อุตสาหกรรมโฆษณา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Nov 2021 05:26:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตาโค้งสุดท้าย ‘อุตสาหกรรมสื่อ’ หลังเปิดประเทศ พร้อมคาดการณ์ปี 65 สื่อไหนรุ่ง-ร่วง https://positioningmag.com/1360273 Wed, 03 Nov 2021 16:30:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360273 เพิ่งเปิดประเทศไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา ทาง ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI Group) ได้ออกมาคาดการณ์ถึงภาพรวมตลาดโฆษณาช่วง ‘โค้งสุดท้าย’ และประเมินถึง ‘ปีหน้า’ ว่าจะเป็นอย่างไร

เปิดประเทศทำตลาดลบน้อยลง

แม้ว่าแบรนด์จะมีความกังวลที่เปิดประเทศ แต่เนื่องจากผลกระทบจากในช่วงไตรมาส 2-3 ที่ผ่านมา ทำให้ภาพเอกชนและหลายอุตสาหกรรมขานรับเปิดประเทศ รวมถึงการยกเลิกเคอร์ฟิวเมื่อ 1 พ.ย. ก็เห็นถึงบรรยากาศคึกคัก กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้น คาดว่าเม็ดเงินอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะกระเตื้องในโค้งสุดท้ายของปี เหลือติดลบตลอดทั้งปี 2021 เพียง -2.3% ใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของสมาคมมีเดียฯ ที่ติดลบ 2.7% จากที่คาดการณ์เดิม -3% ถึง -5%

“ในช่วง 3 ไตรมาสปีนี้ยังเติบโต 2.1% แต่ที่เห็นเติบโตก็เพราะปีที่แล้วติดลบเยอะ โดยคาดว่าทั้งปีเม็ดเงินอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะปิดที่ 73,417 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาปิดที่ 75,000 ล้านบาท ยังไงก็คงไม่มีทางแตะแสนล้านบาทเร็ว ๆ นี้”

ปีหน้าโต 15%

เบื้องต้น MI Group คาดการณ์เม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณา ปี 2022 +15% หรือมูลค่าเกือบ 85,000 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ สัดส่วนเม็ดเงิน โฆษณาออนไลน์ เติบโตแตะ 1 ใน 3 ของเม็ดเงินโดยรวมคือ 32% หรือประมาณ 27,000 ล้านบาท ในขณะที่สัดส่วน สื่อโทรทัศน์ จะต่ำกว่า 50% เป็นปีแรก โดยคาดว่ามีสัดส่วนที่ 47.4% หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท

ในส่วนของ สื่อนอกบ้านและสื่อโรงภาพยนตร์ จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญหากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนประมาณ 15% หรือ 13,000 ล้านบาท และเม็ดเงินอีกประมาณ 5% หรือประมาณ 4,000 ล้านบาท จะยังหล่อเลี้ยงอยู่ที่สื่อดั้งเดิมคือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ

“ช่วงปี 2019 เราเคยคิดว่าอาจใช้เวลา 3-5 ปีในการที่สัดส่วนสื่อทีวีจะต่ำกว่า 50% แต่พอมีโควิดเข้ามา พฤติกรรมคนไปเร็วมาก และภายในปี 2025 สัดส่วนทีวีออนไลน์อาจจะมีสัดส่วนเท่า ๆ กัน ส่วนสื่อโรงภาพยนตร์ต้องรอดูว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจะส่งผลระยะยาวไหม ด้านสื่อ Out Of Home มีแนวโน้มดีขึ้นจากสังคมเมือง แต่เพราะโควิดเลยทำให้ดร็อปไป ซึ่งถ้าสถานการณ์ดีขึ้นก็น่าจะกลับมาเติบโต”

5 อันดับดาวรุ่ง

ในส่วนของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสดใสเป็นพิเศษในปีหน้า ได้แก่

  1. รถยนต์ โดยเฉพาะ EV หรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และมอเตอร์ไซค์
  2. ธุรกิจที่สอดคล้องกับวิถีใหม่ อาทิ E- Market Place, Delivery Service, Streaming Platforms
  3. สินเชื่อส่วนบุคคล
  4. หมวดสุขภาพ ความงาม และสุขอนามัย
  5. ท่องเที่ยวและการพักผ่อนในประเทศ
ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI Group)

จับตาเงินเฟ้อในโฆษณาออนไลน์

ขณะที่สื่อออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาที่ ‘เฟ้อ’ มากขึ้น แต่อาจจะประเมินได้อยาก คาดว่าอาจจะอยู่ที่ 5-15% และที่น่าจะเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญคือ อินฟลูเอนเซอร์ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 30% ในตลาดออนไลน์ โดยเริ่มเห็นความเฟ้อในปีนี้ และปีหน้าจะยิ่งเฟ้อเพราะกลายเป็นหนึ่งในส่วนหลักของมาร์เก็ตเตอร์ที่จะใช้งานและไม่ได้มีระบบ Bidding

ขณะที่แพลตฟอร์มแรงของปีหน้าเชื่อว่ายังคงเป็น TikTok ส่วนแพลตฟอร์มที่อาจจะดร็อปคือ Instagram ที่ถูก TikTok แย่งเวลา ส่วน Twitter ถ้าสถานการณ์ไม่มีอะไรให้พูดคุยก็อาจจะดร็อปลง โดยปีที่ผ่านมามันเติบโตเพราะมีเหตุการณ์พิเศษ อาทิ เหตุการณ์ทางการเมืองให้พูดคุย

ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

เตือนภาครัฐเร่งสร้างความมั่นใจ

ภาครัฐยังต้อง เร่งสร้างความมั่นใจต่อคนไทยและชาวต่างชาติ หลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และยังต้องเร่งการกระจายวัคซีนให้เป็นไปตามแผนที่ประกาศไว้ คือ คนไทยมากกว่า 70% เข้าถึงวัคซีนครบ 2 เข็มภายในสิ้นปี และเร่งฉีดเข็ม 3 ให้ได้มากที่สุด เน้นลดจำนวนผู้ป่วยวิกฤตและผู้เสียชีวิต และโจทย์ใหญ่ของภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมุมของ MI คือ

  1. สร้างบรรยากาศคึกคัก ความเชื่อมั่น และกระตุ้นการจับจ่าย ของคนในประเทศเป็นหลักหลังอัดอั้นมานาน ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิดการแตะเบรกเอี๊ยดอีกครั้งจาก Mega Cluster ดังเช่น Wave 2 และ Wave 3 ที่ผ่านมา
  2. เน้นกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ มุ่งหารายได้จากนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก อย่าเพิ่งคาดหวังรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะข้อมูลคาดการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินว่าหลังเปิดจนถึงสิ้นไตรมาสแรกปีหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกลับมาได้เพียง 15-20%
  3. นโยบายช่วยเหลือ SMEs ไทยอย่างเร่งด่วนและจริงจัง ที่ไม่ใช่แค่การอนุมัติวงเงินสินเชื่อ หรือโครงการพักทรัพย์พักหนี้ ผู้ประกอบการยังต้องการความมั่นใจของรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่สถานะการเงินไม่ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ จากการบอบช้ำมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
]]>
1360273
เลือกตั้งครั้งนี้สนุกแน่! ใครจะได้ฐานเสียง “คนรุ่นใหม่” วัดกันที่กึ๋น “คอนเทนต์” ล้วนๆ https://positioningmag.com/1198070 Sun, 18 Nov 2018 10:01:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1198070 Thanatkit

ปี 2018 จะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่เข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมโฆษณามีลุ้นกระเตื้องขึ้นมาบ้างทั้งฟุตบอลโลกกับเอเชียนเกมส์ และยังมีเหตุการณ์พิเศษที่เข้ามาเสริม อีกทั้งกระแส BNK48 ตอนต้นปี, ละครบุพเพสันนิวาส ส่งต่อมายังละครเมีย 2018 และยังมีละครเลือดข้นคนจางที่เพิ่งลาจอไปพร้อมกับกระแสมากมายในโลกออนไลน์

ภวัต เรืองเดชวรชัย

ถึงปี 2019 ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน แต่ในมุมมองของ ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด เหตุการณ์ที่จะเข้ามาสร้างสีสันในปีหน้าให้กับวงการได้แน่ๆ คือการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงต้นปีหน้า

ย้อนกลับไปการเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2011 ครั้งนั้นพรรคการของเมืองไทย ใช้เงินสำหรับสร้างการรับรู้ และโปรโมตให้กับฐานเสียงตัวเอง รวมกันทุกพรรคและใช้รวมกันทั้งปี 294,728,000 บาททีวี คือผู้ที่ครองสัดส่วนมากถึง 50% เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงคนไทยมากสุด ตามด้วยสิ่งพิมพ์ 46% ที่เหลือ 4% เป็นสื่ออื่น เช่น วิทยุ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ  

ส่วนปี 2019 พรรคการเมืองจะใช้เงินมากขึ้นหรือน้อยลงภวัตยังไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจน เพราะหลายๆ สื่อไม่ได้แสดงจุดยืนว่าสามารถให้พรรคการเมืองลงสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มได้ไหม ความหมายคือ สมมุติมีเอเจนซี่หนึ่งรับเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์ให้พรรคการเมืองนี้ และมีการทำสปอตโฆษณาขึ้นมา ต้องการไปซื้อสื่อ ยังตอบไม่ได้ว่าจะให้ลงได้ไหม

สื่อในวันนี้กับอดีตไม่เหมือนกัน ปัจจุบันสื่อรวมกันเป็นเน็ตเวิร์ก จะมีผู้เล่นไม่กี่ราย ถ้าเกิดให้ลงก็ต้องดูว่าจะมีเอฟเฟกต์เกิดขึ้นในทิศทางไหน ต้องรอดูกัน วันนี้มีการถามไปแล้วเพราะเผื่อมีลุ้นปีหน้าจะมีเม็ดเงินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งไหลเข้ามา

แม้ยังไม่รู้จะมีเงินสะพัดมากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ สิ่งหนึ่งที่ภวัตตอบได้คือ สื่อไหนที่จะถูกเลือกใช้มากที่สุด ซึ่งครั้งก่อนหลักๆ เงินอยู่ที่ทีวีกับหนังสือพิมพ์ แต่คราวนี้ส่วนตัวเชื่อว่า หนังสือพิมพ์อาจจะน้อยลง สมรภูมิจะถูกโยกไปฝั่งสื่อนอกบ้านและออนไลน์แทน

ขณะเดียวกันความไม่ชัดเจนของสื่อออนไลน์โดยเฉพาะ Facebook และ Youtube ที่ถือครองเม็ดเงินหลักของโฆษณาดิจิทัลอยู่ สร้างความกังวลอยู่พอสมควร เพราะนโยบาย Facebook และ Youtube ที่ค่อนข้างเข้มงวดกับการเลือกตั้ง วันนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะอนุญาตให้พรรคการเข้ามาทำกิจกรรม หรือหาเสียงได้ลงลึกแค่ไหน เช่น Boost Post หรือ การใช้คำต่างๆ บนพจทางการของพรรคการเมือง ส่วนเพจส่วนตัวยังไปได้เรื่อยๆ

ก่อนหน้านี้แคลร์ ดีวีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการนโยบาย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เคยบอกกับ Positioning ว่า เรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้ใช้ในเมืองไทย คือการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว โดย Facebook ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถใช้หาเสียงได้ แต่จากปัญหาข่าวลวง ที่สามารถส่งผลถึงการเลือกตั้ง หลายๆ คนจึงกังวลในเรื่องนี้

แคลร์ ให้ความเห็นกว้างๆ ว่า ช่วง 18 เดือนมานี้ Facebook ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เพื่อป้องกันปัญหาข่าวลวงที่มีเป้าหมายแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้ง เช่น พยายามบอกสถานที่เลือกตั้งผิดๆ หรือส่งข้อความบอกให้ลงคะแนนผ่าน Facebook ซึ่งหากเจอก็จะลบบัญชีผู้ใช้ทันที

เป้าหมายหลักที่พรรคการเมืองจะมุ่งเป้าไปในปีนี้ คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่เพราะจะมาเป็นนักเลือกตั้งหน้าใหม่” (New Voter) กันอย่างคึกคัก คะเนคร่าวๆ กลุ่มดังกล่าวมีฐานใหญ่มากถึง 7-8 ล้านคน ด้วยจำนวนขนาดนี้หมายถึงสามารถช่วยให้พลิกคะแนนเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองได้เลยทีเดียว

แน่นอนเมื่อต้องการกวาดคนรุ่นใหม่มาเป็นฐานเสียงในมือ การเข้าไปอยู่ใกล้ตัวกับพวกเขาจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก สื่อที่ใช้คงหนีไม่พ้นโซเซียลมีเดียต่างๆ อันได้แก่ Facebook, Youtube และ Twitter รวมไปถึง KOL ด้วย

เพื่อให้สามารถจับเสียงของคนกลุ่มนี้ได้คอนเทนต์จะกลายเป็นตัววัดกึ๋นของพรรคการเมืองได้ทันที โดยสิ่งที่เราจะพบได้ต่อจากนี้ คือ การปั่นเรื่องราวให้เป็นกระแส (Viral) แบบเนียนๆ ที่หากไม่ได้อยู่ในวงการโฆษณาก็อาจจะมองออกได้ยาก เพื่อดึงการมีส่วนร่วม (Engagement) ให้มากที่สุดด้วย หากคุยเรื่องนโยบายเพียงอย่างเดียว คนรุ่นใหม่อาจจะไม่อยากฟังได้

วัยรุ่นไม่ค่อยคิดเยอะ ถึงจะไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมือง แต่ถ้ามีรายใดพูดภาษาที่วัยรุ่นเข้าใจ ก็อาจเป็นตัวเลือกสำหรับพวกเขาได้

หนึ่งในไวรัลที่ออกมาไม่นานก่อนหน้านี้ คือ การที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พร้อมบุตรสาว จินนี่ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ ออกมาลงพื้นที่พบปะประชาชนย่านประตูน้ำ ได้เรียกสือฮือฮาให้กับชาวโซเชียลถึงขนาดตั้งแฮชแท็ก #เข้าคูหากาเพื่อเธอ #เข้าคูหากาให้แม่ยายผมด้วยนะครับ ทั้งใน Twitter และ Facebook เลยทีเดียว.

]]>
1198070
เคาะเม็ดเงินโฆษณาปี 61 ไม่ร้อนแรง คาดโต 4% แตะ 1.2 แสนล้าน ทีวีช่องหลักพาเหรดขึ้นค่าโฆษณา https://positioningmag.com/1159256 Tue, 27 Feb 2018 23:15:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159256 สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงปิดตัวต่อเนื่อง ถึงคิวของ โจ-ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์” เตรียมปิดบริษัทสื่อรวด ทั้งออนไลน์และออฟไลน์หลังจากซื้อกิจการมาได้ 3 ปี

ลองมาดูภาพรวมการใช้เงินโฆษณาที่ใช้ในปี 2561 โดยสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ได้ออกมาคาดการณ์การใช้สื่อในปี 2561 จะเติบโต 4% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 120,912  ล้านบาท

ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (Media Agency Association of Thailand: MAAT) บอกว่าปี 2561 ปีนี้ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาดีขึ้น ปัจจัยบวกมาจากเศรษฐกิจโดรวมดีขึ้น ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นกับการจับจายมากขึ้น มีสินค้าออกใหม่ออกสู่ตลาด รวมถึงการมีรายการถ่ายทอดกีฬา อย่าง ฟุตบอลโลก เอเชียนเกม เป็นแรงหนุนให้เกิดการซื้อแพ็กเกจโฆษณาเพิ่มขึ้น

ไตรลุจน์ นวะมะรัตน

ถึงแม้ปีนี้จะเติบโต 4% ก็จริง แต่ยังไม่เติบโตเท่ากับในอดีต ในปี 2558 ถือว่า เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตมาก แต่หลังจากนั้นในปี 2559 ติดลบ 10% และปี 2560 ติดลบ 4%

รัฐกร สืบสุข อุปนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ลูกค้าหันมาควบคุมต้นทุนในการซื้อสื่อ ต้องการได้มากขึ้น ซึ่งเป็นแรงกดดันให้สื่อขึ้นราคาลำบาก รวมทั้งการที่ลูกค้ามาซื้อแบบกระจายสื่อมากขึ้น ด้วยการลดซื้อสื่อทีวี หันใช้สื่อชนิดอื่น เช่น สื่อออนไลน์ และสื่อนอกบ้าน เม็ดเงินที่ใช้ไม่มากเท่า “ทีวี” ทำให้งบโฆษณารวมไม่เติบโตมากนัก

รัฐกร สืบสุข

อย่างไรก็ตาม สื่อทีวียังเป็นสื่อหลักครองสัดส่วนโฆษณา 57% เติบโต 4% ในปี 2561 โดยสื่อที่ยังเติบโต คือ สื่ออินเทอร์เน็ต เติบโต 25% มูลค่า 14,722 ล้านบาท ครองสัดส่วนโฆษณา 12% สื่อนอกบ้าน โต 10 % เพราะคนใช้ชีวิตนอกบ้าน สื่อบนรถไฟฟ้า เติบโต 15% จากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า

เช่นเดียวกับสื่อโรงภาพยนตร์ เติบโต 25% สื่อในห้างฯ มีการเก็บตัวเลขเพิ่มเติม จากร้านเซเว่น อีเลฟเว่น แต่ก็เติบโตไม่มาก

ส่วนสื่อที่อยู่ในช่วงขาลง คือ หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน วิทยุ ยังคงติดลบต่อเนื่องตลอด

5 ท็อปทีวีขึ้นค่าโฆษณา

สำหรับ TV Inflation เป็นตัวชีวัดที่ใช้วิเคราะห์ภาพรวมการเปลี่ยนของทีวี  (ราคาโฆษณาที่เปลี่ยนแปลง หารด้วยจำนวนผู้ชมเปลี่ยนแปลง) พบว่า TV Inflation ปี 2561 อยู่ที่ 6% เนื่องจากทีวีดิจิทัล 5-6 ช่องหลัก ได้ขึ้นค่าโฆษณา สวนทางกับคนดูลดลง ส่งผลให้ต้นทุนในการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมมากขึ้น หากต้องการเข้าถึงให้กลุ่มคนดูเท่าเดิม เช่น ใช้เม็ดเงินโฆษณา 100 บาท มูลค่าลดลง 6%

เช่นเดียวกัน สื่อนอกบ้าน ยังมีความต้องการ ราคาจึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ Inflation เพิ่มขึ้น 10% รวมทั้งสื่อออนไลน์ ที่Inflation เพิ่มขึ้น 8%

แต่เมื่อมองภาพรวม ปี 2018 คนดูลดลง แต่ไม่ได้ลดมาก เนื่องจากตลาดค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่ราคาอาจสูงขึ้น ช่องดิจิทัลปรับราคาขึ้น แต่ไม่ต่างจากเดิมมาก เพราะสื่อขาลงก็ไม่ได้ปรับราคา

สรุปเม็ดเงินโฆษณาปี 2560 ติดลบ 4%

สำหรับเม็ดเงินโฆษณาปี 2560 มูลค่ารวม 116,239 ล้านบาท ติดลบ 4% โดยทีวีติดลบ ทั้งช่องเดิมและช่องดิจิทัล เนื่องจากเหตุการณ์เดือนตุลาคม สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน ติดลบ เนื่องจากย้ายแพลตฟอร์มไปออนไลน์  หลาย ๆ เล่มปิดตัวไป

สื่อที่เติบโตดี โรงภาพยนตร์ จากการขยายสาขาเพิ่มขึ้น สื่อนอกบ้าน (Outdoor) สื่อในห้าง (In-Store) ได้เก็บข้อมูลเพิ่มจากสื่อในร้านเซเว่ล อีเลฟเว่น ทำให้ตัวเลขเติบโต

ส่วนสื่ออินเทอร์เน็ต โต 20% มีสัดส่วน 10% ซึ่งถือว่าฐานยังเล็กมาก เพราะเวลานี้ ประเภทอื่นครองสัดส่วน 20-30% ของงบโฆษณา

อุตสาหกรรมไหนใช้เม็ดเงินสูงสุด

กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เงินเยอะ อย่าง รถยนต์ เครื่องดื่ม โทรคมนาคม ปีที่แล้วใช้งบลดลง รวมทั้งกลุ่มสินค้า อุปโภคบริโภค (FMCG) สกินแคร์ ผลิตภัณฑ์ห้องน้ำ สบู่ ยาสีฟัน ลดการใช้งบโฆษณาลงอย่างเห็นได้ชัด หรือแม้แต่สถาบันการเงินก็ใช้เงินทรง ๆ

ในขณะที่ “มีเดีย มาร์เก็ตติ้ง” อย่างไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง ขายสินค้าทางทีวี เติบโตเยอะ เพราะทุ่มโฆษณา จากที่ไม่เคยติดอันดับ ปีนี้ขึ้นมาติดอันดับ 5 สะท้อนภาพการแข่งขันทีวีเปลี่ยนไป แทนที่จะเป็นสินค้าไดเร็คเซลส์เพิ่มมากขึ้น

Top 20 บริษัทใช้งบโฆษณา

ทั้ง ยูนิลีเวอร์ โตโยต้า พีแอนด์จี ล้วนแต่ใช้งบโฆษณาลดลง เอไอเอส ดีแทคใช้เม็ดเงินโฆษณาลดลง เช่นเดียวกับสินค้า FMCG ส่วนรถยนต์ค่อนข้างผสมผสาน บางแบรนด์ใช้เพิ่ม และบางแบรนด์ลดลง

ที่น่าสนใจ บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น เจ้าของกระทะโคเรียคิง ยังใช้เม็ดเงินโฆษณาต่อเนื่อง แต่สะดุดไปบางช่วงเพราะติดเรื่องข้อกฎหมาย

แบรนด์ใช้งบโฆษณา

  • อันดับ 1 กระทะโคเรียคิง โฆษณาออกเกือบทุกวัน แต่การใช้เม็ดเงินจริง ๆ อาจไม่ถึง
  • อันดับ 2 แคมเปญภาครัฐ 
  • อันดับ 3 ทีวีไดเร็ค    
  • อันดับ 4 ​โค้ก

สะท้อนว่า ปัจจุบันการใช้จ่ายโฆษณาในสื่อหลัก ๆ จะเปลี่ยนแปลงไป  ไม่ใช่ธุรกิจโทรคมนาคม ธนาคาร รถยนต์ เหมือนกับในอดีต.

]]>
1159256