เคพีเอ็นกรุ๊ป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 22 Oct 2023 08:07:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเส้นทาง “ณพ ณรงค์เดช” “ธุรกิจ” ชนวนศึกสายเลือด ซ้ำรอยรุ่นใหญ่  https://positioningmag.com/1168525 Sat, 05 May 2018 03:30:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168525 สาวิตรี รินวงษ์

กลายเป็นศึกสายเลือดที่ซ้ำรอยรุ่นใหญ่ไปเสียแล้ว สำหรับตระกูลณรงค์เดชเมื่อดร. เกษม ณรงค์เดช” ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เคพีเอ็น ตามด้วยบุตรชายกฤษณ์กรณ์ ณรงค์เดชประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท เคพีเอ็น ซึ่งทั้งหมดเป็น พ่อ พี่ชายและน้องชาย ที่ออกแถลงการณ์ตัดขาด” ความสัมพันธ์กับณพ ณรงค์เดชลูกชายคนกลาง โดยมีสาเหตุจากปมธุรกิจ 

ที่บอกว่าเป็นสงครามครอบครัวซ้ำรอยเพราะหากย้อนอดีตจะพบว่ารุ่นใหญ่ คือถาวร พรประภาผู้ร่วมสร้างอาณาจักรสยามกลการ ก็มีปัญหาขัดแย้งกับพี่ชายสินธุ์ พรประภาในยุคที่ค้าขายเศษเหล็กและอะไหล่เครื่องยนต์

ถาวร พระประภา

ถัดมารุ่นลูกสาวของถาวรก็คือคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดชผู้เป็นภรรยาดร.เกษมและมารดาของลูกๆ สามทหารเสือณรงค์เดช ก็เคยผ่านจุดร้าวฉานของความสัมพันธ์กับคนในตระกูลมาแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะกับผู้มีศักดิ์เป็นอา ปรีชา พรประภา เนื่องจากความเห็นต่างทางธุรกิจ รวมถึงการมีอำนาจใหญ่ในการกุมบังเหียนธุรกิจยานยนต์ ภายใต้บริษัท สยามกลการ จำกัด ซึ่งประเด็นนี้ถาวร พรประภา ผู้เป็นบิดาของพรทิพย์และเป็นพี่ชายของปรีชา รู้ดีถึงปมปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามปล่อยให้สถานการณ์คลี่คลายไปเอง 

แต่ที่สุด สงครามสายเลือดก็ยังอยู่ และหนักข้อมากขึ้น เพราะธุรกิจที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาทของสยามกลการ ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรที่เคยมีชื่อติดท็อปๆ ในระดับภูมิภาคย่อมมีคนอยากได้และเข้ามานั่งเก้าอี้บริหารเพื่อกุมบังเหียนธุรกิจ

คุณหญิง พรทิพย์ ณรงค์เดช

แน่นอนว่า เลือดข้นกว่าน้ำ ลูกสาวของถาวรก็คือพรทิพย์ ที่ร่วมหัวจมท้ายดูแลธุรกิจครอบครัวเคียงข้างบิดาตั้งแต่อายุ 17-18 ปี รู้ทุกกระบวนการบริหาร การทำธุรกิจ ก็ได้เป็นใหญ่มีอำนาจคุมธุรกิจเบ็ดเสร็จ 

นอกจากศึกสายเลือดอาหลานระหว่างนั้นยังมีสงครามพี่น้องระหว่างพรเทพ พรประภา (น้องชายของคุณหญิงพรทิพย์) กับพรพินิจ พรประภา ด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดล้วนมาจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ” 

พรเทพ พรประภา

เพราะอาณาจักรสยามกลการ คร่ำหวอดในธุรกิจยานยนต์มากมาย ทั้งรถจักรยานยนต์ยามาฮ่ามาจนถึงรถยนต์นิสสัน นอกจากจุดเริ่มต้นของการแย่งอำนาจบริหารธุรกิจของคนในครอบครัวแล้ว การยึด” พันธมิตรทางธุรกิจมาครอบครองเป็นของตัวเอง ก็เป็นชนวนเหตุให้ความร้าวฉานร้าวลึกกว่าเดิม เพราะเมื่อเกษม และคุณหญิงพรทิพย์ ตัดสินใจออกมาสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองในนามเคพีเอ็นลุยธุรกิจยานยนต์เหมือนกัน เพื่อแข่งกับธุรกิจสยามกลการของตระกูลพรประภา เต็มตัว จึงดึงยามาฮ่า มอเตอร์ประเทศญี่ปุ่น มาร่วมทุนโดยตรง 

คุณหญิงพรทิพย์ สมัยบริหารสยามกลการ

นั่นหมายถึงยามาฮ่า มอเตอร์ต้องสะบั้นพันธมิตรเก่า 30 ปี อย่างสยามกลการ พร้อมระบุเหตุผลการเลือกเคพีเอ็นเป็นพาร์ตเนอร์ใหม่และลงทุนในไทยเพราะคุ้นเคยกับคุณหญิงพรทิพย์เกษมดีกว่า ที่สำคัญเชื่อมั่นในศักยภาพของเคพีเอ็นมากกว่าสยามกลการและนำไปสู่การที่ยามาฮ่า มอเตอร์สะบั้นไม่ต่อสัญญาธุรกิจกับสยามยามาฮ่าในเครือสยามกลการในที่สุด

เมื่อดึงธุรกิจยานยนต์จากพรประภามาอยู่ในอ้อมอกอาณาจักรเคพีเอ็นไม่พอ ยังลุยธุรกิจโรงเรียนสอนดนตรีเคพีเอ็น มิวสิค มาทับไลน์กับโรงเรียนสอนดนตรีสยามยามาฮ่ากันอีก เรียกว่าเปิดเกมรบตีโอบสยามกลการทุกทิศทางจริงๆ ทำให้สายเลือดต้องขับเคี่ยวกันระอุกว่าเดิมทั้งการขยายสาขาโรงเรียนในอัตราเร่ง แย่งตัวครูสอนที่ขึ้นชื่อในวงการดนตรี เพลง สุดท้ายนำไปสู่การแย่งนักเรียนที่เป็นลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับอาณาจักรธุรกิจของแต่ละฝั่ง 

จะว่าไปแล้ว ธุรกิจยานยนต์ รวมถึงธุรกิจโรงเรียนสอนดนตรีคุณหญิงพรทิพย์เกษมล้วนมีส่วนทั้งริเริ่ม และทำให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปร่าง เมื่อลงมือสร้างมากับมือ บริหารจนรู้กลยุทธ์ การทำตลาดแบบหมดไส้หมดพุง จึงไม่แปลกที่จะแตกตัว ออกมาสร้างอาณาจักรเอง กลับไปแข่งขัน

นั่นเป็นบทสรุปคร่าวๆ ของศึกสายเลือดรุ่นใหญ่ ทว่าความร้าวฉานของคนในครอบครัวที่ออกมาสาวไส้ให้กากินเบาๆ ของรุ่นพ่อลูกเกษมกฤษณ์กรณ์กับณพ  ก็ไม่ต่างจากรุ่นเดอะ เมื่อผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจ เป็นปมปัญหาจากการซื้อขายหุ้น การเข้าไปบริหาร และการทำธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดกับบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH)” ถึงขั้นพ่อลูกณรงค์เดช ร่อนแถลงการณ์ร้อน!” ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการทำของณพ ที่เกิดใน WEH จนทำเอาสังคมต๊กกะใจ! ไม่เอาณพเพราะต้องยอมรับว่าหากใครตามติดสามพี่น้องณรงค์เดชต้องบอกว่าดูรักกันมาก ยิ่งถ้าได้พูดคุยกับ 3 หนุ่ม จะได้สัมผัสกับบุคลิกที่นุ่มนวล 

ส่วนเรื่องธุรกิจ หลังสิ้นหญิงเหล็กแห่งวงการธุรกิจคุณหญิงพรทิพย์แล้ว จะเห็นชัดว่าลูกๆ ทั้ง 3 คนมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบแตกต่างกันไปชัดเจน  

  • คนโตกฤษณ์ดูแลภาพรวมของเครือเคพีเอ็น และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ตระกูลเพิ่งมารุกตลาดจริงจังไม่นานนัก 
  • คนกลางณพดูแลธุรกิจการศึกษา โรงเรียนสอนดนตรี
  • คนเล็กกรณ์ดูแลธุรกิจบันเทิง เคพีเอ็น อวอร์ด 

เมื่อดูเส้นทางของณพกับธุรกิจพลังงานลมยักษ์ใหญ่วินด์ เอนเนอร์ยี่จะพบว่า  

• 2 ปีที่แล้วณพได้ขอความช่วยเหลือจากครอบครัวณรงค์เดช เรื่องจัดหาเงินเพื่อลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ 

• ครอบครัวณรงค์เดชให้ความช่วยเหลือในการให้ยืมเงินสด การให้นำทรัพย์สินของครอบครัวณรงค์เดช และทรัพย์สินอื่นที่ครอบครัวณรงค์เดชจัดหามาไปเป็นหลักประกันในการจัดหาเงินทุนเพิ่มเติม

• เมื่อณพได้รับความช่วยเหลือแล้ว กลับดำเนินการใดๆ โดยใช้ชื่อเสียงของครอบครัวณรงค์เดชไปแอบอ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตนลำพัง ครอบครัวณรงค์เดชไม่ได้รับการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญหลายประการ

ทั้งรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุนในวินด์ เอนเนอร์ยี่ ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือบริหารงานใดๆ ในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการลงทุนที่ผ่านมา 

• ณพ  ให้กรณ์” นั่งเป็นกรรมการฯ (บอร์ดบริหาร) ของวินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ แต่ถูกกีดกันไม่ได้รับรู้รายละเอียด หรือร่วมตัดสินใจในการดำเนินการใดๆ จนต้องตัดสินใจลาออกจากการเป็นบอร์ด 

• ข่าวของณพกับ วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ ครอบครัวณรงค์เดช ก็รู้จากข่าวเหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป 

ส่วนลำดับเหตุการณ์ซื้อขายโอนหุ้น วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ฯ มีดังนี้ 

• ปี 2558 บริษัทซิมโฟนี่ พาร์ทเนอร์ ลิมิเต็ด (เอสพีแอล) บริษัทเน็กซ์ โกลบอล อินเวสต์เมนท์ส ลิมิเต็ด (เอ็นจีไอ) และ บริษัท ไดนามิค ลิ้งค์ เวนเจอร์ส ลิมิเต็ด (ดีแอลวี) ขายหุ้น 99% ของหุ้นในบริษัทเคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด (เคพีเอ็น อีที) (ขณะนั้นชื่อบริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอยี คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด และถือหุ้นในวินด์ เอนเนอร์ยี่ในสัดส่วน 59.4%) ในราคาตามสัญญาทั้งสิ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดชำระเงินหลายงวด 

ส่วนผู้ซื้อหุ้นดังกล่าวคือบริษัท ฟูลเลอร์ตัน อินเวสต์เมนต์ จำกัด (ฟูลเลอร์ตัน) และบริษัทเคพีเอ็น เอนเนอยี โฮลดิ้ง จำกัด (เคพีเอ็น อีเอช) ซึ่งทั้งสองบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทกระดาษ มีณพเป็นเจ้าของและมีอำนาจควบคุม ฟูลเลอร์ตันและเคพีเอ็น อีเอชได้ชำระค่าหุ้นงวดแรกเป็นเงินเพียงประมาณ 90 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนำมาจากการออกตั๋ว B/E กระทั่งปี 2559 ไม่มีการต่ออายุตั๋ว ทำใหณพไปยืมเงินจากครอบครัวเพื่อมาชำระหนี้ตั๋ว B/E  

อย่างไรก็ตาม เมื่อฟูลเลอร์ตันและเคพีเอ็น อีเอชไม่ชำระค่าหุ้นงวดแรกให้ครบถ้วน เอสพีแอล เอ็นจีไอ และดีแอลวีจึงได้ดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการของไอซีซี

• ในกระบวนการของอนุญาโตตุลาการ เอสพีแอล เอ็นจีไอ และ ดีแอลวี ได้เรียกร้องให้มีคำชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (1) ให้ยกเลิกการขายหุ้นระหว่างเอสพีแอลกับฟูลเลอร์ตัน หรือ (2) ให้มีการชำระเงินที่ต้องชำระเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย ในเดือนกันยายน 2560 คณะอนุญาโตตุลาการของไอซีซีได้สั่งให้เคพีเอ็น อีเอชและฟูลเลอร์ตันชำระเงินจำนวนประมาณ 113 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับยอดเงินงวดแรกส่วนที่เหลือของราคาตามสัญญาและดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าว และได้สั่งมีคำสั่งห้ามการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นของวินด์ เอนเนอร์ยี่ในสัดส่วนร้อยละ 59.4 ซึ่งเคพีเอ็น อีทีเป็นเจ้าของ จนกว่าจะได้มีการชำระเงินตามสัญญาจนครบถ้วน โดยระบุว่าการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นดังกล่าวน่าจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงซึ่งอันไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้

• เอสพีแอล เอ็นจีไอ และดีแอลวีได้มีคำขอเป็นหนังสือให้ฟูลเลอร์ตันและเคพีเอ็นอีเอชชำระเงินตามคำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการของไอซีซี แต่ฟูลเลอร์ตันและเคพีเอ็น อีเอชก็ยังปฏิเสธที่จะชำระเงิน ตามข้อเรียกร้อง โดยหน่วงเหนี่ยวการตอบข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นเวลากว่า 30 วัน  

• เดือนกันยายน 2560 คณะอนุญาโตตุลาการของไอซีซีได้มีคำสั่งห้ามโอนหุ้น 59.4% ของวินด์ เอนเนอร์ยี่ ฟูลเลอร์ตันและเคพีเอ็น อีเอชยังถูกสั่งให้เปิดเผยข้อเท็จจริงว่า เคพีเอ็น อีทียังเป็นเจ้าของหุ้นของ วินด์ เอนเนอร์ยี่อยู่หรือไม่ แต่ปลายเดือนตุลาคม 2560 กลับพบว่าทั้ง 2 บริษัทโอนหุ้นดังกล่าวไปยังบุคคลที่สามตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2559  โดยไม่เผยชื่อผู้รับโอน

• อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวทำให้เอสพีแอล เอ็นจีไอ และดีแอลวีต้องให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนในวงจำกัดเพื่อแจ้งต่อสาธารณชนเกี่ยวกับคำสั่งห้ามโอนหุ้น 59.4% ของ วินด์ เอนเนอร์ยี่ และเสนอเงินจูงใจให้แก่บุคคลใดก็ตามที่ที่มีข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานะของหุ้นดังกล่าว (วันที่ 11 พฤศจิกายน 2560) หลังจากนั้นไม่นาน เอสพีแอล เอ็นจีไอ และดีแอลวีก็ได้รับรู้ถึงตัวของผู้รับโอนหุ้น

ขั้นต้นของหุ้นร้อยละ 59.4 ของ วินด์ เอนเนอร์ยี่ว่าเป็นดร.เกษม ณรงค์เดชบิดาของณพโดยไม่กี่วันก่อนมีการโอนหุ้นให้ดร.เกษมกรรมการจำนวน 5 คนของ เคพีเอ็น อีที ได้แก่ “นายณพ ณรงค์เดช, นายธันว์ เหรียญสุวรรณ, นาย กฤษณ์ ณรงค์เดช, นายณัฐวุฒิ เภาโบรมย์ และนายอมาน ลาคานีได้ลาออก และมีกรรมการใหม่ 3 มาแทนที่  

• ขณะที่ราคาขายหุ้นของวินด์ เอนเนอร์ยี่ที่เคพีเอ็น อีทีขายให้แก่นายเกษม ณรงค์เดชนั้น คิดเป็นสัดส่วน 10% ของราคาที่ซื้อมาแต่แรก (2,400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ)  

• เอสพีแอล เอ็นจีไอ และดีแอลวี ต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ฟูลเลอร์ตันและเคพีเอ็น อีเอชมีเงินทุนชำระแล้วในจำนวนที่จำกัดมาก (50,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับทุนเรือนหุ้นของฟูลเลอร์ตัน และ 2.5 ล้านบาทของเคพีเอ็น อีเอช

• เอสพีแอล เอ็นจีไอ และดีแอลวี ดำเนินการฟ้องร้องณพและพวกอีก 13 คน ฐานความผิดโกงเจ้าหนี้ และณพยังได้แจงผ่านสื่อจะฟ้องกลับกับผู้ที่ทำให้ตนและครอบครัวณรงค์เดชฐานให้ข้อมูลเท็จและสร้างเรื่องให้เป็นข่าว สร้างความเสียหายให้กับครอบครัว 

สำหรับเคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น ปัจจุบันรายงานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยังพบรายชื่อณพนั่งเป็นกรรมการ (บอร์ดอยู่ และในปี 2559 บริษัทมีการรายงานรายได้รวมกว่า 1,400 ล้านบาท ขาดทุนกว่า 6 แสนกว่าบาท แต่หากดูรายได้รวมที่กลุ่มประกาศให้สาธารณชนทราบ เมื่อปี 2556 จะพบว่าขุมทรัพย์องค์กรใหญ่และมีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท

]]>
1168525