เจ๊ติ๋ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Apr 2019 10:40:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” โอดทำ ‘ทีวีดิจิทัล’ ต้องขายบ้าน 6 หลัง รายได้หดปีละ 900 ล้าน เหลือ 40 ล้าน ลุ้น กสทช. ไกล่เกลี่ยค่าเสียหาย https://positioningmag.com/1227396 Mon, 29 Apr 2019 14:12:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1227396 บนเส้นทางธุรกิจทีวีดิจิทัลของ “พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย” หรือ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” นับตั้งแต่ชนะประมูลปลายปี 2556 จำนวน 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” มูลค่ารวม 1,976 ล้านบาท เป็นรายแรกที่บอกเลิกประกอบกิจการทีวีดิจิทัล หลังผ่านไป 1 ปีของสัญญา 15 ปี นำไปสู่คดีฟ้องร้อง กสทช. และชนะคดีที่ศาลปกครองกลาง

ในวันที่มีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล โดยยกเว้นการจ่ายเงินค่าประมูลงวดสุดท้ายและค่าเช่าโครงข่ายตลอดอายุใบอนุญาตที่เหลือ พร้อมเปิดโอกาสให้ “คืนช่อง” มาถึงวันนี้ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ก็ยังมีความเคลื่อนไหวกับธุรกิจทีวีดิจิทัลเช่นเดิม โดยเปิดบ้านซอยลาดพร้าว 101 เพื่อให้มุมมองมาตรา 44 ในการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล

แม้จะมีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เปิดทางให้ทีวีดิจิทัล “คืนช่อง” ได้ในวันนี้ แต่ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ก็ย้ำว่า การตัดสินใจเลิกประกอบกิจการทีวีดิจิทัลรายแรก ปล่อยให้จอดำในปี 2558 ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ถูกต้อง เป็นครั้งเดียวในชีวิตที่ตัดสินใจเรื่องใหญ่และตัดสินใจได้ถูกต้องว่าต้องยุติเลือดออก เพราะเห็นแล้วว่าการเข้าไปขอความช่วยเหลือจาก กสทช. ในช่วงนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง”

ต้องบอกว่าการเข้ามาประมูลทีวีดิจิทัลในปลายปี 2556 เป็นความฝันของคนทำคอนเทนต์ที่ต้องการมีสถานีเป็นของตัวเอง เพื่อไม่ต้องเช่าเวลาฟรีทีวีที่ปรับเปลี่ยนผังรายการทุกปีและรายการที่ทำก็อาจหลุดผังได้

ก่อนประมูลทีวีดิจิทัล “ทีวีพูล” เป็นผู้นำข่าวบันเทิงทั้งรายการทีวีและนิตยสารบันเทิง มีรายได้สูงสุด 900 ล้านบาท มีพนักงาน 500 คน นิตยสารทีวีพูล ยอดขายสัปดาห์ละ 3 แสนฉบับ จ่ายค่ากระดาษเดือนละ 30 ล้านบาท

ในวันที่ทำทีวีดิจิทัล เพียงปีแรกทุกอย่างผิดแผน ไม่มีรายได้เข้ามา มีแต่รายจ่าย “เราอยู่ในภาวะเลือดสาดและต้องหยุดเลือด ด้วยการขอเลิกประกอบกิจการ”  

เจ๊ติ๋ม บอกว่าในวันที่ทำทีวีดิจิทัล ต้องขายบ้านที่สหรัฐอเมริกา 4 หลัง บ้านที่อังกฤษ 1 หลัง บ้านที่คู้บอน 1 หลัง เพื่อนำเงินมาใช้ลงทุนทีวีดิจิทัล

มาถึงวันนี้ ทีวีพูลเป็นผู้ผลิตรายการข่าวบันเทิงให้ช่อง 5 และสปริง 26 ทำสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย และนิตยสาร มีรายได้ปีละ 40 ล้านบาท มีพนักงาน 40 คน นิตยสารทีวีพูลปรับจากรายสัปดาห์เป็นรายเดือน มียอดขายหลัก “หมื่นเล่ม” ต่อเดือน

วันนี้ยังรอคอยการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ที่อุทธรณ์คดีเพื่อขอให้ กสทช.จ่ายค่าเสียหายให้ ไทยทีวี ที่ดำเนินการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลผิดพลาด รวมมูลค่า 1,134 ล้านบาท โดยใช้มาตรา 391 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หวังประโยชน์ “ทางอ้อม” มาตรา 44

ปัจจุบันการใช้คำสั่ง คสช. มาตรา 44 มาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล ไทยทีวีไม่ได้เสียดายในจุดนี้ และ “ต้องถือว่า กสทช.แมนมากที่ออกมายอมรับผิด และเป็นซูเปอร์ฮีโร่สำหรับทุกคนในวงการสื่อ และเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อทำผิดก็ออกมารับผิดชอบและแก้ไขสถานการณ์ แต่ต้องแก้ให้เร็ว จะมีประโยชน์มากหากช่องบอกเลือกจำนวนมาก และเหลือ 10 – 15 ช่อง เพราะหากเหลือมาก เลือดจะสาดเหมือนเดิม เพราะเงินโฆษณาทีวีมี 70,000 ล้านบาทเท่าเดิม”

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหลังจาก เลือดออก” และลำบากมาก มาตลอด 5 ปี

“เมื่อได้ยินเรื่องมาตรา 44 ด้วยความที่พี่เป็นคนแอคทีฟทุกเรื่องอยู่แล้ว จึงต้องการรู้ว่า ไทยทีวีจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จึงได้ทำหนังสือถามไปยังสำนักงาน กสทช.

จากการหารือก็รู้ว่า มาตรา 44 ให้สิทธิเฉพาะผู้ถือใบอนุญาตเท่านั้น และไทยทีวีไม่อยู่ในเงื่อนไข เพราะได้ยกเลิกใบอนุญาตไปแล้ว และไทยทีวีจะไม่ฉวยโอกาส เพราะรู้อยู่แล้วว่าไม่ได้สิทธิ 

แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อไป เรื่องมาตรา 44 มีประโยชน์กับไทยทีวีหรือไม่ ซึ่ง “ทางตรง ต้องบอกว่าไม่มีประโยชน์ แต่ “ทางอ้อม สามารถใช้หลักเกณฑ์ที่คณะทำงานที่กำลังพิจารณาค่าชดเชยให้กับทีวีดิจิทัลที่ต้องการ “คืนช่อง มาเทียบเคียงกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับไทยทีวีได้

สิ่งที่ต้องการรู้คือ “สูตรชดเชย” การคืนช่อง ที่จะออกมาช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 แต่หากคืนช่อง คาดว่าจะได้เงินหลังประมูล 5 จี เดือนมิถุนายน 2563 ด้วยระยะเวลาที่นานดังกล่าว เชื่อว่าผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเริ่มลังเล เพราะไม่รู้ว่าจะได้เงินชดเชยเท่าไหร่แน่

ขณะที่หากต้องยื่นใช้สิทธิคืนช่องในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ เมื่อประกาศออกไปแบบนั้นก็เท่ากับเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง เพราะลูกค้าที่ลงโฆษณาก็จะไม่มั่นใจ พนักงานก็ระส่ำ เจ้าหนี้ก็จะรีบมาทวงหนี้ทันที เหมือนตอนที่ไทยทีวีคืนไลเซ่นส์เจ้าหนี้ต่างเข้ามาทวงหนี้

สถานการณ์ดังกล่าวจากเดิมที่มีคนสนใจจะคืน 5 ช่อง เมื่อหลักเกณฑ์จ่ายชดเชยยังไม่ออกมา พบว่าอาจมีทีวีดิจิทัลคืนเพียง 3 ช่องเท่านั้น

การที่จะให้ทีวีดิจิทัลคืนช่อง กสทช.จะต้องจูงใจให้คืนช่อง ด้วยเงินชดเชยที่พอจะให้ไปทำธุรกิจต่อได้ โดยน่าจะจ่ายที่สัดส่วน 50% ของงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนแต่ละปี หรืองบเงินสด ถือเป็นการแบกรับภาระกันคนละครึ่งทาง และควรจ่ายเงินให้เร็ว โดยใช้เงินกองทุน กทปส. มาจ่ายล่วงหน้า

“เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ที่แม้ต้องขายบ้าน 6 หลังมาลงทุนทีวีดิจิทัล แต่สร้อยเพชร ยังอยู่ครบ

เปิดทาง กสทช. ไกล่เกลี่ยค่าเสียหายไทยทีวี

เจ๊ติ๋ม มองว่าหากมีทีวีดิจิทัลคืนช่องไม่มากและ กสทช.จำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ประมูล 5 จี ซึ่งอาจไม่พอเพราะช่องคืนน้อย กสทช.สามารถมาเจรจาไกล่เกลี่ยโดยใช้คลื่นฯ 2 ช่อง ของไทยทีวีและโลก้าที่คืนไลเซ่นส์ไปแล้ว แต่ยังมีคดีฟ้องร้องค่าเสียหายที่ศาลปกครองสูงสุด โดยใช้มาตรา 44 เทียบเคียงในการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับไทยทีวีได้

กรณีไทยทีวี ใช้มาตรา 391 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาค่าเสียหาย จากการผิดสัญญาและยกเลิก จะต้องจ่ายค่าเสียหายเต็มจำนวน หาก กสทช.ไกล่เกลี่ย ไทยทีวี ต้องได้รับความเสียหายเต็ม 100% ซึ่งเป็นคนละกรณีกับมาตรา 44 ที่คณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์ชดเชย

โดยการไกล่เกลี่ยจะยึดจำนวนเงินเดียวกับที่อุทธรณ์เรียกค่าเสียหายจาก กสทช. ที่ศาลปกครองสูงสุด จำนวน 1,134 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวคิดมาจากไทยทีวี การใช้คลื่นฯ ไปรวมเวลา 1 ปี 4 เดือน คิดเป็นมูลค่า 188 ล้านบาท สูตรคิด คือ เงินค่าประมูลทีวีดิจิทัล 2 ช่อง มูลค่า 1,976 ล้านบาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% รวมเป็นมูลค่า 2,114 ล้านบาท หารด้วยระยะเวลา 15 ปี เท่ากับปีละ 140 ล้านบาท ระยะเวลาใช้คลื่นฯ 1 ปี 4 เดือน เท่ากับมูลค่า 188 ล้านบาท โดยไทยทีวีและโลก้า จ่ายเงินงวดแรกไปแล้ว 365 ล้านบาท ดังนั้นต้องได้เงินคืนอีก 177 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีค่าเสียหายจากการดำเนินงานในการทำทีวีดิจิทัลหรืองบบัญชีเงินสด จากการลงทุนคอนเทนต์ ผลิตละคร 12 เรื่อง ซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศ การสร้างสตูดิโอ เงินเดือนพนักงาน รวมจำนวน 750 ล้านบาท เป็นเงิน 927 ล้านบาท และดอกเบี้ยอีก 6.5% จำนวน 206 ล้านบาท รวมเป็นเป็น 1,134 ล้านบาท

การออกมาเปิดบ้านให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์เรื่องทีวีดิจิทัลของ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” หลังจากหายไปเกือบ 5 ปี ก็เพื่อจะบอกว่า มาตรา 44 ไทยทีวีอาจได้ประโยชน์ทางอ้อม จากการเปิดไกล่เกลี่ยค่าเสียหายของ กสทช. โดยไม่ต้องรออุทธรณ์คดีที่ศาล

เจ๊ติ๋มย้ำว่า ในวัย 64 ปี วันนี้หากได้เงินค่าเสียหายจะไปลงทุนสตาร์ทอัพ ทำสมุนไพร แจกจ่ายคนรายได้น้อย และสร้างงานให้คนรุ่นใหม่อีกด้วย

]]>
1227396
“เจ๊ติ๋ม” ทีวีพูล บนเส้นทางวิบาก ทีวีดิจิทัล “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” https://positioningmag.com/1161726 Thu, 15 Mar 2018 00:00:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161726 1161726 กสทช. เตรียมยื่นอุทธรณ์ คดี “เจ๊ติ๋ม” ภายใน 3 สัปดาห์ https://positioningmag.com/1161657 Wed, 14 Mar 2018 15:18:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161657 กลายเป็นประเด็นร้อนของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องรับมือ หลังศาลปกครองกลาง พิพากษาให้ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล บอกเลิกสัญญา “ทีวีดิจิทัล” 2 ช่องข่าว ไทยทีวี และช่องการ์ตูน LOCA พร้อมทั้งให้ กสทช.คืนแบงก์การันตีให้บริษัท ไทยทีวี มูลค่ารวมกว่า 1,500 ล้านบาท

พ.อ. นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. มีมติน้อมรับคำตัดสินของศาลปกครองกลาง และยินดีที่จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องคำพิพากษาและวินิจฉัยบางส่วน แต่มติที่ประชุมจะดำเนินการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 2-3 สัปดาห์นี้

เนื่องจาก กสทช. มีความเห็นแย้งใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. กรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยว่าการให้ใบอนุญาตของ กสทช. เป็นการออกใบอนุญาตเป็นการให้เอกชนเข้าร่วมการงานกับรัฐ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ การร่วมการงาน หมายถึงระบบสัญญาสัมปทาน ขณะที่ กสทช. ตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนผ่านระบบสัญญาสัมปทานให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบใบอนุญาต ดังนั้น ในส่วนนี้จึงน่าจะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการตั้ง กสทช. ดังนั้น คำวินิจฉัยดังกล่าวจะกลับไปสู่ระบบสัญญาสัมปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ประเด็นที่ 2 คือ คำวินิจฉัยที่ระบุว่า กสทช. ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาในการขยายโครงข่ายการให้บริการตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ หรือการขยายโครงข่ายโทรทัศน์ไม่เป็นไปตามสัญญาตามนั้น คาดว่าศาลปกครองกลางเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่เป็นอยู่

การขยายสัญญาโครงข่ายได้ออกประกาศให้ครอบคลุมตั้งแต่วันแรกที่ออกอากาศ 50% หลังจากนั้น อีก 1 ปี ครอบคลุม 80% ปีที่ 3 ครอบคลุม 90% ของจำนวนประชากร และปีที่ 4 ครอบคลุม 95% เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ถือว่า กสทช. ได้มีการกำกับให้มีการขยายโครงข่ายให้เป็นไปตามที่ประกาศกำหนดทุกประการ

“ทางไทยทีวี ระบุว่า โครงข่ายของกรมประชาสัมพันธ์มีความล่าช้า ไม่สามารถดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายได้ตามแผนนั้น ความจริงแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ไม่ได้ให้บริการโครงข่ายกับผู้ประกอบการรายใดเลย และเมื่อติดตั้งล่าช้า ก็ได้มีการลงโทษทางปกครองไปแล้ว ประเด็นนี้มีข้อเท็จจริงที่มีการกำหนดว่า การขยายโครงข่ายในแต่ละช่วงเวลาจะดำเนินการให้มีความครอบคลุมอย่างไร การขยายโครงข่ายได้เป็นไปตามกำหนดไม่เช่นนั้น ผู้ประกอบการทุกรายคงล้มเหลวในการให้บริการหมดแล้วสำหรับการแจกคูปองแลกกล่องทีวีดิจิทัลก็ได้มีการดำเนินการจนครบทั้งหมดแล้ว ซึ่งการแจกคูปองต้องเป็นไปตามแผนการขยายโครงข่ายที่สากลทำกัน”

ในส่วนของการชำระค่าใบอนุญาตนั้น ตามหลักเกณฑ์การประมูล ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องจ่ายค่าใบอนุญาตตามกฎหมาย เนื่องจากในมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ระบุว่าต้องจ่ายค่าใบอนุญาตทั้งหมด แต่ กสทช.มีการผ่อนปรนให้ด้วยการให้แบ่งชำระค่าใบอนุญาตได้ และมีการนำหนังสือรับรองมาค้ำประกัน

กสทช.ไม่มีความกังวลใด ๆ หากช่องทีวีดิจิทัลอื่น ๆ จะดำเนินตามช่องไทยทีวี เพราะขณะนี้ก็ยังไม่ทราบว่า ผลสุดท้ายของคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่เข้าใจว่าคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางในครั้งนี้ถึงออกมาเป็นแบบนี้ แต่ก็น้อมรับในคำวินิจฉัยของศาล

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กสทช.มีมาตรการในการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลมีต้นทุนที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมัสต์แคร์รี ที่มีการจ่ายค่านำสัญญาณขึ้นดาวเทียมให้กับทุกช่อง

“ต้องยอมรับว่าธุรกิจทีวีทำยาก ความสำเร็จและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการแต่ละรายไม่เท่ากัน การเข้ามาสู่ธุรกิจทีวีไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีประสิทธิภาพถึงจะแข่งขันได้”

ด้าน สมบัติ ลีลาพตะ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ กสทช. กล่าวว่า หากผู้ประกอบการรายใดต้องการเดินตามโมเดลของไทยทีวี คิดว่าก็ต้องดำเนินการฟ้องศาลเหมือนที่ไทยทีวีทำ เพราะ กสทช. ได้อุทธรณ์ และคดียังไม่มีการตัดสินถึงที่สุด

ส่วนประเด็นที่ว่า การที่ศาลปกครองกลางตัดสินว่า กสทช. ไม่ดำเนินการตามสัญญาที่มีต่อผู้ประกอบการนั้น จะนำไปสู่ช่องทางให้คนอื่นฟ้อง กสทช. ฐานละเลยปฎิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 หรือไม่นั้น ยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ แต่ กสทช. ก็ยังคงยืนยันตามประเด็นที่ พ.อ. นที ได้กล่าวไว้ข้างต้น.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000025689

]]>
1161657
จับตาทีวีดิจิทัลแห่คืนใบอนุญาต หลัง ”เจ๊ติ๋ม” ชนะคดี กสทช. คืนเงิน 1.5 พันล้าน https://positioningmag.com/1161480 Tue, 13 Mar 2018 11:19:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161480 คาดทีวีดิจิทัลเตรียมคืนช่อง หลังศาลสั่ง กสทช. คืนเงินช่องเจ๊ติ๋ม ย้ำ กสทช. ควรยอมรับความจริง และแก้ปัญหาค่าธรรมเนียม ค่าเช่าสัญญาณ

วันนี้ (13 มี.ค.) ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาในคดีที่นางพันธุ์ทิพา ศกุนต์ไชย กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ไทยทีวี จำกัด หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลของบริษัท ไทยทีวี เป็นโมฆะทั้งหมด

พร้อมกับขอให้เพิกถอนหนังสือ กสทช.ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2558, ฉบับลงวันที่ 5 มิถุนายน 2558 ที่ให้บริษัท ไทยทีวี ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่งวดที่ 2 และฉบับลงวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ที่ยกเลิกให้บริษัท ไทยทีวี ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่พร้อมกับให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ให้ใช้คลื่นความถี่ และให้สั่ง กสทช.คืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพจำนวน 16 ฉบับ

รวมทั้งคืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่บริษัทฯ ได้ชำระไปแล้วเป็นเงิน 365,512,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 บาทต่อปี นับแต่วันฟ้องจนชำระเสร็จสิ้น และค่าเสียหายจากการกระทำของ กสทช.จำนวน 713,828,282.94 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

โดยศาลปกครองกลางพิพากษาว่า กสทช.กระทำผิดสัญญาที่ได้ประกาศชี้ชวนไว้กับบริษัท ไทยทีวี จำกัด จริง บริษัท ไทยทีวี จำกัด จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา

แต่วันบอกเลิกสัญญาพ้นกำหนดการจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 2 ที่บริษัทฯ ได้มีการดำเนินการกิจการทีวีดิจิตอลไปแล้วจึงต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 2 จำนวน 258 ล้านบาท ส่วนหนังสือค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ จำนวน 16 ฉบับ ซึ่งเป็นค่างวด ตั้งแต่งวดที่ 3 เป็นต้นไปให้ กสทช.คืนให้แก่บริษัท แต่ถ้าไม่สามารถคืนไม่ได้ก็ให้ชดใช้เป็นเงินแทน อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองกลางไม่ได้ให้ กสทช.ชดใช้ค่าเสียหายตามที่บริษัทเรียกร้อง เพราะภาวะการขาดทุนเกิดจากการดำเนินธุรกิจตามปกติ

พันธุ์ทิพา พอใจที่ศาลชี้ว่า กสทช.ทำผิดจริง โดยศาลให้ กสทช.คืนแบงก์การันตีให้บริษัท ไทยทีวี ในงวดที่ 3, 4, 5 และ 6 มูลค่ารวมกว่า 1,500 ล้านบาท แต่ศาลไม่ได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 700 ล้านบาทตามที่ขอไป จึงจะยื่นอุทธรณ์เพิ่มเติมในส่วนนี้ โดยมั่นใจว่ามีเอกสารที่ชี้ให้เห็นว่า กสทช.ทำผิดสัญญาจนทำให้เกิดความเสียหาย

“เราไม่ใช่คนที่อ่อนแอ หรือไม่มีสายป่าน ขาดทุนแล้วจึงเลิก เราเป็นคนเก่ง เป็นคนมีความสามารถ เพียงแต่สิ่งที่ กสทช.ทำไม่ได้เอื้อ และเป็นอุปสรรคจนทำให้เกิดความเสียหาย ทำธุรกิจเกือบ 40 ปีไม่เคยขาดทุนแม้แต่บาทเดียว ทำไมเราจึงจะมาโง่วันนี้ กลายเป็นคนมองธุรกิจไม่เป็น อ่อนแอ เป็นเรื่องที่กระทบภาพลักษณ์มาก ตอนนี้ช่องอื่นๆ ก็ลำบากหมด บางคนครอบครัวแตกแยก ถึงขนาดเกือบฆ่าตัวตาย ล้วนเกิดจากการกระทำของ กสทช.ทั้งสิ้น แม้ว่า กสทช.ชุดที่อนุมัติเรื่องทีวีดิจิทัลจะพ้นตำแหน่งไปแล้ว แต่ใครทำกรรมอะไรไว้ก็ต้องรับผลกรรมนั้น” พันธุ์ทิพากล่าว

ด้าน สมบัติ ลีลาพตะ ผอ.สำนักกฎหมาย กสทช.กล่าวว่า ทาง กสทช.จะยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน เนื่องจากเห็นว่าศาลยังไม่ได้นำข้อเท็จจริงบางส่วนมาประกอบการพิจารณา เช่น รายละเอียดในหนังสือชี้ชวน ที่กำหนดว่าโครงข่ายจะมีการขยายได้ปีละเท่าใด และกรณีที่บริษัท ไทยทีวี อ้างว่าโครงข่ายของกรมประชาสัมพันธ์มีปัญหา แต่จริงๆ ทางไทยทีวีใช้โครงข่ายของผู้ประกอบการรายอื่น

สำหรับช่องทีวีดิจิทัล อย่าง นวมินทร์ ประสพเนตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด ในเครือโมโน กรุ๊ป ให้ความเห็นถึงกรณีนี้ว่า กสทช.กระทำผิดสัญญาที่ได้ประกาศชี้ชวนไว้กับบริษัท ไทยทีวี จำกัด จริง ทำให้ไทยทีวี จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยคำตัดสินของศาลที่ออกมาในวันนี้ ถือเป็นบรรทัดฐานสำคัญ สำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลในอนาคตได้เลย

โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องดีที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้สามารถคืนสัญญาหรือคืนช่องได้ เพราะเมื่อทำต่อไม่ไหวด้วยปัจจัยหลายด้าน ก็ควรมีทางออกให้กับผู้ประกอบการได้เลือกตัดสินใจ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนมือเป็นผู้เล่นหน้าใหม่มาทำแทนเลย หรือจะเป็นหน้าเก่าที่มีช่องในมืออยู่แล้วและมีศักยภาพในการทำช่องก็สามารถมาทำได้

รวมถึงการเปิดโอกาสให้ช่องสามารถปรับส่งสัญญาณภาพจากหมวดหมู่ความคมชัดปกติเป็นความคมชัดสูงได้ หรือการเยียวยาวอย่างอื่นที่เห็นผลชัดเจนมากกว่านี้ ก็จะดีต่อผู้ประกอบโดยรวมอย่างมาก

ทางด้าน สุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวให้ความเห็นกรณีที่ศาลปกครองกลางพิพากษา ว่า กสทช.กระทำผิดสัญญาที่ได้ประกาศชี้ชวนไว้กับบริษัท ไทยทีวี จำกัด จริง บริษัท ไทยทีวี จำกัด จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ว่า กรณีนี้คาดว่าจะเป็นตัวอย่างและจะมีทีวีดิจิทัลอีกหลายช่องมองเป็นตัวอย่างได้เพราว่ามีหลายช่องก็แบกรับภาระต้นทุนที่สูงไม่ไหว

ปัจจุบันนี้ทีวีดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตมา 24 ช่อง มีเพียง 22 ช่องที่ดำเนินการอยู่ นอกจากช่องของเจ๊ติ๋ม 2 ช่องที่หยุดดำเนินการไปก่อนหน้านี้นานแล้ว ซึ่ง 22 ช่องที่เหลือ ก็มีแนวโน้มว่า จากนี้ไปอาจจะเหลืออีกไม่ถึง 10 ช่องเท่านั้น และที่ผ่านมาหลายช่องก็มีการเปลี่ยนแปลงนายทุนเปลี่ยนแปลงเจ้าของไปหลายช่องแล้ว เพราะว่าไปไม่รอด

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ กสทช. น่าจะดำเนินการจากนี้ คือการยอมรับความจริงและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ด้วยการแก้ไขเงื่อนไขสัมปทานหรือกฎหมายที่ออกมาก่อนหน้านี้ เช่น ใบอนุญาตสัมปทาน 15 ปีที่ให้เอกชนไปนั้น ในเรื่องของการจ่ายค่างวดสัมปทานควรจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้าง หรือการจ่ายค่า MUG สัญญาณ จะลดลงอย่างไรได้บ้าง

กสทช. ผิดมาตั้งแต่แรกแล้ว ที่เปิดประมูลรวดเดียว 24 ช่อง ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำกัน ควรจะเปิดเป็นระดับขั้นตอนไป ไม่ใช่เปิดครั้งเดียว การเปลี่ยนถ่ายจากระบบอะนาล็อกต้องค่อยเป็นค่อยไป ทั้งการแจกคูปองแลกอล่องที่ล่าช้า ไม่มีแผนการเรียงช่องที่ชัดเจน ไม่มีการให้ความรู้และการเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนถ่าย การนำสัญญานดิจิทัลภาคพื้นดินไปออกอากาศผ่านดาวเทียม เป็นต้นและอีกหลายอ่าง

“ที่ผ่านมา คนในวงการทีวีดิจิทัล ต้องถูกปลดหรือออกจากงานไปแล้วไม่ต่ำกว่า 2,000 คน เพราะการที่ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนไม่ไหวของทีวีดิจิทัลหลายช่อง เพราะต้นทุนการประมูลสูงมาก”.

]]>
1161480
แบงค์กรุงเทพจ่ายหนี้แทนเจ๊ติ๋ม 288 ล้านบาท https://positioningmag.com/1090956 Wed, 04 May 2016 10:23:49 +0000 http://positioningmag.com/?p=1090956 เลขาธิการ กสทช. เผย BBL ชำระเงินค่าประมูลดิจิตอลทีวีงวด 2 จำนวน 288.472 ล้านบาท กรณีไทยทีวีเบี้ยวชำระแล้ววันนี้ (4 พ.ค. 59) พร้อมขอให้ กสทช. ทบทวนจำนวนเงินที่ธ.ต้องชำระใหม่

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (4 พ.ค. 2559) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ กสทช. ขอชำระเงิน 288,472,000 บาท เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมกรณีบริษัท ไทยทีวี จำกัด ไม่มาชำระเงินค่าประมูลดิจิตอลทีวีงวดที่ 2 พร้อมขอให้ กสทช. ทบทวนจำนวนเงินที่ BBL ต้องชำระ โดยธนาคารเห็นว่ากรณีนี้ บริษัท ไทย ทีวี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลดิจิตอลทีวี มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตโดยแบ่งชำระเป็นรายปีตามที่ กสทช. กำหนด และธนาคารได้ออกหนังสือค้ำประกันการชำระเงินค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขดังกล่าว กรณีที่บริษัท ไทย ทีวี จำกัดไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมในปีใด ธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันจึงมีหน้าที่ต้องชำระแทนเมื่อถึงปีที่ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น การที่ กสทช. เรียกร้องให้ธนาคารชำระเงินค่าประมูลดิจิตอลทีวีในส่วนที่เหลือแทนบริษัท ไทยทีวี จำกัด จำนวน 1,748,808,000 บาทจึงไม่ถูกต้อง ธนาคารขอให้ทบทวนในประเด็นดังกล่าว ซึ่งสำนักงาน กสทช. จะนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณาต่อไป

สำหรับเงิน 288,472,000 บาท ที่ BBL นำมาชำระแทนบริษัท ไทยทีวี จำกัด ในวันนี้ สำนักงาน กสทช. จะรีบนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป

]]>
1090956
ศาลปกครองไม่คุ้มครอง “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ให้ชะลอ กสทช.ยึดเงินค้ำประกันเกือบ 2 พันล้าน https://positioningmag.com/62885 Mon, 28 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62885
ศาลปกครองกลาง ยกคำร้อง “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ขอคุ้มครองชั่วคราว กรณี กสทช.จะยึดเงินค้ำประกันเกือบ 2 พันล้าน จากการถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำทีวีดิจิตอล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีบริษัทไทยทีวีฟ้อง กสทช.
 
ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของบริษัท ไทย ทีวี จำกัด ซึ่งมีนางพันธุทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลช่องไทยทีวี และเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ (ชื่อเดิม โลก้า) เป็นผู้บริหาร ที่ขอให้ศาลสั่ง กสทช.ระงับการดำเนินการเรียกเก็บชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน หรือแบงก์การันตีของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวม 16 ฉบับรวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ไทยทีวี ฟ้อง กสทช.
 
โดยเหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว ระบุว่า ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า กสทช.ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัท ไทยทีวี นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเสียมใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลรายปีรวม 3 ครั้ง ระยะเวลารวม 90 วัน แต่เมื่อครบกำหนดบริษัท ไทยทีวีไม่ได้นำเงินมาชำระ กสทช.จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ช่องรายการนับแต่วันที่ 4 ก.พ. 59 พร้อมแจ้งไปยังบริษัทไทยทีวีว่า ให้นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของงวดที่ 2 ถึงงวดที่ 6 และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการรายปีประจำปี 2557-2559 มาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ หากไม่ชำระจะใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารกรุงเทพฯชำระเงินตามหนังสือคำประกัน ซึ่งศาลเห็นว่า การที่บริษัท ไทยทีวี มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันก็เนื่องจากเหตุที่ว่ายังมีข้อต่อสู้ที่บริษัทไทยทีวีอาจไม่ต้องรับผิด เพราะมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพื่อขอให้ธนาคารปฏิเสธการชำระเงิน และข้อต่อสู้นี้ธนาคารย่อมยกขึ้นเป็นเหตุปฏิเสธการชำระเงินให้แก่ กสทช.ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 294 ที่บัญญัติว่า “นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอที่ศาลจะพิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของบริษัทไทยทีวีมาใช้ได้”
 
 

]]>
62885