อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Aug 2019 06:25:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แกรมมี่” โชว์ป๋า! ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี แม้ไตรมาส 2 รายได้ลดลง 13.7% https://positioningmag.com/1242239 Wed, 14 Aug 2019 04:07:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242239 ในภาวะที่เศรษฐกิจยังเอาแน่เอานอนไม่ได้เม็ดเงินโฆษณายังไม่มีทีท่าจะกระเตื้องขึ้นทำให้ผลประกอบการของหลายบริษัทยังอยู่ในภาวะตัวแดงเช่นเดียวกับแกรมมี่ที่ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 2/2562 ระบุว่ามีรายได้จากการขายสินค้า/บริการ และค่าลิขสิทธิ์ จำนวน 1,458 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.7% จากรายได้ธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจเทรดดิ้ง

เมื่อแยกย่อยลงไปในแต่ละธุรกิจจะพบว่าธุรกิจเพลง เป็นธุรกิจหลักของประกอบด้วยการจำหน่ายสินค้าเพลง (Physical product), ดิจิทัลมิวสิค, การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์, ธุรกิจโชว์บิซ, ธุรกิจบริหารศิลปิน และธุรกิจอื่นที่สนับสนุนธุรกิจ ในไตรมาส 2/2562 มีรายได้จากธุรกิจเพลง 893 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 61% ของรายได้รวม ซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4%

โดยส่วนใหญ่มาจากธุรกิจดิจิทัลมิวสิกและธุรกิจบริหารศิลปิน ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่หลายรายการ เช่น “PECK PALITCHOKE Concert#2 : LOVE IN SPACE”, “What The Fest! Music Festival 2” และ “คอนเสิร์ต ต่าย อรทัย ดอกหญ้ากลางเมืองใหญ่”

ธุรกิจเทรดดิ้ง ประกอบด้วยธุรกิจจัด จำหน่ายสินค้าโฮมช้อปปิ้ง และธุรกิจจัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวี ในไตรมาสนี้ ธุรกิจโฮมช้อปปิ้งมีรายได้ 422 ล้านบาทลดลง 23.4% จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแข่งขันในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจกล่องรับสัญญาณทีวี มีรายได้ 72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.8%

ธุรกิจภาพยนตร์ในไตรมาส 2/2562 ไม่มีภาพยนตร์ใหม่เข้าฉาย แต่มีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์จำนวน 33 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 2/2561 มีภาพยนตร์ใหม่น้องพี่ที่รัก” เข้าฉายในช่วงนั้นรายได้รวม ของไตรมาสจึงสูงถึง 183 ล้านบาท

ธุรกิจการลงทุน ประกอบไปด้วย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจดิจิทัลทีวีช่อง One31’ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสนี้มีละครที่ได้รับกระแสตอบรับดีหลายเรื่อง และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ประกอบด้วยธุรกิจดิจิทัลทีวี ช่อง GMM25’, ธุรกิจวิทยุและโชว์บิซ, ธุรกิจผลิตคอนเทนต์ ในไตรมาสนี้มีละครที่ได้รับความนิยมสูงคือ เรื่องเมียน้อยส่วนด้านคอนเสิร์ตที่ได้รับความนิยมมากคือ “The Real Nadech Concert” และ “Cassette Festival”

ทั้งนี้จากการที่ธุรกิจดิจิทัลทีวี 2 ช่อง ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการดิจิทัลทีวีของภาครัฐ ทำให้ภาระขาดทุนเปลี่ยนมาเป็นกำไรในไตรมาสนี้แต่แกรมมี่ไม่ได้ระบุว่ามีกำไรเท่าไหร่

สุดท้ายธุรกิจอื่นๆ” ในไตรมาสนี้มีรายได้ 38 ล้านบาท เติบโต 2.8% ขณะเดียวกันต้นทุนขายและบริการเท่ากับ 851 ล้านบาท ลดลง 18.6% เนื่องจากไม่มีต้นทุนภาพยนตร์ใหม่และต้นทุนขายของสินค้าลดลง

ส่งผลให้ในไตรมาสนี้แกรมมี่มีผลกำไรสุทธิเท่ากับ 68 ล้านบาท เติบโต 33% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 51 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะลดลงถึง 13.7% แต่ก่อนหน้านี้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนเมษายน 2562 ได้อนุมัติให้โอนทุนสำรองตามกฎหมายจำนวน 82 ล้านบาท และส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญจำนวน 2,951 ล้านบาท มาชดเชยขาดทุนสะสม จำนวน 3,033 ล้านบาท

ประกอบกับมีกำไรสุทธิในงวด 6 เดือนแรกของปี 2562 ตามงบการเงินเฉพาะกิจการรวมเป็น 132 ล้านบาท ที่ประชุมคณะกรรมการ จึงมีมติอนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 82 ล้านบาท คิดเป็น 62% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้น

โดยได้กําหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับเงินปันผลระหว่างกาล (Record Date) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2562 และกําหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในวันที่ 12 กันยายน 2562 นี้

]]>
1242239
ทีวีดิจิทัลพังหมื่นล. จับตาแห่คืนช่อง วัดใจ “กสทช.” พักหนี้-ลุ้น 10 ช่องรอด https://positioningmag.com/1162072 Mon, 19 Mar 2018 03:28:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1162072 อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลพังหมื่นล้าน หลัง กสทช.ยอมถอยเลื่อนค่าใบอนุญาต 3 ปี จับตาเป็นช่วงต่อเวลายื้อชีวิตทีวีดิจิทัลหรือเป็นแค่ใบเบิกทางเพื่อล้มอุตสาหกรรม ชี้ “เจ๊ติ๋ม” จุดไฟทีวีดิจิทัล ควรมี 10 ช่องกำลังดี เหตุผู้ชมเปลี่ยนพฤติกรรม ออนไลน์ตีหลังบ้านยึดเวลาแทน ลุ้น 6 ช่องปี 61 นี้มีกำไร

ความผิดพลาดของการคุมกฎ กับบทบาทการทำงานของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เข้ามากำกับดูแลอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เริ่มปรากฏคลื่นความเสียหาย 2 ลูกติดต่อกันต่ออุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลภายในอาทิตย์เดียว

คลื่นลูกแรกคือ การที่ศาลปกครองกลางพิพากษา (เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561) ว่าการที่ กสทช.ไม่สามารถดำเนินการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินได้ระบบดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศให้แล้วเสร็จก่อนจัดการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล เป็นเหตุให้บริษัทไทยทีวีฯ เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ตามประกาศสำนักงาน กสทช. และเป็นผู้ชนะประมูลและได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ประกอบกิจการ

โทรทัศน์ 2 ช่องคือ ไทยทีวี และโลก้า ไม่สามารถถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลได้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ตามประกาศเชิญชวนของสำนักงาน กสทช. และตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ เมื่อ กสทช.และสำนักงาน กสทช.ไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมาย บริษัทไทยทีวีจึงมีสิทธิบอกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ทั้งสองช่องรายการ

กสทช.กระทำผิดจริงต่อสัญญาที่ได้ประกาศชี้ชวนไว้กับบริษัท ไทยทีวี จำกัด ดังนั้น บริษัท ไทยทีวี จำกัด จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ทั้งนี้ศาลปกครองกลางพิพากษาให้ กสทช.คืนเงินแบงก์การันตีกว่า 1,500 ล้านบาทแก่ทางไทยทีวี ซึ่งเป็นของ “เจ๊ติ๋ม” หรือ นางพันธุ์ทิพา ศกุนต์ไชย

คลื่นแรกที่กระแทกเกิดความโกลาหลนี้ ส่งผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลยังไม่หมดไป เพราะอีก 2 วันต่อมาคลื่นลูกที่สองก็เกิดขึ้น

จากการที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เชิญผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หารือแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว

การประชุมในวันนั้นมีผลสรุปว่า ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันในมาตรการให้พักชำระหนี้ ภายในเวลา 3 ปี โดยผู้ที่จะยื่นเรื่องพักชำระหนี้ จะต้องยื่นกับคณะกรรมการ กสทช. ภายใน 30 วัน เเละต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 

รวมทั้งยังให้มีการ ลดค่าเช่าโครงข่าย (มัค) ลงอีกจำนวน 50% จากจำนวนเดิม เป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ คสช.ออกคำสั่งตามมาตรา 44

ทั้งนี้น่าจับตามองว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นการยื้อชีวิตทีวีดิจิทัลให้ออกไปอีกระยะหนึ่ง หรือเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้อีกหลายช่องต้องถอนตัว

***ทีวีดิจิทัลพังหมื่นล.

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น จากความผิดพลาดในการทำงานและการมองสถานการณ์อุตสหกรรมทีวีดิจิทัลผิดไปของทาง กสทช.ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าจะมีมูลค่านับหมื่นล้านบาท เพราะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่ผู้ประกอบการต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาล แต่รายได้หรือผลตอบแทนกลับมามีเพียงน้อยนิดและยังขาดทุนอยู่ ในทุกส่วนที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ผู้ผลิตคอนเทนต์ รวมถึงผู้ให้บริการโครงข่าย และเม็ดเงินที่เสียเปล่าจากกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลที่ไม่ได้นำมาใช้งานจริงแต่อย่างใด

“ความสูญเสียตลอด 4 ปีนี้มีสูงมาก เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมหาศาล แต่รายได้ที่รีเทิร์นกลับมา หรือการคืนทุนในแบบระยะสั้นไม่สามารถทำได้ สุดท้ายทางออกจึงมีเพียง 2ทาง คือ การขอคืนใบอนุญาต และยกเลิกสัญญา ซึ่งเฉพาะการลงทุนโครงข่ายนั้นมีไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทต่อราย จากทั้งหมด 3 รายก็ร่วม 3,000 ล้านบาทแล้ว ยังไม่รวมถึงกลุ่มช่องทีวีที่ลงทุนไป หรือแม้แต่กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลที่ กสทช.แจกออกไป แต่ไม่สามารถถูกใช้งานได้จริง เพราะไม่สามารถรับสัญญาณได้ อีกทั้งประชาชนขาดความสนใจ และเลือกดูผ่านเคเบิลทีวีเป็นหลัก”

ทั้งนี้จากมาตรการที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลพักชำระหนี้ค่าใบอนุญาตภายในเวลา 3 ปีนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทีวีดิจิทัลโดยรวม เพราะผู้ประกอบการจะได้หายใจคล่องขึ้น ในการนำเงินนั้นไปพัฒนาคอนเทนต์และดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ซึ่งพอที่จะช่วยให้เกิดรายได้ที่ดีตามมา

นอกจากนี้ยังมองว่าผลทางอ้อมจะทำให้เม็ดเงินโฆษณาในสื่อทีวีดีขึ้นเช่นกัน เพราะหากคอนเทนต์ดี มีเรตติ้ง ลูกค้าก็พร้อมใช้เงินซื้อโฆษณา ที่สำคัญเป็นช่วงเวลาที่จะทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลได้คิดและตัดสินใจว่าจะอยู่หรือจะไปในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งอาจจะเป็นกรณีศึกษาและเป็นตัวอย่างสำหรับผู้ประกอบการอีกหลายช่องที่จะทำตามเพราะไปไม่ไหวก็ได้ ด้วยการฟ้องและหวังชนะคดี

“การพักชำระหนี้ 3 ปี ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในแง่ที่ไม่ต้องแบกภาระต้นทุนมากเกินไป และทำให้ผู้ประกอบการได้มองเห็นว่าหลังจากนี้ควรจะหยุดหรือจะไปต่อ ซึ่งหากมองในภาพรวมแล้ว จำนวนช่องที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 10-15 ช่อง จากทั้งหมด 24 ช่องที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากออนไลน์เข้ามา และผู้ชมไม่ได้ดูจากจอทีวีเป็นหลักอีกต่อไป ซึ่งคงไม่สามารถตอบได้ว่าช่องใดจะหายไป ขึ้นอยู่กับความสามารถและการตัดสินใจของแต่ละช่องเป็นหลัก”

ในฐานะที่ อสมท เป็นผู้ให้บริการโครงข่าย อยากให้ทาง กสทช.ทบทวนถึงค่ามัคหรือลดค่าเช่าโครงข่ายลง 50% เป็นเวลา 2 ปี จะให้เริ่มนับจากช่วงใด และผู้ให้บริการมัคจะเสียโอกาส หรือผู้ประกอบการจะรับภาระเพิ่มหรือไม่หากประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนออกไปยังไม่สามารถประกาศใช้ได้จริง

*** ลุ้นทีวีดิจิทัล 6 ช่องหลักปีนี้ (61) มีกำไร

ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี กล่าวว่า สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ไม่แน่ใจว่าสุดท้ายจะมีช่องที่ถอยออกไปมากน้อยเพียงใด เพราะส่วนใหญ่มีนายทุนเข้ามาช่วยแล้ว อีกทั้งการจ่ายค่าใบอนุญาตก็เหลือไม่กี่ปี แต่หากมองในภาพปี 2561 นี้ เชื่อว่า 6 ช่องหลักจะมีกำไร ซึ่งเกิดจากการบริหารต้นทุนได้ดีขึ้นจากการเรียนรู้ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละช่องจะพัฒนานำเสนอคอนเทนต์ที่ดีออกมา

“สุดท้ายทีวีดิจิทัลจะออกมาเป็นอย่างไรจีงยังไม่สามารถตอบได้ จากความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้ประกอบการยังคงเดินหน้าได้ทุกช่องหรือไม่ หรือจะมีถอนตัวออกไปกี่ราย ขึ้นอยู่กับแนวทางและความสามารถในการดำเนินธุรกิจของแต่ละช่องเป็นหลัก แต่เชื่อว่าทั้งอุตสาหกรรม ปีนี้ 6ช่องหลักจะดีขึ้นเริ่มเห็นกำไร”

ทางด้าน สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 กล่าวว่า การเปิดโอกาสให้พักชำระหนี้ค่าใบอนุญาต เป็นเวลา 3 ปี หรือถ้าไม่ต้องจ่ายส่วนที่เหลือจะทำให้ผู้ประกอบการทีวีมีพลังสู้ต่อได้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้คนที่เหลืออยู่ก็จะลำบาก โดยมองว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการไม่ได้ผิดและไม่ควรแบกรับอยู่เพียงฝ่ายเดียว

การดำเนินธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องมองแบบระยะยาว แต่ละช่องประสบความสำเร็จไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขัน และมองว่าฟรีทีวีเชิงพาณิชย์ในไทยมีเพียง 10 ช่องก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะการแข่งขันจากจำนวนช่องที่มากเกินไป ไม่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม เพราะต้นทุนคอนเทนต์สูง แต่กลับเข้าถึงคนดูได้น้อย เพราะผู้ชมมีทางเลือกมากขึ้น รายได้คืนกลับมาจึงน้อยตาม

สุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพ บมจ. อสมท กล่าวว่า กรณีนี้จะทำให้มีทีวีดิจิทัลอีกหลายช่องที่ไปไม่ไหวอาจจะแห่กันยกเลิกไลเซนส์ก็ได้ ด้วยการทำตามแนวททางที่ไทยทีวีชนะคดี

รายงานจากบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย ระบุว่า งบโฆษณาเดือนกุมภาพันธ์ปี2561 มีมูลค่า 7,747 ล้านบาท ลดลง 5% จากเดือนเดียวกันปี 60 ขณะที่งบโฆษณาสื่อทีวีดิจิทัล มีมูลค่า 2,049 ล้านบาท เพิ่ม 18% จากเดิมที่มี 1,734 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 21% ของสื่อโฆษณาทั้งหมด เป็นอันดับที่สองรองจากฟรีทีวี ขณะที่สองเดือนแรกปี 61 มีมูลค่าตลาดรวม 15,186 ล้านบาท ตกลง 7% จากเดิมที่มีมูลค่า 16,356 ล้านบาท โดยสื่อทีวีดิจิทัลมีมูลค่า 3,871 ล้านบาท เพิ่ม 16% จากเดิมที่มีมูลค่า 3,316 ล้านบาท.

ที่มา : mgronline.com/business/photo-gallery/9610000027013 

]]>
1162072