลี่ยนฐานลูกค้ากันด้วย แต่การออกรสชาติใหม่ในครั้งนี้ ไม่ได้หยิบยกรสชาติที่มีอยู่ในตลาดมาใส่ซองของแต่ละคน แต่เป็นการพัฒนาร่วมกัน

เพชรเล่าว่า มาคุยกันว่า R&D ของทั้งคู่ ตอนนี้มีรสชาติไหนที่ยังไม่ได้ออกสู่ตลาด พอมาดูก็พบว่ามีรสชาติที่ซ้ำกันอยู่ เลยหยิบเอามาทำด้วยกัน อย่างรสชิลลี่แครบ ได้แรงบันดาลใจจากร้านจัมโบ้ เป็นร้านอาหารซีฟู้ดชื่อดังของสิงคโปร์ ส่วนมิโซะบัตเตอร์ก็ได้แรงบันดาลใจจากเมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม เห็นว่าช่วงนี้หลายคนยังเดินทางไปต่างประเทศไม่ได้ การทำรสชาติอาหารต่างประเทศก็เป็นความคิดที่ดี

เพชรบอกอีกว่า ปกติมาม่าออกสินค้าใหม่อยู่แล้ว แต่ก็แค่รสชาติใหม่ธรรมดา แต่ครั้งนี้เป็นการทำร่วมกัน การมีแพ็กเกจจิ้งเดียวกัน หนังโฆษณาเดียวกัน มันได้พลังมากกว่า มีคุณค่ามากกว่า ไม่ใช่แค่การโคแบรนด์แบบเอาโลโก้ของทั้งคู่มาอยู่ด้วยกัน

ดันมาม่า OK ให้แมส

มาม่าได้ทำตลาดสินค้ากลุ่มพรีเมียมมา 16 ปีแล้ว แต่เดิมใช้ชื่อแบรนด์ Oriental Kitchen สินค้าจะเป็นบะหมี่เส้นเหนียวนุ่มกว่ามาม่าปกติ ห่อใหญ่กว่า ราคาสูงกว่า แต่ได้ทำการรีแบรนด์ใหม่เมื่อ 4 ปีที่แล้วให้เป็น มาม่า OK ปรับลุคให้เป็นบะหมี่สไตล์เกาหลี จับกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-25 ปี

ด้วยตัวมาม่ารสชาติหลักมีความแมสในตัวเองอยู่แล้ว กลุ่มเป้าหมายทุกเพศ ทุกวัย แต่ด้วยมาม่า OK ที่มีรสชาติแตกต่างออกไป อีกทั้งราคายังสูงกว่าปกติ จำเป็นต้องทำการตลาดมากขึ้น ทำให้คนรู้จักมากขึ้น การร่วมมือกับเลย์ครั้งนี้จึงเป็นภารกิจในการดันให้มาม่า OK แมสมากขึ้นนั่นเอง

ในปี 2564 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 18,000 ล้านบาท เติบโต 5-6% กลุ่มพรีเมียมมีสัดส่วน 20% มีการเติบโต 30% ทำให้เห็นเทรนด์ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเซ็กเมนต์พรีเมียมก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เพชรมองว่าถ้าทำให้สินค้าตัวนี้แมสได้ มีโอกาสดันรายได้สินค้ากลุ่มพรีเมียมให้มีสัดส่วนเป็น 30% ได้

“อยากให้มาม่า OK ไปแมสมากขึ้น ตอนนี้ผู้บริโภคกินเร็ว ลองเร็ว เบื่อเร็ว การออกสินค้า Limited ช่วยสร้างกระแสได้ จะมีช่วงพีคอยู่ ก็สามารถสร้างรายได้ในช่วงนั้น”

ปัจจุบันมาม่า OK มีทั้งหมด 7 รสชาติ ซึ่งรสชาติที่ขายดีที่สุด ได้แก่ ฮอตโคเรียน, ผัดไข่เค็ม และฮอตแอนด์สไปซี่

]]>
1395149
‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ มองปัญหาต้นทุนหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ แนะรัฐคุมนานสินค้าอาจ ‘ขาดแคลน’ https://positioningmag.com/1388352 Thu, 09 Jun 2022 12:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388352 หากพูดถึงเครือ ‘สหพัฒน์’ เชื่อว่านี่คือชื่อที่อยู่คู่สินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ ‘มาม่า’ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปรียบเสมือนเพื่อนยามยากเวลาหิว โดยภายในงานแถลงข่าว งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 เจ้าสัวบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดใจถึงวิกฤตต้นทุนสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยว่า ครั้งนี้หนักกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 26 ปีที่แล้วเสียอีก

ปัญหาต้นทุนหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

บุณยสิทธิ์ ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบมากกว่าช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้สินค้าขึ้นราคา แต่เมื่อก่อนเป็นการ ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ครั้งนี้ ขึ้นพรวดเดียว

“เราจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งแรกเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และเวลานี้เหตุการณ์เหมือนกับ 26 ปีที่แล้ว โดยมีสงครามเป็นตัวทำให้ของขึ้นราคาและไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน ซึ่งตอนนี้ สินค้าที่กระทบสุดมากที่สุด คือ ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และนำมัน เลยทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกระทบก่อน”

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

ด้วยปัญหาต้นทุน ทำให้สินค้าในเครือต้องมีการปรับราคาไม่เช่นนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงซักฟอก โดยตอนนี้กำลังรอเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เพื่ออนุมัติเรื่องการปรับราคาเนื่องจากปัญหาต้นทุน เพราะถ้ายิ่งควบคุมนาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะวัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ เหมือนกรณีของ วัคซีน อย่างไรก็ตาม จะขึ้นราคามากน้อยแค่ไหนต้องรอพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบอีกที

“ตอนนี้ทุกประเทศขึ้นราคาหมด เราเองตอนนี้ก็แบกต้นทุนอยู่ ดังนั้น ยังไงก็ต้องขึ้น แต่การขึ้นราคา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับได้”

แนะดันส่งออกบรรเทาวิกฤตต้นทุน

สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสงคราม จากตอนแรกคาดว่าจะจบภายในไม่ถึงเดือน แต่ปัจจุบันลากยาวมากว่า 3 เดือน ดังนั้น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เครือสหพัฒน์เองก็ไม่ได้วางแผนไว้ตายตัว เพราะต้องรอดูสถานการณ์สงครามวันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับไปสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะแม้มีวิกฤตเงินเฟ้อแต่ไม่ต้องล็อกดาวน์เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร ดังนั้น มองว่าการส่งออกเป็นอีกแนวทางบรรเทาปัญหาต้นทุน

“เชื่อว่าประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในฝั่งเอเชียด้วยกัน เพราะเราเป็นประเทศส่งออกอาหาร แม้ไทยจะเจอผลกระทบก็จริง แต่คนไทยก็ปรับตัวได้เร็ว”

จะอยู่รอดต้องเปิดทางคนรุ่นใหม่

บุณยสิทธิ์ คาดว่า เครือสหพัฒน์ต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี รายได้ถึงจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด โดยจากนี้ก็จะเน้นสินค้าในกลุ่ม เฮลท์แคร์ และเวลเนส เนื่องจากคนหันมาดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา และมองว่า ธุรกิจจากนี้จะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวและต้องเปลี่ยนมือให้ คนรุ่นใหม่ มารับช่วงต่อ

แต่ละช่วงไม่เหมือนกัน เราต้องทำใจให้เปลี่ยนทันเหตุการณ์ ตอนนี้สหกรุ๊ปแฟร์เปลี่ยนให้คนใหม่มารับต่อ ไม่ได้เอาคนเก่ามาดู เพราะเราต้องยอมรับว่ารุ่นใหม่เขามีความสามารถแบบหนึ่ง คนเก่าก็มีความสามารถอีกแบบ คนรุ่นเก่าอาจเก่าเรื่องระวังตัว คนรุ่นใหม่เก่าเทคโนโลยี เราพยายามทำให้การเปลี่ยนเเปลง ทำให้เกิดผลบวก”

สินค้าแฟชั่นปีนี้โตเพราะไม่มี Work From Home

ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนต้นทุนผ้าของบริษัทก็พุ่งขึ้นตั้งแต่ 50-100% ตั้งแต่เกิดสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้น ไอ.ซี.ซี ก็เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ แม้มีราคาสูงแต่ผู้บริโภคบางคนยังยอมจ่าย เพราะอั้นมาจาก 2 ปีก่อนเนื่องจากตลาดปิด

นอกจากนี้ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าอย่าง เอสเซ้นซ์ ก็ต้องขึ้นราคาไม่ช้าก็เร็ว เพราะวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีกลไกตลาดควบคุมอยู่ ดังนั้น อาจจะยังต้องทนแบกต้นทุนอยู่ดี

“จริง ๆ ราคามันควรจะขึ้นตอนนี้แล้วเพราะโรงงานก็ไม่ไหวแล้ว แต่ที่ราคายังไม่ขึ้นเพราะสินค้าในตลาดตอนนี้ยังเป็นล็อตเก่าอยู่ ซึ่งเราคงจะขึ้นราคาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คงขึ้นไม่เกินเพดานที่ตั้งไว้ เพราะราคาปัจจุบันยังมีช่องให้ขึ้นได้อยู่”

สำหรับผลประกอบการ ไอ.ซี.ซี ปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 20% เป็นอย่างน้อย จากปีที่ผ่านมาติดลบเกือบ -50% อย่างไรก็ตาม ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไอ.ซี.ซี.ได้ปรับวิธีการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น แม้ยอดขายในปัจจุบันจะไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม

“แม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นและ FMCG ยังไงก็โตเพราะมีปัจจัยบวกจากการเลิก Work From Home คนเลยแต่งตัวออกจากบ้านมากขึ้น เราก็มีสินค้าใหม่ที่ยังเพิ่ม Need ลูกค้าได้อยู่”

]]>
1388352
“มาม่าคัพ” ดัมพ์ราคาเหลือ 10 บาทครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ไวรัสดันตลาดแตะ 2.2 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1277943 Mon, 11 May 2020 16:15:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277943 “สหพัฒน์” เพิ่มกำลังการผลิตมาม่าอีก 30% พร้อมกับจัดโปรโมชั่นลดราคามาม่าคัพแบบถ้วยเหลือ 10 บาท เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ลุ้นตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแตะ 22,000 ล้านบาท หรือโตพรวด 16%

ล็อกดาวน์ กักตัวดันมาม่าโต

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในไทย ส่งผลให้เกิดมาตรการล็อกดาวน์ และคนไทยเองก็ต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดให้มากที่สุด ซึ่งการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นภาพผู้คนกักตุนอาหาร ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็เป็นสินค้ายอดนิยมที่คนไทยกักตุนกันอย่างมาก

ปัจจุบันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 19,000 ล้านบาท จากเหตุการณ์ล็อกดาวน์ทำให้ตลาดโตขึ้น 5.8% มีการคาดการณ์ว่าปีนี้อาจจะได้เห็นตลาดโตขึ้นไปถึง 16% หรือแตะ 22,000 ล้านบาทได้

เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ภาพรวมของสหพัฒน์ในเรื่องของแผนลงทุนใหญ่ๆ ในปีนี้ต้องชะลอออกไป เอางบเก็บไว้ก่อน แต่ในส่วนของคลังสินค้า อีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ยังคงเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะคลังสินค้าใหญ่ที่มีแผนเปลี่ยนไปใช้คลังที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้นที่ศรีราชานั้นจะเป็นไปตามแผนเดิมที่จะเปลี่ยนในปี 2564”

ขณะที่อีคอมเมิร์ซจะเห็นภาพชัดเจนในช่วง COVID-19 ว่ามียอดสั่งซื้อเข้ามาเติบโตเป็น 100% จึงต้องมีการปรับปรุงระบบ พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคลังสินค้าของอีคอมเมิร์ซจากพื้นที่ร่มเกล้ามาที่พื้นที่พระราม 3 ในไตรมาส 3 นี้

ตั้งทีม New Normal รับการทำงานที่เปลี่ยนไป

สหพัฒน์ยังตั้งทีม New Nomal เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลัง COVID-19 จบลง โดยระหว่างนี้เราจะยังอยู่ในช่วงระวังกันอีกเป็นปี แม้สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่คล่องตัวก่อนเข้าสู่ New Normal ในเฟสถัดไป

รวมถึงได้เพิ่มกำลังผลิตของมาม่าอีก 30% เพื่อรับกับความต้องการของผู้บริโภค ได้เข้าร่วมโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน เพื่อช่วยเหลือและลดค่าครองชีพของประชาชนที่กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 โดยนำสินค้าหลายแบรนด์เข้าร่วมโครงการ เช่น ผงซักฟอก เปา, ไฮคลาส, โชกุบุสซึ นิสชิน และ มาม่า เป็นต้น

ได้ปรับลดราคา “มาม่าคัพ” ทุกรสชาติ จากราคา 13 บาท เหลือ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2563 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของมาม่าคัพที่มีการลดราคา

ลุ้นตลาดแตะ 22,000 ล้านครั้งแรก!

สำหรับภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 19,000 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีการเติบโต 8% แบ่งเป็น แบบซองโต 20% และแบบคัพโต 10% โดยในส่วนของแบบซอง มาม่ามีแชร์ 48% ขณะที่แบบคัพ มาม่ามีแชร์ 55%

โดย 2 เดือนที่ผ่านมานี้มาม่าได้เพิ่มกำลังผลิตอีกกว่า 30% จากปกติกำลังการผลิตอยู่ที่ 4 ล้านชิ้นต่อวัน รองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

เวทิตเสริมว่า ในเดือนเมษายนยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังเติบโตมากกว่าปกติ แต่น้อยกว่าเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนสถานการณ์หลังจากนี้ตอบยากว่าจะเติบโตได้มากแค่ไหน แต่เชื่อว่าตลอดทั้งปีนี้มีโอกาสที่จะได้เห็นตัวเลขรวมถึง 22,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย

Source

]]>
1277943
สหพัฒน์ สกัด! ร้านค้าส่ง ดัมพ์ราคาขายแข่ง สะเทือนสินค้าพระเอก “มาม่า-ผงซักฟอก108Shop” ยอดชะลอ https://positioningmag.com/1163752 Wed, 28 Mar 2018 12:15:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163752 “เครือสหพัฒน์” เป็นยักษ์ใหญ่สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ของเมืองไทยมีรายได้กว่า 2.8 แสนล้านบาท และมีบริษัทในเครือจัดจำหน่ายและทำการตลาดที่สำคัญอย่าง “สหพัฒนพิบูล” โดยของกินของใช้ ขายทั้งมาม่า ผงซักฟอกเปา ยาสีฟันซิสเท็มมา น้ำตาลมิตรผล กะทิพร้าวหอม เกลือปรุงทิพย์ น้ำจิ้มตราสุรีย์ เป็นต้น

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคแข่งขันด้าน “ราคา” สูงมาก (Read Ocean) แม้กระทั่งพ่อค้าแม่ขายร้านค้าส่ง (wholesale) ที่เป็นเครือข่ายของสหพัฒน์กว่า 2,000 ร้าน ยังห้ำหั่นราคาจนกระทบการสั่งซื้อสินค้ามายังบริษัท โดยเฉพาะแบรนด์หัวหอกอย่าง “มาม่า” ที่ทำรายได้ 1 ใน 3 ของบริษัท และผงซักฟอก “108Shop” ชะลอตัว! เพราะทุกร้านต่าง “รอ” ร้านที่ขายต่ำกว่าแล้วสั่งซื้อไปขายต่อ

ปี 2560 ต่อเนื่องปี 2561 สหพัฒน์ได้พลิกเกมป้องกันการมาเฟียร้านค้าส่ง “ดัมพ์ราคา” แข่งกัน ด้วยการนำ “กลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partnership) ดึงร้านที่ขายสินค้ากลุ่มอาหารและกลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือนรวมกว่า 100 ร้านมาเป็นพันธมิตร

การเป็นพันธมิตรดังกล่าว ร้านค้าจะต้องจำหน่ายสินค้าในราคาที่บริษัทเป็นผู้กำหนดราคาขาย และมีข้อจำกัดว่าลดได้ต่ำสุดเท่าไหร่ กำหนดพื้นที่ขาย (Zoning) ตามที่ลูกค้ามีร้านค้าย่อยในมือโดยห้าม “ข้ามเขต” จำหน่าย รวมถึงอาศัยความสัมพันธ์ที่ดี (Relationship) เครือข่ายร้าน ต้องทำประมาณการยอดขายร่วมกัน (Forecast) คาดการณ์ชุมชนใหม่ที่จะเกิดขึ้น พิจารณาศักยภาพพื้นที่ขายร่วมกัน หากร้านค้าดังกล่าวขายดีจนสินค้าหมด ก็จะไม่เพิ่มสินค้าใหม่ เป็นต้น

“พอดึงร้านค้าส่งมาเป็นพันธมิตร ทำให้ราคาขายนิ่งขึ้น จากเดิมแต่ละรายจะรอดูว่าร้านค้าส่งอีกจังหวัดขายสินค้าราคาเท่าไหร่ แล้วค่อยตั้งราคาต่ำกว่า สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการรอสั่งซื้อสินค้า แต่หลังปรับทำให้สินค้าบางรายการเช่นผงซักฟอก 108Shop กินสัดส่วนยอดขาย 70-80% จากผงซักฟอกโดยรวมในร้าน” บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าว

สำหรับร้านค้าส่งกว่า 100 ราย ครอบคลุมตลาดเป้าหมายในร้านค้าปลีกทั่วไปมากถึง 60% และเมื่อนับรวมกับห้างโมเดิร์นเทรดจะกินสัดส่วนตลาดเป้าหมาย 23% ซึ่งถือว่าเป็น “ตัวแปร” ต่อยอดขายของสหพัฒน์ได้อย่างมาก

ดึงวินามิลค์ เพิ่มพอร์ตสินค้าใหม่ โยเกิร์ต-นมข้นหวาน

ปีนี้ สหพัฒน์ ยังระดมเติมสินค้าใหม่ในพอร์ตโฟลิโอ นำเข้าโยเกิร์ตเบอร์ 1 จากเวียดนาม ที่มีส่วนแบ่งตลาด 70% อย่าง แบรนด์ “วินามิลค์ (VINAMILK) ของกลุ่มเอฟแอนด์เอ็น (ที่เครือไทยเบฟเข้าไปถือหุ้น) มาทำตลาด 3 รายการ จับตลาดผู้ใหญ่ และ SuSu เพื่อจับตลาดเด็ก โดยเป้าหมายปีแรกคาดว่าจะมียอดขาย 60 ล้านบาท หลังจากนั้นจะพิจารณาผลิตสินค้าในประเทศร่วมกัน โดยให้ บริษัท แดรี่ไทย จำกัด ในเครือสพัฒน์ และผลิตโยเกิร์ตแบรนด์ “ริชเชส” ผลิตให้ (OEM) เพื่อลดข้อจำกัดสินค้าอายุสั้น 30 วัน (Shelf life)

ข้อมูลยูโรมอนิเตอร์ ระบุปี 2559 ตลาดโยเกิร์ตมีมูลค่าราว 5,800 ล้านบาท แบ่งเป็นรสธรรมชาติ 4,400 ล้านบาท และรสผลไม้ 1,400 ล้านบาท โดย “ดัชมิลล์” เป็นเจ้าตลาด

สหพัฒน์ ยังเตรียมร่วมวงทำตลาด “นมเทียมข้นหวาน” นำแบรนด์ “สตาร์” มาบุกตลาดพฤษภาคมนี้

นอกจากนี้ จะมีสินค้าใหม่จากคู่ค้าเดิมเข้ามาทำตลาด เช่น ริชเชส” นมเปรี้ยวโยเกิร์ตเยลลี่ บรรจุภัณฑ์ใหม่, ผ้าอนามัย เอลลิส” และทิชชูเปียก “เอลิแอล” สินค้าจากบริษัทร่วมทุนกับญี่ปุ่น, มีดโกนแบรนด์ “ดอร์โก้” จากประเทศเกาหลี

ส่วนสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แบรนด์ซื่อสัตย์ ออก “ซื่อสัตย์ สึนามิ มิลค์ ซีฟู้ด” บะหมี่แนวใหม่มีจุดขาย “ซุปนม” ทำตลาด และพี่ใหญ่ “ม่าม่า ส่งสินค้าใหม่ “มาม่า OK” บะหมี่แห้งสไตล์เกาหลี รสชาติเผ็ดร้อน ราคา 15 บาท เพื่อรับเทรนด์ผู้บริโภคชอบกินเผ็ดแซ่บ! และยังเป็นการท้าชนแบรนด์เกาหลีที่ตบเท้าเข้ามาทำตลาดด้วย ซึ่งคาดว่าจะผลักดันให้มาม่าโกยยอดขายปีนี้ 11,000 ล้านบาท จากปีก่อน 10,300 ล้านบาท

บุกหนักออฟไลน์ ออนไลน์ก็ไป ซึ่งปีนี้สหพัฒน์ทยอยนำสินค้าไปขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่มากขึ้น ทั้งเทสโก้ โลตัส, ลาซาด้า เตรียมขายผ่านเว็บไซต์ของเจดี ดอทคอมและเซ็นทรัล และซูเปอร์มาร์ทที่กำลังจะเปิดตัว เพื่อป้อนสินค้าถึงมือผู้บริโภคโดยตรง (B2C)

และยังดึงร้านค้าเครือข่าย (B2B) มาสั่งสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น จากปัจจุบันทดลองนำแท็บเล็ตไปให้ร้านค้าย่อย 500 ราย มอนิเตอร์การซื้อ ทดลองสั่งสินค้าผ่านออนไลน์ และมียอดขาย 20 ล้านบาท

ในปีนี้ สหพัฒน์ยังมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ หลังจากปีก่อนจัดเส้นทาง (Route) ในการส่งสินค้าให้ดีขึ้น เช่น สินค้าที่ผลิตภาคเหนือต้องส่งในพื้นที่ก่อนเข้ากรุงเทพฯ เดิมมุ่งตรงกรุงเทพฯ เป็นหลัก ทำให้ลดต้นทุนได้ 86 ล้านบาท เพิ่มเสริมศักยภาพยิ่งขึ้น จึงเตรียมทุ่มงบ “พันล้านบาท” ผุดคลังสินค้าใหม่เนื้อที่ 50 ไร่ ขนาด 50,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) จากปัจจุบันมีคลังเล็กและใหญ่กว่า 60 แห่งทั่วประเทศ และมีพื้นที่เก็บสินค้าเต็มแล้ว

จากแผนดังกล่าว สหพัฒน์ตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้อยู่ที่ 34,240 ล้านบาท เติบโต 9% กำไรสุทธิ 2,000 ล้านบาท จากปีก่อนมีรายได้ 31,360 ล้านบาท เติบโต 4% กำไรสุทธิ 1,444 ล้านบาท เติบโต 25%

“แนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะไตรมาส 2 แต่ยังต้องการให้รัฐอัดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย เพราะอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญมากต่อการใช้จ่าย ต่อให้มีเงินแต่ไม่มีอารมณ์ ก็อาจไม่ดีนัก”  

]]>
1163752