สายการบินแอร์เอเชีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 20 Nov 2020 06:23:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “โรบินฮู้ด x แอร์เอเชีย” ช่วยพนักงานเป็น Rider สร้างอาชีพเสริม ช่วงวิกฤตสายการบิน https://positioningmag.com/1306942 Fri, 20 Nov 2020 05:39:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306942 “โรบินฮู้ด” แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติไทย ประกาศความร่วมมือกับ “สายการบินแอร์เอเชีย” ช่วยเหลือพนักงานสายการบินในการสร้างอาชีพที่สอง เพื่อเสริมรายได้ให้กับพนักงานของแอร์เอเชีย เตรียมนำร้านอาหารของพนักงานขึ้นแพลตฟอร์ม รวมถึงรับสมัคร และฝึกอบรมเป็นผู้ส่งอาหาร

ช่วยเหลือเป็นอาชีพที่ 2

นอกจากนี้ยังได้นำเอาเมนูยอดฮิตที่เสิร์ฟบนเที่ยวบินของแอร์เอเชียอย่าง “ชานมไข่มุก” มาอยู่ในแอปฯ สามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด

พร้อมกับเตรียมนำโซลูชันของ SCB 10X มาร่วมต่อยอดให้การช่วยเหลือในการสร้างอาชีพผ่าน “เหมา-เหมา” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ศูนย์รวมแบรนด์และผู้ผลิตแบบค้าส่ง สำหรับพนักงานที่สนใจเป็นแม่ค้าออนไลน์ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ธุรกิจท่องเที่ยวและสายการบินได้รับผลกระทบเป็นลำดับต้นๆ เราได้ร่วมสนับสนุนโครงการ “Second Job” ของสายการบินแอร์เอเชีย ในการสร้างงานทางเลือกที่สอง สร้างรายได้เสริมให้กับพนักงานของสายการบินแอร์เอเชีย ด้วยการเตรียมนำร้านอาหารของพนักงานทั้งที่มีหน้าร้าน หรืออยู่ในรูปแบบโฮมคิทเช่นขึ้นแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่

ซึ่งโรบินฮู้ดไม่เก็บค่า GP ทำให้ร้านค้าไม่มีต้นทุนเพิ่ม และยังได้รับเงินจากการขายเข้าบัญชีภายใน 1 ชั่วโมง รวมถึงการเปิดรับสมัครและส่งทีมไปฝึกอบรมให้กับพนักงานที่สนใจเป็นผู้ส่งอาหาร (rider) เพื่อหารายได้เสริม และนอกจากการช่วยเหลือพนักงานแล้ว เรายังได้นำเอาเมนู “ชานมไข่มุก” ที่ปกติขายบนเที่ยวบินของแอร์เอเชียมาให้ผู้ที่คิดถึงสามารถสั่งผ่านแอปพลิเคชันโรบินฮู้ดได้แล้ววันนี้”

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่น่าสนใจ จากเดิมที่ช่วยร้านค้า ร้านอาหารให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น มีการขยายความช่วยเหลือพนักงานสายการบินที่ได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก

]]>
1306942
ลือสะพัด! “แอร์เอเชีย” ซุ่มขออนุญาตบิน “สุวรรณภูมิ” 5 เส้นทาง แต่ยังไม่คอนเฟิร์มทางการ https://positioningmag.com/1287228 Fri, 10 Jul 2020 01:51:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287228 สะพัดสายการบินแอร์เอเชีย ซุ่มขออนุญาตสนามบินสุวรรณภูมิ ทำการบิน 5 เส้นทาง “เชียงใหม่-ขอนแก่น-เชียงราย-กระบี่-ภูเก็ต” แต่ไม่ย้ายจากดอนเมือง ให้ผู้บริโภคเลือกได้ว่าจะไปขึ้นหรือลงที่ไหน อีกด้านพบขออนุญาตสนามบินหัวหิน ทำการบินเส้นทางข้ามภาค “เชียงใหม่” และ “อุดรธานี”

รายงานข่าวแจ้งว่า ในเฟซบุ๊ก We Love Thailand Airlines ได้ออกมาระบุว่า สายการบินแอร์เอเชียอยู่ในระหว่างขออนุญาตทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังจุดหมายปลายทาง 5 เส้นทาง ซึ่งเป็นเส้นทางยอดนิยม ได้แก่ สุวรรณภูมิ-เชียงใหม่, สุวรรณภูมิ-ขอนแก่น, สุวรรณภูมิ-เชียงราย, สุวรรณภูมิ-กระบี่ และ สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต โดยจะเป็นการปฏิบัติการบินร่วมกับท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นว่าจะใช้บริการที่ไหน

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีการประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการจากทางแอร์เอเชีย ถึงกระนั้นได้มีภาพสื่อโฆษณาที่คาดว่าจะใช้สำหรับประชาสัมพันธ์หลุดออกมา ระบุว่า

“บินสะดวก เลือกได้ 2 สนามบิน ดอนเมือง และสุวรรณภูมิ กับ 5 เส้นทางสุดฮอต เชียงใหม่ ขอนแก่น เชียงราย กระบี่ ภูเก็ต”

ปัจจุบัน เส้นทางในประเทศจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีสายการบินที่ทำการบินประกอบด้วย การบินไทย (TG), ไทยสมายล์ (WE), บางกอกแอร์เวย์ส (PG) และ ไทยเวียดเจ็ท (VZ)

ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการท่าอากาศยานหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอเปิดเพิ่มเที่ยวบินเส้นทาง เชียงใหม่-หัวหิน, หัวหิน-เชียงใหม่, หัวหิน-อุดรธานี และ อุดรธานี-หัวหิน โดยจะเริ่มทำการบินระหว่างวันที่ 7 ส.ค. 2563 ถึง 23 ต.ค. 2563 เริ่มต้นโดยเที่ยวบินที่ FD3901 เชียงใหม่-หัวหิน ออกจากเชียงใหม่เวลา 10.00 น. ถึงหัวหินเวลา 11.00 น. ต่อด้วยเที่ยวบินที่ FD3910 หัวหิน-อุดรธานี ออกจากหัวหินเวลา 11.30 น. ถึงอุดรธานีเวลา 12.55 น.

จากนั้นจะเป็นเที่ยวบินที่ FD3911 อุดรธานี-หัวหิน ออกจากอุดรธานีเวลา 13.25 น. ถึงหัวหินเวลา 14.40 น. และเที่ยวบินที่ FD3900 หัวหิน-เชียงใหม่ ออกจากหัวหินเวลา 15.10 น. ถึงเชียงใหม่เวลา 16.10 น. โดยจะทำการบินเฉพาะวันศุกร์และวันอาทิตย์ หากเป็นเช่นนั้นจริงจะถือว่าเป็นเส้นทางบินข้ามภาคสายใหม่ ต่อจากเส้นทางเชียงใหม่-หาดใหญ่, เชียงใหม่-พัทยา (อู่ตะเภา), หาดใหญ่-พัทยา (อู่ตะเภา) ให้บริการเฉพาะวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ และขอนแก่น-หาดใหญ่ เฉพาะวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์

]]>
1287228
กางผลงานครึ่งปีแรก 2019 “การบินไทย – นกแอร์” กอดคอ #ขาดทุนเท่าฟ้า “แอร์เอเชีย” กำไรลดฮวบ https://positioningmag.com/1242005 Sun, 11 Aug 2019 22:59:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242005 ธุรกิจสายการบินยังคงเผชิญมรสุมที่บินฝ่าไปได้ยาก ทั้งความตึงเครียดจากสถานการณ์การค้าโลก ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ช่วงครึ่งปีแรก 2019 ผลประกอบการของสายการบินจึงมีทั้ง “ติดลบ” ส่วนรายที่แม้จะมี “กำไร” แต่ก็ลดฮวบเหมือนกัน

การบินไทยพลิกขาดทุนยับ 6 พันล้านบาท

ถึงแม้ว่าการบินไทย ยังคงดำเนินการตามแผนฟื้นฟูธุรกิจต่อเนื่องจากปีก่อนโดยมุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริมภายใต้โครงการมนตราโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือทำให้การบินไทยหลุดพ้นจากวงจรของกับดักปัญหา และสามารถมีผลประกอบการที่มั่นคงต่อไปในอนาคต

แต่จากภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ของปี ชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ จีนส่งผลกระทบต่อภาวะการณ์ส่งออกอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างมากส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทย การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก เข้ามากดดันรายได้ของการบินไทยอยู่

ส่งผลครึ่งปีแรก 2019 ให้รายได้รวมจำนวน 92,300 ล้านบาท ลดลง 8,405 ล้านบาท (8.3%) สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากกิจการขนส่งลดลง 7,049 ล้านบาท (7.7%) โดยในส่วนของรายได้จากค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกินลดลง 6.6% มีสาเหตุหลักจากปริมาณการขนส่งผู้โดยสารลดลง 4.2% นอกจากนี้ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนมีผลให้รายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยลดลง 3.2% มีจำนวนผู้โดยสารทั้งสิ้น 12.01 ล้านคน ลดลง 0.15%

ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 100,239 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 562 ล้านบาท (0.6%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานไม่รวมน้ำมันเพิ่มขึ้น 941 ล้านบาท (1.4%) ได้แก่ ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่เพิ่มขึ้น 739 ล้านบาท (10.4%) จากการรับมอบเครื่องบินเช่าดำเนินงานพิ่มขึ้น ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายพิ่มขึ้น 515 ล้านบาท (6.5%) จากการเปลี่ยนประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องบินและเครื่องยนต์

ทั้งหมดนี้ทำให้การบินไทยขาดทุนจาก 6,422 ล้านบาท ขาดทุนสูงกว่าปีก่อน 6,073 ล้านบาท ขณะเดียวกันแม้การบินไทยจะจัดหาแหล่งทุนเงินได้มาทั้งสิ้น 24,000 ล้านบาท แต่จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2019 การบินไทยและบริษัทย่อยมีหนี้สินกว่า 245,133 ล้านบาท ซึ่งการบินไทยระบุว่า เป็นตัวเลขที่ลดลงจากสิ้นปีก่อน 3,132 ล้านบาท

นกแอร์มีข่าวดี ขาดทุน “ลดลง”

ฟาก “นกแอร์” ก็ไม่ต่างจากการบินไทยมากนัก แม้จะได้แม่ทัพคนใหม่มาดูแลอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ผลประกอบการยังอยู่ในภาวะไม่สู้ดี ครึ่งปีแรก 2019 มีรายได้รวม 6,509.65 ล้านบาท ลดลง 15.15% จากปีก่อนที่มีรายได้ 7,671.53 ล้านบาท

สำหรับรายละเอียดนั้นนกแอร์ชี้แจงว่า 6 เดือนแรกมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 14.64% ด้วยจำนวนฝูงบินลดลง ส่งผลให้อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ที่ 88.35%

อย่างไรก็ตาม รายได้ต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (RASK) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.01% คิดเป็น 2.00 บาท/ที่นั่งกม. มีรายได้จากค่าโดยสารและรายได้จากการให้บริการในช่วง 6 เดือนแรกลดลง 13.80% และ 12.37% ตามลำดับ รวมถึงรายได้อื่นลดลงร้อยละ 61.69

ขณะเดียวกันยังมีข่าวดีอยู่บ้าง เนื่องจากค่าใช้จ่าย 7,383.80 ล้านบาท ลดลงจาก 8,446.22 ล้านบาท หรือ 12.58% โดยสาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันอากาศยาน ต้นทุนเชื้อเพลิงจึงลดลง 16.04% นอกจากนั้นยังสามารถลดต้นทุนในการซ่อมบำรุงเครื่องบิน รวมถึงสามารถลดต้นทุนค่าเช่าเครื่องบินได้ตามแผนการลดค่าใช้จ่ายตามแผนการฟื้นฟูธุรกิจของบริษัท คิดเป็น 15.47% และ 7.11% ตามลำดับ

ทั้งนี้นกแอร์มีผลขาดทุนเบ็ดเสร็จเท่ากับ 751.09 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 23.59 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลง 3.05%

“แอร์เอเชีย” จากกำไร “พันล้าน” เหลือหลัก “สิบล้าน”

ในขณะที่ “แอร์เอเชีย” แม้ผลประกอบการครึ่งปีแรก 2019 ยังสวยหรู มีรายได้ 21,637.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 4% มาอยู่ที่ 11.4 ล้านคน ส่งผลให้อัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่อัตรา 86%

ทั้งนี้ค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 1,474 บาทต่อคน ลดลง 4% เนื่องจากการเติบโตอย่างชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กอปรกับค่าเงินบาทที่แข็งค่ากดดันความต้องการเดินทางท่องเที่ยวมายังประเทศไทย

สำหรับค่าใช่จ่ายมีทั้งสิ้น 21,299.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% โดยหลักมาจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น 11% ซึ่งค่าน้ำมันเป็นต้นทุนหลักกว่า 35%

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการขายลดลง จากการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายพนักงาน และการบันทึกรายการพิเศษจากหนี้สินสำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานจำนวน 111 ล้านบาท

ดังนั้นช่วงครึ่งปีแรก 2019 “แอร์เอเชีย” จึงมีกำไร 23.8 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่เคยทำได้ 1,267.1 ล้านบาท ทั้งนี้ในภาพรวมปี 2019 “แอร์เอเชีย” ตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารที่ 23.15 ล้านคน และอัตราขนส่งผู้โดยสาร 86%

]]>
1242005
ล้มดีล! แอร์เอเชียไม่ซื้อหุ้นนกแอร์แล้ว https://positioningmag.com/1218128 Wed, 06 Mar 2019 06:27:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218128 หลังจากมีกระแสข่าวเกี่ยวกับการที่บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของสายการบินแอร์เอเชีย อยู่ระหว่างเจรจากับนกแอร์ในการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นใหญ่ ตระกูลจุฬางกูร 53%

ล่าสุด นายสันทัด สงวนดีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ส่งหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บริษัทฯ ได้ชี้แจงว่าอยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนเข้าซื้อหุ้น” นั้น บริษัทขอรายงานความคืบหน้าว่าบริษัทจะไม่ดำเนินการต่อ” ในเรื่องดังกล่าวแล้ว

นับเป็นการปิดฉากดีลสำคัญของการซื้อกิจการสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งหลังจากแอร์เอเชียได้ออกมายอมรับว่ามีความสนใจในการซื้อหุ้นนกแอร์จริงและอยู่ระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีกระแสข่าว หากมีการควบรวมจริงเข้าข่ายการผูกขาดตลาดสายการบินตุ้นทุนต่ำทันที ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% โดยต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าก่อน จึงควบรวมได้

ปรากฏว่าหลังจากมีข่าวออกมาราคาหุ้น AAV ลดลงทันที โดยปิดไปในราคา 4.20 บาท ติดลบ -4.11% จากราคาเฉลีย 4.23 บาท.

]]>
1218128
ไทยแอร์เอเชีย ทำรายได้ ปี 61 แตะ 4 หมื่นล้าน แต่กำไร 70 ล้าน https://positioningmag.com/1216896 Thu, 28 Feb 2019 08:04:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216896 หลังตกเป็นกระแสลืออย่างหนัก บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV เจ้าของสายการบิน แอร์เอเชีย ได้ตกลงจะซื้อหุ้น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK จากกลุ่มจุฬางกูร ซึ่งถืออยู่ 55.13% แอร์เอเชียได้ชี้แจงว่าสนใจจริง และอยู่ระหว่างพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน แต่ยังมิได้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด หากมีความคืบหน้าจะรีบแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ

แอร์เอเชีย จึงถูกจับตามองทันทีว่า ดีลนี้จะจบลงได้เมื่อใด จะมีการซื้อขายหุ้นจริงหรือไม่

มาดูกันว่า ผลประกอบการของไทยแอร์เอเชีย (TAA) จะแข็งแรงเพียงใด โดย TAA ได้แสดงผลประกอบการประจำปี 2561 มีรายได้รวม 40,200.2 ล้านบาท กำไรรวม 70.0 ล้านบาท ขนส่งผู้โดยสาร 21.57 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ด้วยอัตราขนส่งเฉลี่ย (Load Factor) ร้อยละ 85 พร้อมตั้งเป้าปี 2562 รับเครื่องบินใหม่เพิ่ม 4 ลำ เจาะตลาด CLMV และอินเดียเพิ่ม

สันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) และสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า ปี 2561 ธุรกิจสายการบินต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเรายังคงยึดมั่นในการเป็นสายการบินราคาประหยัดที่มีการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และทำงานกันอย่างหนักเต็มที่ นอกจากผลประกอบการดังกล่ราวแล้ว มีเครื่องบินรวม ณ สิ้นปี 2561 รวม 62 ลำ (เพิ่มขึ้น 6 ลำจากสิ้นปี 2560 ที่ 56 ลำ) โดยไตรมาส 4 ปี 2561 จำนวนผู้โดยสารฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการได้รับปัจจัยบวกของนโยบายของภาครัฐฯ ในมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า ณ ช่องทางอนุญาตด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) อย่างไรก็ตาม สำหรับ TAA ตลอดปี 2561 มีรายได้รวมอยู่ที่ 40,199.4 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิ 127.5 ล้านบาท

สำหรับปี 2562 สายการบินตั้งเป้าหมายรับเครื่องบินใหม่ เข้าประจำการฝูงบินอีก 4 ลำ รวมเป็น 66 ลำ ณ สิ้นปี 2562 โดยจะมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายบินที่หลากหลาย ทั้งการเพิ่มฐานปฏิบัติการบินภายในประเทศแห่งที่ 7 ที่จังหวัดเชียงราย การเพิ่มเส้นทางบินระหว่างประเทศใหม่ๆ จากฐานปฏิบัติการบินทั่วภูมิภาค โดยการเพิ่มสัดส่วนผู้โดยสารในตลาด CLMV และตลาดอินเดียเพิ่มจากตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่เเข็งเเกร่งอยู่เเล้ว โดยตั้งเป้ายอดจำนวนผู้โดยสารตลอดปี 2562 ที่ 23.15 ล้านคน และอัตราส่วนขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ร้อยละ 86

]]>
1216896