หาคู่ออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 08 Apr 2023 07:56:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดาต้าจากแอปฯ หาคู่: “ผู้หญิง” มีแนวโน้มจะตั้งค่าสเปกละเอียดมากกว่าผู้ชาย https://positioningmag.com/1426879 Sat, 08 Apr 2023 06:41:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426879
  • ดาต้าจากแอปฯ หาคู่ The League แสดงให้เห็นว่า “ผู้หญิง” ตั้งค่าตัวกรอง (filter) สเปกละเอียดกว่าผู้ชาย
  • อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คนกลุ่มหนึ่งจะตั้งค่าสเปกให้ดู “เปิดกว้าง” แต่สุดท้ายคนเราจะมี “อคติ” ชอบหรือไม่ชอบสเปกในแบบเดียวกับคนที่ “เลือกมาก” อยู่ดี
  • ดาต้าที่กำลังจะได้อ่านเหล่านี้ มาจากการเก็บข้อมูลผู้ใช้ 80,000 คนในแอปพลิเคชัน The League ซึ่งเป็นแอปฯ หาคู่ในสหรัฐฯ ที่เน้นเป้าหมายลูกค้ากลุ่มที่มีการศึกษาและหน้าที่การงานดี เน้นการหาคู่เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวมากกว่าหาคู่นอนชั่วคราว (ด้วยราคาแพ็กเกจเริ่มต้นเดือนละเกือบ 2,300 บาท) และมีค่าเฉลี่ยอายุผู้ใช้อยู่ที่ 28 ปี โดยการสำรวจเกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2023

    ปูพื้นวิธีการใช้งานแอปฯ The League เริ่มต้นจากผู้ใช้จะต้องตั้งค่าตัวกรอง (filter) สเปกคู่แบบที่คนชอบ ไม่ว่าจะเป็นด้านอายุ ความสูง และเชื้อชาติ จากนั้นแอปฯ จะทยอยส่งคู่ที่ผ่านการคัดกรองมาให้เลือกผ่านหน้าตาและโปรไฟล์ หากทั้งสองฝั่งต่างกดไลก์กันและกัน คู่แมตช์จึงจะเริ่มคุยแชตกันได้ (เป็นขั้นตอนการใช้งานที่คล้ายคลึงกับแอปฯ หาคู่ส่วนใหญ่)

    จากขั้นตอนการตั้งค่าตัวกรองสเปก แอปฯ จึงพบดาต้าที่น่าสนใจคือ “ผู้หญิง” มีค่าเฉลี่ยการกรองตัวเลือกในเบื้องต้นออกไปถึง 70% ขณะที่ “ผู้ชาย” จะกรองตัวเลือกเบื้องต้นออกไปเพียง 55%

    สาเหตุที่ต่างกันค่อนข้างมาก เป็นเพราะ “ผู้หญิง” มีสเปกที่ชัดเจนมากเรื่อง “ส่วนสูง” และ “อายุ” ของผู้ชาย วัดได้จากสถิติเหล่านี้

    • 40% ของผู้หญิงจะคัดผู้ชายที่เตี้ยกว่า 152 ซม.ออกทันที และผู้หญิง 20% จะคัดผู้ชายที่เตี้ยกว่า 163 ซม.ออกทันที
    • 65% ของผู้หญิงจะคัดผู้ชายวัยไม่เกิน 24 ปีออกทันที และมากกว่า 40% ของผู้หญิงจะคัดผู้ชายวัยไม่เกิน 34 ปีออกทันที

    มาดูฝั่งผู้ชายกันบ้าง “ผู้ชาย” ดูจะเป็นเพศที่เปิดกว้างกว่าในการตั้งค่าตัวกรองในรอบแรก ดูจากสถิติ ดังนี้

    • 40% ของผู้ชายจะคัดผู้หญิงที่สูงกว่า 175 ซม.ออกทันที
    • 65% ของผู้ชายจะคัดผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปออกทันที

    ถ้าคิดตามทฤษฎีแล้ว ผู้หญิงที่คัดเลือกคู่ในรอบแรกอย่างละเอียดกว่า ก็น่าจะกดไลก์คนที่ผ่านเข้ารอบในอัตราสูง แต่ปรากฏว่าความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น ไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิงก็มีอัตรากดไลก์คนที่ผ่านเข้ารอบแรกมาที่ 10% เท่าๆ กัน และคนที่ตั้งค่าตัวกรองรอบแรกแบบละเอียดสุดๆ กลับมีแนวโน้มที่จะกดไลก์ในรอบต่อไปต่ำกว่าคนที่ตั้งค่าตัวกรองแบบกว้างๆ ด้วยซ้ำ ซึ่งน่าจะสะท้อนให้เห็นว่า คนที่ “เลือกมาก” ก็จะเลือกมากในทุกๆ รอบนั่นเอง

     

    เหมือนจะเปิดกว้าง แต่ใช้อคติแบบเดียวกัน

    เรื่องที่น่าสนใจต่อมาคือ ในกลุ่มคนที่ตั้งตัวกรองให้เปิดกว้าง เช่น ผู้หญิงที่อนุญาตให้ผู้ชายที่เตี้ยกว่า 163 ซม. ผ่านรอบแรกมาได้ แต่สุดท้ายแล้วผู้ชายเหล่านี้ก็ไม่ค่อยได้ไลก์อยู่ดี โดยผู้ชายเตี้ยกว่า 163 ซม. มีสถิติได้รับการกดไลก์แค่ 13% เทียบกับผู้ชายที่สูงกว่านี้ มีโอกาสได้ไลก์สูงกว่าเป็นเท่าตัว

    อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องเชื้อชาติ โดยผู้ชายที่เปิดกว้างให้ผู้หญิงผิวดำผ่านเข้ารอบแรกมาได้ มีโอกาสกดไลก์หญิงผิวดำเพียง 24% เทียบกับค่าเฉลี่ยการกดไลก์หญิงเชื้อชาติอื่นจะอยู่ที่ 37%

    สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า แม้จะทำเหมือนเปิดกว้างในรอบแรก แต่เมื่อถึงเวลาต้องเลือกจริงๆ คนกลุ่มนี้ก็มักจะเลือกสเปกคู่เดตแบบเดียวกับคนที่เลือกมากมาตั้งแต่แรก

    ดาต้าจาก The League ยังทำให้เห็นได้ชัดว่า ส่วนผสมของวัย เชื้อชาติ และส่วนสูง แบบไหนที่เพศตรงข้ามมักจะ “เลือก” หรือ “ไม่เลือก” กดไลก์ ดังนี้

    1.ผู้หญิงที่ถูกเลือกมากที่สุด 3 กลุ่ม ได้แก่

    • ผู้หญิงวัย 25-29 ปี สูง 165-168 ซม. เชื้อชาติใดก็ได้
    • ผู้หญิงวัย 25-29 ปี สูง 160-163 ซม. เชื้อชาติใดก็ได้
    • ผู้หญิงวัย 25-29 ปี สูง 155-158 ซม. เชื้อชาติใดก็ได้

    2.ผู้หญิงที่ถูกเลือกน้อยที่สุด 3 กลุ่ม ได้แก่

    • ผู้หญิงวัย 50-54 ปี สูง 160-163 ซม. ผิวดำ
    • ผู้หญิงวัย 45-49 ปี สูง 165-168 ซม. ผิวดำ
    • ผู้หญิงวัย 45-49 ปี สูง 155-158 ซม. ผิวดำ

    3.ผู้ชายที่ถูกเลือกมากที่สุด 3 กลุ่ม ได้แก่

    • ผู้ชายวัย 35-39 ปี สูง 185 ซม.ขึ้นไป ผิวขาว
    • ผู้ชายวัย 30-34 ปี สูง 180-183 ซม. ผิวขาว
    • ผู้ชายวัย 30-34 ปี สูง 185 ซม.ขึ้นไป ผิวขาว

    4.ผู้ชายที่ถูกเลือกน้อยที่สุด 3 กลุ่ม ได้แก่

    • ผู้ชายวัย 40-44 ปี สูง 160-163 ซม. เอเชียน
    • ผู้ชายวัย 35-39 ปี สูง 160-163 ซม. อินเดียน
    • ผู้ชายวัย 30-34 ปี สูง 160-163 ซม. ฮิสปานิค

    ค่อนข้างจะชัดเจนว่าสิ่งที่ผู้ชายแคร์มากที่สุดในการเลือกคู่เดตก็คือ “อายุ” โดยผู้หญิงวัย 25-29 ปีนั้นมีโอกาสมากที่สุด ส่วนผู้หญิงก็มักจะเลือกผู้ชาย “ขาวสูง” เป็นหลัก

    Source

    ]]>
    1426879
    “Tinder” เตรียมเปิดฟีเจอร์ “รับรองตัวตนจริง” คัดกรองผู้ใช้งาน-อาชญากรทางเพศ https://positioningmag.com/1347371 Tue, 17 Aug 2021 09:42:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347371 Tinder เตรียมเปิดฟีเจอร์ใหม่ “ID Verification” หรือการตรวจสอบตัวตนผู้ใช้งานว่ามีตัวตนจริง ตรงตามเอกสารที่ใช้ระบุตัวตนได้ โดยจะเริ่มใช้งานทั่วโลกภายในไตรมาสต่อไป

    ฟีเจอร์ใหม่ “ID Verification” หรือ “รับรองตัวตนจริง” ที่ Tinder จะนำมาใช้ทั่วโลกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นระบบสมัครใจ ยกเว้นในประเทศที่กฎหมายท้องถิ่นระบุให้การใช้งานแอปฯ หาคู่ต้องยืนยันอายุจริงก่อน เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ Tinder ทดลองฟีเจอร์นี้เป็นประเทศแรกตั้งแต่ปี 2019 หลังจากญี่ปุ่นบังคับให้ผู้ใช้งานต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

    วิธีใช้งาน เมื่อยืนยันตัวตนตามเอกสารที่ระบุตัวตนได้เรียบร้อยแล้ว จะมี ‘badge’ พิเศษขึ้นในโปรไฟล์เพื่อรับรองว่ามีตัวตนจริง เหมือนกับที่ก่อนหน้านี้ Tinder มี badge สำหรับคนที่ยืนยันแล้วว่าใช้รูปจริง

    การเปิดให้ยืนยันตัวตนจริงของผู้ใช้งาน Tinder มองว่าจะทำให้สังคมในแพลตฟอร์มมีความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ใช้สบายใจขึ้นเมื่อทำความรู้จักกับใครสักคน

    Photo : Shutterstock

    “เรารู้ว่าในหลายส่วนของโลกและในกลุ่มของผู้ที่ถูกกีดกันทางสังคม อาจมีเหตุผลไม่สามารถหรือไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ การสร้างทางออกที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริงด้วยยืนยันตัวตนด้วย ID Verification จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และเป็นโปรเจกต์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพวกเราต้องการความเห็นจากสมาชิกรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในการช่วยพัฒนาเรื่องดังกล่าว”เทรซี่ เบรเดนท์ รองประธานบริหารฝ่าย Safety and Social Advocacy ของ Match Group บริษัทเจ้าของแอปฯ Tinder กล่าว

    นอกจากนี้ ในภูมิภาคที่ Tinder สามารถเข้าถึงประวัติอาชญากรรมได้ บริษัทจะนำดาต้ามาใช้ร่วมกับการยืนยันตัวตน ตามระเบียบของแพลตฟอร์มที่ไม่อนุญาตให้ผู้มีประวัติอาชญากรรมร้ายแรง กระทำผิดทางเพศ หรือใช้ความรุนแรง เข้ามาใช้แอปฯ Tinder โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มมีการตรวจเช็กผ่านข้อมูลบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับแอปฯ อยู่แล้ว

    ที่มา: Tinder, TechCrunch

    ]]>
    1347371
    COVID-19 เล่นกล! ทำสถิติ “การหย่า” ในไทยลดลง 6% แต่แต่งงานก็ลดลง 17% https://positioningmag.com/1317096 Sat, 06 Feb 2021 14:54:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317096 จากเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19 ทั่วโลกในปี 2563 บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching ได้ติดตามสภาวการณ์การหาคู่ การหย่าร้าง การสมรส ทั้งในไทยและในต่างประเทศ และพบว่าในประเทศไทยช่วง COVID-19 จากตัวเลขสถิติจากกรมการปกครอง ภาพรวมของสถิติการหย่าของทั้งประเทศลดลงราว 6% และสถิติการสมรสของทั้งประเทศก็ลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน

    แต่เมื่อมาดูเฉพาะจังหวัดกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่มีประชากรมากสุดถึงประมาณ 5.6 ล้านคน เมืองที่มีคนแต่งงาน และหย่ามากที่สุดในประเทศไทยแล้ว พบว่า สถิติการหย่าในกรุงเทพมหานคร ในปี 2563 ลดลงราว 10% และสถิติการสมรสก็ลดลงถึง 22% เมื่อเทียบกับปี 2562 เลยทีเดียว

    ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ Bangkok Matching คิดว่า ตัวเลขสถิติการหย่าที่ลดลงนั้น จริงๆ แล้วส่วนหนึ่งอาจไม่ได้หมายความว่า คู่ชีวิตไม่ได้มีปัญหา แต่มันอาจเป็นไปได้ว่า ด้วยสภาวะ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในด้านต่างๆ รวมถึงการเงิน และการต้องหาที่พักอาศัยใหม่ ทำให้คู่รักอาจเลือกที่จะอดทนในชีวิตสมรสต่อไปก่อน ยังไม่พร้อมจะแยกบ้าน และยังไม่พร้อมที่จะเริ่มทำเรื่องหย่า ณ ตอนนี้

    รวมถึงบางส่วนอาจจะมาจากวัฒนธรรมการอดทน อดกลั้นในชีวิตคู่ และสำหรับยอดคู่แต่งงานที่ลดลง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคู่รักจำนวนมากได้เลื่อนงานแต่งงานออกไป หรือยกเลิกไปก่อนนั่นเอง อีกทั้งคนโสดบางส่วน อาจจะถูกชะลอการศึกษา ทำความรู้จักกันไปบ้าง จาก COVID-19 ทำให้จำนวนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นแต่งงานในปี 2563 ลดลง ก็เป็นไปได้เช่นกัน

    แต่งงาน
    Photo : Pixabay

    สถานการณ์หย่าร้าง สมรสทั่วโลก

    ประเทศอเมริกา Bloomberg รายงานว่า ในครึ่งปีแรกของปี 2563 ช่วงโควิด 19 ระบาดใหม่ๆ ในประเทศอเมริกา ดูเหมือนยอดการหย่าในประเทศอเมริกามีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น แต่พอปลายปีกลับพบว่ายอดรวมการหย่ากลับลดลง รวมถึงยอดคู่แต่งงานก็ลดลงด้วยเช่นกัน

    ซึ่งสถาบันวิจัยด้านประชากร และครอบครัว Bowling Green State University’s Center สำรวจ และพบว่า ยอดการหย่าที่ลดลงในปี 2563 ไม่ได้แปลว่าคู่ชีวิตในอเมริกาไม่ได้มีปัญหา มันอาจเป็นไปได้ว่า ด้วยสภาวะ COVID-19 ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ รวมถึงการเงิน และการหาที่พักอาศัยใหม่ ทำให้คู่รักเลือกที่จะอดทนในชีวิตสมรสต่อไปก่อน และยอดคู่แต่งงานที่ลดลง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคู่รักจำนวนมากได้เลื่อนงานแต่งงานออกไป หรือยกเลิกไปก่อนนั่นเอง

    ประเทศจีน อังกฤษ และสวีเดน BBC รายงานว่าจากสภาวะกดดันจาก COVID-19 การล็อกดาวน์ทำให้ต้องคู่ชีวิตต้องใช้เวลาด้วยกันแทบจะตลอดเวลา สภาพการเงินที่ถูกผลกระทบ ส่งผลให้สถานการณ์การหย่าพุ่งสูงในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศอังกฤษ จีน และสวีเดน

    Photo : Shutterstock

    สำนักงานทนายด้านการหย่าร้างในอังกฤษแจ้งว่า ได้มีผู้สนใจติดต่อเข้ามาสอบถามเรื่องขั้นตอนการหย่าร้างเพิ่มขึ้นถึง 122% ในเดือนกรกฎาคม และตุลาคม ปี 2563 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา องค์กรการกุศลในประเทศอเมริกาที่ให้คำแนะนำด้านการจบความสัมพันธ์ การหย่าร้างทางออนไลน์ ก็ได้รับการติดต่อสอบถามพุ่งสูงขึ้นมากด้วยเช่นกัน แม้กระทั่งเว็บไซด์ออนไลน์ ขายแบบฟอร์มสัญญาข้อตกลงการหย่าร้าง ก็แจ้งว่ามียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 34%

    ประเทศออสเตรเลีย พบว่าอัตราการสมรสลดลงถึง 30% ในครึ่งปีแรกของปี 2563 และคาดการณ์ว่าอัตราการหย่าก็น่าจะพุ่งสูงขึ้น ดูจากการค้นหาคำว่า “หย่าร้าง” (divorce) บน Google ในประเทศออสเตรเลีย ได้พุ่งสูงเป็นอย่างมาก

    ประเทศเกาหลีใต้ พบว่ายอดการหย่าของคนเกาหลีใต้ช่วง มกราคม – กรกฎาคม 2563 เพิ่มขึ้น 3.1% และยอดแต่งงานลดลง 9.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

    ประเทศญี่ปุ่น และประเทศที่ชายเป็นใหญ่ในครอบครัวอย่าง ฮ่องกง และเกาหลีใต้ มีรายงานการร้องเรียนการใช้กำลังในบ้านของสามีและภรรยา ในช่วงล็อกดาวน์พุ่งสูงมาก ในประเทศญี่ปุ่นเอง ได้รับการร้องเรียนมากเป็นกว่าเท่าตัว แค่ในเดือนเมษายน 2563 เท่านั้น แต่กลับพบว่า สถิติการหย่าในญี่ปุ่นระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2563 กลับลดลงราว 9.8%

    Photo : Pixabay

    ในกรณีประเทศญี่ปุ่น และประเทศแถบเอเชียที่ชายเป็นใหญ่ในบ้านนี้ Bangkok Matching วิเคราะห์ว่า อัตราการหย่าที่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้การเลิกกัน หย่าขาดจากกัน เป็นไปได้โดยลำบาก และอีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของหญิงในประเทศนั้นเอง ที่อาจจะถือหลักอดทน อดกลั้น ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปลูกฝังกันมาของตน

    อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามไปคือ COVID-19 คงไม่ได้ส่งผลร้ายต่อความสัมพันธ์แง่เดียว ในทางกลับกันคู่ที่รอดจากความกดดันต่างๆ ในช่วงนี้มาได้นี้ ก็น่าจะมีแนวโน้มว่าความสัมพันธ์จะแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม รักกันมากกว่าเดิม ผูกพันกันมากกว่าเดิม จากการใช้เวลาด้วยกัน เป็นกำลังใจให้กันและกันผ่านวิกฤต COVID-19 นี้

    อ้างอิง

    ]]>
    1317096
    เตรียมแพ็กกระเป๋า! กางโผ 10 จังหวัดแห่งความรัก มีอัตราการแต่งงานสูงสุดของไทย https://positioningmag.com/1317091 Mon, 01 Feb 2021 14:15:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317091 Bangkok Matching เปิดผลสำรวจ 10 จังหวัดในประเทศไทย ที่มีอัตราการแต่งงานสูงที่สุด โดยกรุงเทพฯ เข้าวินมาเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือชลบุรี และนครราชสีมา

    ในเทศกาลวันแห่งความรัก ที่กำลังจะมาถึงบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching จะมาเพิ่มโอกาสให้ได้มีโอกาสพบคู่มากขึ้นให้มีโอกาสได้แต่งงานมากขึ้น หากเราพาตัวเองไปอยู่สถานที่ถูกที่ ถูกทาง เพราะ Bangkok Matching จะมาเผยความลับอย่างหนึ่ง ที่คนโสดหาคู่ทุกคนควรทราบ นั่นก็คือ

    สิ่งที่น่าสนใจคือ

    • จังหวัดระยอง เป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 33 ของประเทศ แต่อัตราการสมรสสูงเป็นอันดับ 6 เลยทีเดียว จึงเป็นจังหวัดที่มีการแต่งงานสูงมากที่สุด หากวัดจากสัดส่วนจำนวนประชากรทั้งหมด
    • จังหวัดปทุมธานี ที่มีจำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 18 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 8
    • จังหวัดนนทบุรี จำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 16 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 10
    • จังหวัดสมุทรปราการ จำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 13 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 4
    • จังหวัดชลบุรี จำนวนประชากรทั้งหมดในอันดับ 9 แต่อัตราการสมรสอยู่ในอันดับ 2
    แต่งงาน
    Photo : Pixabay

    ซึ่งนั่นแปลว่า ในจังหวัด 10 อันดับ อัตราการสมรสสูงแล้ว หากคุณยังเจาะต่อ และเลือกที่จะไปอยู่ในจังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า แต่อัตราการสมรสสูง นั่นแปลว่าคุณจะมีคู่แข่งขันน้อยลง อัตราการได้คู่แต่งงานของคุณก็จะมากขึ้นด้วย

    สำหรับจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดอันดับ 1 ในทุกๆ ด้าน เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ว่าในกรณีนี้อัตราการสมรสสูงเป็นอันดับ 1 ก็จริง แต่หากเทียบกับจำนวนประชากรเกือบ 6 ล้านคนแล้ว ถือว่าอัตราการแต่งงานของหนุ่มสาวชาวกรุง กลายเป็นอัตราส่วนเล็กน้อยไปเลย เมื่อเทียบกับจังหวัดชลบุรี อันดับ 2 ที่มีประชากรชายหญิงรวมเพียง 1.6 ล้านคน

    จากการที่ Bangkok Matching ได้สัมภาษณ์หนุ่มโสด สาวโสดจากจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย จึงขอสรุปเรื่องนี้ได้ว่า การมีตัวเลือกเยอะๆ (ในที่นี้ คือจำนวนประชากรเยอะๆ) ไม่ได้แปลว่าคุณจะมีโอกาสการแต่งงานสูงขึ้น ตามที่เห็นได้จากจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรมากกว่าจังหวัด Top 10 อัตราการแต่งงานสูงสุดในประเทศไทยกว่า 500% แต่มีอัตราการแต่งงานมากกว่าจังหวัดอันดับ 2 ชลบุรี เพียง 2 เท่าเท่านั้น

    Photo : Pixabay

    เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ เมืองที่ต้องดิ้นรน แข่งขัน และใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ การจราจรที่ติดขัด ผังเมือง รวมถึงสภาพอากาศที่ไม่ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ในสังคม ทำให้คนโสดชายหญิงต่างวุ่นวาย ภารกิจรัดตัว หรือไม่ก็เหนื่อยอ่อนเกินกว่าจะใช้พลังงานหาแฟน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ ที่ทำให้คนโสดเหนื่อยหน่ายกับการสร้างครอบครัว มีลูก เพิ่มภาระ อยู่ตัวคนเดียว ปากท้องเดียวให้รับผิดชอบ อิสรเสรีมากกว่า ใช้ชีวิตตะลอนไปร้านกาแฟ ถ่ายรูปลงโซเชียล เลี้ยงหมาแมวก็พอแล้ว

    อีกทั้งสังคมนิยมวัตถุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเลือกสรรในตัวคู่ครองมากขึ้น อย่างที่คนโสดชอบพูดกันโดยทั่วไปว่า “หากได้คู่ที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ก็ขออยู่คนเดียวดีกว่า”

    หากเปรียบเทียบกับชีวิตในจังหวัดที่เล็กกว่า อย่างชลบุรี นครราชสีมา ชีวิตก็จะไม่กดดันเท่า เร่งรีบเท่าคนโสดในเมืองใหญ่ อารมณ์ก็เลยแจ่มใสกว่า สดชื่นกว่า มีเวลาพบปะสังสรรค์เพศตรงข้ามมากกว่า จึงมีอัตราการแต่งงานสูง

    ]]>
    1317091
    ไม่ต้องขอไลน์แล้ว! Tinder เปิดฟีเจอร์ “วิดีโอคอล” คุยกันจบในแอปฯ เดียว https://positioningmag.com/1303238 Tue, 27 Oct 2020 10:18:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303238 หนุ่มสาวบน Tinder จะทำความรู้จักกับฝ่ายตรงข้ามได้อย่างเป็นส่วนตัวมากขึ้น ด้วยฟีเจอร์ Face to Face ฟีเจอร์ใหม่สำหรับ “วิดีโอคอล” กับคู่แมตช์ภายในแอปฯ ได้เลย ทำให้ไม่ต้องให้ข้อมูลส่วนตัวในแอปฯ อื่นเพื่อติดต่อกัน และ Tinder เองจะได้เพิ่มระยะเวลาที่คนใช้แอปฯ มากขึ้นด้วย

    Face to Face เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ Tinder เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 ก่อนในบางตลาด แต่ปัจจุบันได้เปิดให้ใช้แล้วทั่วโลก โดยเป็นฟีเจอร์สำหรับวิดีโอคอลระหว่างผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้ติดต่อกันได้ง่ายขึ้นและใกล้ชิดขึ้น โดยไม่ต้องขอแลกข้อมูลส่วนตัวเพื่อไปใช้บริการนี้ที่แอปฯ อื่น

    ทั้งนี้ Tinder ระบุว่าแอปฯ ตระหนักถึงด้านมืดของคนที่เข้ามาใช้บริการแอปฯ หาคู่เดต ดังนั้น วิดีโอคอลฟีเจอร์ใหม่นี้ได้ถูกพัฒนาโดยทีมความเชื่อมั่นและปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจว่าฟีเจอร์จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง

    ดังนั้น วิธีใช้งาน Face to Face คือผู้ใช้ต้อง “แมตช์” กันบนแอปฯ ก่อนเท่านั้น จากนั้นต้องเลือกเปิดใช้ฟีเจอร์นี้กันทั้งคู่จึงจะสามารถโทรฯ หากันได้ และผู้ใช้สามารถกดรายงานอีกฝ่ายได้ถ้ามีการโทรฯ หาบ่อยครั้งโดยไม่ต้องการ หรือมีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย

    นอกจากนี้ ก่อนจะเริ่มวิดีโอคอล Tinder ยังมีกฎ 3 ข้อแนะนำให้ปฏิบัติตามแจ้งเตือนขึ้นมาคือ 1)ไม่แสดงภาพอนาจาร 2)ไม่แสดงความรุนแรงทั้งทางวาจาและภาพ 3)ระมัดระวังไม่ให้มีผู้เยาว์ปรากฏบนภาพ

    “เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันฟีเจอร์ Face to Face นี้กับผู้ใช้ทั่วโลก หลังจากได้ผลตอบรับเชิงบวกจากสมาชิกในพื้นที่ที่เรานำร่องให้บริการก่อน” Rory Kozoll หัวหน้าฝ่ายความเชื่อมั่นและปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ Tinder กล่าว

    ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ที่ผู้คนส่วนใหญ่บนโลกยังออกไปเดตในชีวิตจริงลำบาก น่าจะเป็นจังหวะที่ถูกต้องของ Tinder ในการออกฟีเจอร์วิดีโอคอล เพราะอย่างน้อยทำให้ได้เห็นหน้าค่าตาและน้ำเสียงจริงได้

    และแม้ว่าโลกจะวิกฤต แต่ดูเหมือนผู้บริโภคยังต้องการใครสักคนข้างกาย เพราะจากสถิติโดย AppAnnie พบว่า Tinder ยังคงเป็นแอปฯ เบอร์ต้นๆ ที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดติดเครื่องในกลุ่มแอปฯ ประเภทไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Tinder เป็นแอปฯ ที่ถูกดาวน์โหลดมากเป็นอันดับ 3 บนระบบ iOS

    Source

    ]]>
    1303238
    ตัวอยู่ไทยปัดไกลทั่วโลก Tinder ปลดล็อกฟังก์ชัน Passport หาคู่ในต่างประเทศได้ฟรี https://positioningmag.com/1270064 Thu, 26 Mar 2020 05:35:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270064 Tinder แอปพลิเคชันหาคู่ชื่อดัง เตรียมปลดล็อกให้สมาชิก ‘ทุกราย’ สามารถใช้ฟังก์ชัน Passport ได้ฟรี! ตั้งแต่สัปดาห์หน้าจนถึง 30 เมษายน 2563 ให้กำลังใจผู้ใช้ผ่านพ้นการกักตัวรับมือไวรัส COVID-19 โดยฟังก์ชันนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถ “ปัดหน้าจอ” และจับคู่กับผู้ใช้รายอื่นได้ทั่วโลก

    การตัดสินใจของ Tinder เกิดจากทีมงานมองว่าผู้ใช้น่าจะต้องการเชื่อมสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นมากขึ้นเมื่อต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน และเหตุการณ์นี้ยังเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก ทำให้หลายคนน่าจะได้ใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อเรียนรู้ รับฟัง และแบ่งปันประสบการณ์เดียวกันได้

    ฟังก์ชัน Passport จะทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาคู่ในเมืองต่างๆ ได้ทั่วโลก เพียงแค่ปักหมุดบนแผนที่ ระบบจะดึงผู้ใช้ในพื้นที่นั้นขึ้นมาให้เลือกปัดซ้ายปัดขวา จากปกติ Tinder จะสุ่มเลือกผู้ใช้ที่อยู่ในรัศมีรอบตัวเราหรือเป็นเพื่อนของเพื่อนเราในสื่อโซเชียลอื่นๆ เช่น Facebook

    เมื่อเลือกปักหมุดในเมืองใดเมืองหนึ่งแล้ว จะเหมือนว่าเครื่องของคุณไปอยู่ที่แห่งนั้นแทนและจะปัดหน้าจอเจอเฉพาะคนในเมืองดังกล่าว แต่ผู้ใช้สามารถย้ายหมุดไปโลเคชันใหม่ได้ไม่จำกัด โดยโปรไฟล์ของคุณจะยังทิ้งอยู่ในเมืองเดิมไปอีก 24 ชั่วโมง ฟังก์ชัน Passport นี้ปกติจะมีในแพ็กเกจ Tinder Gold ราคา 279 บาทต่อเดือน หรือ Tinder Plus ราคา 169 บาทต่อเดือน

    (photo: Tinder)

    “เราหวังว่าคุณจะใช้ฟังก์ชัน Passport เพื่อทำให้คุณเสมือนได้เดินทางพ้นจากการกักตัวไปอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลก” เป็นคำประกาศแนวคิดจากแถลงการณ์ของบริษัท

    นอกจากนี้ Match Group บริษัทเจ้าของ Tinder ยังเปิดฟังก์ชันใหม่ในแอปฯ หาคู่อีกตัวหนึ่งของบริษัทคือ Plenty of Fish เป็นฟังก์ชัน Live ให้ผู้ใช้สามารถสตรีมสดในแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้ใช้รายอื่นเข้ามาพูดคุยมีปฏิสัมพันธ์ได้ (จะค้นหาพบเมื่ออยู่ในรัศมีใกล้กัน) โดยแอปฯ หวังว่าจะทำให้คนอยากมีคู่ได้เจอกันและก้าวไปสู่การคุยกันส่วนตัว

    ในหลายประเทศ ผู้คนอยู่ระหว่างกักตัวเองในบ้านหรือกำลังเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ความเหงาและโดดเดี่ยวนั้นเกิดขึ้นได้ ดังนั้นหากได้คุยกับใครสักคนแม้จะเป็นโลกออนไลน์ ก็อาจจะช่วยให้เราข้ามผ่านสถานการณ์โรคระบาดนี้ได้ง่ายขึ้น

    ]]>
    1270064