อาหารจานด่วน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 15 Jul 2019 02:45:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “อาหาร” จานด่วนจานร้อน คือทางรอด เชนร้านสะดวกซื้ออาเซียน https://positioningmag.com/1238975 Sun, 14 Jul 2019 02:55:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238975 ภาพ : asia.nikkei.com

ไม่ใช่แค่ในไทย แต่วันนี้ convenience store ทั่วอาเซียนกำลังพยายามเน้นจำหน่ายอาหารเพื่อกระตุ้นยอดขาย ล่าสุดคือ Mynews และ FamilyMart ในมาเลเซียที่กระโดดเข้าร่วมวงด้วยการขยายฐานสินค้ากลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน (ready-to-eat) และอาหารจานร้อน (hot meal) คาดว่าการขยายกลยุทธ์นี้จะช่วยให้ Mynews และ FamilyMart รักษาตัวรอดได้ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดทั่วภูมิภาค

สัญญาณที่ชี้ว่าวันนี้ร้านสะดวกซื้อทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังขยายไปจำหน่ายสินค้ากลุ่มอาหารสดนั้นแปลได้ว่า เชน convenience store กำลังพยายามดึงลูกค้าให้ห่างจากร้านอาหารแบบดั้งเดิม บนความหวังว่าจะกระตุ้นยอดขายหลังจากที่ร้านสะดวกซื้อต้องเผชิญกับการแข่งขันจากอีคอมเมิร์ซที่กำลังฮอต

สถิติล่าสุดพบว่ายอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว (fast-moving consumer goods หรือ FMCG) ในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งรวมถึงกลุ่มอาหารสดนั้นเติบโตขึ้น 8% ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปีที่แล้ว เบ็ดเสร็จแล้วจำนวนร้านสะดวกซื้อทั้งหมดทั่วอาเซียนมีมากถึง 74,000 แห่งในปี 2018 อัตราเติบโตคือ 10% ต่อปี

ปรับทัพ FMCG 

สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้หมดเร็วหรือ FMCG นั้นได้แก่ อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม ของใช้ประจำวัน และผลิตภัณฑ์ยาสูบ สถิติพบว่าการเติบโตของยอดขาย FMCG ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด เน้นกลุ่มซื้อน้อยแต่ซื้อบ่อย เช่นเดียวกับสินค้ากลุ่มดูแลร่างกายหรือ personal care ที่กว้างขึ้น 

Vaughan Ryan กรรมการผู้จัดการ Nielsen กล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นคือขณะนี้อาหารกลายเป็นสินค้าสำคัญสำหรับร้านสะดวกซื้อ ทำให้ร้าน convenience store หลายค่ายกลายเป็นคู่แข่งของร้านอาหารจานด่วนขนาดใหญ่ สถิติล่าสุดพบว่าการให้ความสำคัญกับสินค้ากลุ่มอาหารนั้นมีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษในมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ร้านค้าสะดวกซื้อมียอดขาย FMCG เพิ่มขึ้น 17% โตเร็วสูงสุดในภูมิภาค เนื่องจากแรงหนุนของร้าน convenience store ในท้องถิ่นและต่างชาตินั้นเดินตามกลยุทธ์นี้อย่างจริงจัง ด้วยการเปิดร้านกาแฟในร้านสะดวกซื้อ แถมบางร้าน convenience store ยังมีจำหน่ายเฉพาะอาหารด้วย

Mynews stores opened a new factory to produce bread and Japanese rice balls. © Courtesy of Inspire

สำหรับ Mynews Holdings นั้นเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ Mynews.com จำนวนกว่า 480 แห่งในมาเลเซีย ล่าสุด Mynews ได้เปิดโรงงานผลิตและบรรจุอาหารของตัวเองใกล้กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ในเดือนมิถุนายน สินค้าหลักที่ผลิตในโรงงานนี้คือขนมปังและข้าวปั้นญี่ปุ่น โรงงานแห่งนี้มีการลงทุนร่วมกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นมูลค่ากว่า 100 ล้านริงกิต เม็ดเงินนี้มาจากต้นสังกัดเชนร้านอาหารญี่ปุ่นอย่าง Gourmet Kineya รวมถึงผู้ผลิตขนมปัง Ryoyupan และกลุ่มทุนอย่าง Inspire ท่ามกลางพนักงาน 200 คน

รายงานระบุว่าโรงงานใหม่นี้ก่อตั้งบนเป้าหมายขยายธุรกิจของ Mynews และเป็นการยกระดับร้าน convenience store ให้เติบโตขึ้นอีกระดับ เบื้องต้น CEO Mynews อย่าง Dang Tai Luk กล่าวว่าบริษัทพร้อมที่จะให้บริการคนรุ่นใหม่หรือเจเนอเรชั่น Z เพื่อเติมเต็มเทรนด์การบริโภคที่รวดเร็ว โดยโรงงานแห่งนี้จะสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์สำหรับร้านค้ามากถึง 600 สาขา แต่ช่วงนำร่องจะเน้นไปที่ตลาดกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้าน Mynews ส่วนใหญ่

จับตาแผงขายถูก disrupt

ก้าวใหม่ของ Mynews สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ลักษณะของมาเลเซียนั้นเป็นไปในทางเดียวกับประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีวัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากแผงขายอาหารแบบดั้งเดิม แต่เมื่อประชากรเริ่มขยายตัวมากขึ้นและรายได้ของชาวเมืองเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าได้เริ่มวิถีชีวิตใหม่ผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ก็คือการซื้อสินค้าจาก convenience store เหล่านี้

Eigo Ogiwara กรรมการผู้จัดการของบริษัทวิจัย Boston Consulting Group กล่าวว่าร้านค้าสะดวกซื้อหลายแห่งมองเห็นความจริงข้อนี้ และแสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถดึงดูดผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่สดอร่อยและมีสุขภาพดี

จุดที่สำคัญของกลยุทธ์นี้คือการดึงบริษัทญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในการขยายตลาดอาหารพร้อมรับประทาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญสูงในการทำให้อาหารดูดี ซึ่งจะเสริมให้ดีขึ้นอีกผ่านกระบวนการโลจิสติกส์และการผลิต

FamilyMart’s IOI City Mall store only sells food and drinks.(Photo Courtesy of FamilyMart)

การเคลื่อนไหวของ Mynews ถูกมองว่าได้รับแรงบันดาลใจจาก FamilyMart ที่ต้องการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง 7-Eleven ที่เห็นชัดคือ FamilyMart มุ่งเน้นไปที่อาหารสดมากกว่าสินค้าทั่วไป เช่น เมนูปลาที่ปรุงสุกด้วยน้ำซุป เมนูดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าจนมียอดสั่งซื้อมากกว่า 1,000 รายการต่อวันต่อร้าน ยังมีไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟที่มียอดขายหลายร้อยรายการต่อวัน

ตัวเลขล่าสุดพบว่าอาหารสำเร็จรูปและอาหารฟาสต์ฟู้ดคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของยอดขายของ FamilyMart ในมาเลเซีย และเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ FamilyMart เปิดร้านใหม่กว่า 100 สาขาในระยะเวลา 2 ปี นอกจากนี้ FamilyMart ยังเปิดร้านขายอาหารสดและของว่างในห้างสรรพสินค้าโดยเฉพาะ และกำลังวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนร้านค้าลักษณะนี้ด้วย

สำหรับ FamilyMart สินค้ากลุ่มอาหารสดนั้นทำกำไรได้มากกว่าสินค้าทั่วไป ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทำให้ FamilyMart พยายามเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสดในเมืองอื่นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงในเวียดนามและไทยด้วย.

Source

]]>
1238975
แบบนี้ไม่โดน! ฟาสต์ฟู้ดรัสเซียโดนด่าเละ จัดโปรโมชันพิเรนทร์ลดราคาลูกค้าหญิงตามขนาด ‘หน้าอก’!! https://positioningmag.com/1143973 Fri, 20 Oct 2017 03:37:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1143973 เดอะซัน – เครือข่ายอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟู้ด) แห่งหนึ่งของรัสเซีย ถูกสับเละโทษฐานออกโปรโมชัน เสนอลดราคาอาหารแก่ลูกค้าผู้หญิงตามขนาดหน้าอก สุดท้ายก็ต้องยุติแผนส่งเสริมการขายอันสุดพิเรนทร์ไปพร้อมกับชื่อเสียงที่ย่อยยับของทางร้าน

ข้อเสนอแบ่งแยกทางเพศดังกล่าวถูกโพสต์บนอินสตาแกรม บัญชีของร้านฟาสต์ฟู้ด Dvijok โดยแจ้งกับลูกค้าผู้หญิงว่า “ใครบอกล่ะ ว่าเราไม่มีข้อเสนอที่สัมผัสได้ กรุณาให้พนักงานของเราจ้องไปที่เต้าของคุณ”

ทางร้านอ้างว่ามีลูกค้าผู้หญิงแล้วราว 48 คนที่มาขอใช้โปรโมชันดังกล่าวในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่ต้องยุติไปท่ามกลางเสียงร้องเรียนของพวกนักวิจารณ์ที่แสดงความไม่พอใจต่อกลยุทธ์ด้านการตลาดดังกล่าว

ร้านฟาสต์ฟู้ด Dvijok จัดโปรโมชันลดราคาอาหารตามขนาดหน้าอก (ยิ่งคัพใหญ่ยิ่งได้ลดมากขึ้น) ใน 2 สาขา โดยหนึ่งในนั้นตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวังเครมลิน

“แค่คุณผู้หญิงไปบอกกับแคชเชียร์ว่า ฉันต้องการใช้โปรโมชันสัมผัส จากนั้นก็ปล่อยให้แคชเชอร์มองหน้าอกของคุณ (โดยไม่ต้องเปลื้องผ้า) คุณจะได้ส่วนลดตามขนาดหน้าอก เท่าไหร่นะหรือ ไซส์ A – 10%, B – 20%, C – 30%, D – 40% และ DD – 50%”

ข้อเสนอดังกล่าวเรียกปฏิกิริยาตอบกลับอย่างรวดเร็วบนอินสตาแกรม โดยผู้คนบนสื่อสังคมออนไลน์เรียกร้องให้แบนแผนโปรโมชัน และมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว “ข้อเสนอแบบนี้เป็นการบอกให้เราปฏิบัติกับผู้หญิงเป็นแค่ก้อนเนื้อ พวกคุณไม่เข้าใจกันหรือไง” ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนหนึ่งคร่ำครวญ

ส่วนอีกคนเขียนว่า “พวกคุณล่วงละเมิดผู้หญิงทั้งหมด ฉันหวังว่าลูกค้าจำนวนมากจะไม่เข้าร้านของคุณอีกจากข้อเสนอนี้” ขณะที่ลูกค้าผู้ชายคนหนึ่งเขียนว่า “มันไม่ยุติธรรมเลย ข้อเสนอลดราคาให้ผู้ชายอยู่ไหนล่ะ ลองลดราคาตามขนาดเจ้าโลกดูซิ”

ในเวลาต่อมา ทางฟาสต์ฟู้ด Dvijok ลบโพสต์ข้อความประชาสัมพันธ์โปรโมชันดังกล่าวออกจากอินสตาแกรมและขออภัยลูกค้าต่อความขุ่นเคืองที่เกิดขึ้น “เราเสียใจอย่างยิ่งหากแนวคิดนี้ไปทำร้ายใครเข้า จุดประสงค์ของเราต่างออกไปโดยสิ้นเชิง แต่ก็ยังมีข่าวดีบ้าง มีผู้หญิง 48 คนใช้โปรโมชันนี้”

ที่มา : mgronline.com/around/detail/9600000106844

]]>
1143973