เทศกาลช้อปปิ้งปลายปี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Nov 2021 08:25:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คาดการณ์โค้งสุดท้าย ‘อีคอมเมิร์ซโลก’ ช้อปทะลุ 30 ล้านล้านบาท ‘ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง’ ยังเป็นเทรนด์แรง https://positioningmag.com/1362358 Tue, 16 Nov 2021 07:21:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362358 หากจะพูดถึงช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ก็ถือว่าเป็นเวลาทองของการช้อปปิ้ง เพราะมีทั้งแคมเปญ ‘11.11’ หรือ ‘วันคนโสด’ ในฝั่งของเอเชีย ส่วนฝั่งยุโรปก็มี ‘Black Friday’ รวมถึงงานเทศกาลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวันคริสต์มาส, วันส่งท้ายปี ซึ่งทาง ‘อะโดบี’ ก็ได้คาดการณ์เกี่ยวกับช้อปปิ้งออนไลน์ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้ว่าจะมีมูลค่ามากน้อยแค่ไหน

2 เดือนสุดท้ายช้อปทะลุ 30 ล้านล้านบาท

อะโดบีคาดการณ์ยอดขายสินค้าออนไลน์ในสหรัฐฯ ช่วงเทศกาลช้อปปิ้งปลายปีระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคมจะแตะ 207 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท) ซึ่งนับเป็นสถิติใหม่ โดยเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2020 แสดงให้เห็นว่าหลังผ่านวิกฤต COVID-19 มา 1 ปี อีคอมเมิร์ซกลายเป็นเซอร์วิสที่มีความจำเป็นต่อผู้บริโภค

ขณะที่ยอด ใช้จ่ายออนไลน์ทั่วโลก อาจแตะ 910 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 30 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ อะโดบีคาดการณ์ว่ายอดใช้จ่ายทั่วโลกตลอดปี 2021 อยู่ที่ประมาณ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 133 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นสถิติใหม่สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ

แม้อีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในสหรัฐฯ แต่ความสนใจช้อปปิ้งในช่วงเทศกาลหลัก ๆ ได้รับความนิยมน้อยลง อย่างช่วงสัปดาห์ Cyber Week (ช่วงวันขอบคุณพระเจ้าถึงวัน Cyber Monday) คาดว่าจะมียอดใช้จ่ายออนไลน์ 36 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็น 17% ตลอดเทศกาล โดยอัตราการเติบโตลดลงอยู่ที่เพียง 5% สำหรับช่วงระยะเวลา 5 วัน

ขณะที่ช่วง Black Friday คาดว่าจะมียอดใช้จ่ายอยู่ที่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 5% และ วันขอบคุณพระเจ้า มียอดใช้จ่ายอยู่ที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 6% โดยวันช้อปปิ้งหลัก ๆ ทั้ง 3 วันดังกล่าวมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าเทศกาลโดยรวม

(Photo by Rob Stothard/Getty Images)

ปัญหาด้านซัพพลายเชนกระทบเทศกาลช้อปปิ้ง

ความต้องการช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ค้าปลีกกำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ในด้านซัพพลายเชน เช่น ปัญหาความหนาแน่นของสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือ การขนส่งที่ล่าช้า และการผลิตสินค้าในต่างประเทศที่หยุดชะงัก ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็รู้สึกได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเมื่อเทียบกับช่วงมกราคม 2020 ที่ยังไม่เกิดการระบาดของ COVID-19 พบข้อความแจ้งเตือนว่า สินค้าหมดสต็อกมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 172%

ทั้งนี้ อะโดบีคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับนี้ต่อไป และอาจเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าบางรายการตลอดช่วงเทศกาล และจากสินค้า 18 หมวดหมู่ที่ทำการตรวจสอบพบว่า สินค้าประเภท เครื่องแต่งกาย เป็นสินค้าที่ หมดสต็อกมากที่สุด ตามด้วย อุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์สำหรับทารก และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่ปัญหาซัพพลายเชนก็ส่งผลให้ ราคาสินค้าออนไลน์ปรับสูงขึ้น โดยคาดว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะต้อง จ่ายเงินเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 9% ในช่วง Cyber Week ของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจาก ส่วนลดที่น้อยลง โดยคาดว่าส่วนลดจะอยู่ที่ 5-25% เทียบกับส่วนลดโดยเฉลี่ย 10-30% ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากสถานการณ์ เงินเฟ้อ อีกด้วย ทำให้ราคาสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นราว 3.3%

ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง เทรนด์แรงต่อเนื่อง

สำหรับรูปแบบการชำระเงินนั้นพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะใช้บริการ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later – BNPL) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลปลายปี โดยมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 45% เมื่อเทียบกับปี 2019

นอกจากนี้มีแนวโน้มการใช้บริการแบบ ไดรฟ์ทรู มากขึ้น หลังจากที่สามารถเดินทางไปหน้าร้านได้ โดยคิดเป็นสัดส่วน 25% ของคำสั่งซื้อออนไลน์ทั้งหมด เนื่องจากผู้บริโภคกังวลเรื่องการจัดส่งที่ล่าช้า ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการนี้เพิ่มมากขึ้น โดยจากผลการสำรวจของอะโดบี ชี้ว่า 65% ของผู้บริโภคมีความกังวลใจเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า

ของขวัญสะท้อนการใช้ชีวิตอยู่แต่บ้าน

จากผลการสำรวจของอะโดบีพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 51% มีแผนที่จะซื้อสินค้าที่จับต้องได้เป็นของขวัญให้แก่คนอื่น ๆ ในช่วงเทศกาลปลายปีนี้ ขณะที่ 17% มีแผนที่จะให้ของขวัญในรูปแบบของ ประสบการณ์ แทน อาทิ บริการสปา ทรีตเมนต์, ตั๋วคอนเสิร์ต, ตั๋วชมการแข่งขันกีฬา, ตั๋วเครื่องบิน และคอร์สเรียนทำอาหาร

ขณะที่ของขวัญยอดนิยม อาทิ ของเล่น, เครื่องเกม, Airpods Max, ถ้วยกาแฟอัจฉริยะ, หม้ออเนกประสงค์ Instant Pot, หม้อทอดไร้น้ำมัน, กระบอกน้ำอัจฉริยะ, โดรน และเครื่องเล่นแผ่นเสียง สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้บริโภคใช้เวลาอยู่บ้านและทำงานหน้าแล็ปท็อปมากขึ้น

]]>
1362358
‘DHL’ ประเมินช่วง ‘เทศกาล’ อาจะดันยอดส่งของข้ามประเทศโต 50% https://positioningmag.com/1307904 Thu, 26 Nov 2020 15:23:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307904 ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ยอดขายของออนไลน์ทั่วโลกก็เพิ่มสูงขึ้น สำหรับประเทศไทยเองคาดว่าอีคอมเมิร์ซจะเติบโตถึง 35% มีมูลค่าสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท และแม้ว่าในบางประเทศจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ หรือบางประเทศที่กำลังระบาดหนัก แต่แนวโน้มการช้อปออนไลน์จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงช่วงเทศกาลช้อปปิ้งที่กำลังใกล้เข้ามา เช่น Black Friday, Cyber Monday, 12.12, เทศกาลคริสต์มาส จนถึงตรุษจีนปีหน้า

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน ระบุว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ระหว่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้น 21% ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดย 85% ของผู้คนทั่วโลกใช้เวลาช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ 45% ของคนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennial) ยังคงช้อปออนไลน์อย่างต่อเนื่องถึงแม้จะเป็นช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ยอดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก และเรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเทศกาลปลายปีซึ่งจะมีความต้องการใช้บริการขนส่งสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคต้องการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลมากขึ้นหลังจากที่ต้องเก็บตัวอยู่บ้านมานานในช่วงแพร่ระบาด ประสบการณ์การช้อปปิ้งของผู้บริโภคในปีนี้จึงเปลี่ยนไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบทั้งธุรกิจค้าปลีก B2C และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ B2B ที่ต้องปรับตัวสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มตัว”

และเพื่อให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นไปอย่างราบรื่น ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสเองได้เสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการ โดยระหว่างปี 2020 – 2022 บริษัทได้ลงทุน 690 ล้านยูโร เพื่อสร้างและขยายศูนย์บริการ ฮับและเกต์เวย์ในการดำเนินงานในตลาดที่สำคัญ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเกาหลีใต้ อีกทั้งยังลงทุนมูลค่ากว่า 60 ล้านยูโร เสริมเครือข่ายทางอากาศของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ยังซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้าโบอิ้ง 777F แบบ Wide Body จำนวน 6 ลำ เพื่อเพิ่มเที่ยวบินระหว่างทวีปได้มากขึ้น 3,000 เที่ยวต่อปี

ปัจจุบัน ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มีเครื่องบินขนส่ง 260 ลำทั่วโลก ครอบคลุมสนามบินกว่า 500 แห่ง โดยมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้ลูกค้ากว่า 2.7 ล้านราย คิดเป็นการขนส่งประเภทขนส่งด่วนภายในเวลาที่กำหนด (Time Definite) จำนวน 262 ล้านชิ้นต่อปี ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลก

]]>
1307904
เฟซบุ๊ก เผยคนไทยนิยมช้อปปิ้งผ่านมือถือช่วงเทศกาลส่งท้ายปีมากกว่าไปร้านค้า https://positioningmag.com/1200178 Wed, 28 Nov 2018 08:04:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1200178 เฟซบุ๊ก เผยผลสำรวจเทศกาลช้อปปิ้งปลายปี กว่า 39% เลือกซื้อสินค้าผ่านมือถือ แนะ SMEs เตรียมตัวรับเทศกาลช้อปปิ้งปลายปี ปรับเพจเหมาะกับการช้อปมือถือ

เฟซบุ๊ก เผยถึงผลสำรวจเกี่ยวกับเทศกาลช้อปปิ้งปลายปี พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ หันมาเลือกซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ทโฟนเป็นช่องทางหลัก และกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ในแต่ละปี

‘Facebook IQ หน่วยงานวิจัยของเฟซบุ๊ก ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 1,500 ราย ในช่วงไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า 39% ของผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางแรก ตามมาด้วย 30% ที่ซื้อสินค้าจากหน้าร้านค้า

ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมา คนไทยจำนวน 2 ใน 5 คนเป็นนักช้อปที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลัก โดย 60 เปอร์เซ็นต์ของคนเหล่านั้นเป็นคนกลุ่มมิลเลนเนียล

42 เปอร์เซ็นต์ของนักช้อปช่วงเทศกาลชาวไทยกล่าวว่า ถ้าไม่ใช่เพราะการใช้งานโทรศัพท์มือถือพวกเขาก็คงไม่สามารถช้อปปิ้งในช่วงเทศกาลอย่างที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จ

โดย 2 ใน 3 คนคิดว่าการช้อปปิ้งช่วงเทศกาลเป็นเรื่องง่ายขึ้น ในจำนวนนี้ 55 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยว่าพวกเขาใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการช้อปปิ้งในช่วงเทศกาลเพราะสะดวกกว่าการเดินทางไปช้อปปิ้งที่หน้าร้าน

ชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและย่อม เฟซบุ๊ก ประจำประเทศไทย เหตุผลสำคัญที่เลือกซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องมาจาก 55% ให้ความเห็นว่าสะดวกกว่าไปหน้าร้าน ขณะเดียวกัน 44% เริ่มเปลี่ยนช่องทางมาเลือกซื้อของออนไลน์จากมือถือมากขึ้น และในกลุ่มผู้ที่ซื้อของผ่านมือถือกว่า 60% เป็นกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีช่วงอายุ 18-34 ปี

นอกจากนี้ นักช้อปช่วงเทศกาลกล่าวว่า Facebook และ Instagram มีผลต่อพวกเขาสำหรับการช้อปปิ้งในช่วงเทศกาล 91 และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

เฟซบุ๊ก ได้ให้ความสำคัญกับการทำโซเชียลคอมเมิร์ซในประเทศไทย และถือเป็นจุดกำเนิดของเทรนด์การเลือกซื้อสินค้าผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีการเติบโต และมีนวัตกรรมเข้ามาตลอด

จากการสำรวจของเฟซบุ๊ก พบว่า กลุ่มลูกค้า SMEs 4 ใน 5 ราย เริ่มสร้างธุรกิจจากเฟซบุ๊ก,87% สามารถเติบโตได้,73% พบว่า เติบโตอย่างแข็งแกร่งเพราะเครื่องมือของเฟซบุ๊ก, 93% ระบุว่า เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ SMEs เข้าถึงลูกค้า และ 83% สร้างโอกาทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน

การหาลูกค้าใหม่ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจ SMEs เติบโต ดังนั้นการที่ออกแบบเครื่องมือให้สามารถซื้อสินค้าผ่านในเฟซบุ๊กได้ทันที เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ซื้อสินค้าแบบไร้รอยต่อ เพียงแต่ร้านค้าก็ต้องมีความสม่ำเสมอในการทำข้อมูลของเพจ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

สำหรับเครื่องมือที่เฟซบุ๊กนำมาให้ลูกค้า SMEs ใช้งานจะมีทั้ง Shop Section (แถบร้านค้า) เพื่อรวบรวมสินค้าที่จะขายอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ระบบชำระเงินผ่านแชท (Messenger Payment) ที่ร่วมกับ 2C2P และกสิกรไทย นำระบบชำระเงินผ่านมือถือมาใช้งาน

ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ร้านค้าสามารถวัดผลการจำหน่ายสินค้าจากลูกค้าได้ผ่านระบบ Mark as Paid ไปจนถึง Order Management เพื่อใช้ในการติดตามผล เพื่อดูรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าต่างๆ

ส่วนโฆษณา จากเดิมมีฟีเจอร์ Click to messenger ads ให้ลูกค้าสามารถกดโฆษณาเพื่อเข้าไปสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบแชทได้ทันที ก็เพิ่มระบบอย่าง Dynamic Ads for Page Shop สร้างโฆษณาที่เฟซบุ๊กจะแสดงสินค้าแบบอัตโนมัติไปให้ลูกค้าแต่ละคนที่มีความสนใจแตกต่างกัน

ถ้าเป็นร้านค้าที่ใช้บริการ Facebook Shop และมีสินค้ามากกว่า 10 ชิ้น ระบบก็จะเลือกนำสินค้ามาแสดงแบบอัตโนมัติ ช่วยให้ SMEs โปรโมตสินค้าได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ เฟซบุ๊กไม่สามารถเปิดเผยจำนวน SMEs ที่เข้าร่วมกับทางเฟซบุ๊กได้ แต่ข้อมูลจากทางหน่วยงานรัฐระบุว่าในประเทศไทยมี SMEs ประมาณ 3 ล้านราย ประกอบกับข้อมูลจากเฟซบุ๊กที่ระบุว่า 4 จาก 5 รายเริ่มสร้างธุรกิจจากเฟซบุ๊ก ส่วนความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กในประเทศไทย ล่าสุดมีจำนวนผู้ใช้งาน 52 ล้านคนต่อเดือน มีผู้ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือกว่า 51 ล้านคน (98%) และในแต่ละวันมีผู้เข้าใช้งานเฟซบุ๊กกว่า 36 ล้านคน.


1 รายงานเกี่ยวกับตลาดในประเทศไทยประจำปี 2561 โดย Global Web Index

2 รายงาน “Facebook 2018 Holiday Study” ณ เดือนมกราคม 2561 โดย Facebook IQ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเก็บข้อมูล :การศึกษาดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นผ่านการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีในประเทศไทยจำนวน 1,508 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งในช่วงเทศกาลและทัศนคติต่อ Facebook และ Instagram โดยระยะเวลาการสำรวจข้อมูลเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

3 รายงานเกี่ยวกับตลาดในประเทศไทยประจำปี 2561 โดย Global Web Index

4 ที่มาจาก Facebook IQ: “ความนิยมและวิธีการเกี่ยวกับการสื่อสารจากแพลตฟอร์มสู่ธุรกิจระดับโลก” โดย FactWork

5 รายงานเกี่ยวกับตลาดในประเทศไทยประจำปี 2561 โดย Global Web Index

]]> 1200178