สำนักพิมพ์โขงชีมูล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 02 May 2007 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สินค้าจีนแข่งสร้าง Brand ระดับโลก สนองยุทธศาสตร์ประเทศ“ออกไปข้างนอก” https://positioningmag.com/34318 Wed, 02 May 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34318

สองผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา“จุฬาฯ-หอการค้า” เชื่อแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 11 ที่เริ่มปี2006-2010 จะเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ของประเทศจีนในสายตาชาวโลกได้แบบก้าวกระโดด ชี้เฉพาะยุทธศาสตร์ “ออกไปข้างนอก” ส่งผลให้แบรนด์ขนาดยักษ์ของจีน ยกพลตีตลาดทั่วโลกชนิดคึกคักในวันนี้ สำนักพิมพ์โขงชีมูล เสือปืนไว อิงกระแส บิลล์ เกตส์ เมืองจีน ยกกรณีศึกษา 8 แบรนด์มังกรยักษ์ระดับโลกร่วมงาน

นายชาญ สิริมนตาภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาธุรกิจไทย-จีน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากความยิ่งใหญ่ของประเทศจีนในปัจจุบัน ที่เป็นผลพวงจากแผนพัฒนาประเทศในรอบหลายปีที่ผ่านมา ทำให้วันนี้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและอีก 5ปี เชื่อว่าจะขึ้นไปอยู่อันดับ3 รองเพียงสหรัฐและญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าตัวเลขกว่า 26 ล้านล้านหยวน(109.4ล้านล้านบาท) เพราะจีดีพีแต่ละปีโตเฉลี่ย 9-10% การส่งออกโตเฉลี่ยปีละ 20% ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นปีละ 23% การลงทุนจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ)เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนสูงเป็นอันดับ1ของโลกหรือมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯแล้ว

“ยุทธศาสตร์ใหม่ของจีนตามแผนพัฒนาประเทศฉบับที่11 ที่เริ่มปี2006-2010 คือ “ออกไปข้างนอก” ในที่นี้คือ การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของจีนไปสร้างความยิ่งใหญ่นอกประเทศ เพราะการใหญ่ในประเทศถือว่าใหญ่ยังไม่จริง ต้องไปสร้างแบรนด์ในต่างประเทศ เหมือนกับที่ญี่ปุ่น และเกาหลีทำสำเร็จมาแล้ว”

ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จีนได้วางยุทธศาสตร์การสร้างแบรนด์แบบเป็นขั้นตอนคือ สร้างแบรนด์ประเทศ(Country Image)และแบรนด์สินค้า(Product Image)คู่ขนานกันไป เฉพาะอย่างยิ่งหลังกีฬาโอลิมปิกปี 2008 และเวิร์ลด์ เอ็กโปร์2010 ที่จีนเป็นเจ้าภาพจะทำให้ชื่อสินค้าจีนเป็นที่รู้จักเหมือนกับสินค้าญี่ปุ่นและเกาหลีที่รู้จักกันดีในวันนี้

นายชาติเมธี แซ่หงษ์ กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์โขง ชี มูล กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า จากแนวโน้มที่เกิดขึ้น ทางสำนักพิมพ์จึงจัดทำพ็อกเก็ตบุคส์ในแนวซีรี่ย์เกี่ยวกับจีน เพื่อฉายภาพให้ชัดเจนขึ้น โดยได้เปิดตัวไปแล้วในชื่อ“Branding พญามังกร..วิถีใหม่สินค้าจีนบนลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ซึ่งมีหัวใจสำคัญอธิบายยุทธ์ศาสตร์การสร้างแบรนด์สินค้าและการสร้างธุรกิจที่เริ่มจากศูนย์ ท่ามกลางกระแสที่มีเจ้าตลาดยึดพื้นที่ไว้หมดแล้ว แต่สามารถพลิกประสบความสำเร็จมาได้ ทั้งนี้ได้หยิบยกเอาแบรนด์จีนขนาดใหญ่มาเป็นกรณีศึกษาอย่างไฮเออร์ เลอโนโว ทีซีแอล วู่หลิง หลี่หนิง หัวเหว่ย ชิงเต่า และฉางฮง ซึ่งแบรนด์เหล่านี้ได้วางแผนสร้างแบรนด์สินค้าในประเทศไทยและภูมิภาคอื่น ๆทั่วโลกให้เป็นที่รู้จักอย่างจริงจังและเป็นขั้นตอน

“หนังสือเล่มนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนใจอย่างดีและเร็ว ๆ นี้ สำนักพิมพ์โขง ชี มูล เตรียมนำหนังสือเข้าร่วมในงานสัมมนาในหัวข้อ “พบ บิลล์ เกตส์ เมืองจีน” ที่จะมาบรรยายถึงผลสำเร็จการทำธุรกิจในจีน ณ เมืองไทย ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ถนนราชดำเนิน รวมถึงการเตรียมจัดสัมมนาในเรื่องแบรนด์จีนในเร็ว ๆ นิ้อีกด้วย”

]]>
34318
Branding พญามังกร วิถีใหม่สินค้าจีนบนลุ่มน้ำเจ้าพระยา https://positioningmag.com/34066 Mon, 09 Apr 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34066

สำนักพิมพ์โขงชีมูล ได้ฤกษ์คลอดพ็อคเก็ต บุ๊คเล่มใหม่ ในชื่อ “Branding พญามังกร..วิถีใหม่สินค้าจีนบนลุ่มน้ำเจ้าพระยา” โดยได้ถ่ายถอดยุทธศาสตร์การสร้าง 8 แบรนด์สินค้าจีนดังระดับโลก ไล่ตั้งแต่ “ไฮเออร์,เลอโนโว,ทีซีแอล,ฉางฮง,ชิงเต่า,หัวเหว่ย,วู่หลิงและหลี่หลิง” ซึ่งขณะนี้ได้ปรับทิศทางการทำตลาดใหม่ โดยหันมาใช้ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางรุกสู่ตลาดในเอเชียมากขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯและยุโรป

]]>
34066
ชี้ “กลุ่มคนวัยทอง”เมืองไทยตัวเลขพุ่งกระฉูด 20 ล้านแล้ว https://positioningmag.com/29457 Mon, 03 Jul 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=29457

เผยตัวเลข “วัยทอง”เมืองไทยเพิ่มสูงลิ่ว เกือบ 20 ล้านคนแล้ว ขณะที่กลุ่ม “เตรียมวัยทอง” คือ ที่อายุเกินกว่า 30 ปีขึ้นไปไล่มาติดๆ ส่วนกลุ่ม “วัยสูงอายุ”อีก 15 -20ปีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า เดินตามหลัง อิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมนี และสวิสฯ ด้านนักวิชาการด้านการตลาดให้จับตาเทรนด์ใหม่สินค้าเมืองไทย จะหันทิศทางมาเจาะกลุ่มนี้มากขึ้น จนอาจแซงขึ้นอันดับหนึ่งใน 5 ปีข้างหน้า

หนังสือ “Marketing to the Old : กลเม็ดเจาะเซฟวัยทอง “ ซึ่งเป็นหนังสือสำหรับคู่มือของเจ้าของกิจการและนักการตลาด เพื่อกำหนดกลยุทธ์รับกำลังซื้อกลุ่มคนวัยทอง ได้อ้างข้อมูลจาก CIA World Fact Book สถาบันที่ทำหน้าที่สำรวจสถานการณ์แปรผันของประชากรทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยเมื่อเร็ว ๆนี้ พบตัวเลขที่น่าสนใจ คือ กลุ่มประชากรของไทยที่อายุ 30 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตอเนื่อง จากปัจจุบันคิดเฉลี่ยประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด คือ 65 ล้านคน อันเป็นผลมาจากคนกลุ่มวัยระหว่าง 20-29 ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ สวนทางกับกลุ่มวัยเด็กที่ลดลงเรื่อยๆ

ขณะที่กลุ่มประชากรอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในช่วง”วัยทองสมบูรณ์” ในปัจจุบันคิดเฉลี่ยเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งประเทศ หรือ มีประมาณ 20 ล้านคน ส่วน 6-7 ล้านคนจัดอยู่ในกลุ่มผู้สูงวัย แต่มีสัญญาณที่ชัดเจนบ่งบอกว่า ประชากรกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวใน15-20ปีข้างหน้า ตามหลังประเทศ อิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมนี และสวิสเซอร์แลนด์ ที่มีจำนวนประชากรวัยนี้คิดเฉลี่ยประมาณ 25% 25% 24% และ23% ตามลำดับ โดยที่ไทยจัดเป็นประเทศเขตเศรษฐกิจใหม่ในเอเชีย ที่ก้าวไปสู่กลุ่มประชากรวัยดังกล่าวเร็วที่สุดกว่าทุกประเทศ

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาดวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรของไทยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ประชากรที่เกิดในช่วงปี 1960 – 1970 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านโครงสร้างประชากรของไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้นซึ่งอยู่ในวัยที่เรียกว่า ช่วง “เตรียมวัยทอง” คือ มีอายุระหว่าง 30-40 ปี โดยสังคมไทยกำลังก้าวไปสู่”สังคมคนวัยทอง” และ”ผู้สูงอายุ” เป็นส่วนใหญ่ในอนาคตอันไม่ไกล เพราะโครงสร้างประชากรเด็กลดลง ขณะที่ประชาชนเริ่มมีอายุยืนมากขึ้น

ปรมาจารย์การตลาดจึงฟันธงว่า จากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ได้ส่งผลให้สินค้าและบริการหลายอย่างได้จับตาดูพฤติกรรมดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อจะออกสินค้า และบริการได้ตรงตามความชอบ จากที่ในอดีตจะให้ความสำคัญที่กลุ่มเด็กเป็นหลัก นี้คือเทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น และหลายคนไม่ควรมองข้าม!

ข้อมูลจากหนังสือ “Marketing to the Old” ยังระบุอีกว่าประชากรวัยเด็กของไทย(0-14ปี)ที่ปัจจุบันคิดเฉลี่ยประมาณ 40% ของประชากรทั่วประเทศ แต่ในอีก 15-20 ปี จะลดลงเหลือเพียง 18%เท่านั้น กลับกันกับกลุ่มผู้สูงอายุ จะเพิ่มเป็น 20% จากปัจจุบันคิดเฉลี่ยเป็นเพียง 10 % เท่านั้น ขณะที่กลุ่มคนวัยทอง จะเพิ่มเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วประเทศ โดยประชากรของไทยในปี 2568 จะเพิ่มเป็นประมาณ 72.3 ล้านคน

]]>
29457