DHgate.com ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Diane Wang (ไดแอน หวัง) ที่ถือเป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรก ๆ ของจีนที่ทำงานระดับสูงในบริษัทไอทีข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft และ Cisco นอกจากนี้ เธอยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการอีคอมเมิร์ซจีน โดยได้ก่อตั้งเว็บไซต์ Joyo.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยุคแรกของจีน
ต่อมาในปี 2004 Joyo.com ก็ได้ถูก Amazon เข้าซื้อกิจการ และหลังจากขาย Joyo ไป ไดแอนก็ได้ก่อตั้ง DHgate โดย DH ย่อมาจากชื่อเมือง Dunhuang (ตุนหวง) ซึ่งถือเป็นเมืองสำคัญในเส้นทางสายไหม ที่จีนใช้ทำการค้ากับตะวันตก ส่วน Gate หมายถึง ประตู ดังนั้น DHgate จึงเปรียบเสมือน ประตูการค้ายุคใหม่ที่เชื่อมจีนสู่โลก ตามวิสัยทัศน์ของเธอที่ต้องการเชื่อม ผู้ผลิตจีน เข้ากับ ตลาดต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
ด้วยความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ไดแอน หวัง เคยได้รับการขนานนามว่าเป็น แจ็ค หม่า เวอร์ชั่นผู้หญิง เลยทีเดียว
แม้ว่า DHgate จะเน้นขายของแบบ B2B (Business to Business) เป็นหลัก แต่ก็มีผู้ซื้อทั่วไป (B2C) ใช้บริการจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีราคาถูก และมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า, รองเท้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, สินค้า OEM ฯลฯ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังใช้ระบบ Escrow คือ ผู้ซื้อจ่ายเงินให้ DHgate ก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้า ทางแพลตฟอร์มถึงจะโอนเงินให้ผู้ขายหลัง เพื่อป้องกันการโกง
ปัจจุบัน DHgate มีผู้ขายมากกว่า 2.3 ล้านราย โดยมีการผลิตสินค้าออกสู่แพลตฟอร์มกว่า 30 ล้านชิ้นต่อปี ใน 26 หมวดหมู่ และมีผู้ใช้มากกว่า 40 ล้านราย จากกว่า 220 ประเทศทั่วโลก โดยมีคลังสินค้าต่างประเทศมากกว่า 10 แห่ง และมีเส้นทางโลจิสติกส์กว่า 100 เส้นทาง
จากสงครามการค้าของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 145% ได้กลายเป็นการจุดกระแสให้นักช้อปชาวอเมริกันเริ่มมองหาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เพราะกลัวว่าแพลตฟอร์มเดิม ๆ ที่ใช้ จะปรับราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น TikTok Shop หรือ Temu และหวยก็มาออกที่ DHgate เนื่องจากกำลังเป็นไวรัลใน TikTok สหรัฐฯ
เนื่องจากมีบรรดา อินฟลูเอนเซอร์ และเจ้าของผู้ผลิตสินค้า ได้ออกมาแฉเบื้องหลังสินค้าแบรนด์เนมว่าจริง ๆ แล้ว สินค้าเหล่านั้นถูกผลิตในจีนเกือบทั้งหมด และถ้าอยากได้ของคุณภาพแบรนด์เนม ในราคาถูกกว่า สามารถหาได้จากจีน ซึ่งก็คือ DHgate
“จีนเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ลักชูรี่ที่ส่งให้อเมริกา ประเทศในยุโรปทั้งหมด อย่างกระเป๋า 1 ใบ จีนทำไปแล้ว 80% ที่เหลือส่งไปประเทศต่าง ๆ เช่น อิตาลี เพื่อแสตมป์โลโก้ ทำกล่อง เพื่อให้เหมือนกับว่าผลิตในอิตาลี” ข้อความจากผู้ใช้ TikTok ในชื่อ doctortangmow อ้าง
จากคลิปไวรัลดังกล่าว ส่งผลให้ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน DHgate จากที่อยู่ อันดับ 200 ก็ขึ้นมาเป็นแอปฯ ฟรีที่มียอดดาวน์โหลดมาก อันดับ 2 บน App Store เป็นรองแค่ ChatGPT ตามข้อมูลจาก Sensor Tower
จากวิดีโอไวรัลใน TikTok ที่ได้ จุดเประเด็นให้แบรนด์เนมหรู จนก่อให้เกิดคําถามเกี่ยวกับ มูลค่าที่แท้จริง ของสินค้าจากแบรนด์เนมที่แสดงให้เห็นว่า ไม่คุ้มค่า จากผู้ใช้ที่ชื่อว่า Valbulosity ซึ่งวิดีโอได้รับยอดวิวมากกว่า 6 ล้านครั้งและ 600,000 ไลก์
เพราะผู้ซื้อสามารถเป็นเจ้าของ ของก๊อบแบรนด์เนม ในราคาถูกแสนถูก อาทิ กระเป๋าสตางค์ที่คล้ายกับ Louis Vuitton Pochette ที่มีราคา 1,490 ดอลลาร์หรือราว 50,000 บาท ถูกขายในราคาเพียง 3.24 ดอลลาร์หรือราว 100 บาท และสามารถขายได้มากกว่า 100 ชิ้น
หรือจะเป็นกระเป๋า Goyard ในราคาประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐ (640 บาท) เมื่อเทียบกับของแท้ที่ราคาเกิน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ (136,000 บาท) หรือกางเกงโยคะ Lululemon ที่ปกติขายในราคา 98 ดอลลาร์หรือราว 3,200 บาท ก็หาซื้อได้ในราคาเพียง 13 ดอลลาร์สหรัฐ (430 บาท) ซึ่งขายไปมากกว่า 10,000 ชิ้น ตามข้อมูลจากแอปฯ
techcrunch / bloomberg / scmp
]]>ปี 2024 มูลค่า 1 ล้านล้านบาท เติบโต 9%
ปี 2025 มูลค่า 1.07 ล้านล้านบาท เติบโต 7%
ปี 2030 มูลค่า 2 ล้านล้านบาท
• 50% ซื้อผ่าน Marketplace เช่น shopee, Lazada, Konvy ฯลฯ
• 20% ซื้อผ่าน Video Commerce เช่น TikTok, Facebook, IG, YouTube ซึ่งช่องทางนี้เป็นช่องทางใหม่และกำลังมาแรง
• 18% ซื้อผ่าน Social Commerce เช่น Facebook, Line, IG, X ฯลฯ
• 8% ซื้อผ่าน Quick Commerce & Grocery เช่น Grab, Lineman, 7-Eleven delivery, Big c ฯลฯ
• 4% E-Tailers และ Brand.com เช่น Powerbuy Boots Banana ฯลฯ
เทรนด์ที่ 1 The Rise of Affiliate Commerce : อีคอมเมิร์ซพันธุ์ใหม่จะขับเคลื่อนการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในปี 2025 โดยแบรนด์ต่างๆ ได้นำกลยุทธ์ Affiliate Commerce ไปใช้กับการขายสินค้าด้วยการหลอมรวมในทุกช่องทางอีคอมเมิร์ซ โดยธุรกิจควรจับมือร่วมกับ Content creator เพื่อผลลัพธ์ทางการตลาดและยอดขายที่ดีมากขึ้น เพราะจากผลสำรวจพบว่า 83% ของคนไทย เลือกซื้อสินค้าตาม Influencer แนะนำ
สำหรับสิ่งที่จะขับเคลื่อน Affiliate Commerce เติบโต ได้แก่ 3C ประกอบด้วย Creators (ผู้สร้างสรรค์), Content (คอนเทนต์ เนื้อหาของสื่อ) และ Commerce (การค้าขาย) หมายความว่า ผู้บริโภคชอบคอนเทนต์ที่ดี และจากคอนเทนต์ที่ดี จะนำไปสู่การสร้างยอดขายให้กับแบรนด์ และสามารถวัดผลได้
เทรนด์ที่ 2 Competition in Thailand E-Commerce is Heating Up : ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเปิดทางให้เกิดการแข่งขันแบบเสรีขั้นสุดจากผู้ขายทั่วโลก
ปี 2025 จะเป็นปีแห่งการแข่งขันที่หนักหน่วงของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากผู้ค้าออนไลน์ หลีกเลี่ยงการแข่งขันไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งทาง Priceza ประเมินว่า ใน 3 แพลตฟอร์มใหญ่อย่าง Shopee, Lazada, TikTok มีผู้ขายรวมกันมากถึง 3 ล้านราย มีสินค้ากว่า 300 ล้านรายการ
สำหรับเหตุผลที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อผ่านแพลตฟอร์มใด ขึ้นอยู่กับ
54% คูปองและส่วนลด
51.8% การจัดส่งฟรี
40.4% บริการเก็บเงินปลายทาง
30.7% คืนสินค้าง่าย
27.4% รีวิวจากลูกค้า
จากภาพดังกล่าว ทำให้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ จึงพยายามทำให้เกิดการแย่งกันสร้างสินค้าและตั้งราคาถูกมาก ด้วยการดึงผู้ขายทั้งรายย่อย รายใหญ่ แบรนด์ต่าง ๆ รวมถึงโรงงานจีนและผู้ขายจากต่างประเทศให้เข้ามาเปิดช้อปบนแพลตฟอร์มของตัวเอง เพราะเมื่อมีผู้ขายเยอะ ยิ่งมีการแข่งขันและตั้งราคาให้ถูกลง ซึ่งจะดึงดูดให้ผู้บริโภคมาซื้อสินค้าบนออนไลน์มากขึ้น
วิธีนี้ แม้ผู้บริโภคจะได้ผลประโยชน์จากสินค้าราคาถูกลง ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเล็ก ๆ ในประเทศ เพราะสินค้าราคาถูกจากจีนจะไหลเข้ามามากขึ้น โดยตอนนี้สินค้าจีนราคาไม่เกิน 1,500 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีศุลากร ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัว
เทรนด์ที่ 3 E-commerce Listening : ช่วยเปิดทางทำธุรกิจออนไลน์แบบ ‘รู้เขา รู้เรา’ เสริมแกร่งธุรกิจไทยแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซที่การแข่งขันสูง
จากการแข่งขันอย่างดุเดือดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทำให้ปัจจุบันหลายแบรนด์ได้นำ E-commerce Listening เข้ามาใช้ เป้าหมายไม่ใช่แค่ทำความรู้จักและเข้าใจ ‘ลูกค้า’ เท่านั้น แต่ยังเป็นการเข้าใจ ‘คู่แข่ง’ ให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
สำหรับ E-commerce Listening ที่หลายแบรนด์นำมาใช้ จะประกอบด้วย 3C ได้แก่ Consumer (ลูกค้า) , Company (บริษัทของเรา) และ Compactors (คู่แข่ง) โดยต้องเจาะข้อมูลเชิงลึกในการจะเข้าใจว่าลูกค้าซื้ออะไรจากคู่แข่ง วิธีการขายหรือจำนวนชิ้นที่คู่แข่งขายได้ เพื่อให้รู้จักคู่แข่งได้ดีเท่ากับรู้จักลูกค้า สำหรับนำมาวางกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
เทรนด์ที่ 4 E-Commerce Business Model Evolution : จากตลาดอีคอมเมิร์ซที่แข่งขันดุเดือด ทำให้ผู้เล่นต้องปรับเปลี่ยนให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ โดยธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของไทยได้ปรับโมเดลสู่การเน้นขายผ่านบ้านหลักของตัวเองมากขึ้นในปี 2025 ได้แก่
Consignment Model หรือระบบการฝากขาย ที่เน้นสินค้าราคาถูก และแพลตฟอร์มจะเป็นผู้ทำตลาดให้เอง ซึ่งในปีนี้จะเห็นหลายแพลตฟอร์มขยับมาสู่โมเดลนี้กันมากขึ้น
Vertical Marketplace แพลตฟอร์มที่ขายสินค้าเฉพาะเจาะจง เช่น Home Pro , Konvy, NocNoc เป็นต้น จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า เป็นมาร์เก็ตเพลสที่สามารถตอบโจทย์สินค้าเฉพาะกลุ่มได้มากกว่า
Refocus on Own Retail Channel ปีนี้แพลตฟอร์มอย่าง Shopee Lazada จะมีการขยับราคาค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลลูกค้าที่ขายผ่านทางมาร์เก็ตเพลส จะอยู่กับแพลตฟอร์ม ทำให้ให้บรรดาแบรนด์ และรีเทลต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางขายของตัวเองมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปฯ
เทรนด์ที่ 5 Fast Delivery Like a Devil : ปีแห่งการส่งของไวเป็นปีศาจ ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่อดทนรอสินค้าได้นาน หากผู้ขายรายใหม่สามารถส่งสินค้าภายในวันที่สั่งของได้ ผู้บริโภคก็พร้อมย้ายเจ้า และการส่งด่วนจากแพลตฟอร์มหรือร้านค้าต่าง ๆ นี่เองมีส่วนส่งเสริมให้ตลาด Quick Commerce เติบโตต่อเนื่องราว ๆ 20-30% ต่อปี
]]>
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สินค้าจากจีนที่ไม่ผ่านมาตรฐานทะลักเข้าสู่ไทยเป็นจำนวนมาก แต่ในปี 2025 คาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ การปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายของภาครัฐเริ่มเข้มงวดขึ้น และการแข่งขันในประเทศจีนที่รุนแรงขึ้น ทำให้สินค้าจีนที่มีคุณภาพหลายรายหันมาขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายที่สำคัญของจีน ดังนั้นจะเห็นสินค้าจีนที่มีคุณภาพและนำเข้ามาแบบถูกกฎหมาย เข้ามาแข่งขันกับ ผู้ประกอบการไทยมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ กรมสรรพากรได้ประกาศให้อีมาร์เก็ตเพลสที่มียอดขายเกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี เช่น Lazada, Shopee, TikTok, Grab, Foodpanda, Line Man ต้องส่งรายได้ของร้านค้าที่ขายผ่านแพลตฟอร์มให้กับกรมสรรพากร
ในปี 2025 กรมสรรพากรจะเริ่มเห็นตัวเลขยอดขายที่ชัดเจน และจะเริ่มเก็บภาษีจากผู้ค้าเหล่านี้ ซึ่งหมายความว่า ผู้ค้าในอีมาร์เก็ตเพลสที่เดิมไม่ได้คำนึงถึงภาษี จะต้องปรับโครงสร้างราคาและจัดการภาษีในธุรกิจออนไลน์ของตนเองด้วย
Vertical Commerce คือ การขายสินค้าในกลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะ เช่น สินค้าเด็ก สินค้าสัตว์เลี้ยง สินค้าผู้สูงอายุ สินค้าเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า พบได้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Line และ Facebook
การเติบโตของ Vertical Commerce เกิดจากการสร้าง Vertical Community หรือชุมชนกลุ่มเล็กที่มีความสนใจเหมือนกัน ซึ่งการรวมตัวของชุมชนเหล่านี้จะนำไปสู่การซื้อขายที่เฉพาะเจาะจง ช่วยให้ผู้ค้าปิดการขายได้ง่ายขึ้น
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การขายสินค้าผ่าน TikTok เติบโตขึ้นมาก และ TikTok ก็ยังมุ่งการลงทุนและขยายตลาดในด้าน TikTok Commerce อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ TikTok Shop ซึ่งกำลังพัฒนาไปไกลกว่าการขายสินค้าที่จับต้องได้ โดยกำลังก้าวไปเข้าสู่การขายบริการต่าง ๆ เช่น บัตรกำนัลโรงแรมและร้านอาหาร
ปี 2025 TikTok จะกลายเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลเซอร์วิสที่ครบวงจร โดยผสานคอนเทนต์ คอมมูนิตี้ และคอมเมิร์ซ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ กลายเป็นช่องทางสำคัญสำหรับทำการตลาดและขายสินค้า ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซดุเดือดยิ่งขึ้น
เมื่อ TikTok แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ Video Commerce หรือการขายผ่านวิดีโอ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งสนามแข่งขันที่ดุเดือด โดยแพลตฟอร์มวิดีโอต่าง ๆ พยายามปรับตัวและผสานระบบการขายเข้าไปในคอนเทนต์ของตนเอง เช่น การจับมือระหว่าง YouTube กับ Shopee เพื่อให้สามารถใส่ลิงก์ร้านค้าและสินค้าในวิดีโอได้โดยตรง และ Facebook กับ Instagram ที่เริ่มรองรับการใส่สินค้าในวิดีโอ ทำให้ผู้ชมสามารถกดซื้อสินค้าได้ทันที
Video Commerce จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการผสานวิดีโอและการขายที่ทำให้เกิดประสบการณ์การช้อปปิ้งที่มีความบันเทิงและดึงดูดใจมากขึ้น เทรนด์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยังสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ขายและลูกค้าผ่านคอนเทนต์วิดีโอที่น่าสนใจ
การทำตลาดแบบ Affiliate Marketing จะเป็นเทรนด์ที่มีบทบาทมากขึ้นในการทำธุรกิจออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada, TikTok จะเปิดโอกาสให้เจ้าของสินค้านำสินค้าไปฝากไว้ พร้อมตั้งค่าคอมมิชชันให้กับผู้ที่นำสินค้าไปขายต่อ ซึ่งการทำตลาดแบบนี้จะทำให้ KOL และอินฟลูเอนเซอร์ ที่มีฐานลูกค้าของตัวเอง สามารถนำสินค้าที่เจ้าของสินค้าฝากขายมาโปรโมตให้กับผู้ติดตาม เมื่อเกิดยอดขายก็จะได้รับคอมมิชชัน ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนของตลาดออนไลน์ และเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น โดยไม่ต้องจ่ายค่าทำการตลาดหรือโฆษณาแพงๆ เพียงจ่ายแค่ค่า Affiliate หรือค่า marketing fee
ปี 2025 ชัดเจนมากว่าอีมาร์เก็ตเพลสในไทยถูก ผูกขาดเบ็ดเสร็จโดยยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เพียงไม่กี่ราย ทำให้ขึ้นค่าธรรมเนียมได้อย่างตามอำเภอใจโดยไร้การควบคุมจากภาครัฐ ยิ่งไปกว่านั้น อีมาร์เก็ตเพลสเหล่านี้ยังยึดข้อมูลลูกค้า ทำให้ผู้ค้าเข้าไม่ถึงชื่อ เบอร์โทร หรือแม้แต่ที่อยู่ของลูกค้า ต้องตกอยู่ในสถานะจำยอม ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้าไปทำการตลาดเอง จะย้ายฐานลูกค้าข้ามไปแพลตฟอร์มอื่นก็ทำไม่ได้
ขณะเดียวกัน การแข่งขันในตลาดอีมาร์เก็ตเพลสจะดุเดือดมากขึ้น หลายแพลตฟอร์มไม่ได้หยุดอยู่แค่การเป็นพื้นที่ขายสินค้า แต่กำลังรุกเข้าไปในธุรกิจอื่นที่ครบวงจรมากขึ้น เช่น บางแพลตฟอร์มสร้างระบบการชำระเงินของตนเอง และมีบริการขนส่งเพื่อรองรับธุรกรรมภายในระบบ อย่างกรณีของ Shopee ได้ขยายไปสู่ฟู้ดเดลิเวอรี่ ขายประกัน และให้บริการสินเชื่อด้วย ส่วน Grab ที่เริ่มจากบริการขนส่งสินค้าและเดลิเวอรี่ก็ได้ขยายมาสู่บริการสินเชื่อสำหรับผู้ค้าบนแพลตฟอร์มและไรเดอร์
การผูกขาดและยึดข้อมูลลูกค้าโดยอีมาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ ผู้ค้าควรหันมาพัฒนาช่องทางการขายของตนเอง หรือที่เรียกว่า Owned Channel การทำ Owned Channel ก็เหมือนการที่เรา “สร้างบ้าน” เอง ส่วน E-Marketplace คือคอนโดที่เรา “เช่า” เขาอยู่ ซึ่งจะทำให้เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ สามารถสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำได้มากขึ้น
ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการที่จะทำให้ Owned Channel เชื่อมต่อระบบชำระเงินและระบบขนส่งได้โดยตรง ซึ่งช่วยให้ธุรกรรมคล่องตัว และลดการพึ่งพาอีมาร์เก็ตเพลส เช่น บริการจาก Pay Solutions ที่เชื่อมต่อกับระบบชำระเงินของ Owned Channel ได้ทุกช่องทาง สามารถรองรับการชำระผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน บัตรเดบิต บัตรเครดิต Mobile Banking หรือ Alipay WeChat Pay และสามารถชำระที่เคาน์เตอร์ด้วยเครื่องรูดบัตร All-in-one รองรับการผ่อนชำระทุกธนาคาร
การค้าออนไลน์ในปัจจุบันไม่ได้มุ่งแค่ขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่กำลังก้าวสู่เทรนด์ที่เรียกว่า 3C Commerce ซึ่งประกอบด้วย 1.Content การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ ช่วยสร้างการรับรู้และความสนใจในตัวสินค้า 2.Community เมื่อมีคอนเทนต์ที่ดี ย่อมดึงดูดผู้ติดตาม สร้างฐานแฟนคลับ และสร้างชุมชนที่มีความผูกพันกับแบรนด์ 3.Commerce คอนเทนต์และคอมมูนิตี้ที่แข็งแกร่งจะนำไปสู่การซื้อขายสินค้า สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ค้าและลูกค้า
3C Commerce จึงช่วยเพิ่มความผูกพันที่ทำให้ลูกค้าไม่เพียงซื้อสินค้า แต่ยังติดตามและสนับสนุนแบรนด์อย่างต่อเนื่อง การขายออนไลน์จึงไม่เป็นเพียงการทำธุรกรรมอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นการสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และเริ่มขยับไปเป็นดิจิทัลเซอร์วิสมากขึ้น
AI หรือปัญญาประดิษฐ์ จะเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคิด วิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ ออกแบบ ไปจนถึงการทำโฆษณา ทุกขั้นตอนจะมี AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำงาน ดังนั้น การผสาน AI เข้ากับธุรกิจอีคอมเมิร์ซจึงไม่ใช่แค่การเพิ่มความสะดวกสบาย แต่เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งให้ดียิ่งขึ้น
E-Commerce Automation หรือระบบอัตโนมัติสำหรับอีคอมเมิร์ซ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ไม่ใช่แค่การขายสินค้าออนไลน์เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการธุรกิจทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์ม เช่น การจัดการออเดอร์ การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลลูกค้า การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ระบบบัญชีออนไลน์ การจัดการขนส่ง การบริหารโฆษณา การตอบกลับอัตโนมัติสำหรับลูกค้า ซึ่งการเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ลดความซับซ้อนของงานที่ต้องทำด้วยตนเอง และเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจ
ปัจจุบัน ข้อมูลออนไลน์มีอยู่มากมายมหาศาล กระจัดกระจาย เข้าถึงได้ยาก ดังนั้น E-Commerce Listening จะเข้ามาเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นในการขายสินค้าออนไลน์ โดยช่วยติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าทุกชิ้นในตลาดไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคา ข้อมูลสินค้าในหมวดหมู่เดียวกัน ยอดขายและกลยุทธ์ของคู่แข่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง สามารถกำหนดราคาที่เหมาะสม วางแผนการตลาดได้แม่นยำ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
]]>อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า Temu เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มาแรงจริง ด้วยจุดขายในด้าน สินค้าราคาถูก เพราะเป็นการซื้อจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง แถมยังจัดส่งไวภายใน 5 วัน ยังไม่รวมถึงการอัดแคมเปญการตลาดและโฆษณาอย่างหนัก
ทำให้นับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนกันยายน 2022 แอปพลิเคชัน Temu สามารถทำยอดดาวน์โหลดทะลุ 735 ล้านครั้ง ไปแล้ว ตามข้อมูลจาก Storklytics.com เรียกได้ว่าใช้เวลาเพียงประมาณ 2 ปี ก็สามารถแซงหน้า Amazon, eBay และ Shein เพื่อร่วมชาติอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ จากข้อมูลของ Statista และ AppMagic แสดงให้เห็นว่า หากนับเฉพาะในปี 2023 แพลตฟอร์ม Temu มียอดดาวน์โหลดทั้งหมดกว่า 337 ล้านครั้ง มากกว่า Amazon ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซสัญชาติสหรัฐฯ เกือบ 80%
สำหรับในปี 2024 นี้ Temu ก็ยังสามารถสร้างการเติบโตได้อีก และขึ้นเป็นแอปที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม สามารถกวาดยอดดาวน์โหลดกว่า 50 ล้านครั้งต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน ซึ่งถือว่าโตขึ้นถึง 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา และถือว่า มากกว่าคู่แข่งอย่าง Amazon ถึง 3 เท่า นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี Temu ยังมียอดเข้าชมรวมกว่า 500 ล้านครั้ง
เมื่อแยกเป็นประเทศต่าง ๆ พบว่า ยอดดาวน์โหลดเกือบ 1 ใน 3 ของการดาวน์โหลดทั้งหมดมาจาก สหรัฐอเมริกา (27%) หรือกว่า 200 ล้านครั้ง แสดงให้เห็นว่า ชาวอเมริกันใช้ Temu มากกว่าชาวยุโรปถึง 5 เท่า เพราะประเทศอย่างสหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส และสเปนคิดสัดส่วนเพียงประเทศละ 5% ของการดาวน์โหลดทั้งหมด ส่วนตลาดที่ใหญ่เป็น อันดับสอง ของ Temu คือ เม็กซิโก สร้างยอดดาวน์โหลดทั้งหมดเพียง 10% หรือน้อยกว่าสหรัฐอเมริกาถึงสามเท่า
ปัจจุบัน Temu เปิดบริการแล้วใน 49 ประเทศทั่วโลก มียอดขายกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก สำหรับไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ที่ Temu เข้ามาทำตลาด
]]>จากการสำรวจโดย Access Partnership ถึงโอกาสการ ส่งออก ของผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME ไทย พบว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยทั้งหมดมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนประมาณ 38% มาจากกลุ่ม SME และคาดว่าภายในปี 2028 มูลค่าการส่งออกของไทยจะเติบโตได้ 1.5 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท และสัดส่วนของ SME จะเพิ่มเป็น 55%
ขณะที่ SME กว่า 87% มองว่า อีคอมเมิร์ซ เป็นตัวช่วยให้สามารถ รุกตลาดต่างประเทศ และมี SME ถึง 37% ระบุว่า รายได้กว่าครึ่งมาจากการส่งออก นอกจากนี้ กว่า 56% เชื่อว่า อีคอมเมิร์ซช่วยให้ตลาดเปิดกว้างมากขึ้น โดยปัจจุบัน ประเทศที่ SME ไทยส่งออกสินค้าไปมากที่สุด ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อังกฤษ และสหภาพยุโรป
หนึ่งในแพลตฟอร์มที่ SME ไทยใช้ Go Inter ก็คือ Amazon ที่ให้บริการใน 23 ประเทศทั่วโลก โดย อนันต์ ปาลิต หัวหน้า อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า บนแพลตฟอร์ม Amazon มี SME ไทยกว่า 1,000 ราย โดยกลุ่มสินค้ายอดนิยม ได้แก่
สำหรับแบรนด์ไทยที่โดดเด่น อาทิ Tuff แบรนด์ กางเกงมวย ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดสหรัฐฯ และอีกแบรนด์ก็คือ Wel-B ซึ่งเป็นผลไม้ฟรีซดราย (Freeze Drying) ขายเป็นขนม
โดย อนันต์ มองว่า สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่น่าเริ่มต้นสำหรับ SME ไทย เพราะมีกำลังซื้อสูง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคสหรัฐฯ นั้นต้องการ สินค้าที่มีความแตกต่างจากสินค้าที่มีในประเทศ ดังนั้น ต้องมี จุดขายความเป็นไทย แต่ก็ไม่ทิ้งจุดขายด้านฟังก์ชัน
“อย่างกางเกงมวยของ Tuff ไม่ได้ขายได้เพราะเป็นกางเกงมวย แต่มีฟังก์ชันที่เหมาะสำหรับใส่ออกกำลังกาย และมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย ส่วนขนมขบเคี้ยว ก็เป็นกลุ่มที่ไทยพัฒนาได้ดี และทั้งรสชาติดีและมีประโยชน์ ซึ่งสินค้าในสหรัฐฯ ไม่ค่อยมี”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการหลายคนยังติดปัญหาเกี่ยวกับการส่งออก โดยพบว่า
โดย อนันต์ มองว่า การจะสนับสนุนให้ SME ไทยสามารถ Go Inter ได้ ควรสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับตลาด สร้างอีโคซิสเต็มส์ให้ทำงานได้ง่าย เช่น รวมโลจิสติกส์ไว้บนแพลตฟอร์มเดียว สุดท้าย ภาครัฐควรช่วยเหลือด้านกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้า
สำหรับ Amazon เองก็มีโปรแกรมช่วยเหลืออย่าง Amazon Global Selling อาทิ บริการ Fulfillment by Amazon (FBA) ที่เป็นบริการ Fullfillment คือ หยิบ แพ็ก ส่ง โดย Amazon จะเก็บสินค้าของลูกค้าไว้ในคลังที่มีกว่า 400 แห่ง และจะจัดส่งให้เมื่อมีคำสั่งซื้อ โดยการันตีจัดส่งถึงปลายทางได้ภายใน 2 วัน นอกจากนี้ Amazon ยังมีโครงการอื่น ๆ เช่น Amazon Brand Registry ช่วยเรื่องการตลาดให้ลูกค้าเจอแบรนด์ได้มากขึ้น หรือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น รวมถึง Shopping Event เช่น Black Friday เป็นต้น
“ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่ใช่งาน FBA อาจเป็นเพราะกระบวนการอาจซับซ้อน รวมถึงค่าใช้จ่าย ซึ่งเราเองก็ตระหนักเรื่องนี้ โดยจะปรับกระบวนการให้ง่ายขึ้น รวมถึงสื่อสารถึงข้อดีของบริการ อย่าง ลูกค้าที่ใช้บริการ FBA ก็มียอดขายเพิ่มขึ้น 20-25% และลดต้นทุนได้ 30% เมื่อเทียบกับลูกค้าที่ไม่ใช้”
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการไทยกว่า 1,000 รายบน Amazon มียอดขายสินค้ากว่า 1 ล้านชิ้น/ปี และข้อมูลจาก Statista พบว่า ในปี 2023 สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีรายได้รวมจากอีคอมเมิร์ซสูงเป็นอันดับที่สองของโลก มีมูลค่าถึง 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากผลสำรวจของ Amazon ที่จัดทำโดย Access Partnership ในปีเดียวกัน พบว่ามากกว่า 65% ของธุรกิจ SMEs ของไทย มองว่าสหรัฐฯ เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีความสำคัญในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้
]]>Walmart เทขายหุ้น JD.com ทั้งหมดมูลค่ารวมราว 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยบริษัทได้เข้าลงทุนใน JD.com ตั้งแต่ ปี 2016 โดยขายร้านขายของชำออนไลน์ในจีนอย่าง Yihaodian ให้กับ JD.com เพื่อแลกกับหุ้น 5% ใน JD.com และในปีเดียวกันนั้น วอลมาร์ทเพิ่มการถือหุ้นใน JD.com เป็นมากกว่า 10% ดังนั้น การขายหุ้นทั้งหมดนี้ ถือเป็นการปิดฉากการลงทุน 8 ปี
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ Walmart ตัดสินใจเทขายหุ้นมาจาก ผลตอบแทนที่ลดลง เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงของอีคอมเมิร์ซจีน ทำให้ทั้ง Alibaba และ JD.com ต่างต้องอัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าแพลตฟอร์ม ซึ่งนั่นส่งผลให้อัตรา กำไรลดลง
ส่วนอีกสาเหตุก็คือ Walmart ต้องการจะ นำเงินทุนไปใช้กับสิ่งที่มีความสำคัญกว่า โดย Walmart ระบุว่า บริษัทจะมุ่งไปที่การดำเนินธุรกิจของตัวเองในจีน ซึ่งก็คือ Walmart China และ Sam’s Club อย่างไรก็ตาม บริษัทจะมุ่งมั่นรักษาความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่องกับ JD.com ซึ่ง JD.com จะยังคงเป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าของ Walmart บนเว็บไซต์
ด้าน JD.com ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทมีความมั่นใจในความร่วมมือในอนาคตระหว่างทั้งสองบริษัท โดยภายใต้สัญญาเดิม Walmart และ JD.com จะทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทานของตน เพื่อขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์นำเข้าสำหรับผู้บริโภคชาวจีน
อย่างไรก็ตาม โทมัส เฮย์ส ประธานบริษัทการลงทุน Great Hill Capital ให้ความเห็นว่า “ในปี 2016 บริษัท Walmart ต้องการขยายธุรกิจในประเทศจีน และพวกเขาทำสำเร็จผ่านการเรียนรู้ตลาดจาก JD.com และตอนนี้พวกเขาก็มีช่องทางในการขยายธุรกิจและมีผลประโยชน์ในจีนเป็นของตัวเอง และพวกเขาไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้ส่วนเสียใน JD อีกต่อไป เมื่อพวกเขามีธุรกิจที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว”
ปัจจุบัน ราคาหุ้นของ JD.com ร่วงลงราว 70% จากจุดสูงสุดเมื่อต้นปี 2021 และราคาหุ้นก็ใกล้เคียงกับระดับเปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 นอกจากนี้ การเติบโตของยอดขายของ JD.com หยุดนิ่งหลังจากการระบาดใหญ่ เนื่องจากผู้ซื้อแห่กันไปที่บริษัทอีคอมเมิร์ซราคาประหยัดคู่แข่งอย่าง Pinduoduo
โดยหุ้นของ JD.com ที่จดทะเบียนในฮ่องกงปิดตลาดลดลงเกือบ -9% ในวันพุธ ส่วนหุ้นที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ลดลง -5% ในการซื้อขายช่วงเที่ยงวัน ด้านหุ้นของ Walmart เพิ่มขึ้น 0.6% ในวันพุธ หลังจากแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 75.58 ดอลลาร์
โดยในไตรมาสล่าสุด Walmart รายงานว่า รายได้จากธุรกิจในประเทศจีนเพิ่มขึ้น +17.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเครือข่ายคลังสินค้า Sam’s Club และช่องทางดิจิทัล โดยรายได้จากสมาชิกจากธุรกิจ Sam’s Club ในประเทศจีนเติบโตขึ้น +26% ขณะที่จำนวนสมาชิกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
]]>ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย 65% ถูกครอบครองด้วย 3 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ Shopee (49%) Lazada (30%) และ TikTok Shop (21%) แต่สำหรับการมาของ Temu ไม่เหมือนกับแพลตฟอร์มไหน ๆ ก็คือ Temu ไม่มีสำนักงานในไทย ซึ่งแปลว่า ยอด ทุกบาททุกสตางค์ของลูกค้าชาวไทยถูกส่งกลับไปจีน เพราะบริษัท ไม่ได้จ่ายภาษีให้กับประเทศไทย โดย ป้อม ภาวุธ กูรูอีคอมเมิร์ซเมืองไทย ถึงกับเอ่ยปากว่า เห็นเจตนาชัดว่า ต้องการฝ่าฝืนและเอาเปรียบประเทศเรา
“เขาคงไม่เข้าประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพราะในหลายประเทศเขาก็ทำแบบนี้ คือ เปิดเว็บไซต์ให้ซื้อและส่งของจากจีนเข้ามาไทย” ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด กล่าว
ปัจจุบัน Temu เปิดบริการแล้วใน 49 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย รวม ๆ แล้ว Temu มีจำนวนแอคเคาท์กว่า 467 ล้านแอคเคาท์ เป็นแอปพลิเคชันที่มี ยอดดาวน์โหลดสูงสุดในปีนี้ และมียอดขายรวมกว่า 14,000 ล้านบาทต่อเดือน
เพราะแนวคิดแรกของ Temu คือการ ตั้งราคาขายให้ได้ต่ำที่สุด ดังนั้น Temu จึงทำการ ตัดคนกลางออก ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมต่อกับผู้ผลิตโดยตรง หรือพูดง่าย ๆ สินค้าที่สั่ง ส่งตรงจากโรงงานถึงลูกค้า นอกจากนี้ Temu จะมีฟีเจอร์ให้ลูกค้า รวมกลุ่มกันซื้อสินค้า หรือ Group Buying เพื่อให้ได้สินค้าในราคาที่ถูกลงไปอีก ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าบางชนิดราคาจะ ถูกกว่าท้องตลาด 99% ยังไม่รวมการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ และการจัดส่งอย่างรวดเร็วภายใน 4-9 วัน เพราะต่อให้ของถูก แต่ได้ของช้า คนก็อาจไม่รอ
ด้วยกลยุทธ์ที่เล่นเรื่องราคาเป็นหลัก และการจัดส่งที่รวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกกใจที่ Temu จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่างในตลาด สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ Temu ทำตลาด Temu ใช้เวลาเพียง 2 ปี ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 17% โดยสิ้นปี 2023 มียอดขายสูงถึง 1.53 หมื่นล้านดอลลาร์ และในช่วงต้นปีที่ผ่านมามียอดผู้ใช้งานกว่า 80 ล้านคน
จะเห็นว่าขนาดสหรัฐฯ ที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 94,003 ดอลลาร์ต่อปี หรือ 3.4 ล้านบาทต่อปี ยังโดน ของถูกตก แล้วคนไทยที่มีรายได้เฉลี่ย 248,468 บาทต่อคนต่อปี จะเหลืออะไร
ไม่ใช่แค่ราคา แต่เทคโนโลยีของ Temu ก็ยิ่งทำให้แพลตฟอร์มเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกจุด ด้วย อัลกอริทึม ที่วิเคราะห์ customer journey ของลูกค้าอย่างละเอียด ตั้งแต่การดูสินค้า การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อ ทำให้ Temu สามารถปรับแต่งและเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ Temu ยัง ส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังผู้ขาย ทำให้ผู้ขายสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเทรนด์หรือความต้องการของตลาด ซึ่งก็ช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องผลิตสินค้าเกินความต้องการ สามารถบริหารจัดการต้นทุนและสต็อกได้ดีขึ้น ซึ่งก็ยิ่งทำให้ต้นทุนสินค้าถูกลง ทำให้ทำราคาสินค้าได้ถูกลงไปอีก
อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้งาน Big Data ทำให้ Temu มีประเด็นเรื่อง ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะจากเหตุการณ์ของ Pinduaduo ที่ Temu ก็อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันกับ PDD Holdings เคยถูก Google ปักธงแดงเปลี่ยนสถานะแอปฯ ให้เป็น มัลแวร์ เพราะ Pinduoduo เวอร์ชันที่ไม่ได้อยู่ใน Google Play Store มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับมัลแวร์ โดย ทำหน้าที่ตรวจสอบและสอดแนมผู้ใช้งาน โดยใช้วิธีการ Zero-day แฮกข้อมูลของผู้ใช้งาน เพื่อเข้าถึงและรวบรวมข้อมูลผู้ใช้
จากทั้งสินค้าราคาถูก เงินทุนที่สามารถลด แลก แจก แถม และทำการตลาดได้มากกว่า เทคโนโลยีที่ดีกว่า คนที่กระทบมากสุดคงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SME และถ้าผู้ประกอบการไทยลดกำลังผลิตหรือเลิกผลิต การจ้างงานก็ลดลง มีผลต่อเนื่องเป็นทอดๆ ต่อเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP) ยังมองว่า ทุนจีนที่เข้ามาในไทยนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าทุนจากชาติอื่นที่เคยเข้ามา เพราะวิธีดำเนินธุรกิจสไตล์จีนคือ ใช้ระบบนิเวศของตนเองทั้งหมด จึงไม่ส่งผลดีต่อการจ้างงานคนไทยและการใช้วัตถุดิบในประเทศไทย
ปัจจุบัน ประเทศไทยยิ่ง ขาดดุลการค้ากับจีน ซึ่งตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมาโดยตลอด โดยในปี 2023 ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมหาศาลถึง 1.29 ล้านล้านบาท แค่ 2 เดือนแรกของปีนี้ ไทยก็ขาดดุลแล้ว 2.82 แสนล้านล้านบาท
“รัฐบาลควรจะเข้ามาดูแลผู้ประกอบการไทย มีมาตรการปกป้องให้มากขึ้น เพราะถ้าผู้ประกอบการไทยลดกำลังผลิตหรือเลิกผลิต การจ้างงานก็ลดลง มีผลต่อเนื่องเป็นทอดๆ ต่อเศรษฐกิจ”
อย่างไรก็ตาม แม้ Temu จะดูน่ากลัวเพราะทั้งการทำราคาสินค้า เทคโนโลยี และเงินทุนมหาศาล แต่จุดอ่อนสำคัญคือ คุณภาพสินค้า และการ ละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างในสหรัฐฯ เอง ทางคณะกรรมการทบทวนเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีน (USCC) ก็ได้ออกมาเตือนถึงเรื่องนี้
ซึ่งในประเทศไทยก็ดูเหมือนผู้บริโภคจะตื่นตัวกับการมาของ Temu โดยชาวเน็ตไทยเองก็ตื่นตัวกับการมาของ Temu โดยพากันไปคอมเมนต์เพจ Temu Thailand ที่มีผู้ติดตามกว่า 3 หมื่นคนว่า “ให้ใช้สินค้าไทย ซื้อของคนไทยและต่อต้านสินค้าจีน” เพราะมองว่า การเข้ามาของแอปฯ นี้จะทำให้ผู้ประกอบการไทยย่ำแย่ ด้าน นารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ได้ออกมารีวิวการสั่งของจาก TEMU ว่า ห่วย ด้วย
แม้ว่า Temu จะดูน่ากลัว แต่ไม่ใช่ว่าจะสกัดไม่ได้ โดย ภาวุธ ได้แนะนำถึงภาครัฐว่า ควรใช้กฎหมาย E-Service Tax (VES) ที่ทำให้สรรพากรมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการต่างประเทศจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-service) ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ Facebook (Meta), YouTube, Netflix, Google เป็นต้น
หรือมาตรการขั้นเด็กขาดคือ บล็อกการเข้าถึงคนไทย แบบเดียวกับการบล็อกเว็บไซต์อย่าง พอร์นฮับ รวมไปถึงทำหนังสือไปยัง AppStore, PlayStore เพื่อบล็อก Temu ออกจากการเห็นของคนไทย หรือในกรณีที่ไม่สามารถบล็อก Temu ได้ก็ควร บังคับใช้กฎระเบียบเดิมให้เข้มแข็ง เช่น คุมการนำเข้าสินค้าที่เข้มงวด อย่างให้สินค้าที่ไม่มี มอก. หรือ อย. เข้ามาไทย เพราะสินค้าที่ถูก อาจไม่ได้คุณภาพตามข้อกำหนด
สุดท้ายแล้ว SME ที่เน้นนำเข้าของจากจีนมาขาย อาจจะอยู่ยาก ดังนั้น ควรสร้าง แบรนด์ และเน้นไปที่ คุณภาพสินค้า เพราะสินค้าของ Temu ไม่มีแบรนด์ เน้นทำราคา ไม่สนเรื่องคุณภาพ และที่สำคัญ SME ต้อง หาตลาดใหม่ ๆ เช่น กลุ่มเป้าหมายใหม่หรือการ ส่งออก สุดท้าย ต้องนำ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพิ่มประสิทธิภาพ ลดการใช้คน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่า Temu เปิดให้ผู้ประกอบการไทยขายของบนแพลตฟอร์มได้หรือไม่ แต่ที่เห็นคือ Temu เปิดให้โรงงานและบุคคลบางประเภทสามารถสมัคร Seller Account เพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายได้ ซึ่ง คนไทยสามารถสมัครได้ เพียงแต่แพลตฟอร์มจะอนุมัติหรือไม่ขึ้นอยู่กับทาง Temu ซึ่งข้อดีของการขายของบน Temu คือ การเปิดตลาดใหม่ ๆ ในต่างประเทศ ดังนั้น SMEs ไทยอาจจะลองดูสักตั้ง เผื่อใช้ Temu เป็นอีกแพลตฟอร์มในการขายสินค้าไปต่างประเทศ
]]>นับตั้งแต่ปี 2562 ภาพรวม ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย จนถึงปี 2566 มีการเติบโตถึง 41.5% จำนวนผู้ใช้ก็เพิ่มจาก 30.7 ล้านคน เป็น 41.5 ล้านคน ขณะที่ยอดใช้จ่ายต่อคนก็เพิ่มขึ้นจาก 2,970 บาท เป็น 8,840 บาท และในปีนี่ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยคาดว่าจะมีมูลค่าเฉียด 7 แสนล้านบาท เลยทีเดียว
แม้ภาพรวมอีคอมเมิร์ซจะเติบโต แต่ ป้อม ภาวุธ อธิบายว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้โตตาม เพราะมีความน่ากลัวหลายอย่างซ่อนอยู่ โดยเฉพาะการถูก ผูกขาด จากผู้เล่น 3 รายหลัก ได้แก่ Shopee, Lazada และ TikTok ซึ่งร้านค้าที่ต้องพึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็ต้องยอมจ่าย ค่าบริการ กลายเป็นว่า ไม่ขายออนไลนก็ไม่ได้ แต่มาขายออนไลน์ยิ่งขาดทุน
“จะเห็นว่าไทยต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติหมดเลย ซึ่งมันทำให้เราเสียเปรียบ เพราะต่างชาติคุมหมดทำให้แพลตฟอร์มสามารถขึ้นราคาค่าบริการแพลตฟอร์ม โดยบางแพลตฟอร์มขึ้นราคาถึง 300% ภายในปีครึ่ง จากที่ไม่เก็บเลย ตอนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 7-10% และเราไม่สามารถไปชะลอได้”
เมื่อร้านค้าออฟไลน์ ต้องขึ้นมาแข่งขันบนออนไลน์ ก็ต้องเจอกับการแข่งขันด้าน ราคา ที่รุนแรง เพราะต้องเจอกับ สินค้าจีน ที่ทำราคาได้ดีกว่า และเริ่มส่งเร็วขึ้น นอกจากนี้ อีกจุดที่เสียเปรียบก็คือ ร้านค้าไม่ได้ ข้อมูลลูกค้า เพราะแพลตฟอร์มปิดทั้งหมด เพื่อไม่ให้ร้านค้าไปทำการตลาดทีหลัง ทำให้เป็นการล็อกให้อยู่แต่บนแพลตฟอร์ม
นอกจากนี้ ในปีหน้าแพลตฟอร์มทั้งหมดต้องส่งข้อมูลให้ กรมสรรพากร อัตโนมัติ ทำให้ร้านค้าเล็ก ๆ ที่ไม่เคยเสียภาษีต้องเสียภาษี ดังนั้นจะเห็นว่า SMEs ที่เป็นกระดูกสันหลังกำลังเผชิญความท้าทายรอบด้านและ ย่ำแย่ลง
“เฉพาะตอนนี้ มูลค่าสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาในไทยคาดว่ามีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท แต่ตอนนี้อาจจะดีหน่อยที่รัฐบาลออกกฎเก็บ Vat สินค้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาท”
ภาวุธ มองว่า SMEs ที่เน้นนำเข้าของจากจีนมาขายอาจจะอยู่ยาก เพราะจะสู้ราคาไม่ได้ แต่ต้องแข่งด้วย แบรนด์ และ คุณภาพสินค้า เน้นที่ประสบการณ์ นอกจากนี้ อย่าไปคนเดียว ต้องหาพันธมิตรเพื่อแบ่งทรัพยากรหรือลูกค้า ที่สำคัญต้อง หาตลาดใหม่ ๆ เช่น กลุ่มเป้าหมายใหม่หรือการ ส่งออก รวมไปถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ไม่ใช่อยู่แค่บนแพลตฟอร์ม สุดท้าย ต้อง นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพิ่มประสิทธิภาพ ลดการใช้คน เช่น สามารถให้ลูกค้าผ่อนได้ ใช้ระบบออโตเมชั่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของ SMEs ที่เห็นในปัจจุบันคือยัง ไม่ตื่นตัวกับการส่งออก เพราะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ภาษา ระบบการบริหารจัดการ และ ข้อกำหนดของแต่ละประเทศ ซึ่ง SMEs อาจทำความเข้าใจและดำเนินการได้ยาก ดังนั้น อยากให้ ภาครัฐ ควรสนับสนุนการพา SMEs ไปตลาดต่างประเทศ มีคลังสินค้าในประเทศนั้น ๆ มีคนช่วยโพสต์สินค้าขายในประเทศนั้น ๆ
“ความซวยคือ SMEs เราแทบไม่มีอะไรไปขาย เพราะระบบ SMEs แทบพังหมดแล้ว สู้ต้นทุนจีนไม่ไหว อาจจะมีเรื่องของอาหาร ผลไม้ ที่อาจสู้ได้ แต่รัฐบาลต้องช่วย เพราะเขาเข้มงวดกว่าเรา ไม่เหมือนเราที่เปิดให้เข้ามาง่าย ๆ”
ภาวุธ มองว่า มีเพียง 3 ข้อที่อยากให้รัฐบาลทำ ได้แก่
“ไม่ต้องกีดกันสินค้าจีนหรอก เราแค่ทำตามกฎระเบียบให้ได้ก่อน เพราะตอนนี้สินค้ามันหลุด มอก. หรือ อย. หมดเลย พอไม่มีอะไรกั้นก็บ่าเข้ามา SMEs ไทยก็สู้ไม่ได้ ก็เลือกจะปิดโรงงานแล้วนำเข้ามาถูกกว่า มันก็กระทบเป็นลูกโซ่หมด ต่างจากบางประเทศ เช่น อินโดนีเซียที่ไม่ปล่อยให้แพลตฟอร์มหรือสินค้าจีนเข้ามาง่าย ๆ”
หากนับเฉพาะบริการ เพย์เมนต์เกตเวย์ ตอนนี้ เพย์ โซลูชั่น (Pay Solution) ถือเป็น ผู้เล่นไทยรายเดียวในตลาด เพราะผู้ให้บริการไทยรายอื่น ๆ ถูกต่างชาติซื้อไปหมดแล้ว และบริการเหล่านั้นจะเน้นจับลูกค้ารายใหญ่เป็นหลัก ขณะที่ SMEs ที่คิดเป็น 80% ของประเทศกลับถูก ปล่อยมือทิ้ง SMEs หมด
อย่างไรก็ตาม เพย์โซลูชั่นจะเน้นที่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยเป็นหลัก โดยจะเข้าไปช่วยระบบ ชำระเงิน เช่น บริการเครื่องรูดบัตร, ระบบตัดเงินอัตโนมัติ, ระบบผ่อนชำระเงิน, รับเงินจากต่างประเทศ และเชื่อมกับระบบ CRM รวมถึงช่วยออก E-Tax และ Invoid
โดยปีนี้ เพย์โซลูชั่นตั้งเป้าเพิ่มทรานแซคชั่นเป็น 7,800 ล้านบาท มีรายได้ 160 ล้านบาท ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทจะบุกที่ตลาด ออฟไลน์ มากขึ้น เพราะเป็นตลาดใหญ่ และธุรกิจออนไลน์หลายธุรกิจเริ่มจากออฟไลน์ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าออฟไลน์ของบริษัทมีสัดส่วนเพียง 5% แต่อนาคตต้องการเพิ่มเป็น 50%
“SMEs มันกระจัดกระจายมาก มันเลยยุ่งยาก ทุกคนเลยคิดจะจับแต่รายใหญ่ ทำให้ตอนนี้ SMEs มันพังมากและกำลังจะตาย คนจีนมีเทคโนโลยีเพียบ แต่ไทยยังใช้กระดาษอยู่เลย เราเลยอยากจะช่วยรายย่อยพวกนี้ แต่เพย์เมนต์มันเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ซึ่งเรามีพาร์ทเนอร์อื่น ๆ เช่น ระบบบัญชี, ระบบบริหารข้อมูลลูกค้า นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเราไปคนเดียวไม่ได้”
ภาวุธ ทิ้งท้ายว่า ปีนี้จะเป็นการดึงผู้ประกอบการออฟไลน์ขึ้นมาออฟไลน์ เพราะ SMEs ไทยยังไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี แต่ปีหน้าตั้งใจจะช่วยพาผู้ประกอบการไทย ส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อดึงเม็ดเงินต่างชาติเข้าประเทศ ซึ่งไมด์เซ็ทของบริษัทคือ การที่บริษัทจะโตได้ ต้องทำให้ลูกค้าโตก่อน
“SMEs ไทยบางรายอยู่แบบเดิมมานานและไม่อยากเปลี่ยน ดังนั้น ต้องมีโรลโมเดลก่อน ให้คนไทยเห็นว่าดีถึงจะอยากไปใช้ตาม และตอนนี้ระบบไอทีถูกลง ดังนั้น อย่างน้อยเครื่องมือก็ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเขาดีขึ้น ในขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องช่วย SME ด้วย”
]]>คนไทยมักจะชินกับชื่อ Alibaba, JD ว่าเป็นผู้เล่นตัวท็อปในตลาดอีคอมเมิร์ซจีน แต่จริง ๆ แล้วทั้ง 2 บริษัทถูก Pinduoduo (พินตัวตัว) อีกหนึ่งบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนแซงหน้าในแง่ของมูลค่าบริษัทไปเรียบร้อยแล้ว และ Pinduoduo ก็ถือเป็นบริษัทพี่บริษัทน้องกับ Temu (ทีมู) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหม่ที่ใช้บุกตลาดโลก
จุดเริ่มต้นของ Pinduoduo นั้นเริ่มจากชายที่ชื่อ Colin Huang ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ PDD Holdings ที่ก่อตั้ง Pinduoduo ในปี 2015 โดยเริ่มจากจากการเป็นแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร ก่อนจะขยายไปสู่ผู้ให้บริการโซเชียลคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้กว่า 900 ล้านคน โดยมีคอนเซ็ปต์คือ นำความสนุกสนานมาสู่การช้อปปิ้ง ด้วยการ ซื้อเป็นกลุ่ม เพื่อให้ได้ราคาถูก
โดยผู้ซื้อสามารถแชร์ข้อมูลสินค้าที่ต้องการ เพื่อรวมคำสั่งซื้อกับเพื่อนในช่องทางต่าง ๆ หรือจะรอรวมกับผู้ซื้อรายอื่นก็ได้เพื่อสั่งซื้อไปยังร้านค้า หรือผู้ผลิตโดยตรง เพื่อให้ได้ สินค้าราคาส่ง นั่นเอง เนื่องจาก Pinduoduo สามารถจัดการคำสั่งซื้อในแบบ C2M หรือจากผู้บริโภคถึงผู้ผลิตโดยไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งช่วยให้ผู้ขายสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้บริโภคและลดต้นทุนได้อีกด้วย
จนมาปี 2022 ในขณะที่ทั่วโลกเจอกับวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้ 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba และ JD. เลือกจะ ยุติการขยายตลาดต่างประเทศ เพื่อคุมค่าใช้จ่าย แต่ไม่ใช่กับ Pinduoduo ที่เลือกออกไปเติบโตนอกจีน โดยเปิดตัวแพลตฟอร์มที่ชื่อ Temu ในเดือนกันยายน 2022 และใช้โมเดลซื้อเป็นกลุ่มเหมือนกับ Pinduoduo
โดย Temu เลือกที่จะบุกไปยังตลาดสหรัฐฯ เป็นประเทศแรก ทั้งที่มีผู้เล่นหลักอย่าง Amazon โดยในเดือนธันวาคม 2022 Temu ขึ้นเป็นแอปฟรีที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดบน App Store และ Google Play ในสหรัฐอเมริกา และภายใน 1 ปี Temu สามารถโกยผู้ใช้ได้ถึง 100 ล้านคน จากนั้นก็ขยายไป 47 ประเทศทั่วโลก
แน่นอนว่าปัจจัยที่ทำให้ Temu เติบโตอย่างรวดเร็วก็คือ สินค้าที่หลากหลาย แถมยัง ราคาถูก มีโปรจุก ๆ อย่าง ลด 90% นอกจากนี้ยัง ไม่มีค่าส่ง ทำได้ให้ได้ใจลูกค้าที่ต้องการของถูกไปเต็ม ๆ แต่นอกจากจะเล่นเรื่องราคาแล้ว ฝั่งการตลาด Temu ก็ทุ่มไม่แพ้กัน เพราะถึงขั้นเคยซื้อโฆษณาในรายการ Superbowl ซึ่งถือเป็น การแข่งขันกีฬาที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ยังไม่รวมการจ้างเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมตแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าไปสุดทุกทางสำหรับ Temu
แน่นอนว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แถมขายของถูกแสนถูก ทำให้ในเดือนเมษายน ปี 2023 คณะกรรมการทบทวนเศรษฐกิจและความมั่นคงสหรัฐฯ-จีน (USCC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสระของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้บันทึกสรุปเกี่ยวกับความท้าทายที่เกิดจากแบรนด์ Temu และ Shein เกี่ยวกับ ความกังวลของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และกล่าวหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์
นอกจากนี้ บริษัทแม่อย่าง PDD Holdings ก็ถูก China Labor Watch กล่าวหาว่า ใช้งานพนักงานเยี่ยงทาส โดยบังคับให้พนักงานทำงาน 380 ชั่วโมงต่อเดือน ทำให้บริษัทเผชิญการประท้วงทางออนไลน์ หลัง พนักงานเสียชีวิตหลายคน ในปี 2021
นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน 2023 สื่อ CNN รายงานว่า ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หลายทีมพบ มัลแวร์ในแอปมือถือของ Pinduoduo สำหรับอุปกรณ์ Google Android ซอฟต์แวร์นี้ทำให้แอป Pinduoduo เลี่ยงการอนุญาตด้านความปลอดภัยของผู้ใช้และเข้าถึงข้อความส่วนตัว หรือเปลี่ยนการตั้งค่าและป้องกันไม่ให้ถอนการติดตั้งแอป
ปัจจุบัน PDD Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Temu ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากเซี่ยงไฮ้ไปยัง ดับลิน เมืองหลวงของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับบริษัทเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Apple, Meta และ Google เนื่องจากมีโครงสร้างภาษีที่เป็นมิตรต่อธุรกิจ
Temu เริ่มเข้ามาในตลาดอาเซียนในปี 2023 โดยเริ่มบุกที่ประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย มาปี 2024 นี้ ก็ถึงคิวของ ประเทศไทย แน่นอนว่านอกจากสินค้าราคาแสนถูก ยังมาพร้อมโปรโมชั่นจัดเต็มอย่าง ส่วนลดสูงสุด 90% และที่น่าแปลกใจ (มั้ง) คือ การจัดส่งสินค้า จากมณฑลกว่างโจว ประเทศจีน มายังกรุงเทพฯ ไม่เกิน 5 วัน!
เรียกได้ว่า สมรภูมิอีคอมเมิร์ซตอนนี้ดุเดือดกว่าเดิมแน่นอน แต่ที่แน่นอนไปกว่านั้น ผู้ประกอบการไทยอาจต้อง ปาดน้ำตาแทนเหงื่อ แล้วรอบนี้
]]>มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศไทยในปี 2023 คาดการณ์ว่าจะไปแตะอยู่ที่ 932,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 14% เมื่อเทียบกับปี 2022 อยู่ที่ 818,000 ล้านบาท นับว่าประเทศไทยได้เข้าสู่การซื้อขายออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ โดยปัจจุบันคนไทยมากกว่าครึ่งเคยซื้อสินค้า/บริการผ่าน E-Commerce ด้วยการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยที่ขยายตัวและครอบคลุมมากขึ้นด้วย
ปัจจุบัน ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มีความเปลี่ยนเเปลงทั้งในด้านเเพลตฟอร์มการให้บริการ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสใหม่ ๆ เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มมีการฟื้นตัว รวมถึงระบบนิเวศทั้งหลายของธุรกิจที่เข้าสู่ออนไลน์อย่างเต็มรูปเเบบหลังจากช่วงหลังโควิดที่ผ่านมา โดยตลาดอีคอมเมิร์ซในตอนนี้ครอบคลุมหลายด้านของการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น Food Delivery, Online Grocery, การท่องเที่ยว และ On-Demand Delivery
สำหรับปี 2024 สมรภูมิการแข่งขันอีคอมเมิร์ซ มีแนวโน้มดุเดือดยิ่งขึ้น! แม้ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประเมินถึงมูลค่าตลาดในปีนี้ แต่ทาง Google, Temasek และ Bain & Company ประเมินว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยภายในปี 2025 จะมีมูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความท้าทายที่สุดของร้านค้าไทย นอกจากปัจจัยเรื่องราคา และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคดิจิทัลแล้ว สินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาผ่านอีมาร์เก็ตเพลส ปัญหาสินค้าราคาถูกที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทยผ่านช่องทาง E-Commerce และการเข้ามาใช้ประโยชน์จาก Free Trade Zone เพื่อขายสินค้าในประเทศ รวมถึงการลักลอบนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรโดยการสำแดงข้อมูลเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทำให้สินค้าราคาถูกรวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้าตลาดในประเทศ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้
ทั้งนี้ ทางภาครัฐเองก็เริ่มตระหนักและหันมา ทบทวนนโยบายการเรียกเก็บภาษี ที่เหลื่อมล้ำเพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เติบโตได้และไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าจากสินนค้าประเทศจีนและมีการแข่งอย่างเสรีและเป็นธรรมซึ่งเราคงได้เห็นการปรับโครงสร้างภาษีในปีนี้
ในด้าน Retail Commerce การพึ่งพาแพลตฟอร์มอย่างอีมาร์เก็ตเพลสอาจเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น นั่นจึงเป็นแรงผลักดันให้แบรนด์ เริ่มเห็นความสำคัญของการมี First party data เป็นของตัวเองมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดกับการใช้ Gen AI การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อ Personalization สร้างประสบการณ์ Commerce Experience ในการช่วยแบรนด์สร้างยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้บริการ E-Commerce สามารถดึงดูดและรักษาลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ปัจจุบัน ระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่