จับมือข้ามสายธุรกิจผ่านโปรเจ็กต์พิเศษ “แสนสิริ x บาร์บีคิวพลาซ่า กระจายความสุข” มีโปรโมชันร่วมแบบไขว้กัน เช่น ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมโครงการแสนสิริและถ่ายภาพกับบาร์บีกอนที่โครงการ รับวอชเชอร์ไปแลกเป็นชุดหมูพิเศษ ‘แสนสิริ มงGON
ทั้งคู่ออกสินค้าใหม่ร่วมกัน 2 ชุด คือ “ชุดหมูเบทาโกร x บาร์บีกอน” และ “ชุดหมูเอสเพียว x บาร์บีกอน” เป็นเนื้อหมูสดสำหรับปิ้งย่าง มาพร้อมน้ำจิ้มบาร์บีคิวพลาซ่า จำหน่ายในโมเดิร์นเทรด สัญญาชุดนี้ฟู้ดแพชชั่นจะได้ส่วนแบ่งเป็นค่า GP
โครงการเพื่อสังคมจัดอบรมทำเบเกอรี่สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน ช่วยให้คนมีอาชีพเสริม โครงการรับทั้งหมด 6,000 คน (เฉพาะ 3,000 คนแรกที่ได้รับคัดเลือก KCG จะจัดส่งวัตถุดิบฝึกทำเบเกอรี่ไปให้ด้วย)
สร้างความว้าวให้ขนมขบเคี้ยว โดยจับมือกับ บริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์ โรลเลอร์ โคสเตอร์ ออกรสใหม่ 2 รส คือ รสบาร์บีคิว สูตรดั้งเดิม และรสน้ำจิ้มบาร์บีคิว พลาซ่า สูตรเผ็ด พร้อมคาแรกเตอร์พี่ก้อนบนหน้าซอง
สรุป : เห็นได้ว่าคาแรกเตอร์ที่แข็งแรงอย่าง “บาร์บีกอน” สามารถไปปรับใช้กับสินค้าได้หลากหลาย และฟู้ดแพชชั่นพลิกแพลงการเป็นพันธมิตรได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การทำโปรโมชันร่วม ออกสินค้า จนถึงการทำโครงการเพื่อสังคม เป็นมิติใหม่ของการแตกไลน์ธุรกิจที่น่าจับตามอง
]]>ปีที่ผ่านมาเครือเบทาโกรมีรายได้ราว 7.9 หมื่นล้านบาท จาก 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. กลุ่มธุรกิจอาหาร 2. กลุ่มธุรกิจยาและอาหารสัตว์ หรือสินค้าเกี่ยวเนื่อง 3. กลุ่มธุรกิจการลงทุนในต่างประเทศ ใน 3 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา, สปป.ลาว และกัมพูชา 4. กลุ่มธุรกิจอื่นๆ
สมศักดิ์ บุญลาภรอง กรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจอาหารเครือเบทาโกร ระบุว่า ทุกปีเครือเบทาโกรจะใช้งบลงทุนราว 4,000 – 5,000 ล้านบาท โดย 2 – 3 ปีก่อนหน้านี้เน้นลงทุนในต้นน้ำ หรือฟาร์มเลี้ยงต่างๆ ซึ่งเริ่มเก็บเกี่ยวรายได้บ้างแล้ว
ส่วนปีนี้เน้นกลาง – ปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานแปรรูปไก่สด หรือร้าน BETAGRO Shop โดยจะขยาย 10 สาขา เมื่อถึงสิ้นปีจึงมี 200 สาขาทั่วประเทศ
การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายสนับสนุนธุรกิจอาหารเป็นหลัก ซึ่งทำรายได้กว่า 4.9 หมื่นล้านบาทในปีที่ผ่านมา เติบโตประมาณ 12% โดยปีที่ผ่านมากระตุ้นยอดขายผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ทั้งไส้กรอก – ผลิตภัณฑ์เอสเพียว – การส่งออก
ปีที่ผ่านมา “เครือเบทาโกร” อัดงบการตลาดกว่า 140 ล้านบาท ดึง “พี่โป๊ป–ธนวรรธน์” เป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรก เพื่อเน้นทำตลาดไส้กรอกเกรดพรีเมียมและ A โดยเฉพาะไส้กรอกรมควัน และท้าชิงกับ “เครือซีพี” ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 30% ครองเจ้าตลาด ส่วนเบทาโกรครองอันดับ 2 ส่วนแบ่ง 15%
สมศักดิ์ระบุว่าการใช้ “พี่โป๊ป” สำเร็จเกินคาด เพราะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคจากที่มีแค่ “คุณภาพ และ ความปลอดภัย” ได้เติม “ความอร่อย” เข้ามา โดยสามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ไส้กรอกรมควันในตลาดได้ถึง 93%
อีกทั้งยังสร้างการบริโภคเป็นประจำเพิ่มสูงถึง 45% จากเดิมมีเพียง 18% (ผลการวิจัยผู้บริโภค 300 คน โดยวัดจากการรับประทานสินค้าทุก 1 สัปดาห์เป็นประจำ) ช่วยดันยอดขายเพิ่มเฉพาะกลุ่มไส้กรอกสูงถึง 10% โดยที่ไส้กรอกกลุ่มพรีเมียมและเกรด A เติบโตถึง 15%
ด้วยเหตุนี้เองในปีนี้จึงตัดสินใจใช้ “พี่โป๊ป” เป็นพรีเซ็นเตอร์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แต่เปลี่ยนมาโปรโมต “ไส้กรอกชีส” ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ออกไปแล้ว 6 รสชาติ แต่มีแผนจะออกให้มากกว่านี้ พร้อมกับวางแผนเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ผ่านร้าน BETAGRO Shop และรถเข็นกว่า 1,500 คัน
ผลิตภัณฑ์เอสเพียวเดิมมีเพียงเนื้อไก่อย่างเดียว แต่ในปีที่ผ่านมาเพิ่มหมูและไข่ทำให้สินค้าครบไลน์และการที่ได้รับการรับรองโดย NSF ในเรื่องสินค้าไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในขั้นตอนการเลี้ยง หรือ RWA (Raised Without Antibiotics)
การเน้นโปรโมตเรื่องนี้ส่งผลให้แบรนด์เอสเพียวเติบโต 17% ในขณะที่ตลาดสินค้าพรีเมียมเติบโตเพียง 10% และช่วยสร้างการรับประทานเป็นประจำเพิ่มจาก 20% เป็น 31%
โดยในปีนี้ได้ออกสินค้าใหม่ไส้กรอกพรีเมียมสไตล์โฮมเมด ที่ผลิตจากเนื้อหมูเอสเพียว โดยเริ่มจำหน่ายแล้ว 6 สาขา รวมทั้งตั้งเป้าขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าเอสเพียวผ่าน Antibiotic Free Zone ในร้าน BETAGRO Shop กว่า 49 สาขา
และผลักดันสู่ทุกสาขาของร้าน BETAGRO Shop ทั่วประเทศ ในปี 2020 ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปของเบทาโกรถือครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 15% มูลค่าราว 4,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเติบโต 15%
ในส่วนของการส่งออกตอนนี้มีที่ตะวันออกกลางและตลาดยุโรปในรูปแบบ OEM และภายใต้ตราสินค้าเอสเพียว ไปยังประเทศฮ่องกง ซึ่งสินค้ากลุ่ม RWA (Raised Without Antibiotics) ช่วยให้ยอดโต 14%
ปี 2019 เชื่อว่าตลาดส่งออกยังเป็นไปในทิศทางที่ดี จึงตั้งเป้าปริมาณการส่งออกทั้งหมดในปีนี้กว่า 97,580 ตัน ตั้งเป้าเติบโต 12% ในปีนี้โดยผลิตภัณฑ์หลักยังคงเป็นไก่ปรุงสุกแช่แข็งและไก่สดแช่แข็ง
นอกจากนั้นยังวางแผนบุกประเทศญี่ปุ่นโดยลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่ 600 ล้านบาทสำหรับผลิตอาหารเพื่อป้อนร้านสะดวกซื้อ เช่น ไก่เสียบไม้ย่างถ่าน ซึ่งมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงวางแผนขยายไปยังสิงคโปร์ด้วย
ขณะเดียวกันเครือเบทาโกรได้สนใจ “อาหารพร้อมรับประทาน” หลังจากพบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคสนใจมากขึ้น เพราะต้องการความสะดวกและรวดเร็ว และความหลากหลายของอาหาร ในปีที่ผ่านมาจึงใช้งบกว่า 750 ล้านบาท ลงทุนก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมอาหารเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือ Betagro Central Kitchen นวนคร
ปัจจุบันมีกำลังการผลิตราว 240 ล้านตันกว่า ใน 6 หมวดสินค้า ได้แก่
“ตอนนี้ได้เพิ่มกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้ครบตามกำลังสูงสุด 8,000 ตันต่อปี ซึ่งหากครบคาดว่าจะช่วยเพิ่มยอดขายในส่วนของอาหารแปรรูป และพร้อมรับประทานได้อีกราว 17 %”
สำหรับกลุ่มธุรกิจอาหารในปี 2019 ตั้งเป้ารายได้ 53,000 ล้านบาท เติบโต 15%
]]>ทีเอ็มบี เปิดตัวโครงการ “TMB Efficiency Improvement for Supply Chain” มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผู้ประกอบการและยกระดับซัพพลายเชน เปิดรุ่นที่ 1 สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดยร่วมมือกับเครือเบทาโกร ที่พร้อมแชร์ประสบการณ์และกรณีศึกษา เน้นการเรียนรู้จริง นำไปใช้ได้จริง เพิ่มประสิทธิภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาแบบซัพพลายเชน และสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายธุรกิจเดียวกัน ต่อยอดด้วยกิจกรรมเสริมความรู้ การให้คำปรึกษา เชื่อมั่นเป็นจุดเริ่ม ”ซัพพลายเชนคอมมูนิตี้” ของประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน ดึงซัพพลายเชนและผู้ประกอบการทั่วไปที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เข้ารับการเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “สืบเนื่องจากการที่ธนาคารได้นำหลักการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มคุณภาพบริการให้ดีขึ้น อย่าง Lean Six Sigma เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบทั้งองค์กรตั้งแต่ปี 2553 ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to income ratio) ของธนาคารลดลงประมาณ 22% และทำให้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น บริการ No-Slip ที่ธนาคารยกเลิกการกรอกใบสลิปที่ใช้ในการฝากถอนภายในสาขาของธนาคารเป็นธนาคารแรก ซึ่งทำให้ลูกค้าสะดวกมากขึ้น แต่นอกจากการพัฒนาภายในของธนาคารแล้ว ทาง TMB ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพตลอดทั้งซัพพลายเชนของผู้ประกอบการ ที่จะสามารถเพิ่มการแข่งขันได้มากกว่าแค่การพัฒนาตนเอง ทาง TMB จึงได้จัดตั้งโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประสิทธิภาพตลอดซัพพลายเชน โดยทางธนาคารได้มีการปรับหลักสูตรและองค์ความรู้ของธนาคารที่ใช้ในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ได้กับผู้ประกอบการในธุรกิจอื่นๆ ซึ่งประยุกต์ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ใช้ได้ผลจริง
“เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย มีสัดส่วน GDP 16.7% เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ หรือ มีมูลค่าประมาณ 1.86 ล้านล้านบาท แต่ต้นทุนของอุตสาหกรรมอาหารสูงถึง 72% ดังนั้นถ้าอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนแค่เพียง 1% ก็จะสามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มที่อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมแรก และมีแผนที่จะขยายโครงการไปยังอุตสาหกรรมอื่นในอนาคต” นายบุญทักษ์กล่าว
นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือเบทาโกร กล่าวว่า เครือเบทาโกร ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจร ได้ให้ความใส่ใจในเรื่อง “คุณภาพ” เป็นสิ่งเป็นสำคัญ โดย เบทาโกรมุ่งเน้นการสร้างองค์กรสู่วัฒนธรรมแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพ ที่นำระบบการจัดการและเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มคุณภาพผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น เบทาโกร ได้พัฒนา TPm (Total Productivity management) จากบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศญี่ปุ่น มาประยุกต์ใช้เป็น Betagro TPm เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ในธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารตลอดทั้งซัพพลายเชนได้อย่างเหมาะสม โดยช่วยเพิ่มคุณภาพสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานในเครือเบทาโกรให้ดีมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการและเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าตลอดทั้งซัพพลายเชน
“สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของเครือเบทาโกร เราตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้า ซึ่งอยู่ในซัพพลายเชนเดียวกัน และนำความรู้และประสบการณ์ที่เราทำสำเร็จ ไปช่วยพัฒนาให้กับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ทั้งในธุรกิจอาหารสัตว์ และธุรกิจอาหาร ตั้งแต่เรื่องของการผลิตอาหารสัตว์ การพัฒนาพันธุ์และระบบการเลี้ยงสัตว์ การผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้บริโภค การขายและการตลาด ตลอดไปจนถึงลูกค้าซึ่งเป็น ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ตลาดสด ฯลฯ สำหรับโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain ผมมั่นใจว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร และจะมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของไทยให้มีมาตรฐานและคุณภาพ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคในทุกขั้นตอนการผลิต” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือเบทาโกร กล่าว
ทีเอ็มบี และเครือเบทาโกร จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เข้าร่วมโครงการ TMB Efficiency for Supply Chain โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยหลักสูตรนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร (SIIT) เข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรด้านซัพพลายเชนที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2556
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02-299-2250, 02-299-1855 email : [email protected]
website : www.tmbbank.com/business
และ Facebook : TMB Efficiency Improvement for Supply Chaii
ไข่ไก่ ก็เป็นสินค้าที่สะท้อนความเป็นแบรนด์เจ้าของสินค้าได้เช่นกัน เช่นเดียวกับที่บริษัทเบทาโกรใช้ไข่ไก่ออร์แกนิกขายปลีกใบละ 9 บาท แบรนด์ S-Pure มาลงตลาดไข่ไก่บ้านในช่วงนี้
แบรนด์ S-Pure คือสินค้าระดับพรีเมียมของเครือเบทาโกร จะเกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าปลอดสารพิษ สินค้าในไลน์นี้ที่รู้จักกันดีคือเนื้อหมู S-Pure และเป็นสินค้าหลักที่จับกลุ่มลูกค้าห่วงใยสุขภาพมาตลอด แน่นอนว่าสินค้าที่มีแบรนด์ S-Pure ติดอยู่คือการบ่งบอกว่าสินค้าปลอดสารพิษ มาจากธรรมชาติ และสุดท้ายที่ตอกย้ำคือ ราคาแพงกว่า
วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจเครือเบทาโกร บอกว่า ไข่ไก่ S – Pure เป็นการร่วมทุนกับบริษัท โนซาน คอร์เปอเชั่น (Nosan Corporation) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประสบการณ์ด้านไข่พรีเมียมที่ดีที่สุดในญี่ปุ่นกว่า 30 ปี และมีแบรนด์ไข่ไก่เสริมไอโอดีน Hikari จำหน่ายในญี่ปุ่นอยู่แล้ว
ไข่ไก่ S-Pure พร้อมกับแนวคิด “A Chilled Egg a day keeps the doctor away” เน้นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมสื่อสารถึงคุณประโยชน์ของไข่ไก่ ที่มีเอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) เป็นไขมันชนิดดี จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และใช้พรีเซ็นเตอร์ตัวแทนของคนเมืองรุ่นใหม่อย่าง บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ และครอบครัว เพราะเป็นครอบครัวคนรุ่นใหม่ที่อบอุ่น ใส่ใจสุขภาพแบบ Prevention และมีบุคลิกลักษณะที่ตรงกับ Branding ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ S-Pure
วสิษฐ บอกด้วยว่า เบทาโกรจะเป็นที่ 1 ในตลาดไข่ไก่พรีเมี่ยมภายในปี 2555 ด้วยยอดขาย 600-700 ล้านบาท โดยไข่ไก่พรีเมียมคิดเป็นสัดส่วนราว 10% ของตลาดไข่ไก่รวม ขณะนี้เบทาโกร มีส่วนแบ่งตลาดไข่ไก่ 35% เป็นอันดับ 2 รองจากไข่ไก่ซีพี ซึ่งปัจจุบันเครือเบทาโกรผลิตไข่ไก่ 15% ของการผลิตไข่ไก่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 30 ล้านฟองต่อวัน หรือราว 10,000 ล้านฟองต่อปี
ส่วน สุพัฒน์ ศรีธนาธร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด บอกว่า ตลาดไข่ไก่พรีเมียมน่าสนใจ เนื่องจากเป็นเซ็กเมนต์ที่น่าสนใจและมีศักยภาพ เพราะผู้บริโภคพรีเมียมใส่ใจในสุขภาพและยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
น่าจะแปลความหมายได้ว่า ไม่ปล่อยให้เบทาโกรครองตลาดนี้คนเดียว
ระหว่างนี้ S – Pure ของเบทาโกร ก็ยึดครองลูกค้ากลุ่มนี้ไปก่อน พร้อมๆ กับสร้างแบรนด์ S-Pure ให้เป็นสินค้าพรีเมียมแบบครบวงจร
S-Pure Egg | |
Official Launch | มีนาคม 2554 แต่วางจำหน่ายตั้งแต่ กันยายน 2553 |
Positioning | ไข่ไก่พรีเมียม |
Product Details | จำหน่ายฟองละ 9 บาท |
Target | ครอบครัวรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ |
Strategy | ใช้บุรินทร์ วงศ์สงวน เป็นพรีเซ็นเตอร์ และสื่อสารผ่าน Selective Channels Competitors ไข่ไก่โอเมก้าด๊อกเตอร์เฮนน์ ไข่ไก่โอเมก้าซีพี และไข่ไก่ออร์แกนิกของเนเชอรัลแอนด์พรีเมียม ฟู้ด ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 5-7 บาท |
นายจารุพงศ์ พลเดช (ที่ 5 จากขวา) ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธีส่งมอบครัวคุณภาพ แห่งที่ 40 ให้กับโรงเรียนอนุบาลพัฒนานิคม พร้อมทั้งรับมอบ 40 ครัวโรงเรียนที่ได้รับการปรับปรุง ตามโครงการ “ครัวคุณภาพ เพื่อคุณภาพชีวิต” โดยเครือเบทาโกร ให้กับ จ.ลพบุรี โดยมี นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ (ที่ 4 จากขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร เป็นตัวแทนส่งมอบ เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงเรียนอนุบาลพัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
ในภาพ จากซ้าย 1.นส.พ. นพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาธุรกิจ เครือเบทาโกร, 2.นายมานพ ษมาวิมล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2, 3.ว่าที่ ร.ต. ดร. อานนท์ สุขภาคกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2, 4.นายจารุพงศ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี, 5.นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร, 6.นายจักรพงษ์ เปี่ยมเมตตา นายอำเภอพัฒนานิคม, 7.นายสมชาย เลี่ยวชวลิต เลขานุการสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร, 8.นายล้วน กองแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพัฒนานิคม
ดร.วัลลภ สุวรรณดี (ขวา) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบโล่สัญลักษณ์เนื้อสัตว์คุณภาพ ให้กับ น.สพ.นพพร วายุโชติ (ซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร ในโอกาสที่เครือเบทาโกร เข้าร่วมโครงการ “การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” เป็นรายแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค รวมทั้งยกระดับมาตรฐานการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารของประเทศไทย โดยส่งมอบในพิธีลงนามความร่วมมือ “การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับเนื้อสัตว์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” โครงการต่อเนื่องเพิ่มเติม และแถลงข่าวเปิดตัวการตรวจสอบย้อนกลับผ่านโทรศัพท์มือถือ เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ดร. ชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานมูลนิธิสายธาร นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ (ซ้าย) รองประธานมูลนิธิสายธาร นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ (ที่ 4 จากซ้าย) รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายสมดี คชายั่งยืน นายอำเภอชัยบาดาล (ที่ 4 จากขวา) และ นายจักร์พงษ์ เปี่ยมเมตตา นายอำเภอพัฒนานิคม (ที่ 3 จากขวา) เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบทุนการศึกษาของมูลนิธิสายธาร โดยการสนับสนุนของเครือเบทาโกร ประจำปี 2551 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส ในพื้นที่ จ.ลพบุรี จำนวน120 คน เป็นเงินทั้งสิ้น 400,000 บาท เมื่อเร็วๆนี้ ที่ป่าสัก ฮิลล์ไซด์ รีสอร์ท จ.ลพบุรี
ประเดิมตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ ดอนเมือง เป็นครั้งแรก กับการควบคุมอุณหภูมิของตลาดด้วยแนวคิดจากระบบควบคุมอากาศโรงเรือนไก่และสุกร ด้วยการพัฒนาระบบถ่ายเทความเย็น Cooling Ventilation พร้อมนวัตกรรมเครื่องควบคุมอุณหภูมิอากาศ “เวนเทค” จากเบทาโกร เจ้าของรางวัลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 50 จาก สวทช. พร้อมใช้กับตลาดอีกหลายแห่งเร็วๆนี้
น.สพ.นพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร ผู้นำด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัท บี.อินเตอร์เนชั่นแนล แอนด์ เทคโนโลยี่ จำกัด ในเครือเบทาโกร ได้คิดค้นพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน เพื่อใช้ในโรงเรือนไก่และสุกรระบบปิด ที่เรียกว่า คูลลิ่ง เวนติเลชั่น (Cooling Ventilation) เพื่อเลี้ยงไก่และสุกรให้คุณภาพ ปราศจากโรค และเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งทำงานพร้อมกับเครื่องควบคุมอุณภูมิ หรือ “เวนเทค” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จาก สวทช. เมื่อปี 2550 โดยล่าสุด เครือเบทาโกร ได้นำแนวคิดและเทคโนโลยีดังกล่าว นำมาปรับใช้กับตลาดสด โดยร่วมมือกับตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ ดอนเมือง โดยคุณปริญญา ธรรมวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ ตลาดยิ่งเจริญ เพื่อให้พื้นที่ในตลาดกว่า 2,000 ตร.ม. มีอุณหภูมิที่เย็นสบาย คงที่ ซึ่งจะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้เดินตลาด รวมถึงความสะอาด และการเก็บรักษาสินค้าได้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ตลาดสดได้มีการใช้ระบบควบคุมอากาศดังกล่าว
“ที่มาของการนำเทคโนโลยี เนื่องมาจากปัญหาของตลาดสดที่เราพบเห็นอยู่เสมอนั่นคือ ความร้อน ความแออัด ความชื้น และกลิ่น ทำให้คนส่วนรู้สึกว่าตลาดสดเป็นสถานที่ที่ไม่สะอาดทั้งๆที่เป็นสถานที่ของอาหารที่เราต้องรับประทานเข้าไป ดังนั้นเราจึงมองว่าระบบอุณหภูมิน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัฐหาดังกล่าวได้ ประกอบกับการที่เราได้พัฒนาระบบอากาศในโรงเรือนระบบปิด ซึ่งน่าจะใช้แนวคิดเดียวกันได้ จึงเกิดเป็นความร่วมมือครั้งนี้ขึ้น” น.สพ.นพพรกล่าว
โดยหลักการทำงานสำคัญก็คือการสร้าง วินด์ ชิลล์ (Wind chill) หรือลมที่พัดภายในบริเวณตลาดตลอดเวลา ใช้รูปแบบทางเทคโนโลยีดึงอากาศมาทำเป็นลมเย็นเพื่อไล่ลมร้อนหรืออากาศร้อนออกไปจากบริเวณตลาด รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ให้เหมาะสม และคงที่ ไม่ว่าอากาศจากภายนอกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม
“เราใช้เวลาในการศึกษา ดูงาน และติดตั้ง ซึ่งใช้เวลาไปกว่า 4 เดือน ผ่านการคำนวณ วัดความเร็วลม อุณหภูมิและความชื้น หรือแม้แต่การออกแบบรูปทรงของท่อส่งถ่ายอากาศ รวมถึงการติดตั้งระบบสร้างความเย็น หรือ Cooling Unit จำนวน 15 จุด ซึ่งผลการตอบรับจากผู้ใช้บริการค่อนข้างดี ทั้งพ่อค้า แม่ค้า รวมผู้ที่มาจ่ายตลาดต่างก็มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะอากาศเย็นขึ้น และประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างก็คือช่วยลดการใช้พลังงานมากกว่าการติดแอร์ ถึง 5 เท่า โดยนอกจากตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ ดอนเมือง ขณะนี้ บริษัทฯยังอยู่ในระหว่างการเจรจาที่จะนำระบบนี้ไปใช้ในตลาดอื่นๆเพิ่มเติมต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้บริโภคที่เดินตลาดสดได้มีตลาดสดที่มีคุณภาพ และสะอาดมากขึ้น” น.สพ.นพพร กล่าวในตอนท้าย
น.สพ.นพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร ผู้นำด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารครบวงจร นำทีมพนักงาน ร่วมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและคนชรากว่า 200 คนที่ศูนย์วาสนะเวศม์ สถานสงเคราห์คนชรา จ.อยุธยา เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ พร้อมทั้งเลี้ยงอาหารกลางวัน และมอบเงินสมทบทุนที่ได้จากการจำหน่ายเสื้อสงกรานต์ภายในองค์กรให้กับศูนย์ดังกล่าว เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศูนย์วาสนะเวศม์ จ.อยุธยา
คณะผู้บริหารเครือเบทาโกร นำโดย ดร.ชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์ (ที่ 6 จากซ้าย) ประธานกรรมการ และ ดร.ถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ (ที่ 8 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมพิธีส่งมอบโรงเรือนสุกรขุนระบบปิด ให้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร.ประพันธ์ โอสถาพันธ์ (ที่ 9 จากซ้าย) คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบ โดยเป็นโรงเรือนสุกรขุนขนาด 300 ตัว เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฎิบัติงานในสถานที่จริง โดยทำพิธีส่งมอบไปเมื่อเร็วๆนี้ ที่มหาวิทยาลัย แม่โจ้ จ.เชียงใหม่