เดอะทอยส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 10 Apr 2019 11:00:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CJ WORX ปั้น “เอนเตอร์เทนเมนต์ ดาต้า” เลิกยัดเยียดโฆษณา-Tie in ศิลปินไม่เนียน https://positioningmag.com/1224346 Wed, 10 Apr 2019 10:27:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1224346 ภาพศิลปินจาก : https://www.facebook.com/whattheduckmusic, https://www.facebook.com/singtonumchok/

ในยุคที่ทุกคนพูดถึง “บิ๊กดาต้า” การใช้เทคโนโลยี AI, Machine Learning, Data Analytics หรืออีกมากมาย เพื่อเป้าหมายเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล หวังสร้างโอกาสให้ “แบรนด์” ครองใจผู้บริโภคและนำไปสู่ยอดขาย แต่ในมุมของคอนซูเมอร์อาจรู้สึก “ไม่โอเค” กับการถูก “ยัดเยียด” โฆษณาแบบตามหลอกหลอนจากโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา    

จิณณ์ เผ่าประไพ กรรมการผู้จัดการ CJ WORX กล่าวว่า ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งรูปแบบและช่องทางการสื่อสารจึงไม่สามารถใช้วิธีการแบบเดิมๆ เพื่อเข้าถึงคอนซูเมอร์ในยุคนี้ได้อีกต่อไป เพราะในยุค “โมบาย เฟิร์ส” ทุกคนเลือกเสพสื่อและคอนเทนต์ได้เองตามความสนใจ ด้วย “นิ้วโป้ง” ของตัวเอง

ดังนั้น งาน “โฆษณา” ที่ไม่มีผลประโยชน์หรือไม่มี “แวลู” และไม่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความสนใจ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคนี้จะไม่สนใจดูให้เสียเวลา วันนี้จึงต้องหาวิธีใหม่ๆ เข้าถึง “ผู้บริโภค” 

จากเทรนด์ “ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง” ที่ว่ากันด้วยเรื่องของ “ดาต้า” Spore Bangkok ผู้ให้บริการ Integrated Media Agency ในเครือ CJ WORX จึงพัฒนาเซอร์วิสใหม่ ที่เรียกว่า BED หรือ Branded Entertainment Data  ซึ่งจะเป็น Media Solution ให้กับแบรนด์ต่างๆ ในการนำ Entertainment Data ที่ได้รับจากผู้บริโภคที่ชื่นชอบความบันเทิงต่างๆ มาวิเคราะห์และหาอินไซต์ เพื่อต่อยอดสร้างสรรค์คอนเทนต์และเครื่องมือการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคตามความสนใจแบบไม่รู้สึกยัดเยียดให้ต้องดูโฆษณา หรือได้รับโปรโมชั่นที่ไม่ได้ตรงกับความต้องการ

จิณณ์ เผ่าประไพ

“เราเริ่มต้นจาก Entertainment Data เพราะไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เชื่อว่าคอนเทนต์บันเทิงไม่มีวันตาย เป็นคอนเทนต์ที่ทุกคนชื่นชอบมากที่สุด เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกภาษา หากมองในเชิงของไซส์ตลาด ถือเป็นฐานผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่สุด และเป็นคอนเทนต์ที่ถูกถามหาทุกวัน และไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียด”

จับมือค่ายเพลง What The Duck 

ผู้ริเริ่มโปรเจกต์ BED ชวนา กีรติยุตอมรกุล General Manager และ Strategic Planning Director บริษัท CJ WORX กล่าวว่า ปีนี้ทุกคนพูดถึงเทรนด์ “ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง” ว่าเป็นปีของ “ดาต้า” ทั้ง องค์กร แบรนด์ และเอเยนซี่ ต่างพูดเรื่อง “บิ๊ก ดาต้า” แม้บริษัทจะเห็นเป็นเทรนด์เดียวกัน แต่ด้วยความที่เป็น CJ Worx ไม่เคยคิดอะไรเหมือนคนอื่น สิ่งต่างๆ ที่คิดและสร้างสรรค์ออกมาต้อง “ใหม่” เสมอ

ดังนั้นมุมมองเรื่อง “ดาต้า” จึงต่างออกไป โดยเริ่มศึกษาว่ามีมุมใดที่มองเรื่องดาต้า แบบเข้าใจได้ไม่ยาก นอกจากที่มักพูดกันเรื่อง AI และ Machine Learning  เพราะมองว่าควรทำให้ “ดาต้ามีอารมณ์หรือมีความรัก” เพื่อให้ผู้บริโภคชื่นชอบและสนใจคอนเทนต์ที่นำเสนอ

ชวนา กีรติยุตอมรกุล

ขณะที่อุตสาหกรรมบันเทิง สิ่งที่แสดงถึงความรักได้ดี คือ “แฟนคลับ” จึงเริ่มทำงานเรื่อง “ดาต้า” ด้วยการเข้าไปจับมือกับ “เอนเตอร์เทนเมนต์ แพลตฟอร์ม” ที่ไม่ทำให้ “ดาต้า” เป็นเรื่องที่หนักเกินไป โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับค่ายเพลง What The Duck ในฐานะ Exclusive Partner เพื่อแปลงข้อมูลความรักของแฟนคลับศิลปินมาเป็น “ดาต้า” ที่มีศักยภาพสำหรับลูกค้า

ข้อมูลที่ได้จากดาต้าของ What The Duck คือฐานแฟนคลับจากสื่อโซเชียล ทั้ง Like Comment Share และการติดตามวิดีโอ คอนเทนต์ในช่องทางต่างๆ ของศิลปิน

“ดาต้า” จากเอนเตอร์เทนเมนต์ แพลตฟอร์ม จะทำให้เราเห็น Consumer Journey ไปพร้อมกับเห็นโอกาสทางธุรกิจที่แบรนด์จะสามารถเข้ามาเชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างไม่รู้สึกต่อต้าน เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภครายนั้นๆ ชอบอยู่แล้ว

 “เราจึงเป็น Media Solution ในการหา Touch Point จากการนำดาต้าของผู้บริโภคกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับแบรนด์”

กลยุทธ์และเซอร์วิสของ BED เป็นการทำงานบนหลักคิดเรื่อง Relationship Economy ที่สามารถใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม จากเดิมที่เป็นเรื่อง Economy of Scale คือการผลิตมากเพื่อให้ต้นทุนจะต่ำลง เช่นเดียวกันหากมี Relationship จำนวนมาก การลงทุนจะยิ่งต่ำลง เพราะเมื่อผู้บริโภครักแบรนด์ จากการเรียนรู้ดาต้าของคอนซูเมอร์จำนวนมาก จะทำให้แบรนด์รู้จักผู้บริโภคมากขึ้น รู้ว่าชอบคอนเทนต์ประเภทไหน และทำคอนเทนต์ที่ตามความชอบ จะช่วยประหยัดเงินจากการทำคอนเทนต์ที่ไม่ตรงใจ โดยได้ข้อมูลจาก  Relationship ที่เรียนรู้จากดาต้า

ในฝั่งของศิลปินเองจะได้รู้จักแฟนคลับของตัวเอง สามารถแต่งเพลงออกมาในแบบที่แฟนคลับอยากฟัง อีกทั้งยังเป็นสาวกของศิลปินและชื่นชอบแบรนด์ ที่ศิลปินเป็นพรีเซ็นเตอร์หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง

เลิก Tie in ศิลปินแบบไม่เนียน

เมื่อมีดาต้าจากเอนเตอร์เทนเมนต์ แพลตฟอร์ม ที่ดึงข้อมูลมาจากฐานแฟนคลับศิลปิน จะทำให้มีข้อมูลในการพัฒนา Media Solution ใหม่ๆ ผ่านโปรเจกต์ Branded Entertainment Data ที่จะทำให้การสื่อสารและคอนเทนต์ที่เข้าถึงผู้บริโภคเป็นอะไรที่มากกว่าการยิงโฆษณาหลอกหลอนแบบ Retargeting และตอบโจทย์ความสนใจของผู้บริโภคไปพร้อมกัน เรียกว่าไม่ฝืนพฤติกรรมของผู้บริโภค สิ่งที่จะได้ตามมาคือ โอกาสทางธุรกิจของแบรนด์

ตัวอย่างง่ายๆ ที่ทำได้จากดาต้าของ What The Duck เมื่อศิลปิน “สิงโต นำโชค” กำลังจะเปิดซิงเกิลเพลงใหม่ สิ่งที่ BED ทำได้เลยคือเข้าไปดูฐานแฟนคลับของสิงโต นำโชค จากเฟซบุ๊ก แฟนเพจที่มีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคน เพื่อเริ่มต้นดูข้อมูลทั่วไปว่าเป็นใคร สนใจอะไร เพื่อทำ Marketing Plan ของแบรนด์ต่างๆ ที่เหมาะกับแฟนคลับของสิงโต นำโชค

หากเป็นฟอร์แมตที่ แอดวานซ์ จะเป็นการทำโปรเจกต์ จากข้อมูลเอนเตอร์เทนเมนต์ แพลตฟอร์ม กับศิลปิน เดอะทอยส์ ด้วยการเก็บดาต้าคนที่มาดูมิวสิกวิดีโอ เดอะทอยส์ เนื้อหาในมิวสิกวิดีโอ เดอะทอยส์ จะเสื้อคอลเลกชั่นใหม่ของแบรนด์หนึ่ง โดยไม่ต้องมีภาพการใส่เสื้อเหมือนการ Tie in แบรนด์ในอดีต เมื่อมีคนเข้ามาดูมิวสิกวิดีโอ ระบบจะเก็บดาต้าผู้ชมไว้ จากนั้นวันถัดไประบบ Retargeting จะส่งโฆษณาคอลเลกชั่นใหม่ของเสื้อผ้าแบรนด์นั้นและโปรโมชั่นส่วนลด พร้อมเว็บไซต์เพื่อให้เข้าไปซื้อคลิกซื้อ

“เรารู้กลุ่มผู้สนใจสินค้าได้จากคนที่ดูคอนเทนต์ หากดูเนื้อหาต่อเนื่องไป 25% ของคอนเทนต์ทั้งหมด คาดการณ์ได้ว่าผู้ชมมีความคุ้นเคยกับแบรนด์เสื้อผ้าที่ศิลปินสวมใส่อยู่ หากวันต่อมาผู้ชมเห็นโฆษณาเสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์เดิม ก็อาจจะคลิกซื้อได้ เพราะคุ้นเคยจากคอนเทนต์ที่ดูมาแล้ว โดยระบบจะ Retarget ได้ตรงกลุ่มจากฐานของมูลแฟนคลับ”

การได้ดาต้าจากเอนเตอร์เทนเมนต์ แพลตฟอร์ม ทำให้ CJ WORX สามารถพัฒนาโปรเจกต์ใหม่ เพื่อนำเสนอ Solution ที่แตกต่างให้ลูกค้าได้ โดยจะเป็น Media Solution ที่แก้ปัญหาให้ลูกค้าหลายราย ที่พยายามจะยัดเยียด “โปรดักต์” อยู่ในคอนเทนต์ หรือการพยายามให้ศิลปินบริโภคสินค้าของแบรนด์ต่างๆ ทั้งที่ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ หรือเป็นการ Tie in แบบไม่เนียน และผู้บริโภคก็ไม่ต้องเห็นฉากการดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในรายการประกวดร้องเพลง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายการ

ชวนา กีรติยุตอมรกุล

เซอร์วิสลูกค้าระยะยาว

โปรเจกต์ BED ที่เป็นการเก็บข้อมูลจาก “เอนเตอร์เทนเมนต์ แพลตฟอร์ม” และพัฒนาเป็นบริการด้าน Media Solution จะทำให้ CJ WORX ทำหน้าที่เป็น “ที่ปรึกษา” ให้กับลูกค้าได้มากขึ้น เป็นเหมือนเพื่อนคู่คิด เพราะการเก็บดาต้าในมุมของระยะเวลา ยิ่งลูกค้าอยู่นานเท่าไหร่ ก็จะได้แวลูจากการเรียนรู้ดาต้าได้มากขึ้น

ดังนั้นจากเดิมที่อาจทำงานร่วมกันระยะสั้นโปรเจกต์เดียว แต่การทำงานบนดาต้าใหม่ๆ จะทำให้สามารถเสนอโปรเจกต์ระยะยาวและทำงานกับลูกค้าได้นานขึ้น  เพราะ “ดาต้า” บางอย่างต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระยะยาว หรือโปรเจกต์เดียวแต่ ต้อง Optimize การทำงานต่อเนื่อง ปัจจุบัน CJ Worx ดูแลลูกค้าบางรายที่ทำงานร่วมกันตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้ง CJ WORX หรือกว่า 8 ปี

]]>
1224346
ถอดรหัส “เดอะทอยส์” อะไรคือความสำเร็จของนักร้องรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1205798 Sat, 29 Dec 2018 02:58:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205798 ยิ่งไม่เข้าใจยิ่งดัง ยิ่งมีดรามาซ้ำ ก็ยิ่งส่งกระแส ถ้าผ่านเวทีเมืองนอกมาแล้ว คนไทยยิ่งยอมรับง่ายขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้เหมือนจะกลายเป็นส่วนประกอบความดังของนักร้องยุคนี้ไปแล้ว เพราะดูเหมือนว่าอะไรที่มันไม่ลงตัว ชวนเอ๊ะนี่แหละ ที่กลายเป็นแรงดึงดูดทำให้ “นักร้องรุ่นใหม่” ได้รับความสนใจและอาจจะถึงกับเป็นสปริงบอร์ดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

เรื่องแบบนี้ปฏิเสธไม่ได้ เพราะไม่ว่าวงการเพลงเมืองไทยจะพัฒนาไปแค่ไหน และนักฟังเพลงของไทยจะเริ่มรู้จักหันไปโฟกัสนักร้องที่ความสามารถมากขึ้นกว่าเดิมแล้วก็ตาม แต่สไตล์ผู้บริโภคไทยก็ยังสนใจและมองข้ามไม่พ้นชีวิตส่วนตัวรวมถึงบุคลิกภาพของนักร้อง และไม่เคยวางเรื่องเหล่านี้แยกจากผลงาน ทำให้องค์ประกอบเหล่านี้ยังต้องมีผลต่อความสำเร็จและความดังของนักร้องไทยจนถึงปัจจุบัน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเริ่มมาจาก “ความสามารถ” ที่นักร้องเหล่านั้นมีอยู่แล้วในตัวเสียก่อน ไม่ใช่ว่าไม่มีของ ไม่มีดี แล้วจะมาอาศัยแค่กระแส ดรามา สร้างแบรนด์ ก็หมดยุคแล้วเช่นกัน เพราะคุณสมบัติแท้เท่านั้นที่จะบ่งบอกได้ว่าเป็นตัวจริงอย่างไร และยิ่งสร้างความมั่นใจให้คนฟังมากยิ่งขึ้น เมื่อเขาอยากรู้จักแล้วเจอข้อมูลที่ทำให้ว้าว

ความรู้สึกพวกนี้ไม่ใช่ของแปลกใหม่ เพราะผู้บริโภคทั่วไป มักจะรู้สึกภูมิใจเสมอถ้าสิ่งที่ตนเลือกเป็นของดีที่สามารถสะท้อนกลับมาเพิ่มความรู้สึกดีๆ เช่น การเลือกใช้ หรือชอบแบรนด์ที่บอกได้ว่าเป็นคนตาถึง ช่างเลือก แต่ก็ไม่แปลกเช่นกัน ที่จะมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่มีความมั่นใจในสิ่งที่เลือกโดยไม่แคร์อะไร

ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นข้อดีของผู้บริโภคยุคนี้ จากที่มีความเป็นตัวของตัวเองที่หลากหลายมากขึ้น พอๆ กับบรรดาสินค้า หรือนักร้องในวงการดนตรี นั่นคือพร้อมจะแสดงออกว่า ตัวเองเป็นแนวไหน เป็นคนอย่างไรผ่านสิ่งที่ชอบ

ไม่ต้องเพอร์เฟกต์แต่ต้องยูนีกและเรียล

สำหรับวงการเพลง ความรู้สึกที่ส่งผลถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลายนี่เอง ทำให้วงการได้เห็นนักร้องรุ่นใหม่ๆ ที่อาจจะทำให้บางคนที่ยังติดกับภาพนักร้องรุ่นเก่า ต้องทำความเข้าใจเด็กยุคใหม่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเสียที

ในวงการตลาด พูดกันถึงแบรนด์ยุคนี้ที่ได้รับผลจากโลกดิจิทัลที่ต้องทำอะไรด้วยความรวดเร็วกว่าเดิมหลายเท่า เพราะโลกการตลาดต้องการความเร็ว เหมือนที่คนนิยามว่า เป็นยุคปลาเร็วกินปลาช้า ปลาตัวเล็กที่ปราดเปรียวก็พร้อมจะตอดปลาใหญ่จนตายได้ ซึ่งมีผลให้แบรนด์ยุคนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟกต์อีกต่อไป แต่ต้องมีจุดยืนและจุดแข็งของตัวเองที่ชัดเจน และมีเอกลักษณ์ด้วยยิ่งดี

ภาพจาก : facebook.com/thisisthetoy

คุณสมบัติแบบนี้คือสิ่งที่นักร้องที่กำลังมาแรงอย่าง เดอะทอยส์ (The Toys) ธันวา บุญสูงเนิน มีอยู่ในตัวเองโดยธรรมชาติ และจากพัฒนาการด้านดนตรีที่สะสมมาหลังจากที่เขาตัดสินใจชัดเจนแล้วว่าจะเอาจริงเอาจังกับงานดนตรีตั้งแต่วัยรุ่น จนเลือกที่จะเดินออกจากระบบการศึกษาซึ่งต่างจากเด็กไทยวัยเดียวกัน

จนผ่านเส้นทางที่ทำให้หลอมรวมกันจนกลายเป็นความเรียล (Real) ที่มีเอกลักษณ์ และกลายเป็นแรงดึงดูดที่ทำให้คนได้ฟังเพลง ได้เห็นผ่านการแสดง เริ่มสนใจ และสามารถเพิ่มน้ำหนักความชอบมากขึ้นเมื่อได้รู้ที่มาที่ไปเบื้องหลังผลงานเพลงและภาพลักษณ์ที่ได้เห็น

เดอะทอยส์เริ่มเป็นที่สนใจจากเสียงเพลงและเนื้อหาที่สะดุดหู ท่อนแร็ปรัวๆ ที่ฟังไม่ทัน จับใจความไม่ได้ แต่มันเหมือนจังหวะดนตรีที่ทำให้ต้องฟังซ้ำ หาความหมาย จนคนฟังไม่ปล่อยผ่าน และภายใต้หน้านิ่งๆ ไม่หยิ่ง ไม่ยิ้ม ดูสื่อสารกับคนรอบตัวไม่รู้เรื่อง รวมทั้งดูเหมือนว่าจะไม่มีคำว่า “แฟนเซอร์วิส” อยู่ในหัวแม้ในยามที่ต้องปรากฏตัวต่อสาธารณชน ก็เป็นภาพที่ขัดแย้งจากนักร้อง หรือไอดอลทั่วไป

นี่คือภาพของเดอะทอยส์ โดยเฉพาะจากการไปร่วมงาน MAMA หรือ MNet Asian Music Award 2018 เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2018 ที่ผ่านมาที่ประเทศเกาหลี พร้อมกับคว้ารางวัล Best New Asian Artist Thailand และโชว์เพลงก่อนฤดูฝนที่มีท่อนแร็ปรัวเร็วที่เจ้าตัวเผยว่า ตั้งใจร้องให้คนร้องตามไม่ได้ แต่กลายเป็นท่อนที่ส่งให้คนไทยรวมทั้งคนเกาหลีถูกเดอะทอยส์ตกมาเป็นแฟนจำนวนมาก โดยเฉพาะสถิติที่ยืนยันได้จากชื่อ The Toys ขึ้นเทรนด์คำค้นอันดับหนึ่งของเกาหลีในช่วงนั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นย้ำไอเดียของทอยในการทำเพลงที่ว่า เพลงที่เข้าถึงง่าย ไม่มีสเต็ป จะไม่มีแรงดึงดูด และเขาก็เลือกทำเพลงที่อยากจะทำโดยให้น้ำหนักถึง 80% มากกว่าที่จะเลือกทำเพลงตามใจตลาด

งาน  MAMA 2018 ยังเป็นที่มาให้เกิดบทดรามาจากฝั่งประเทศไทย จากจุดเล็กๆ เพียงแค่ทอยทำมือเป็นรูปมินิฮาร์ทผิดทรง แล้วหลังจากมีการค้นข้อมูลที่ไม่รู้เป็นอะไรจะต้องเกิดทัศนคติลบๆ ปนมากับงานเพลงและศิลปินที่น่าชื่นชมทุกทีไป เป็นเรื่องแม้กระทั่งชื่อเล่นที่แท้จริง ความเป็นธรรมชาติซื่อๆ ใสๆ ที่ถูกมองเป็นเรื่องเด๋อด๋าของคนบางกลุ่ม ที่แรงสุดก็น่าจะเป็นเซียนเพลงสมัครเล่นที่ออกมาถอดรหัสทำนองสไตล์เพลงที่หาว่าย้อนไปก๊อปไกลถึงงานเพลงในยุค 80 กันเลยทีเดียว

โชคดีที่ได้กระแสชื่นชมจากต่างประเทศ เพราะขณะที่คนบางกลุ่มในไทยมองว่าเด๋อด๋า อย่างในเกาหลีกลับมองเป็นเรื่องน่ารักใสๆ ของหนุ่มขี้อาย บวกกับขาใหญ่ในวงการเพลงอย่าง ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ที่ออกมาดับดรามาไปได้เสียก่อนจนได้สติขึ้นมา

หลุดเรื่องดรามา มาดูเนื้องานความเป็นเดอะทอยส์ ต้องบอกว่า เดอะทอยส์นับเป็นแบรนด์ที่มีพื้นฐานพร้อมดังที่เข้ากับยุคนี้ในหลายประเด็น

ที่ขาดไม่ได้คือ ความเก่งรอบด้าน ที่ได้มาโดยสายเลือดส่วนหนึ่งบวกกับการฝึกฝนด้วยตัวเองและประสบการณ์ทำงานในวงการเพลงตั้งแต่เด็กเมื่อรู้ตัวว่าชอบอะไร

ยุคนี้ไอดอลส่วนใหญ่ โดยเฉพาะไอดอลเกาหลี แต่ละค่ายต่างก็ต้องสอนทุกเรื่องที่นักร้องควรรู้ทั้งดนตรี การเขียนเพลง การเต้น การร้อง แต่เดอะทอยส์ทำทุกอย่างนี้มาด้วยตัวเอง (ปล.อาจจะเว้นการเต้น)

ทอย เป็นคนที่มีความสามารถเล่นดนตรีได้ แต่งเพลงเป็น ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง โปรดิวซ์ รวมทั้งร้องเองเมื่อเพลงที่แต่งถูกคนอื่นปฏิเสธ และนี่อาจจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เพลงเข้าถึงอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

ใครเคยฟัง ลาลาลอย ผลงานล่าสุดของเดอะทอยส์ ก็อาจจะพอนึกออกกับเนื้อหาและทวงทำนองเพลงที่ปล่อยไหลไปตามอารมณ์ เพราะเอาจริงๆ คนส่วนใหญ่เวลาฟังเพลงมักจะเน้นอารมณ์เพลงเป็นหลักมากกว่าเนื้อเพลง ซึ่ง ทอย ก็เล่าถึงที่มาของเพลงนี้ว่า ได้ไอเดียมาจากเห็นลูกโป่งที่หลุดลอยผ่านหน้ารถ แล้วก็เลยผ่านไปแค่นั้น จนกลายมาเป็นเพลงหนึ่งเพลง

ประสบการณ์ที่หลอมมาเป็นทอย และทำให้เขามีความสามารถที่จะสร้างผลงานเพลงทั้งหมดได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว จากเบื้องหลังมาถึงเบื้องหน้าแบบครบ 360 องศา กับงานเพลงที่โดนใจคนรุ่นใหม่ วันนี้เลยทำให้เดอะทอยส์ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนฟังในช่วงวัยเดียวกัน และกลายมาเป็นไอดอลโดยที่ไม่ต้องพยายามแสดงอะไรให้มากไปกว่าแสดงออกตามธรรมชาติและความเป็นเอกลักษณ์ที่มีอยู่ในตัว ซึ่งรวมถึงไม่ต้องพยายามสื่อสาร เพราะเขากลายเป็นแบรนด์ที่คนพยายามที่จะรู้จักและเข้าใจมากขึ้นเมื่อเกิดความชื่นชอบ

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตถ้าเป็นการพูดคุยเรื่องดนตรี ต้องยอมรับว่าบทสนทนาของทอยจะลื่นไหลเป็นพิเศษ

หากให้สรุปเหตุความดังของเดอะทอยส์ ณ วันนี้ ต้องพูดเลยว่า เป็นเพราะเขาพัฒนามาบนสิ่งที่เขาสนใจตั้งแต่ต้นและไม่เคยหยุด จะว่าไปก็เหมือน kaizen หรือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในสไตล์ญี่ปุ่นดีๆ นั่นเอง อีกทั้งการพัฒนานั้นเกิดขึ้นบนจุดแข็งหรือความสามารถที่ตัวเองมีโดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกระแส จนทำให้สิ่งที่ทำมันกลายเป็นกระแสขึ้นมาในที่สุด และที่ขาดไม่ได้อย่างวงการเพลงซึ่งถือเป็นงานสร้างสรรค์คือการใช้ครีเอทีฟมายด์เป็นตัวขับเคลื่อนเหมือนปล่อยเพลงไหลไปตามอารมณ์มากกว่าเน้นเรื่องความคิดในเนื้อหาเพลง ขณะเดียวกันก็แสดงความรู้สึกและเป็นตัวของตัวเองด้วยการแสดงออกตรงไปตรงมาโดยไม่พยายามต้องเป็นแบบใครหรือเพื่อทำให้ดูดี ซึ่งสำหรับเดอะทอยส์ความตั้งใจที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใครนี่เอง ทำให้เขาไม่เหมือนใครโดยธรรมชาติจนเป็นเอกลักษณ์.

]]>
1205798