เซินเจิ้น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 14 Mar 2022 13:14:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Foxconn’ ซัพพลายเออร์รายใหญ่ของ ‘Apple’ สั่งปิดโรงงานในจีนชั่วคราว หลังรัฐบาลสั่ง ‘ล็อกดาวน์’ https://positioningmag.com/1377465 Mon, 14 Mar 2022 12:50:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377465 Foxconn ซัพพลายเออร์รายใหญ่ของ Apple ซึ่งเป็นผู้ผลิต iPhone ได้ออกมาประกาศว่า บริษัทได้ระงับการดำเนินงานในเมืองเซินเจิ้นของจีน เพื่อปฏิบัติตามนโยบายการควบคุม COVID-19 ของรัฐบาลที่สั่งล็อกดาวน์ด่วน เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเกือบ 3,400 ราย

ศูนย์กลางเทคโนโลยีทางตอนใต้ของเซินเจิ้นต้องถูกปิดลงชั่วคราวอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังจากมีรายงานว่าพบผู้ป่วย COVID-19 ใหม่จำนวน 60 ราย จากประชากร 17 ล้านคน ซึ่งนับที่พบเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์อีกครั้ง

โดยในเซินเจิ้นมีโรงงานของผู้ผลิต iPhone รายใหญ่อย่าง Foxconn หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ Hon Hai Precision Industry ซึ่งจำเป็นต้องปิดตัวชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ของทางการจีน โดยบริษัทระบุว่า จากนี้จะปรับใช้โรงงานสำรองเพื่อลดการหยุดชะงักของการผลิตไปก่อน

“เนื่องจากแหล่งผลิตที่หลากหลายของเราในจีน เราจึงปรับสายการผลิตเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยเรากำหนดให้พนักงานทุกคนทำการทดสอบ PCR และจะกลับมาดำเนินการในเซินเจิ้นอีกครั้งเมื่อได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลจีนFoxconn กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทไต้หวันอื่น ๆ ที่ตั้งโรงงานอยู่ในเซินเจิ้นต้องปิดชั่วคราวทั้งหมด ซึ่งรวมถึงบริษัท Unimicron Technology ผู้ผลิตซับสเตรตชิปและแผงวงจรพิมพ์ และถือเป็นซัพพลายเออร์อีกรายของ Apple และ Sunflex Technology ผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์แบบยืดหยุ่น

ที่ผ่านมา จีนมีความพยายามที่จะคุ้มเข้มการระบาดของ COVID-19 อย่างมาก โดยได้ดำเนินนโยบาย Zero-Covid มาโดยตลอด และมีการล็อกดาวน์อย่างรวดเร็ว เข้มงวด ห้ามการเดินทางข้ามเขต และมีการระดมปูพรมตรวจหาเชื้อทันทีที่เกิดคลัสเตอร์ระบาด

Source

]]>
1377465
โลกเจอวิกฤต ‘ขนส่ง’ อีกรอบหลังโควิดระบาด ‘กวางตุ้ง’ ทำท่าเรือชะงัก https://positioningmag.com/1337208 Tue, 15 Jun 2021 10:07:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337208 ในช่วงครึ่งปีแรก 2021 ซึ่งนอกเหนือวิกฤต COVID-19 เหมือนจะผ่อนคลายลงเพราะมีวัคซีน แต่โลกกลับต้องเจอวิกฤตด้าน ‘การขนส่งทางเรือ’ โดยเรื่องแรกมาจากผลของ COVID-19 ที่ทำให้ ‘ตู้คอนเทนเนอร์’ ขาดแคลน อีกทั้งยังเจอกับวิกฤต ‘เรือเกยตื้นคลองสุเอซ’ แต่ล่าสุดก็มีอีกปัญหาเพราะการระบาดของ COVID-19 ใน ‘กวางตุ้ง’ เมืองท่าสำคัญของจีน

ภาคธุรกิจและผู้บริโภคกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านการขนส่งอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัสในภาคใต้ของจีน ทำให้บริการท่าเรือหยุดชะงักและทำให้การส่งล่าช้า ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นอีกครั้ง โดยมณฑลกวางตุ้งของจีนเผชิญกับการระบาดครั้งใหม่ของ COVID-19 ซึ่งเป็นสายพันธุ์อินเดียโดยมีผู้ติดเชื้อกว่า 100 ราย ส่งผลให้ทางการได้สั่งปิดเขตและธุรกิจห้างร้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย

กวางตุ้งซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญโดยคิดเป็น 24% ของการส่งออกทั้งหมดของจีน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือเซินเจิ้นและท่าเรือกวางโจวซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามและใหญ่เป็นอันดับห้าของโลกตามปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ตามรายงานของ World Shipping Council

“การหยุดชะงักในเมืองเซินเจิ้นและเมืองกวางโจวนั้นยิ่งใหญ่มาก โดยลำพังพวกเขาจะมีผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน” Brian Glick กล่าว

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ภาคส่วนต่าง ๆ ของโลกฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้มีการซื้อเพิ่มขึ้นทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนจนทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมากในการขนส่งสินค้าจากจีนไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา และทำให้ราคาสูงขึ้นสำหรับธุรกิจและผู้บริโภค

จากนั้นหนึ่งในเรือคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ Ever Given ได้ติดอยู่ในคลองสุเอซและปิดกั้นเส้นทางการค้าที่สำคัญเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ การค้าโลกประมาณ 12% ผ่านคลองสุเอซ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมีเรือผ่านมากกว่า 50 ลำต่อวัน เหตุการณ์ดังกล่าวจุดชนวนให้เกิดวิกฤตการณ์การขนส่งทางเรือทั่วโลกและทำให้การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์ต่อวัน และตอนนี้วิกฤตล่าสุดในภาคใต้ของจีน กำลังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอีกครั้ง

“ความเสี่ยงของการหยุดชะงักของซัพพลายเชนกำลังเพิ่มขึ้น และราคาส่งออก/ค่าขนส่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก มณฑลกวางตุ้งมีบทบาทสำคัญในซัพพลายเชนทั่วโลก” จาง จือเว่ย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Pinpoint Asset Management กล่าว

เจพี วิกกินส์ รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กรของบริษัทซอฟต์แวร์การขนส่ง 3GTMS กล่าวว่า วิกฤตท่าเรือในจีนจะทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันหยุดชะงักลงอย่างมาก เนื่องจากการขนส่งที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากส่งไปยังอเมริกาเหนือ ขณะที่กรณีของเรือขวางคลองสุเอซมีผลกระทบมากขึ้นต่อการค้าของยุโรป

“คาดว่าสินค้าที่ผลิตในเอเชียจะขาดแคลนและหมดสต๊อก”

นอกจากปัญหาความล่าช้าแล้ว ค่าขนส่งที่พุ่งสูงขึ้นเป็นผลโดยตรงจากวิกฤต โดยผู้ขนส่งสินค้าขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากต่างได้รับผลกระทบ เนื่องจากค่าขนส่งนั้นสูงกว่าสินค้าที่ขนส่ง

“เราฝ่าเพดานราคามามากมายจนไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าราคานี้จะไปถึงจุดสูงสุดที่ใด”

ตู้คอนเทนเนอร์
(Photo by Stephen Chernin/Getty Images)

จากนี้อัตราค่าขนส่งจะ “ผันผวนอย่างมาก” ดังนั้น ผู้ขนส่งสินค้าวางแผนที่จะใช้จ่ายมากขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนผู้ส่งสินค้าที่ไม่สามารถรับความล่าช้าได้จะต้องเปลี่ยนมาขนส่งสินค้าทางอากาศแทน ซึ่งจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อไป Shehrina Kamal รองประธานฝ่ายโซลูชั่นอัจฉริยะของ Everstream Analytics กล่าว

ปัจจุบัน ระยะเวลารอเรือเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือ Yantian International Container Terminal ในเซินเจิ้น “พุ่งสูงขึ้น” จากเฉลี่ย 0.5 วันเป็น 16 วัน โดยท่าเรือหนานซาในกวางโจวกำลังประสบปัญหานำเข้าของสินค้า เนื่องจากความแออัดและความล่าช้าของเรือ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกสองสัปดาห์กว่าจะคลี่คลาย

โดยรวมแล้ว การหมุนเวียนของท่าเรือในกวางตุ้งจะยังคงชะลอตัวในเดือนมิถุนายน และแม้แต่ส่วนอื่น ๆ ของจีนก็มีแนวโน้มที่จะระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ราคาค่าส่งที่สูงขึ้น Zhang จาก Pinpoint Asset Management กล่าว

Source

]]>
1337208
“เซินเจิ้น, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้” ครองแชมป์ 3 อันดับแรก ศักยภาพแข่งขันสูงสุดในจีน https://positioningmag.com/1304572 Thu, 05 Nov 2020 07:14:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304572 ไชน่าเดลี เผยรายงานเกี่ยวกับเมืองที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงที่สุดในจีน ฉบับที่ 18 ได้รับการเผยแพร่โดย Chinese Academy of Social Sciences และ Economic Daily เมื่อวันที่ 22 .. เพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบแบบหลายมิติของ 291 เมือง

รายงานในปีนี้ซึ่งเป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบหลายมิติของ 291 เมือง ได้สร้างดัชนีความสามารถในการแข่งขันใหม่ 5 รายการ ภายใต้ดัชนีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนเพื่อจัดอันดับ 291 เมือง

เซินเจิ้น, ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ครอง 3 อันดับแรก ในรายการการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม

เมืองที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงที่สุดในจีน ตามลำดับได้แก่ เซินเจิ้น, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง, กวางโจว, ซูโจว, ไทเป, หนานจิง, อู่ฮั่น และอู่ซี

Source

]]>
1304572
เซินเจิ้นผุด “ถังขยะใต้ดิน” ไร้กลิ่น-ไร้แมลง แห่งแรกในชุมชน https://positioningmag.com/1282455 Sun, 07 Jun 2020 09:06:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282455 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ชุมชนอี๋จิ่งในเขตหลัวหูของนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน เปิดใช้งาน “ถังขยะใต้ดิน” แห่งแรกของชุมชนเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.

โดยถังขยะใต้ดินแต่ละถังสามารถรองรับปริมาณขยะได้ถึง 660 ลิตร ซึ่งไม่เพียงแต่ตอบสนองต่อการใช้งานของชาวชุมชนราว 1,500 คนเท่านั้น

Photo : Xinhua

แต่ถังขยะใต้ดินยังมีคุณสมบัติในการกำจัดแมลง ฆ่าเชื้อโรค และกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทั้งยังช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นอีกด้วย

Photo : Xinhua
]]>
1282455
GDP “กว่างโจว-เซินเจิ้น” แซงหน้าฮ่องกงแล้วเรียบร้อย https://positioningmag.com/1260192 Sun, 12 Jan 2020 11:45:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260192 กว่างโจวกับเซินเจิ้น เมืองใหญ่ทั้ง 2 ของมณฑลกวางตุ้งบนแผ่นดินใหญ่จีน แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการยืดหยุ่น แม้ต้องเผชิญทั้งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และผลกระทบต่อเนื่องจากการประท้วงในฮ่องกง โดยที่เซินเจิ้นซึ่งแซงฮ่องกงไปเมื่อปี 2018 น่าจะอยู่ในฐานะนำต่อไปอีกในปี 2019 ขณะกว่างโจวที่ถูกเซินเจิ้นเบียดขึ้นหน้าในปี 2018 อาจจะสามารถแซงกลับคืน

กว่างโจว (กวางเจา) กับ เซินเจิ้น ทำท่าจะสามารถรักษาฐานะนำหน้าเหนือฮ่องกงให้มั่นคงยิ่งขึ้นอีก ในการสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจประจำปี เมื่อวัดจากรอบปี 2019 ที่ผ่านมา โดยที่ไดนาโมทางเศรษฐกิจทั้ง 2 แห่งนี้ต่างยังคงเดินเครื่องรุดหน้า ขณะที่กระแสการประท้วงรัฐบาล สร้างความเสียหายหนักหน่วงให้แก่เขตบริหารพิเศษของจีนที่เป็นอดีตอาณานิคมของอังกฤษ

เซินเจิ้น

นครใหญ่ทั้ง 2 แห่งในมณฑลกวางตุ้งซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากฮ่องกง กำลังอยู่ในกระบวนการที่จะเปิดเผยข้อมูลสถิติเบื้องต้นสำหรับปี 2019 พวกผู้ปฏิบัติงานที่นั่นกำลังแสดงสัญญาณของความโล่งอกในเมื่อเศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการยืดหยุ่น แม้ต้องเผชิญปัญหาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ตลอดจนผลกระทบต่อเนื่องจากความปั่นป่วนวุ่นวายทางสังคมของฮ่องกง

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ของเซินเจิ้น เติบโตขยายตัวด้วยอัตรา 7% จนมีมูลค่าเท่ากับ 2.6 ล้านล้านหยวน (374,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อปี 2018 อยู่ในอันดับตามหลังเซี่ยงไฮ้กับปักกิ่งเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับพวกนครใหญ่ของจีนด้วยกัน เวลานี้เซินเจิ้นคือเมืองที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในพื้นที่ “เกรตเทอร์ เบย์ แอเรีย” (Greater Bay Area) ซึ่งเป็นเขตอภิมหานครทางภูมิเศรษฐกิจ (geo-economic megapolis) ที่ครอบคลุมรวมเอาทั้งฮ่องกง, มาเก๊า, และอีก 9 เมืองใหญ่ในกวางตุ้งเข้าไว้ด้วยกัน

นายกเทศมนตรี เฉิน หรูกุ้ย (Chen Rugui) ของเซินเจิ้น ระบุในรายงานฉบับหนึ่งที่เสนอต่อสมัชชาประชาชนของเทศบาลนครว่า เศรษฐกิจของเซินเจิ้นซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยการส่งออกอย่างมากมายนั้น ได้ฟื้นคืนจากแรงกดดันขาลงได้เป็นจำนวนมากแล้ว และเริ่มที่จะเร่งตัวเติบโตใหม่ หลังจากทำอัตราเติบโตขยายตัวได้ในระดับ 6.6% ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2019

ก่อนหน้านี้พวกเจ้าหน้าที่ของเซินเจิ้นมีความวิตกกังวลว่า การที่หัวเว่ย ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในนครแห่งนี้ ถูกสหรัฐฯใช้ “ม่านเหล็ก” มาพยายามสกัดขัดขวางไม่ให้ขายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี 5 จีทั้งในอเมริกาและชาติพันธมิตรอื่นๆ ทั่วโลกของอเมริกา, บวกกับยอดส่งออกโดยรวมซึ่งอยู่ในอาการสะดุดติดขัด, รวมทั้งการถอยจากไปของพวกโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต, ตลอดจนการติดเชื้อโรคทางเศรษฐกิจซึ่งลุกลามจากการประท้วงของฮ่องกง อาจกลายเป็นแรงตีกระหน่ำหนักหน่วงถึงขั้นทำให้เป็นอัมพาต แต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจของนครแห่งนี้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 ดูเหมือนทำได้ดีกว่าที่คาดหมายกันไว้ ทั้งนี้เซินเจิ้นเพิ่งได้รับการ “เจิม” จากปักกิ่งในปีที่แล้ว ในแผนแม่บทขนาดใหญ่ที่จะสร้างให้เมืองนี้กลายเป็นนครแห่งโลกซึ่งสามารถอวดโอ่คุณสมบัติดีงามต่างๆ ของระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศจีน

ขณะที่เซินเจิ้นกำลังทำท่าได้รับพลังพรักพร้อมเพื่อตะลุยบุกหน้าต่อไป เศรษฐกิจของฮ่องกงซึ่งเพิ่งถูกเมืองเพื่อนบ้านติดกันแห่งนี้แซงหน้าไปได้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันอันดุเดือดเรื่องผลผลิตจีดีพีในปี 2018 กลับกำลังแผ่วลงมาอีกจนถึงขนาดเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยพวกเจ้าหน้าที่เตือนด้วยความกังวล จากการที่ 3 ไตรมาสแรกปีที่แล้วอัตราเติบโตหดตัวลงมาอยู่ในระดับ 2.9% นครแห่งนี้ซึ่งการส่งออกและการส่งสินค้าต่อ อยู่ในภาวะซึมเซา สืบเนื่องจากการสู้รบกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอยู่แล้วนั้น ได้รับความเสียหายหนักยิ่งขึ้นอีกนับแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้วเป็นต้นมา เมื่อการประท้วงขนาดมหึมาและการอาละวาดทุบทำลายข้าวของร้านรวงและสถานที่ต่างๆ อย่างกว้างขวางครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ธุรกิจอยู่ในอาการชะงักงัน

มาถึงตอนนี้ทุกๆ สายตากำลังจับจ้องเฝ้าดูรายงานผลงานทางเศรษฐกิจของนครกว่างโจวในรอบปี 2019 หลังจากอัตราเติบโตของจีพีดีในเมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้งแห่งนี้สามารถแซงหน้าเซินเจิ้นได้แล้วในช่วง 3 ไตรมาสแรก ทำให้พวกผู้สังเกตการณ์พากันพิศวงว่า หรือกว่างโจวซึ่งมีประชากรราว 15 ล้านคนกำลังจะช่วงชิงเอาตำแหน่งนครที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคแถบนี้กลับคืนไปได้สำเร็จ ภายหลังสูญเสียให้แก่เซินเจิ้นในปี 2018 ขณะที่มีบางรายคาดหมายว่าการแข่งขันจะมีผลออกมาว่าเสมอกัน โดยที่พวกเขาทำนายตัวเลขจีดีพีตลอดทั้งปีที่แล้วของกว่างโจวว่าอยู่ในราวๆ 2.7 ล้านล้านหยวน

กว่างโจวกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างกันอย่างสนุกสาน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างการเพิ่มเส้นทางสายรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายท่าอากาศยานของนคร, ตลอดจนการขยายท่าเรือสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ และทั้งการทุบทิ้งกลุ่มตึกอาคารที่พักอาศัยจำนวนหนึ่งเพื่อเปิดพื้นที่ว่างให้แก่ย่านธุรกิจใหม่ๆ โดยที่ เทนเซนต์ (Tencent) ให้คำมั่นสัญญาที่จะรักษาฐานปฏิบัติการแอปป์ “วีแชต” (WeChat) เครือข่ายสื่อสังคมซึ่งแพร่หลายกว้างขวางของตนเอาไว้ในนครแห่งนี้ต่อไป และ อาลีบาบา (Alibaba) ก็มีแผนการสร้างสำนักงานใหญ่ประจำภาคใต้ของจีนแห่งใหม่ขึ้นที่นี่ นครแห่งนี้ยังเป็นบ้านของ ไชน่าเซาเทิร์น (China Southern) สายการบินใหญ่ที่สุดในเอเชียเมื่อวัดกันด้วยขนาดของฝูงเครื่องบิน ตลอดจนเป็นที่ตั้งของโรงงานใหญ่ที่สุดในจีนของโตโยต้า และฮอนด้า

พวกบัณฑิตสำเร็จจากมหาวิทยาลัยและกิจการสตาร์ทอัป ยังต่างกำลังพบว่า กว่างโจวเสนอที่พักอาศัยราคาถูกกว่าและพื้นที่ใหญ่โตกว่าซึ่งทำให้ความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตดีขึ้นมาก, รวมทั้งด้านการศึกษา, และการดูแลรักษาสุขภาพ ก็เปรียบเทียบได้กับพวกนครระดับชั้นที่ 1 แห่งอื่นๆ ของจีน

พวกผู้รับผิดชอบระดับมณฑลของกวางตุ้ง ต่างปักธงวาดหวังอย่างสูงว่า กว่างโจวกับเซินเจิ้นจะสามารถก่อรูปการประสานกำลังกัน เพื่อกระตุ้นการเติบโตให้เพิ่มสูงขึ้นอีก ด้วยนโยบายต่างๆ จำนวนหนึ่งซึ่งจะบูรณาการศูนย์กลางชุมชนเมืองใหญ่ทั้งสองแห่งนี้ที่ตั้งอยู่ห่างกันเพียงแค่ 130 กิโลเมตร ให้เข้าอยู่ใน “เครื่องหมุนเหวี่ยงหลอมรวมทางเศรษฐกิจ” (economic centrifuge) ในด้านธุรกิจและการลงทุน เพื่อให้บริการแก่พื้นที่อื่นๆ ของเขตเกรตเทอร์เบย์แอเรีย ในเวลาที่ฐานะความสำคัญเหนือใครเพื่อนในภูมิภาคแถบนี้ของฮ่องกง อยู่ในอาการเสื่อมถอยลดน้อยลงเรื่อยๆ.

Source

]]>
1260192
เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ขึ้นแท่นเมืองน่าลงทุนด้านอสังหาฯ แห่งเอเชียแปซิฟิก https://positioningmag.com/1256461 Sat, 14 Dec 2019 17:35:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256461 Photo : Pixabay
รายงานของ Emerging Trends in Real Estate Asia Pacific 2020 ซึ่งตีพิมพ์ร่วมกันโดย Urban Land Institute (ULI) และ PwC ระบุว่า เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ติดอันดับเมืองยอดนิยมของนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เซินเจิ้น อันดับ 6 เป็นหนึ่งในเมืองจีนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ได้เปลี่ยนจากพื้นที่การผลิตสิ่งทอ เป็นศูนย์ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์และการเงิน และด้วยการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้นไปยังเมืองอื่นๆ ในเขตกว่างตง – ฮ่องกง – มาเก๊า Greater Bay Area เซินเจิ้นจะเป็นตัวเลือกแรกสำหรับ บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ในประเทศจีนตอนใต้

เซี่ยงไฮ้ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเงินของจีนและเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

กว่างโจว อยู่อันดับ 9 คาดว่าจะได้รับอานิสงค์มากที่สุดของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพื้นที่อ่าว Greater Bay Area

สำหรับ 10 เมืองใหญ่สำหรับนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิก เรียงตามลำดับฯ ได้แก่ สิงคโปร์, โตเกียว, โฮจิมินห์, ซิดนีย์, เมลเบิร์น, เซี่ยงไฮ้, โอซาก้า, กวางโจว และ กรุงโซล

Source

]]>
1256461
เศรษฐกิจเซินเจิ้นโตช้าสุดในรอบ 40 ปี กระทบจากพิษสงครามการค้า https://positioningmag.com/1253084 Mon, 11 Nov 2019 05:39:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253084 อัตราการเติบโตของเซินเจิ้นลดลงเหลือ 6.6% ระหว่างเดือน .. – .จาก 7.4% ในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่อัตราการส่งออกร่วงลง 9.3% โดยเป็นผลจากแรงกดดันของสงครามการค้าจีน – สหรัฐฯ

รายงานระบุว่าอัตราการเติบโตดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 40 ปี และมีความสำคัญในแง่ที่ว่า การเติบโตของเซินเจิ้นเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของการับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน และยังเป็นฐานสำคัญของวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่สุดของจีน เช่น หัวเว่ย และเทนเซนต์

อัตราการเติบโตดังกล่าวสร้างแรงกดดันให้ปักกิ่งที่มีแผนปั้นมหานครเซินเจิ้นให้เป็นเมืองสังคมนิยมตัวอย่าง สำหรับจีนและสำหรับโลก และเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในภาวะที่จีนต้องเผชิญสงครามการค้ากับสหรัฐฯ

นอกจากนี้ เซินเจิ้นยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเขตอ่าวใหญ่กว่างตงฮ่องกง และมาเก๊า หรือเกรทเตอร์ เบย์ แอเรีย (Greater Bay Area: GBA) ซึ่งจีนหวังจะพัฒนาให้เป็นเครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจในอ่าวอื่น ๆ เช่น ซานฟรานซิสโก และโตเกียว

นายกัว วั่นต๋า รองประธานสถาบันพัฒนาชาติจีน (China Development Institute) เห็นว่า รัฐบาลจีนจำเป็นต้องออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนในภาคเอกชน

ทางด้านนางซินดี้ หวง ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ในเซินเจิ้นระบุว่า กลุ่มคนที่อยู่ในวงการธุรกิจต่างทราบดีว่า การประกอบกิจการในช่วงนี้มีความยากลำบาก อย่างไรก็ดี ข้อมูลการเติบโตดังกล่าวเป็นสิ่งสะท้อนว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่แย่จริง ๆ นอกจากนี้ ความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจยังกดดันให้เจ้าของอาคารสำนักงานต้องลดราคาค่าเช่าลง เพื่อไม่ให้อาคารของตนกลายเป็นอาคารร้าง.

Source

]]>
1253084
สายมินิมอลเตรียมตัว เปิดประสบการณ์ “Muji Hotel” หลังเปิดครบ 1 เดือน (มีคลิป) https://positioningmag.com/1158657 Sat, 24 Feb 2018 01:15:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158657 เปิดประสบการณ์จากผู้ได้ไปเยือน “Muji Hotel”  โรงแรมแห่งแรกซึ่ง Muji ประเดิมให้บริการครบ 1 เดือนที่เซินเจิ้น ประเทศจีน แน่นอนว่า ”freebies” หรือของฟรีจากห้องพัก ทั้งแปรงสีฟัน ปากกา กาแฟ และรองเท้าแตะที่ติดชื่อแบรนด์ Muji คือดาวเด่นที่ทำให้ Muji Hotel น่าสนใจ แต่มีอีกหลายประเด็นที่สาวก Muji ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับโรงแรมนี้

ก่อนหน้านี้เรารู้กันเพียงว่า Muji Hotel ปักหลักให้บริการ 3 เมืองแรก คือ ปักกิ่ง เซินเจิ้น และโตเกียว โดย Muji Hotel สาขาแรกที่เซินเจิ้นมีทั้งหมด 79 ห้อง จุดเด่นคือใช้วัสดุรีไซเคิลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เฟอร์นิเจอร์เน้นสีเรียบง่ายอบอุ่น มีการออกแบบให้ปลั๊กไฟมีช่อง USB สำหรับเสียบสายชาร์จอุปกรณ์ได้สะดวก เพิ่งเปิดทำการวันที่ 18 มกราคม 2018 ที่ผ่านมา

แต่ล่าสุด Johan Nylander นักเขียนของสำนัก Post Magazine บรรยายความรู้สึกจากที่ได้ไปเยือน Muji Hotel วิจารณ์ว่าแม้โรงแรม Muji แห่งแรกในเซินเจิ้นจะเรียบง่ายสมกับเป็นสไตล์ญี่ปุ่น กลับพบว่ายังมีบางจุดที่พลาดในรายละเอียดไป

ข้างในเป็นอย่างไร ?

Muji Hotel แห่งแรกเปิดทำการที่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมไอทีจีน ความคึกคักของเซินเจิ้นทำให้มีฝูงชนพลุกพล่านไปมาบริเวณหน้าป้าย Muji Hotel ขนาดใหญ่เห็นชัดจากระยะไกล

เช่นเดียวกับโรงแรมทั่วไป ล็อบบี้ของ Muji Hotel เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมที่เน้นการออกแบบเรียบง่ายแต่ทันสมัยด้วยวัสดุธรรมชาติ พนักงานพูดภาษาอังกฤษได้ดี เพลงต้อนรับเป็นเป็นเพลงแบนโจอบอุ่นสไตล์ไอริช ห้องพัก 79 ห้องของโรงแรมกระจายอยู่ในอาคาร 6 ชั้น ภายในมีร้านอาหารและร้านจำหน่ายสินค้า Muji ขนาดใหญ่ และมีห้องสมุดบนชั้น 3 ซึ่งมีหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบตกแต่งภายในและสถาปัตยกรรมให้หยิบยืม

ภาพจาก : hotel.muji.com/shenzhen/ja

ถามว่าภายในห้องพักเป็นอย่างไร ? คำตอบคือเต็มไปด้วยกลิ่นอาย minimalist เฟอร์นิเจอร์ไม้เรียบง่าย งานศิลปะและของตกแต่งที่เน้นออกแบบน้อยแต่มาก รองเท้าแตะหนานุ่ม (ที่ลูกค้าสามารถพกพากลับบ้านได้) ที่ขาดไม่ได้คือสุขภัณฑ์สุขาอัตโนมัติแบบญี่ปุ่น

ลูกค้าโรงแรมที่ติดใจสินค้าใดของ Muji สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่ Muji Store บริเวณชั้นล่างโรงแรม

ทำไม Muji ต้องทำโรงแรม และทำไมต้องเป็นเซินเจิ้น ?

2 คำถามนี้มีคำตอบ โดยเฉพาะข้อหลังที่ชัดเจนมาก เนื่องจากฐานะของเซินเจิ้นที่ถือว่าเป็นเมืองคู่แข่งซิลิคอนแวลลีย์ ที่กำลังกลายเป็นแหล่งรวมอุตสาหกรรมไอทีของโลกเอเชีย ย่อมทำให้ความต้องการโรงแรมสูงมาก Muji จึงเลือกปักหลักให้บริการโรงแรมในพื้นที่นี้

แล้วทำไม Muji ต้องย้ายเข้าไปเล่นในธุรกิจโรงแรม ? คำตอบคือเพราะ Muji ขายทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เตียงนอน โคมไฟ ไปจนถึงแปรงสีฟัน และชุดนอน ยังมีผลิตภัณฑ์กาแฟและเบเกอรี่ ดังนั้น ความพร้อมนี้อาจเป็นเพียงเรื่องของเวลา ซึ่งในช่วงก่อนเปิดโรงแรม ผู้บริหาร Muji อย่าง Joe Guan ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงแรม Muji Hotel ได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวที่ถามว่า “ทำไมเลือกเซินเจิ้น ?” ด้วยการถามกลับว่า ”ทำไมไม่เลือกล่ะ” 

ภาพบุฟเฟ่ต์ที่โรงแรม Muji Hotel ยังสะท้อนว่า Muji นำสินค้าของตัวเองมาใช้ได้เต็มที่ ทั้งช้อน ถาด จาน ชาม ชนิดไม่ต้องซื้อหาจากซัปพลายเออร์รายใด

ภาพจาก : hotel.muji.com/shenzhen/ja

มีข้อเสียไหม ?

เบื้องหลังภายนอกที่สมบูรณ์แบบ สื่ออย่าง Post บอกว่าโรงแรม Muji Hotel ให้ความรู้สึก “ว่างเปล่าเล็กน้อยและล้มเหลวกับรายละเอียดบางอย่าง”

ไม่แน่ใจว่าเป็นช่วงแรกที่เพิ่งเปิดให้บริการหรือไม่ แต่ห้องอาบน้ำบางห้องมีข้อผิดพลาดเรื่องน้ำอุ่นน้ำเย็นสลับกัน ขณะที่ฟังก์ชันอย่างการเปิดปิดไฟอัตโนมัติก็ไม่ได้ถูกใจลูกค้าทุกคน เพราะบางคนบ่นว่าไฟทุกดวงในห้องปิดลงเมื่อเดินออกไปอึดใจเดียว ยังมีม่านอัตโนมัติที่ดึงตัวเองปิดในเวลาที่ยังไม่ต้องการ ทั้งหมดนี้สร้างความเดือดร้อน เพราะการค้นหาสวิตช์ไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อห้องทั้งห้องมืดลง

อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่าลูกค้าที่กระหายน้ำ อาจจะต้องเดินออกนอกโรงแรมไปที่ท้องถนน ผ่านร้านค้าและร้านอาหารที่คึกคักด้วยฝูงชนเพื่อรับเครื่องดื่ม จุดนี้ Guan อธิบายว่าร้านค้าและโรงแรมใน Muji Hotel ดำเนินการโดยคนละบริษัท โดย Muji เป็นผู้ดำเนินการร้านค้า ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่อสังหาจีนอย่าง Shum Yip เป็นผู้ลุยธุรกิจโรงแรม ทำให้บาร์ถูกบริหารร่วมกัน

ที่สำคัญ โรงแรม Muji Hotel ไม่มีสระว่ายน้ำ ซาวน่า หรือสปา แต่มีห้องออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ ที่มีอุปกรณ์อย่างลู่วิ่ง โดยเพลงไอริช (ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้) จะติดตามลูกค้าไปทุกที่ เรียกว่าเพลงเดียวกันจะถูกเบ่นวนซ้ำตลอดทั้งวัน แม้กระทั่งตอนเช็กเอาต์ออกจากโรงแรม

ยังมีเรื่องข้อบกพร่องเรื่องอาหารเช้า แม้ห้องอาหาร “Muji Diner” จะโอ่โถงขนาด 118 ที่นั่ง และมีบริการอาหารรองท้องเช่นซุปมิโซะและผลไม้ แต่หากต้องการรับประทานอาหารจานร้อนเช่นไส้กรอก หรือติ่มซำ ลูกค้าอาจต้องเข้าคิวรอเกือบครึ่งชั่วโมง

แม้ว่าจะไม่ใช่แขกที่โรงแรม แต่ใครที่สนใจก็สามารถสัมผัสแบรนด์ Muji ได้ที่โรงแรมนี้ ทั้งส่วนร้านค้า ห้องสมุด ห้องออกกำลังกาย และห้องประชุมบนชั้น 2 และชั้น 3 ของอาคาร ขณะที่ห้องอาหาร Muji Diner จะให้บริการอาหารตะวันตก อาหารญี่ปุ่น และอาหารจีนในเวลากลางวัน และเปลี่ยนเป็นบาร์สุดฮิปในเวลากลางคืน

ราคาเทียบเท่า Hilton

ราคาเริ่มต้นของ Muji Hotel อยู่ที่ 950 หยวน (ราว 4,800 บาท) สูงสุดคือ 2,500 หยวน (ราว 12,500 บาท) ซึ่งเป็นห้องคู่ที่ใหญ่ที่สุด ราคานี้ใกล้เคียงกับ Hilton หรือ Marco Polo ในเซินเจิ้น แต่ความหลากหลายของอาหารเช้านั้นผิดกัน

สุดท้ายแล้ว Post สรุปว่าโรงแรม Muji Hotel อาจเป็นสวรรค์สำหรับ Instagramer แต่อาจน่าผิดหวังเล็กน้อยสำหรับ “คนธรรมดาปกติ” ที่ต้องการความสะดวกสบายในสไตล์ที่ต่างกัน.

ที่มา :

]]>
1158657