เทนเซนต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Dec 2023 04:39:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มูลค่าตลาด ‘Tencent’ หล่นวูบ 5.4 หมื่นล้านเหรียญ หลังจีนออกร่างกฎหมายเพื่อ ‘คุมการเล่นเกม’ ฉบับใหม่ https://positioningmag.com/1457014 Sat, 23 Dec 2023 03:57:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457014 ก่อนหน้านี้ จีน เคยออกกฎห้ามไม่ให้ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเล่นเกมออนไลน์เกิน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจำกัดให้เล่นเกมได้เฉพาะระหว่างเวลา 20.00 น. ถึง 21.00 น. ในวันศุกร์ วันหยุดสุดสัปดาห์ และในที่สาธารณะเท่านั้น วันหยุดเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน นอกจากนี้ยังเสนอกฎเพื่อจำกัดเวลาหน้าจอสมาร์ทโฟนสูงสุดไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

ด้วยข้อบังคับดังกล่าว ทำให้หุ้นของบริษัทเกมของจีนหลายรายหล่นวูบ และล่าสุด บริษัทเกมก็ต้องกุมขมับอีกรอบจาก ร่างกฎหมายใหม่ ที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลการเล่นเกมชั้นนำของจีนได้กำหนดให้เจ้าของเกมออนไลน์ ห้ามออกรางวัลที่จูงใจให้ผู้ใช้เข้ามาล็อกอินบ่อย ๆ รวมถึง ควบคุมการใช้จ่ายเงินและการใช้เวลาบนเกมออนไลน์

จากร่างกฎหมายใหม่ดังกล่าว ทำให้หุ้นของบริษัทเกมรายใหญ่ของจีนร่วงระนาว โดยหุ้นของ เทนเซ็นต์ (Tencent) ร่วงประมาณ 12% สูญเสียมูลค่าตลาดไปประมาณ 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหุ้นของ เน็ตอีส (NetEase) ร่วงกว่า 25%

“ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากแรงจูงใจหรือรางวัลเพื่อดึงดูดผู้ใช้และเพิ่มความรอยัลตี้” Brian Tycangco นักวิเคราะห์จาก Stansberry Research กล่าว Brian Tycangco นักวิเคราะห์จาก Stansberry Research กล่าว

แม้ว่า Tencent จะมีรายได้หลายทางเพราะเป็นเจ้าของหลายแพลตฟอร์ม เช่น WeChat แต่รายได้ประมาณ 1 ใน 5 ก็มาจาก เกมออนไลน์ในประเทศ ขณะที่ NetEase มีรายได้จากเกมเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนถึง 80% ขณะที่ตลาดเกมของจีนเคยมีการคาดการณ์ว่าปีนี้จะเติบโตเกือบ 14% แตะระดับ 3. 4.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธุรกิจหดตัวลง 10% เมื่อปีที่แล้ว

นับตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา จีนได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อจำกัดการเล่นเกม เนื่องจาก ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง โทษว่า การติดเกมออนไลน์ว่าเป็นสาเหตุให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้น และส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของวัยรุ่นในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดเวลา หรือการออกสิทธิ์ในใบอนุญาตเกมที่ยากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1457014
คุยกับ ‘WeTV’ แพลตฟอร์มที่ยืนหนึ่งตลาดคอนเทนต์เอเชีย กับกลยุทธ์ที่มากกว่าคอนเทนต์โดนใจ แต่ต้องอยู่กับผู้ชมในทุกทัชพอยต์ https://positioningmag.com/1426070 Fri, 07 Apr 2023 10:00:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426070

เผลอแป๊บเดียว แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอย่าง ‘วีทีวี’ (WeTV) ที่ถือเป็นผู้จุดกระแส ‘ซีรีส์จีน’ และกระแส ‘C-Pop’ ให้กับประเทศไทย ก็กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว และปัจจุบัน WeTV ก็ขึ้นแท่นเป็น Top 3 แพลตฟอร์มสตรีมมิงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Positioning จะพาไปเจาะลึกถึงกลยุทธ์ของแพลตฟอร์มกับ กนกพร ปรัชญาเศรษฐ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและการขาย และผู้จัดการ WeTV ประจำประเทศไทย บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จตลอด 4 ปีเต็ม


คาแรกเตอร์ชัด ผู้บุกเบิกคอนเทนต์จีน

ทำตลาดในไทยมา 4 ปีเต็มแล้ว สำหรับ ‘WeTV’ ผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิงจาก ‘Tencent’ ยักษ์ใหญ่จากจีน โดย กนกพร ยอมรับว่าการแข่งขันนั้นดุเดือดขึ้นทุกวัน เพราะไทยถือเป็นหมุดหมายแรก ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงจะเข้ามาทำตลาด โดยผู้เล่นแต่ละรายก็จะมี จุดเด่น และ คาแรกเตอร์ เพื่อดึงดูดผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป สำหรับ WeTV ก็จะเน้นที่คอนเทนต์เอเชียโดยเฉพาะ ซีรีส์จีน

ปัจจุบัน WeTV ถือเป็นผู้นำในตลาดคอนเทนต์จากเอเชีย โดยมีทั้งซีรีส์ อนิเมะ รายการวาไรตี้ จากจีน ไทย เกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับบนแพลตฟอร์มของ WeTV ที่ให้บริการในไทยนั้นมีจำนวนคอนเทนต์รวมกว่า 1,200 คอนเทนต์ โดยเฉพาะกลุ่มคอนเทนต์จีนที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มถึง 50% ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ ซีรีส์จีนย้อนยุค (60%) และโมเดิร์นดราม่า (40%)

“ถ้าคนอยากดูคอนเทนต์จีน เขาก็จะนึกถึงเราเป็น Top of Mind แต่คอนเทนต์จีนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเพราะเขามองหาความหลากหลาย ดังนั้น อีก 50% ที่เหลือจะมีทั้งคอนเทนต์จากไทย, เกาหลี, ญี่ปุ่น และอนิเมะ เข้ามาเสริม”


ซีรีส์จีนไม่ได้โบราณอย่างที่คิด

ถ้าเป็นกลุ่มผู้ใหญ่หรือคนยุค 90 อาจจะคุ้นเคยกับซีรีส์และภาพยนตร์จีนมากกว่าคนเจนใหม่ แต่ กนกพร มองว่านั่นไม่ใช่ข้อจำกัด เพราะซีรีส์จีนในปัจจุบันไม่ได้เหมือนในอดีต แม้ฉากหลังจะย้อนยุคแต่พล็อตเรื่องเป็นแบบสมัยใหม่ เพราะซีรีส์ส่วนใหญ่จะสร้างมาจากนิยาย ทำให้คนเปิดใจได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ดารา คอสตูม เอฟเฟกต์ การถ่ายทำ ก็อลังการ ทำให้สามารถรับชมได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ ก็จะมีกลุ่มที่เป็นแฟนนิยายตามมาดูซีรีส์

“ซีรีส์จีนในยุคปัจจุบันแม้จะมีฉากหลังเป็นยุคเก่า แต่พล็อตเรื่องมีความร่วมสมัยและหลากหลายมาก ทั้งแนวต่อสู้กำลังภายใน สืบสวนสอบสวน อย่างเรื่อง เทียบท้าปฐพี (Who Rules The World) ก็มีนางเอกเป็นตัวนำในการดำเนินเรื่อง แหวกขนบสังคมชายเป็นใหญ่”

โดยในปีที่ผ่านมา WeTV มีจำนวนผู้ใช้งาน MAU (Monthly-active user) เติบโตขึ้น 20% ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยในฝั่งของไทยตลอด 3 ปีที่ผ่านมายอดการรับชมคอนเทนต์จีนยังเป็นอันดับ 1 เติบโต 12%
(รองลงมาคือคอนเทนต์ไทยและอนิเมะ) ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าในกลุ่มผู้ใช้งานคนไทยตอบสนองต่อคอนเทนต์จีน โดยปัจจุบัน ผู้ใช้งาน WeTV ในไทยนั้น ราว 75% เป็นกลุ่มอายุ 18-45 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง


ย้ำจุดแข็งเบอร์หนึ่งคอนเทนต์เอเชีย พร้อมส่ง ‘มินิซีรีส์’ เสริมแกร่งด้านคอนเทนต์

ในส่วนของกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ แน่นอนว่าคอนเทนต์จีนยังเป็นกลยุทธ์หลัก แต่ที่เพิ่มเติมคือ มินิซีรีส์ โดยจะเป็นซีรีส์  สั้น ๆ ตอนละ 5-10 นาที มีความยาวประมาณ 30 ตอน โดยหลังจากลองเปิดตัวมาประมาณ 1 ปีในไทยก็ได้รับกระแส  ตอบรับอย่างดี เกิดกระแสบนโลกออนไลน์มากมาย สอดคล้องกับการเติบโตของระยะเวลาการออกอากาศบนแพลตฟอร์ม WeTV ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โตถึง 420% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและความนิยมคอนเทนต์ประเภทวิดีโอสั้น (Short-video) ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจุดเด่นของมินิซีรีส์คือ จะสามารถดูง่าย จบในตอน ปัจจุบัน มินิซีรีส์ในแพลตฟอร์มมีมากกว่า 100 เรื่อง อีกส่วนที่จะเน้นคือ อนิเมะจีน ที่จะมาจับกลุ่มผู้ชายเป็นหลัก รวมถึงคอนเทนต์ประเภท วาไรตี้ ที่จะช่วยดึงดูดกลุ่มเด็กอายุ 15-18 ปี

สำหรับคอนเทนต์ออริจินัล WeTV ก็มีแผนจะผลิตอย่างต่อเนื่องทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทย โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายที่จะผลิตให้ได้ปีละ 4-6 เรื่อง ทั้งซีรีส์วายและซีรีส์ดราม่า โดยจะนำไปฉายให้ครบทุกประเทศที่แพลตฟอร์มให้บริการ อย่างล่าสุดซีรีส์ เมียหลวง ก็ได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ ด้วยการครองอันดับ 1 ในหลายพื้นที่ให้บริการทั้งไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา โดยหนึ่งในจุดมุ่งหมายในการทำออริจินัลของ WeTV คือ อยากทำคอนเทนต์ไทยไปสายตาโลก

“อย่างที่เขาพูดกันว่าซีรีส์วายก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในซอฟต์เพาเวอร์ของไทยได้ เพราะเป็นอีกคอนเทนต์ที่ไปตกแม่ ๆ จากต่างประเทศ สำหรับ WeTV ปีที่แล้วก็มีออริจินัลซีรีส์วายออกไป 2 เรื่อง คือ กลรักรุ่นพี่ และ 609 Bedtime Story สำหรับปีนี้ล่าสุดก็มีการจับมือกับพาร์ทเนอร์ผลิตซีรีส์วายอย่าง Dee Hup House และ Just Up นำซีรีส์วาย “ค่อยๆ รัก Step by Step” เวอร์ชัน Uncut มาออกอากาศที่ WeTV ”


ขยายพันธมิตร 100% ทุกด้าน

ที่ผ่านมา WeTV ขยายฐานพันธมิตรแทบ 100% ในทุกแกนทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค ซึ่งการจับมือกับพันธมิตรถือเป็นอีกกลยุทธ์ของแพลตฟอร์มทั้งการเพิ่มจำนวนผู้ใช้และรายได้ โดยในฝั่งของการเพิ่มจำนวนผู้ใช้ WeTV ได้จับมือกับช่องดิจิทัลทีวี เช่น ช่อง 8 ที่นำซีรีส์จีนไปฉายตลอด 7 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ลองรับชมซีรีส์จีน ถือเป็น Win-Win Strategy
เพราะช่องก็ได้คอนเทนต์คุณภาพไปฉาย ส่วน WeTV อาจจะได้ลูกค้าใหม่ที่ไม่อยากรอชมคอนเทนต์บนทีวี

อีกกลุ่มพันธมิตรสำคัญคือ ผู้ให้บริการการสื่อสารและโทรคมนาคมชั้นนำในแต่ละประเทศ อาทิ Telkomsel และ Indihome ในประเทศอินโดนีเซีย AIS, TRUE และ DTAC ในประเทศไทย โดยในระดับภูมิภาค WeTV ยังเป็นพันธมิตรกับแบรนด์และเอเจนซีโฆษณาชั้นนำระดับโลกมากมาย ซึ่ง WeTV ยังเตรียมจัดกิจกรรมโรดโชว์รายไตรมาสในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสด้านพันธมิตรใหม่ๆ ทั้งกลุ่มเอเจนซีโฆษณา อาทิ GroupM, Omnicom Media Group (OMG), และ Dentsu รวมถึงกลุ่มนักโฆษณาและการตลาดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มองเห็นศักยภาพจากการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ผ่าน WeTV

“เราเชื่อว่าทุกคนพยายามมองหาสิทธิพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้าของเขา เราก็ขอเป็น 1 ในสิทธิพิเศษที่เขาจะให้กับลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่กลุ่มโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์เติบโตสูงมากจริง ๆ รวมไปถึงการทำโฆษณาบนแพลตฟอร์ม OTT เพราะปัจจุบันผู้บริโภคยอมรับชมโฆษณามากขึ้น”


เข้าหาแม่ ๆ ในทุกทัชพอยต์

กนกพร ย้ำว่า แน่นอนว่าทุกแพลตฟอร์มใช้คอนเทนต์เป็นสิ่งแรกในการดึงดูดผู้ใช้ แต่สิ่งสำคัญคือ การสื่อสารกับผู้ใช้งาน โดย WeTV ให้ความสำคัญกับ คอมมิวนิตี หรือ แฟนด้อม มาก ดังนั้น บนแพลตฟอร์มเองก็จะมีการนำเทคโนโลยีจาก Tencent มาพัฒนา In-App engagement Feature ไม่ว่าจะเป็น Killing Feature อย่าง Flying Comment หรือคอมเมนต์เรียลไทม์ระหว่างรับชมคอนเทนต์ และฟีเจอร์ Send Love ที่ให้แฟนๆได้ร่วมส่งของขวัญ ร่วมโหวตให้กับดารา ศิลปินที่ชื่นชอบได้ นอกจากนี้ยังนำฟีเจอร์นี้มาผนวกกับ On Ground Activity เช่น กิจกรรมแฟนมีตติ้ง หรือกิจกรรม WeTV AWARDS ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมกับ WeTV แบบเอ็กซ์คลูซีฟตลอดทั้งกิจกรรม นอกจากนี้ WeTV ก็มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเหล่าแฟนคลับซีรีส์จีนและคอมมิวนิตีที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ

“เหล่าแฟนคลับหรือแม่ ๆ สำคัญมาก เพราะถ้าเขาดูและเขาชื่นชอบก็จะมีการบอกต่อ เราก็จะมีการทำงานอย่างใกล้ชิด พยายามจัดงานแฟนมีตกับศิลปิน และมีการใช้ฟีเจอร์อย่าง Live เพื่อให้แฟนคลับทางบ้านได้ดูด้วย โดยเราพยายามจะจัดให้ได้ 4-6 ครั้ง/ปี”


โอกาสเติบโตมากพอ ๆ กับความท้าทาย

สำหรับเป้าหมายของ WeTV ในปีที่ 5 นี้ กนกพร ระบุว่า ต้องการรักษาการเติบโตที่ 20-30% และต้องการขยายกลุ่มผู้ใช้ที่เด็กลง ปัจจุบัน ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมีประมาณ 52 ล้าน ผู้ที่ใช้งาน OTT มีประมาณ 26 ล้านคน เฉลี่ยผู้ใช้จะมีแพลตฟอร์มประมาณ 4.5 แพลตฟอร์ม/คน แสดงว่ายังมีโอกาสสร้างการเติบโต

ปัจจุบัน สัดส่วนของผู้ใช้งานแบบ VIP ในแต่ละวันมีสัดส่วนประมาณ 25% โดยเป้าหมายของ WeTV ในอนาคตคือ เพิ่มสัดส่วนเป็น 50% โดย WeTV ก็ได้มีการจัดแพ็คเกจที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค เช่น แพ็คเกจ 129 บาท/เดือน, 339 บาท/ 3 เดือน และ 1,200 บาท/ปี อย่างไรก็ตาม WeTV ให้บริการแบบไฮบริด ดังนั้น แพลตฟอร์มจึงสามารถเติบโตจากสมาชิกและรายได้จากฝั่งโฆษณา

“ความท้าทายของแพลตฟอร์ม OTT ในตอนนี้ คือ ผู้ใช้แต่ละกลุ่มก็ชัดมากและไม่ค่อยข้ามกัน ดังนั้น เมื่อตัวเลือกเยอะขึ้น การแข่งขันก็ต้องเพิ่มขึ้น และในอนาคตจะยิ่งเห็นการแข่งขันด้านราคากันมากขึ้น สำหรับ WeTV เองมองว่าว่าในความท้าทายตรงนี้ ยังมีโอกาสให้เราเติบโตได้ ไม่ว่าผู้ใช้จะอยากเอ็นจอยคอนเทนต์เราแบบไหน เราก็พยายาม Customize แพ็คเกจให้ตอบโจทย์มากที่สุด”

จากทั้ง 3 กลยุทธ์ที่ WeTV ได้วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มคอนเทนต์คุณภาพใหม่ ๆ การขยายพันธมิตรในทุกมิติทั้งด้านคอนเทนต์ไปจนถึงการเข้าถึงผู้ใช้งานและคู่ค้า รวมถึงการเสริมแกร่งคอมมิวนิตีทั้งจากพลังของกลุ่มแฟนๆภายนอกและ In-App Feature ล้วนตอกย้ำว่า WeTV ไม่หยุดอยู่แค่ Top 3 ผู้ให้บริการคอนเทนต์คุณภาพของเอเชียแน่นอน และ WeTV ก็พร้อมใช้ความแข็งแกร่งของแพลตฟอร์มเป็นส่วนผลักดันคอนเทนต์ไทยให้ออกไปสู่สายตาผู้ชมทั่วโลกอีกด้วย

]]>
1426070
รายได้ ‘Tencent’ ลดลงครั้งแรก หลังจีนคุมเข้มอุตสาหกรรม ‘เกม’ และนโยบาย ‘Zero Covid’ ทำพิษ https://positioningmag.com/1396645 Thu, 18 Aug 2022 04:41:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396645 รายได้ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เบอร์ต้น ๆ ของจีนอย่าง ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) ลดลงทุกไตรมาสเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเล่นเกมในประเทศจีนและการฟื้นตัวจากการระบาดของ COVID-19 ยังไม่เต็มร้อย

Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ที่พลาดเป้าทั้งรายได้และกำไร โดยรายได้รวมอยู่ที่ 134,034 ล้านหยวน ลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิ 28,139 ล้านหยวน โดยหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้รายได้ของ Tencent หดหายมาจากการคุมเข้มอุตสาหกรรมเกมของรัฐบาล เนื่องจากรายได้ประมาณ 1 ใน 3 ของ Tencent มาจากเกม

โดยเมื่อปีที่แล้ว หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ออกกฎที่จำกัดระยะเวลาที่ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้สูงสุด 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลยังระงับการอนุมัติเกมใหม่ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2021 จนถึงเมษายนปีนี้ และเกมที่พัฒนามาจำเป็นต้องได้รับไฟเขียวจากหน่วยงานกำกับดูแลก่อนที่จะเผยแพร่และสร้างรายได้

นักวิเคราะห์ที่ China Renaissance กล่าวว่า Tencent เปิดตัวเกมมือถือเพียง 3 เกมในช่วงไตรมาสที่ 2 ดังนั้นบริษัทจึงใช้เกมเก่าสร้างรายได้ไปก่อน และ Tencent ได้ออกมาเปิดเผยว่า รายได้จากเกมในจีนช่วงไตรมาส 2 ก็ ลดลง 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 31,800 ล้านหยวน ในขณะที่รายรับจากเกมต่างประเทศลดลงในอัตราเดียวกันเหลือ 10,700 ล้านหยวน เนื่องจากการระบาดที่คลี่คลาย คนเลยใช้เวลาเล่นเกมลดลง ไม่เหมือนช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก

ไม่ใช่แค่การคุมเข้มเกมของภาครัฐ แต่การที่เศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวจาก COVID-19 ได้ช้า เนื่องจากนโยบาย Zero Covid ก็ส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเศรษฐกิจจีนขยายตัวเพียง 0.4% ในไตรมาส 2 ซึ่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทฟินเทค คลาวด์ และโฆษณา โดยรายได้จากโฆษณาออนไลน์ในไตรมาสที่สองมีจำนวนทั้งสิ้น 18,600 ล้านหยวน ลดลง 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี

อย่างไรก็ตาม Ma Huateng ซีอีโอของ Tencent กล่าวว่า ธุรกิจน่าจะกลับมาฟื้นตัว หากเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว โดยระหว่างนี้ บริษัทกำลังพยายามจะ ควบคุมต้นทุน ของบริษัทเพื่อลดการใช้จ่ายในธุรกิจ และได้ปิดธุรกิจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เช่นการศึกษาออนไลน์และลดขนาดการสูญเสียบนคลาวด์

“เราสร้างรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งจาก FinTech และ Business Services รวมถึงการโฆษณาออนไลน์ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะกลับมาเติบโตได้ หากเศรษฐกิจของจีนขยายตัว”

Source

]]>
1396645
เปิดเส้นทาง JOOX Thailand Music Awards เวทีประกาศรางวัลทางดนตรีสุดยิ่งใหญ่แห่งปีของไทยและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพลงไทย https://positioningmag.com/1381437 Tue, 12 Apr 2022 11:00:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381437

ต้องบอกว่าวิวัฒนาการฟังเพลงของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตลอดเวลา จากการฟังเพลงจากเทป ซีดี หรือวิทยุก็เริ่มฟัฒนาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ มาจนถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิงต่างๆ ซึ่งหลายคนต้องนึกถึง JOOX เป็นหนึ่งในใจอันดับต้นๆ

JOOX เป็นแพลตฟอร์มมิวสิคสตรีมมิงภายใต้ เทนเซ็นต์ ประเทศไทย ที่ปัจจุบันก้าวขึ้นมาเป็น “แอปคอมมูนิตี้ของคนรักเสียงเพลงและความบันเทิงอันดับ 1 ของไทย”  ที่มีความแมสและครองใจคนไทยมาตั้งแต่วันแรกจนปัจจุบัน คงเป็นเพราะจุดเด่นด้วยเพลงและกิจกรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะเพลงไทย รวมไปถึงเพลงสากล K-Pop และอีกมากมายทั้งเพลงในกระแส นอกกระแส ทุกยุค ทุกแนว

นอกจากเพลง JOOX ยังพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ มาสร้างสีสันความบันเทิงอย่างต่อเนื่อง อย่าง คาราโอเกะ พอดแคสต์ วิทยุออนไลน์ JOOX BUZZ รวมถึงห้องแชทแบบเห็นหน้าอย่าง JOOX ROOMS เป็นต้น

ยังไม่หมดเท่านี้ JOOX ยังมุ่งมั่นขับเคลื่อนศิลปินและอุตสาหกรรมเพลงของไทยให้เติบโตไปด้วยกัน ผ่านการริเริ่มจัดงานสำคัญของวงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ JOOX Thailand Music Awards งานประกาศรางวัลทางดนตรี เพื่อคนดนตรี เพื่อผู้ฟัง และเพื่อทุกคน

 


เวทีเพื่อคนดนตรีที่แท้ทรู

JOOX Thailand Music Awards หรือ JTMA ถือเป็นงานประกาศรางวัลทางดนตรีที่เรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดของประเทศ เริ่มจัดครั้งแรกในปี 2017 และยืนหยัดจัดงานจนก้าวสู่ปีที่ 6 นั่นเพราะ JOOX ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมเพลงไทยให้พัฒนาขึ้นอย่างมีศักยภาพ ไปพร้อมๆ กับเป็นสื่อกลางที่คอยเชื่อมโยงศิลปินเข้ากับแฟนเพลงอย่างเหนียวแน่น


เส้นทางความปังต่อเนื่อง 6 ปี

การจัดงานแฟล็กชิพอีเวนต์ต่อเนื่องถึง 6 ปีไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากวิกฤติโควิด-19 แต่ JOOX กลับขอยืนหนึ่งจัด JOOX Thailand Music Awards อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม JOOX ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละปีพร้อมวางคอนเซ็ปต์ และแนวคิดการจัดงานในแต่ละครั้งให้สดใหม่ ไม่ซ้ำกัน

ถ้างานประกาศรางวัลด้านภาพยนตร์มีการเดินพรมแดง งาน JOOX Thailand Music Awards ก็มีกิมมิกเก๋ๆ เป็นการเดิน “พรมเขียว” หรือ Green Carpet Walk จากเหล่าศิลปิน และคนดังที่มาร่วมงาน เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก

ลองมาย้อนไทม์ไลน์ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา JOOX Thailand Music Awards

เริ่มจัดตั้งแต่ปีแรก 2017 ก็ได้ศิลปินจากทั่วฟ้าเมืองไทยเหล่าคนบันเทิงทางดนตรีเข้าร่วมงานเดินพรมเขียวกันอย่างคับคั่ง พร้อมโชว์สุดพิเศษจากศิลปินจากทุกแนวเพลง เช่น เก่ง ธชย, ปราโมทย์ ปาทาน, ก้อง ห้วยไร่ เป็นต้น

ปีที่ 2 ในปี 2018 ถูกจัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ VERY THAI ENTERTAINMENT ที่แตกยอดความคิดมาจากการแสดง การละเล่น และกีฬาของไทย มาดัดแปลงแล้วผสมให้เข้ากับดนตรี และเทคนิคแสง สี เสียงด้วยความลงตัว พร้อมสุดยอดโชว์จากสุดยอดศิลปินมากมายที่แสดงให้เห็น “สีสันความเป็นไทย” อาทิ การโซโลเมดเลย์เพลงฮิตโดย ฮาย – อาภาพร นครสวรรค์, โชว์สุดยิ่งใหญ่จาก Slot Machine

ปี 2019 มาพร้อมคอนเซปต์ “ดนตรีไร้พรมแดน” Music Without Boundaries ซึ่งทำให้ในปีนี้ได้มีโชว์ที่ศิลปินต่างสไตล์มาผสานแนวเพลงที่แตกต่างบนเวทีอย่างลงตัว โดยภายในงานเต็มไปด้วยศิลปินจากหลากค่ายกว่า 200 ชีวิตมาร่วมงานรวมไปถึงสองศิลปินจากต่างประเทศที่ได้มาร่วมงานอย่าง Hollaphonic และ Honne

ปี 2020 กับคอนเซ็ปต์ Music Connects ให้ดนตรีเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง และได้พลิกรูปแบบการจัดงานสู่รูปแบบ Online Only เต็มตัวเป็นครั้งแรก ด้วยการประกาศรางวัลผ่านไลฟ์สตรีมมิง ซึ่งยังคงได้รับกระแสตอบรับจากแฟนเพลงอย่างถล่มทลาย

ปี 2021 ถูกเนรมิตขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ Make it BUZZ และยังคงจัดงานเป็นรูปแบบออนไลน์ แต่ฉีกกรอบความสนุกแบบเดิม กับครั้งแรกของการประกาศรางวัลผ่านฟีเจอร์วิดีโอสั้น JOOX BUZZ ที่ JOOX นำมาใช้ในการจัดงานตั้งแต่การประกาศรายชื่อศิลปินที่เข้าชิง การโปรโมทงาน การโหวต ไปจนถึงการประกาศผลรางวัล

ปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ ‘Live Your Music’ ผ่านแนวคิด ‘เพราะดนตรีคือชีวิต ไม่ว่าจะอยู่โมเมนต์ไหนของชีวิต เราทุกคนมีเสียงดนตรีที่คอยเป็นพลังให้อยู่เสมอ’ พลิกโฉมจัดงานประกาศรางวัลในรูปแบบ Hybrid โดยแฟนเพลงรับชมได้จากไลฟ์การประกาศรางวัลทางแอปพลิเคชัน JOOX


การันตีการเป็นเวทีประกาศรางวัลอันทรงคุณค่าเพื่อคนดนตรี และเพื่อคนไทยทุกคน 

ตัวตนและจุดเด่นของงาน JTMA คือ การเป็นเวทีมอบรางวัลเพื่อคนดนตรี ที่มีผลงานโดดเด่น และโดนใจผู้ฟังในด้านต่างๆ ซึ่งคนไทยทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของผลการตัดสิน เพราะผลการตัดสินมาจากยอดการสตรีมบน JOOX ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา และจากแรงโหวตของแฟนเพลงทั่วประเทศ คนเบื้องหน้า และเบื้องหลังวงการเพลง ตลอดจนสื่อมวลชน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม สนุก ส่งแรงเชียร์ และเสียงโหวตไปให้ศิลปินคนโปรด

ทุกรางวัลจึงสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของศิลปินที่สร้างสรรค์เพลงได้โดนใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญได้ร่วมเชิดชูศักยภาพ และความสามารถของศิลปิน เพื่อให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคุณภาพต่อไป

ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2017-2022 เวที JTMA ได้มอบรางวัลให้เหล่าศิลปินรวม 72 รางวัลโดยในแต่ละปีได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงถล่มทลาย ตั้งแต่ช่วงเริ่มประกาศการจัดงาน การเปิดโหวต และช่วงการประกาศรางวัล นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งงานประกาศรางวัลที่ทั้งตัวศิลปิน และแฟนเพลงทุกคนรอคอย


กลับมาสร้างความประทับใจอีกครั้ง! กับงาน JTMA 2022 กับคอนเซ็ปต์ ‘Live Your Music’

เพราะดนตรีคือชีวิต ไม่ว่าจะอยู่โมเมนต์ไหนของชีวิต เราทุกคนมีเสียงดนตรีที่คอยเป็นพลังให้อยู่เสมอ JOOX จึงยืนหยัดจัด JTMA 2022 เพื่อนำเสียงเพลงไปมอบความสุข และรอยยิ้มให้คนไทยอีกครั้ง โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา

เป็นอีกหนึ่งปีที่ JOOX สร้างความประทับใจและส่งต่อกำลังใจให้ศิลปิน ด้วยรางวัลอันทรงเกียรติถึง 12 สาขา โดยศิลปินที่มีผลงานโดดเด่น โดนใจคนไทยมากที่สุดแห่งปี 2022 ได้แก่

1.รางวัลศิลปินแห่งปี (Artist of the Year) Three Man Down 

2.รางวัลเพลงแห่งปี (Song of the Year) พิง Ost. กระเช้าสีดาศิลปิน NONT TANONT

3.รางวัลศิลปินหน้าใหม่แห่งปี (Best New Artist) 4EVE

4.รางวัลเพลงต่างประเทศแห่งปี (International Song of the Year) Leave The Door Open ศิลปิน Bruno Mars, Anderson. Paak, Silk Sonic

5.รางวัลเพลงลูกทุ่ง l ไทบ้านแห่งปี รักควรมีสองคนศิลปิน พร จันทพร, เนย ภัสวรรณ พอดีม่วน

6.รางวัลเพลงเกาหลีแห่งปี (Korean Song of the Year) MONEY ศิลปิน LISA

7.รางวัลเพลงป๊อปแห่งปี (Pop Song of the Year) พิง Ost. กระเช้าสีดาศิลปิน NONT TANONT

8.รางวัลเพลงอินดี้แห่งปี (Indie Song of the Year) แฟนเก่าคนโปรดศิลปิน SLAPKISS

9.รางวัล Best Collaboration Song of the Year เพื่อนเล่น ไม่เล่นเพื่อน (Just Being Friendly) ศิลปิน Tilly Birds ft. MILLI

10.รางวัล Top Social Thai Artist of the Year เป๊ก ผลิตโชค

11.รางวัล Top Social Global Artist of the Year Xiao Zhan

12.รางวัลTop ROOMS of the Year นุ๊ก ปาย

ต้องยอมรับว่า JOOX Thailand Music Awards เป็นเวทีการประกาศรางวัลทางดนตรีของไทย ที่คนทั้งประเทศเฝ้ารอคอย และติดตามจริงๆ เพราะปีนี้ก็สามารถสร้างปรากฎการณ์และสร้างการมีส่วนร่วมจากแฟนๆ ได้อย่างถล่มทลาย โดยมีแฟนๆ เข้ามาร่วมทำกิจกรรมบนฟีเจอร์ JOOX ROOMS ถึงกว่า 100,000 คนต่อวัน มีการให้ของขวัญ (Gift) แก่ศิลปินมากกว่า 2 ล้านครั้ง ร่วมคอมเมนต์บนฟีเจอร์ถึงกว่า 500,000 ครั้ง และมียอดการเข้าชมช่วงไลฟ์ประกาศรางวัลเกือบ 200,000 ครั้ง

ปีนี้ JOOX ยังคงจัดเต็มความสนุกอัดแน่นไปด้วยไฮไลท์เด็ด ทั้งคอนเสิร์ตจากศิลปินที่ผลัดกันมาแสดงและร่วมลุ้นรางวัลไปพร้อมกันภายในงานตลอด 3 ชั่วโมง และมีศิลปินแถวหน้าของประเทศไทยเข้าร่วมงาน และเปิดเวทีสร้างความสนุกให้ทุกคนอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็น นนท์ ธนนท์ , หยิ่น-วอร์, AR3NA, Mirrr, SLAPKISS, Patrickananda

ปีหน้า JOOX Thailand Music Awards จะเตรียมอะไรมาเซอร์ไพรส์ และสร้างสีสันให้กับคนดนตรี และคนไทยอีก เราคงต้องติดตาม แต่เชื่อว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

]]>
1381437
‘จีน’ ออกข้อกำหนดให้เล่น ‘เกม’ ไม่เกิน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี https://positioningmag.com/1349318 Tue, 31 Aug 2021 04:03:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349318 National Press and Publication Administration ของจีนได้เผยแพร่กฎระเบียบใหม่ โดยจะกำหนดให้เด็กและวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในประเทศจีน สามารถเล่นวิดีโอเกมออนไลน์ได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวก็ได้ส่งผลให้หุ้นของบริษัทเกมรายใหญ่อย่าง เน็ตอีส ร่วงระนาว

ตามประกาศฉบับแปลเกี่ยวกับกฎใหม่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีจะได้รับอนุญาตให้เล่นวิดีโอเกมได้วันละหนึ่งชั่วโมง ระหว่างเวลา 20.00 น. ถึง 21.00 น. ในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อเป็นแนวทางในการปกป้องสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก โดยกฎดังกล่าวจะนำไปใช้กับบริษัทที่ให้บริการเกมออนไลน์แก่ผู้เยาว์ โดยจำกัดความสามารถในการให้บริการผู้ใช้เหล่านั้นนอกเวลาที่กำหนด บริษัทจะไม่ได้รับอนุญาตให้ ให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบด้วยการลงทะเบียนชื่อจริง

กฎล่าสุดจาก NPPA ช่วยลดระยะเวลาที่ผู้เยาว์สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้อย่างมาก ภายใต้กฎ 2019 ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีสามารถเล่นเกมได้ 1½ ชั่วโมงต่อวันในเกือบทุกวัน

“ปัจจุบันมีผู้เยาว์มากกว่า 110 ล้านคนที่เล่นวิดีโอเกมในประเทศจีน และเราคาดว่าข้อจำกัดใหม่จะนำไปสู่การลดลงของจำนวนผู้เล่น และลดเวลาและเงินที่ใช้ในเกมของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี” Daniel Ahmad นักวิเคราะห์อาวุโสของ Niko Partners กล่าว

“อย่างไรก็ตาม เราไม่คาดว่าการใช้จ่ายที่ลดลงจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของบริษัทเกม เนื่องจากมีการจำกัดเวลาและการใช้จ่ายของผู้เยาว์ได้เกิดขึ้นแล้วในช่วงสองปีที่ผ่านมา ดังนั้นเราจึงคาดว่าผลกระทบต่ออัตราการเติบโตโดยรวมจะเบาลง เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้เยาว์นั้นต่ำอยู่แล้ว”

เทนเซ็นต์ (Tencent) ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่า รายได้จากการเล่นเกมเพียงเล็กน้อยมาจากผู้เล่นที่อายุน้อยในประเทศจีน โดยในไตรมาสที่ 2 รายได้จากเกมรวม 2.6% ในประเทศจีนมาจากผู้เล่นอายุต่ำกว่า 16 ปี โดย Tencent กล่าวว่าจะดำเนินการตามข้อกำหนดใหม่และสนับสนุนกฎใหม่ และในเดือนกรกฎาคม Tencent ได้แนะนำข้อกำหนดสำหรับเกมเมอร์ในการสแกนการจดจำใบหน้าบนโทรศัพท์เพื่อยืนยันว่าพวกเขาเป็นผู้ใหญ่หรือไม่

หุ้นที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ของ เน็ตอีส (NetEase) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ของจีน ร่วงลง 4% หลังจากมีมาตรการดังกล่าวออกมา

Source

]]>
1349318
จีนบี้ต่อสั่ง ‘เทนเซ็นต์’ เลิกผูกขาดลิขสิทธิ์เพลง พร้อมปรับเงิน 2.5 ล้านบาท https://positioningmag.com/1344035 Sun, 25 Jul 2021 03:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344035 รัฐบาลจีนยังคงเดินหน้าปราบปรามบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด หน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการผูกขาดของจีนได้สั่งให้ ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) ยกเลิกสิทธิ์ในการครอบครองลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงผู้เดียว พร้อมกับสั่งปรับเงินจากบริษัทเนื่องจากข้อหาการผูกขาด

หน่วยงานกำกับดูแลการตลาดของรัฐ (SAMR) ได้กำหนดโทษปรับ 500,000 หยวน หรือราว 2.5 ล้านบาท จาก เทนเซ็นต์ ในข้อหาการละเมิดกฎหมายการผูกขาด เนื่องจากเทนเซ็นต์เข้าซื้อกิจการ China Music ในปี 2559 ซึ่งหลังจากการเข้าซื้อกิจการนั้น ทำให้เทนเซ็นต์กลายเป็นเจ้าของทรัพยากรเพลงพิเศษมากกว่า 80% ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อตกลงพิเศษกับผู้ถือลิขสิทธิ์ได้มากขึ้น

นอกจากค่าปรับแล้ว หน่วยงานเฝ้าระวังการแข่งขันได้สั่งให้ เทนเซ็นต์และบริษัทในเครือเทนเซ็นต์ยกเลิกการครอบครองลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงผู้เดียวภายใน 30 วัน และยุติข้อกำหนดสำหรับผู้ถือลิขสิทธิ์เพื่อให้บริษัทได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคู่แข่ง และเทนเซ็นต์จะต้องรายงานต่อ SAMR เกี่ยวกับความคืบหน้าทุกปีเป็นเวลา 3 ปี และ SAMR จะกำกับดูแลให้เทนเซ็นต์ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

เทนเซ็นต์ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่าจะ ”ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบทั้งหมด ปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคมของเรา และมีส่วนร่วมในการแข่งขันที่ดีในตลาด” โดยเทนเซ็นต์จะทำงานร่วมกับบริษัทในเครือ ซึ่งรวมถึง Tencent Music Entertainment เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและรับรองการปฏิบัติตามอย่างสมบูรณ์

การปราบปรามด้านกฎระเบียบครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในขณะที่ปักกิ่งยังคงควบคุมอำนาจของบริษัทเทคโนโลยีของจีนที่เติบโตขึ้นจนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก โดยธุรกิจของเทนเซ้นต์นั้นได้แก่ WeChat ซึ่งเป็นบริการส่งข้อความ มีบริการ เกม เพลง วิดีโอสตรีมมิ่ง และบริการฟินเทคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของจีน โดยเทนเซ็นต์ได้จดทะเบียนบริษัทในฮ่องกงโดยมีมูลค่าตลาดเกือบ 656 พันล้านดอลลาร์

การปราบปรามที่กว้างขึ้นของจีนมีตั้งแต่แนวปฏิบัติในการต่อต้านการแข่งขันไปจนถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตลอดจนการตรวจสอบบริษัทจีนที่มีรายชื่อในต่างประเทศในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ในเดือนเมษายน SAMR ได้เรียกบริษัท 34 แห่ง ซึ่งรวมถึง Tencent และ ByteDance และสั่งให้ดำเนินการตรวจสอบตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับกฎการต่อต้านการผูกขาด

Source

]]>
1344035
ดีใจไม่สุด! ‘Tencent’ ฟันกำไร 9 พันล้านเหรียญ แต่ต้องเครียดเพราะรัฐบาลจีนเล็งเช็กบิลเรื่อง ‘ผูกขาด’ https://positioningmag.com/1325144 Fri, 26 Mar 2021 05:59:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325144 ‘Tencent’ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนได้เปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 4 ของปี 2020 ซึ่งเติบโตในทุกด้าน โดยเฉพาะกำไรที่เติบโตถึง 175% แต่ถึงอย่างนั้นเหล่านักลงทุนก็ยังมีความกังวลว่า Tencent จะกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ต่อไปของการจับกุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีในจีนหรือไม่

Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 20,486 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 9,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 175% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า Ma Huateng หรือที่รู้จักกันในนาม Pony Ma ซีอีโอของบริษัท กล่าวถึงผลการดำเนินงานตลอดปี 2020 ว่า แม้เป็นปีที่มีความผันผวนและท้าทายมาก แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาสะท้อนว่าธุรกิจของบริษัทยังแข็งแกร่ง โดยบริษัทยังคงเป็นผู้นำในผลิตภัณฑ์บนอินเทอร์เน็ต และขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในธุรกิจเกม

“ในขณะที่ปี 2020 เป็นปีแห่งความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ผลลัพธ์ที่มั่นคงในทุกธุรกิจของเราเป็นเครื่องยืนยันถึงการมุ่งเน้นที่คุณค่าของผู้ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและความยั่งยืนของธุรกิจ” Ma Huateng ประธานและซีอีโอของTencent กล่าว

หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tencent มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีน

อย่างไรก็ตาม แม้ Tencent จะเติบโตอย่างมากแต่นักลงทุนก็ยังมีความกังวลว่าบริษัทนั้นมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีของจีนในข้อหา ‘ผูกขาด’ โดยก่อนหน้าที่ Tencent จะประกาศผลกำไรนั้น หุ้นของบริษัทลดลงประมาณ 1.5% ในฮ่องกง หลังจากที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า Jack Ma เพิ่งพบกับเจ้าหน้าที่ต่อต้านการผูกขาด

ที่ผ่านมา มีการรายงานข่าวจากรอยเตอร์ว่า Tencent ได้เข้าพบกับหน่วยงานเฝ้าระวังการแข่งขันของจีนคือ State Administration for Market Regulation (SAMR) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทต่อกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดตลาด

Tencent มีการประชุมกับหน่วยงานกำกับดูแลเป็นประจำและนี่เป็นการประชุมตามปกติ เราได้พูดคุยกันในหัวข้อต่างๆ มากมาย โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Tencent มีความมุ่งมั่นและจะดำเนินการต่อไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง”

เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง (Tencent Holdings) บริษัทผู้ให้บริการเกมและโซเชียลเน็ตเวิร์กยักษ์ใหญ่ของจีน
ภาพจากรอยเตอร์

โดยแหล่งข่าว 2 แห่งได้เปิดเผยกับรอยเตอร์เจ้าหน้าที่จีนกำลังมองหาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการผูกขาดของ WeChat ซึ่งเป็นแอปโซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยมของ Tencent โดยหน่วยงานกำกับดูแลมีความกังวลเป็นพิเศษว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวอาจ “มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและบีบคู่แข่งที่มีขนาดเล็ก”

ที่ผ่านมา Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในเครือของอาลีบาบาถูกบังคับให้ระงับการเสนอขายหุ้น IPO มูลค่า 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ Simon Hu ต้องลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ Ant Group หลังจากการปราบปรามด้านกฎระเบียบ

Source

]]>
1325144
แค่นี้จิ๊บ ๆ ‘อาลีบาบา’ และ ‘เทนเซ็นต์’ โดนปรับ ‘5 แสนหยวน’ ข้อหา ‘ผูกขาดตลาด’ https://positioningmag.com/1311237 Sat, 19 Dec 2020 06:34:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311237 หน่วยงานกำกับและดูแลการค้าในประเทศจีน ได้มีการสอบสวนและสั่งปรับ ‘อาลีบาบา (Alibaba)’ และ ‘เทนเซ็นต์  (Tencent)’ หลังจากทั้งคู่ได้ทำการละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทไม่ได้ทำการประกาศที่เหมาะสมต่อหน่วยงาน เกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการในอดีต

โดยทั้งอาลีบาบาและเทนเซ็นต์ได้ถูกปรับบริษัทละ 500,000 หยวน (ราว 2.3 ล้านบาท) โดย State Administration for Market Regulation (SAMR) หน่วยงานกำกับและดูแลการค้าในประเทศจีน โดยเทนเซ็นต์นั้นได้ใช้บริษัทย่อย China Literature ทำการเข้าซื้อกิจการสื่อและสิ่งบันเทิง New Classics Media โดยไม่ได้การอนุมัติจากทางการ ส่วนอาลีบาบาถูกปรับเนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน Intime Retail บริษัทเครือห้างสรรพสินค้า โดยไม่ได้แจ้งให้ทางการทราบ

แม้ว่าค่าปรับจะน้อย แต่การเคลื่อนไหวของ SAMR ถือเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่รัฐบาลปักกิ่งกำลังมีท่าทีที่เข้มงวดในการลงโทษและควบคุมบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งหลายแห่งเติบโตขึ้นอย่างไร้ภาระผูกพันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในจีนไปแล้ว

ทั้งนี้ เมื่อเดือนที่ผ่านมา SAMR ได้เผยแพร่ร่างกฎที่ต้องการหยุดการผูกขาดโดยแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต โดยถือเป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ครอบคลุมมากที่สุดในจีนเพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และหลังจากที่ทั้ง 2 บริษัทถูกปรับ ราคาหุ้นที่จดทะเบียนในฮ่องกงของเทนเซ็นต์และอาลีบาบาลดลงประมาณ 2.9%

Source

]]>
1311237
รอดตัวไป! ศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ ปัดตกคำร้องรัฐบาลสั่งแบน WeChat https://positioningmag.com/1303359 Tue, 27 Oct 2020 16:51:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303359 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วันจันทร์ที่ 26 ต.ค. ศาลอุทธรณ์ของสหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้องของกระทรวงยุติธรรมที่ต้องการห้ามการใช้งาน WeChat แอปพลิเคชันส่งข้อความ ชำระเงินผ่านมือถือ และโซเชียลมีเดียของบริษัทเทนเซ็นต์ (Tencent) ของจีน ในสหรัฐฯ โดยทันที

คณะผู้พิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 แห่งสหรัฐฯ ระบุว่ารัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นว่าตนจะ “ได้รับความเสียหายชนิดที่ไม่อาจแก้ไขได้ในระยะเวลาอันใกล้ ระหว่างการรออุทธรณ์ซึ่งถูกเร่งให้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้”

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ต.ค. ลอเรล บีเลอร์ ผู้พิพากษาจากศาลแขวงเขตเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ยังปฏิเสธการคงคำสั่งห้ามใช้งานวีแชทของรัฐบาลเช่นกัน โดยเธอตัดสินว่า หลักฐานเพิ่มเติมของรัฐบาลนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนคำตัดสินของศาลในก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าผู้ใช้งานวีแชทในสหรัฐฯ มีสิทธิ์ได้รับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา (Preliminary injunction)

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. บีเลอร์ได้ระงับคำสั่งฝ่ายบริหารของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สั่งห้ามการใช้งานวีแชทในสหรัฐฯ โดยออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา ซึ่งระบุว่าข้อจำกัดสำหรับแอปวีแชทอาจเป็นการละเมิดสิทธิตามบทบัญญัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ ของผู้ใช้ในสหรัฐฯ หลังจากเมื่อวันที่ 18 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ออกคำสั่งห้ามทำธุรกรรมกับวีแชท

“ผลลัพธ์คือ ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ไม่สามารถดาวน์โหลดหรืออัปเดตแอปวีแชทเพื่อใช้ส่งหรือรับเงินได้ และเนื่องจากจะมีการทำลายโฮสติ้งและหน่วยความจำ (Caching) สำหรับเก็บข้อมูลของวีแชทในสหรัฐฯ ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว แม้จะยังใช้งานได้อยู่ แต่แอปนี้จะไม่มีประโยชน์ใดสำหรับผู้ใช้งานในสหรัฐฯ” บีเลอร์ระบุ

หลังจากนั้นในช่วงต้นเดือนนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้แก้ไขคำตัดสินของบีเลอร์

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ทรัมป์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารห้ามมิให้ทำธุรกรรมในสหรัฐฯ ผ่านวีแชท ซึ่งเดิมมีกำหนดบังคับใช้ช่วงดึกของวันที่ 20 ก.ย.

จากนั้น กลุ่มพันธมิตรผู้ใช้งานวีแชทแห่งสหรัฐฯ (U.S. WeChat Users Alliance – USWUA) ได้ออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิตามกฎหมายของผู้ใช้งานวีแชททุกคนในสหรัฐฯ ด้วยการยื่นฟ้องเรื่องนี้ ซึ่งศาลได้เปิดคดีในวันที่ 17 ก.ย.

นอกจากกลุ่มพันธมิตรดังกล่าวแล้ว ยังมีโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้งานรายอื่นที่ออกมาโต้แย้งว่า ในสหรัฐฯ วีแชทเป็นแอปที่ไม่มีแอปพลิเคชันใดสามารถแทนที่ได้

]]>
1303359
แซงแล้ว! มูลค่าบริษัท ‘Tencent’ ทะลุ 6.6 แสนล้านดอลลาร์ ขึ้นนำ ‘Facebook’ เพราะ Covid-19 https://positioningmag.com/1290029 Thu, 30 Jul 2020 00:17:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290029 หากพูดถึงชื่อของ ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มและเกมดัง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘WeChat’ ‘Joox’ ‘WeTV’ และเกม ‘PUBG Mobile’ ล่าสุด มูลค่าตลาดของเทนเซ็นต์ก็โตแซงหน้าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียระดับโลกอย่าง ‘Facebook’ เรียบร้อยแล้ว

มูลค่ารวมของการซื้อขายหุ้นสาธารณะของเทนเซ็นต์อยู่ที่ 5.15 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 664,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันมูลค่าของ Facebook อยู่ที่ 656,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหุ้นเทนเซ็นต์ได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 43% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้มูลค่าตลาดของเทนเซ็นต์เพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 201,440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ Facebook เองมีการปรับตัวขึ้นเพียง 12% โดยราคาหุ้นเคยแตะ 250.15 ดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Facebook ต้องเผชิญกับราคาหุ้นที่ลดลง เนื่องจากภาวะขาลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และทางการสหรัฐฯ เพิ่มการคุมเข้มบรรดาบริษัทสื่อสังคมออนไลน์

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เทนเซ็นต์เติบโตคือ การระบาดของ Covid-19 ที่ส่งผลให้ประชาชนต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน ทำให้หลายคนใช้เวลาว่างไปกับการเล่นเกมและเข้าแอปพลิเคชันต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเทนเซ็นต์นั้นเป็นเจ้าของเกมมือถือยอดนิยมหลายเกม รวมถึงเจ้าของแพลตฟอร์ม WeChat แอปส่งข้อความยอดนิยมของจีนที่มีผู้ใช้มากกว่าพันล้านคน นอกจากนี้บริษัทยังให้บริการส่งข้อความด่วนที่เรียกว่า ‘QQ’

ล่าสุด เทนเซ็นต์ก็ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ชื่อว่า ‘Moments’ ซึ่งผู้ใช้สามารถโพสต์รูปภาพ, วิดีโอและลิงก์ โดยเทนเซ็นต์สร้างรายได้จากขายพื้นที่โฆษณาใน Moments ส่งผลให้รายได้จากเครือข่ายสังคมคิดเป็น 23% ของรายได้รวม

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มูลค่าตลาดสูงกว่า Facebook แต่มันเคยเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2017 และมีช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 2018 แต่ในปี 2019 มูลค่าตลาด Facebook ก็อยู่ข้างหน้าเทนเซ็นต์ตลอดทั้งปีตามข้อมูลจาก S&P Global Market Intelligence

Source

]]>
1290029