อินเตอร์เน็ต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Nov 2023 11:47:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เร็วสุดในโลก! ‘จีน’ เปิดตัวอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1.2 เทราบิต โหลดหนัง 150 เรื่องได้ใน 1 วินาที https://positioningmag.com/1451972 Thu, 16 Nov 2023 03:49:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451972 อย่างที่รู้กันว่า จีน ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก ในขณะที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังใช้งาน 5G แต่จีนก็พร้อมจะดัน 6G ไว้ใช้งานภายในไม่กี่ปีข้างหน้าแล้ว ล่าสุด จีนก็ได้เปิดตัวสิ่งที่เรียกว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทันสมัยที่สุดในโลก ซึ่งมีความเร็วกว่าเครือข่ายปัจจุบันหลายเท่า

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเคยคาดการณ์ไว้ว่าอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่ความเร็วในการส่งข้อมูลระดับ 1 เทราบิต (หรือ 1,000 กิกะบิต) จะเกิดขึ้นภายในปี 2025 หรืออีก 2 ปีจากนี้ แต่ล่าสุด จีน ได้เปิดตัวเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 1.2 เทราบิตต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าโครงข่ายหลักของหลาย ๆ ประเทศมากกว่า 10 เท่า หรือเช่น สหรัฐอเมริกา มีความเร็วที่ 400 กิกะบิตต่อวินาที ทั้งที่เพิ่งเสร็จสิ้นการเปลี่ยนผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต

“ความเร็วดังกล่าวเร็วพอที่จะถ่ายโอนข้อมูลจากภาพยนตร์ 150 เรื่องในหนึ่งวินาที” หวัง เล่ย รองประธานของหัวเว่ย กล่าว

สำหรับความสำเร็จในการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยชิงหัว, บริษัทไชนาโมบายล์ (China Mobile), บริษัทหัวเว่ย (Huawei Technologies) และ โครงข่ายเพื่อการศึกษาและการวิจัยของจีน (Cernet) โดยเครือข่ายใหม่นี้จะทำงานบน สายเคเบิลใยแก้วนำแสงความยาว 3,000 กิโลเมตร ระหว่างปักกิ่ง อู่ฮั่น และกว่างโจว ซึ่ง 3 เมืองนี้จะสามารถส่งข้อมูลในระดับความเร็ว 1.2 เทราบิตได้

ทั้งนี้ เครือข่ายใหม่นี้ได้เริ่มใช้งานจริงมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก่อนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนนี้ โดยอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่งและเร็วกว่านั้นจะสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจอย่างมาก เพราะการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วขึ้น อาจนำไปสู่ความได้เปรียบในการซื้อขายหุ้น และผลกระทบด้านความมั่นคงของชาติอื่น ๆ

Source

]]>
1451972
‘อีริคสัน’ เผย ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกปีนี้พุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี เฉพาะใน ‘อาเซียน’ โต 2 เท่า https://positioningmag.com/1391031 Mon, 04 Jul 2022 01:10:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391031 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการพูดถึง Metaverse กันอย่างมาก และหลายแบรนด์ก็เริ่มที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม Metaverse จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มี 5G และเป็นประจำทุกปีที่ อีริคสัน (Ericsson) ได้จัดทำ Ericsson Mobility Report ที่จะคาดการณ์ถึงปริมาณการใช้ดาต้าอินเทอร์เน็ตและ5G

สิ้นปีผู้ใช้ 5G แตะ 1 พันล้าน

ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564 ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึง 1 พันล้านบัญชี

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570 ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น

การใช้ดาต้าเติบโตมหาศาล

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่า ปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล

ทั้งนี้ คาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570

อเมริกาผู้นำ 5G ด้านจำนวนผู้ใช้

รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้ 1 ใน 4 ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลก 3 ใน 4 ประเทศจะสามารถเข้าถึง 5G ได้

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย และจากไทม์ไลน์ปี 2570  มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ  อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

Fixed Wireless เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ รายงานยังได้ชี้ให้เห็นว่า การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โดย Ericsson คาดการณ์ว่า ในปี 2022 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2027 แตะระดับ 230 ล้านจุด

ในส่วนของ Internet of Thing (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด โดยเทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566

ตลาดไทยไดนามิกสูง

สำหรับตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี

“ตลาดประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีความไดนามิกสูง เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”  อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าว

]]>
1391031
‘โควิด’ ดันยอดใช้เน็ตคนไทยพุ่ง 10 ชม./วัน พร้อมเปิดใจใช้อีคอมเมิร์ซสูง 76.6% https://positioningmag.com/1350293 Sun, 05 Sep 2021 04:05:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350293 เพราะการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของคนไม่ว่าจะทำงาน, เรียน หรือทำกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ ต้องทำผ่านออนไลน์ ทาง สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้ทำการสำรวจใน 77 จังหวัด จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 39,145 ตัวอย่าง เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยในช่วง COVID-19

วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจว่า ประชากรทั้งประเทศมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยถึงวันละ 6-10 ชั่วโมง และในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยแบ่งเป็น

  • ใช้ประชุมออนไลน์ หรือ ทำงานจากที่บ้าน 75.2%
  • ใช้สำหรับเรียนออนไลน์ 71.1%
  • ซื้อสินค้าออนไลน์ 67.4%
  • ใช้เพื่อการติดต่อเล่นโซเชียล 65.1%
  • ทำธุรกรรมการเงิน 54.7%

และจากการสำรวจพบว่า ประชาชนยอมรับและเชื่อถือการใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น ประชาชนที่มีการซื้อ สินค้าบริการออนไลน์สูงขึ้นทําให้เติบโตเร็วจาก 37.7% เป็น 76.6% ในปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับที่ สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า ผู้บริโภคชาวไทยซื้อสินค้าออนไลน์บนสมาร์ทโฟนทุก ๆ สองวัน หรือเฉลี่ย 14 ครั้งในหนึ่งเดือน นอกจากนี้ 82% ได้ลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดในช่วงการระบาด และ 71% ใช้อิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนต์

อีกทั้งจากการสำรวจยังพบว่าธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ธุรกิจการเกษตรเพิ่มขึ้น 54.6% อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 27.4% ขนส่งและโลจสิติกส์เพิ่มขึ้น 27.9%

โดยผู้ประกอบการเอกชนมีการใช้งานเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้ง คลาวด์ และ ดาต้า อนาไลติกส์ ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แบ่งเป็นคลาวด์ 70.3% ดาต้า อนาไลติกส์ 61.5% และ เอไอ 41%

ส่วนธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์ลดลงในช่วง COVID-19 คือ การท่องเที่ยวและสันทนาการลดลง -76.4% แฟชั่นลดลง -44.8% วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร -36.8%

]]>
1350293
เมื่อวิถี ‘New Normal’ กำลังยิ่งสร้าง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้คนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ได้ https://positioningmag.com/1306152 Mon, 16 Nov 2020 07:24:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306152 ตั้งแต่โลกเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 สิ่งต่าง ๆ ก็ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไปแม้กระทั่งการใช้งาน ‘อินเทอร์เน็ต’ ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ใช้เดิมจะใช้เวลากับมันมากขึ้น แต่กับผู้ที่ไม่เคยหรือเพิ่งเคยใช้อินเทอร์เน็ต (New Internet User) กลับเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ

การศึกษาล่าสุดของทีม Next Billion Users ของ Google พบว่ากลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากบริการที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น การพาณิชย์ การศึกษา บริการด้านสุขภาพ และบริการอื่น ๆ ของภาครัฐ ถูกนำไปไว้บนโลกออนไลน์เพื่อรับมือกับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลานั้นยิ่งลดลง ส่งผลให้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดความรู้และทักษะด้านดิจิทัล และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์ที่ใช้ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้กลายเป็นปัญหาที่หนักหนาขึ้น และอาจทำให้ผู้ที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่สามารถไล่ตามคนอื่น ๆ ได้ทัน และเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ช้ากว่าคนอื่น

ทั้งนี้ ทีม Next Billion Users ของ Google เผยผลการศึกษาในหัวข้อ “New Internet Users in a COVID-19 World” (ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ในยุคโควิด-19) ซึ่งระบุถึงความจำเป็น 8 ประการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ ทั้งความจำเป็นที่มีอยู่ก่อนหน้าและความจำเป็นใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้แก่

1.เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย : เพราะ COVID-19 ทำให้หลายคนต้องตกงานหรือต้องเผชิญกับปัญหารายได้ที่ลดลง แถมยังเจออุปสรรคในการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการกรอกแบบฟอร์มในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น กฎระเบียบที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ต้องเผชิญความท้าทายทั้งในด้านการรับรู้และความรู้ด้านดิจิทัลในการเข้าถึงแหล่งความช่วยเหลือ

2.ใช้อินเทอร์เน็ตให้คุ้มค่ามากขึ้น : ด้วยรายได้ที่น้อยลง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่จำเป็นก่อน แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นความต้องการพื้นฐานอย่างหนึ่งในปัจจุบัน แต่ก็ยังจำเป็นน้อยกว่า บางคนถึงขั้นยอมประหยัดค่าอาหารเพื่อที่จะได้มีเงินจ่ายค่าอินเทอร์เน็ต

3.สนับสนุนการศึกษาของเด็ก : ค่าอินเทอร์เน็ตก็เปรียบเสมือนค่าเทอม เพราะอินเทอร์เน็ตที่จำกัดสำหรับการเรียนออนไลน์ ขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่กังวลว่าลูก ๆ ของตนกำลังได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพแย่ลงกว่าแต่ก่อน และหลาย ๆ คนไม่มีความรู้ด้านดิจิทัลหรือความรู้ในบางวิชาที่จะช่วยเหลือเรื่องการบ้านของเด็ก ๆ ได้

4.ป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ : ข้อความจากรัฐบาล องค์กรท้องถิ่น เพื่อน โซเชียลมีเดีย กลุ่มศาสนา มักไม่ตรงกัน ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่รู้สึกสับสนและไม่มั่นใจ การคัดกรองข่าวปลอมนั้นทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อข่าวที่ได้รับมาจากแหล่งที่น่าไว้ใจเช่นครอบครัว ผู้ไม่หวังดีต้องการเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส

5.หาตัวเลือกบริการด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้ : การเข้าถึงที่จำกัดและความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการแพทย์ทางไกลเนื่องจากข้อจำกัดด้านอินเทอร์เน็ต ขณะที่ผู้ที่มีความรู้ด้านดิจิทัลในระดับสูงสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการป้องกัน COVID-19 การรักษาความสะอาด ซึ่งทำให้เห็นถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในการชะลอการระบาดของ COVID-19

6.รักษาสุขภาพจิต : COVID-19 ทำให้หลาย ๆ คนต้องเปลี่ยนแผนในชีวิตหรือชะลอแผนการบางอย่าง เช่น การซ่อมหรือตกแต่งบ้าน ความเครียดจาก COVID-19 ทำให้ผู้คนไม่มีกะจิตกะใจทำเรื่องเหล่านี้ ซึ่งอินเทอร์เน็ตก็เป็นแหล่งใช้ระบายความเครียดได้อย่างดี

7.หาทางเชื่อมสู่บริการออนไลน์ที่จำเป็น : บางรัฐบาลได้ย้ายบริการที่จำเป็นบางอย่างไปให้บริการบนออนไลน์เท่านั้น ซึ่งนี่ทำให้เกิดการจำกัดสิทธิเสรีภาพจากข้อจำกัดทางอินเทอร์เน็ต ความยากในการเข้าถึงสิทธิ์เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่หลายคนไม่ได้ลงทะเบียนไว้บนฐานข้อมูลออนไลน์ บางคนไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เป็นประจำ ทำให้พวกเขาพลาดสิทธิ์ในการรับความช่วยเหลือ

8.New Normal ในยุคหลัง COVID-19 : ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่มักมีทรัพยากรน้อยกว่าในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับอาชีพการงาน การสื่อสาร และวิถีชีวิต เพราะ COVID-19 ทำให้แต่ละวันต้องคิดแต่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่หลายคนจึงไม่มีเวลาจะมาคิดและวางแผนอนาคต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ที่ตระหนักถึงผลกระทบระยะยาว (เช่น การตกงานเป็นเวลานาน) ไม่รู้จักทรัพยากรดิจิทัลต่าง ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขารับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้

 “COVID-19 ถือเป็นความท้าทายสำหรับทุกคน แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษคือกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ แต่ในความท้าทายนี้ก็ยังมีโอกาสอยู่ หากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรภาคประชาสังคมร่วมมือกัน เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น และเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตขึ้น เราสามารถทำให้อินเทอร์เน็ตดีขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในยุคหลัง COVID-19 เพื่อให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้ใช้นับพันล้านคนในปัจจุบัน รวมทั้งผู้ใช้รายใหม่อีกนับพันล้านคนที่กำลังจะตามมา และผู้ใช้กลุ่มใหม่ ๆ ในอนาคต” ซีซาร์ เซงกุปตา รองประธานฝ่าย Payments และ Next Billion Users Initiative ของ Google กล่าว

]]>
1306152
Youtuber “ตัวจิ๋ว” 6 ขวบหาเงินได้วันละล้าน!!! https://positioningmag.com/1152993 Tue, 09 Jan 2018 05:32:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152993 อินเทอร์เน็ตกำลังทำให้คนธรรมดา ๆ สามารถเป็นซูเปอร์สตาร์ได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นสังกัดที่ทรงอิทธิพล และเด็ก ๆ จำนวนมาก็สามารถหาเงินได้อย่างมากมายมหาศาล ชนิดที่ว่าบางคนมีรายได้รายวันเท่ากับรายได้ขั้นต่ำของผู้ใหญ่ทั้งปี!!!

อาชีพ “เน็ตไอดอล” หรือ “ดารา Youtube” ที่เรียกกันว่า “Youtuber” ที่อาจมองว่าเป็นงาน “ไร้สาระ” ในสายตาของผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อย กำลังทำเงินให้กับคนกลุ่มหนึ่งอย่างเป็นกอบเป็นกำ ไม่เว้นแต่เหล่าเด็ก ๆ ที่สามารถสร้างผลงาน และเผยแพร่ให้กับคนทั้งโลกได้ชมกัน จากที่บ้านของตัวเอง

ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีเหล่า “ซูเปอร์สตาร์เด็ก” ที่มีรายได้ระดับอภิมหาเศรษฐีมาแล้วในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็น เชอร์รี เทมเพิล หรือ แม็คคูลีย์ คัลกินส์ แต่ในยุคก่อน เด็กดังเหล่านี้ต้องผ่านการเรียนการแสดง หรือร้องเพลงมาอย่างจริงจัง แสดงความสามารถ “เหนือเด็ก” และยังต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่อย่างเต็มที่ด้วย 

แต่ดาราเด็กยุคใหม่เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเล่นหนัง หรือออกผลงานเพลงเหมือน “ซูเปอร์สตาร์เด็ก” ในยุคก่อน ๆ พวกเขาดูเป็นเด็กธรรมดา ๆ พูดภาษเหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป แต่กลับสามารถหาเงินได้ในระดับหลักล้านเหรียญสหรัฐ

โดย Play Like Mum ได้คำนวณรายได้ของเหล่าคนดังวัยเยาว์ในระดับโลกเหล่านี้ และนี่คือเหล่าซูเปอร์สตาร์ตัวน้อยแห่งโลกออนไลน์ ที่มีรายได้ในระดับที่น่าอิจฉาจริง ๆ

Ryan ToysReview 11 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 358 ล้านบาทกันเลยทีเดียว หากคิดเป็นรายวันก็มากถึง 29,000 เหรียญฯ หรือ 1 ล้านบาทต่อวัน

“ไรอัน” 6 ขวบ นักรีวิวของเล่น รายได้ 11 ล้านเหรียญฯ ต่อปี หรือ 358 ล้านบาท 

หนูน้อยวัย 6 ขวบ “ไรอัน” ที่ไม่ได้เปิดเผยนามสกุล และที่อาศัยคนนี้เป็นเจ้าของแชนแนล Ryan ToysReview ใน YouTube ที่มีคนซับสไครมากถึง 10 ล้านคน และคลิป HUGE EGGS SURPRISE TOYS CHALLENGE ซึ่งมีคนดูมากที่สุดของเขามีผู้กดเข้าไปชมมากถึง 1 พันล้านครั้งเลยทีเดียว 

จากจุดเริ่มต้นคลิปรีวิวชุดรถไฟ Lego Duplo เมื่อ 3 ปีก่อน ตอนนที่ไรอัน อายุแค่ 3 ขวบ ซึ่งเป็นคลิปความยาวประมาณ 15 นาทีที่ Washington Post บอกว่าเป็นคลิปพื้น ๆ ไม่มีอะไรโดดเด่น ไรอัน ก็แค่แกะกล่องของเล่น และพูดอะไรไปตามประสาเด็กเท่านั้น แต่ท่าทางอันเป็นธรรมชาติ และการพูดภาษาแบบเดียวกันคนวัยเดียวกัน ทำให้เด็ก ๆ จำนวนมากเริ่มสนใจคลิปของไรอัน จนแชนแนล Ryan ToysReview เริ่มได้รับความนิยม และทำเงินให้กับครอบครัวของเขาอย่างเป็นกอบเป็นกำ

Forbes ยังได้จัดอันดับให้เด็กคนนี้เป็นหนึ่งใน “เจ้าของกิจการรายย่อย” ใน YouTube ที่มีรายได้มากที่สุดคนหนึ่ง โดยประมาณกันว่าระหว่างเดือน มิ.ย. 2016 – มิ.ย. 2017 เขาสามารถหาเงินจากการรีวิวของเล่นได้มากถึง 11 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 358 ล้านบาทกันเลยทีเดียว หากคิดเป็นรายวันก็มากถึง 29,000 เหรียญฯ หรือ 1 ล้านบาทต่อวัน

Family Fun Pack รายได้ วันละ 11,000 เหรียญฯ หรือประมาณ 3.5 แสนบาท และ รายได้ต่อปีอยู่ที่ 3 ล้านเหรียญฯ หรือ 95 ล้านบาท

ทำเงินวันเดียว มากกว่ารายได้ผู้ใหญ่ทั้งปี 

ยังมีเด็ก ๆ อีกมามายทั่วโลก ที่สามารถหาเงินได้ชนิดผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ได้แต่ฝันถึง จากการเป็น “ดารา Youtube” เพราะแต่ละคนสามารถทำรายได้ระดับล้านเหรียญต่อปีได้อย่างเหลือเชื่อ หากนำรายได้ของเหล่า Youtuber ตัวจิ๋วเหล่านี้ใน 10 อันดับแรกมารวมกันแล้ว ก็เป็นเงินสูงถึง 127 ล้านเหรียญเลยทีเดียว

Family Fun Pack เป็นอีกแชนแนลที่ได้รับความนิยมมาก ดาราของแชนแนลนี้คือ 6 พี่น้องที่มีอายุตั้งแต่ 4 – 10 ปี กับภาพกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยว และเล่นกัน และมีคนกดซับสไครไปถึง 6 ล้านคน คลิปโชว์ชุดแฟนซี Kids 72 Costume Runway Show ของพวกเขามีคนดูมากที่สุดถึง 440 ล้านคน เลยทีเดียว โดย Family Fun Pack ได้ประมาณวันละ 11,000 เหรียญฯ หรือประมาณ 3.5 แสนบาท และ รายได้ต่อปีอยู่ที่ 3 ล้านเหรียญฯ หรือ 95 ล้านบาท 

ส่วน MattyB ของ แม็ตธิว เดวิด มอริส วัย 14 ขวบ นำเสนอเพลงที่เขามิกซ์เอง โดยหนุ่มน้อยชาวแอตแลนต้าคนนี้เริ่มมีชื่อเสียงจากการมิกซ์เพลงของ จัสติน บีเบอร์ จนปัจจุบันแชนแนลของเขามีคนตามอยู่ 9.4 ล้านคน และทำเงินได้ราว 4,000 เหรียญฯ ต่อวัน

ยังมีแชนแนล EvanTubeHD ที่มีรายได้ 3,700 เหรียญต่อวัน, แอนนี เลอบล็อง 2,100 เหรียญ และ Gamer Girl แชนแนลเล่นเกมของสาวน้อยชาวแคนาดาฟันไป 1,800 เหรียญฯ ต่อวัน

MattyB เงินได้ราว 4,000 เหรียญฯ ต่อวัน

เด็กถึงเด็ก : เพื่อนถึงเพื่อน 

เหมือนในกรณีของ Ryan ToysReview ที่แม้จะเรียกว่าเป็นการ “รีวิวของเล่น” แต่แชนแนลของ ไรอัน ก็ไม่ได้ “วิเคราะห์ หรือแจกแจงข้อดีข้อเสีย” อย่างการรีวิวของผู้ใหญ่ทั่ว ๆ ไป เว็บไซต์ Verge อธิบายว่า Ryan ToysReview คือ vlog ที่ว่าด้วยชีวิตทั่ว ๆ ไปของ ไรอัน และการ “แกะกล่อง” ของเล่น “ซึ่งนำเสนอความบริสุทธิ์ของวัยเยาว์ และการแสดงออกแบบไม่มีลูกล่อลูกชนใด ๆ แต่เต็มไปด้วยความจริงใจ” ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่แม้แต่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ระดับมืออาชีพก็ยังยากที่จะสร้างความรู้สึกแบบนี้ออกมาได้

บริษัทของเล่นก็ยอมรับว่าแชนแนลของ ไรอัน “กระตุ้น” ความอยากได้ของเล่นของเด็กได้เป็นอย่างดี พ่อแม่หลายคนบอกว่าพวกเขาต้องซื้อของเล่นแทบจะทุกชิ้นที่ไรอัน “แกะกล่อง”

แชนแนลเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการนำเสนอที่หวือหวาอะไร จำนวนไม่น้อยถ่ายทำแบบ “บ้าน ๆ” และอาจจะดู “ไม่มือาชีพ” ด้วยซ้ำไป ผู้ใหญ่อาจจะดูแล้วไม่เข้าใจว่าแชนแนลเหล่านี้มีอะไรน่าดึงดูด แต่เนื้อหาที่เด็ก ๆ กับพ่อแม่สร้างกันเอง เหล่านี้กลับสามารถ “สื่อสาร” ไปถึงคนวัยเดียวกันได้อย่างเหลือเชื่อ เด็ก ๆ สามารถเข้าใจใน “ภาษา” ของกัน และกัน 

เด็กส่วนใหญ่รู้สึกว่าดารา Youtuber คนดังเหล่านี้คือเพื่อนของพวกเขา เด็กหลายคนจะพูดกับคนวัยเดียวกันในคลิปไปด้วย และมีพ่อแม่ของเด็กออทิสติกที่บว่าลูกเริ่มพูดมากขึ้น เมื่อดูคลิปพวกนี้ 

EvanTubeHD ที่มีรายได้ 3,700 เหรียญฯ ต่อวัน
แอนนี เลอบล็อง 2,100 เหรียญฯ ต่อวัน

ที่มา : mgronline.com/entertainment/detail/9600000126962

]]>
1152993